Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179790
ทั้งหมด:13491022
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การเสด็จประพาสทางรถไฟ สมัย ร. ๖
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การเสด็จประพาสทางรถไฟ สมัย ร. ๖
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 9, 10, 11  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2020 11:57 pm    Post subject: Reply with quote

ประวัติการสร้างทางรถไฟสายใต้
วรรณดี สรรพจิต
14 มิถุนายน 2563

ทางรถไฟสายใต้ ซึ่งมีความยาวทั้งหมด ๑,๑๔๔ กม. นั้น แม้ว่าจะผ่านพื้นที่อำเภอช้างกลางในช่วงหลักช้างและคลองกุยเพียง ๑๐ กิโลเมตร แต่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง มีประวัติซึ่งสมควรบันทึกไว้ ณ ที่นี่ว่า นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ได้ตั้งกรมรถไฟขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ แล้ว ได้มอบหมายให้กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ผู้เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ) บริหารจัดการเรื่องการสร้างทางรถไฟขึ้นทั่วประเทศ
โครงการสร้างทางรถไฟสายใต้นั้นได้กำหนดไว้สองระยะ ในการนี้ได้ทรงตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระยาสุขุมนัยวินิต(ปั้น สุขุม ) และพระยาสริยานุวัตร(เกิด บุนบาค) พิจารณาสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยใช้งบเงินกู้จากรัฐบาลสหพันธรัฐมลายาของอังกฤษในวงเงิน ๔ ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (สมัยนั้น ๑ ปอนด์เท่ากับ ๑๓ บาท จำนวน ๔ ล้านปอนด์เทียบเงินไทยประมาณ ๕๒ ล้านบาท หากเทียบเป็นราคาปัจจุบันซึ่งมีอัตราเงินเฟ้อปีละ ๕ เปอร์เซ็นต์ จากปี ๒๔๓๓ ถึงปี ๒๕๖๓ นับได้ ๑๓๐ ปี เงินเฟ้อขึ้น ๖๕๐ เปอร์เซ็นต์ คิดเทียบค่าเงินปัจจุบันได้ประมาณ ๓๓,๘๐๐ ล้านบาท ยังไม่รวมดอกเบี้ยร้อยละ ๔ ประมาณปีละ ๑,๓๕๒ ล้านบาทอีกด้วย กว่าจะสร้างเสร็จต้องใช้หนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท)
ในขั้นเจรจา อังกฤษยินยอมให้กู้แต่มีเงื่อนไขว่า รัฐบาลไทยต้องยินยอมยกดินแดนอันเป็นรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิศและเกาะใกล้เคียง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๔๐,๓๗๘ ตารางกิโลเมตรให้แก่อังกฤษด้วย โดยมีดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ ๔ ต่อปีดังกล่าวแล้ว ไทยจำยอมต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้นก็ไม่มีโอกาสได้สร้างทางรถไฟสายใต้อันยาวเหยียดซึ่งเราได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน และที่สำคัญที่สุดเป็นการโยงศูนย์อำนาจการปกครองจากส่วนกลางลงสู่ปักษ์ใต้ เพื่อป้องกันการล่าเมืองขึ้นของชาติยุโรป ทางรถไฟสายใต้มาเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๔๖๑ ตรงสมัยรัชกาลที่ ๖ การสร้างทางรถไฟช่วงหลังสุด คือระยะทางจากหาดใหญ่ – ระแงะ ระยะทาง ๑๘๐ กม. มาเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๑
ปัญหาอุปสรรคในการสร้างทางรถไฟสายใต้สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่สำคัญมีอยู่ ๒ ประการ
- ประการแรก คือขาดบุคลากรในการทำงานทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นช่างฝีมือ หรือผู้บริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแรงงานกรรมกรเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงนั้นราษฎรในชนบทยังมีอยู่น้อย ถึงมีพวกเขาก็ไม่ยอมสมัครเป็นกรรมกรใช้แรงงาน เนื่องจากนิสัยส่วนใหญ่รักอิสระและไม่อดทน เพราะมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ คุณเกื้อกูล ยืนยงอนันต์กล่าวไว้ในข้อเขียนเรื่องการพัฒนาการคมนาคมสมัย ร.๕ว่า รัฐบาลต้องแก้ปัญหาโดยการว่าจ้างกรรมกรจากจีน ซึ่งสามารถทำงานหนักได้วันละเกือบ ๑๒ ชั่วโมง ทั้งมีความเป็นอยู่อย่างง่าย แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ล้มป่วงลงมากเหมือนกัน
การสร้างทางรถไฟช่วงชุมพร – ทุ่งสง ซึ่งผ่านควนตม หลักช้าง คลองกุย พื้นที่ช้างกลางใช้แรงงานกรรมกรจีนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์( คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้รับเหมาจัดหาแรงงานโดยจัดเรือสำเภาไปรับแรงงานกรรมกรจากประเทศจีน ส่วนใหญ่เป็นชาวแต้จิ๋ว ไหหลำ ฮกจิ้วและแคะ
-ประการที่สอง การสร้างทางรถไฟในช่วงผ่านพื้นที่อำเภอช้างกลางที่บ้านหลักช้างและบ้านคลองกุย นั้นเป็นช่วงผ่านควนตม ติดป่าควนพลองถิ่นช้างอาศัยอยู่มากมายหลายโขลง ซึ่งเป็นการตัดขวางทางเดินของช้าง
ธรรมชาติของช้างถือเอาดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นเวลาออกหากิน จึงมุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออก เจอสิ่งกีดขวางทางเดิน โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างทางรถไฟ ก็ทำลาย ยกรื้อรางที่พวกคนงานกำลังวางไว้ พอตกเย็น ดวงอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า พวกช้างทั้งหลายก็เดินทางกลับที่พักนอนของตนตามทิศที่ดวงอาทิตย์ตกดิน เดินผ่านเส้นทางรถไฟกำลังสร้างอีก ก็ตรงเข้ายกรื้อสิ่งกีดขวางทางเดิน ไม่ว่าจะเป็นแคมป์ค่าย หรือวัสดุสิ่งใด หากวางขวางทางเดิน พวกเขาจะเข้าทำลายหมด เป็นปัญหาแก่การสร้างทางรถไฟเป็นอย่างยิ่ง
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในช่วงนั้นก็มีการจับช้างขายให้อังกฤษที่ปกครองมะลายาสิงคโปร์ อันเป็นผลสำคัญที่ทำให้ช้างในตำบลช้างกลางลดน้อยลงไปมาก
ภายหลังที่สร้างทางรถไฟช่วงชุมพรถึงทุ่งสงเสร็จสิ้น ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ได้อาศัยเส้นทางนี้เสด็จมาทอดพระเนตรการจับช้างที่คอกคลองกุยเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ปี พ.ศ.๒๔๕๘ (ปัจจุบันเป็นพื้นที่วัดคลองกุย) บุคคลที่ทันเห็นในหลวงรัชกาลที่ ๖ มาประทับที่นี่ คือนางเหว บุณยเกียรติ ย่าของคุณชินวรณ์ เล่าให้ลูกหลานฟังซึ่งบันทึกไว้ในหนังสือพระราชทานเพลิงศพนายห้อง บุณยเกียรติว่า “...รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จไปคล้องช้างที่สถานีรถไฟบ้านคลองกุย และได้ทรงเสด็จประทับที่หน้าบ้านของย่า ย่าดีใจและตื่นเต้นมาก ในขณะนั้นย่าท้องแก่ใกล้คลอด แต่ก็พยายามที่จะรอเฝ้ารับเสด็จให้ได้ เมื่อเสด็จคล้องช้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จกลับพระนคร”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2020 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

"สะพานดำท่าช้าง"
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาตรวจงานที่ท่าช้าง จ.นครราชสีมา และประทับที่ออฟฟิศ เสวยเวลากลางวัน ได้มีชาวบ้านท่าช้างได้นำไม้กลายเป็นหินจากลำน้ำมูลไปทูลเกล้าถวาย พระองค์ทรงแนะนำให้ราษฎรเก็บรักษาไว้ในท้องถิ่น ทางกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยามจึงนำไม้กลายเป็นหินประดับไว้บนอนุสรณ์สถาน ณ สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำมูล หรือ “สะพานดำ” (ห่างจากสถานีรถไฟท่าช้าง 500 เมตร)
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/4897182913629068
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/09/2021 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

กรมพระกำแพงเพชรขึ้นไปสำรวจทางเพื่อตรวจพินิจความก้าวหน้าการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาน เมื่อปี 2460-61 หลังจากอุโมงค์ทะลุถึงกันเมื่อปี 2458 และการประกาศสงครามโลกเมื่อ 22 กรกฎาคม 2460 ทำให้ต้องใช้ทหารช่างชาวสยามและนายช่างจากประเทศสัมพันธมิตรเพื่อมาทดแทนนายช่างชาวปรัสเซียที่เป็นชนชาติศัตรู https://www.facebook.com/222323771159492/posts/4429142040477623/?d=n
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2022 2:11 pm    Post subject: Reply with quote

#วันนี้ในอดีต 1 มิถุนายน 2457
เปิดการเดินรถจาก วังก์พง - ประจวบคีรีขันธ์
อาคารสถานีประจวบฯ ช่วงปี 2510
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=5248780211847131&id=222323771159492
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2022 9:24 am    Post subject: Reply with quote

#วันนี้ในอดีต 19 มิถุนายน 2454
เปิดการเดินรถจาก เพชรบุรีไปบ้านชะอำ
https://www.facebook.com/222323771159492/posts/5300576860000799/?d=n
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2022 11:40 am    Post subject: Reply with quote

ตามรอยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง เสด็จตรวจราชการภาคเหนือ พุทธศักราช 2462
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วันพฤหัสบดี ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 10:32 น.
--------------------------
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ในฐานะผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง เสด็จตรวจราชการทางภาคเหนืออยู่หลายครั้งเพื่อดูความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ ตลอดจนการทำถนนตามหัวเมืองมณฑลต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการค้าขาย ขนส่งสินค้า การสัญจรระหว่างเมือง และการปกครอง ตามหน้าที่ของกรมรถไฟหลวงที่ได้ย้ายกรมทางมารวมไว้ การเสด็จตรวจราชการครั้งนี้ เป็นการเดินทางระหว่างวันเสาร์ที่ 10 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พุทธศักราช 2462 เพื่อตรวจการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ทาชมภูและตรวจสอบทหารช่างต่อรางรถไฟ จังหวัดลำพูน นอกจากนั้นยังตรวจการทำถนนสายลำปาง–เชียงราย และสำรวจเส้นทางสำหรับทำถนนระหว่างสวรรคโลกและสุโขทัย
ระหว่างวันเสาร์ที่ 10 ถึงวันจันทร์ที่ 12 มกราคม พุทธศักราช 2462 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสด็จจากกรุงเทพฯ ไปพิษณุโลก จากพิษณุโลกไปลำปาง และจากลำปางไปสถานีขุนตาน ตามลำดับ โดยเป็นการตรวจการเดินรถและการขนส่งสินค้า
วันอังคารที่ 13 มกราคม พุทธศักราช 2462 เสด็จจากที่พักบนดอยขุนตานไปตามทางรถไฟ เมื่อถึงสะพานทาชมภูที่ห้างสวอนซันและซีเอสเต๊ดกำลังก่อสร้างโค้งไม้เพื่อเทคอนกรีต ตรวจสอบดูแล้ว ทรงเกิดความวิตกกังวล เนื่องจากการสร้างโค้งไม้ขึ้นก่อนการก่อสร้างตอม่อแล้วเสร็จ เกรงว่าหากเลยเดือนพฤษภาคมแล้วน้ำเหนือพัดซุงมาอาจเกิดความเสียหายกับโค้งไม้ได้ หลังจากตรวจการก่อสร้างสะพานทาชมภูแล้ว เสด็จข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแม่ทาซึ่งก่อสร้างไว้ชั่วคราวเพื่อไปตรวจการต่อรางรถไฟ เนื่องจากได้รับรายงานว่าการวางรางรถไฟทำได้ล่าช้า จากแต่ก่อนสามารถวางรางได้สัปดาห์ละ 3-4 กิโลเมตร แต่กลับวางรางได้สัปดาห์ละ 1-2 กิโลเมตร เมื่อตรวจสอบแล้วจึงได้ทรงทราบว่าทหารช่างป่วยเป็นไข้จำนวนมากเนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วระหว่างกลางวันและกลางคืน จึงทรงไปเยี่ยมและให้นายแพทย์ของกรมรถไฟหลวงช่วยแพทย์ทหารฉีดยารักษา รวมถึงโทรเลขสั่งยารักษาจากกรุงเทพฯ เพิ่มเติม ในขณะนั้นการต่อรางรถไฟจึงใช้แรงงานพลเรือนมาเสริมเพื่อทดแทนแรงงานของทหารช่าง โดยวางรางได้ถึง ก.ม. 622/700 ห่างจากลำพูนประมาณ 20 กิโลเมตร
วันพุธที่ 14 มกราคม พุทธศักราช 2462 เสด็จออกจากที่พักบนดอยขุนตาลเดินทางกลับลำปางเพื่อกลับมาตรวจการทำถนน ระหว่างทางได้แวะตรวจการสร้างสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำวังที่สบตุ๋ยด้วย
การตรวจการทำถนนสายลำปาง–เชียงราย และการสำรวจเส้นทางสวรรคโลก–สุโขทัย
ภายหลังจากเสด็จกลับจากการตรวจการก่อสร้างสะพานทาชมภูและการต่อรางรถไฟ วันพฤหัสบดีที่ 15 ถึงวันเสาร์ที่ 17 มกราคม พุทธศักราช 2462 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสด็จจากลำปางโดยรถยนต์ของกรมรถไฟ ไปตามถนนที่กำลังก่อสร้าง เสด็จผ่านดอยกิ่วไร่ ประตูผา ตำบลบ้านโป่ง เมืองงาว ซึ่งเส้นทางจากเมืองงาวถึงพะเยานั้น ทรงให้ความเห็นว่ายังต้องแก้ไขความลาดชันอยู่
จากนั้นวันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2462 เสด็จขึ้นรถไฟจากลำปางไปสวรรคโลก เพื่อสำรวจเส้นทางที่จะทำถนนจากสวรรคโลกไปสุโขทัย ระยะทางรวม 40 กิโลเมตร สำรวจเส้นทางการทำถนนจากสุโขทัยไปตำบลระแหง เสด็จไปทอดพระเนตรโบราณสถานที่วัดศรีชุม วัดมหาธาตุ วัดเชตุพน วัดศรีสวาย สนทนาแนวทางและความเป็นไปได้ในการตัดถนนกับผู้นำของจังหวัดตาก สุโขทัย และสวรรคโลก เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พุทธศักราช 2462
การตัดถนนจากสวรรคโลก–สุโขทัย-ตาก นั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ให้ความเห็นไว้ 2 ประการ ว่า “ถ้าจะดำริการสร้างถนนสวรรคโลกถึงสุโขทัยนี้เป็นที่น่าเสียดายอยู่ข้อหนึ่ง คือการที่จะเดินตามถนนพระร่วงเดิมนั้นไม่เหมาะ ด้วยเหตุซึ่งได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยในจดหมายเหตุเสด็จประพาสเมืองพระร่วงนั้นแล้ว ว่าถนนอยู่ในที่เขินแห้งเป็นป่าหลายแห่ง ถ้าแม้จะตัดไปก็จะไร้ประโยชน์ จำจะต้องตัดเข้าหาให้ใกล้ร่องน้ำใหม่และให้เดินใกล้หมู่บ้านคน” และเห็นควรว่าการตัดถนนสายสวรรคโลก-สุโขทัย–ตาก จะต้องตรวจสอบให้แน่นอนก่อนว่าควรจะทำหรือไม่ หากทำควรทำเมื่อใด โดยจะมีการสำรวจเส้นทางและการขนส่งสินค้าให้ละเอียดอีกครั้งภายใน พุทธศักราช 2463
หมายเหตุ 1. จดหมายเหตุเสด็จประพาสเมืองพระร่วง ในที่นี้หมายถึง พระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. คงการเรียกและสะกดชื่อบริษัทและสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ
ผู้เรียบเรียง นางสาววัชราภรณ์ สิทธิวิไล นักจดหมายเหตุชำนาญการ คณะทำงานด้านการจัดการองค์ความรู้ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
--------------------------
อ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงคมนาคม ร.6 คค 5.3/8 เรื่อง กรมขุนกำแพงเพชรเสด็จตรวจทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ (โคราช-อุบล) (4 สิงหาคม 2460 - 17 สิงหาคม 2468)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงคมนาคม ร.6 คค 6/5 เรื่อง ทำถนนหนทางทางในหัวเมืองมณฑลต่าง ๆ เป็นหน้าที่ผู้บัญชาการกรมรถไฟ (16 - 25 สิงหาคม 2460)
#จดหมายเหตุ
https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand/posts/412718264315366
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2022 12:06 pm    Post subject: Reply with quote

วันที่ 18 มกราคม ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454): สมเด็จพระบรมราชินีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเพื่อประพาสมณฑลนครราชสีมา ทางรถไฟ โดยเสด็จประทับรถยนต์พระที่นั่งแต่ตำหนักพญาไทไปยังสถานีสามเสน (สำหรับพระราชวงศ์ทางฝั่งใต้ของคลองสามเสน) เมื่อเวลาเช้า 2 โมง
รถไฟพระที่นั่งออกจากสถานีสามเสน เวลาเช้า 3 โมง เศษ
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/2307.PDF
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/9066032910077360
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2023 5:03 pm    Post subject: Reply with quote

ตามรอยเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พุทธศักราช 2458
------------------------------
พุทธศักราช 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้เพื่อเยี่ยมเยือนราษฎร นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ครั้งแรกในฐานะพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ พระองค์เคยเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อพุทธศักราช 2452 ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
การเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พุทธศักราช 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกจากกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน และเสด็จนิวัตพระนคร วันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2458 รวมระยะเวลาเดินทาง 62 วัน ดังนี้
วันที่ 4 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินลงเรือยนต์พระที่นั่งจากท่าวาสุกรี ไปยังสถานีบางกอกน้อย ออกจากกรุงเทพมหานครโดยรถไฟพระที่นั่ง ผ่านสถานีรถไฟสำคัญต่าง ๆ เช่น สถานีต้นสำโรง สถานีนครปฐม สถานีราชบุรี สถานีเพชรบุรี และสถานีหัวหิน เสด็จพระราชดำเนินไปลงเรือพระที่นั่งที่หัวหิน เมืองประจวบคีรีขันธ์
----------------
วันที่ 5 ถึงวันที่ 7 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชถึงเมืองนราธิวาส เสด็จประทับศาลากลางเมืองนราธิวาส ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และสัญญาบัตรแก่ข้าราชการประจำมณฑล พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองนราธิวาส และพระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานนามสกุล
----------------
วันที่ 8 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินถึงอำเภอตากใบและเมืองสายบุรี เสด็จพระราชดำเนินไปวัดชลธาราสิงเห พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และสัญญาบัตรแก่ข้าราชการ พระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานนามสกุล พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองสายบุรี
----------------
วันที่ 10 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองปัตตานี พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำมณฑลปัตตานีและพระราชพิธีถือน้ำเสือป่ามณฑลปัตตานี พระราชทานธงประจำกองลูกเสือมณฑลปัตตานี พระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานนามสกุล และเสด็จทอดพระเนตรสถานที่ต่าง ๆ เช่น ศาลารัฐบาลมณฑลปัตตานี ศาลมณฑลปัตตานี ตลาดเมืองปัตตานี แล้วเสด็จพระราชดำเนินจากเมืองปัตตานีไปเมืองสงขลา
----------------
วันที่ 13 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองสงขลา เรือพระที่นั่งทอดอยู่หน้าแหลมทราย เมืองสงขลา เสด็จพระราชดำเนินประทับพระตำหนักเขาน้อย พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำมณฑลนครศรีธรรมราชพระราชพิธีถือน้ำเสือป่า และพระราชทานธงประจำกองลูกเสือมณฑลนครศรีธรรมราช และเสด็จพระราชดำเนินไปสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองสงขลา เช่น โรงเรียนมหาวชิราวุธ ประพาสไปตามถนนเมืองสงขลา อาทิ ถนนวิเชียรชม ถนนนครใน ถนนนครนอก ถนนไทรบุรี ถนนรามวิถี ถนนชลเจริญ เป็นต้น เสด็จประทับป่าสนชายทะเล เสด็จศาลารัฐบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ศาลมณฑลนครศรีธรรมราช แล้วเสด็จพระราชดำเนินจากเมืองสงขลาไปเมืองพัทลุงโดยรถไฟพระที่นั่ง
----------------
วันที่ 20 ถึงวันที่ 25 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองพัทลุง จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรม ณ พัทธาคารริมทะเลสาบลำปำ เสด็จพระราชดำเนินประทับแรมที่พลับพลาสวนหลวงนาวงก์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินจากเมืองพัทลุงไปเมืองตรัง
----------------
วันที่ 25 มิถุนายน ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม เสด็จพระราชดำเนินข้ามช่องเขาบรรทัด ประทับแรมที่ตำหนักสวนโปร่งฤทัย เขาช่อง เมืองตรัง และเสด็จพระราชดำเนินไปสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองตรัง เช่น เขาปีนะ พระตำหนักรื่นรมย์ โรงเรียนเพาะปัญญา พระตำหนักจันทน์ ตลาดเมืองตรัง ศาลากลางเมืองตรัง สะพานเจ้าฟ้า พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองตรังและพระราชพิธีถือน้ำเสือป่ามณฑลภูเก็ต และพระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานนามสกุลแก่ข้าราชการมณฑลภูเก็ต จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งจากเมืองตรังไปเมืองนครศรีธรรมราช
----------------
วันที่ 7 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม เสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองนครศรีธรรมราช ประทับพลับพลาค่ายหลวง เมืองนครศรีธรรมราช พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองนครศรีธรรมราช เสด็จพระราชดำเนินสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองนครศรีธรรมราช เช่น วัดมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งจากเมืองนครศรีธรรมราชไปอำเภอทุ่งสง
----------------
วันที่ 16 ถึง 27 กรกฎาคม เสด็จพระราชดำเนินถึงที่ประทับ ณ พลับพลาค่ายหลวง อำเภอทุ่งสง เมืองนครศรีธรรมราช เสด็จประพาสน้ำตกโยงโดยกระบวนช้าง เสด็จทอดพระเนตรการจับช้างเถื่อนที่ตำบลคลองกุยต่อเขตอำเภอฉวาง จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับจากอำเภอทุ่งสงโดยรถไฟพระที่นั่งไปอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เสด็จพระราชดำเนินสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองนครศรีธรรมราช เช่น ศาลากลางและศาลเมืองนครศรีธรรมราช จากนั้นเสด็จโดยรถไฟพระที่นั่งจากเมืองนครศรีธรรมราชไปเมืองสุราษฎร์ธานี
----------------
วันที่ 28 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม เสด็จพระราชดำเนินถึงที่ประทับ ณ พลับพลาหลวงท่าข้าม เมืองสุราษฎร์ธานี พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำมณฑลชุมพรและพระราชพิธีถือน้ำเสือป่ามณฑลชุมพร พระราชทานนามเมืองต่าง ๆ เช่น บ้านดอนเรียกว่าเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองพุมเรียงเรียกว่าอำเภอเมืองไชยา เปลี่ยนนามมณฑลชุมพรเป็นมณฑลสุราษฎร์ธานี เสด็จพระราชดำเนินสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองสุราษฎร์ธานี เช่น ศาลากลางมณฑลชุมพร พระธาตุไชยา เสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งจากสถานีท่าข้าม เมืองสุราษฎร์ธานี ไปเมืองชุมพร
----------------
วันที่ 1 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม เสด็จพระราชดำเนินถึงพลับพลาที่ประทับอำเภอท่าแชะ เมืองชุมพร พระราชทานเข็มและเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการ เสด็จพระราชดำเนินตามลำน้ำเมืองชุมพร หลังจากนั้นประทับเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชออกจากเมืองชุมพรไปเกาะหลัก เมืองปราณบุรี
----------------
วันที่ 4 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม ประทับเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชถึงหัวหิน เมืองประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นประทับรถไฟพระที่นั่งเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร
การเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พุทธศักราช 2458 ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนับเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญ สะท้อนให้เห็นถึงความสนพระทัยต่อราษฎรที่อยู่ห่างไกล ทอดพระเนตรวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในหัวเมืองต่าง ๆ อีกทั้งเป็นการกำชับให้ข้าราชการต่าง ๆ ดูแลประชาชน พระราชกรณียกิจในการเสด็จเลียบมณฑลต่าง ๆ ซึ่งเป็นพระราชประเพณีที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การพระราชทานพระแสงราชศัสตราแก่มณฑลและเมืองต่าง ๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ และเพื่อใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา การเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พุทธศักราช 2458 ได้พระราชทานพระแสงราชศัสตราแก่มณฑลและเมืองต่าง ๆ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ เมืองนราธิวาส เมืองสายบุรี เมืองปัตตานี มณฑลนครศรีธรรมราช เมืองตรัง เมืองนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
ผู้เรียบเรียง : นางสาวพนิดา วงศ์บุญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
------------------------------
อ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 เบ็ดเตล็ด ร.6 บ1.4/10 เรื่องจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี (8 มิ.ย. 2458 – 25 ก.ค. 2458)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ภ 003 หวญ/13 ร.6 เสด็จประพาสจังหวัดต่าง ๆ
กรมศิลปากร. จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ถึงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2458. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ดอกเบี้ย, 2560.
https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand/posts/496038652649993
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2024 12:41 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
หลังการตรวจสอบพบว่า

1) ตัด จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.128 ออกจากบัญชีไปได้ เพราะพระองค์เสด็จทางชลมารคตลอดทาง

2) กรณีจดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดําเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ (พระพุทธศักราช 2458) นั้น ทำให้ทราบว่าการเดินทางในช่วงก่อนที่รถไฟสายใต้จะเชื่อมติดกันนั้นมันทุลักทุเลปานใด โดยในบันทึกของเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ เสนาบดีกระทรวงคมนาคม ที่ตามเสด็จ ในหลวงรัชกาลที่ 6 ได้เล่าให้ฟังว่าได้ตามเสด็จโดยทางรถไฟเป็นช่วงๆ ดังนี้

1) เดินทางจากบางกอกน้อยไปหัวหิน
2) เสด็จจากหัวหินไปถึงตากใบ ก่อนวกไปที่สงขลาโดยทางชลมารค (เรือพระที่นั่งจักรี)
3) เดินทางจากสงขลาไปพัทลุง
4) เดินทางจากพัทลุง ไปกันตัง
5) จากกันตัง ไปนครศรีธรรมราช
6) จากนครศรีธรรมราชไป ท่าข้าม (สุราษฏร์ธานี)
7) จากท่าข้ามไป ชุมพร
8) ประทับเรือพระที่นั่งจักรี จากชุมพรไปหัวหิน
9) ประทับรถไฟจากหัวหินไปบางกอกน้อย

สมัยที่ในหลวงรัชกาลที่หกเสด็จภาคใต้ปี 2458 เจ้ารถอีคลาสที่ใช้ทำขบวนรถพระที่นั่ง 4 ล้อ จากสงขลาไปพัทลุง สมัยที่ยังเรียกว่าสถานีคูหาสวรรค์ โดยใช้ความเร็ว 1000 เส้นต่อชั่วโมง (40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ปี 2458 ทางสายประธานไปจากบางกอกน้อยถึงเทพาเสร็จพอนำ รถงาน และ จูงรถพระที่นั่งจากหัวหิน ไป รอที่สงขลาได้ เพราะสะพานข้ามแม่น้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) ที่ท่าข้าม นั้นเสร็จแล้ว แต่ ยังทำย่านสถานี ช่วง จาก บ้านกรูด ถึงชุมพร และ ช่วงบ้านนา ถึงสุราษฎร์ธานี ไม่เสร็จ และ ยังไม่ได้เอาสะพานเหล็กมาเปลี่ยนแทนสะพานไม้ ทางเลยใช้ไม่ได้เป็นช่วง ๆ แต่ ที่แน่ๆ คือ ทางไป เมืองคอน, กันตัง, สงขลา พัทลุงเชือมต่อกันได้แล้ว

Wisarut wrote:
ตามรอยเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พุทธศักราช 2458
------------------------------
พุทธศักราช 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้เพื่อเยี่ยมเยือนราษฎร นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ครั้งแรกในฐานะพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ พระองค์เคยเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อพุทธศักราช 2452 ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
การเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พุทธศักราช 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกจากกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน และเสด็จนิวัตพระนคร วันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2458 รวมระยะเวลาเดินทาง 62 วัน ดังนี้
วันที่ 4 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินลงเรือยนต์พระที่นั่งจากท่าวาสุกรี ไปยังสถานีบางกอกน้อย ออกจากกรุงเทพมหานครโดยรถไฟพระที่นั่ง ผ่านสถานีรถไฟสำคัญต่าง ๆ เช่น สถานีต้นสำโรง สถานีนครปฐม สถานีราชบุรี สถานีเพชรบุรี และสถานีหัวหิน เสด็จพระราชดำเนินไปลงเรือพระที่นั่งที่หัวหิน เมืองประจวบคีรีขันธ์
----------------
วันที่ 5 ถึงวันที่ 7 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชถึงเมืองนราธิวาส เสด็จประทับศาลากลางเมืองนราธิวาส ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และสัญญาบัตรแก่ข้าราชการประจำมณฑล พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองนราธิวาส และพระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานนามสกุล
----------------
วันที่ 8 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินถึงอำเภอตากใบและเมืองสายบุรี เสด็จพระราชดำเนินไปวัดชลธาราสิงเห พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และสัญญาบัตรแก่ข้าราชการ พระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานนามสกุล พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองสายบุรี
----------------
วันที่ 10 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองปัตตานี พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำมณฑลปัตตานีและพระราชพิธีถือน้ำเสือป่ามณฑลปัตตานี พระราชทานธงประจำกองลูกเสือมณฑลปัตตานี พระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานนามสกุล และเสด็จทอดพระเนตรสถานที่ต่าง ๆ เช่น ศาลารัฐบาลมณฑลปัตตานี ศาลมณฑลปัตตานี ตลาดเมืองปัตตานี แล้วเสด็จพระราชดำเนินจากเมืองปัตตานีไปเมืองสงขลา
----------------
วันที่ 13 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองสงขลา เรือพระที่นั่งทอดอยู่หน้าแหลมทราย เมืองสงขลา เสด็จพระราชดำเนินประทับพระตำหนักเขาน้อย พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำมณฑลนครศรีธรรมราชพระราชพิธีถือน้ำเสือป่า และพระราชทานธงประจำกองลูกเสือมณฑลนครศรีธรรมราช และเสด็จพระราชดำเนินไปสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองสงขลา เช่น โรงเรียนมหาวชิราวุธ ประพาสไปตามถนนเมืองสงขลา อาทิ ถนนวิเชียรชม ถนนนครใน ถนนนครนอก ถนนไทรบุรี ถนนรามวิถี ถนนชลเจริญ เป็นต้น เสด็จประทับป่าสนชายทะเล เสด็จศาลารัฐบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ศาลมณฑลนครศรีธรรมราช แล้วเสด็จพระราชดำเนินจากเมืองสงขลาไปเมืองพัทลุงโดยรถไฟพระที่นั่ง
----------------
วันที่ 20 ถึงวันที่ 25 มิถุนายน เสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองพัทลุง จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรม ณ พัทธาคารริมทะเลสาบลำปำ เสด็จพระราชดำเนินประทับแรมที่พลับพลาสวนหลวงนาวงก์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินจากเมืองพัทลุงไปเมืองตรัง
----------------
วันที่ 25 มิถุนายน ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม เสด็จพระราชดำเนินข้ามช่องเขาบรรทัด ประทับแรมที่ตำหนักสวนโปร่งฤทัย เขาช่อง เมืองตรัง และเสด็จพระราชดำเนินไปสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองตรัง เช่น เขาปีนะ พระตำหนักรื่นรมย์ โรงเรียนเพาะปัญญา พระตำหนักจันทน์ ตลาดเมืองตรัง ศาลากลางเมืองตรัง สะพานเจ้าฟ้า พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองตรังและพระราชพิธีถือน้ำเสือป่ามณฑลภูเก็ต และพระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานนามสกุลแก่ข้าราชการมณฑลภูเก็ต จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งจากเมืองตรังไปเมืองนครศรีธรรมราช
----------------
วันที่ 7 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม เสด็จพระราชดำเนินถึงเมืองนครศรีธรรมราช ประทับพลับพลาค่ายหลวง เมืองนครศรีธรรมราช พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองนครศรีธรรมราช เสด็จพระราชดำเนินสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองนครศรีธรรมราช เช่น วัดมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งจากเมืองนครศรีธรรมราชไปอำเภอทุ่งสง
----------------
วันที่ 16 ถึง 27 กรกฎาคม เสด็จพระราชดำเนินถึงที่ประทับ ณ พลับพลาค่ายหลวง อำเภอทุ่งสง เมืองนครศรีธรรมราช เสด็จประพาสน้ำตกโยงโดยกระบวนช้าง เสด็จทอดพระเนตรการจับช้างเถื่อนที่ตำบลคลองกุยต่อเขตอำเภอฉวาง จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับจากอำเภอทุ่งสงโดยรถไฟพระที่นั่งไปอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เสด็จพระราชดำเนินสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองนครศรีธรรมราช เช่น ศาลากลางและศาลเมืองนครศรีธรรมราช จากนั้นเสด็จโดยรถไฟพระที่นั่งจากเมืองนครศรีธรรมราชไปเมืองสุราษฎร์ธานี
----------------
วันที่ 28 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม เสด็จพระราชดำเนินถึงที่ประทับ ณ พลับพลาหลวงท่าข้าม เมืองสุราษฎร์ธานี พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำมณฑลชุมพรและพระราชพิธีถือน้ำเสือป่ามณฑลชุมพร พระราชทานนามเมืองต่าง ๆ เช่น บ้านดอนเรียกว่าเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองพุมเรียงเรียกว่าอำเภอเมืองไชยา เปลี่ยนนามมณฑลชุมพรเป็นมณฑลสุราษฎร์ธานี เสด็จพระราชดำเนินสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองสุราษฎร์ธานี เช่น ศาลากลางมณฑลชุมพร พระธาตุไชยา เสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งจากสถานีท่าข้าม เมืองสุราษฎร์ธานี ไปเมืองชุมพร
----------------
วันที่ 1 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม เสด็จพระราชดำเนินถึงพลับพลาที่ประทับอำเภอท่าแชะ เมืองชุมพร พระราชทานเข็มและเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการ เสด็จพระราชดำเนินตามลำน้ำเมืองชุมพร หลังจากนั้นประทับเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชออกจากเมืองชุมพรไปเกาะหลัก เมืองปราณบุรี
----------------
วันที่ 4 ถึงวันที่ 5 สิงหาคม ประทับเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชถึงหัวหิน เมืองประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นประทับรถไฟพระที่นั่งเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร
การเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พุทธศักราช 2458 ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนับเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญ สะท้อนให้เห็นถึงความสนพระทัยต่อราษฎรที่อยู่ห่างไกล ทอดพระเนตรวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในหัวเมืองต่าง ๆ อีกทั้งเป็นการกำชับให้ข้าราชการต่าง ๆ ดูแลประชาชน พระราชกรณียกิจในการเสด็จเลียบมณฑลต่าง ๆ ซึ่งเป็นพระราชประเพณีที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การพระราชทานพระแสงราชศัสตราแก่มณฑลและเมืองต่าง ๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ และเพื่อใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา การเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พุทธศักราช 2458 ได้พระราชทานพระแสงราชศัสตราแก่มณฑลและเมืองต่าง ๆ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ เมืองนราธิวาส เมืองสายบุรี เมืองปัตตานี มณฑลนครศรีธรรมราช เมืองตรัง เมืองนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร
ผู้เรียบเรียง : นางสาวพนิดา วงศ์บุญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
------------------------------
อ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 เบ็ดเตล็ด ร.6 บ1.4/10 เรื่องจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี (8 มิ.ย. 2458 – 25 ก.ค. 2458)
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ภ 003 หวญ/13 ร.6 เสด็จประพาสจังหวัดต่าง ๆ
กรมศิลปากร. จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ถึงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2458. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ดอกเบี้ย, 2560.
https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand/posts/496038652649993


Mongwin wrote:
20 มิถุนายน 2458
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๒ น่า ๘๖๘-๘๖๙ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๕๘
รายการเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลปักษ์ใต้
....
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มิถุนายน รถไฟใช้จักร์จูงกระบวนรถพระที่นั่ง
ออกจากสถานีเมืองสงขลา เวลาเช้า ๔ โมง ๓๐ นาที
อำมาตย์เอก พระยาวิเศษภักดี ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา พร้อมด้วย
ข้าราชการประจำมณฑลนครศรีธรรมราช แลนายดับลยู เอน ดันน์
กงสุลอังกฤษคอยเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทส่งเสด็จ ณ สถานีเมืองสงขลา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระ
ราชทานพระแสงราชศาสตราแก่อำมาตย์เอก พระยาวิเศษภักดี แล้ว
เสด็จขึ้นประทับบนรถพระที่นั่ง

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ สมุหเทศาภิบาล
สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช ตามเสด็จพระราชดำเนิรใน
กระบวนนี้ด้วย

รถไฟใช้จักร์ถึงสถานีอู่ตะเภา เวลาเช้า ๕ โมง ๒๐ นาฑี แลหยุด
อยู่ครู่หนึ่ง แล้วใช้จักร์เดินต่อไปถึงสถานีคูหาสวรรค์ เวลาบ่าย ๑ โมง
๓๐ นาที อำมาตย์ตรี พระพัทลุงบุรี ศรีระหัทเขตร์ ผู้ว่าราชการ
เมืองพัทลุง แลข้าราชการอื่น ๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เสือป่าเมือง
พัทลุงแลกองตำรวจภูธรตั้งแถวรับเสด็จเปนกองเกียรติยศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยรถยนตร์พระที่นั่ง จากสถานี
คูหาสวรรค์
ไปประทับ ณ พระตำหนักพัทธาคารริมทเลสาบเมืองพัทลุง

Wisarut wrote:
สถานีคูหาสวรรค์ก็สถานีพัทลุงนั่นแหละ เข้าใจว่าเปลี่ยนในปี 2459 หลังทางรถไฟสายใต้เชื่อมถึงกันได้ที่ชุมพร จนเปิดการเดินรถ บางกอกน้อย - อู่ตะเภา ได้เมื่อ 1 มกราคม 2459


Mongwin wrote:
สมัยนั้นที่ตั้งสถานีพัทลุงอยู่ห่างออกมาจากตัวเมืองพัทลุง
อยู่ในตำบลคูหาสวรรค์
พอมีสถานีรถไฟ ก็ยกฐานะเป็นกิ่งคูหาสวรรค์

แต่ยังไงก็ไม่ชอบสถานีโคกโพธิ์ที่เปลี่ยนเป็นสถานีปัตตานีอยู่ดีครับ Rolling Eyes

ว่าแต่ยุคแรก เรียกสถานีรถไฟสงขลาว่า สถานีเมืองสงขลา นะครับ
ชอบจัง ดูเจริญดี ทั้ง ๆ ที่สมัยนั้น รอบ ๆ มีแต่ป่า
ไม่ต่างจากสถานีสุพรรณบุรีเท่าไหร่

คุณวิศรุตมีหนังสือ จดหมายเหตุระยะทางเสด็จฯ เลียบมณฑลปักษ์ใต้ หรือเปล่าครับ
พอจะหาอ่านได้ที่ไหนบ้าง
จะซื้อมาก็ไม่มีงบประมาณครับ

ดูรายละเอียด ทางอีบุคที่นี่
จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ถึงวันที่ 5 สิงหาคม พระพุทธศักราช 2458


Last edited by Wisarut on 19/02/2024 1:29 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2024 12:54 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ประวัติการสร้างทางรถไฟสายใต้
วรรณดี สรรพจิต
14 มิถุนายน 2563

ทางรถไฟสายใต้ ซึ่งมีความยาวทั้งหมด ๑,๑๔๔ กม. นั้น แม้ว่าจะผ่านพื้นที่อำเภอช้างกลางในช่วงหลักช้างและคลองกุยเพียง ๑๐ กิโลเมตร แต่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง มีประวัติซึ่งสมควรบันทึกไว้ ณ ที่นี่ว่า นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ได้ตั้งกรมรถไฟขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ แล้ว ได้มอบหมายให้กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ผู้เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ) บริหารจัดการเรื่องการสร้างทางรถไฟขึ้นทั่วประเทศ
โครงการสร้างทางรถไฟสายใต้นั้นได้กำหนดไว้สองระยะ ในการนี้ได้ทรงตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระยาสุขุมนัยวินิต(ปั้น สุขุม ) และพระยาสริยานุวัตร(เกิด บุนบาค) พิจารณาสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยใช้งบเงินกู้จากรัฐบาลสหพันธรัฐมลายาของอังกฤษในวงเงิน ๔ ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (สมัยนั้น ๑ ปอนด์เท่ากับ ๑๓ บาท จำนวน ๔ ล้านปอนด์เทียบเงินไทยประมาณ ๕๒ ล้านบาท หากเทียบเป็นราคาปัจจุบันซึ่งมีอัตราเงินเฟ้อปีละ ๕ เปอร์เซ็นต์ จากปี ๒๔๓๓ ถึงปี ๒๕๖๓ นับได้ ๑๓๐ ปี เงินเฟ้อขึ้น ๖๕๐ เปอร์เซ็นต์ คิดเทียบค่าเงินปัจจุบันได้ประมาณ ๓๓,๘๐๐ ล้านบาท ยังไม่รวมดอกเบี้ยร้อยละ ๔ ประมาณปีละ ๑,๓๕๒ ล้านบาทอีกด้วย กว่าจะสร้างเสร็จต้องใช้หนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท)
ในขั้นเจรจา อังกฤษยินยอมให้กู้แต่มีเงื่อนไขว่า รัฐบาลไทยต้องยินยอมยกดินแดนอันเป็นรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิศและเกาะใกล้เคียง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๔๐,๓๗๘ ตารางกิโลเมตรให้แก่อังกฤษด้วย โดยมีดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ ๔ ต่อปีดังกล่าวแล้ว ไทยจำยอมต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้นก็ไม่มีโอกาสได้สร้างทางรถไฟสายใต้อันยาวเหยียดซึ่งเราได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน และที่สำคัญที่สุดเป็นการโยงศูนย์อำนาจการปกครองจากส่วนกลางลงสู่ปักษ์ใต้ เพื่อป้องกันการล่าเมืองขึ้นของชาติยุโรป ทางรถไฟสายใต้มาเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๔๖๑ ตรงสมัยรัชกาลที่ ๖ การสร้างทางรถไฟช่วงหลังสุด คือระยะทางจากหาดใหญ่ – ระแงะ ระยะทาง ๑๘๐ กม. มาเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๑
ปัญหาอุปสรรคในการสร้างทางรถไฟสายใต้สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่สำคัญมีอยู่ ๒ ประการ
- ประการแรก คือขาดบุคลากรในการทำงานทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นช่างฝีมือ หรือผู้บริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแรงงานกรรมกรเป็นอย่างมาก เพราะในช่วงนั้นราษฎรในชนบทยังมีอยู่น้อย ถึงมีพวกเขาก็ไม่ยอมสมัครเป็นกรรมกรใช้แรงงาน เนื่องจากนิสัยส่วนใหญ่รักอิสระและไม่อดทน เพราะมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ คุณเกื้อกูล ยืนยงอนันต์กล่าวไว้ในข้อเขียนเรื่องการพัฒนาการคมนาคมสมัย ร.๕ว่า รัฐบาลต้องแก้ปัญหาโดยการว่าจ้างกรรมกรจากจีน ซึ่งสามารถทำงานหนักได้วันละเกือบ ๑๒ ชั่วโมง ทั้งมีความเป็นอยู่อย่างง่าย แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ล้มป่วงลงมากเหมือนกัน
การสร้างทางรถไฟช่วงชุมพร – ทุ่งสง ซึ่งผ่านควนตม หลักช้าง คลองกุย พื้นที่ช้างกลางใช้แรงงานกรรมกรจีนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์( คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้รับเหมาจัดหาแรงงานโดยจัดเรือสำเภาไปรับแรงงานกรรมกรจากประเทศจีน ส่วนใหญ่เป็นชาวแต้จิ๋ว ไหหลำ ฮกจิ้วและแคะ
-ประการที่สอง การสร้างทางรถไฟในช่วงผ่านพื้นที่อำเภอช้างกลางที่บ้านหลักช้างและบ้านคลองกุย นั้นเป็นช่วงผ่านควนตม ติดป่าควนพลองถิ่นช้างอาศัยอยู่มากมายหลายโขลง ซึ่งเป็นการตัดขวางทางเดินของช้าง
ธรรมชาติของช้างถือเอาดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นเวลาออกหากิน จึงมุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออก เจอสิ่งกีดขวางทางเดิน โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างทางรถไฟ ก็ทำลาย ยกรื้อรางที่พวกคนงานกำลังวางไว้ พอตกเย็น ดวงอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า พวกช้างทั้งหลายก็เดินทางกลับที่พักนอนของตนตามทิศที่ดวงอาทิตย์ตกดิน เดินผ่านเส้นทางรถไฟกำลังสร้างอีก ก็ตรงเข้ายกรื้อสิ่งกีดขวางทางเดิน ไม่ว่าจะเป็นแคมป์ค่าย หรือวัสดุสิ่งใด หากวางขวางทางเดิน พวกเขาจะเข้าทำลายหมด เป็นปัญหาแก่การสร้างทางรถไฟเป็นอย่างยิ่ง
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในช่วงนั้นก็มีการจับช้างขายให้อังกฤษที่ปกครองมะลายาสิงคโปร์ อันเป็นผลสำคัญที่ทำให้ช้างในตำบลช้างกลางลดน้อยลงไปมาก
ภายหลังที่สร้างทางรถไฟช่วงชุมพรถึงทุ่งสงเสร็จสิ้น ในหลวงรัชกาลที่ ๖ ได้อาศัยเส้นทางนี้เสด็จมาทอดพระเนตรการจับช้างที่คอกคลองกุยเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ปี พ.ศ.๒๔๕๘ (ปัจจุบันเป็นพื้นที่วัดคลองกุย) บุคคลที่ทันเห็นในหลวงรัชกาลที่ ๖ มาประทับที่นี่ คือนางเหว บุณยเกียรติ ย่าของคุณชินวรณ์ เล่าให้ลูกหลานฟังซึ่งบันทึกไว้ในหนังสือพระราชทานเพลิงศพนายห้อง บุณยเกียรติว่า “...รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จไปคล้องช้างที่สถานีรถไฟบ้านคลองกุย และได้ทรงเสด็จประทับที่หน้าบ้านของย่า ย่าดีใจและตื่นเต้นมาก ในขณะนั้นย่าท้องแก่ใกล้คลอด แต่ก็พยายามที่จะรอเฝ้ารับเสด็จให้ได้ เมื่อเสด็จคล้องช้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จกลับพระนคร”


จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม พระพุทธศักราช 2460 ที่พูดถึงช้าง แถวช้างกลาง นอกเนือจากการนั่งรถไฟจากบางกอกน้อยไปชุมพร ก่อน ทรงช้างไประนองแล้วประทับเรือพระที่นั่งไปกันตังก่อนเสด็จทางรถไฟไปแถวทุ่งสง หลักช้าง ก่อนไปที่สุราษฏร์ธานี แล้วขึ้นไปต่อจนถึงบางกอกน้อย สามารถดูได้ที่นี่ครับ:

จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม พระพุทธศักราช 2460


Last edited by Wisarut on 19/02/2024 1:37 am; edited 7 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 9, 10, 11  Next
Page 10 of 11

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©