View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Rakpong
President
Joined: 29/03/2006 Posts: 1716
Location: แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก
|
Posted: 17/06/2009 6:04 pm Post subject: |
|
|
พิพิธภัณฑ์อะไร ยังไม่เห็นแผนนะครับ |
|
Back to top |
|
|
suraphat
1st Class Pass (Air)
Joined: 12/02/2007 Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง
|
Posted: 17/06/2009 8:37 pm Post subject: |
|
|
Rakpong wrote: | พิพิธภัณฑ์อะไร ยังไม่เห็นแผนนะครับ |
พี่หมอครับ!! กระผมว่าคงเป็นพิพิธภัณฑ์ในด้าน นิติเวชวิทยา ที่ทางโรงพยาบาลเขามีมาก่อน เป็นแน่กระมังครับ |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 17/06/2009 10:22 pm Post subject: |
|
|
ปัจจุบันที่ดินตรงนี้ หน่วยงานไหนเป็นเจ้าของครับ ระหว่างการรถไฟฯ กับ รพ.ศิริราช หรือ เป็นของกรมธนารักษ์ _________________
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44005
Location: NECTEC
|
Posted: 17/06/2009 10:29 pm Post subject: |
|
|
BanPong1 wrote: | ปัจจุบันที่ดินตรงนี้ หน่วยงานไหนเป็นเจ้าของครับ ระหว่างการรถไฟฯ กับ รพ.ศิริราช หรือ เป็นของกรมธนารักษ์ |
^^^^^^
ที่ตรงอาคารสถานีธนบุรี + ทรส. โอนให้ศิริราช แต่ 4 ตุลาคม 2546 แล้ว |
|
Back to top |
|
|
heerchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/07/2006 Posts: 7730
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
|
Posted: 17/06/2009 10:41 pm Post subject: |
|
|
อ้าว ชานชลาสถานีธนบุรี เปลี่ยนแปลงให้มีสภาพคงเหลืออยู่ไหม น่อ น่าเสียดายไม่ได้ถ่ายภาพของเดิมไว้เลย |
|
Back to top |
|
|
thod
3rd Class Pass
Joined: 03/07/2006 Posts: 118
Location: ป้ายหยุดรถจอมทอง,กองร้อยปฏิบัติการสื่อสารสนับสนุน กองพันทหารสื่อสารที่ ๑๐๑ กรมทหารสื่อสารที่ ๑
|
Posted: 17/06/2009 10:49 pm Post subject: |
|
|
heerchai wrote: | อ้าว ชานชลาสถานีธนบุรี เปลี่ยนแปลงให้มีสภาพคงเหลืออยู่ไหม น่อ น่าเสียดายไม่ได้ถ่ายภาพของเดิมไว้เลย |
ใจและความคิดผมนะครับ เฮียใช้ อยากจะให้เหลือตัวสถานีรถไฟธนบุรี ไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำของผู้ที่สนใจศึกษาด้านประวัติศาสตร์นะครับ |
|
Back to top |
|
|
pattharachai
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย
|
Posted: 17/06/2009 11:17 pm Post subject: |
|
|
อาคารสถานีธนบุรียังคงอยู่ดีครับ มีการใช้วัสดุป้องกันความเสียหายจากการก่อสร้างอาคารในบริเวณโดยรอบ ส่วนชานชาลา ไม่มีเหลือให้เห็นแล้วครับ
เพิ่มเติมวันที่ 18 มิถุนายน 2552
ภาพสถานีธนบุรี เดิม ถ่ายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2550 ตอนนั้นอาคารสถานีเลิกใช้ และกลายเป็นสมบัติของโรงพยาบาลศิริราชไปแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการก่อสร้างใดๆในบริเวณดังกล่าว การก่อสร้างอาคารของโรงพยาบาลศิริราชเริ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนถัดมา (จำได้ไม่แน่ชัดว่า การก่อสร้างอาคาร รพ.ศิริราช เริ่มต้นในช่วงปลายปี 2550 หรือไม่)
Last edited by pattharachai on 18/06/2009 10:43 am; edited 4 times in total |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47315
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44005
Location: NECTEC
|
Posted: 18/06/2009 11:26 pm Post subject: |
|
|
นายกฯแย้มแผน ศก.เน้นลงทุนโครงการขนาดเล็ก ไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มิถุนายน 2552 18:34 น.
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000069071
“มาร์ค” แย้มแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ เน้นการจัดเก็บภาษี ส่งเสริมโครงการขนาดเล็ก ย้ำไม่เอารัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหุ้น 24 มิ.ย.นี้ เตรียมไปจีน หารือเรื่องการร่วมลงทุนสร้างรถไฟรางคู่
วันนี้ (18 มิ.ย.) ณ หอประชุมศาสตราจารย์ สังเวียน อินทรวิชัย อาคารตลาดหลักทรัพย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถา เรื่อง การแก้วิกฤตเศรษฐกิจ และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว
โดยระบุว่า หากเศรษฐกิจโลกไม่ฟื้น เศรษฐกิจไทยก็ไม่สามารถฟื้นได้ ด้วยสาเหตุจากเป็นระบบเปิดที่ผูกติดกับเศรษฐกิจโลก โดยภาครัฐจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะเน้นการจัดเก็บภาษี และใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาในระยะยาว ลดความเสี่ยงของเศรษฐกิจ และสร้างภูมิคุ้มกันด้วยโครงการขนาดเล็ก เพื่อกระตุ้นทั่วประเทศ
ที่ผ่านมา ได้แก้ปัญหาด้วยการลงทุนขนาดใหญ่ แต่เมื่อเกิดการผิดพลาด จึงกระทบกับเศรษฐกิจโดยรวม อาทิ โครงการอีลิทการ์ดที่ตั้งเป้าว่าจะมีสมาชิกกว่าล้านคน แต่กลับมีเพียง 2,000 คน กลายเป็นภาระงบประมาณแผ่นดินทุกปี และหลายๆ โครงการในอดีตที่ล้มเหลว
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า รัฐบาลจะไม่มีนโยบายนำรัฐวิสาหกิจเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค แต่จะต้องมีการปรับโครงสร้างให้เกิดการแข่งขันเพื่อให้มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนก่อน เช่น รถไฟ รถเมล์ พลังงาน เพราะรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ผูกขาด
แม้ว่าจะทำกำไรได้มาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กำไรจะกลับคืนสู่ประชาชนและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นแม้ว่าอาจจะทำให้มูลค่าของรัฐวิสาหกิจในการเข้าระดมทุนลด ลง แต่ก็คุ้มค่าเพราะประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีหน้าที่ให้ภาคเอกชนหาเงินมาลงทุนภายในประเทศ โดยนายกรัฐมนตรียังเชื่อว่า ในโอกาสที่จะเดินทางไปเยือนจีน ในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ จะได้หารือถึงความร่วมมือในการลงทุน โดยเฉพาะโครงการรถไฟรางคู่ เชื่อว่าจีนจะสนใจร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44005
Location: NECTEC
|
Posted: 21/06/2009 12:39 am Post subject: |
|
|
เปิดแผนฟื้นฟู10ปี เดิมพันอนาคตร.ฟ.ท.
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
ข่าวสดรายวัน ปีที่ 19 ฉบับที่ 6779 วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEl4TURZMU1nPT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBd09TMHdOaTB5TVE9PQ==
กว่า ที่แผนยุทธศาสตร์ปรับปรุงโครง สร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย จะผ่านครม.เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. กระทรวงคมนาคม ต้องออกแรงเข็นอย่างทุลักทุเลอยู่หลายรอบ
ในแผนดังกล่าวกำหนดให้มี การจัดตั้งบริษัทลูก 2 บริษัทคือ
1. บริษัทเดินรถ เพื่อบริหารการเดินรถโดยสาร รถขนส่งสินค้าและโครงการระบบขนส่งทางรถไฟ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ รวมถึงรถไฟฟ้า สายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต และ
2. บริษัทบริหารทรัพย์สิน เพื่อบริหารจัดการที่ดินและทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้คล่องตัวมากกว่าปัจจุบันที่ร.ฟ.ท.ดำเนินการเองทั้งหมด ทำให้เก็บรายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
โดยครม.ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 140 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท. จากวงเงินที่ขออนุมัติ 560 ล้านบาท ส่วนที่เหลือให้ดำเนินการพิจารณาจัดสรรงบประมาณของ ร.ฟ.ท.ในปีต่อไป
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการร.ฟ.ท. ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท.ว่า การจัดตั้งบริษัทลูกทั้งสองแห่ง ร.ฟ.ท.จะถือหุ้น 100% ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้ผ่านการพิจารณาจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ
สำหรับบริษัทบริหารทรัพย์สิน จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1.การบริหารที่ดินในเชิงสังคม ช่วยแก้ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาการบุกรุกที่ดินของ ร.ฟ.ท. การหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้ผู้บุกรุก
2.พัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์ หาผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนามาทำสัญญากับร.ฟ.ท.
3.การติดตามเรื่องหนี้สิน การบริหารสัญญา การกำกับดูแล
ส่วนบริษัทเดินรถ จะเป็นส่วนสำคัญ สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ เดินรถโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ รองรับการเปิดเส้นทางนี้โดยเร็วที่สุด เพราะโครงสร้างทางจะเสร็จหมดแล้ว รวมถึงการบริหารการเดินรถและส่วนพาณิชย์ในการหารายได้จากสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ ทั้ง 8 สถานี ซึ่งส่วนนี้จะทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้เข้ามาอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นรายจ่ายให้กับพนักงานรถไฟที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว
"สิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือต้องหาบุคลากรมาเดินรถ คนที่จะดำเนินการคือซีอีโอ ซึ่งยังไม่มี จึงได้แต่งตั้งให้นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. รับหน้าที่ไปก่อนเป็นการชั่วคราว"
รวมถึงได้ว่าจ้างสถาบันศศินทร์ จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่ในการคัดเลือกบุคลากรในตำแหน่งสำคัญๆ 51 ตำแหน่ง กับอีก 450 คน จะทยอยรับรอบแรก 120 คน ไม่จำกัดว่าเป็นคนนอกหรือคนร.ฟ.ท. ซึ่งคาดว่าในเดือนมิ.ย.นี้จะเสร็จเรียบร้อย
จากนั้นจะเป็นการเรียนเรียนรู้ในแต่ละสายงาน คือจากบริษัทซีเมนส์ที่ต้องฝึกพนักงาน ให้กับบริษัทลูกตามสัญญา
ส่วนการบริหารจัดการเดินรถนั้น จำเป็นต้องว่าจ้างบริษัทที่มีความชำนาญมาฝึกหัดให้
แผน ดังกล่าวยังรวมถึงแผนปรับโครงสร้างการเงิน จะเริ่มจากแก้ไขปัญหาหนี้และขาดทุนสะสมในอดีต 72,850 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ระบบอาณัติสัญญาณในอดีต 66,241 ล้านบาท ในส่วนนี้ภาครัฐจะรับภาระทั้งหมด ที่เหลือเป็นหนี้จากการลงทุนในระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock) อีกประมาณ 19,000 ล้านบาท
ที่สำคัญในแผนยังเสนอแนวทางแก้ปัญหาภาระเงินบำนาญ ของพนักงาน ร.ฟ.ท. จำนวน 25,749 คน เป็นวงเงินที่ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระในส่วนของพนักงานในอดีตและที่ยังไม่เกษียณ จำนวน 156,000 ล้านบาท
นอกจากนี้มีการเสนอให้จัดตั้งกองทุน วงเงิน 58,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยภาระเงินบำนาญ รวมทั้งบริการสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย รัฐควรเข้ามารับภาระแทน วงเงินประมาณ 2,355 ล้านบาทต่อปี
นายยุทธนา กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ได้เสนอประมาณการทางการเงินไว้เป็นระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2552-2561) หากมีการดำเนินการตามแผนที่ร.ฟ.ท.จัดทำเสนอ จะทำ ให้รายได้ของร.ฟ.ท.เพิ่มขึ้นจาก 79,683 ล้านบาท เป็น 109,521 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 29,838 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้น
ส่วนจำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นจาก 46,068 ล้านคน เป็น 50,257 ล้านคน และรายได้จากค่าโดยสารจะเพิ่มขึ้นจาก 4,380.236 ล้านบาท เป็น 8,359 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 9.08%
อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการก่อสร้างทางคู่ต่างๆ รวม 832 กิโลเมตรแล้วเสร็จ บริษัทเดินรถสามารถเพิ่มการขนส่งได้จาก 13.7 ล้านตันต่อปีเป็น 27.4 ล้านตันต่อปี หรือสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดจาก 2% เป็น 4%
ขณะเดียวกัน โครงข่ายทางรถไฟตามแผนการปรับโครงสร้างจะเพิ่มความจุของทาง ทำให้มีความจุของทางส่วนเกินพอที่จะให้เอกชนจัดหารถจักรพ่วงเองเพื่อมาเดิน รถสินค้าได้ประมาณ 6.5 ล้านตันต่อปี
โดยเอกชนจะต้องเสียค่าใช้ทางให้กับร.ฟ.ท. ส่งผลให้ภาครัฐมีรายได้ที่จะนำมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงทางและการ จัดการเดินรถ (ไอเอ็มโอ) เพิ่มขึ้น ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งระบบรางจากการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน
นายยุทธนา กล่าวอีกว่า หากแผนฟื้นฟูของร.ฟ.ท.ไม่สามารถดำเนินการไปได้ตามแผน จะส่งผลให้ร.ฟ.ท.ขาดทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าในระยะเวลา 10 ปี ร.ฟ.ท.จะมีการขาดทุนประมาณ 69,320 ล้านบาท ผลการขาดทุนดังกล่าวจะได้รับการชดเชยจากภาครัฐทั้งจำนวน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 43 ของพ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
แต่หากดำเนินการตามแผน ภาครัฐจะอุดหนุนค่าซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการเดินรถ 70% ซึ่งคิดเป็นเงิน 48,426 ล้านบาท ขณะที่บริษัทเดินรถจะจ่ายค่าใช้ทางคิดเป็น 30% ของการจัดการเดินรถ
นอกจากนี้ ภาครัฐจะต้องจ่ายเงินสนับ สนุนสำหรับการบริการประชาชนผู้มีรายได้น้อย (พีเอสโอ) คิดเป็น 40,000 ล้านบาท แต่หากดำเนินการตามแผน ภาครัฐจะจ่ายเงินสนับสนุนพีเอสโอน้อยลงเหลือเพียง 25,376 ล้านบาท
เนื่องจากกรณีดำเนินการตามแผนเงินสนับสนุน พีเอสโอ จะตัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานออกไป เช่น ค่าซ่อมบำรุงและค่าดอกเบี้ยโครงสร้างพื้นฐาน
นายยุทธนา ระบุว่า ปัญหาของร.ฟ.ท. เป็นองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมหลายอย่างในองค์กรเดียวกัน เช่น งานด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของระบบราง งานด้านการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการเดินรถ งานด้านการให้บริการขนส่งและงานด้านการบริหารทรัพย์สิน
การแข่งขันไม่อยู่บนพื้นฐานเดียวกับทางถนน เพราะร.ฟ.ท.ต้องรับภาระการลงทุนและการซ่อมบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบอาณัติสัญญาณ สถานีและการจัดการเดินรถ ขณะที่การลงทุนและค่าใช้จ่ายทางถนนรับภาระโดยรัฐ ทำให้การดำเนินการของร.ฟ.ท.สูงกว่าทางถนน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร.ฟ.ท.ขาดสภาพคล่อง และขาดความสามารถในการลงทุน
แม้ว่าหนทางแห่งความสำเร็จ แค่ให้เลือดร.ฟ.ท.หยุดไหลนั้นอยู่ไกลเกินกว่าจะคาดเดาได้ แต่อย่างน้อยเมื่อแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.ฉบับนี้คลอดออกมาแล้ว ก็เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งของร.ฟ.ท.และภาครัฐ ที่มีหน้าที่ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
และทั้งหมดนี้เพื่อความอยู่รอดขององค์กร ที่ขาดทุนซ้ำซากมาอย่างยาวนาน
หน้า 8 |
|
Back to top |
|
|
|