View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Cummins
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 22/05/2010 8:29 pm Post subject: เรื่องของเครื่องเย็น และเครื่องปรับอากาศ |
|
|
ก็อยากจะถามความเห็นก็แล้วกันล่ะครับว่า
เครื่องเย็น ได้แก่
-ตู้เย็น
-ตู้แช่
-โลงเย็น
-ห้องเย็น ทั้งห้องเย็นอยู่กับที่ และห้องเย็นคลื่อนที่
เครื่องปรับอากาศ
-รถเก๋ง
-รถสิบล้อ, รถบรรทุก, รถหัวลาก
-รถตู้โดยสาร
-รถแทรเตอร์, เครื่องจักรกลในการก่อสร้าง
-รถทัวร์
- ห้องขับหัวรถจักร
- รถดีเซลรางปรับอากาศ, โบกี้โดยสารปรับอากาศ
ถ้ากำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นว่าระบบเครื่องเย็น และระบบปรับอากาศที่กล่าวขึ้นมานี้เป็นระบบทำความเย็นแบบอัดก๊าซ ซึ่งจะต้องมีเครื่องอัด (Compresser) เป็นอุปกรณ์หลักที่ต้องใช้ครับ ผมของถามความเห็นทางเทคนิคครับว่าเครื่องเย็นและเครื่องปรับอากาศที่กล่าวมานี้มีข้อแตกต่างทางเทคนิคตรงไหนบ้างครับ เพราะมีคำกล่าวว่าเครื่องปรับอากาศรถยนต์กับเครื่องปรับอากาศรถไฟนั้นไม่เหมือนกัน ของรถยนต์ใช้เฉพาะรถยนต์ ของรถไฟก็ใช้กับรถไฟ ไม่สามารถเอามาใช้ร่วมกันได้ ลอง ๆ มาแชร์ความคิดเห็นกันครับ ขอให้เป็นความเห็นในเชิงเทคนิคนะครับ ไม่เอาแบบกำปั้นทุบดินหรือลองของครับ _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44458
Location: NECTEC
|
Posted: 22/05/2010 9:06 pm Post subject: |
|
|
อาจารย์ คิตตี้,
ถ้ากรณีน้ำยาแอร์รั่ว (มีน้ำหยดติ๋งๆ และ มีน้ำแข็งพอกท่อทองแดง) เราจะทำอย่างไรดีครับ  |
|
Back to top |
|
 |
nathapong
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 22/05/2010 9:09 pm Post subject: Re: เรื่องของเครื่องเย็น และเครื่องปรับอากาศ |
|
|
Cummins wrote: | ก็อยากจะถามความเห็นก็แล้วกันล่ะครับว่า................
ผมของถามความเห็นทางเทคนิคครับว่าเครื่องเย็นและเครื่องปรับอากาศที่กล่าวมานี้มีข้อแตกต่างทางเทคนิคตรงไหนบ้างครับ
เพราะมีคำกล่าวว่าเครื่องปรับอากาศรถยนต์กับเครื่องปรับอากาศรถไฟนั้นไม่เหมือนกัน ของรถยนต์ใช้เฉพาะรถยนต์ ของรถไฟก็ใช้กับรถไฟ ไม่สามารถเอามาใช้ร่วมกันได้
ลอง ๆ มาแชร์ความคิดเห็นกันครับ ขอให้เป็นความเห็นในเชิงเทคนิคนะครับ ไม่เอาแบบกำปั้นทุบดินหรือลองของครับ |
อิอิ....กำปั้น พึ่งโดนยิง ไม่ได้ทุบดินนิ....หรือ
อ.คิตตี้ โดนลองของ ซะแล้ว 555 |
|
Back to top |
|
 |
Lamnarai
3rd Class Pass


Joined: 05/02/2009 Posts: 29
Location: ลำนารายณ์
|
Posted: 23/05/2010 12:59 am Post subject: |
|
|
ถ้ากรณีน้ำยาแอร์รั่ว (มีน้ำหยดติ๋งๆ และ มีน้ำแข็งพอกท่อทองแดง) เราจะทำอย่างไรดีครับ
มันมีอยู่ 2 กรณี ครับ คุณ wisarut
1. คือ มีน้ำแข็งจับบริเวณ dryer และ comprasser แต่แอร์นั้นเย็นคือการที่เราเปิดแอร์เย็นจัด (อาจจะเปิด swith ปรับอุณหภูมิแรงเกินไป โดยที่ swith ปิดเปิดแอร์ อยู่ที่เบอร์ 1-2เท่านั้น) วิธีแก้คือ เบา swith อุณหภูมิลง ครับ
2. มีน้ำแข็งจับบริเวณ dryer และ comprasser แต่แอร์นั้นไม่เย็นคือน้ำยารั่วจริงๆครับ
(ยกเว้นน้ำยาไม่รั่ว แต่แอร์ไม่เย็น คือตู้ตันครับ)
ส่วนที่น้ำหยดนั้นจะเป็นน้ำที่มาจากตู้แอร์มากกว่า ครับ เป็นเรื่องปกติครับที่น้ำจะหยดลงพื้น
แต่ไม่ได้แสดงว่าตู้แอร์รั่วนะครับ เป็นจากการที่น้ำยาถูกฉีดเข้าไปในตู้แอร์ แล้วถูกพัดลมเป่าตู้เพื่อให้ความเย็นนั้นเข้าไปในห้องโดยสารครับ เมื่อตู้แอร์นั้นเย็นแล้วเจอลมพัดตลอดเวลาที่เปิดแอร์ ทำให้เกิดเป็นหยดน้ำครับ |
|
Back to top |
|
 |
tongchit
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006 Posts: 1164
Location: ทับยาว เขต.ลาดกระบัง
|
Posted: 23/05/2010 10:44 am Post subject: |
|
|
ท่านราชครูว่า wrote: | เครื่องปรับอากาศ
-รถเก๋ง
-รถสิบล้อ, รถบรรทุก, รถหัวลาก
-รถตู้โดยสาร
-รถแทรเตอร์, เครื่องจักรกลในการก่อสร้าง
-รถทัวร์
- ห้องขับหัวรถจักร
- รถดีเซลรางปรับอากาศ, โบกี้โดยสารปรับอากาศ |
ที่เน้นสีแดงไว้ผมว่านะความกว้าง-ยาว ของรถสิบล้อ-รถบรรทุก-รถลาก
ผมว่าน่าจะกว้างกว่าหัวรถจักร เสียด้วยซ้ำ
เคยเห็นหัวรถลากของ"VOLVO" อัดฅนเข้าไปอยู่ในแคบด้านหลังฅนขับประมาณ 5-6 ฅน
รถก็ยังเย็นอยู่ได้  _________________ ความผิดฅนอื่นเท่าขุนเขา ความผิดเราเท่าขุมขน
 |
|
Back to top |
|
 |
Serberk
3rd Class Pass (Air)


Joined: 17/07/2006 Posts: 380
Location: Burirum United
|
Posted: 23/05/2010 11:22 am Post subject: |
|
|
ในความคิดของผมนะ
ผมว่า..ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถไฟ ระบบทำความเย็นและปรับอากาศนั้น ไม่แตกต่างกัน แต่จะต่างตรงที่ ขนาด เท่านั้น เพราะว่า
1. รถยนต์ขนาดของคอมเพรสเซอร์จะมีขนาดเล็ก และอีวาปอร์เรเตอร์ก็จะมีขนาดเล็กเพื่อให้มีความสามารถในการทำความเย็นเพียงพอกับห้องโดยสาร
2. รถไฟขนาดของคอมเพรสเซอร์จะมีขนาดใหญ่กว่า และอีวาปอร์เรเตอร์ก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย เพื่อที่จะได้ทำความเย็นให้เพียงพอกับห้องโดยสาร
ปล.1. ถ้าจะเอาคอมเพรสเซอร์ของรถไฟไปใส่รถยนต์ได้ไหม ตอบ..ได้แต่จะเอาพลังงานจากไหนมาขับคอมเพรสเซอร์
2. ถ้าจะเอาคอมเพรสเซอร์ของรถยนต์มาใส่รถไฟได้ไหม ตอบ..ได้แน่นอน แต่ต้องใช้กี่ตัวถึงจะเย็นทั้งห้องโดยสาร
เพราะฉะนั้น การที่เรา(ช่างไทย)จะทำรถดีเซลรางปรับอากาศนั้น ไม่ยากเย็นอะไรเลยเพราะชิ้นส่วนต่างๆ ส่วนใหญ่ของรถยนต์สามารถดัดแปลงมาใส่รถไฟได้ ไม่เชื่อก็ลองถามวิศวกรที่โรงงานเจ๊เกียวสิว่า ถ้าเปลี่ยนล้อรถบัสเป็นล้อรถไฟทำได้ไหม 
Last edited by Serberk on 24/05/2010 10:13 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
 |
Cummins
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 23/05/2010 5:50 pm Post subject: |
|
|
Serberk wrote: | ในความคิดของผมนะ
ผมว่า..ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถไฟ ระบบทำความเย็นและปรับอากาศนั้น ไม่แตกต่างกัน แต่จะต่างตรงที่ ขนาด เท่านั้น เพราะว่า
1. รถยนต์ขนาดของคอมเพรสเซอร์จะมีขนาดเล็ก และคอนเดนเซอร์ก็จะมีขนาดเล็กเพื่อให้มีความสามารถในการทำความเย็นเพียงพอกับห้องโดยสาร
2. รถไฟขนาดของคอมเพรสเซอร์จะมีขนาดใหญ่กว่า และคอนเดนเซอร์ก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย เพื่อที่จะได้ทำความเย็นให้เพียงพอกับห้องโดยสาร
ปล.1. ถ้าจะเอาคอมเพรสเซอร์ของรถไฟไปใส่รถยนต์ได้ไหม ตอบ..ได้แต่จะเอาพลังงานจากไหนมาขับคอมเพรสเซอร์
2. ถ้าจะเอาคอมเพรสเซอร์ของรถยนต์มาใส่รถไฟได้ไหม ตอบ..ได้แน่นอน แต่ต้องใช้กี่ตัวถึงจะเย็นทั้งห้องโดยสาร
|
ตอบ (พิเศษสำหรับนาย ....ข้าวผัดน้ำพริกนรกเลย)
ข้อ 1. คอมแอร์รถไฟ จะเอารถอะไร ถ้าเป็นห้องขับรถจักรคอมแอร์สิบล้อก็พอเหลือเฟือ แล้วจะเอากำลังงานจากไหนมาขับ ก็เครื่องยนต์ไง พอมั้ยล่ะ คอมรถตู้โดยสารก็ยังได้ และถ้าเป็นคอมแอร์โบกี้โดยสารก็ถามว่า มันต่างกับคอมแอร์รถทัวร์สองชั้นตรงไหน ลองตอบมาหน่อยซิ
ข้อ 2. กลับไปดูที่ข้อ 1.
ถ้าขืนมาแบบบ้องตื้นแบบนี้จะให้ ผศ.ชูชัย เอาเกรดวิชาเครื่องเย็นและระบบปรับอากาศคืน เรื่องแค่นี้จบวิศวเครื่องกลมายังมองไม่ออกหรือไง _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
 |
Cummins
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 23/05/2010 6:00 pm Post subject: |
|
|
ช.007 wrote: | เหมือนได้ปรับพื้นวิชา เครื่องทำความเย็นไปในตัวเลย วุ้ยยยยย.......ชักมันขึ้นเรื่อยๆ |
ช. มาปรับพื้นที่นี่ก็ได้สมาชิกคนอื่น ๆ ที่อยากรู้จะได้รู้ด้วย สมาชิกที่นี่ส่วนใหญ่เข้าที่โน้นไม่ได้ครับ ผมก็ขี้เกียจข้ามไปข้ามมาเหมือนกัน ไปเล่นอะไรที่โน่นมาก ๆ เดี๋ยวเขาจะหมั่นตับผมครับ ช. ครับ _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
 |
Cummins
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 24/05/2010 12:47 pm Post subject: |
|
|
ไปเจอมา wrote: | แอร์ที่ท่านวิศวกรท่านดำรินั้น ท่านต้องการแอร์ที่เป็นของที่ใช้กับรถไฟโดยตรง ซึ่งราคาก็แพง ต้องนำเข้าแต่ก็ต้องดัดแปลงเช่นกัน |
เรียน
พี่น้องสมาชิกทั้งหลาย โดยเฉพาะนักศึกษาวิศวะหลาย ๆ สถาบันที่เป็นสมาชิกบอร์ดนี้ (เห็นหลายคนนะครับที่เอาโลโก้ภาควิชามาเป็นภาพประจำตัว) โดยเฉพาะที่เรียนเครื่องกลครับช่วยกันออกความเห็นหน่อยครับว่า อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบปรับอากาศระหว่างรถนต์กับรถไฟนั้นมันมีรายละเอียดทางเทคนิคต่างกันยังไง เอาแค่ระหว่างห้องขับรถจักร กับหัวเก๋งสิบล้อก่อน แล้วค่อยไปเล่นของใหญ่ก็คือระหว่างโบกี้รถโดยสารกับรถทัวร์สองชั้น ไล่รายตัวเลยครับอย่างเช่น คอมเพรสเชอร์ต้องเป็นแบบไหน แบบเปิด แบบปิด หรือแบบกึ่งปิด ขับเคลื่อนด้วยอะไร ไฟฟ้า หรือใช้เครื่องยนต์ โครงสร้างเป็นแบบไหนเช่น โรตารี สูบชัก สวอทเพลท หรืออื่น ๆ ทำนองนี้ล่ะครับ ต่อไปก็เป็น
คอยล์ร้อน อะไรทำนองนี้ครับ _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
 |
beer45
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/06/2007 Posts: 4249
Location: ประเทศสยาม
|
Posted: 24/05/2010 3:52 pm Post subject: |
|
|
อ่านกระทู้ของ อ. คิตตี้ แล้วชักมันส์ครับ ระบบปรับอากาศมันเป็นอะไรที่แตกต่างกันในรถแต่ละขนิด ในส่วนของรถไฟส่วนใหญ่ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศก้จะแยกเป็น ระบบปรับอากาศที่ติดตั้งในรถ แดวู สปรินท์เตอร์ รถนอนต่างๆ มันก็จะใช้เครื่องยนต์ เป็นตัวขับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งก็เรียกเครื่องยนต์ชนิดนี้ว่า PGU DONKEY ENGINE บ้างซึ่งจะผลิตไฟฟ้า 380 โวลต์สำหรับใช้งานในระบบต่างๆ ลองชมบล๊อคไดอะแกรมการทำงานคร่าวๆกันครับ
ขณะทำขบวนเมื่อได้รับแจ้งว่า แอร์ไม่เย็น , แอร์เสีย , แอร์ดับหรือแอร์ชำรุดด้วยเหตุใดก็ตาม เราเป็นพนักงานรถจักรซึ่งมีความรู้ด้านเทคนิค ควรจะไปตรวจดูที่รถคันที่มีปัญหาดังกล่าว เผื่อว่าจะสามารถแก้ไขได้โดยตรวจสอบตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1 ) ก่อนอื่นให้ตรวจสอบว่า เครื่องยนต์ PGU ของรถคันนั้นดับหรือไม่ ถ้าดับให้หาสาเหตุและทดลองติดเครื่องยนต์ใหม่
2 ) ถ้าไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้เนื่องจากเครื่องยนต์ชำรุดหรือหาสาเหตุไม่พบ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ให้ทำการแชร์โหลด
3 ) ถ้าหากเครื่องยนต์ PGU ติดปกติหรือเกิดชำรุดงดใช้แต่ได้ทำการแชร์โหลดแล้ว ขั้นตอนต่อไปให้ตรวจดูสวิทช์หรือเบรคเกอร์ในตู้ไฟฟ้า DISTRIBUTION BOARD อยู่บนรถ คันที่มีห้องขับจะอยู่ด้านหลัง พขร. ส่วนคันที่ไม่มีห้องขับจะอยู่ในห้องผู้โดยสารติดประตูเลื่อนใกล้ห้องน้ำ แล้วตรวจสอบดูว่าเบรคเกอร์หรือสวิทช์ต่าง ๆ ต่อไปนี้ว่าอยู่ในตำแหน่งถูกต้องหรือไม่
3 . 1 CS เป็นสวิทช์แชร์โหลด ปกติอยู่ในท่า “ N ” ยกเว้นมีการแชร์โหลด ( ถ้าไม่ได้มีการแชร์โหลดแต่ได้บิดสวิทช์ตัวนี้ไปไว้ตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ “ N ” จะมีผลให้ระบบปรับอากาศทำงานเพียงวงจรเดียว )
3 . 2 ตรวจสอบเบรคเกอร์ ACB ( AIR CONDITION CONTROL CIRCUIT BRAKER ) ต้องอยู่ในท่า “ ON ” ยกขึ้นเสมอ มิฉะนั้นระบบปรับอากาศจะไม่ทำงานทั้ง 2 วงจร ถึงแม้เครื่องยนต์ PGU ยังติดอยู่ก็ตาม เพราะเบรคเกอร์ ACB เป็นเบรคเกอร์ตัดตอนทางไฟฟ้า 380 โวลท์จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากับเครื่องปรับอากาศ
3 . 3 ตรวจสอบสวิทช์ AIR CON. MAIN ปกติไว้ท่า “ FULL ” อยู่แล้วจะทำให้ระบบปรับอากาศทำงานทั้ง 2 วงจร ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ มีผลดังนี้
ก. HALF นั่นหมายถึงต้องการให้ระบบปรับอากาศจะทำงานเพียงวงจรเดียว
ข. FAN นั่นหมายถึงไม่ต้องการให้ระบบปรับอากาศทำงานทั้งสองวงจรแต่พัดลม
SUPPLY FAN ( เป็นพัดลมที่เป่าความเย็นออกทางช่องแอร์ ) ยังทำงานอยู่ หรือในกรณีต้องการละลายน้ำแข็งจับที่แผงคอล์ยเย็น ก็ให้บิดสวิทช์ไปในตำแหน่งนี้ เมื่อน้ำแข็งละลายหมดแล้วให้บิดกลับไปท่า “ FULL ” ตามเดิม
3 . 4 ตรวจดูสวิทช์ AIR CON. SPEED FAN ซึ่งเป็นสวิทช์ปรับความแรงลมที่เป่าออกจากช่องแอร์ ปกติไว้ตำแหน่ง “ HIGH ”
4 ) ขั้นตอนต่อไปทำการเปิดแผง Return Air Filter ออก แผงกรองกันฝุ่นนี้อยู่ในห้องผู้โดยสารด้านห้องขับหรือด้านหน้าถ้าไม่มีห้องขับ เมื่อเปิดแผงออกแล้วให้ตรวจสอบดังนี้
ก. หลอดสีเขียว UNIT ON ต้องติดแสดง หมายถึง ไฟ 220 โวลท์ ถูกจ่ายเข้าระบบควบคุมแล้ว
ข.เบรคเกอร์ซึ่งอยู่ที่กล่องควบคุม ต้องอยู่ในท่าที่ถูกต้อง ดังนี้
เบรคเกอร์ CB เป็นเบรคเกอร์ตัดตอนทางไฟฟ้าก่อนเข้ากล่องควบคุม 220 โวลท์
” SFB ” ก่อนเข้ามอเตอร์พัดลม SUPPLY FAN 380 โวลท์
” CFB ” ก่อนเข้ามอเตอร์พัดลมCONDENSOR FAN 380 โวลท์
” CMB 1 , 2 ” ก่อนเข้ามอเตอร์ COMPRESSOR 380 โวลท์
ให้จำไว้ว่า เบรคเกอร์ทุกตัว ท่าปกติ ให้ปุ่มดำจม ปุ่มแดงเด้ง ถ้าพบว่าเบรคเกอร์ตัวใด ปุ่มดำเด้ง แต่ปุ่มแดงจม ให้กดปุ่มดำให้จม ถ้ามีอาการชำรุดอีกให้บันทึกซ่อม
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่พนักงานรถจักรจะต้องตรวจสอบก่อนที่จะหาสาเหตุอื่น ๆ เพราะเป็นการตรวจสอบที่มองเห็นง่ายและเป็นสิ่งสำคัญทุกขั้นตอนเกี่ยวข้องกันหมด คิดว่าคงจะไม่ยากเกินไปที่จะแก้ไข ต่อไปหลังจากที่ตรวจสอบอุปกรณ์ความพร้อมข้างต้นเรียบร้อยแล้วมาวิเคราะห์เรื่องแอร์ไม่เย็นตามหัวข้อต่อไปนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขต่อไป |
|
Back to top |
|
 |
|