RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311898
ทั่วไป:13571302
ทั้งหมด:13883200
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บทความ : ชุมชนที่อาศัยดั้งเดิมบริเวณย่านสถานีรถไฟไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บทความ : ชุมชนที่อาศัยดั้งเดิมบริเวณย่านสถานีรถไฟไทย
Goto page 1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 18/06/2010 12:50 pm    Post subject: บทความ : ชุมชนที่อาศัยดั้งเดิมบริเวณย่านสถานีรถไฟไทย Reply with quote

คุณปริญญา ชูแก้ว จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นสมาชิกเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม ได้กรุณาส่งบทความเรื่อง "ชุมชนที่อาศัยดั้งเดิมบริเวณย่านสถานีรถไฟไทย" ที่จะลงตีพิมพ์ในนิตยสารของสมาคมอิโคโมส ในเดือนนี้ มาให้ผมทางอีเมล์ ในที่นี้จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ให้สมาชิกชาวรถไฟไทยดอทคอม และผู้สนใจได้อ่านกัน

ขอขอบพระคุณ คุณปริญญา ชูแก้ว ในความเอื้อเฟื้อกับเว็บไซต์ฯ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

ดาวน์โหลดเวอร์ชั่นเต็มได้ที่นี่

ตัวอย่างบทความ

Click on the image for full size

Click on the image for full size


Last edited by CivilSpice on 29/04/2011 1:22 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
jojoja
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/02/2010
Posts: 133

PostPosted: 18/06/2010 1:01 pm    Post subject: Reply with quote

ย่านสถานีรถไฟแทบทุกที่ ชุมชนจะเข้ามาตั้งบ้านเรือนหนาแน่น และรถไฟก็ได้นำพาความเจริญสู่ชุมชนนั้นๆ ดูอย่างที่ช่องแค จะเห็นได้ว่ารถไฟได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน วัด
ก็ขนาดตราประจำองค์การบริหารส่วนตำบลช่องแคยังเป็นรูปรถจักรเลยครับ
ตลาด ร้านรวงต่างๆก็ตั้งอยู่บนที่ดินของรถไฟ ฯลฯ แต่มาในระยะหลังก้ได้เสื่อมโทรมลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่ก็น่าภูมิใจครับว่ารถไฟได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำพาชุมชนนั้นๆให้เจริญนะครับ
_________________
เราโตมาได้ด้วยเงินจากรถไฟครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
tong_sanam
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 15/05/2007
Posts: 1550
Location: พิกัดที่ 385.593

PostPosted: 18/06/2010 3:29 pm    Post subject: Reply with quote

ความรุ่งเรืองทางการค้าในอดีตมักจะเกี่ยวพันกับรถไฟ และมักเกิดชุมชนขึ้นตามเส้นทางรถไฟ แต่ประวัติศาสตร์ไม่ค่อยมีเขียนเท่าไหร่มั้ง
_________________
Click on the image for full size

"ที่นี่สถานีชุมทางสนามชัยเขต
ท่านที่จะเดินทางไป จันทบุรี ตราด
โปรดข้ามไปรอการโดยสารในชานชาลาที่ 2"
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 24/06/2010 5:53 pm    Post subject: Reply with quote

ขออนุญาตท่านเข้าของบทความมาขยายผล ต่อนะครับ

รูปแบบ สถานีรถไฟ กับ วิถีชุมชน

เรื่องของเรี่อง มีที่มาจากแกลอรี่ภาพสถานี ต่าง ๆ ของเวบ RFT เนี่ยแหละ
รวมถึงการเข้าไปบริการรถไฟในฐานะผู้โดยสาร มีสิ่งที่ในหลาย ๆ เรื่องราว ๆ
ที่นำมาพูดคุยได้หลากหลายเช่น รูปแบบสถานี ม้านั่งรอ ช่องขายตั๋ว ตั๋วชนิดต่าง ๆ โปสเตอร์ คำเตือนต่าง ที่เกี่ยวกับการโดยสาร ตาชั่งน้ำหนัก เครื่องออกลูกตราทางสะดวก คันโยกกลับประแจ และ เสาหางปลา เสาคล้องห่วงทางสะดวก รวมถึงที่เกี่ยวกับการกิน ได้แก่ร้านบาร์จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม

จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน หลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป พอสมควร ในความเห็นของสมาชิก

ท่านคิดไหมว่าเหตุใด บางแห่ง อาคารสถานีรถไฟ ยังอยู่ ในแบบเดิม ๆ บางแห่งได้เปลี่ยนแปลงไป (ยกตัวอย่างช่วง รังสิต – ชท.บ้านภาชี ที่มีการก่อสร้างรางสามขึ้นมา สถนีที่เปลี่ยนไป คือ รังสิต เชียงราก (มาจากการแข่งเอเชี่ยนเกมส์) เชียงรากน้อย คลองพุดซา แต่ที่ยังรูปแบบเดิม ได้แก่ บางปะอิน บ้านโพ อยุธยา บ้านม้า มาบพระจันทร์ พระแก้ว)

ในความเปลี่ยนแปลง หากหยิบยก ขึ้นมา มีผลต่อวิถีชุมชนอย่างไร หรือ การเปลี่ยนแปลงของชุมชน มีผลต่อสถานีรถไฟอย่างไรบ้าง

ถ้าจะให้ได้อรรถรส คงฝากรูปของสถานีและ ความเห็น ของสมาชิกทุกท่าน นะครับ

ส่วนหนึ่งจากความเห็นของท่าน อาจจะนำไปสู่ ในเรื่องการสร้างทางคู่ ในอนาคต

ที่ส่งผลต่อรูปแบบอาคารสถานีของเดิม หรือก่อสร้างใหม่ หรือที่รื้อแล้วสร้างใหม่ด้วยเหตุผล อื่น ๆ

ที่อาจนอกเหนือความคาดหมาย คือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของ รฟท. ในส่วนของ I (Infrastructure) กับ O (Operator) จากภาคประชาชน ก็ได้.... ใครจะรู้
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
jojoja
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/02/2010
Posts: 133

PostPosted: 24/06/2010 8:08 pm    Post subject: Reply with quote

รูปแบบอาคารสถานีในแต่ละที่ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา บางที่อาจจะผุพังก็ต้องซ่อมแซมใหม่ จนเค้าโครงเดิมๆก็เปลี่ยนไป อย่างที่สถานีที่ผมทำงานอยู่ ก็ได้สอบถามจากชาวบ้านที่อยู่มานานก็บอกว่าแต่เดิมอาคารสถานีไม่ได้เป็นแบบนี้ และที่น่าสนใจก็มีบ้านพักรถไฟที่เอาโบกี้รถไฟมาทำเป็นบ้าน ได้ไปสำรวจดูก็พบว่ามีเลขประจำโบกี้ติดอยู่เป็นเลข ๓ ส่นฐานข้างล่างเป็นโครงเหล็ก แต่ไม่ได้ไปสำรวจภายในเพราะบันไดขึ้นพังไปแล้ว ซึงทราบมาว่ามีแค่ 2 ที่ๆมีโบกี้รถไฟรุ่นเก่ามาทำเป็นบ้านพักแต่อีกที่ไม่ทราบว่าที่ไหนครับ
_________________
เราโตมาได้ด้วยเงินจากรถไฟครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/05/2009
Posts: 487

PostPosted: 05/07/2010 11:35 am    Post subject: Reply with quote

อย่างสายเหนือและสายใต้นี่ เห็นชัดๆหลายจุดเลยครับ
ในขณะที่สายตะวันออกกลับไม่ค่อยมีชุมชนที่เกิดจากการพาดผ่านของรถไฟมากนัก (แถวๆคลองหลวงแพ่งไปจรดแปดริ้ว และแปดริ้วไปจรดปราจีนบุรีนี่ ทุ่งนาล้วนๆเลย)
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 05/07/2010 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

ู^
น่าคิดเหมือนกันครับ
ถ้าให้วิเคราะห็แบบรวดเร็ว ก็คิดว่าทางรถไฟสายนี้ช่วงตั้งแต่ออกชานเมืองในสมัยก่อนคือ คลองตัน หัวหมาก ... จะขนานไปกับ คลองประเวศบุรีรมย์ ที่มีอยู่ก่อนและมีการตั้งถิ่นฐานเดิมในลักษณะชุมชนอยู่แล้ว
คิดถึงหัวตะเข้สมัยสามสิบปีที่แล้วครับ ที่ตลาดหัวตะเข้จะมีคลองมาบรรจบกับคงองประเวศฯ ยังมีการเดินทาง ค้าขาย ขนส่ง ด้วยเรือแบบต่างๆ มากมาย ที่จำได้เพราะเป็นแบบฝึกหัดในวิชา Delineation และ Painting ที่อาจารย์กำหนดให้ทำเลแถวนั้นในการทำงานครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
srinopkun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010
Posts: 2940
Location: นครปฐม

PostPosted: 06/03/2011 3:42 pm    Post subject: Reply with quote

digimontamer wrote:
อย่างสายเหนือและสายใต้นี่ เห็นชัดๆหลายจุดเลยครับ


เห็นด้วยครับ .... อย่างเช่นในทางสายใต้ช่วงต้นๆ ซึ่งผมมีข้อมูลอยู่บ้าง
สถานี - ช่วงทางรถไฟเหล่านั้น ก่อให้เกิดประวัติศาสตร์, ความหลัง, ความทรงจำดีๆ
เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ, ขนส่ง,
และ .... เป็นเส้นทางพาลูกหลานของคนแถวนั้นก้าวไปสู่ความเจริญในหน้าที่การงาน

มาตราบจนทุกวันนี้


ตั้งแต่สถานีธนบุรีเลยละ
(ตอนนี้เหลือแค่อาคารสถานี รางหดไปนู่น ศาลาน้ำร้อนเดิมนู่นแล้ว)


สถานีวัดงิ้วราย ชุมชนเก่าดั้งเดิมเชียวละ
คนสำคัญๆของบ้านเราหลายท่านเป็นลูกหลานวัดงิ้วราย ขึ้นรถไฟไปเรียน - ไปทำงาน
จนกระัทั่งไปซื้อบ้านอยู่กลางเมือง เพราะไปทำงานสะดวกกว่า


สถานีนครปฐม อันนี้ใครๆก็ทราบดี ว่าที่ทำทางรถไฟมาติดเมือง ก็เพื่อให้มานมัสการพระปฐมเจดีย์ได้สะดวก
(สมัยก่อนมองเห็นองค์พระฯ จากสถานีชัดเจนมากมาย)


สถานีบ้านโป่ง
นี่เป็นชุมชน และชุมทางที่จะผ่านไปยังกาญจนบุรี และล่องใต้


สถานีแต่ละสถานีที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของเรา ล้วนแต่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้คนแถวๆสถานี ได้ติดต่อกับโลกภายนอกได้ ยังประโยชน์มหาศาล




****************************************************


แต่ .....


บ้านเรือนรกรุงรัง ที่สร้างขึ้นอย่างไม่เกรงใจใครในปัจจุบันนี้ ไม่เห็นก่อให้เกิด "ความเจริญ" เลย ไม่ว่าด้านใดก็ตาม



จะที่ไหนซะอีก ก็แถวๆ ยมราชน่ะแหละ ที่สร้างซะหลังคา + ส่วนของบ้านมาเฉียดตัวรถไฟชนิดที่เรียกว่า ถ้ารถไฟโยกเยก คงไปกระแทกหลังคาบ้านพวกนี้เข้าให้

จะอะไรกันนักกันหนานะ Evil or Very Mad

จะปลูกจะสร้างก็รู้อยู่แล้วว่า "บุกรุก" ที่รถไฟเค้า ยังจะท้าทายด้วยการสร้างซะติดตัวรถเชียว
(เย้ยกฏหมายสิ้นดี)

ไม่เห็นใครทำอะไรซะที ..... เฮ้อ
Back to top
View user's profile Send private message
RORONOA
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/12/2007
Posts: 705

PostPosted: 06/03/2011 9:01 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
สถานีบ้านโป่ง
นี่เป็นชุมชน และชุมทางที่จะผ่านไปยังกาญจนบุรี และล่องใต้


ใช่ครับ บ้านโป่งเป็นอีกอำเภอที่เกิดมาได้เพราะรถไฟ เพราะในประวัติการก่อตั้งอำเภอทุกๆเอกสารก็เขียนไว้ชัดเจนว่า บ้านโป่งนั้นแต่เดิมคืออำเภอท่าผา ซึ่งต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ใกล้รถไฟแล้วก็ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็นอำเภอบ้านโป่ง จะสังเกตได้ว่าถนนเส้นหลักของบ้านโป่งนั้นจะมุ่งสู่สถานีรถไฟ และยังเป็นจุดเริ่มของถนนหลักของจังหวัดกาญจนบุรีด้วย ซึ่งถ้าไปดูเอกสารการก่อสร้างทางคู่ จะพบว่าชุมชนที่ได้รับผลกระทบจะมีชุมชนบ้านโป่งอยู่หลายชุมชน ซึ่งหลายๆที่ก็ไม่ได้บุกรุก เป็นการทำสัญญาอย่างถูกต้อง ส่วนประเด็นที่ว่าชุมชนและรถไฟที่เหมือนปัจจุบันจะยิ่งดูห่างเหินกัน ผมว่าบางทีก็เป็นที่รถไฟเองนั่นล่ะครับที่ห่างเหินชุมชน หรือไม่ใส่ใจชุชนรอบข้าง อย่างกรณีเจ็ดเสมียน ที่ทุบสถานีเก่าแล้วสร้างใหม่โดยไม่คงรูปแบบเดิมที่เป็นความต้องการของชาวชุมชนมากกว่า อย่างกรณีบ้านโป่งทั้งๆที่มีโรงเรียนอยู่รายรอบะสถานีกว่า 15 โรงเรียน มีนักเรียนต้องมาเรียนวันละกว่า 20,000 คน แต่แทบจะไม่มีนักเรียนได้ใช้บริการรถไฟเลย เพราะเวลาของรถไฟเองที่ไม่เอื้ออำนวย และทางเทศบาลจะขอขยายถนน และปรับปรุงจุดตัดเพื่อแก้ปัญหาจราจรก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากรฟท.เท่าที่ควร นอกจากนี้ขบวนรถที่ชาวชุมชนและใกล้เคียงต้องการใช้โดยสาร กลับไม่จอดให้ รถไฟบางครั้งจึงถูกมองว่าเป็นตัวปัญหาไปเสียอีกครับ Confused
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2011 11:56 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
กรณี สถานีเจ็ดเสมียน ที่ทุบสถานีเก่าแล้วสร้างใหม่โดยไม่คงรูปแบบเดิมเป็นการพูด ที่ใช้ไม่ได้เลยนะ เพำราะ ยุคนี้ ไม่มันแพง จะให้สร้างสถานีไม่ตามแบบเดิมได้อย่างไร แค่ จำลองใมห้ได้ตามแบบ เก่า ก็เหลือกำลังลากแล้ว ... ดูที่ สถานีชะอวด นี่ สิ ยิ่งไปกันใหญ่ เห็นแล้ว ถ้าไม่ลงสีใหม่ เมื่อ โทรม ให่้ ระเบิดทิ้งเสีย!
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3  Next
Page 1 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©