View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
rimura
2nd Class Pass (Air)
Joined: 16/08/2006 Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok
|
Posted: 10/07/2011 7:28 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณสำหรับข้อมูลและสาระดีๆอย่างนี้ด้วยนะครับผม , ได้อ่านได้ชมเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของขอพ่วงในไทยแล้ว เห็นภาพถึงในยุคสมัยนั้นได้อย่างชัดเจนเลยครับ ยุคที่
รถจักรในตำนานอย่าง Davenport เข้ามามีบทบาทสำคัญในช่วงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของไทย ยุคของการเริ่มการหลั่งไหลเข้ามาของสินค้าและแรงงานโดยเฉพาะจากทางภาคอีสานซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้มหานครใหญ่อย่างกรุงเทพฯเติบโตขึ้นมาได้ตราบเท่าทุกวันนี้ครับ สุดยอดจริงๆ ขอบคุณอีกครั้งครับผม |
|
Back to top |
|
|
heerchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/07/2006 Posts: 7730
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
|
Posted: 11/07/2011 1:56 am Post subject: |
|
|
rimura wrote: | รถจักรในตำนานอย่าง Davenport เข้ามามีบทบาทสำคัญในช่วงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของไทย ยุคของการเริ่มการหลั่งไหลเข้ามาของสินค้าและแรงงานโดยเฉพาะจากทางภาคอีสานซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้มหานครใหญ่อย่างกรุงเทพฯเติบโตขึ้นมาได้ตราบเท่าทุกวันนี้ครับ สุดยอดจริงๆ ขอบคุณอีกครั้งครับผม |
เรื่องลงไปไทยของคนอีสานนั้นมันเริ่มแต่สมัยรถไฟไปถึงโคราชปี 2443 แล้วหละครับ ต่อมาเมื่อขยายไปท่าช้างปี 2465 หมู่เฮาก็นั่งเรือกลไฟแม่น้ำมูลไปลงท่าช้างแล้วต่อรถไฟเข้าโคราช พักโคราช 1 คืนแล้ว ขึ้นรถ ขบวน 44 ลงไปกรุงเทพ
พอปี 2473 จึงหันไปขึ้นรถไฟจากวารินทร์ไปโคราชและโคราชไปกรุงเทพฯ แทน แม้ตอนปลายปี 2480 มีรถด่วนประจำสัปดาห์ วิ่งระหว่าง กรุงเทพ - โคราช - วารินทร์ ก็ยังมีการค้างที่โคราชพักโรงเตี๊ยมรวม ที่คิดคืนละ 1 บาทอยู่
ส่วนกรณีขอนแก่นนั้น ต้องรอปี 2476 โน่น ถึงจะมีรถเดิน ไปโคราช และปลายปี 2482 จึงจะมีรถด่วนประจำสัปดาห์กรุงเทพ - โคราช - ขอนแก่น เดิน ... และ ปี 2484 จึงจะขยายปลายทางไปอุดรธานี เพราะ ครม. ให้หมดระยะที่อุดรแทนที่จะไปจนถึงหนองคาย ตามที่กรมพระกำแพงดำริไว้แต่เดิม
เพราะเห็นว่าเวียงจันทน์ไม่มีอะไรน่าสนใจควรค่าแก่การขยายปลายทาง และ มีถนนดินลูกรังไปหนองคาย (ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของถนนมิตรภาพ) และ ถนนดินลูกรังไป สกลนครและนครพนม (ต่อเป็นทางหลวงหมายเลข 22) อยู่แล้ว |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 11/07/2011 2:25 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | ภาพนี้ว่ากันว่าเป็นภาพรถไฟไทยภาพแรกสุด ที่เห็นเสาสัญญาณไฟสีครับ
(แม้จะเป็นภาพขาวดำก็ตาม)
black_express wrote: | |
|
ขอนอกเรื่องนิดหนึ่งครับพี่ตึ๋ง และอาจารย์เอก
ภาพนี้คือย่านบางซื่อหรือเปล่าครับ _________________
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 11/07/2011 2:29 pm Post subject: |
|
|
^
บางซื่อครับ ภาพนี้ถ่ายจากบนสะพานลอยตัวเก่าหันไปทางทิศเหนือ
ร่องรอยที่พอมองเห็นได้ในปัจจุบันก็คือ แนวขอบชานชาลาที่เป็นแนวโค้งเบนไปทางขวาซึ่งปรากฏอยู่บนพื้นชานชาลาปัจจุบัน |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 11/07/2011 2:35 pm Post subject: |
|
|
Nakhonlampang wrote: | ^
บางซื่อครับ ภาพนี้ถ่ายจากบนสะพานลอยตัวเก่าหันไปทางทิศเหนือ
ร่องรอยที่พอมองเห็นได้ในปัจจุบันก็คือ แนวขอบชานชาลาที่เป็นแนวโค้งเบนไปทางขวาซึ่งปรากฏอยู่บนพื้นชานชาลาปัจจุบัน |
ขอบคุณครับคุณหนุ่ม
ทางซ้ายคือโรงปูนใช่ไหมครับ
แล้วหอสัญญาณทางขวานี่รื้อออกไปตั้งแต่เมื่อใดครับ _________________
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 11/07/2011 3:36 pm Post subject: |
|
|
ป๋าณัฐเคยเล่ามานะครับ...
"หอสัญญาณตรงด้านเหนือสถานี
อ่า ตรงนี้ ในอดีต คือ หอสัญญาณ 1 ครับ ส่วน หอสัญญาณ 2 อยู่กลางๆ ย่าน ในปัจจุบัน หอสัญญาณ 3 อยู่ท้ายๆ โรงกลึงล้อ ขนานกับทางที่รถสินค้าจากสายใต้ ที่ตัดขวางในเส้นทางสายเหนือ ...
แหะ ทั้งในหอที่ 3 เนี่ย ถ้าจำไม่ผิดทุบทิ้งไปราวๆ ปี 2520 -2525 อ่าครับ......." |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 11/07/2011 5:01 pm Post subject: |
|
|
Nakhonlampang wrote: | ^
บางซื่อครับ ภาพนี้ถ่ายจากบนสะพานลอยตัวเก่าหันไปทางทิศเหนือ
ร่องรอยที่พอมองเห็นได้ในปัจจุบันก็คือ แนวขอบชานชาลาที่เป็นแนวโค้งเบนไปทางขวาซึ่งปรากฏอยู่บนพื้นชานชาลาปัจจุบัน |
ทำภาพเปรียบเทียบมาให้ชมกันครับ ลูกศรสีเหลืองชี้อาคารที่อยู่ขวามือในภาพจากการรถไฟฯ ของพี่ตึ๋งครับ
(ขอบคุณภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร ภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth)
-----------------------
ไม่ทราบว่าภาพที่เฮียใช้นำมาให้ชมกัน ถ่ายทำจากที่ไหนครับ |
|
Back to top |
|
|
|