View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46855
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 11/05/2012 6:11 pm Post subject: |
|
|
คมนาคมเร่งสร้างรถไฟความเร็วสูง คาดลงนามปี 2556
สำนักข่าวไทย วันศุกร์ ที่ 11 พ.ค. 2555
กรุงเทพฯ 11 พ.ค.-นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการหารือความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ในโอกาสที่คณะผู้แทนจีน นำโดยนาย Wang Shengwen อธิบดีกรมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการลงทุนต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เดินทางมาเยือนไทยระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคมที่ผ่านมา ว่า ทางการจีนได้เดินทางเข้ามาเพื่อสำรวจเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยฝ่ายจีนสนใจที่จะให้ความร่วมมือดำเนินการใน 2 เส้นทาง ตามขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-หนองคาย
สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากการศึกษาเบื้องต้นของจีน เห็นว่าควรเน้นขนส่งผู้โดยสาร โดยจะทำการศึกษาด้วยความเร็วที่ 250-300 กม./ชม. โดยฝ่ายจีนเสนอให้สร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับร้อยละ 87 ของเส้นทางทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วม
ส่วนเส้นกรุงเทพฯ-หนองคาย จะเน้นขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า โดยจะศึกษาด้วยความเร็ว 160 กม./ชม. หรือมากกว่า โดยจีนต้องการจะใช้เป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านไทยเชื่อมต่อไปยังลาวและจีน
ทั้งนี้ จากการพิจารณาข้อเสนอเบื้องต้นของจีนเห็นว่าน่าสนใจ เพราะเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ ไทย ลาว และจีนเข้าด้วยกัน แต่ขณะนี้ฝ่ายไทยยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกว่าจะดำเนินการร่วมกับใคร เนื่องจากญี่ปุ่นและเกาหลีเตรียมเสนอผลการศึกษาการมาให้พิจารณาเช่นกัน ซึ่งต้องเลือกประเทศที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุด ส่วนรูปแบบการลงทุนชัดเจนแล้วว่าไทยจะลงทุนเองทั้งหมด นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังกำชับให้เร่งดำเนินการเปิดประกวดราคาก่อสร้างคู่ขนานไปพร้อมกับการรอผลการศึกษาการดำเนินการก่อสร้าง เนื่องจากต้องการให้รถไฟฟ้าความเร็วสูงเกิดขึ้นโดยเร็ว โดยกระทรวงคมนาคมคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปี 2556.-สำนักข่าวไทย |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 11/05/2012 6:18 pm Post subject: |
|
|
เป็นไปตามที่ผมคาด ... _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
|
Posted: 11/05/2012 7:27 pm Post subject: |
|
|
ถ้าเป็นตามด้านบนจริง ส่วนตัวผมมองว่าสายกรุงเทพ-หนองคาย ดีกว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงเยอะแยะเลย โดยมีเงื่อนไขว่าเราต้องไม่เสียเปรียบจากการลงทุนในครั้งนี้
ประเด็นที่ส่วนตัวผมคัดค้านเรื่องรถไฟความเร็วสูง คือ
-ลงทุนมโหฬารแต่ผลตอบแทนนั้นเชื่อว่ายังต่ำมาก
-ค่าโดยสารมันห่างไกลเกินประชาชนทั่วไปจะเอื้อมถึงได้
-ระบบคมนาคมพื้นฐานเช่นรถไฟธรรมดายังไม่สนับสนุน
-ประชากรของเมืองรายทางยังน้อยมาก ไม่ได้เป็นเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่
-ขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ไม่ได้
แต่กรณีทางรถไฟ กรุงเทพ-หนองคาย ถ้าจะใช้ส่งสินค้า ตรงนี้มันก็เป็นอานิสงค์ต่อรถไฟโดยสารทั่วไปก็จะสามารถไปใช้เส้นทางนั้นได้เช่นเดียวกัน |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 11/05/2012 7:41 pm Post subject: |
|
|
ผมเกรงว่าจะเป็นแบบเส้นแหลมฉบังนะสิครับ ที่รถไฟโดยสารมีแค่ 2-4ขบวน ที่เหลือรถสินค้าจากจีนจองหมด _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
|
Posted: 11/05/2012 7:55 pm Post subject: |
|
|
อันนั้นมันเป็นปัญหาเรื่องการบริหารของเราเองครับ
เราไม่มีรถจักรเพียงพอ ไม่มีรถโดยสารเพียงพอ ไม่มีรถบรรทุกเพียงพอ ไม่ใช่ว่าห้ามแล่นซะหน่อย แต่เพราะมันไม่มีรถจะให้แล่นต่างหาก
ซึ่งกรณีนี้แก้ไขได้โดยถ้ามีรถจักรเพียงพอ มีรถบรรทุกเพียงพอ มีรถโดยสารเพียงพอ ก็ใช้งานได้
แต่รถไฟความเร็วสูงนั้น เอารถธรรมดาไปแล่นได้ที่ไหนล่ะครับ ถ้าไม่ชนกันเข้าซักวันรถไฟก็แล่นเร็วไม่ได้ เพราะมัวแต่รอสัญญาณให้แซงกันอยู่
ส่วนเรื่องรถสินค้าจากจีนจองหมดนั้น ถ้าเป็นแบบนั้นจริงก็อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่า ขออย่างเดียวว่าอย่าให้สัญญาการลงทุนนั้น ผลปรากฎออกมาว่าไทยเสียเปรียบเป็นพอ
รถสินค้าจีนอยากแล่นก็แล่นไป แล่นแล้วก็จ่ายเงินมา แต่ก็ต้องเอารถสินค้าเราไปแล่นด้วย ผลดีก็เกิดต่อเศรษฐกิจเราเองด้วย และรอรับเงินด้วย
ไม่เห็นจะเสียหายอะไร |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 11/05/2012 8:11 pm Post subject: |
|
|
จริงอยู่ที่อยากจะวิ่ง ก็วิ่งไปเราได้ได้ตังค์ก็พอ แต่ผมกลัวจีนจะวิ่งจนเราไม่ได้วิ่งนะสิครับ ข้อนี้แหละครับ _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46855
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 11/05/2012 8:46 pm Post subject: |
|
|
ผมเห็นด้วยกับทั้งคุณนพและสารวัตรเอ็มครับ
เปรียบเทียบระหว่างสายเชียงใหม่กับสายหนองคายแล้ว
ผมก็สนับสนุนสายหนองคายครับ
อย่างน้อยการเชื่อมทางรถไฟไทย-ลาว-จีน ก็จะทำให้ Trans-Asian Railway (TAR) เป็นจริง
ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าระหว่างรถไฟไทย-ลาว-จีน กับ พนมเปญ-ไซ่ง่อน หรือแม้แต่กาญจนบุรี-ทันบิวซายัต อย่างไหนจะได้เกิดก่อนกัน
อย่างไรก็แล้วแต่ หากรถไฟไทย-ลาว-จีน ได้เกิดจริง ก็ขออย่าให้เราเสียเปรียบก็แล้วกัน ในฐานะที่จะเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ซึ่งคิดว่าเสาเข็มคงยังไม่ได้เริ่มตอก) คิดว่าอาเซียนต้องร่วมมือกัน และใช้ประโยชน์จากตรงนี้ให้คุ้มค่าที่สุดครับ
ส่วนสายเชียงใหม่ ความเร็ว 250-300 กม./ชม.นั้น ผมไม่ห่วงครับ ยังไงก็ไม่ได้เกิดแน่นอน |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46855
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46855
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/05/2012 4:52 pm Post subject: |
|
|
ยึดอีโคโนมิกฟอรัมโชว์แผนลงทุน 5 ปี "ปู"ลั่นประมูล"ไฮสปีดเทรน" 4 สายปีนี้
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 08:52:44 น.
รัฐบาลไทยใช้เวทีประชุม 450 ซีอีโอบริษัทชั้นนำ "เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม" ปลายเดือน พ.ค.นี้ ประกาศความพร้อมแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.27 ล้านล้าน ชู 5 อุตสาหกรรมหลัก "ท่องเที่ยว-สุขภาพ-อาหารและเกษตร-พลังงาน-ไอซีที" ด้าน "ยิ่งลักษณ์" จี้คมนาคมประมูลไฮสปีดเทรน 4 สายภายในปีนี้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกว่าด้วยเอเชียตะวันออก หรือ World Economic Forum on East Asia (WEF)
ปี 2555 ระหว่าง 30 พ.ค.-1 มิ.ย. 2555 ภายใต้หัวข้อ "กำหนดอนาคตของภูมิภาคด้วยการเชื่อมโยง" (Shaping the Region" s Future through Connectivity) ฝ่ายไทยคาดหวังว่าการประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม ครั้งนี้จะเป็นเวทีที่ผู้นำมาประชุมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับโอกาสการเติบโตของภูมิภาคนี้ รวมทั้งร่วมสร้างโมเดลปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนและเท่าเทียมกัน
จะมีเวทีย่อย Thai Economic Forum เสนอทิศทางแนวโน้มการลงทุนของไทย โดยเน้น 5 เซ็กเตอร์หลักที่เป็นอุตสาหกรรมโดดเด่นของไทย ได้แก่ การท่องเที่ยว สุขภาพ อาหารและเกษตร พลังงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
นายปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะผู้อำนวยการกองเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) กล่าวว่า ในการประชุม นอกจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลัง นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและกีฬาแล้ว อีกหลายคนจะมีอภิปรายแสดงความคิดเห็น โดยนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธาน กยอ. จะประกาศแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ใน 5 ปีข้างหน้า (ปี 2555-2559) วงเงินลงทุนถึง 2.27 ล้านล้านบาทด้วย
ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่ารายละเอียดแผนลงทุน ประกอบด้วย 1.การลงทุนสาขาขนส่งทางบก มีทางหลวงพิเศษ 5 โครงการ รถไฟสายใหม่ 20 โครงการ รถไฟความเร็วสูง 4 โครงการ ระบบขนส่งมวลชนทางราง 10 โครงการ
โครงข่ายถนนและขนส่ง 7 โครงการ
2.สาขาขนส่งทางอากาศและทางน้ำ 9 โครงการ 1.48 แสนล้านบาท
3.พลังงาน 25 โครงการ 4.99 แสนล้านบาท
4.สื่อสาร 16 โครงการ 3.5 หมื่นล้านบาท และ
5.สาธารณูปการ 9 โครงการ 1.17 แสนล้านบาท
จีน-ญี่ปุ่นขอลงทุนไฮสปีดเทรน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ที่ Mr.Wang Shengwen รองอธิบดีกรมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการลงทุนต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จีน เป็นตัวแทนเจรจากับไทย ได้ข้อสรุปว่า จีนสนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง
1) กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และ
2) กรุงเทพฯ-หนองคาย
เบื้องต้นจีนนำเสนอผลการศึกษาเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ให้สร้างเป็นทางยกระดับ 87% หลีกเลี่ยงพื้นที่พักอาศัย และป้องกันน้ำท่วมแบ่งเป็น 2 ช่วง
1) ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ใช้แนวเส้นทางรถไฟเดิม
2) อุตรดิตถ์-เชียงใหม่ ต้องเปลี่ยนแนวเส้นทางใหม่ เนื่องจากเส้นทางเดิมผ่านบ้านเรือนประชาชน และมีการเวนคืนมาก
จีนและไทยเห็นชอบให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ และออกแบบโครงการเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยจีนจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
โดยเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เน้นขนส่งผู้โดยสาร ความเร็ว 250 และ 300 กม./ชม.
ส่วนกรุงเทพฯ-หนองคาย เน้นขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า ความเร็ว 160 กม./ชม.หากเกิดขึ้นจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนเดินทางเข้าไทยไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคน/ปี ผลศึกษา 5 เดือนจะแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญรถไฟความเร็วสูง เข้าพบนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เสนอผลศึกษาการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง
1) กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ 2 แบบ
1) กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ค่าก่อสร้าง 166,271 ล้านบาท เฉลี่ย 436 ล้านบาท/กม.
2) กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เฉลี่ย 432 ล้านบาท/กม.
2) กรุงเทพฯ-ระยอง มูลค่าก่อสร้าง 137,697 ล้านบาท
2.1 เชื่อมต่อจากส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่ลาดกระบังถึงระยอง วงเงินก่อสร้าง 444 ล้านบาท/กม.
2.2 จากสถานีรถไฟบางซื่อไปยังระยอง ค่าก่อสร้าง 643 ล้านบาท/กม. ความเร็ว 250 กม./ชม. |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46855
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/05/2012 8:34 am Post subject: |
|
|
สิ่งที่ต้องทำรับรถไฟความเร็วสูง
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2555 เวลา 07:38 น.
โดย ไฟเหลือง คอลัมน์เดินหน้าเลี้ยวซ้าย
คุณสมเกียรติ พงษ์กันทา วิศวกรอิสระเรียบเรียงเรื่องราว รถไฟความเร็วสูง ปัญหา-อุปสรรค ส่งมาให้ ขอตัดตอนบางส่วนเพื่อนำเสนอครับ
ไทยมีโครงการขยายระบบรางในเมือง และระบบรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย เกือบทุกโครงการมีปัญหา เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลไทยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลจีน ตกลงตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกัน เพื่อดำเนินการในโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยจีนจะพัฒนาเส้นทางจากคุนหมิง ผ่านลาวลงมาประเทศไทย เพื่อรองรับการเดินทางของชาวจีนที่เข้ามาไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
บันทึกความเข้าใจฉบับนี้เปิดกว้างให้ไทยเลือกใช้เทคโนโลยีและผู้ลงทุนได้จากทุกแห่ง ไม่จำกัดเฉพาะจากจีนเท่านั้น ยังไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัดของแหล่งเงินทุนที่จะใช้ในการก่อสร้างและดำเนินงาน
ปัญหาและสิ่งที่ต้องทำ ไทยขาดบุคลากรที่มีทักษะและความรู้ในระบบรางและรถไฟฟ้า ต้องเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ ความเสี่ยง ปัญหา อุปสรรคของโครงการ
โครงสร้างขององค์กรที่จะรับผิดชอบ เส้นทางของรถไฟความเร็วสูงว่าจะขยายใช้เส้นทางของการรถไฟที่มีอยู่ หรือจะหาเส้นทางใหม่ ตำแหน่งของสถานี ที่เริ่มต้นดำเนินการและส่วนต่อขยายในอนาคต กำหนดแผนการเดินรถของรถไฟความเร็วสูงซึ่งจะใช้เวลา อัตราเร่ง ความเร็วที่จะหยุดจอดตามสถานี
ปริมาณผู้โดยสาร แผนงานการขนส่งมวลชนระบบย่อยเพื่อบริการรับส่งต่อผู้โดยสารในชุมชนใกล้และไกล ข้อกำหนดทางเทคนิค เพื่อขนคนให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพตามมาตรฐานสากล ขนาดความกว้างของราง จะต้องเป็นรางคู่ขนาดมาตรฐานที่กว้างกว่า 1 เมตรของการรถไฟไทยในปัจจุบัน
โครงสร้างที่มีความแข็งแรง ต้านแผ่นดินไหว ระบบการจ่ายไฟฟ้ากำลังเพื่อขับเคลื่อน ระบบการควบคุม สื่อสาร อาณัติสัญญาณระหว่างรถกับราง ระบบการป้องกันระหว่างรถกับรถ รถกับศูนย์ปล่อยรถและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
ยังมีอีกครับ. |
|
Back to top |
|
|
|