View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46659
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 17/12/2013 12:19 pm Post subject: |
|
|
ผมว่าภาครัฐ โดยเฉพาะ สนข. ไม่ได้แสดงศักยภาพเท่าที่ควรในการผลักดันขนส่งทางรางระหว่างเมือง (intercity train) ครับ ไม่มีโครงการใดเลยเกิดขึ้นจริงในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเด่นชัย-เชียงราย สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต ขอนแก่น-นครพนม สุพรรณบุรี-บ้านภาชี อุบลราชธานี-ช่องเม็ก ชุมพร-ระนอง
แม้แต่รถไฟทางคู่ หลังจากสายทะเลตะวันออกแล้ว ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไรที่เป็นรูปธรรมครับ TOR สายคลองสิบเก้า-แก่งคอยก็ยกเลิกไป ยังไม่เริ่มลงมือ
ตรงนี้ส่งผลทางจิตวิทยาเหมือนกันครับ ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเริ่มได้จริงหรือ |
|
Back to top |
|
|
unique
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/09/2006 Posts: 258
Location: กทม.
|
Posted: 17/12/2013 12:58 pm Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | ผมว่าภาครัฐ โดยเฉพาะ สนข. ไม่ได้แสดงศักยภาพเท่าที่ควรในการผลักดันขนส่งทางรางระหว่างเมือง (intercity train) ครับ ไม่มีโครงการใดเลยเกิดขึ้นจริงในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเด่นชัย-เชียงราย สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต ขอนแก่น-นครพนม สุพรรณบุรี-บ้านภาชี อุบลราชธานี-ช่องเม็ก ชุมพร-ระนอง
แม้แต่รถไฟทางคู่ หลังจากสายทะเลตะวันออกแล้ว ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไรที่เป็นรูปธรรมครับ TOR สายคลองสิบเก้า-แก่งคอยก็ยกเลิกไป ยังไม่เริ่มลงมือ
ตรงนี้ส่งผลทางจิตวิทยาเหมือนกันครับ ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเริ่มได้จริงหรือ |
บ้านเรายังอีกนานครับตราบใดที่ยังพึ่งพาความหวังไว้ที่นักธุรกิจการเมือง การสร้างทางรถไฟเป็นแค่เทคนิคในการหาเสียง ไม่ได้เป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนาประเทศ ถ้ามีแผนหลักที่ชัดเจนที่จะมุ่งเพื่ออะไรแล้ว คนที่ทำหน้าที่บริหารก็เป็นแค่คนที่มาจัดการลดปัญหาและรักษาเพื่อที่จะให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามแผนหลักอย่างมีประสิทธิภาพ KPIต้องชัดเจน แต่บ้านเราดันเสือกให้คนที่บริหารเป็นคนวางแผนหลักด้วย อย่าแปลกใจถ้าไม่มีอะไรที่มีความชัดเจนและขาดความต่อเนื่อง |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43589
Location: NECTEC
|
Posted: 17/12/2013 6:04 pm Post subject: |
|
|
สนข.เผยอัตราผลตอบแทนรถไฟความเร็วสูงสายใต้ร้อยละ 8
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 ธันวาคม 2556 13:03 น.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษา ชี้แจงในการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนสรุปผลโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ถึงแนวเส้นทาง ระยะทางรวม 209 กิโลเมตร ใช้แนวเขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก ส่วนการออกแบบและกำหนดที่ตั้งของสถานี จะนำแนวคิดจากผลงานชนะเลิศของประชาชน ซึ่งเน้นความสวยงาม ทันสมัย มีสถาปัตยกรรมสอดคล้องกับเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของแต่ละจังหวัด และเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ รวมทั้งการก่อสร้างจะไม่ให้กระทบกระเทือนหรือบดบังทัศนียภาพของโบราณสถาน
ทั้งนี้ ผลการศึกษาทางด้านเศรษฐกิจ เส้นทางช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน มีอัตราผลตอบแทนร้อยละ 8 และเมื่อพัฒนาต่อถึงปาดังเบซาร์ อัตราผลตอบแทนจะเพิ่มเป็นร้อยละ 12.76 จากมูลค่าของการลงทุนกว่า 98,000 ล้านบาท ค่าโดยสารเบื้องต้นเฉลี่ย 2.50-3.00 บาทต่อกิโลเมตร จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ยานพาหนะได้ 3,800 ล้านบาทต่อปี |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46659
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 17/12/2013 7:21 pm Post subject: |
|
|
สนข.ชี้ยุบสภาไม่กระทบการออกแบบรถไฟความเร็วสูง ผลศึกษากทม.-หัวหินปรับตำแหน่ง3สถานีเปิดพื้นที่ใหม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 ธันวาคม 2556 18:22 น.
สนข.เดินหน้าศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูง ชี้ยุบสภาไม่กระทบเพราะมีงบและทำสัญญาจ้างไปแล้วคนละส่วนกับก่อสร้างที่ต้องรอลุ้นนโยบายรบ.ใหม่หนุนต่อหรือไม่ เตรียมสรุปแบบ กทม-หัวหิน ปรับตำแหน่ง 3 สถานีเปิดพื้นที่ใหม่ลดเวนคืน ยอมรับส่วนต่อหัวหิร-ปาดังฯ ลุ้นพ.ร.บ.2 ลล.ไม่ผ่านต้องโยกมาขอใช้งบปี58 แทน
นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การศึกษาออกแบบโครงการรถไฟความเร็วสูงจะดำเนินไปตามแผนจนแล้วเสร็จ แม้ว่ารัฐบาลจะยุบสภาไปแล้วก็ตามเนื่องจากมีงบประมาณและสัญญาจ้างศึกษาชัดเจนแล้วแต่ยอมรับว่าในส่วนของการก่อสร้างนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ต้องขึ้นกับรัฐบาลใหม่ว่ามีนโยบายผลักดันหรือไม่ เนื่องจากค่าก่อสร้างบรรจุไว้ในพ.ร.บ.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพิ่มลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้านบาท
โดยเมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา สนข.ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 (การประชุมสรุปผลโครงการ) โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ หัวหิน เพื่อได้นำเสนอผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม แนวเส้นทาง ตลอดจนรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งสถานี พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากประชาชนทุกภาคส่วน โดยที่ปรึกษาจะสรุปผลศึกษาในเดือนมีนาคม2557 ในขณะเดียวกันได้ยื่นผลการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เบื้องต้นไปแล้ว และจะเร่งยื่นเพิ่เิมในส่วนที่มีการปรับเปลี่ยนเช่น ตำแหน่งสถานี เป็นต้น ซึ่งจะพร้อมเสนอขออนุมัติได้เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่
นายวิจิตต์กล่าวว่า ล่าสุดได้มีปรับตำแหน่งสถานี 3 แห่งไปอยู่ในพื้นที่ใหม่โดยไม่ใช้สถานีรถไฟเดิม คือ สถานีราชบุรีไปอยู่ที่ตำบลคูบัว ห่างจากตัวเมืองราชบุรี 3 กม. สถานีเพชรบุรี ปรับไปอยู่ใกล้แนวถนนเพชรเกษม 1 กม. และสถานีหัวหิน ปรับไปที่บ่อฝ้าย ห่างจากสถานีหัวหินเดิม 7 กม. เนื่องจากตัวสถานีรถไฟความเร็วสูงต้องการพื้นที่ประมาณ 40-50ไร่
ซึ่งสถานีเดิมคับแคบและมีชุมชนหนาแน่นมาแล้ว จึงต้องการเปิดพื้นที่ใหม่ ส่วนอัตราค่าโดยสารเฉลี่ย กทม-หัวหิน ระยะทาง 209 กม. อยู่ที่ 550 บาท (ค่าแรกเข้า 80-100บาท และคิดตามระยะทาง 2บาท/กม. ) ซึ่งยังไม่สรุปชัดเจน เนื่องจากมีอัตราชั้นธรรมดาและอัตราชั้นพิเศษ
"การลงทุนรถไฟความเร็วสูงจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีร่วมด้วยเพื่อนำรายได้มาอุดหนุนซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมและผังเมืองได้ตั้งกรรมการร่วม 2ฝ่ายเพื่อกำหนดรายละเอียดการพัฒนาสถานีแต่ละแห่ง ซึ่งจะมีพื้นที่พัฒนารัศมีเฉลี่ยประมาณ 9 ตร.กม. จะมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นกับศักยภาพของแต่ละสถานีโดยผังเมืองจะร่วมมือกับท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ในการกำหนดรูปแบบและร่วมกันจัดรูปที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด"
สำหรับแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง กทม-หัวหิน มีมูลค่าการลงทุนรวม 98,399 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 83,070 ล้านบาท เวนคืนที่ดิน 900 ไร่ รื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง 4,310 หลัง วงเงินค่าเวนคืนที่ดิน 4,100 ล้านบาท มีจุดตัดตลอดเส้นทางจำนวน 51 แห่ง โดยเป็นจุดตัดที่ใช้ร่วมกับรถไฟทางคู่ 30 แห่ง กรมทางหลวง 3 แห่ง กรมทางหลวงชนบท 6 แห่ง และโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ออกแบบใหม่ 12 แห่งเป็นสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 4 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ 8 แห่ง
ส่วนเส้นทางต่อขยายหัวหิน-ปาดังเบซาร์นั้น ได้กำหนดให้ใช้เงินในพ.ร.บ.2 ล้านล้านบาทสำหรับจ้างศึกษาออกแบบจำนวน 745 ล้านบาท ซึึ่งหากพ.ร.บ.ไม่ผ่าน จะปรับมาใช้งบประมาณประจำปี 2558 แทนซึ่งเหลือเป็นส่วนสุดท้ายที่ยังไม่จ้างที่ปรึกษา |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43589
Location: NECTEC
|
Posted: 18/12/2013 1:08 am Post subject: |
|
|
เมืองใหม่ไฮสปีดฯเคว้งโยธาปรับแผนรื้อผังรอบสถานี หลัง2ล้านล.สะดุด
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อ วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2013 เวลา 12:25 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,905 วันที่ 15 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556
แผนพัฒนา17 เมืองใหม่ รื้อผังเมืองรอบสถานีรับรถไฟความเร็วสูงเคว้ง นักเก็งนักค้าที่ดินฝันค้าง หลังพ.ร.บ.2ล้านล้านบาท สะดุด ตามการยุบสภา กรมโยธาฯเผยรอดูทิศทางการเมือง หากเลือกตั้งใหม่ รัฐบาลเดิมกลับเข้ามานโยบายอาจไม่เหมือนเดิม
แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย" ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากกรณีที่รัฐบาลประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่วันที่ 2 กุมภาพันธุ์ 2557 ส่งผลให้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานรัฐด้านคมนาคมขนส่งและจราจร ส่งผลกระทบต่อโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐชะงักออกไป โดยเฉพาะแผนพัฒนาเมืองใหม่ 17เมืองตามแนวสถานีรถไฟความเร็วสูง 4 สาย ประกอบด้วย สายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ สายอีสาน กรุงเทพฯ-โคราช สายใต้กรุงเทพฯ-หัวหิน และสายตะวันออก กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง รวมถึงจะกระทบราคาที่ดิน นักเก็งกำไร ที่ปั่นราคาที่ดินให้ปรับตัวสูงเกินจริงตามกระแสรถไฟความเร็วสูงจะต้องรอเก้อและหากใครซื้อสะสมไว้อาจเสียเงินฟรี
อย่างไรก็ดีการคัดเลือกที่ตั้งสถานีหลักเพื่อสร้างเมืองใหม่ทั้ง 4สาย ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ยังไม่ได้ข้อสรุปทั้งหมด และนับตั้งแต่มีการยุบสภากรมและสนข.คงต้องชะลอการพิจารณาออกไปก่อน จนกว่าจะได้รัฐบาลชุดใหม่ทั้งที่ก่อนหน้านี้จะนัดหารือสถานที่ตั้งสถานีและเมืองใหม่อย่างต่อเนื่อง
สำหรับสถานีใหม่ของรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่พัฒนาเมืองใหม่ที่ สนข.เห็นตรงกันกับกรมโยธาฯ ประกอบด้วย รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ
1. สถานีลพบุรี ทำเลบริเวณบ้านป่าหวาย โดยใช้ชื่อว่าสถานีเขตทางบ้านป่าหวาย จะเป็นสถานีขนาดเล็ก 30-50ไร่สถานีใหม่จะอยู่ห่างจากสถานีเดิม 5 กิโลเมตรลงมาทางด้านใต้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดินของเอกชนต้องมีการเวนคืน โดยบริเวณรอบสถานี กรมโยธาธิการฯ จะพัฒนารอบๆพื้นที่ด้วยวิธีการจัดรูปที่ดิน ทั้งนี้สถานีเดิมอยู่ในตัวเมืองเมืองลพบุรีที่แออัด
2. สถานีพิจิตร เป็นสถานีใหม่ ห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปทางเหนือ 1 กิโลเมตร โดยสถานีใหม่จะขยับเข้ามาใกล้เมืองพิจิตรมากขึ้น ซึ่งจะตั้งชื่อสถานีคือ สถานีพิจิตรใหม่ และสถานีพิจิตรเก่า สถานีนี้จะเป็นสถานีขนาดเล็ก 30-50ไร่ ซึ่งจะต้องใช้วิธีเวนคืนที่ดินเนื่องจากเป็นที่ดินเอกชน และพื้นที่โดยรอบกรมโยธาธิการฯจะพัฒนาเมืองใหม่รูปแบบจัดรูปที่ดินบนที่ดินที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์
3. รถไฟความเร็วสูง สายอีสาน คือสถานีปากช่อง บริเวณชุมชนท่ามะนาว ตำบลหนองสาหร่าย ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ปัจจุบันกองทัพบกใช้งานอยู่สถานีนี้ กำหนดให้เป็นสถานีขนาดใหญ่ ใช้พื้นที่ 549 ไร่ โดยห่างจากสถานีเดิม 3 กิโลเมตร โดยใช้พื้นที่ 549 ไร่ พัฒนาสถานี ที่จอดรถสาธารณะที่จอดรถส่วนบุคคล ถนนเข้าออกและก่อสร้างถนนใหม่เพิ่มอีกเส้นเชื่อมถนนมิตรภาพระหว่างสายเก่าและสายใหม่จากที่ราชพัสดุทั้งหมด 2 หมื่นไร่ ที่กรมธนารักษ์และกรมโยธาธิการฯจะพัฒนาเป็นเมืองใหม่
4.สถานีราชบุรีที่ตำบลคูบัว ห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านใต้ของเมืองราชบุรี 3 กิโลเมตรโดยทำเลนี้ สนข.เห็นด้วยกันกับกรมโยธาฯเสนอโดยจะพัฒนาเป็นสถานีขนาดเล็ก 30-50 ไร่ ที่ต้องเวนคืนเพราะเป็นที่ดินเอกชน พื้นที่รอบสถานี กรมโยธาฯจะจัดรูปที่ดินพัฒนาเมืองใหม่
5.สถานีเพชรบุรีซึ่งพื้นที่ตั้งสถานีใหม่จะห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศตะวันตกออกไปทางนอกเมือง ระยะทาง 2 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยว ระหว่างตำบลธงชัย และบ้านกุ่ม เขตอำเภอเมือง โดยกำหนดให้เป็นสถานีขนาดกลาง 50-75ไร่ ซึ่งจะต้องเวนคืนเนื่องจากเป็นที่ดินของเอกชนทั้งหมดส่วนพื้นที่รอบสถานี กรมจะพัฒนาเป็นเมืองใหม่ด้วยวิธีจัดรูปที่ดิน แต่จะเน้นที่ดินที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์เป็นหลักเพื่อลดผลกระทบกับประชาชน โดยขนาดพื้นที่พัฒนาเมืองใหม่ 100-300 ไร่
นอกจากนี้ยังกระทบกับโครงการปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองจังหวัดหรือผังเมืองรวมชุมชนจังหวัดกว่า 30 ฉบับ อาทิ อยุธยา สระบุรี ภาชี นครสวรรค์ พิษณุโลก นคราชสีมา หัวหิน ฯลฯ เพื่อให้การพัฒนาสอดรับกับโครงการรถไฟความเร็วสูง แต่ขณะนี้กรมยังไม่เริ่มดำเนินการปรับปรุงผังแต่อย่างใดเนื่องจากที่ผ่านมา กรมไม่ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาช่วยศึกษา แต่กรมทำหน้าที่ศึกษาเอง มีแต่ผังเมืองรวมเมืองหัวหินเท่านั้นที่อยู่ระหว่างปรับปรุง แต่หากโครงการรถไฟความเร็วสูงไม่เกิดขึ้น กรมก็จะปรับปรุงผังใช้ที่ดินให้สอดรับกับการขยายตัวของเมืองและประชากรตามปกติและเน้นการต่ออายุผังเมืองกว่า 100 ผังทั่วประเทศให้บังคับใช้ทั้งหมดโดยเร็วแทน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการพิจารณาปรับปรุงผังเมืองและโครงการเมืองใหม่จะเดินหน้าต่อหรือไม่นั้นจะต้องดูทิศทางทางการเมืองในอนาคต หรือแผนของกระทรวงคมนาคมต่อไปหลังจากมีการเลือกตั้งใหม่และมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้นมา แม้จะมีการสานต่อ โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐแต่ประเมินว่าจะไม่เข้มข้นเหมือนกับรัฐบาลปัจจุบัน เพราะต้องดูว่ารัฐมนตรีคมนาคมจะเป็นใคร หากเป็นนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กลับมาเป็นรัฐมนตรี ก็น่าจะมีการผลักดันโครงการต่อเนื่องเหมือนเดิม แต่หากเป็นบุคคลอื่นนโยบายอาจจะปรับเปลี่ยนหรือโครงการขนาดใหญ่ลดลงไม่มากเหมือนเดิมหรือแม้ว่าจะใช้งบประมาณก็จะเน้นโครงการหลัก เช่นถนน 4 ช่องจราจร โครงการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟทางคู่ ที่ประหยัดงบลงทุนและได้ประโยชน์มากกว่า ส่วนรถไฟความเร็วสูงคงยากที่จะเกิดขึ้นเพราะคนส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่มีความจำเป็น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43589
Location: NECTEC
|
Posted: 18/12/2013 10:52 am Post subject: |
|
|
สนข เดินหน้า ไฮสปีดเทรนกรุงเทพ-หัวหิน
ข่าวเศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันอังคาร 17 ธันวาคม 2556 เวลา 23:00 น.
สนข เดินหน้า ไฮสปีดเทรนกรุงเทพ-หัวหิน ปรับพื้นที่จุดก่อสร้างสถานี 3 แห่ง ราชบุรี-เพชรบุรี-หัวหิน คาดได้ข้อสรุปเดือนมี.ค.57
นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจรสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยในงานประชุมสรุปโครงการศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หัวหินว่า ขณะนี้ได้รับฟังความเห็นโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)กรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 209 กม.มูลค่าลงทุน 98,399ล้านบาทครั้งที่ 3 แล้ว คาดจะสรุปรายละเอียดได้ในเดือนมี.ค.57 โดยอาจเปลี่ยนพื้นที่สถานี3 แห่งจากเดิมกำหนดใช้สถานีเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ไปเป็นการเวนคืนที่ดิน 900 ไร่ มูลค่าเวนคืนที่ดิน 4,100ล้านบาท เพื่อความปลอดภัยและพัฒนาเมืองใหม่
ทั้งนี้หลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จจะสรุปรายละเอียดโดยเฉพาะจุดที่ปรับตำแหน่งสถานีทั้ง3แห่งดังกล่าวรายงานให้คณะกรรมสิ่งแวดล้อมรับทราบพร้อมเสนอให้คณะคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอครม.ชุดใหม่พิจารณาต่อไป
"ขณะนี้มีหลายฝ่ายเป็นห่วงว่าหากพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านสนข.จะดำเนินการต่ออย่างไร เบื้องต้นหากพ.ร.บ.เงินกู้ไม่ผ่านคงต้องนำไปใส่ไว้ในงบประมาณประจำปี 58 ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงส่วนใหญ่จะมีงบศึกษาอยู่ในงบประจำส่วนงบก่อสร้างจะอยู่ในงบ 2 ล้านล้าน"
ทั้งนี้จากผลการศึกษาแนวเส้นทางของไฮสปีดเทรน กรุงเทพ-หัวหินเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ ใช้เส้นทางรถไฟสายใต้ผ่านสถานีนครปฐมห่างองค์พระปฐมเจดีย์ 500เมตร (สถานีเดิม) ไปตามแนวทางรถไฟ โดยปรับเส้นทางบริเวณทางโค้งก่อนเข้าสู่สถานีราชบุรีที่สถานีรถไฟใหม่ต.คูบัว แล้วจึงปรับไปใช้แนวถนนเพชรเกษมก่อนเข้าสู่สถานีเพชรบุรีใหม่ ที่ต.ธงชัยจากนั้นจึงปรับกลับมาใช้แนวเส้นทางของรถไฟสายใต้ จนไปสิ้นสุดสถานีหัวหิน ต.บ่อฝ้ายอ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยแนวเส้นทางดังกล่าวมีจุดตัดตลอดเส้นทาง 51 แห่ง โดยเป็นจุดตัดที่ใช้ร่วมกับรถไฟทางคู่ 30 แห่งกรมทางหลวง 3 แห่ง กรมทางหลวงชนบท 6 แห่งและโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ออกแบบใหม่ 12 แห่งโดยแบ่งเป็นถนนสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 4 แห่งและถนนลอดใต้ทางรถไฟ 8 แห่ง
นายวิจิตต์กล่าวว่าผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจจากการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ หัวหิน -ปาดังเบซาร์มีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ จากช่วง กรุงเทพฯหัวหิน 8.11% และเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางจนถึงปาดังเบซาร์จะมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 12.76 % วงเงินลงทุนรวม 98,399ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 83,070 ล้านบาทโดยกำหนดอัตราค่าโดยสารเบื้องต้นเฉลี่ย 2 บาทต่อกม.ซึ่งค่าโดยสารจากกรุงเทพ- หัวหิน รวมทั้งสิ้น 550 บาท
//-----------------------------------------------------------------
ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา เชื่อว่า หากรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ จะทำให้เศรษฐกิจใน จ.พระนครศรีอยุธยา ดีขึ้น
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ข่าว : 17 ธันวาคม 2556
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เชื่อว่า หากรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ จะทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดีขึ้น ทั้งในเรื่องการคมนาคมขนส่งและเกิดรายได้ให้กับชุมชนเมือง
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-พิษณุโลก โดยมีเส้นทางผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาถึง 2 สถานี ประกอบด้วย
1. สถานีพระนครศรีอยุธยา และ
2. อำเภอภาชี ซึ่งเป็นชุมทางที่จะแยกไปสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จะทำให้บริเวณสถานีเกิดชุมชน เกิดธุรกิจต่อเนื่องด้านการขนส่ง หรือเกิดการเดินทางของประชาชนในหลายแขนง รวมถึงทำให้พัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานีให้เป็นเมืองใหม่ รองรับการพัฒนาการขนส่งของประเทศอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการแล้วเสร็จในปี 2562 จะทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดฯ ดีขึ้นอย่างแน่นอน การที่จะมีสถานีรถไฟความเร็วสูงทำให้บริเวณสถานีเกิดชุมชน เกิดธุรกิจต่อเนื่องด้านการขนส่งหรือเกิดการเดินทางของประชาชนในหลายแขนงด้วยกัน จะทำให้เราสามารถพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานี เป็นเมืองใหม่รองรับการพัฒนาการขนส่งของประเทศ
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนารถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก มีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจร้อยละ 132 มูลค่าการลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท โดยกำหนดค่าโดยสารเบื้องต้นเฉลี่ย 2 บาทต่อกิโลเมตร เมื่อเดินทางกรุงเทพ- พระนครศรีอยุธยา มีค่าโดยสาร 163 บาทต่อเที่ยว ใช้เวลาเดินทางเพียง 18 นาที |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43589
Location: NECTEC
|
Posted: 18/12/2013 1:42 pm Post subject: |
|
|
นักวิชาการจวก2ล้านล้านมรดกหนี้ ชี้ไฮสปีดเทรนไม่จำเป็นขาดความชัดเจน
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
18 ธันวาคม 2556
นักวิชาการมองโครงการ 2 ล้านล้าน ขาดความชัดเจนในการใช้ ติงรถไฟความเร็วสูงยังไม่มีความจำเป็น ระบุรัฐขาดการศึกษาที่รอบคอบ พร้อมเดินหน้าตรวจสอบทุจริตโครงการยังดำเนินการต่อเนื่องแม้จะประกาศยุบสภาฯ
นายพิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยในงานเสวนา "หยุด 2 ล้านล้าน มรดกหนี้แห่งชาติ" ที่จัดโดยคณะกรรมาธิการการศึกษา ตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันแห่งประเทศไทย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ว่า พ.ร.บ.การลงทุนในโครงการ 2 ล้านล้านบาท มีหลักการที่ดีที่จะพัฒนาระบบขนส่ง ได้ประโยชน์ในระยะยาว และน่าดำเนินการ แต่มีปัญหาทางวิธีการจัดการ เนื่องจากขาดรายละเอียดและการศึกษาวิเคราะห์โครงการ ทำให้อาจขัดรัฐธรรมนูญ และสิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ อาจจะมีการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องตัวเอง ดังนั้นควรศึกษาให้รอบคอบ
"โครงการมีปัญหาเรื่องวิธีการ โดยเฉพาะด้านกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 169 ซึ่งโครงการไม่มีรายละเอียด อยู่ดีๆ ก็กู้เงินเลย ทั้งที่ตามหลักการลงทุนน่าจะผ่านการศึกษาของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยกำหนดในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 หรือ 12 เลย ที่สำคัญการออกกฎหมายกู้วงเงินอาจจะต้องใช้เวลาชำระหนี้ถึง 50 ปี ปีละ 4.4 หมื่นล้านบาท ถ้าคิดดอกเบี้ย 5% จะมีค่าใช้จ่าย 1.1 แสนล้านบาท เป็นภาระงบประมาณปีละ 1.54 แสนล้านบาท ซึ่งกระทบภาระงบประมาณสูงขึ้น นอกจากนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีรายละเอียดของการใช้เงินและแนวทางการใช้คืนว่าจะใช้เงินภาษีอากรหรือภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพราะหลายประเทศทำโครงการสูงต้องมีการเก็บภาษีเพิ่ม แต่ปัจจุบันไทยเราเก็บภาษีได้เพียง 20% ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ต่ำกว่ามาตรฐานที่ต่างประเทศเก็บได้เฉลี่ยที่ 40% รัฐบาลควรบอกให้ชัดเจนว่าหนี้จะเพิ่มเท่าไร" นายพิสิฐกล่าว
นายไกร ตั้งสง่า อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการยังไม่มีความชัดเจนในหลายด้าน เช่น มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าการลงทุน ต้นทุนที่จะแข่งขันได้ หรือราคาที่ต้องแข่งกับสายการบินต้นทุนต่ำ ความจำเป็นที่ไทยต้องทำไฮสปีดเทรน ไม่มีแผนในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย และหลักการขนส่งที่ดี
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวว่า หาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีผลบังคับใช้จริง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันจะขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความโปร่งใส ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการกับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ออกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบการประมูล รวมทั้งเรื่องการทำรถไฟฟ้าความเร็วสูง จะเชิญองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันจากต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
"โดยส่วนตัวมองว่าการลงทุน 2 ล้านล้านบาท เป็นโครงการที่มีความจำเป็นต่อประเทศ แต่จากการประกาศยุบสภาฯ ของนายกรัฐมนตรีอาจทำให้การดำเนินการมีอุปสรรค และต้องทบทวนโครงการอีกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลขาดการให้ภาคเอกชนและผู้มีความรู้ในด้านโครงสร้างพื้นฐานเข้ามามีส่วนร่วม อาจส่งผลกระทบให้โครงการเกิดความล่าช้า" นายประมนต์กล่าว
น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร กล่าวว่า หากโครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้จะส่งผลต่อหนี้สาธารณะของประเทศอย่างแน่นอน โดยปัจจุบันไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ 5.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 46% ของจีดีพี ซึ่งหากต้องมีการกู้วงเงิน 2 ล้านล้านมาเพิ่ม จะส่งผลต่อหนี้สาธารณะประเทศ และอาจส่งผลต่อฐานะทางการคลังของประเทศในอนาคต. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43589
Location: NECTEC
|
Posted: 18/12/2013 8:37 pm Post subject: |
|
|
"หนองคาย"คัด3อำเภอบูมเมืองใหม่ ผุดเขตเศรษฐกิจพิเศษ"สระใคร-ท่าบ่อ-โพนพิสัย"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
11 ตุลาคม 2556 เวลา 15:36:41 น.
จังหวัด หนองคายปรับยุทธศาสตร์รับเออีซี-โปรเจ็กต์ลงทุน 2 ล้านล้าน เร่งปรับผังเมืองรวมจังหวัด กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ 1.9 ล้านไร่ บูมการพัฒนารับอนาคตใหม่ ดัน "สถานีรถไฟนาทา" ศูนย์กระจายสินค้ารถไฟทางคู่ เล็ง 3 อำเภอ "สระใคร-ท่าบ่อ-โพนพิสัย" ผุดเมืองใหม่ไฮสปีดเทรนควบคู่เขตพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษรองรับการค้า การลงทุน ท่องเที่ยวชายแดนไทย-ลาวคึก ราคาที่ดินขยับเพิ่มเท่าตัว ถนนบายพาสแพงสุด
นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้จังหวัดอยู่ระหว่างจัดทำร่างผังเมืองรวมจังหวัดหนองคายใหม่ รองรับกับเขตพื้นที่ใหม่ภายหลังบึงกาฬแยกตัวออกไป ทำให้จังหวัดหนองคายเหลือพื้นที่อยู่ 1.9 ล้านไร่ ครอบคลุม 9 อำเภอ รวมถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 ประกอบกับรัฐบาลมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำผังเมืองรวมจังหวัดใหม่มารองรับการ พัฒนา
บูมสถานีรถไฟนาทา
"ต่อไปหนองคายจะเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะมีปัจจัยบวกจากโครงการลงทุน 2 ล้านล้านของรัฐบาลมาพัฒนา ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น มีนักท่องเที่ยว นักลงทุนเข้ามามากขึ้น จะเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าให้กับจังหวัดใกล้เคียง เช่น อุดรธานี บึงกาฬ หนองบัวลำภู หนองคายจะไม่เป็นเมืองผ่านอีกต่อไป จังหวัดได้เตรียมความพร้อมรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เช่น มีโครงการพัฒนาริมแม่น้ำโขงเป็นแหล่งท่องเที่ยว"
นายวิรัตน์กล่าวว่า นโยบายของจังหวัดเตรียมเสนอให้พัฒนาพื้นที่อำเภอสระใครเป็นเมืองใหม่รองรับ โครงการรถไฟความเร็วสูง โดยจะเสนอให้สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงที่ตำแหน่งนี้แทนที่ตั้งสถานีรถไฟ เดิม เนื่องจากเป็นพื้นที่เหมาะสมที่สุด อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 20 กิโลเมตร ทำเลติดกับถนนสายหลักมุ่งหน้าไปจังหวัดอุดรธานี โดยมีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ สามารถพัฒนาเป็นสปอร์ตคอมเพล็กซ์ สถานีทดลองอาหารสัตว์รวมถึงจะมีการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟนาทา ซึ่งเป็นรถไฟสายท้องถิ่นให้เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า เพื่อขนส่งสินค้าข้ามแดนไป สปป.ลาวและจีน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งมีที่ดินรองรับการพัฒนาอยู่หลาย 100 ไร่ เพื่อรองรับกับรถไฟทางคู่ในอนาคต
ชู 3 อำเภอเขตเศรษฐกิจพิเศษ
นาย วิรัตน์กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันได้แต่งตั้งคณะทำงานจังหวัดขึ้นมาเพื่อจัดทำแผนแม่บทในการจัด ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น โดยเตรียมลงทุนซื้อที่ดินเพื่อมาดำเนินการพัฒนา ความคืบหน้าอยู่ระหว่างพิจารณาจุดที่ตั้งซึ่งมีตัวเลือกประมาณ 2-3 แห่ง โดยยังไม่มีข้อสรุปจะเลือกพื้นที่ไหนระหว่างอำเภอสะใคร อำเภอท่าบ่อ อำเภอโพนพิสัย เนื่องจากแต่ละจุดมีลักษณะพิเศษแตกต่างกัน ปัจจุบันกำลังรองบประมาณเพื่อจัดจ้างมหาวิทยาลัยมาศึกษาแผนแม่บทให้ คาดว่าจะใช้วงเงิน 15 ล้านบาทเท่ากับจังหวัดตากที่ใช้ศึกษาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอแม่สอด
"โครงการ นี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในจุดที่ มีด่านการค้าชายแดน โดยมีหลายจังหวัดที่เป็นเป้าหมายรัฐบาลกำหนดเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงจังหวัดหนองคายด้วย" นายวิรัตน์กล่าว
เมืองน่าอยู่ ประตูอาเซียน
ล่า สุดจังหวัดหนองคายได้ปรับวิสัยทัศน์ใหม่รองรับการเปิดเออีซี จากเดิมคำขวัญจังหวัดคือ "เมืองน่าอยู่อันดับหนึ่งของภาคอีสาน" มีการปรับคำขวัญใหม่เป็น "เมืองน่าอยู่ เปิดประตูสู่อาเซียน" จะเริ่มใช้ปี 2557 เป็นต้นไป และด้วยความเป็นเมืองน่าอยู่จึงต้องมีการพัฒนาที่ไม่ทำให้เกิดมลพิษ ดังนั้นอุตสาหกรรมที่จะมาอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องอยู่ในเขตอุตสาหกรรม ด้านบริการและเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว ไม่อนุญาตให้สร้างอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษโดยเด็ดขาด โดยมี 3 จุดยืนทางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด คือ
1.เมืองแห่งการท่องเที่ยว
2.การค้าชายแดน
3.ส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน
"ในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยตอนนี้ยังไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นบ้านจัดสรรโครงการเล็ก ๆ ของทุนท้องถิ่น ทุนจากส่วนกลางยังไม่มี แต่ได้ข่าวว่ามีบางรายเข้ามาซื้อที่ดินไว้บ้างแล้ว ส่วนราคาที่ดินก็ขยับขึ้นเยอะแล้วเทียบกับช่วงที่ผ่านมา โดยราคาขยับอยู่ตลอดแบบขั้นบันได บางจุดปรับเพิ่ม 2 เท่าตัว โซนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอยู่แนวถนนบายพาส หรือวงแหวนรอบนอก ช่วงทางลงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปสู่ถนนทางเข้าหนองคาย"
ที่ดินถนนบายพาสบูมสุด
สำหรับความเคลื่อนไหวด้านค้าปลีก นายวิรัตน์กล่าวว่า ปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้าอัสวันธุรกิจของกลุ่มเจียงกรุ๊ป ซึ่งจะมีห้างโลตัสอยู่ในพื้นที่ข้างใน นอกนั้นจะเป็นห้างแม็คโคร ล่าสุดทราบมาว่ามีห้างบิ๊กซีจะมาก่อสร้างอยู่ฝั่งตรงข้ามกับห้างอัสวัน ปัจจุบันโชว์รูมค้าวัสดุก่อสร้างมีรายใหญ่คือโกลบอลเฮ้าส์รายเดียว
"ตอนนี้การพัฒนาเริ่มขยายตัวมายังพื้นที่ใหม่ หรือโซนบายพาสใกล้กับสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เพราะมีกำลังซื้อคนลาวเข้าไปช็อปปิ้งกันมาก และเป็นเส้นทางไปมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วย" นายวิรัตน์กล่าวและว่าขณะ ที่การท่องเที่ยวเริ่มคึกคักมาก เนื่องจากหนองคายเป็นเมืองชายแดนอยู่ใกล้กับเมืองหลวงของประเทศเพื่อนบ้าน มากที่สุด ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว ประมาณ 24 กิโลเมตร
มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าออกผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดประมาณ 2 ล้านคน/ปีรวมทั้งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคอีสาน มีรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 3,600 ล้านบาท/ปี มีมูลค่าสินค้าส่งออก-นำเข้าผ่านด่านศุลากรหนองคายในปี 2555 กว่า 60,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2558 มูลค่าสินค้าผ่านด่านชายแดนจะเติบโตทวีคูณแน่นอน |
|
Back to top |
|
|
unique
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/09/2006 Posts: 258
Location: กทม.
|
Posted: 19/12/2013 12:49 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | นายกฯนั่งรถไฟสุรินทร์ไปศรีสะเกษเจอทั้งหนุน-นกหวีด
เนชั่นทันข่าว
18 ธันวาคม 2556 เวลา 12.00 น.
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวและภารกิจในการลงพื้นที่เพื่อตรวจราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 17-22 ธ.ค.ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในวันที่ 18 ธ.ค.ว่า เวลา 10.20 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เดินทางมาถึงสถานีรถไฟบุฤาษี อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อนั่งรถไฟชั้น 3 ขบวนพิเศษ เลขที่ 933 เลขตู้ กซข. 1104 เดินทางไปจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อตรวจราชการเส้นทางรถไฟสายสุรินทร์-ศรีสะเกษ โดยมีประชาชนมารอต้อนรับและส่งขึ้นรถไฟถึงชานชาลา และจากนั้นขณะที่ขบวนรถไฟแล่นผ่าน "สถานีเมืองที" ได้มีประชาชนประมาณ 10 คนยืนอยู่บริเวณชานชาลาสถานีได้เป่านกหวีดขับไล่ พร้อมโบกธงชาติใส่ขบวนรถไฟที่คณะนายกฯแล่นผ่าน ต่อมาเมื่อบวนรถไฟได้แล่นผ่าน "สถานีศีขรภูมิ" ได้มีประชาชนประมาณ 300 คนมารอให้การต้อนรับและมีประชาชนบางส่วนสอดแทรกเข้ามาเป่านกหวีดและตะโกนขับไล่ แต่ทั้งฝ่ายไม่มีการปะทะกันแต่อย่างใด
จากนั้นขบวนรถไฟมาหยุดที่สถานีสำโรงทาบ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ และนายกฯได้ลงมาเดินทักทายประชาชนที่มาต้อนรับจำนวนมาก โดยมีการมอบดอกกุหลาบ ขอถ่ายรูปและตะโกนให้นายกฯสู้ ๆ ซึ่งทำให้นายกฯมีสีหน้าที่ยิ้มแย้ม
โดยนายชัชชาติ กล่าวว่า การนั่งรถไฟของนายกฯ วันนี้เป็นการดูความพร้อมของเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ที่ทำความเร็วได้ถึง 190 กม./ชม. เส้นอีสานใต้ ที่จะยาวตั้งแต่จ.นครราชสีมาไปถึงจ.อุบลราชธานี โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้น และเส้นทางนี้จะต่อเนื่องไปยังเมืองปากเซ สปป.ลาว ตามความต้องการของสปป.ลาว ระยะทางจากอุบลฯถึงปากเซประมาณ 100 กม. ทั้งนี้การมาดูความพร้อมเพื่อให้รัฐบาลหน้าดำเนินการต่อไป ส่วนตนจะได้กลับมาทำต่อหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประชาชนจะเลือกเข้ามา
นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า การที่พานายกฯมาขึ้นรถไฟครั้งนี้หลังจากมีการปรับปรุงการเดินรถจากที่วิ่งได้ 60กม./ชม. มาเป็น 90-100 กม./ชม. ส่วนรถส่งสินค้าเดิมวิ่งได้ประมาณ 30กม./ชม. ก็เป็น 80 กม./ชม. ซึ่งจะปรับปรุงทั่วประเทศ ซึ่งสายสุรินทร์ถึงศรีสะเกษระยะทาง 1- กม. ก็ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
สำหรับขบวนรถไฟเมื่อถึงจังหวัดศรีสะเกษแล้วนายกฯและคณะจะนั่งรถยนต์ต่อไปยังจังหวัดยโสธรเพื่อตรวจและเยี่ยมชมสินค้าเกษตร อาทิ หอมแดง และจากนั้นจะเดินทางต่อไปค้างแรมที่จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อรอปฏิบัติภารกิจในวันถัดไป |
จำได้ว่าผมพึ่งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปิดราคารถไฟฟ้าให้สูงกว่าราคาที่เกินกว่าที่ควรจะเป็นไปมาก ไม่เท่าไหร่กำลังมีกระบวนการแหกตาคนอีสานโดยการใช้ประโยคทอง"รถไฟความเร็วสูง"มาหากินหาเสียงอีกแล้วครบพี่น้อง ที่บอกว่าความเร็วได้ถึง 190 กม./ชม. มันเป็นTop speedที่รถไฟบนรางStandard Gaugeปกติที่บำรุงรักษาได้ตามมาตรฐานสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึงอยู่แล้ว เทียบง่ายๆเหมือนSprinterสามารถทำความเร็วได้ 120++ กม./ชม. บนราง 1 เมตรในทางช่วงที่บำรุงรักษาดีแล้ว ข้อสังเกตคือ ทางรถไฟที่จะสร้างใหม่อาจเป็นแค่ Standard gauge ที่ยังไม่ถึงขั้น แน่นอนค่าก่อสร้างถูกกว่าทางรถไฟความเร็วของสูงของจริงมาก แต่ตอแหลว่าเป็นiทางรถไฟความเร็วสูง ความพยายามดังกล่าวนี้ไม่ต่างอะไรกับการหลอกขายHonda Phantom แปะตรา Harley Davidson หลอกขายชาวบ้านที่ไม่รู้ ค้ากำไรเกินควรสุด ถือว่าโครตดูถูกภูมิปัญญากันเลยทีเดียว
ความหมายของรถไฟความเร็วสูงที่มีการระบุชัดเจน มีของสหภาพยุโรปดังนี้ครับพี่น้อง
General definitions of highspeed
พี่น้องชาวอีสานจะเลือกมาตรฐานอะไรดีครับ เพื่อให้เป็นมาตรฐานรถไฟความเร็วสูงทีจะเป็นเส้นทางที่สำคัญชั่วลูกชั่วหลาน มาตรฐานยุโรป ญี่ปุ่น จีนแดง หรือดูไบกันดีครับ? |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46659
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 19/12/2013 7:52 am Post subject: |
|
|
"รถไฟความเร็วสูง" สร้างแล้วคุ้มค่าหรือไม่
แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556, 02.00 น.
ตลอด 2 ปีที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ทักษิณคิด-ยิ่งลักษณ์ทำ เข้ามาบริหารประเทศ ได้ให้กำเนิดโครงการที่ถูกตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมมากมาย อย่างนโยบายอันอื้อฉาวที่สุดอย่าง จำนำข้าว ที่ระยะเวลาเพียง 2 ปี ขาดทุนไปแล้วเกือบ 5 แสนล้านบาท รวมทั้งไม่สามารถตอบสาธารณชนได้ว่าจะทำอย่างไรกับข้าวที่รับจำนำไว้ เช่นเดียวกัน อีกโครงการที่เป็นประเด็นถกเถียงมาตลอดปี 2556 คือ เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่จำนวนนี้ส่วนใหญ่นำไปใช้ลงทุนระบบราง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถไฟความเร็วสูง แน่นอนย่อมมาพร้อมคำถามว่า..คุ้มหรือไม่?
ประเมิน กำลังซื้อ คนไทย
คำถามแรกที่เกิดขึ้นหลังรัฐบาลมีแผนสร้างรถไฟความเร็วสูง นั่นคือคนไทยมีความสามารถในการซื้อตั๋วโดยสารเพียงใด จากข้อมูลเบื้องต้นที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คำนวณออกมา คาดว่าราคาค่าโดยสารต่อคนจะอยู่ระหว่าง 1.60 2.50 บาทต่อกิโลเมตร
เราลองคำนวณค่าโดยสารในสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่คาดว่าระยะทางอยู่ที่ 669 กิโลเมตร หากใช้ราคาต่ำสุด 1.60 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,070.40 บาทต่อคน แต่หากใช้ราคาสูงสุดคือ 2.50 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,672.50 บาทต่อคน หรือถ้าใช้ราคากลางที่ 2 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,338 บาทต่อคน และหากใช้เกณฑ์ความเร็วเฉลี่ย 250-300 กม./ชม. ตามมาตรฐานรถไฟความเร็วสูงของนานาชาติ จะใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 3-4 ชั่วโมง หรือถ้าใช้ความเร็วเท่า Express Line ของรถไฟฟ้า Airport Link ในไทยคือ 130-160 กม./ชม. จะใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 4-5 ชั่วโมง
เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลือกอื่นๆ เช่น รถทัวร์ ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 9-10 ชั่วโมง เราลองใช้ข้อมูลจากบริษัทเดินรถชื่อดัง 2 แห่ง คือนครชัยแอร์กับสมบัติทัวร์ ในส่วนของนครชัยแอร์ พบว่าชั้น First Class อยู่ที่ 876 บาทต่อคน ส่วน Gold Class อยู่ที่ 657 บาทต่อคน ขณะที่สมบัติทัวร์ มี 3 ราคา คือรถปรับอากาศชั้น 1 (ข) อยู่ที่ 563 บาทต่อคน รถปรับอากาศพิเศษ (พ) อยู่ที่ 657 บาท และรถ VIP (ก) อยู่ที่ 876 บาทต่อคน
หรือตัวเลือกใหม่ที่กำลังมาแรงอย่าง สายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) เราลองใช้ข้อมูลจากผู้ให้บริการยอดนิยมอย่างนกแอร์ ตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด (NOK ECO) เฉลี่ยอยู่ที่ 1,500-2,500 บาทต่อคน (ขึ้นอยู่กับความต้องการโดยสาร เช่นตั๋วในช่วงเทศกาลปีใหม่ราคาจะอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าวันปกติ) ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วโมงเศษๆ เท่านั้น
แม้กระทั่งสายที่ใกล้ที่สุดอย่างกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่คาดว่าระยะทางน่าจะอยู่ที่ 225 กิโลเมตร หากใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด 1.60 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 360 บาท หรือราคาสูงสุด 2.50 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 562.50 บาท และถ้าใช้ราคากลางที่ 2 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 450 บาท
ดูเหมือนว่าไม่น่าจะแพงนัก แต่รายงานของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่ารถไฟความเร็วสูงจะคุ้มทุน ก็ต่อเมื่อมีผู้โดยสาร 9 ล้านคนต่อปี ปัญหาคือ..เรามีประชากรที่มีกำลังซื้อมากขนาดนั้นหรือไม่? เพราะค่าโดยสารก็ไม่ใช่ถูกๆ อย่างที่คำนวณไปแล้วข้างต้น
ทั้งนี้แม้กระทั่งรถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟใต้ดิน (MRT) ใน กทม. ที่ดูเหมือนคนใช้กันหนาแน่น (7 แสนคนต่อวัน) แต่เมื่อเราออกไปสังเกตการณ์ในจุดต่างๆ ตามแนวรถไฟฟ้า ก็พบว่ายังมีคนอีกเป็นจำนวนมาก ยอมทนลำบากโหนรถเมล์ท่ามกลางการจราจรที่ติดขัด เนื่องจากต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ในยุคที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับรายได้ (ประชากร กทม. ที่ลงทะเบียนไว้มีราว 5 ล้านคน แต่คาดว่ามีประชากรจริงๆ ราว 13 ล้านคน เพราะส่วนใหญ่ย้ายเข้ามาเรียนหรือทำงาน แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาด้วย)
ซึ่งในทรรศนะของ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร มองว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มค่าและเสี่ยงต่อการขาดทุน เพราะด้วยรายได้ของคนไทยระดับล่างและกลางล่าง คงไม่สามารถโดยสารรถไฟความเร็วสูงได้บ่อยครั้งนัก
สมมติรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพไปหัวหิน ซึ่งมี ส.ว. บางท่านอภิปรายว่ามันดีมากเลย บ้านเราอยู่หัวหิน เรามาทำงานกรุงเทพ เราสามารถนั่งรถไปกลับแล้วก็ได้อยู่กับครอบครัว ก็บอกว่าลองดูสิ บาทหกสิบสตางค์ต่อกิโลเมตร ระยะทางสมมติตีซะ 200 กิโลเมตร คุณเสียค่าโดยสารเที่ยวละ 300 บาทขึ้นไป จะมีใครจ่ายเงินไปกลับวันละ 600 บาทเพื่อไปอยู่กับครอบครัว ถามหน่อยสิ? ฉะนั้นโครงการแบบนี้มีแต่เจ๊งลูกเดียว ส.ว.กทม. ให้ความเห็น
รถไฟทางคู่ ตอบโจทย์ที่สุด
จากกระแสคัดค้านโครงการรถไฟความเร็วสูงของหลายฝ่าย ทำให้กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลออกมาโจมตีว่าผู้คัดค้านเป็นพวกไม่อยากให้ประเทศเจริญก้าวหน้า หรือไม่ต้องการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังมีหนทางอื่นในการปฏิรูประบบขนส่งมวลชน โดยใช้งบประมาณที่น้อยกว่ามาก เช่นเรื่องของการปรับปรุงทางรถไฟให้เป็นแบบคู่ขนานทั่วประเทศ หรือเรียกว่า รถไฟทางคู่ (รางคู่)
นายไกร ตั้งสง่า อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปรียบเทียบการพัฒนาระบบขนส่งเหมือนกับการสร้างบ้าน ซึ่งต้องสร้างสิ่งที่จำเป็นของการประกอบเป็นตัวบ้านก่อน จากนั้นเมื่อมีงบประมาณเหลือ หรือฐานะของครอบครัวดีขึ้น ค่อยคิดถึงการตกแต่งให้สวยงามต่อไป
ในที่นี้คือหากจะปฏิรูประบบขนส่งมวลชน ให้ตอบสนองต่อประชาชนที่ส่วนใหญ่ยังกังวลกับรายได้และค่าครองชีพได้จริง รถไฟทางคู่ถือเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามาก เบื้องต้นเสียเพียงค่าปรับปรุงรางเท่านั้น เพราะหัวรถจักรดีเซลที่หลายคนดูถูกว่าเก่าแก่โบราณ ในความเป็นจริงสามารถทำความเร็วสูงสุดได้เฉลี่ย 80-100 กม./ชม. แต่ทุกวันนี้ติดปัญหาที่ต้องรอสับหลีกเมื่อมีขบวนรถสวนมา ทำให้รถไฟไทยไม่สามารถรักษาเวลาได้แบบนานาอารยประเทศ
หรือความกังวลเกี่ยวกับค่าโดยสาร เมื่อไม่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ทั้งหมด ก็แทบไม่จำเป็นต้องขึ้นค่าโดยสารในอัตราสูงจนประชาชนเดือดร้อนแต่อย่างใด รวมทั้งลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุช่วงเทศกาลได้ด้วย เพราะรถไฟมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้น้อยกว่ารถยนต์ เมื่อราคาไม่แพง ปลอดภัยและใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า ผู้มีรายได้ไม่มากนักย่อมมีทางเลือกเพิ่มขึ้นมาอีกทางหนึ่ง
เร่งทำรถไฟทางคู่ ให้ได้ประมาณ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นไปได้ ในปัจจุบันประมาณ 38 กิโลเมตรเองนะครับ เพราะเรารอหลีกกัน ท่านก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้เช่นกัน แล้วยังสามารถขนสินค้าได้ด้วย ค่าโดยสารก็ไม่ต้องเพิ่มมากเพราะถูกอยู่แล้ว
อุปนายก วสท. กล่าวทิ้งท้าย ทั้งนี้เส้นทางรถไฟที่เป็นทางคู่ของไทยถือว่าน้อยมาก และหยุดชะงักมานาน โดยสายเหนือคือกรุงเทพฯ-บ้านภาชี (อยุธยา) ระยะทาง 90 กิโลเมตร , บ้านภาชี-ลพบุรี ระยะทาง 43 กิโลเมตร สายใต้คือบางซื่อ (กทม.)-นครปฐม ระยะทาง 56 กิโลเมตร และสายตะวันออกเฉียงเหนือ จากบ้านภาชี-มาบกะเบา (อ.แก่งคอย จ.สระบุรี) ระยะทาง 44 กิโลเมตร ซึ่งหากรัฐบาลประสงค์จะทำให้เป็นทางคู่ทั้งประเทศ จะใช้งบประมาณถูกกว่ารถไฟความเร็วสูง และไม่จำเป็นต้องกู้เงินจำนวนมาก แต่สามารถใช้เงินจากงบประมาณรายปีตามปกติได้เลย
ภาษิตโบราณเขาว่า การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก และคงไม่มีใครอยากเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น แต่เหตุใดในเมื่อมีทางที่ดีกว่า รัฐบาลกลับเลือกที่จะนำเพื่อนร่วมชาติอีกหกสิบกว่าล้านคนไปแบกหนี้ แถมเป็นหนี้ที่คาดว่าจะยาวนานถึง 50 ปี อีกต่างหาก |
|
Back to top |
|
|
|