RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311324
ทั่วไป:13286974
ทั้งหมด:13598298
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 176, 177, 178 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/12/2013 12:19 pm    Post subject: Reply with quote

ผมว่าภาครัฐ โดยเฉพาะ สนข. ไม่ได้แสดงศักยภาพเท่าที่ควรในการผลักดันขนส่งทางรางระหว่างเมือง (intercity train) ครับ ไม่มีโครงการใดเลยเกิดขึ้นจริงในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเด่นชัย-เชียงราย สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต ขอนแก่น-นครพนม สุพรรณบุรี-บ้านภาชี อุบลราชธานี-ช่องเม็ก ชุมพร-ระนอง

แม้แต่รถไฟทางคู่ หลังจากสายทะเลตะวันออกแล้ว ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไรที่เป็นรูปธรรมครับ TOR สายคลองสิบเก้า-แก่งคอยก็ยกเลิกไป ยังไม่เริ่มลงมือ

ตรงนี้ส่งผลทางจิตวิทยาเหมือนกันครับ ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเริ่มได้จริงหรือ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 17/12/2013 12:58 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ผมว่าภาครัฐ โดยเฉพาะ สนข. ไม่ได้แสดงศักยภาพเท่าที่ควรในการผลักดันขนส่งทางรางระหว่างเมือง (intercity train) ครับ ไม่มีโครงการใดเลยเกิดขึ้นจริงในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเด่นชัย-เชียงราย สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต ขอนแก่น-นครพนม สุพรรณบุรี-บ้านภาชี อุบลราชธานี-ช่องเม็ก ชุมพร-ระนอง

แม้แต่รถไฟทางคู่ หลังจากสายทะเลตะวันออกแล้ว ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไรที่เป็นรูปธรรมครับ TOR สายคลองสิบเก้า-แก่งคอยก็ยกเลิกไป ยังไม่เริ่มลงมือ

ตรงนี้ส่งผลทางจิตวิทยาเหมือนกันครับ ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะเริ่มได้จริงหรือ


บ้านเรายังอีกนานครับตราบใดที่ยังพึ่งพาความหวังไว้ที่นักธุรกิจการเมือง การสร้างทางรถไฟเป็นแค่เทคนิคในการหาเสียง ไม่ได้เป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนาประเทศ ถ้ามีแผนหลักที่ชัดเจนที่จะมุ่งเพื่ออะไรแล้ว คนที่ทำหน้าที่บริหารก็เป็นแค่คนที่มาจัดการลดปัญหาและรักษาเพื่อที่จะให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามแผนหลักอย่างมีประสิทธิภาพ KPIต้องชัดเจน แต่บ้านเราดันเสือกให้คนที่บริหารเป็นคนวางแผนหลักด้วย อย่าแปลกใจถ้าไม่มีอะไรที่มีความชัดเจนและขาดความต่อเนื่อง Wink
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2013 6:04 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เผยอัตราผลตอบแทนรถไฟความเร็วสูงสายใต้ร้อยละ 8


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 ธันวาคม 2556 13:03 น.


สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษา ชี้แจงในการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนสรุปผลโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ถึงแนวเส้นทาง ระยะทางรวม 209 กิโลเมตร ใช้แนวเขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก ส่วนการออกแบบและกำหนดที่ตั้งของสถานี จะนำแนวคิดจากผลงานชนะเลิศของประชาชน ซึ่งเน้นความสวยงาม ทันสมัย มีสถาปัตยกรรมสอดคล้องกับเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของแต่ละจังหวัด และเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ รวมทั้งการก่อสร้างจะไม่ให้กระทบกระเทือนหรือบดบังทัศนียภาพของโบราณสถาน
ทั้งนี้ ผลการศึกษาทางด้านเศรษฐกิจ เส้นทางช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน มีอัตราผลตอบแทนร้อยละ 8 และเมื่อพัฒนาต่อถึงปาดังเบซาร์ อัตราผลตอบแทนจะเพิ่มเป็นร้อยละ 12.76 จากมูลค่าของการลงทุนกว่า 98,000 ล้านบาท ค่าโดยสารเบื้องต้นเฉลี่ย 2.50-3.00 บาทต่อกิโลเมตร จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ยานพาหนะได้ 3,800 ล้านบาทต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/12/2013 7:21 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ชี้ยุบสภาไม่กระทบการออกแบบรถไฟความเร็วสูง ผลศึกษากทม.-หัวหินปรับตำแหน่ง3สถานีเปิดพื้นที่ใหม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 ธันวาคม 2556 18:22 น.

สนข.เดินหน้าศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูง ชี้ยุบสภาไม่กระทบเพราะมีงบและทำสัญญาจ้างไปแล้วคนละส่วนกับก่อสร้างที่ต้องรอลุ้นนโยบายรบ.ใหม่หนุนต่อหรือไม่ เตรียมสรุปแบบ กทม-หัวหิน ปรับตำแหน่ง 3 สถานีเปิดพื้นที่ใหม่ลดเวนคืน ยอมรับส่วนต่อหัวหิร-ปาดังฯ ลุ้นพ.ร.บ.2 ลล.ไม่ผ่านต้องโยกมาขอใช้งบปี58 แทน

นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การศึกษาออกแบบโครงการรถไฟความเร็วสูงจะดำเนินไปตามแผนจนแล้วเสร็จ แม้ว่ารัฐบาลจะยุบสภาไปแล้วก็ตามเนื่องจากมีงบประมาณและสัญญาจ้างศึกษาชัดเจนแล้วแต่ยอมรับว่าในส่วนของการก่อสร้างนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ต้องขึ้นกับรัฐบาลใหม่ว่ามีนโยบายผลักดันหรือไม่ เนื่องจากค่าก่อสร้างบรรจุไว้ในพ.ร.บ.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพิ่มลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้านบาท

โดยเมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา สนข.ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 (การประชุมสรุปผลโครงการ) โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – หัวหิน เพื่อได้นำเสนอผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม แนวเส้นทาง ตลอดจนรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งสถานี พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากประชาชนทุกภาคส่วน โดยที่ปรึกษาจะสรุปผลศึกษาในเดือนมีนาคม2557 ในขณะเดียวกันได้ยื่นผลการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เบื้องต้นไปแล้ว และจะเร่งยื่นเพิ่เิมในส่วนที่มีการปรับเปลี่ยนเช่น ตำแหน่งสถานี เป็นต้น ซึ่งจะพร้อมเสนอขออนุมัติได้เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่

นายวิจิตต์กล่าวว่า ล่าสุดได้มีปรับตำแหน่งสถานี 3 แห่งไปอยู่ในพื้นที่ใหม่โดยไม่ใช้สถานีรถไฟเดิม คือ สถานีราชบุรีไปอยู่ที่ตำบลคูบัว ห่างจากตัวเมืองราชบุรี 3 กม. สถานีเพชรบุรี ปรับไปอยู่ใกล้แนวถนนเพชรเกษม 1 กม. และสถานีหัวหิน ปรับไปที่บ่อฝ้าย ห่างจากสถานีหัวหินเดิม 7 กม. เนื่องจากตัวสถานีรถไฟความเร็วสูงต้องการพื้นที่ประมาณ 40-50ไร่
ซึ่งสถานีเดิมคับแคบและมีชุมชนหนาแน่นมาแล้ว จึงต้องการเปิดพื้นที่ใหม่ ส่วนอัตราค่าโดยสารเฉลี่ย กทม-หัวหิน ระยะทาง 209 กม. อยู่ที่ 550 บาท (ค่าแรกเข้า 80-100บาท และคิดตามระยะทาง 2บาท/กม. ) ซึ่งยังไม่สรุปชัดเจน เนื่องจากมีอัตราชั้นธรรมดาและอัตราชั้นพิเศษ

"การลงทุนรถไฟความเร็วสูงจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีร่วมด้วยเพื่อนำรายได้มาอุดหนุนซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมและผังเมืองได้ตั้งกรรมการร่วม 2ฝ่ายเพื่อกำหนดรายละเอียดการพัฒนาสถานีแต่ละแห่ง ซึ่งจะมีพื้นที่พัฒนารัศมีเฉลี่ยประมาณ 9 ตร.กม. จะมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นกับศักยภาพของแต่ละสถานีโดยผังเมืองจะร่วมมือกับท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ในการกำหนดรูปแบบและร่วมกันจัดรูปที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด"

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง กทม-หัวหิน มีมูลค่าการลงทุนรวม 98,399 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 83,070 ล้านบาท เวนคืนที่ดิน 900 ไร่ รื้อย้ายสิ่งปลูกสร้าง 4,310 หลัง วงเงินค่าเวนคืนที่ดิน 4,100 ล้านบาท มีจุดตัดตลอดเส้นทางจำนวน 51 แห่ง โดยเป็นจุดตัดที่ใช้ร่วมกับรถไฟทางคู่ 30 แห่ง กรมทางหลวง 3 แห่ง กรมทางหลวงชนบท 6 แห่ง และโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ออกแบบใหม่ 12 แห่งเป็นสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 4 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ 8 แห่ง

ส่วนเส้นทางต่อขยายหัวหิน-ปาดังเบซาร์นั้น ได้กำหนดให้ใช้เงินในพ.ร.บ.2 ล้านล้านบาทสำหรับจ้างศึกษาออกแบบจำนวน 745 ล้านบาท ซึึ่งหากพ.ร.บ.ไม่ผ่าน จะปรับมาใช้งบประมาณประจำปี 2558 แทนซึ่งเหลือเป็นส่วนสุดท้ายที่ยังไม่จ้างที่ปรึกษา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2013 1:08 am    Post subject: Reply with quote

เมืองใหม่ไฮสปีดฯเคว้งโยธาปรับแผนรื้อผังรอบสถานี หลัง2ล้านล.สะดุด
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อ วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2013 เวลา 12:25 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,905 วันที่ 15 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แผนพัฒนา17 เมืองใหม่ –รื้อผังเมืองรอบสถานีรับรถไฟความเร็วสูงเคว้ง นักเก็งนักค้าที่ดินฝันค้าง หลังพ.ร.บ.2ล้านล้านบาท สะดุด ตามการยุบสภา กรมโยธาฯเผยรอดูทิศทางการเมือง หากเลือกตั้งใหม่ รัฐบาลเดิมกลับเข้ามานโยบายอาจไม่เหมือนเดิม

แหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย" ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากกรณีที่รัฐบาลประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่วันที่ 2 กุมภาพันธุ์ 2557 ส่งผลให้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานรัฐด้านคมนาคมขนส่งและจราจร ส่งผลกระทบต่อโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐชะงักออกไป โดยเฉพาะแผนพัฒนาเมืองใหม่ 17เมืองตามแนวสถานีรถไฟความเร็วสูง 4 สาย ประกอบด้วย สายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ สายอีสาน กรุงเทพฯ-โคราช สายใต้กรุงเทพฯ-หัวหิน และสายตะวันออก กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง รวมถึงจะกระทบราคาที่ดิน นักเก็งกำไร ที่ปั่นราคาที่ดินให้ปรับตัวสูงเกินจริงตามกระแสรถไฟความเร็วสูงจะต้องรอเก้อและหากใครซื้อสะสมไว้อาจเสียเงินฟรี

อย่างไรก็ดีการคัดเลือกที่ตั้งสถานีหลักเพื่อสร้างเมืองใหม่ทั้ง 4สาย ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ยังไม่ได้ข้อสรุปทั้งหมด และนับตั้งแต่มีการยุบสภากรมและสนข.คงต้องชะลอการพิจารณาออกไปก่อน จนกว่าจะได้รัฐบาลชุดใหม่ทั้งที่ก่อนหน้านี้จะนัดหารือสถานที่ตั้งสถานีและเมืองใหม่อย่างต่อเนื่อง
สำหรับสถานีใหม่ของรถไฟความเร็วสูงและพื้นที่พัฒนาเมืองใหม่ที่ สนข.เห็นตรงกันกับกรมโยธาฯ ประกอบด้วย รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ

1. สถานีลพบุรี ทำเลบริเวณบ้านป่าหวาย โดยใช้ชื่อว่าสถานีเขตทางบ้านป่าหวาย จะเป็นสถานีขนาดเล็ก 30-50ไร่สถานีใหม่จะอยู่ห่างจากสถานีเดิม 5 กิโลเมตรลงมาทางด้านใต้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดินของเอกชนต้องมีการเวนคืน โดยบริเวณรอบสถานี กรมโยธาธิการฯ จะพัฒนารอบๆพื้นที่ด้วยวิธีการจัดรูปที่ดิน ทั้งนี้สถานีเดิมอยู่ในตัวเมืองเมืองลพบุรีที่แออัด

2. สถานีพิจิตร เป็นสถานีใหม่ ห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปทางเหนือ 1 กิโลเมตร โดยสถานีใหม่จะขยับเข้ามาใกล้เมืองพิจิตรมากขึ้น ซึ่งจะตั้งชื่อสถานีคือ สถานีพิจิตรใหม่ และสถานีพิจิตรเก่า สถานีนี้จะเป็นสถานีขนาดเล็ก 30-50ไร่ ซึ่งจะต้องใช้วิธีเวนคืนที่ดินเนื่องจากเป็นที่ดินเอกชน และพื้นที่โดยรอบกรมโยธาธิการฯจะพัฒนาเมืองใหม่รูปแบบจัดรูปที่ดินบนที่ดินที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์

3. รถไฟความเร็วสูง สายอีสาน คือสถานีปากช่อง บริเวณชุมชนท่ามะนาว ตำบลหนองสาหร่าย ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ปัจจุบันกองทัพบกใช้งานอยู่สถานีนี้ กำหนดให้เป็นสถานีขนาดใหญ่ ใช้พื้นที่ 549 ไร่ โดยห่างจากสถานีเดิม 3 กิโลเมตร โดยใช้พื้นที่ 549 ไร่ พัฒนาสถานี ที่จอดรถสาธารณะที่จอดรถส่วนบุคคล ถนนเข้าออกและก่อสร้างถนนใหม่เพิ่มอีกเส้นเชื่อมถนนมิตรภาพระหว่างสายเก่าและสายใหม่จากที่ราชพัสดุทั้งหมด 2 หมื่นไร่ ที่กรมธนารักษ์และกรมโยธาธิการฯจะพัฒนาเป็นเมืองใหม่

4.สถานีราชบุรีที่ตำบลคูบัว ห่างจากสถานีเดิมไปทางด้านใต้ของเมืองราชบุรี 3 กิโลเมตรโดยทำเลนี้ สนข.เห็นด้วยกันกับกรมโยธาฯเสนอโดยจะพัฒนาเป็นสถานีขนาดเล็ก 30-50 ไร่ ที่ต้องเวนคืนเพราะเป็นที่ดินเอกชน พื้นที่รอบสถานี กรมโยธาฯจะจัดรูปที่ดินพัฒนาเมืองใหม่

5.สถานีเพชรบุรีซึ่งพื้นที่ตั้งสถานีใหม่จะห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศตะวันตกออกไปทางนอกเมือง ระยะทาง 2 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยว ระหว่างตำบลธงชัย และบ้านกุ่ม เขตอำเภอเมือง โดยกำหนดให้เป็นสถานีขนาดกลาง 50-75ไร่ ซึ่งจะต้องเวนคืนเนื่องจากเป็นที่ดินของเอกชนทั้งหมดส่วนพื้นที่รอบสถานี กรมจะพัฒนาเป็นเมืองใหม่ด้วยวิธีจัดรูปที่ดิน แต่จะเน้นที่ดินที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์เป็นหลักเพื่อลดผลกระทบกับประชาชน โดยขนาดพื้นที่พัฒนาเมืองใหม่ 100-300 ไร่

นอกจากนี้ยังกระทบกับโครงการปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองจังหวัดหรือผังเมืองรวมชุมชนจังหวัดกว่า 30 ฉบับ อาทิ อยุธยา สระบุรี ภาชี นครสวรรค์ พิษณุโลก นคราชสีมา หัวหิน ฯลฯ เพื่อให้การพัฒนาสอดรับกับโครงการรถไฟความเร็วสูง แต่ขณะนี้กรมยังไม่เริ่มดำเนินการปรับปรุงผังแต่อย่างใดเนื่องจากที่ผ่านมา กรมไม่ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาช่วยศึกษา แต่กรมทำหน้าที่ศึกษาเอง มีแต่ผังเมืองรวมเมืองหัวหินเท่านั้นที่อยู่ระหว่างปรับปรุง แต่หากโครงการรถไฟความเร็วสูงไม่เกิดขึ้น กรมก็จะปรับปรุงผังใช้ที่ดินให้สอดรับกับการขยายตัวของเมืองและประชากรตามปกติและเน้นการต่ออายุผังเมืองกว่า 100 ผังทั่วประเทศให้บังคับใช้ทั้งหมดโดยเร็วแทน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการพิจารณาปรับปรุงผังเมืองและโครงการเมืองใหม่จะเดินหน้าต่อหรือไม่นั้นจะต้องดูทิศทางทางการเมืองในอนาคต หรือแผนของกระทรวงคมนาคมต่อไปหลังจากมีการเลือกตั้งใหม่และมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้นมา แม้จะมีการสานต่อ โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐแต่ประเมินว่าจะไม่เข้มข้นเหมือนกับรัฐบาลปัจจุบัน เพราะต้องดูว่ารัฐมนตรีคมนาคมจะเป็นใคร หากเป็นนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กลับมาเป็นรัฐมนตรี ก็น่าจะมีการผลักดันโครงการต่อเนื่องเหมือนเดิม แต่หากเป็นบุคคลอื่นนโยบายอาจจะปรับเปลี่ยนหรือโครงการขนาดใหญ่ลดลงไม่มากเหมือนเดิมหรือแม้ว่าจะใช้งบประมาณก็จะเน้นโครงการหลัก เช่นถนน 4 ช่องจราจร โครงการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟทางคู่ ที่ประหยัดงบลงทุนและได้ประโยชน์มากกว่า ส่วนรถไฟความเร็วสูงคงยากที่จะเกิดขึ้นเพราะคนส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่มีความจำเป็น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2013 10:52 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.ชี้ยุบสภาไม่กระทบการออกแบบรถไฟความเร็วสูง ผลศึกษากทม.-หัวหินปรับตำแหน่ง3สถานีเปิดพื้นที่ใหม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 ธันวาคม 2556 18:22 น.


สนข เดินหน้า ไฮสปีดเทรนกรุงเทพ-หัวหิน
ข่าวเศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันอังคาร 17 ธันวาคม 2556 เวลา 23:00 น.
สนข เดินหน้า ไฮสปีดเทรนกรุงเทพ-หัวหิน ปรับพื้นที่จุดก่อสร้างสถานี 3 แห่ง ราชบุรี-เพชรบุรี-หัวหิน คาดได้ข้อสรุปเดือนมี.ค.57

นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบการขนส่งและจราจรสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยในงานประชุมสรุปโครงการศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หัวหินว่า ขณะนี้ได้รับฟังความเห็นโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)กรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 209 กม.มูลค่าลงทุน 98,399ล้านบาทครั้งที่ 3 แล้ว คาดจะสรุปรายละเอียดได้ในเดือนมี.ค.57 โดยอาจเปลี่ยนพื้นที่สถานี3 แห่งจากเดิมกำหนดใช้สถานีเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ไปเป็นการเวนคืนที่ดิน 900 ไร่ มูลค่าเวนคืนที่ดิน 4,100ล้านบาท เพื่อความปลอดภัยและพัฒนาเมืองใหม่

ทั้งนี้หลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จจะสรุปรายละเอียดโดยเฉพาะจุดที่ปรับตำแหน่งสถานีทั้ง3แห่งดังกล่าวรายงานให้คณะกรรมสิ่งแวดล้อมรับทราบพร้อมเสนอให้คณะคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอครม.ชุดใหม่พิจารณาต่อไป

"ขณะนี้มีหลายฝ่ายเป็นห่วงว่าหากพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านสนข.จะดำเนินการต่ออย่างไร เบื้องต้นหากพ.ร.บ.เงินกู้ไม่ผ่านคงต้องนำไปใส่ไว้ในงบประมาณประจำปี 58 ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงส่วนใหญ่จะมีงบศึกษาอยู่ในงบประจำส่วนงบก่อสร้างจะอยู่ในงบ 2 ล้านล้าน"

ทั้งนี้จากผลการศึกษาแนวเส้นทางของไฮสปีดเทรน กรุงเทพ-หัวหินเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ ใช้เส้นทางรถไฟสายใต้ผ่านสถานีนครปฐมห่างองค์พระปฐมเจดีย์ 500เมตร (สถานีเดิม) ไปตามแนวทางรถไฟ โดยปรับเส้นทางบริเวณทางโค้งก่อนเข้าสู่สถานีราชบุรีที่สถานีรถไฟใหม่ต.คูบัว แล้วจึงปรับไปใช้แนวถนนเพชรเกษมก่อนเข้าสู่สถานีเพชรบุรีใหม่ ที่ต.ธงชัยจากนั้นจึงปรับกลับมาใช้แนวเส้นทางของรถไฟสายใต้ จนไปสิ้นสุดสถานีหัวหิน ต.บ่อฝ้ายอ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยแนวเส้นทางดังกล่าวมีจุดตัดตลอดเส้นทาง 51 แห่ง โดยเป็นจุดตัดที่ใช้ร่วมกับรถไฟทางคู่ 30 แห่งกรมทางหลวง 3 แห่ง กรมทางหลวงชนบท 6 แห่งและโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ออกแบบใหม่ 12 แห่งโดยแบ่งเป็นถนนสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 4 แห่งและถนนลอดใต้ทางรถไฟ 8 แห่ง

นายวิจิตต์กล่าวว่าผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจจากการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ –หัวหิน -ปาดังเบซาร์มีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ จากช่วง กรุงเทพฯ–หัวหิน 8.11% และเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางจนถึงปาดังเบซาร์จะมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 12.76 % วงเงินลงทุนรวม 98,399ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 83,070 ล้านบาทโดยกำหนดอัตราค่าโดยสารเบื้องต้นเฉลี่ย 2 บาทต่อกม.ซึ่งค่าโดยสารจากกรุงเทพ- หัวหิน รวมทั้งสิ้น 550 บาท

//-----------------------------------------------------------------

ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา เชื่อว่า หากรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ จะทำให้เศรษฐกิจใน จ.พระนครศรีอยุธยา ดีขึ้น
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ข่าว : 17 ธันวาคม 2556

ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เชื่อว่า หากรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ จะทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดีขึ้น ทั้งในเรื่องการคมนาคมขนส่งและเกิดรายได้ให้กับชุมชนเมือง

นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-พิษณุโลก โดยมีเส้นทางผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาถึง 2 สถานี ประกอบด้วย
1. สถานีพระนครศรีอยุธยา และ
2. อำเภอภาชี ซึ่งเป็นชุมทางที่จะแยกไปสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จะทำให้บริเวณสถานีเกิดชุมชน เกิดธุรกิจต่อเนื่องด้านการขนส่ง หรือเกิดการเดินทางของประชาชนในหลายแขนง รวมถึงทำให้พัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานีให้เป็นเมืองใหม่ รองรับการพัฒนาการขนส่งของประเทศอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการแล้วเสร็จในปี 2562 จะทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดฯ ดีขึ้นอย่างแน่นอน “การที่จะมีสถานีรถไฟความเร็วสูงทำให้บริเวณสถานีเกิดชุมชน เกิดธุรกิจต่อเนื่องด้านการขนส่งหรือเกิดการเดินทางของประชาชนในหลายแขนงด้วยกัน จะทำให้เราสามารถพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานี เป็นเมืองใหม่รองรับการพัฒนาการขนส่งของประเทศ”

ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนารถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก มีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจร้อยละ 132 มูลค่าการลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท โดยกำหนดค่าโดยสารเบื้องต้นเฉลี่ย 2 บาทต่อกิโลเมตร เมื่อเดินทางกรุงเทพ- พระนครศรีอยุธยา มีค่าโดยสาร 163 บาทต่อเที่ยว ใช้เวลาเดินทางเพียง 18 นาที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2013 1:42 pm    Post subject: Reply with quote

นักวิชาการจวก2ล้านล้านมรดกหนี้ ชี้ไฮสปีดเทรนไม่จำเป็นขาดความชัดเจน
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
18 ธันวาคม 2556

นักวิชาการมองโครงการ 2 ล้านล้าน ขาดความชัดเจนในการใช้ ติงรถไฟความเร็วสูงยังไม่มีความจำเป็น ระบุรัฐขาดการศึกษาที่รอบคอบ พร้อมเดินหน้าตรวจสอบทุจริตโครงการยังดำเนินการต่อเนื่องแม้จะประกาศยุบสภาฯ

นายพิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยในงานเสวนา "หยุด 2 ล้านล้าน มรดกหนี้แห่งชาติ" ที่จัดโดยคณะกรรมาธิการการศึกษา ตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันแห่งประเทศไทย ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ว่า พ.ร.บ.การลงทุนในโครงการ 2 ล้านล้านบาท มีหลักการที่ดีที่จะพัฒนาระบบขนส่ง ได้ประโยชน์ในระยะยาว และน่าดำเนินการ แต่มีปัญหาทางวิธีการจัดการ เนื่องจากขาดรายละเอียดและการศึกษาวิเคราะห์โครงการ ทำให้อาจขัดรัฐธรรมนูญ และสิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ อาจจะมีการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องตัวเอง ดังนั้นควรศึกษาให้รอบคอบ

"โครงการมีปัญหาเรื่องวิธีการ โดยเฉพาะด้านกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 169 ซึ่งโครงการไม่มีรายละเอียด อยู่ดีๆ ก็กู้เงินเลย ทั้งที่ตามหลักการลงทุนน่าจะผ่านการศึกษาของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยกำหนดในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 หรือ 12 เลย ที่สำคัญการออกกฎหมายกู้วงเงินอาจจะต้องใช้เวลาชำระหนี้ถึง 50 ปี ปีละ 4.4 หมื่นล้านบาท ถ้าคิดดอกเบี้ย 5% จะมีค่าใช้จ่าย 1.1 แสนล้านบาท เป็นภาระงบประมาณปีละ 1.54 แสนล้านบาท ซึ่งกระทบภาระงบประมาณสูงขึ้น นอกจากนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีรายละเอียดของการใช้เงินและแนวทางการใช้คืนว่าจะใช้เงินภาษีอากรหรือภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพราะหลายประเทศทำโครงการสูงต้องมีการเก็บภาษีเพิ่ม แต่ปัจจุบันไทยเราเก็บภาษีได้เพียง 20% ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ต่ำกว่ามาตรฐานที่ต่างประเทศเก็บได้เฉลี่ยที่ 40% รัฐบาลควรบอกให้ชัดเจนว่าหนี้จะเพิ่มเท่าไร" นายพิสิฐกล่าว

นายไกร ตั้งสง่า อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการยังไม่มีความชัดเจนในหลายด้าน เช่น มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าการลงทุน ต้นทุนที่จะแข่งขันได้ หรือราคาที่ต้องแข่งกับสายการบินต้นทุนต่ำ ความจำเป็นที่ไทยต้องทำไฮสปีดเทรน ไม่มีแผนในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย และหลักการขนส่งที่ดี

นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวว่า หาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีผลบังคับใช้จริง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันจะขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความโปร่งใส ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการกับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ออกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบการประมูล รวมทั้งเรื่องการทำรถไฟฟ้าความเร็วสูง จะเชิญองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันจากต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

"โดยส่วนตัวมองว่าการลงทุน 2 ล้านล้านบาท เป็นโครงการที่มีความจำเป็นต่อประเทศ แต่จากการประกาศยุบสภาฯ ของนายกรัฐมนตรีอาจทำให้การดำเนินการมีอุปสรรค และต้องทบทวนโครงการอีกครั้ง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลขาดการให้ภาคเอกชนและผู้มีความรู้ในด้านโครงสร้างพื้นฐานเข้ามามีส่วนร่วม อาจส่งผลกระทบให้โครงการเกิดความล่าช้า" นายประมนต์กล่าว

น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร กล่าวว่า หากโครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้จะส่งผลต่อหนี้สาธารณะของประเทศอย่างแน่นอน โดยปัจจุบันไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ 5.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 46% ของจีดีพี ซึ่งหากต้องมีการกู้วงเงิน 2 ล้านล้านมาเพิ่ม จะส่งผลต่อหนี้สาธารณะประเทศ และอาจส่งผลต่อฐานะทางการคลังของประเทศในอนาคต.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2013 8:37 pm    Post subject: Reply with quote

"หนองคาย"คัด3อำเภอบูมเมืองใหม่ ผุดเขตเศรษฐกิจพิเศษ"สระใคร-ท่าบ่อ-โพนพิสัย"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
11 ตุลาคม 2556 เวลา 15:36:41 น.

จังหวัด หนองคายปรับยุทธศาสตร์รับเออีซี-โปรเจ็กต์ลงทุน 2 ล้านล้าน เร่งปรับผังเมืองรวมจังหวัด กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ 1.9 ล้านไร่ บูมการพัฒนารับอนาคตใหม่ ดัน "สถานีรถไฟนาทา" ศูนย์กระจายสินค้ารถไฟทางคู่ เล็ง 3 อำเภอ "สระใคร-ท่าบ่อ-โพนพิสัย" ผุดเมืองใหม่ไฮสปีดเทรนควบคู่เขตพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษรองรับการค้า การลงทุน ท่องเที่ยวชายแดนไทย-ลาวคึก ราคาที่ดินขยับเพิ่มเท่าตัว ถนนบายพาสแพงสุด

นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้จังหวัดอยู่ระหว่างจัดทำร่างผังเมืองรวมจังหวัดหนองคายใหม่ รองรับกับเขตพื้นที่ใหม่ภายหลังบึงกาฬแยกตัวออกไป ทำให้จังหวัดหนองคายเหลือพื้นที่อยู่ 1.9 ล้านไร่ ครอบคลุม 9 อำเภอ รวมถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 ประกอบกับรัฐบาลมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำผังเมืองรวมจังหวัดใหม่มารองรับการ พัฒนา

บูมสถานีรถไฟนาทา

"ต่อไปหนองคายจะเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมาก เพราะมีปัจจัยบวกจากโครงการลงทุน 2 ล้านล้านของรัฐบาลมาพัฒนา ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น มีนักท่องเที่ยว นักลงทุนเข้ามามากขึ้น จะเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าให้กับจังหวัดใกล้เคียง เช่น อุดรธานี บึงกาฬ หนองบัวลำภู หนองคายจะไม่เป็นเมืองผ่านอีกต่อไป จังหวัดได้เตรียมความพร้อมรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เช่น มีโครงการพัฒนาริมแม่น้ำโขงเป็นแหล่งท่องเที่ยว"

นายวิรัตน์กล่าวว่า นโยบายของจังหวัดเตรียมเสนอให้พัฒนาพื้นที่อำเภอสระใครเป็นเมืองใหม่รองรับ โครงการรถไฟความเร็วสูง โดยจะเสนอให้สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงที่ตำแหน่งนี้แทนที่ตั้งสถานีรถไฟ เดิม เนื่องจากเป็นพื้นที่เหมาะสมที่สุด อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 20 กิโลเมตร ทำเลติดกับถนนสายหลักมุ่งหน้าไปจังหวัดอุดรธานี โดยมีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ สามารถพัฒนาเป็นสปอร์ตคอมเพล็กซ์ สถานีทดลองอาหารสัตว์รวมถึงจะมีการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟนาทา ซึ่งเป็นรถไฟสายท้องถิ่นให้เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า เพื่อขนส่งสินค้าข้ามแดนไป สปป.ลาวและจีน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งมีที่ดินรองรับการพัฒนาอยู่หลาย 100 ไร่ เพื่อรองรับกับรถไฟทางคู่ในอนาคต

ชู 3 อำเภอเขตเศรษฐกิจพิเศษ

นาย วิรัตน์กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันได้แต่งตั้งคณะทำงานจังหวัดขึ้นมาเพื่อจัดทำแผนแม่บทในการจัด ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น โดยเตรียมลงทุนซื้อที่ดินเพื่อมาดำเนินการพัฒนา ความคืบหน้าอยู่ระหว่างพิจารณาจุดที่ตั้งซึ่งมีตัวเลือกประมาณ 2-3 แห่ง โดยยังไม่มีข้อสรุปจะเลือกพื้นที่ไหนระหว่างอำเภอสะใคร อำเภอท่าบ่อ อำเภอโพนพิสัย เนื่องจากแต่ละจุดมีลักษณะพิเศษแตกต่างกัน ปัจจุบันกำลังรองบประมาณเพื่อจัดจ้างมหาวิทยาลัยมาศึกษาแผนแม่บทให้ คาดว่าจะใช้วงเงิน 15 ล้านบาทเท่ากับจังหวัดตากที่ใช้ศึกษาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอแม่สอด

"โครงการ นี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในจุดที่ มีด่านการค้าชายแดน โดยมีหลายจังหวัดที่เป็นเป้าหมายรัฐบาลกำหนดเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงจังหวัดหนองคายด้วย" นายวิรัตน์กล่าว

เมืองน่าอยู่ ประตูอาเซียน

ล่า สุดจังหวัดหนองคายได้ปรับวิสัยทัศน์ใหม่รองรับการเปิดเออีซี จากเดิมคำขวัญจังหวัดคือ "เมืองน่าอยู่อันดับหนึ่งของภาคอีสาน" มีการปรับคำขวัญใหม่เป็น "เมืองน่าอยู่ เปิดประตูสู่อาเซียน" จะเริ่มใช้ปี 2557 เป็นต้นไป และด้วยความเป็นเมืองน่าอยู่จึงต้องมีการพัฒนาที่ไม่ทำให้เกิดมลพิษ ดังนั้นอุตสาหกรรมที่จะมาอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องอยู่ในเขตอุตสาหกรรม ด้านบริการและเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว ไม่อนุญาตให้สร้างอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษโดยเด็ดขาด โดยมี 3 จุดยืนทางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด คือ

1.เมืองแห่งการท่องเที่ยว
2.การค้าชายแดน
3.ส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน

"ในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยตอนนี้ยังไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นบ้านจัดสรรโครงการเล็ก ๆ ของทุนท้องถิ่น ทุนจากส่วนกลางยังไม่มี แต่ได้ข่าวว่ามีบางรายเข้ามาซื้อที่ดินไว้บ้างแล้ว ส่วนราคาที่ดินก็ขยับขึ้นเยอะแล้วเทียบกับช่วงที่ผ่านมา โดยราคาขยับอยู่ตลอดแบบขั้นบันได บางจุดปรับเพิ่ม 2 เท่าตัว โซนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอยู่แนวถนนบายพาส หรือวงแหวนรอบนอก ช่วงทางลงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปสู่ถนนทางเข้าหนองคาย"

ที่ดินถนนบายพาสบูมสุด

สำหรับความเคลื่อนไหวด้านค้าปลีก นายวิรัตน์กล่าวว่า ปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้าอัสวันธุรกิจของกลุ่มเจียงกรุ๊ป ซึ่งจะมีห้างโลตัสอยู่ในพื้นที่ข้างใน นอกนั้นจะเป็นห้างแม็คโคร ล่าสุดทราบมาว่ามีห้างบิ๊กซีจะมาก่อสร้างอยู่ฝั่งตรงข้ามกับห้างอัสวัน ปัจจุบันโชว์รูมค้าวัสดุก่อสร้างมีรายใหญ่คือโกลบอลเฮ้าส์รายเดียว

"ตอนนี้การพัฒนาเริ่มขยายตัวมายังพื้นที่ใหม่ หรือโซนบายพาสใกล้กับสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เพราะมีกำลังซื้อคนลาวเข้าไปช็อปปิ้งกันมาก และเป็นเส้นทางไปมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วย" นายวิรัตน์กล่าวและว่าขณะ ที่การท่องเที่ยวเริ่มคึกคักมาก เนื่องจากหนองคายเป็นเมืองชายแดนอยู่ใกล้กับเมืองหลวงของประเทศเพื่อนบ้าน มากที่สุด ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว ประมาณ 24 กิโลเมตร

มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าออกผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดประมาณ 2 ล้านคน/ปีรวมทั้งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคอีสาน มีรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 3,600 ล้านบาท/ปี มีมูลค่าสินค้าส่งออก-นำเข้าผ่านด่านศุลากรหนองคายในปี 2555 กว่า 60,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2558 มูลค่าสินค้าผ่านด่านชายแดนจะเติบโตทวีคูณแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 19/12/2013 12:49 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
นายกฯนั่งรถไฟสุรินทร์ไปศรีสะเกษเจอทั้งหนุน-นกหวีด
เนชั่นทันข่าว
18 ธันวาคม 2556 เวลา 12.00 น.

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวและภารกิจในการลงพื้นที่เพื่อตรวจราชการในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 17-22 ธ.ค.ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในวันที่ 18 ธ.ค.ว่า เวลา 10.20 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เดินทางมาถึงสถานีรถไฟบุฤาษี อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อนั่งรถไฟชั้น 3 ขบวนพิเศษ เลขที่ 933 เลขตู้ กซข. 1104 เดินทางไปจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อตรวจราชการเส้นทางรถไฟสายสุรินทร์-ศรีสะเกษ โดยมีประชาชนมารอต้อนรับและส่งขึ้นรถไฟถึงชานชาลา และจากนั้นขณะที่ขบวนรถไฟแล่นผ่าน "สถานีเมืองที" ได้มีประชาชนประมาณ 10 คนยืนอยู่บริเวณชานชาลาสถานีได้เป่านกหวีดขับไล่ พร้อมโบกธงชาติใส่ขบวนรถไฟที่คณะนายกฯแล่นผ่าน ต่อมาเมื่อบวนรถไฟได้แล่นผ่าน "สถานีศีขรภูมิ" ได้มีประชาชนประมาณ 300 คนมารอให้การต้อนรับและมีประชาชนบางส่วนสอดแทรกเข้ามาเป่านกหวีดและตะโกนขับไล่ แต่ทั้งฝ่ายไม่มีการปะทะกันแต่อย่างใด

จากนั้นขบวนรถไฟมาหยุดที่สถานีสำโรงทาบ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ และนายกฯได้ลงมาเดินทักทายประชาชนที่มาต้อนรับจำนวนมาก โดยมีการมอบดอกกุหลาบ ขอถ่ายรูปและตะโกนให้นายกฯสู้ ๆ ซึ่งทำให้นายกฯมีสีหน้าที่ยิ้มแย้ม

โดยนายชัชชาติ กล่าวว่า การนั่งรถไฟของนายกฯ วันนี้เป็นการดูความพร้อมของเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ที่ทำความเร็วได้ถึง 190 กม./ชม. เส้นอีสานใต้ ที่จะยาวตั้งแต่จ.นครราชสีมาไปถึงจ.อุบลราชธานี โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้น และเส้นทางนี้จะต่อเนื่องไปยังเมืองปากเซ สปป.ลาว ตามความต้องการของสปป.ลาว ระยะทางจากอุบลฯถึงปากเซประมาณ 100 กม. ทั้งนี้การมาดูความพร้อมเพื่อให้รัฐบาลหน้าดำเนินการต่อไป ส่วนตนจะได้กลับมาทำต่อหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประชาชนจะเลือกเข้ามา

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า การที่พานายกฯมาขึ้นรถไฟครั้งนี้หลังจากมีการปรับปรุงการเดินรถจากที่วิ่งได้ 60กม./ชม. มาเป็น 90-100 กม./ชม. ส่วนรถส่งสินค้าเดิมวิ่งได้ประมาณ 30กม./ชม. ก็เป็น 80 กม./ชม. ซึ่งจะปรับปรุงทั่วประเทศ ซึ่งสายสุรินทร์ถึงศรีสะเกษระยะทาง 1- กม. ก็ใช้เวลา 1 ชั่วโมง

สำหรับขบวนรถไฟเมื่อถึงจังหวัดศรีสะเกษแล้วนายกฯและคณะจะนั่งรถยนต์ต่อไปยังจังหวัดยโสธรเพื่อตรวจและเยี่ยมชมสินค้าเกษตร อาทิ หอมแดง และจากนั้นจะเดินทางต่อไปค้างแรมที่จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อรอปฏิบัติภารกิจในวันถัดไป



จำได้ว่าผมพึ่งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเปิดราคารถไฟฟ้าให้สูงกว่าราคาที่เกินกว่าที่ควรจะเป็นไปมาก ไม่เท่าไหร่กำลังมีกระบวนการแหกตาคนอีสานโดยการใช้ประโยคทอง"รถไฟความเร็วสูง"มาหากินหาเสียงอีกแล้วครบพี่น้อง ที่บอกว่าความเร็วได้ถึง 190 กม./ชม. มันเป็นTop speedที่รถไฟบนรางStandard Gaugeปกติที่บำรุงรักษาได้ตามมาตรฐานสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึงอยู่แล้ว เทียบง่ายๆเหมือนSprinterสามารถทำความเร็วได้ 120++ กม./ชม. บนราง 1 เมตรในทางช่วงที่บำรุงรักษาดีแล้ว ข้อสังเกตคือ ทางรถไฟที่จะสร้างใหม่อาจเป็นแค่ Standard gauge ที่ยังไม่ถึงขั้น แน่นอนค่าก่อสร้างถูกกว่าทางรถไฟความเร็วของสูงของจริงมาก แต่ตอแหลว่าเป็นiทางรถไฟความเร็วสูง ความพยายามดังกล่าวนี้ไม่ต่างอะไรกับการหลอกขายHonda Phantom แปะตรา Harley Davidson หลอกขายชาวบ้านที่ไม่รู้ ค้ากำไรเกินควรสุด ถือว่าโครตดูถูกภูมิปัญญากันเลยทีเดียว

ความหมายของรถไฟความเร็วสูงที่มีการระบุชัดเจน มีของสหภาพยุโรปดังนี้ครับพี่น้อง

General definitions of highspeed

พี่น้องชาวอีสานจะเลือกมาตรฐานอะไรดีครับ เพื่อให้เป็นมาตรฐานรถไฟความเร็วสูงทีจะเป็นเส้นทางที่สำคัญชั่วลูกชั่วหลาน มาตรฐานยุโรป ญี่ปุ่น จีนแดง หรือดูไบกันดีครับ? Wink
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44808
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/12/2013 7:52 am    Post subject: Reply with quote

"รถไฟความเร็วสูง" สร้างแล้วคุ้มค่าหรือไม่
แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556, 02.00 น.

Click on the image for full size

ตลอด 2 ปีที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย “ทักษิณคิด-ยิ่งลักษณ์ทำ” เข้ามาบริหารประเทศ ได้ให้กำเนิดโครงการที่ถูกตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมมากมาย อย่างนโยบายอันอื้อฉาวที่สุดอย่าง “จำนำข้าว” ที่ระยะเวลาเพียง 2 ปี ขาดทุนไปแล้วเกือบ 5 แสนล้านบาท รวมทั้งไม่สามารถตอบสาธารณชนได้ว่าจะทำอย่างไรกับข้าวที่รับจำนำไว้ เช่นเดียวกัน อีกโครงการที่เป็นประเด็นถกเถียงมาตลอดปี 2556 คือ “เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท” ที่จำนวนนี้ส่วนใหญ่นำไปใช้ลงทุนระบบราง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รถไฟความเร็วสูง” แน่นอนย่อมมาพร้อมคำถามว่า..คุ้มหรือไม่?

ประเมิน “กำลังซื้อ” คนไทย

คำถามแรกที่เกิดขึ้นหลังรัฐบาลมีแผนสร้างรถไฟความเร็วสูง นั่นคือคนไทยมีความสามารถในการซื้อตั๋วโดยสารเพียงใด จากข้อมูลเบื้องต้นที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คำนวณออกมา คาดว่าราคาค่าโดยสารต่อคนจะอยู่ระหว่าง 1.60 – 2.50 บาทต่อกิโลเมตร

เราลองคำนวณค่าโดยสารในสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่คาดว่าระยะทางอยู่ที่ 669 กิโลเมตร หากใช้ราคาต่ำสุด 1.60 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,070.40 บาทต่อคน แต่หากใช้ราคาสูงสุดคือ 2.50 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,672.50 บาทต่อคน หรือถ้าใช้ราคากลางที่ 2 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,338 บาทต่อคน และหากใช้เกณฑ์ความเร็วเฉลี่ย 250-300 กม./ชม. ตามมาตรฐานรถไฟความเร็วสูงของนานาชาติ จะใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 3-4 ชั่วโมง หรือถ้าใช้ความเร็วเท่า Express Line ของรถไฟฟ้า Airport Link ในไทยคือ 130-160 กม./ชม. จะใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 4-5 ชั่วโมง

เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลือกอื่นๆ เช่น “รถทัวร์” ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 9-10 ชั่วโมง เราลองใช้ข้อมูลจากบริษัทเดินรถชื่อดัง 2 แห่ง คือนครชัยแอร์กับสมบัติทัวร์ ในส่วนของนครชัยแอร์ พบว่าชั้น First Class อยู่ที่ 876 บาทต่อคน ส่วน Gold Class อยู่ที่ 657 บาทต่อคน ขณะที่สมบัติทัวร์ มี 3 ราคา คือรถปรับอากาศชั้น 1 (ข) อยู่ที่ 563 บาทต่อคน รถปรับอากาศพิเศษ (พ) อยู่ที่ 657 บาท และรถ VIP (ก) อยู่ที่ 876 บาทต่อคน

หรือตัวเลือกใหม่ที่กำลังมาแรงอย่าง “สายการบินต้นทุนต่ำ” (Low Cost Airline) เราลองใช้ข้อมูลจากผู้ให้บริการยอดนิยมอย่างนกแอร์ ตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด (NOK ECO) เฉลี่ยอยู่ที่ 1,500-2,500 บาทต่อคน (ขึ้นอยู่กับความต้องการโดยสาร เช่นตั๋วในช่วงเทศกาลปีใหม่ราคาจะอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าวันปกติ) ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วโมงเศษๆ เท่านั้น

แม้กระทั่งสายที่ใกล้ที่สุดอย่างกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่คาดว่าระยะทางน่าจะอยู่ที่ 225 กิโลเมตร หากใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด 1.60 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 360 บาท หรือราคาสูงสุด 2.50 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 562.50 บาท และถ้าใช้ราคากลางที่ 2 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 450 บาท

ดูเหมือนว่าไม่น่าจะแพงนัก แต่รายงานของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่ารถไฟความเร็วสูงจะคุ้มทุน ก็ต่อเมื่อมีผู้โดยสาร 9 ล้านคนต่อปี ปัญหาคือ..เรามีประชากรที่มีกำลังซื้อมากขนาดนั้นหรือไม่? เพราะค่าโดยสารก็ไม่ใช่ถูกๆ อย่างที่คำนวณไปแล้วข้างต้น

ทั้งนี้แม้กระทั่งรถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟใต้ดิน (MRT) ใน กทม. ที่ดูเหมือนคนใช้กันหนาแน่น (7 แสนคนต่อวัน) แต่เมื่อเราออกไปสังเกตการณ์ในจุดต่างๆ ตามแนวรถไฟฟ้า ก็พบว่ายังมีคนอีกเป็นจำนวนมาก ยอมทนลำบากโหนรถเมล์ท่ามกลางการจราจรที่ติดขัด เนื่องจากต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ในยุคที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับรายได้ (ประชากร กทม. ที่ลงทะเบียนไว้มีราว 5 ล้านคน แต่คาดว่ามีประชากรจริงๆ ราว 13 ล้านคน เพราะส่วนใหญ่ย้ายเข้ามาเรียนหรือทำงาน แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาด้วย)

ซึ่งในทรรศนะของ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร มองว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มค่าและเสี่ยงต่อการขาดทุน เพราะด้วยรายได้ของคนไทยระดับล่างและกลางล่าง คงไม่สามารถโดยสารรถไฟความเร็วสูงได้บ่อยครั้งนัก

“สมมติรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพไปหัวหิน ซึ่งมี ส.ว. บางท่านอภิปรายว่ามันดีมากเลย บ้านเราอยู่หัวหิน เรามาทำงานกรุงเทพ เราสามารถนั่งรถไปกลับแล้วก็ได้อยู่กับครอบครัว ก็บอกว่าลองดูสิ บาทหกสิบสตางค์ต่อกิโลเมตร ระยะทางสมมติตีซะ 200 กิโลเมตร คุณเสียค่าโดยสารเที่ยวละ 300 บาทขึ้นไป จะมีใครจ่ายเงินไปกลับวันละ 600 บาทเพื่อไปอยู่กับครอบครัว ถามหน่อยสิ? ฉะนั้นโครงการแบบนี้มีแต่เจ๊งลูกเดียว” ส.ว.กทม. ให้ความเห็น

“รถไฟทางคู่” ตอบโจทย์ที่สุด

จากกระแสคัดค้านโครงการรถไฟความเร็วสูงของหลายฝ่าย ทำให้กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลออกมาโจมตีว่าผู้คัดค้านเป็นพวกไม่อยากให้ประเทศเจริญก้าวหน้า หรือไม่ต้องการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังมีหนทางอื่นในการปฏิรูประบบขนส่งมวลชน โดยใช้งบประมาณที่น้อยกว่ามาก เช่นเรื่องของการปรับปรุงทางรถไฟให้เป็นแบบคู่ขนานทั่วประเทศ หรือเรียกว่า “รถไฟทางคู่” (รางคู่)

นายไกร ตั้งสง่า อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปรียบเทียบการพัฒนาระบบขนส่งเหมือนกับการสร้างบ้าน ซึ่งต้องสร้างสิ่งที่จำเป็นของการประกอบเป็นตัวบ้านก่อน จากนั้นเมื่อมีงบประมาณเหลือ หรือฐานะของครอบครัวดีขึ้น ค่อยคิดถึงการตกแต่งให้สวยงามต่อไป

ในที่นี้คือหากจะปฏิรูประบบขนส่งมวลชน ให้ตอบสนองต่อประชาชนที่ส่วนใหญ่ยังกังวลกับรายได้และค่าครองชีพได้จริง รถไฟทางคู่ถือเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามาก เบื้องต้นเสียเพียงค่าปรับปรุงรางเท่านั้น เพราะหัวรถจักรดีเซลที่หลายคนดูถูกว่าเก่าแก่โบราณ ในความเป็นจริงสามารถทำความเร็วสูงสุดได้เฉลี่ย 80-100 กม./ชม. แต่ทุกวันนี้ติดปัญหาที่ต้องรอสับหลีกเมื่อมีขบวนรถสวนมา ทำให้รถไฟไทยไม่สามารถรักษาเวลาได้แบบนานาอารยประเทศ

หรือความกังวลเกี่ยวกับค่าโดยสาร เมื่อไม่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ทั้งหมด ก็แทบไม่จำเป็นต้องขึ้นค่าโดยสารในอัตราสูงจนประชาชนเดือดร้อนแต่อย่างใด รวมทั้งลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุช่วงเทศกาลได้ด้วย เพราะรถไฟมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้น้อยกว่ารถยนต์ เมื่อราคาไม่แพง ปลอดภัยและใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า ผู้มีรายได้ไม่มากนักย่อมมีทางเลือกเพิ่มขึ้นมาอีกทางหนึ่ง

“เร่งทำรถไฟทางคู่ ให้ได้ประมาณ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นไปได้ ในปัจจุบันประมาณ 38 กิโลเมตรเองนะครับ เพราะเรารอหลีกกัน ท่านก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้เช่นกัน แล้วยังสามารถขนสินค้าได้ด้วย ค่าโดยสารก็ไม่ต้องเพิ่มมากเพราะถูกอยู่แล้ว”

อุปนายก วสท. กล่าวทิ้งท้าย ทั้งนี้เส้นทางรถไฟที่เป็นทางคู่ของไทยถือว่าน้อยมาก และหยุดชะงักมานาน โดยสายเหนือคือกรุงเทพฯ-บ้านภาชี (อยุธยา) ระยะทาง 90 กิโลเมตร , บ้านภาชี-ลพบุรี ระยะทาง 43 กิโลเมตร สายใต้คือบางซื่อ (กทม.)-นครปฐม ระยะทาง 56 กิโลเมตร และสายตะวันออกเฉียงเหนือ จากบ้านภาชี-มาบกะเบา (อ.แก่งคอย จ.สระบุรี) ระยะทาง 44 กิโลเมตร ซึ่งหากรัฐบาลประสงค์จะทำให้เป็นทางคู่ทั้งประเทศ จะใช้งบประมาณถูกกว่ารถไฟความเร็วสูง และไม่จำเป็นต้องกู้เงินจำนวนมาก แต่สามารถใช้เงินจากงบประมาณรายปีตามปกติได้เลย

ภาษิตโบราณเขาว่า “การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก” และคงไม่มีใครอยากเป็นหนี้โดยไม่จำเป็น แต่เหตุใดในเมื่อมีทางที่ดีกว่า รัฐบาลกลับเลือกที่จะนำเพื่อนร่วมชาติอีกหกสิบกว่าล้านคนไปแบกหนี้ แถมเป็นหนี้ที่คาดว่าจะยาวนานถึง 50 ปี อีกต่างหาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 176, 177, 178 ... 548, 549, 550  Next
Page 177 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©