View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 14/04/2015 8:42 pm Post subject: บันทึกเรื่องสะพานข้ามห้วยมวกเหล็ก บนเส้นทางสายอิสาน |
|
|
สะพานข้ามห้วยมวกเหล็ก ตั้งอยู่ที่ กม.152+713 บนเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสถานีมวกเหล็กกับสถานีกลางดง และเนื่องจากห้วยมวกเหล้กนี้เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี กับ อ.ปากช่อง จ.นตรราชสีมา มีความยาวของสะพาน 37.50 เมตร ดังนั้นสะพานช้ามห้วยมวกเหล็กนี้จึงเป็นสะพานที่เชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
สำหรับรูปแบบของสะพานข้ามห้วยมวกเหล็กนี้ ปัจจุบันเป็นสะพานเหล็กแบบโครงขึ้น (Through Truss) ที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่เมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้นสะพานแห่งนี้เป็นสะพานเหล็กแบบโครงล่าง (Deck Truss) และแม้ว่ารูปแบบสะพานในปัจจุบันจะดูเหมือนกับสะพานโครงขึ้นทั่วไปที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่ แต่ก็มีอะไรบางอย่างที่แตกต่างกันออกไปที่น่าสนใจซึ่งผมจะได้นำมาเสนอต่อไป ก่อนอื่นเรามาเริ่มย้อนอดีตสะพานแห่งนี้กันก่อนนะครับ
ทางรถไฟช่วงที่พาดข้ามห้วยมวกเหล็กนี้ เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2442 จากการเปิดการเดินรถช่วง มวกเหล็ก-ปากช่อง น่าสนใจตรงที่ว่าแรกเริ่มนั้นสะพานมีรูปแบบอย่างไร ซึ่งมีภาพถ่ายเก่าที่มีการระบุว่าถ่ายเมื่อปี 2444 แสดงให้เห็นรูปแบบว่าเป็นสะพานแบบโครงล่าง (Deck Truss) ก็ทำให้เชื่อได้ว่าสะพานแห่งนี้น่าจะเป็นสะพานแบบโครงล่างมาตั้งแต่แรก
(ขออภัยที่ผมจำที่มาของภาพนี้ไม่ได้ครับ) |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 14/04/2015 8:53 pm Post subject: |
|
|
สิ่งที่น่าสนใจต่อมาก็คือสะพานที่เห็นในภาพถ่ายเก่านั้นเป็นสะพานตัวเดียวกับสะพานที่เพิ่งถูกเปลี่ยนออกไปเมื่อปี 2556 หรือไม่ เพราะโครงสร้างสะพานมีหน้าตาเหมือนกัน แต่เมื่อสังเกตรายละเอียดบางอย่างก็มีความแตกต่างกันบ้าง
จากภาพถ่ายสะพานเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2555
จะเห็นว่าสะพานในภาพหลังนี้มีแผ่นเหล็กยึดอยู่ตรงจุดที่โครงเหล็กแนวตั้งและแนวเฉียงยึดกับโครงเหล็กแนวนอน ซึ่งมองไม่เห็นในภาพเก่า |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 14/04/2015 9:06 pm Post subject: |
|
|
นอกจากนั้น คุณเต้ย (ExtendeD) ได้เคยสำรวจสะพานแห่งนี้เมื่อปี 2551 จากกระทู้ นั่งรถไฟ. . .ไปดูสะพานสายอีสาน ปิดฉากสะพานใต้ ได้พบหลักฐานบางอย่าง ได้แก่
รอยจารึกที่คอนกรีตคอสะพาน ระบุวันที่ 19 มกราคม 2501 ซึ่งน่าจะหมายถึงวันที่การปรับปรุงคอสะพานแล้วเสร็จ
และ nameplate ที่คานรองหมอน ซึ่งระบุปี 2502
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 14/04/2015 9:24 pm Post subject: |
|
|
และจากภาพถ่ายที่ผมเคยบันทึกไว้ พบข้อสังเกตบางอย่างจากสะพานโครงล่างตัวเดิม ได้แก่การมีหมุดยึดกับโครงเหล็กถี่กว่าปกติ กับลักษณะของโครงสะพานที่มีเหล็กประกบทับ
ภาพนี้สังเกตว่าจะมีการยึดหมุดติดอยู่ที่โครงสะพานค่อนข้างถี่
ภาพนี้จะเห็นการประกบเหล็กที่โครงสร้างสะพาน
จากการที่ผมได้เห็นการปรับปรุงสะพานเหล็กเก่าหลายแห่งที่ยังมีโครงสร้างแข็งแรงให้สามารถรองรับพิกัดน้ำหนักได้สูงขึ้น ทำให้ผมเชื่อว่าสะพานโครงล่าง ข้ามห้วยมวกเหล็กตัวเก่านั้น เป็นสะพานเดียวกับที่ปรากฏในภาพถ่ายเก่า เพียงแต่ได้รับการปรับปรุงเมื่อปี 2502 ให้สามารถรองรับพิกัดน้ำหนักรถไฟได้สูงขึ้น โดยโครงสร้างหลักได้รับการประกบเหล็กเพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัดให้สามารถรับแรงได้มากขึ้น ทำให้ต้องมีการยึดหมุดเพิ่มที่โครงสะพาน ส่วนโครงสะพานที่อยู่ใต้หมอนซึ่งมี nameplate ระบุปี 2502 น่าจะเป็นส่วนที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่เพียงส่วนเดียว ไม่ได้เปลี่ยนสะพานทั้งหมดครับ |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 14/04/2015 9:39 pm Post subject: |
|
|
ต่อไปเราก็จะมาดูการเปลี่ยนแปลงสะพานโครงล่างเป็นสะพานโครงขึ้นกับวิธีการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมที่ไม่พบในสะพานแห่งอื่นครับ
เริ่มจากภาพสะพานเก่าแบบเดิมๆที่ชออนุญาตใช้ภาพที่คุณเต้ยถ่ายไว้นะครับ
ถ่ายภาพหันหน้าไปทางปากช่อง
ถ่ายภาพหันกลับมาทางมวกเหล็ก
มุมมองจากบนรถไฟ มองมาทางสถานีมวกเหล็ก
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 14/04/2015 9:46 pm Post subject: |
|
|
สำหรับการเปลี่ยนสะพานนั้น ครั้งแรกผมก้ไม่ได้คิดว่าจะมีการพลิกเปลี่ยนรูปแบบสะพานจากสะพานโครงล่าง มาเป็นสะพานโครงขึ้น เพราะสะพานโครงล่างจะมีบ่ารองรับตัวสะพานค่อนข้างลึก ซึ่งในกรณีของสะพานข้ามห้วยมวกเหล็นี้ บ่ารองโครงสร้างสะพานอยู่ลึกลงไปเกือบ 5 เมตร ในขณะที่สะพานโครงขึ้น บ่ารองจะอยู่ลึกประมาฯเมตรเศษๆเท่านั้น ซึ่งเมื่อผมเห็นการปรับปรุงในช่วงแรกก็เห็นแต่การปรับปรุงคอสะพานเดิมเท่านั้น ไม่ได้ทำคอสะพานใหม่แต่อย่างใด
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 14/04/2015 9:51 pm Post subject: |
|
|
แต่เมื่อได้ผ่านไปอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2556 ก็พบว่า สะพานกำลังจะถูกเปลี่ยนเป็นสะพานโครงขึ้น แต่ตอนนั้นก็ยังไม่ได้นึกเอะใจสงสัยอะไร
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 14/04/2015 9:57 pm Post subject: |
|
|
หลังจากนั้น ในวันที่ 8 มิถุนายน 2556 ผมได้กลับไปที่มวกเหล็กเพื่อทำการสำรวจสะพานจากภาคพื้นดิน ก็เลยได้เห็นอะไรที่แปลกตาออกไป นั่นคือโครงที่สร้างเสริมลงไปด้านล่างของสะพานตัวใหม่สำหรับรองรับตัวสะพาน
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 14/04/2015 10:07 pm Post subject: |
|
|
โครงเหล็กด้านล่างนี้ ปกติเราจะไม่พบในสะพานโครงขึ้นตัวอื่น ซึ่งตัวสะพานจะวางลงบนบ่าลึกลงไปราวเมตรเศษๆเท่านั้น แต่เนื่องจากสะพานโครงขึ้นข้ามห้วยมวกเหล็กตัวใหม่นี้ จะใช้คอสะพานเคิมของสะพานโครงล่างที่มีความลึกเกือบ 5 เมตร ทำให้ต้องสร้างโครงเสริมด้านล่างมารองรับตัวสะพาน ผมเข้าใจว่าที่เลือกใช้วิธีนี้จะสะดวกและประหยัดเวลากว่าการสร้างคอสะพานขึ้นใหม่ เพราะเส้นทางช่วงดังกล่าวมีการเดินรถหนาแน่น อีกทั่งระดับคันทางอยู่สูงจากลำห้วยมาก ไม่สะดวกในการทำงาน โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนสะพาน แต่วิธีนี้สามารถใช้รางเลื่อนชุดเดียวกันเลื่อนเปลี่ยนสะพานได้เลย
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 14/04/2015 10:15 pm Post subject: |
|
|
เนื่องจากผมไม่ทราบว่าจะมีการเปลี่ยนสะพานวันไหน จึงขอนำเสนอภาพการเตรียมการก่อนการเปลี่ยนสะพานและภาพสะพานที่เปลี่ยนใหม่เสร็จสมบูรณืแล้วมานำเสนอนะครับ
ภาพนี้จะเห็นร่องรอยการตัดเหล็กโครงสะพานเก่า ผมไม่แน่ใจว่าคอนกรีตคอสะพานน่าจะหนากว่าเดิมหรือเปล่านะครับ เลยทำให้ต้องตัดปลายสะพานออกเล็กน้อย
|
|
Back to top |
|
|
|