Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312027
ทั่วไป:13626566
ทั้งหมด:13938593
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟไทยเคยมีป้ายสถานีที่มีอักษรจีนอยู่ด้วย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟไทยเคยมีป้ายสถานีที่มีอักษรจีนอยู่ด้วย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2011 8:39 am    Post subject: Reply with quote

RORONOA wrote:
เข้าใจว่าคนจีนค้าขายเก่ง และชื่นชอบการค้าขาย ซึ่งในระยะนั่นรถไฟเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ชาวจีนที่ทำมาหากินในไทยคงได้ใช้บริการกันบ่อย จึงต้องอำนวนความสะดวกกันบ้าง เหมือนกรณี atm แถวๆมหาชัยที่ต้องมีภาษาเพื่อนบ้านกำกับ Rolling Eyes ของบ้านโป่ง ก็อย่างกรณีกรับใหญ่ที่มีชาวจีนมาบุกเบิกให้ เจริญถึงขั้น 1 ตำบลต้องแบ่งเป็น 2 เทศบาลเลยครับ มีสถานีตำรวจ ธนาคาร ไปรษณีย์ รหัสไปรษณีย์ โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ เป็นของตนเองหมด น้ำตาลมิตรผลก็มีต้นกำเนิดมาจากที่นี่ล่ะครับ สถานีตำรวจนี้ก็คงได้รับการสนับสนุนจากคนใหญ่คนโตที่เป็นชาวจีนที่มาตั้งรกรากที่นี่ ตัวตลาดบ้านโป่งก็เช่น ลองดูภาพเก่าสถานีบ้านโป่งนั้นไม่ชัดเจนครับว่าเขียนว่าอะไร แต่ตัวสถานีมีป้ายภาษาจีนขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนแต่ไม่ทราบว่าเขียนว่าอะไรนะครับ ลองดูภาพจาก ราชบุรีศึกษาแล้วกันครับ http://rb-old.blogspot.com/2010/05/2488.html

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
ภาพของสถานีบ้านโป่ง เดือนกันยายน 2488 นั้น ผมดูตอนแรกก็เข้าใจว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นครับที่อยู่ในป้าย เพราะนึกถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ II
ตอนนี้เลยชักไม่แน่ใจครับว่าเป็นภาษาจีนหรือญี่ปุ่นกันแน่ Confused
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
RORONOA
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/12/2007
Posts: 705

PostPosted: 04/01/2011 8:43 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
RORONOA wrote:
เข้าใจว่าคนจีนค้าขายเก่ง และชื่นชอบการค้าขาย ซึ่งในระยะนั่นรถไฟเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ชาวจีนที่ทำมาหากินในไทยคงได้ใช้บริการกันบ่อย จึงต้องอำนวนความสะดวกกันบ้าง เหมือนกรณี atm แถวๆมหาชัยที่ต้องมีภาษาเพื่อนบ้านกำกับ Rolling Eyes ของบ้านโป่ง ก็อย่างกรณีกรับใหญ่ที่มีชาวจีนมาบุกเบิกให้ เจริญถึงขั้น 1 ตำบลต้องแบ่งเป็น 2 เทศบาลเลยครับ มีสถานีตำรวจ ธนาคาร ไปรษณีย์ รหัสไปรษณีย์ โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ เป็นของตนเองหมด น้ำตาลมิตรผลก็มีต้นกำเนิดมาจากที่นี่ล่ะครับ สถานีตำรวจนี้ก็คงได้รับการสนับสนุนจากคนใหญ่คนโตที่เป็นชาวจีนที่มาตั้งรกรากที่นี่ ตัวตลาดบ้านโป่งก็เช่น ลองดูภาพเก่าสถานีบ้านโป่งนั้นไม่ชัดเจนครับว่าเขียนว่าอะไร แต่ตัวสถานีมีป้ายภาษาจีนขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนแต่ไม่ทราบว่าเขียนว่าอะไรนะครับ ลองดูภาพจาก ราชบุรีศึกษาแล้วกันครับ http://rb-old.blogspot.com/2010/05/2488.html

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
ภาพของสถานีบ้านโป่ง เดือนกันยายน 2488 นั้น ผมดูตอนแรกก็เข้าใจว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นครับที่อยู่ในป้าย เพราะนึกถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ II
ตอนนี้เลยชักไม่แน่ใจครับว่าเป็นภาษาจีนหรือญี่ปุ่นกันแน่ Confused


รู้สึกผมจะลืมเรื่องนี้ไปเลยนะครับ อาจเป็นภาษาญี่ปุ่นก็ได้ รอผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามาดูดีกว่า
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2012 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพ scan โดยพี่ตึ๋งจากกระทู้ http://www.portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=321&postdays=0&postorder=asc&start=10

ก็พบว่าป้ายสถานีขุนตานในสมัยนั้น มีอักษรจีนกำกับอยู่ด้วยเช่นกันครับ เสียดายที่เป็นภาพไกล ๆ เลยมองไม่ออกว่าเป็นอักษรอะไร

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/03/2012 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

ป้ายสถานีโนนวัด ก็มีอักษรจีนอยู่ด้วยครับ (ภาพถ่ายราว พ.ศ. 2481)
(ปัจจุบันเข้าใจว่าเปลี่ยนชื่อเป็นโนนสูงไปแล้ว)

Click on the image for full size
ไม่ทราบที่มาของภาพ น่าจะมาจากหนังสืออีกที เพราะมีรอยแมลงเจาะตรงป้ายสถานีพอดีครับ
ที่มา : http://www.arc.nrru.ac.th/dg/pic005.html

ชื่อสถานีโนนวัดที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.๒๔๗๔

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/03/2012 12:38 am    Post subject: Reply with quote

ภาพป้ายสถานีโพธารามในอดีต
เดาว่าขวาล่างของป้าย น่าจะเป็นตัวอักษรจีนเช่นกันครับ

Click on the image for full size
ภาพจาก http://www.sarakadee.com/knowledge/2002/11/once_rail_station.htm
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/03/2013 7:29 am    Post subject: Reply with quote

สถานีราชบุรี ปี 2476
ภาพของคุณ ปาน พอพจน์ มีอำพล โพสต์ที่เพจย้อนอดีต...วันวาน

Click on the image for full size

叻丕 = Ratchaburi
แต่ผมสังเกตเห็นตัวอักษรตัวเล็กกว่า 3 ตัวที่โดนพุ่มไม้บังไปด้วยครับ ตรงนั้นเหมือนจะเป็นอักษรจีนอีกรูปแบบหนึ่ง ถ่ายเสียงมาตรง ๆ ครับ เข้าใจว่าเป็นตัวอ่านแบบเก่า ใช้หลักการเดียวกับภาษาญี่ปุ่น
นั่นคือ ดูเหมือนว่าป้ายนี้จะมีชื่ออยู่ 4 ชื่อครับ คือ
1. ราชบุรี
2. RAJBURI
3. ツ...里
4.叻丕
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2015 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

ป้ายสถานีรถไฟสงขลาด้านเหนือ พ.ศ. 2484
ที่มา: สมุดภาพเที่ยวที่ต่าง ๆ สำนักพิมพ์ต้นฉบับ ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ : บรรณาธิการ พิมพ์ครั้งแรก 2558

น่าจะเป็นป้ายยุคที่ 2 ของสถานีรถไฟสงขลา ถัดจากป้าย SINGORA ที่วางขนานกับทางรถไฟ และก่อนป้ายในยุคสงคราม ที่มีอักษรญี่ปุ่นกำกับ
สังเกตว่า อักษรโรมัน สะกดว่า SONGKLA แบบเดียวกับพระนามกรมหลวงสงขลานครินทร์ และชื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นอกจากนี้ยังมีอักษรจีนว่า 宋卡 อีกด้วย เช่นเดียวกับป้ายสถานีรถไฟในยุคเดียวกันหลาย ๆ แห่ง
ส่วนป้ายคอนกรีตที่อยู่มาถึงปัจจุบันสะกดว่า SONGKHLA ครับ

Click on the image for full size

ภาพความละเอียดสูง Arrow http://songkhlastation.com/image/songkhlarailway/songkhla2484northnameplate.jpg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/10/2015 9:16 pm    Post subject: Reply with quote

ป้ายสถานีรถไฟลพบุรี ปี 2483
ที่มา: สมุดภาพเที่ยวที่ต่าง ๆ สำนักพิมพ์ต้นฉบับ ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ : บรรณาธิการ พิมพ์ครั้งแรก 2558

ภาพนี้น่าสนใจตรงที่ คงเป็นป้ายพื้นดำ ตัวอักษรสีขาว รุ่นเดียวกันกับป้ายที่สงขลา วางตั้งฉากกับทางรถไฟ ต่างจากรุ่นก่อนหน้านี้ที่วางขนานกับทางรถไฟ

ที่สำคัญคือ ไม่มีตัวอักษรจีน แม้ดูจะจงใจเว้นที่ว่างด้านขวาของป้าย สำหรับลงอักษรจีนนะครับ เลยไม่ทราบว่ามีอักษรจีนมาก่อน แล้วลบออกด้วยเหตุผลบางประการ หรือว่ายังไม่ได้เขียนอักษรจีนลงไป

Click on the image for full size

มีอีกภาพ เพื่อเปรียบเทียบครับ มาจากหนังสือเล่มเดียวกัน แต่ภาพนี้ไม่ทราบปี พ.ศ.แน่ชัด แต่ก็อยู่ในยุค 248x เช่นกัน แต่เป็นป้ายคนละด้าน ซึ่งมีอักษรจีนอยู่ด้วยครับ

Click on the image for full size

ก่อนหน้านี้เคยมีภาพถ่ายป้ายสถานีลพบุรี ยุค 248x ที่มีอักษรจีนอยู่ด้วย เป็นป้ายสถานีด้านใต้ มองไปทางทิศเหนือครับ

Mongwin wrote:
สถานีรถไฟลพบุรีหลังเดิม
ภาพจากหนังสือ ลพบุรี ด้วยกตัญญูต่อ แผ่นดิน..บ้านเกิด และบิดา มารดา ฉันท์ สุวรรณประกร
(อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายฉันท์ สุวรรณประกร ณ เมรุวัดธาตุทอง 21 พฤษภาคม 2532)

ภาพใหญ่ Arrow http://biochem.flas.kps.ku.ac.th/rft/lopburioldstn.jpg

เข้าใจว่าเป็นภาพถ่ายก่อนปี 2480 (คุณฉันท์ สุวรรณประกร ในภาพ เกิดวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2455)

ป้ายมีอักษรจีนว่า 嘩富里 ซึ่งเป็นวิธีเขียนแบบเก่า (ปัจจุบันลพบุรี เขียนด้วยอักษรจีนว่า 華富里 ครับ)

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3294
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 30/10/2015 9:59 pm    Post subject: Reply with quote

^
มีข้อสังเกตบางอย่างเกี่ยวกับป้ายชื่อสถานีลพบุรัครับ

ป้ายชื่อสถานีลพบุรีภาพบนสุดที่ไม่มีภาษาจีน กับในภาพล่างสุดที่มาจากหนังสือ ลพบุรี ด้วยกตัญญูต่อ แผ่นดิน..บ้านเกิด และบิดา มารดา ฉันท์ สุวรรณประกร นั้นน่าจะเป็นป้ายเดียวกัน ดูจากตำแหน่งที่ตั้งของป้าย เพียงแค่มองคนละด้าน เลยไม่แน่ใจว่าที่จริงแล้วตอนที่เริ่มเพิ่มภาษาจีนเข้าไปในป้าย ตัวอักษรจีนมีครบทุกด้านแต่แรกหรือไม่ Arrow กำลังสงสัยว่าป้ายอันนี้เป็นป้ายเดิมตั้งแต่สมัยที่ยังวางขนานชานชาลาหรือเปล่า แล้วก็มีอักษรจีนตั้งแต่สมัยนั้น พอหันป้ายมาขวางชานชาลา ก็ไม่ได้เพิ่มอักษรจีนไว้ที่อีกด้านของป้ายที่เคยหันออกด้านนอกสถานี Arrow ผมสังเกตว่าตัวอักษรบนป้ายชื่อสถานีลพบุรีทั้งอักษรไทย โรมัน และจีน มีมิติแสงเงาอยู่ด้วย แสดงว่าไม่ได้ใช้การเขียนสีลงไปบนป้าย แต่ใช้การฉลุไม้เป็นตัวอักษรมาติดบนป้าย ซึ่งอาจมีเหตุผลด้านความสวยงาม แล้วทีนี้ภาษาจีนมีความยุ่งยากกว่าตรงที่จบคำในตัวอักษรตัวเดียว ไม่เหมือนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่นำตัวอักษรมาเรียงประกอบเป็นคำ พอเลือกใช้การฉลุไม้เป็นตัวอีกษร (ถ้าเลือกการเขียนสีเฉพาะอักษรจีนก็น่าจะเขียนลงไปแล้ว) ก็เลยอาจทำให้เห็นตัวอักษรจีนไม่ครบทุกด้าน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า
1.ติดอักษรจีนเท่าที่เห็นว่าจำเป็น
2.กำลังอยู่ระหว่างการทำตัวอักษรจีนมาติดตั้ง
3.ภาพทั้ง 2 ภาพถ่ายคนละช่วงเวลาจริงๆ คือช่วงเวลาที่มีอักษรจีนกับช่วงเวลาที่ไม่มีอักษรจีนในป้ายชื่อ

สงสัยอีกอย่างหนึ่งครับว่าในยุคติดตั้งป้ายขนานชานชาลานั้น มีตัวอักษรอยู่บนด้านที่หันออกข้างนอกหรือเปล่าครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2015 7:18 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าเป็นป้ายที่ติดตั้งไว้ชิดริมรั้วแบบนี้ ผมเชื่อว่าอีกด้านไม่มีตัวอักษรนะครับ เหมือนเอากระดานดำ (กระดานชนวน) แปะยึดติดไว้กับเสา ลักษณะเดียวกับป้ายทางหลวงในปัจจุบัน
Arrow http://biochem.flas.kps.ku.ac.th/rft/phayungsak/ratchaburi.jpg

แต่ถ้าเป็นป้ายที่อยู่กลางชานชาลา น่าสงสัยว่าอ่านได้ทั้งสองด้านนะครับ Wink
Arrow http://biochem.flas.kps.ku.ac.th/rft/phayungsak/bandara.jpg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5  Next
Page 2 of 5

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©