Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312064
ทั่วไป:13662844
ทั้งหมด:13974908
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 276, 277, 278 ... 489, 490, 491  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44022
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2016 7:08 pm    Post subject: Reply with quote

วิธีทดสอบหมอนคอนกรีตโมโนบล็อก
https://www.facebook.com/required.tng/posts/902519083186438
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44022
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2016 3:26 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อการศึกษาไทยล้มเหลว กรณีศึกษาการรับมือกับปัญหาด้านระบบรางของไทย
ผู้เขียน ผศ.ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มติชน
วันที่: 11 มีนาคม 59 เวลา: 22:10 น.

บทความพิเศษชุดเมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว ตอน กรณีศึกษาการรับมือกับปัญหาด้านระบบราง

ในตอนที่แล้วผู้เขียนได้เกริ่นถึงปัญหาการศึกษาของประเทศไทยในบทความพิเศษเรื่อง “เมื่อระบบการศึกษาของไทยล้มเหลว” เผยแพร่ในมติชนออนไลน์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2559 โดยหยิบยกต้นเรื่องจากรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 4 และภาพรวมปี 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และข้อมูลความพร้อม (Readiness) ของประเทศไทยจากการจัดอันดับโดย IMD ในรายงานชุด “World Talent Report 2015” ซึ่งทำสำรวจขีดความสามารถของประเทศต่างๆ 61 ประเทศ และพบว่าแม้ประเทศไทยจะมีการลงทุนในภาคการศึกษาระดับประถม-มัธยมปลาย เป็นสัดส่วนเทียบกับ GDP สูงที่สุดในกลุ่มประเทศ AEC และสูงกว่าประเทศญี่ปุ่นด้วยซ้ำ แต่เมื่อพิจารณาผลลัพธ์จากปัจจัยความพร้อมของบุคลากร กลับพบว่า อันดับของประเทศไทยต่ำต้อยมากเมื่อเทียบกับอีก 60 ประเทศที่นำมาจัดอันดับพร้อมกัน ผู้เขียนจงใจเขียนบทความดังกล่าวไว้สั้นๆ ไม่ได้ให้คำอธิบายอะไรไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้ท่านผู้อ่านได้ร่วมกันพิจารณา ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

คำถามคือ เมื่อเรามีการลงทุนในภาคการศึกษาสูงกว่าใครๆ แล้วเหตุใดสัมฤทธิผลทางการศึกษาในตอนท้ายจึงล้มเหลวโดยสิ้นเชิง?

19

บทความในตอนนี้ ผู้เขียนจะขอนำคุณผู้อ่านไปสังเกตวิธีการรับมือกับปัญหา “การเตรียมการศึกษา” แบบไทยๆ ซึ่งจะขอใช้กรณีศึกษาเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรด้านขนส่งระบบราง” ซึ่งกำลังเป็นประเด็นร้อนและอยู่ในระหว่าง “ตั้งไข่” ยังไม่มีบทสรุปชัดเจนว่าประเทศไทยควรรับมืออย่างไร (โปรดทราบว่าในขณะนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โดยเฉพาะด้านระบบรางเป็นงานส่วนหนึ่งซึ่งรับผิดชอบโดยกระทรวงคมนาคม ในขณะที่งานพัฒนาบุคลากรด้านขนส่งระบบรางจะเป็นงานอีกส่วนหนึ่งซึ่งรับผิดชอบโดยส่วนงานอื่น) ในขณะนี้คงมีแต่ท่าทีและข้อเสนอต่างๆ เพื่อให้ทางรัฐบาลพิจารณา การกำหนดรูปแบบ แนวทาง และงบประมาณที่เหมาะสมก็จะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาบุคลากรและงานวิชาการด้านระบบรางของประเทศไทยต่อไป

ราวต้นปี พ.ศ.2553 หลังจากที่ผู้เขียนได้นำเสนอรายงานวิจัย “แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย” ให้กับสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมไปแล้ว ผู้เขียนได้รับการติดต่อจาก “สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ” (สวทน.) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ทำงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาความต้องการ และแนวทางการพัฒนากำลังคนด้านปฏิบัติการระบบขนส่งทางราง” ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่าในขณะนั้น “สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร” (สนข.) มีแผนงานด้านระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 12 สายทาง (ปัจจุบันโครงการบางส่วนใน 12 สายทางนี้ก็เปิดใช้งานไปแล้ว เช่น Airport Rail Link และส่วนต่อขยาย BTS ตากสิน-บางหว้า เป็นต้น คงเหลือโครงการในขณะนี้ 10 สายทาง) แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ โครงการที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2557 ตามมาด้วยปี พ.ศ.2562 และปี พ.ศ.2572 ตามลำดับ

ควรทราบว่าในขณะที่เริ่มต้นทำการศึกษา มีระบบรถไฟฟ้าที่เปิดใช้งานแล้ว 2 สายทาง คือ โครงการ BTS (สายสุขุมวิทและสายสีลม) และโครงการ MRT (บางซื่อ-หัวลำโพง) ในขณะที่โครงการ Airport Rail Link กำลังเตรียมที่จะเปิดให้บริการ

โจทย์ของทาง สวทน.ในขณะนั้นเกิดขึ้นเมื่อเริ่มมีสัญญาณความต้องการใช้บุคลากร “ด้านปฏิบัติการ” ในระบบรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และเริ่มมีการ “ซื้อตัว” บุคลากรจากหน่วยงานหนึ่งไปอีกหน่วยงานหนึ่ง ควรทราบว่าก่อนเปิดดำเนินการ BTS และ MRT ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าสมัยใหม่สายแรกๆ ของประเทศไทย ทั้ง 2 บริษัทเอกชนที่รับผิดชอบ คือ BTSC และ BMCL ต่างก็มีการทำโปรแกรมฝึกอบรมพนักงานด้านปฏิบัติการล่วงหน้าเป็นของตัวเอง เพื่อให้สามารถรับผิดชอบงานได้เมื่อเปิดให้บริการ ซึ่งประกอบด้วยพนักงาน 4 กลุ่ม คือ (1) พนักงานขับรถ (2) พนักงานซ่อมบำรุง (3) พนักงานประจำสถานี และ (4) พนักงานควบคุมการเดินรถไฟฟ้า (ในที่นี้จะไม่พิจารณาพนักงานส่วนอื่น เช่น พนักงานการเงิน พนักงานบัญชี พนักงานฝ่ายบริหาร ฯลฯ ซึ่งไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมพิเศษ แต่สามารถใช้ผู้สำเร็จการศึกษาตามระบบการศึกษาปกติได้) สวทน.ต้องการให้ผู้เขียนศึกษาและคาดการณ์ไปในอนาคตว่า หากมีการเปิดใช้งานระบบรถไฟฟ้ามากขึ้นๆ จนครบ 12 สายทาง จะมีปริมาณความต้องการบุคลากรด้านปฏิบัติการมากน้อยแค่ไหน และประเทศไทยควรจะได้มีแผนรับมือกับการพัฒนาบุคลากรที่ว่าอย่างไร

ดูเหมือนการศึกษาวิจัยที่ว่านี้ไม่น่าจะซับซ้อนอะไร หากเพียงผู้เขียนประสานงานไปยัง BTSC และ BMCL เพื่อขอข้อมูลโครงสร้างบุคลากรด้านปฏิบัติการ 4 กลุ่มดังกล่าว ว่ามีจำนวนเท่าไร ระดับการศึกษา ตลอดจนคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งเป็นอย่างไร (ยังไม่นับรวมโปรแกรมฝึกอบรมต่างๆ ที่แต่ละบริษัทเตรียมไว้) และนำข้อมูลดังกล่าวมาผูกสูตรเข้ากับโครงการระบบรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น จำนวนพนักงานบางกลุ่มอาจขึ้นกับจำนวนขบวนรถไฟฟ้าที่ต้องใช้ ในขณะที่บางกลุ่มอาจขึ้นกับจำนวนสถานี จำนวนกะการทำงาน เป็นต้น

ปัญหาเริ่มเกิดขึ้น เมื่อทั้ง 2 หน่วยงานไม่สะดวกที่จะเปิดเผยข้อมูลโครงสร้างพนักงานด้านปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นทั้งจำนวนและคุณสมบัติประจำตำแหน่ง เนื่องจากข้อมูลส่วนนี้สัมพันธ์โดยตรงกับความสามารถในการบริหารจัดการบุคลากร คุณภาพการให้บริการ ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันในทางธุรกิจ ซึ่งประเด็นนี้ต้องยอมรับว่า อาจจะเป็นเพราะโครงสร้างการบริหารจัดการขนส่งระบบรางของประเทศไทยเองที่บังคับอ้อมๆ ให้บริษัทเอกชนที่มารับหน้าที่ให้บริการเดินรถจะต้องแข่งขันกัน การเปิดเผยข้อมูลที่ “อ่อนไหว” ต่อความสามารถในการแข่งขันย่อมจะไม่เป็นประโยชน์กับบริษัทนัก กรณีนี้ผู้เขียนเข้าใจดี

ประเด็นคือ ผู้เขียนควรแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อให้สามารถพยากรณ์ความต้องการใช้บุคลากรด้านปฏิบัติการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้?

ผู้เขียนอาจจะโชคดีที่ได้มีโอกาสพบ และได้รับเมตตาจากพี่ๆ ทีมงานบริษัทที่ปรึกษาของ ร.ฟ.ท.ในขณะนั้น ซึ่งกำลังเตรียมการจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าโครงการ Suvarnabhumi Airport Rail Link (SARL) ได้ให้ข้อมูลโครงสร้างบุคลากรที่จำเป็น จำนวน การศึกษา ตลอดจนคุณสมบัติประจำตำแหน่ง อันนำไปสู่การสร้างตัวแบบคณิตศาสตร์ เพื่อใช้ประมาณการจำนวนบุคลากรที่ต้องการ อาทิ จำนวนพนักงานขับรถ สัมพันธ์กับจำนวนขบวนรถไฟฟ้าที่มีให้บริการ ระยะเวลาที่ให้บริการ จำนวนกะ (เช่น สามารถขับรถไฟฟ้า 4 ชม. ต้องพัก 1 ชม. แล้วจึงขับต่อได้ เป็นต้น) จำนวนพนักงานขับรถไฟฟ้าขณะปฏิบัติงานต่อรถไฟฟ้า 1 ขบวน ตลอดจนโครงสร้างตำแหน่งของพนักงานขับรถไฟฟ้า เป็นต้น ในขณะที่จำนวนพนักงานซ่อมบำรุง ต้องแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยตามประเภทงาน อาทิ พนักงานซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (ซึ่งแบ่งเป็นพนักงานส่วนของโรงซ่อม และพนักงานส่วนของขบวนรถไฟฟ้า) พนักงานซ่อมบำรุงระบบย่อย ซึ่งอาจแบ่งเป็น ระบบสื่อสาร ระบบอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ ระบบอาณัติสัญญาณ พนักงานซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานงานโยธาและไฟฟ้า เป็นต้น จำนวนพนักงานในกลุ่มนี้อาจขึ้นกับความยาวของเส้นทางรถไฟฟ้า จำนวนตู้รถไฟฟ้า จำนวนสถานี ระยะเวลาการให้บริการ ตลอดจนโครงสร้างตำแหน่ง เป็นต้น เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและผูกสูตร ก็จะสามารถสร้างตัวแบบคณิตศาสตร์เพื่อประเมินปริมาณความต้องการ ตลอดจนระบุได้ว่าจะต้องการบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในสาขาใดบ้าง จำนวนเท่าไร

สิ่งที่ผู้เขียนและทีมงานวิจัยในขณะนั้นต้องทำ ก็คือ การนำผลลัพธ์ไปสอบเทียบกับผู้ให้บริการเดินรถอย่าง BTS และ MRT เพื่อประเมินว่าตัวแบบคณิตศาสตร์ดังกล่าว “ใกล้เคียง” กับความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ผลก็คือได้รับการยืนยันจากผู้แทนบริษัททั้งสองแห่งว่า ตัวแบบและประมาณการที่ได้ทำไว้สามารถนำมาใช้งานได้ ซึ่งนำไปสู่การนำตัวแบบดังกล่าวไปประมาณการความต้องการใช้บุคลากรด้านปฏิบัติการที่จะเกิดขึ้นหากโครงการรถไฟฟ้าต่างๆ ตามแผนของ สนข.ดำเนินการได้แล้วเสร็จตามแผนงานในปี พ.ศ.2557, 2562 และ 2572 ตามลำดับ

20



เงื่อนไขที่สำคัญสำหรับการสร้างตัวแบบคณิตศาสตร์เพื่อประมาณการบุคลากรด้านปฏิบัติการ คือรายละเอียดของโครงการ จำนวนขบวนรถ จำนวนสถานี ตลอดจนปี พ.ศ.ที่คาดว่าจะเปิดดำเนินการ เนื่องจากหากไม่สามารถดำเนินการตามแผนงานได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อปริมาณความต้องการใช้งานทันที เช่น ในขณะที่ผู้เขียนและทีมงานกำลังทำประมาณการจำนวนบุคลากรที่จะต้องเตรียมการไว้สำหรับช่วงปี พ.ศ.2557 ก็พบว่าโครงการอย่างน้อย 3 โครงการจะแล้วเสร็จจริงๆ ในช่วงปี พ.ศ.2558 ทำให้ต้องมีการปรับผลลัพธ์ ซึ่งในที่สุดนำมาสู่การประมาณการจำนวนบุคลากรที่ต้องการใช้ในกลุ่มการศึกษาต่างๆ สำหรับปี พ.ศ.2558 และจนถึงทุกวันนี้ในขณะเขียนบทความนี้ นับจากการศึกษาในปี พ.ศ.2553 หลายโครงการที่ต้องแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2558 ก็ยังไม่สามารถเปิดใช้บริการได้ แปลว่าตัวเลขประมาณการต่างๆ ในตารางที่แสดงไว้ก็ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ (แต่ตัวแบบน่าจะยังสามารถนำไปดัดแปลงใช้งานได้ให้สอดคล้องตามแผนได้)



21

ที่ได้อธิบายมาทั้งหมดนี้ เป็นบทนำจากการศึกษาปริมาณความต้องการใช้บุคลากรด้านปฏิบัติการในงานขนส่งระบบรางของประเทศไทย (เฉพาะระบบรถไฟฟ้าในเมือง) ในช่วงปี พ.ศ.2553 เพื่อประมาณความต้องการใช้บุคลากรที่จะเกิดภายในระยะ 5 ปี หมายถึงไม่เกินปี พ.ศ.2558 ผู้เขียนต้องการสรุปประเด็นตั้งต้นเพื่อนำไปสู่ข้อถกเถียงและหาความรู้เพิ่มเติมต่อไป ดังนี้

1.บุคลากร “ด้านปฏิบัติการ” ในที่นี้ คือ ปฏิบัติการเดินรถและซ่อมบำรุง (โดยทั่วไปมีงานซ่อมบำรุงที่ต้องดำเนินการ 4 ส่วน คือ งานซ่อมระบบราง-โยธา งานซ่อมตัวรถไฟฟ้า-เครื่องกล งานซ่อมระบบไฟฟ้า-ไฟฟ้ากำลัง และงานซ่อมระบบอาณัติสัญญาณ-คอมพิวเตอร์/อิเล็กทรอนิกส์) หมายถึง บุคลากรสายเทคนิคที่มีพื้นฐานการศึกษาทางอาชีวศึกษา หรืออุดมศึกษา ทั้งด้านทั่วไปและด้านวิศวกรรมศาสตร์ บางสายงานคุณสมบัติอาจกำหนดว่าต้องการความรู้ระดับ ปวส. แต่ในทางปฏิบัติก็อาจพบว่าขีดความสามารถของผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส.บางคนไม่พร้อมปฏิบัติงานได้ ก็อาจพิจารณารับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมาทดแทนได้

2.บุคลากรด้านปฏิบัติการระบบขนส่งทางรางทั้งหมดนี้ต้องได้รับการฝึกอบรมเตรียมการล่วงหน้าก่อนการปฏิบัติงาน (เปิดให้บริการเดินรถ) เป็นระยะเวลาประมาณ 6-12 เดือน แล้วแต่สายงาน และไม่ว่าจะจบการศึกษามาจากสาขาใด สถาบันไหน ทุกคนจะต้องเข้าสู่กระบวนการฝึกอบรมตามโปรแกรมที่เตรียมไว้ เนื่องจากภาระงานขึ้นกับชนิดของเทคโนโลยีที่ผู้ให้บริการเดินรถใช้อยู่

3.ตัวแบบที่คณะนักวิจัยที่จุฬาฯทำไว้ ทำขึ้นในปี พ.ศ.2553 ใช้สำหรับประมาณการบุคลากรสายปฏิบัติการภายในปี พ.ศ.2558 เท่านั้น ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการติดตั้ง และเปิดใช้งานระบบรถไฟฟ้าในเมือง (Metro) ตามแผนของ สนข. หมายความว่าหากแผนเปลี่ยนแปลงไป โครงการต่างๆ ไม่ดำเนินการตามแผนก็จะไม่สามารถเอาตัวเลขดังกล่าวไปใช้งานได้ รวมทั้งไม่สามารถขยายผลต่อไปถึงปี พ.ศ.2562 หรือ 2572 แบบตรงๆ ได้ ต้องมีการผูกสูตรกันใหม่ หากมีหน่วยงานใดอ้างว่าทีมงานของผู้เขียน หรือจุฬาฯทำประมาณการตัวเลขบุคลากรด้านระบบรางที่จะต้องใช้ในอนาคตเกินไปกว่านี้ (ทั้งจำนวนและกรอบเวลา) อาจนับได้ว่าเป็นการนำผลการศึกษานี้ไปกล่าวเกินกว่าที่ข้อมูลจะสรุปได้

4.บทสรุปที่ผู้เขียนเสนอไว้ในรายงาน ตลอดจนการได้มีเวลาศึกษาเพิ่มเติมจนกระทั่งปัจจุบัน มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจในระดับนโยบายระดับชาติ คือ สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการ แม้จะมีปริมาณความต้องการใช้มาก ขึ้นกับปริมาณโครงการที่จะมากขึ้นในอนาคต แต่บุคลากรเหล่านี้อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านระบบรางโดยตรง ไม่จำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรทั้งระดับอาชีวศึกษา หรือระดับปริญญาออกมารองรับ เนื่องเพราะสามารถใช้บุคลากรที่พัฒนาจากหลักสูตรปกติเดิม เช่น ระดับอาชีวศึกษา อาจเป็นช่างกล ช่างไฟฟ้า ช่างโยธา หรือระดับปริญญาก็อาจเป็นสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา หรือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ขึ้นกับลักษณะงานด้านปฏิบัติการที่จะต้องรับผิดชอบ และที่สำคัญก่อนที่จะสามารถปฏิบัติงานได้ ผู้ให้บริการเดินรถแต่ละราย เช่น BTSC หรือ BMCL ก็จะต้องนำบุคลากรเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการฝึกอบรมอยู่ดี

5.การเตรียมบุคลากรเข้าสู่ “สายงานปฏิบัติการ” หรือถ้าจะเน้นให้ชัดเจนว่า เป็นสายงาน “ปฏิบัติการเดินรถและซ่อมบำรุง” อาจเสริมความรู้ให้กับระบบการศึกษาเดิมได้ด้วยการเพิ่มรายวิชาเลือกบังคับ (Approved Electives) หรือรายวิชาเลือกเสรี (Free Electives) เพื่อเตรียมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการให้บริการระบบขนส่งระบบราง ให้มีความรู้ทั่วไปเพื่อให้ง่ายขึ้นเมื่อต้องได้รับการฝึกอบรมตามโปรแกรมของบริษัทเพิ่มเติม รวมทั้งอาจสามารถขยายเครือข่ายของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจปัญญาระบบรางของประเทศด้วยการพัฒนา “หลักสูตรฝึกอบรม” ระยะสั้น 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง แล้วแต่วัตถุประสงค์และรายละเอียด ซึ่งในที่สุดปัจจุบันมีความร่วมมือระหว่าง สวทน.และสถาบันการศึกษาหลายแห่งจัดให้มีรายวิชาด้านระบบรางเสริมให้กับหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ของหลายมหาวิทยาลัยในเครือข่าย และมีหลักสูตรฝึกอบรม “วิศวกรรมระบบราง” หรือ “วศร.” ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ “สวทช.” ปัจจุบันได้มีผู้ผ่านการอบรมไปแล้วทั้งสิ้น 5 รุ่น รุ่นละประมาณ 35 คน

6.ศาสตร์ด้านระบบรางจัดเป็น “สหศาสตร์” ต้องการความร่วมมือจากสาขาวิศวกรรมพื้นฐานหลายสาขา เช่น งานด้านโครงสร้างทาง งานราง (Tracks & Civil Works) ต้องการความรู้ด้านวิศวกรรมโยธา งานด้านตัวรถ หรือล้อเลื่อน (Rolling Stocks) ต้องการความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกล งานด้านระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้า (Electrical Power) ต้องการความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง และงานด้านระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) ต้องการความรู้ด้านระบบควบคุมหรือวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นการยากและอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีวิศวกรมีความรู้เฉพาะทางด้านระบบรางโดยตรง เนื่องจากสามารถประสานการทำงานระหว่างวิศวกรแต่ละสาขาเข้าด้วยกันได้ในลักษณะคณะทำงานในต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการใช้งานระบบรางมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่กลับพบว่าไม่มีโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาใดเปิดสอนด้านระบบรางโดยตรง ผู้ที่ประสงค์จะศึกษาหรือทำงานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบราง อาจทำงานร่วมกับอาจารย์ที่อยู่ในแต่ละสาขาวิศวกรรมพื้นฐาน เช่น อาจารย์บางท่านเป็นผู้ชำนาญด้านระบบอาณัติสัญญาณ สอนหนังสืออยู่ในภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ส่วนในประเทศอื่นๆ เช่น เกาหลีใต้ เยอรมนี อาจมีหลักสูตรด้านระบบรางอยู่บ้าง แต่เป็นการเน้นการศึกษาเพื่อการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในระดับปริญญาโท-เอก ซึ่งเป็นตลาดคนละกลุ่มกับหลักสูตรเพื่องานปฏิบัติการ

7.หากมองในภาพที่ใหญ่ขึ้น เกินกว่าระดับพัฒนาบุคลากรเพื่องานปฏิบัติการและซ่อมบำรุง บุคลากรด้านระบบรางทั้งหมดอาจพิจารณาได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับตลาดแรงงานและเป้าหมายที่ประเทศต้องการ คือ (ก) บุคลากรด้านปฏิบัติการและซ่อมบำรุง (ข) บุคลากรเพื่อการวิจัยและพัฒนา และ (ค) บุคลากรเพื่อภาคอุตสาหกรรม

8.บุคลากรด้านวิจัยพัฒนา หมายถึงบุคลากรที่มีภารกิจอยู่ที่การศึกษาวิจัย ซึ่งยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นการวิจัยประยุกต์ พัฒนาเพื่อแก้ปัญหาในภาคสนาม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีศูนย์วิจัย หรือสถาบันเฉพาะทางด้านระบบราง (ซึ่งปัจจุบันยังไม่มี) และกลุ่มวิจัยที่เน้นการพัฒนาต่อยอด ซึ่งอาจเป็นนักวิจัยในสถาบันเฉพาะทางด้านระบบราง หรือเป็นนักวิจัยหรืออาจารย์สาขาวิศวกรรมพื้นฐานในมหาวิทยาลัย ทำกิจกรรมวิจัยร่วมกับผู้ให้บริการเดินรถ หรือร่วมกับสถาบันเฉพาะทางด้านระบบราง อาจารย์ในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลก็สามารถทำงานวิจัยด้านการออกแบบชิ้นส่วนหรือการทดสอบล้อ ทดสอบโบกี้ได้ เป็นต้น ในขณะที่อาจารย์ด้านวิศวกรรมอุตสาหการอย่างผู้เขียนก็อาจศึกษาปัญหาเชิงนโยบายอุตสาหกรรม การพัฒนาคุณภาพในงานบริการ มาตรฐานการซ่อมบำรุง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีสาขาวิศวกรรมระบบรางเป็นการเฉพาะ เป็นต้น

9.บุคลากรเพื่อภาคอุตสาหกรรม คือ กลุ่มที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ การประกอบรถ ราง อุปกรณ์เสริมต่างๆ หรือการพัฒนาระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งงานส่วนนี้จะมีความจำเป็นหากมีการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟฟ้าภายในประเทศไทย แต่ก็อาจสามารถใช้บุคลากรที่จบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมพื้นฐานเดิมได้เช่นกัน

10.ในระยะที่โครงการระบบรางของประเทศไทยยังดำเนินการไปภายใต้ความไม่แน่นอน (ผู้เขียนขอใช้คำว่าช่วงเปลี่ยนผ่าน) แม้จะมีการพยายามเร่งดำเนินโครงการต่างๆ ให้ทันตามแผนงานของ สนข. แต่ก็อาจเกิดความผิดพลาด เช่น โครงการที่ผู้เขียนกล่าวในตอนต้นว่าต้องเสร็จในปี พ.ศ.2557 ก็ต้องข้ามมา 2558 และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เสร็จ เป็นต้น การพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญา หรือแม้แต่หลักสูตรระดับช่างฝีมือในระดับ ปวช. หรือ ปวส. อาจเป็นการทำให้เกิดความเสี่ยงกับตัวผู้เรียนเอง เช่น หากสำเร็จการศึกษาในปีที่โครงการยังไม่แล้วเสร็จ หรือไม่ถูกคัดเลือกให้ทำงานกับผู้ให้บริการเดินรถ บุคลากรเหล่านี้ซึ่งสำเร็จการศึกษาด้านระบบรางโดยตรงจะย้ายสายงานได้ยาก เมื่อเทียบกับการสำเร็จการศึกษาสาขาพื้นฐาน เช่น วิศวกรรมเครื่องกล+เสริมความรู้ด้วยรายวิชาด้านระบบรางจำนวนหนึ่ง ก็อาจมีทางเลือกทำงานในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลได้ตามปกติ

จากประเด็นทั้ง 10 ข้อนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 เป็นต้นมา ผู้เขียนจึงเพียรเสนอแนะว่าประเทศไทยอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในหลักสูตรวิศวกรรมระบบรางในรูปแบบตายตัว อย่างประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือปริญญาบัตร ยกเว้นเพียงกรณีเดียว คือ เมื่อมีการพัฒนางานอุตสาหกรรมขนส่งทางรางขึ้น ซึ่งก็ต้องพิจารณาในรายละเอียดต่อไป ขณะนี้เข้าใจว่ายังอยู่ในระดับหลักการ และพิจารณาหารูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้เคยอธิบายผ่านบทความพิเศษอีก 2-3 เรื่อง เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางจากกรณีศึกษาของประเทศเกาหลีใต้และมาเลเซีย ขณะนี้สิ่งที่ควรทำคือทำให้หลักสูตรวิศวกรรมพื้นฐานเดิมมีความเข้มแข็ง ระดับวิชาชีพต้องมีทักษะพื้นฐานตามสาขาที่ดีขึ้น ระดับปริญญาก็ควรมีทักษะวิศวกรรมที่เข้มข้น และอาจเสริมความรู้ด้านระบบรางผ่านการฝึกอบรมและรายวิชาเลือก เป็นต้น

การเปิดหลักสูตรวิศวกรรมระบบรางในสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งการพยายามของบประมาณขนาดใหญ่จากรัฐเพื่อทำศูนย์ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบรางที่มีอยู่ในขณะนี้ จึงอาจเป็นการลงทุนในฝั่ง “supply side” มากกว่าจะมุ่งพิจารณาไปที่การสร้าง “demand side” ซึ่งจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อประเทศไทยมีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในแบบที่ประเทศอื่นๆ กระทำกันอย่างเช่นมาเลเซีย เป็นต้น

การไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน หากเร่งดำเนินกิจกรรมอันเกี่ยวกับการเตรียมพัฒนาบุคลากรและงานวิจัยพัฒนาด้านระบบราง “แบบแข่งกันทำ” และ “ต่างคนต่างทำ” จะนำประเทศไทยไปสู่การไม่สามารถปะติดปะต่อภาพเข้าด้วยกันได้แบบงงๆ ลองพิจารณาจำนวนการให้ทุนการศึกษาต่อด้านระบบรางของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯที่มอบให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ตามรูปต่อไปนี้ (เผยแพร่โดย TDRI) แล้วลองตอบคำถามดูสิครับ ว่าเราจะสามารถบูรณาการนักวิชาการเหล่านี้ในอนาคตได้เป็นรูปธรรมอย่างไร



22

บทความฉบับนี้ ผู้เขียนเจตนาชี้ให้เห็นวิธีดำเนินการเตรียมการศึกษา กับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งขณะนี้ยังไม่สัมพันธ์กัน เมื่อยุทธศาสตร์ไม่ชัด การจัดการศึกษาก็จะมั่วเหมือนกันครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44022
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2016 4:47 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่า รฟท. ตรวจพินิจสถานีกรุงเทพ ก่อนหยุดยาว
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/1385011958180338
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/1384892431525624
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47385
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/07/2016 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ เตรียมจัดระเบียบสถานีรถไฟ แก้ปัญหาคนจรจัด
ข่าวเด่น ใน รอบวัน Published on Jul 18, 2016

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าการรถไฟฯ มีแผนยกระดับภาพลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเตรียมจัดระเบียบคนจรจัด ที่มาอาศัยหลับนอนและดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่สถานีรถไฟหัวลำโพง พบคนจรจัดประมาณ 50 คน เบื้องต้นจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดลงทะเบียนคนจรจัด เพื่อหาที่พักพิงใหม่ให้ หรือนำไปอบรมฝึกอาชีพ

รวมทั้งยังมีแผนจัดระเบียบแผงค้า และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ ที่นำสินค้าเข้ามาขายในพื้นที่สถานีรถไฟ เนื่องจากกีดขวางทางเดินของผู้โดยสาร และส่งผลต่อกระทบต่อภาพลักษณ์ของการรถไฟฯ

นอกจากนี้ จะเร่งปรับปรุงทัศนียภาพโดยรอบสถานีรถไฟทั่วประเทศสถานีใดมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ก็จะปรับปรุงพื้นที่โดยรอบสถานีให้เป็นจุดท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มนักเดินทาง โดยสามารถรถนำจักรยานขึ้นรถไฟได้ เพื่อปั่นออกกำลังกายตามสถานีรถไฟ

และยังเตรียมนำรถไฟเก่ามาปรับปรุงใหม่ ให้เป็นรถไฟท่องเที่ยวขบวนพิเศษ สำหรับนักท่องเที่ยวที่รวมกันเป็นกลุ่มไม่เกิน 70 คน เหมาขบวน หรือจัดโปรแกรมท่องเที่ยว โดยภายในขบวนรถไฟจะมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องอาหาร ห้องประชุม โดยคิดค่าโดยสารสูงกว่าปกติประมาณ 1 เท่า คาดว่าจะเปิดบริการได้ภายในปีนี้


https://www.youtube.com/watch?v=C-ukuuhF7IM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44022
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2016 12:42 am    Post subject: Reply with quote

นักวิชาการแนะรัฐยกระดับแผนพัฒนารถไฟ
by วชิราภรณ์ นาสวน
Voice TV
18 กรกฎาคม 2559 เวลา 12:24 น.



นักวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาล ยกระดับแผนพัฒนารถไฟไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เน้นการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบรถไฟฟ้าในไทย พัฒนาขีดความสามารถของวิศวกรในประเทศ

นายประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาล ยกระดับแผนพัฒนารถไฟไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3 ด้าน ได้แก่ กำหนดยุทธศาสตร์ให้ความต้องการใช้รถไฟทุกชนิดในประเทศ เป็นเครื่องมือพัฒนาขีดความสามารถของวิศวกรไทย

จัดทัพปรับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟ โดยบูรณาการร่วมกัน ทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบรถไฟฟ้าในไทย ซึ่งจะส่งผลประโยชน์ที่ดีต่อประเทศในระยะยาว ทำให้ในอนาคตไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศทั้งหมด

ทั้งนี้ มองว่า การยกระดับยุทธศาสตร์ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ควรทำโดยเร็ว หากล่าช้าปริมาณความต้องการใช้รถไฟในประเทศจะลดลง ทำให้จำนวนความต้องการใช้รถไฟที่เหลือไม่เพียงพอที่จะจูงใจให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาทำโรงงานอุตสาหกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีในไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44022
Location: NECTEC

PostPosted: 21/07/2016 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

โอกาสจะกลายเป็นวิกฤต! อ.จุฬาฯ ชี้ปัญหา12ข้อ การพัฒนาระบบรางกับ Thailand 4.0
มติชน
20 กรกฎาคม 2559 เวลา: 21:04 น.

วันนี้ (20 ก.ค.) ผศ.ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก “Assistant Professor Pramual Suteecharuwat, Ph.D.” ถึงปัญหาการพัฒนาการขนส่งระบบราง และศักยภาพในการนำประเทศไทยตามยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 มีรายละเอียดดังนี้

บางทีผมก็ไม่เข้าใจ

1. เรื่องเร่งด่วนอย่างการซ่อมบำรุงหนักระบบแอร์พอร์ตลิงค์ ที่เรากำลังใช้งานไปแบบเสี่ยงๆ ท่านๆ ก็ทำให้กระบวนการช้า ประมูลแล้วล้ม ล้มแล้วว่ากันใหม่ วนไปวนมา จนระยะทางที่ใช้งานเกินลิมิตตามสเปคไปแล้วไม่รู้เท่าไหร่ ที่ผมไม่เข้าใจคือถ้ากระบวนการมันไม่ถูก แล้วปล่อยให้มันเดินหน้าไปจนต้องวกกลับมาล้มกันทำไม

2. แต่ในเวลาเดียวกัน โครงการประมูลสายอื่นๆ ก็เดินหน้าเต็มที่ เผลอๆ เร็วกว่าการซ่อมบำรุงโครงการเก่า

3. เมื่อมีโอกาสทำความเข้าใจกัน ทุกฝ่ายก็ล้วนเห็นด้วยกับหลักคิดส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ ท่านนายกฯ ก็มีคำสั่งทั้งเป็นลายลักษณ์อักษร และด้วยวาจา แต่เท่าที่ผมทราบ ก็ไม่มีความเคลื่อนไหวอะไร

4. หลายท่านอธิบายว่า หากเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อ หรือแม้แต่เพิ่มเติมข้อกำหนดเพื่อเอื้อให้เกิดการสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศก็อาจจะทำให้โครงการช้าออกไป

5. ผมสนับสนุนการทำโครงการระบบรางต่างๆ ตามที่กระทรวงคมนาคมกำลังเร่งทำ แต่การเร่งเดินหน้าโครงการโดยการจัดซื้อ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการระบบ ตั้งแต่การบริหารเทคโนโลยี ระบบอาณัติสัญญาณ ไปจนการบูรณาการเดินรถและการซ่อมบำรุง ในที่สุดทุกโครงการจะผ่านไป ทุกคนจะได้ทำโครงการที่อยากทำ คนทั่วไปก็จะได้ใช้งานระบบรถไฟใหม่ๆ อยากที่อยากได้ แต่ก็จะก่อปัญหาการบริหารงานซ่อมบำรุง การจัดหาอะไหล่ ให้กับคนในอนาคต

6. ทุกวันนี้เราบ่นเรื่องระบบรถไฟฟ้าแทบทุกระบบเสียหายบ่อยๆ จนทำให้ต้องเสียงานเสียการ หรือเกือบเกิดเหตุรุนแรงเมื่อไม่กี่เดือนก่อน โปรดอย่าลืมว่าวันนี้เรามีแค่ 3-4 ระบบ (ที่แตกต่างกัน) คือ BTS MRT และ SARL หากปัญหาเชิงระบบ เชิงนโยบายยังไม่ได้รับการแก้ไข อีกไม่นานเมื่อทุกระบบถูกประมูลเสร็จและผ่านการใช้งานไปสักระยะ ความวุ่นวายในสเกลที่ใหญ่กว่า ซับซ้อนกว่าจะตามมา

7. ผมพูดเรื่องนี้มาตั้งแต่ก่อน SARL จะเปิดดำเนินการ ทุกอย่างก็เป็นไปอย่างที่ผมเคยพูด แต่สังคมนี้จะลุกกันขึ้นมาตกอกตกใจกันเฉพาะเมื่อเหตุเกิด พอควันจางหายไป ทุกคนก็ใช้ชีวิตไปตามเดิม รอจนกว่าเหตุจะเกิดขึ้นใหม่ ทั้งๆ ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าการกำหนดนโยบายที่ผิดพลาดย่อมนำมาซึ่งปัญหา

8. ผู้มีอำนาจกำหนดแผนกำหนดทิศทางในวันนี้คงไม่อยู่คอยแก้ปัญหาใหญ่ที่จะเกิดตามมาภายใน 10-15 ปีข้างหน้า หรือหนักสุดๆ ราวๆ 20 ปี เมื่อไทยเข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ และอาจมีหมัดบวกจากการถดถอยของอุตสาหกรรม ถึงตอนนั้นคนที่ไปรับไม้ดูแลประเทศไทยต่ออาจจะได้เจอศึกหนักทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

9. ภาวนาเหลือเกิน ให้ท่านๆ รับฟังเรื่องนี้บ้าง ไม่ใช่ปาหี่เรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ทางกายภาพ) การเป็นฮับของ AEC (ในขณะที่มาเลเซีย อินโดฯ พม่า เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่เพื่อใช้เป็นกลไกการพัฒนาบุคลากรกันโครมๆ) และ Thailand 4.0 แบบเพ้อๆ มีแต่ key words ที่ไม่รู้ว่า demand อยู่ที่ไหน ใครต้องทำ ทำอย่างไร ไปวันๆ

10. ย้ำอีกครั้ง ใช้ demand ไปพัฒนา supply … อย่าเอะอะจะทำแต่ supply โดยไม่รู้ว่า demand อยู่ที่ไหน

11. ระบบการศึกษาไทยไม่ไปไหน เพราะรัฐไม่เคยใช้กลไกของตัวเองสร้าง demand แล้วใช้ demand ไปพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมีแต่ต่างแข่งกันเปิดหลักสูตร แข่งกันตั้งสถาบัน แข่งกันของบวิจัย ซึ่งทำไม่สนองความต้องการตลาด บัณฑิตจึงตกงาน ไม่ใช่เพราะตลาดไม่ต้องการแรงงาน แต่ผลิตภัณฑ์ไม่สนองความต้องการ ในเวลาเดียวกันรัฐกลับมัวแต่ให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่เน้นแต่พิธีกรรมกับการกรอกแบบประเมิน

12. โอกาสดีของรัฐบาลพิเศษแบบ คสช. คือปฏิรูประบบ จัดทัพ ปรับองค์กร วางยุทธศาสตร์ แต่ถ้าไม่ทำ เอาแต่เร่งกระบวนการจัดซื้อ ทำสารพัดโครงการภายใต้เหตุผลความเร่งด่วน (ซึ่งรัฐบาลปกติเขาก็ทำกันได้) อีกไม่นานโอกาสดีๆ ก็จะลอยหายไป ทิ้งไว้แต่เรื่องราวให้คนในอนาคตบ่นเสียดาย พร้อมๆ กับปัญหาใหญ่ระดับ Mega Problems
เสียดาย เสียดาย เสียดาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44022
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2016 5:37 pm    Post subject: Reply with quote

ประกาศย้ายสถานีชุมทางบางซื่อ
เนื่องด้วยโครงการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ทำให้ต้องใช้พื้นที่ของสถานีชุมทางบางซื่อ 1 (สายเหนือ-สายตะวันออกเฉียงเหนือ) ที่กม. 7 + 479.77 เป็นพื้นที่ในการก่อสร้าง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและผู้ใช้บริการ จึงจำเป็นต้องยุบรวมสถานีชุมทางบางซื่อ 1 ที่กม. 7 + 479.77 ไปรวมกับสถานีชุมทางบางซื่อ 2 ที่กม. 7+833.93 และเปลี่ยนชื่อสถานีใหม่เป็น "ชุุมทางบางซื่อ" ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีชุมทางบางซื่อ 2 ปัจจุบัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2559 ขบวนรถที่หยุดให้บริการที่สถานีชุมทางบางซื่อ 1 จะไปหยุดที่สถานีชุมทางบางซื่อ 2 ทุกขบวน

จึงเรียนมาเพื่อทราบ และ ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ครับ
สถานีชุมทางบางซื่อ การรถไฟแห่งประเทศไทย

https://www.facebook.com/Bangsue1/photos/a.227183173970885.56136.128109160544954/1173041276051732/?type=3
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1407394665941261&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47385
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/07/2016 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
Click on the image for full size
ที่มา: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1407394665941261&set=a.213819491965457.68088.100000122231436
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44022
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2016 8:24 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เมื่อการศึกษาไทยล้มเหลว กรณีศึกษาการรับมือกับปัญหาด้านระบบรางของไทย
ผู้เขียน ผศ.ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มติชน
วันที่: 11 มีนาคม 59 เวลา: 22:10 น.

อ.วิศวะ จุฬาฯแนะรบ. ชี้ มาเลเซียจะขยับนำไทยด้านพัฒนารถไฟฟ้า หลายช่วงตัว
มติชน
วันที่: 27 กรกฎาคม 2559 เวลา: 15:25 น.

วานนี้ (26 กรกฎาคม) ผศ.ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และอดีตรอง ผอ.สถาบันการขนส่ง จุฬาฯ โพสต์ข้อความ

เมื่อช่วงบ่ายๆ วันนี้ ผมส่งอีเมล์ไปสอบถามเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศมาเลเซียต่อกรณีเรื่องโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง มาเลเซีย-สิงคโปร์ ที่จะใช้เทคโนโลยีของเกาหลีใต้ ประเด็นคำถามที่ผมสงสัย (และแอบกังวลแทนประเทศไทย) คือ มาเลเซียจะทำโครงการนี้ผ่าน ICP program หรือไม่

คำตอบที่ได้รับการยืนยันมาคือ … “ใช่” และขณะนี้อยู่ในระหว่างกำหนดวิธีดำเนินการกัน

เป็น message สั้นๆ ที่มีความหมายสำหรับคนที่ติดตามความเคลื่อนไหวของการผลิตรถไฟมาก

ทุกท่านโปรดทราบว่า นับจากบัดนี้ไป คอยติดตามข่าว จับตาให้ดี มาเลเซียจะมีโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูงภายในประเทศด้วยความร่วมมือกับประเทศเกาหลีใต้ ผ่านโปรแกรม ICP ซึ่งบริหารโดย TDA อันเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลังของรัฐบาลมาเลเซีย

และจะไม่ใช่เพียงการซื้อระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปใช้งาน แต่ต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศมาเลเซียด้วย ตามสไตล์ของ ICP (รายละเอียดของ ICP ว่าคืออะไร โปรดอ่านในลิงค์บทความนี้)

การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟฟ้าความเร็วสูงภายในประเทศจะทำให้มาเลเซียขยับตัวนำประเทศไทยไปอีกหลายช่วงตัว ถัดจากการมีอุตสาหกรรมผลิตรถไฟฟ้าแล้วอย่างน้อย 2 โรงงาน ตามที่ผมได้เคยเสนอข่าวไปก่อนหน้า

ถ้ารัฐบาลไทย หรือพูดให้ชัดไปอีกนิดว่า คือ ท่านนายกฯ และกลุ่มที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพัฒนานวัตกรรมที่อยู่แวดล้อมและคอยให้คำปรึกษากับท่านนายกฯ ยังไม่เห็นว่านี่เป็นเรื่องสำคัญ หรือแม้แต่ถอดใจยอมแพ้มาเลเซียดื้อๆ!

เมื่อกระบวนการประมูลแบบไทยๆ ว่ากันไปทีละโครงการๆ ผ่านไปจนหมดทุกโครงการ โดยไม่นำพากระบวนการจัดซื้อที่จะเอื้อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตรถไฟฟ้าภายในประเทศไทย หน้าต่างแห่งโอกาสก็จะปิดสนิทลง

ระยะใกล้ตัวที่ต้องวัดฝีมือของรัฐบาลในตอนนี้ คือการใช้ ม.44 กับกรณีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย

ถ้ายังไม่สามารถใช้จังหวะนี้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตรถไฟฟ้าภายในประเทศไทย ก็ถือว่ารัฐบาลสอบตกในด้านยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งด้านวิศวกรรม ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบรางในระยะยาว

ลำพังส่งคนไปฝึกอบรมทีละโครงการๆ ละ 2-3 สัปดาห์ แล้วไม่ได้กลับมาทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรัฐบาลต้องออกมา lead ไม่ใช่ให้ กระทรวงคมนาคม สนข. รฟม. หรือ รฟท. ไปว่ากันเอง

ภารกิจนี้สำคัญกว่าที่เข้าใจนัก

ประโยคเดียวที่ผมอยากฝากลมไปถึงท่านนายกฯ อีกครั้งตามประสาคนทำงานวิศวกรรมอุตสาหการ คือ “put the right man to the right job at the right time with the right tool”

จังหวะตอนนี้ ท่านนายกฯ ต้องใช้คนให้เป็นแล้วนะครับ ใช้คนไม่เป็น เลือกฟังคนที่ไม่ใช่ โดยเฉพาะพวกวิสัยทัศน์สั้น เราๆ ท่านๆ ก็เตรียมพบกับโอกาสที่กลายเป็นวิกฤตของประเทศไทยในอนาคตได้เลยครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44022
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2016 10:12 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ผนึก กทท.ปั้นศูนย์ขนส่งทางราง หวัง 5 ปีปริมาณสินค้าเพิ่มเป็น 2 ล้านตัน
โดย MGR Online
1 สิงหาคม 2559 15:43 น. (แก้ไขล่าสุด 1 สิงหาคม 2559 23:24 น.)


“ร.ฟ.ท.-กทท.” เซ็นเอ็มโอยูร่วมมือพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถขนส่งตู้สินค้า ระหว่างไอซีดี-แหลมฉบัง ซื้อแคร่ขนสินค้า 308 คัน ตั้งเป้าขนส่งทางรางเพิ่มเป็น 2 ล้านตัน/ปี ภายใน 5 ปี และเพิ่มขนส่งทางรางด้วยคอนเทนเนอร์ภายในประเทศอีกเท่าตัว จาก 7 ล้านตัน/ปี เป็น 15 ล้านตัน/ปี ร.ฟ.ท.ยันมีรายได้เพิ่มแน่นอน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการลงนามพิธีบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ว่าตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีจะต้องพัฒนาการขนส่งสินค้าโดยเชื่อมต่อ ถนน รางและเรือ ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้จัดซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าและเครื่องอะไหล่จำนวน 308 คัน ขนาดน้ำหนัก 20 ตัน/เพลา วงเงิน 7,229 ล้านบาท โดยได้รับมอบแล้ว 150 คัน การประกอบและทดสอบการใช้งานอย่างเต็มระบบก่อนเปิดให้บริการขนส่งสินค้าในปลายปีนี้ ส่วนโบกี้บรรทุกสินค้าที่เหลืออีก 158 คัน จะทยอยส่งมอบอีกครั้งในเดือนกันยายนนี้ โดยคาดว่า รถขนส่งสินค้าใหม่จะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางเป็น 2 ล้านตันต่อปี จากปัจจุบันที่มีปริมาณที่ 5 แสน - 1 ล้านตันต่อปี และช่วยลดการใช้รถบรรทุกในการรับ-ส่งสินค้าระหว่างท่าเรือ และสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบัง

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงขยายถนนภายในท่าเรือแหลมฉบังจาก 4 ช่องจราจรเป็น 14 ช่องจราจร ปรับปรุงสัญญาณไฟจราจรและก่อสร้างจุดกลับรถ ทั้งนี้ โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (SRTO) วงเงินลงทุน 2,994 ล้านบาทนั้น กทท.ได้ทำสัญญากับบริษัท ITD-WH Consortium ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 18 เดือน หรือประมาณเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2561 และคาดว่าจะรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ 2 ล้านอีทียูต่อปี

ด้าน ร.อ.สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวว่า ได้มีการปรับพื้นที่บริเวณหน้าท่าเรือเพื่อรองรับเรือขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากขนาด 80,000 ตันกรอส เป็น 100,000 ตันกรอส ส่วนโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จได้ตามแผนในปีหน้า

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ดังกล่าว เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้บริการศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ และไอซีดี ลาดกระบัง มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก และบุคคลทั่วไป ที่สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ถึง ประมาณ 400,000 ทีอียู/ปี ถึง 600,000 ทีอียู/ปี โดยคาดว่าจะเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น 2,000,000 ทีอียู/ปี ภายใน 5 ปี และช่วยเพิ่มปริมาณการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟจากท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ไปยังไอซีดี ลาดกระบังได้ 30,000 ทีอียู/ปี

ส่วนรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 308 คันนั้นจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและเสริมสร้างสมรรถภาพการขนส่งคอนเทนเนอร์ภายในประเทศสูงอีกเท่าตัว จากปัจจุบันขนส่งได้ 7 ล้านตัน/ปี คาดว่าจะเพิ่มปริมาณการขนส่งได้เป็น 15 ล้านตัน/ปี สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ ร.ฟ.ท.โดยรวมได้ดีขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 276, 277, 278 ... 489, 490, 491  Next
Page 277 of 491

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©