View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44510
Location: NECTEC
|
Posted: 09/07/2018 2:48 pm Post subject: |
|
|
งานยาก!ขอมก.ปักตอม่อ
เศรษฐกิจ
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, 11:14:00
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)เปิดเผยความคืบหน้าโครงการงานศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ว่า ตามแผนผลการศึกษาต้องเสร็จต้นเดือนก.ค. ที่ผ่านมา แต่ยังไม่เสร็จ เนื่องจากมีปัญหาแนวเส้นทางที่ออกแบบบริเวณแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) ที่กำลังก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต รวมทั้งสะพานรถยนต์ข้ามแยกมก. ที่ กทม. ก่อสร้างชดเชยสะพานเดิมต้องสร้างสถานีร่วมระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือด้วย ขณะเดียวกันยังมีอุโมงค์ลอดทำให้พื้นที่จำกัดต้องนำเสาตอม่อ1-2 เสา ไปปักในพื้นที่ มก. ที่มีต้นไม้ใหญ่อยู่ 1ต้น ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน สนข.จึงอยู่ระหว่างประสานมก.เพื่อเจรจาเรื่องแนวเส้นทางการก่อสร้างและขอใช้พื้นที่ปักเสาตอม่อหากมก.ยอมรับได้สนข.จะออกแบบแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลต่อไป
นายชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า หาก มก. ไม่ยอม สนข. ต้องเปลี่ยนตำแหน่งปักตอม่อใหม่โดยมอบหมายให้ที่ปรึกษาโครงการไปพิจาณาความเป็นไปได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากต้องออกแบบทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างพิเศษอาจต้องใช้งบประมาณก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเป็นประโยชน์ โดยตรงกับมก.เพราะมีสถานีรองรับถึง 2 สถานี คือ สถานี ม.เกษตรประตู 2และสถานี ม.เกษตร ซึ่งมีนักศึกษาและชุมชนอาศัยอยู่จำนวนมาก และต้องดำเนินการอย่างรอบคอบไม่ให้มีปัญหาตามมาทีหลัง ขณะเดียวกันการออกแบบจะต้องใช้แนวเกาะกลางถนนงามวงศ์วานต้องรื้อสะพานข้ามพงษ์เพชร ถนนงามวงศ์วานให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าได้จากนั้นค่อยสร้างสะพานใหม่ทีหลัง
สนข.จ่อนัดคุยม.เกษตรสรุปแนวตอม่อรถไฟฟ้าสีน้ำตาล
วันอาทิตย์ ที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2561, 17.36 น.
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม)ตามแผนการศึกษาความเหมาะสม ว่าขณะนี้แผนการออกแบบดังกล่าวยังติดปัญหาช่วงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากตามแผนเสาตอม่อโครงการบางส่วนจะต้องปักในพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการขอเข้าพบเพื่อหารือแนวทางดังกล่าว ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างไรก็ตาม หากการหารือเป็นผลสำเร็จ ขั้นตอนต่อไปก็จะดำเนินออกแบบรายละเอียดโครงการ
ซึ่งบริเวณม.เกษตรนั้น จะต้องทำสถานีร่วมระหว่างรถไฟฟ้าสายเขียว ช่วงหมอชิต -สะพานใหม่-คูคต และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล อย่างไรก็ตาม หากผลการเจรจาไม่สำเร็จ ก็จะต้องศึกษาแนวทางใหม่ คือขยับการปักเสาตอม่อใหม่ โดยได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาโครงการไปตรวจสอบว่าจะปรับเปลี่ยนได้อย่างไรบ้าง ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากเนื่องจากต้องเปลี่ยนแผนดีไซน์ทางวิศวกรรมโครงสร้าง ซึ่งอาจจะต้องขยายขนาดใหญ่ขึ้น วงเงินลงทุนเพิ่มขึ้น จึงได้ขอเข้าพบกับอธิการบดี ม.เกษตร ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสีน้ำตาลถือว่าเป็นโครงข่ายที่มีประโยชน์ในการเชื่อมต่อการเดินทาง นอกจากนี้ เบื้องต้นวางแผนถึงขั้นจะทำสถานีเพื่อรองรับตรงม.เกษตร 2จุด รวมถึงจะมีจุดเชื่อมต่อลักษณะสกายวอล์คสามารถเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงได้นายชัยวัฒน์ กล่าว
สำหรับข้อมูลที่ทำการศึกษาหากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะสามารถเชื่อมการเดินทางระหว่างด้านทิศตะวันออก-ทิศตะวันตกได้ สำหรับมูลค่าก่อสร้างโครงการในส่วนของการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายจะอยู่ที่ 50,000ล้านบาท ส่วนมูลค่าก่อสร้างทางด่วนอยู่ที่ประมาณ 25,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) จะเริ่มต้นจากแยกแคราย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน จุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดถนนลาดปลาเค้า แยกเสนา จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง350 จุดตัดถนนนวมิน
ทร์ เลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัด ถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทางประมาณ 22กิโลเมตร จำนวนสถานีเบื้องต้น 21สถานี
http://www.banmuang.co.th/news/economy/117512
Last edited by Wisarut on 09/07/2018 5:50 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48170
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 09/07/2018 5:40 pm Post subject: |
|
|
ดันร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วมลดค่าโดยสาร
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 9 กรกฎาคม 2561 เวลา 14.22 น.
สนข. ยันคลอด พ.ร.บ.ตั๋วร่วมภายในปีนี้ เดินหน้าอัตราค่าโดยสารร่วม ผุดไอเดียรถไฟฟ้า 30 บาทตลอดสาย-กดเพดานค่าโดยสาร 40 บาท
นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดทำร่างพ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมพ.ศ.
.ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลักคือ1.การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบาย 2.ภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง3.การคิดค่าโดยสารร่วมในระบบขนส่งสาธารณะ (Common Fare) 4.กองทุนตั๋วร่วม เสร็จเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างรอกรมบัญชีกลางตรวจสอบด้านกฎหมายกองทุน คาดว่าจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ภายใน1-2 เดือนนี้ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เห็นชอบและประกาศใช้ภายในปีนี้
นายเผด็จ กล่าวต่อว่า ดังนั้นภายในปีหน้าจะเริ่มเห็นความชัดเจนเรื่องการคิดค่าโดยสารร่วมเพื่อลดค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะให้กับประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งคณะกรรมการฯจะพิจาณาราคาที่เหมาะสมกับความสามารถในการจ่ายของประชาชนครอบคลุมทั้งระบบขนส่งทางบกระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งทางน้ำ คล้ายกับคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ดูแลควบคุมราคาค่าโดยสารรถเมล์และรถโดยสารประจำทาง
ด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่า เห็นด้วยกับผู้ว่าฯกทม.ที่เสนอราคาค่าโดยสารสายสีเขียวตลอดสายเช่นช่วงหมอชิต-บางหว้า ลดค่าโดยสารในเพดานราคาสูงสุดที่ 65 บาท จาก 145 บาท อยู่ระหว่างหารือกทม.ถึงแนวทางความเป็นไปของแผนดังกล่าวแต่ต้องหาข้อสรุปให้ได้ว่าส่วนต่างถึง 80 บาทใครจะรับผิดชอบหรือสนับสนุน หากตกลงข้อเสนอกับทุกฝ่ายลงตัวอาจเป็นหนึ่งในนโยบายที่ดีและมีประโยชน์กับคนกรุงเทพฯก็ได้
รายงานข่าวจากสนข.แจ้งว่า พ.ร.บ.ตั๋วร่วมเปิดช่องให้กำหนดค่าโดยสารที่เหมาะสมไว้หลากหลายรูปแบบเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้กระจายประชาชนไปเขตชานเมืองแล้วใช้โครงข่ายรถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งหลักเดินทางเข้าออกเมืองหลวง หากต้องจ่ายค่ารถไฟฟ้าแพงเช่น 100-200บาทต่อเที่ยวเพราะต่อเชื่อมหลายสายจะสร้างภาระมาก จึงต้องตั้งเพดานราคา ช่วงราคาที่เหมาะสมรวมถึงการคิดเหมาราคาเดียวตลอดสาย เช่นรถไฟฟ้า20-30 บาทตลอดสาย หรือเพดานค่ารถไฟฟ้าไม่เกิน 40 บาท รวมทั้งยกเลิกค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าหลากสีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแต่จะไม่สามารถบังคับผู้ประกอบการรายเดิมคือบีทีเอสและบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ที่ดูแลสายสีน้ำเงิน(หัวลำโพง-บางซื่อ)และสายสีม่วง(บางใหญ่-เตาปูน) ต้องอาศัยการขอความร่วมมือโดยรัฐบาลใช้วิธีสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้. |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48170
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 09/07/2018 5:42 pm Post subject: |
|
|
"ประวิตร" ย้ำ กทม.ประสาน รฟม.-สตช.คืนผิวจราจร 5 สายก่อสร้างรถไฟฟ้า
เผยแพร่: 9 ก.ค. 2561 14:33 โดย: MGR Online
พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยถึงการประชุมบูรณาการ ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาการจราจร ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า ที่ประชุม พล.อ.ประวิตร ได้ย้ำขอให้ กทม. ติดตามและประสานการทำงานร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ประเมินร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ขอความร่วมมือคืนผิวจราจรถนนสายหลักทั้ง 5 สายที่กำลังก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในการสัญจร และขอให้กันพื้นที่ไว้เท่าที่จำเป็น กระทบการจราจรน้อยที่สุด
ส่วนพื้นที่ที่คืนมาขอให้ปรับผิวและจัดทำช่องจราจรเปิดจุดกลับรถให้เหมาะสม มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดอุบัติเหตุ และขอให้เร่งสำรวจและซ่อมปรับผิวการจราจรที่ชำรุด หรือเป็นปัญหาของอุบัติเหตุในภาพรวม จากการเสียการทรงตัวและการชะลอตัวของรถ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44510
Location: NECTEC
|
Posted: 09/07/2018 5:52 pm Post subject: |
|
|
สนข.ชงไอเดียค่าตั๋วรถไฟฟ้า30บ.ตลอดสาย
จันทร์ที่ 9 กรกฎาคม 2561 เวลา เวลา 08:10 น.
ชงค่าตั๋วรถไฟฟ้า 30 บาทตลอดสาย
วันที่ลงข่าว 9 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:03 น.
การจัดทำร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วม เชื่อมการเดินทางทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ คาดว่า จะนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ภายใน 1-2 เดือนนี้ พร้อมผุดไอเดียรถไฟฟ้า 30 บาทตลอดสาย ลุ้นรัฐบาลใหม่เคาะ
นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เปิดเผยว่า การจัดทำร่าง พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ... คาดจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภายใน 1-2 เดือนนี้ ก่อนเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อนุมัติเป็นกฎหมาย โดยคาดจะเริ่มมีผลบังคับใช้ได้ภายในปี 2562
โดยจะเริ่มเห็นความชัดเจนของเรื่อง การคิดค่าโดยสารร่วมในระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะพิจารณาราคาค่าโดยสารร่วมที่เหมาะสมกับความสามารถในการจ่ายของประชาชน ครอบคลุมทั้งระบบขนส่งทางบก ระบบขนส่งทางราง และระบบขนส่ง ทางน้ำ โดยยืนยันว่าในอนาคตจะมีการคิดเพดานราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าแน่นอน เพราะเป็นหนึ่งในแผนค่าโดยสารร่วม
แหล่งข่าวจาก สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เปิดเผยว่า การคิดราคาค่าโดยสารที่เหมาะสมมีหลายรูปแบบ ซึ่งจากสถิติพบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพงที่สุด หากต้องจ่ายค่ารถไฟฟ้า 100-120 บาท/เที่ยว คงไม่ไหว ดังนั้นจึงให้ความสำคัญทั้งเพดานราคา ช่วงราคาที่เหมาะสม รวมถึงการคิดเหมาราคาเดียวตลอดสาย
ทั้งนี้ เชื่อว่าเมื่อรัฐบาลใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งในปีหน้า สามารถนำเกณฑ์ราคาดังกล่าวไปใช้ได้ทันที หรือนำไปเป็นนโยบายลดภาระของประชาชน เช่น รถไฟฟ้า 20-30 บาทตลอดสาย หรือแม้แต่เพดานค่ารถไฟฟ้าไม่เกิน 40 บาท
ด้าน นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับผู้ว่าฯ กทม. ที่เสนอราคาค่าโดยสารสายสีเขียวตลอดสาย เช่น ช่วงหมอชิต-บางหว้า ลดอัตราค่าโดยสารในเพดานราคาสูงสุดที่ 65 บาท จากปัจจุบัน 145 บาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับ กทม.ถึงแนวทางดำเนินการ โดยต้องหาข้อสรุปว่าส่วนต่าง 80 บาท ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
//---------------
คลอดกม.ตั๋วร่วมปีนี้ ลุ้นโจทย์ทำราคาตั๋วรถไฟฟ้า 30 บาทตลอดสาย
09 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 09:54 น.
ยันคลอดพรบ.ตั๋วร่วมภายในปีนี้ เดินหน้าอัตราค่าโดยสารร่วม ผุดไอเดียรถไฟฟ้า 30 บาทตลอดสาย-กดเพดานค่าโดยสาร 40 บาท รอรัฐบาลใหม่กดปุ่มหลังพบว่าไทยค่ารถไฟฟ้าแพงติดอันดับโลก ด้านบีทีเอสเปรยเพดานค่ารถไฟฟ้า 65 บาททำได้หากรัฐบาลช่วยอุ้ม
นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าความคืบหน้าการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ.
.นั้นประกอบด้วย 4 หัวข้อหลักคือ
1.การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบาย
2.ภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.การคิดค่าโดยสารร่วมในระบบขนส่งสาธารณะ (Common Fare)
4.กองทุนตั๋วร่วม
ขณะนี้ได้ร่างพรบ.เสร็จเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างรอกรมบัญชีกลางตรวจสอบด้านกฎหมายกองทุน ดังนั้นจึงคาดว่าจะสามารถเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ภายใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนเสนอให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)อนุมัติออกเป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถออกร่างพรบ.ตั๋วร่วมอย่างเป็นทางการได้ภายในปีนี้ ส่งผลให้ภายในปีหน้าจะเริ่มเห็นความชัดเจนของเรื่อง อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม ซึ่งออกมาเพื่อลดราคาค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะให้กับประชาชนทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการดังกล่าวจะสามารถพิจาณาราคาค่าโดยสารร่วมที่เหมาะสมกับความสามารถในการจ่ายของประชาชน (Affordable Fare) ครอบคลุมทั้งระบบขนส่งทางบก ระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งทางน้ำ คล้ายกับคณะกรรมการขนส่งทางบกกลางที่ดูแลเรื่องค่าโดยสารรถเมล์และรถทัวร์ ทั้งนี้ยืนยันว่าในอนาคตจะมีการคิดเพดานราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าแน่นอนเพราะเป็นหนึ่งในแผนค่าโดยสารร่วม
ขณะที่แหล่งข่าวจากสนข.กล่าวว่าพรบ.ตั๋วร่วมดังกล่าวมีการคิดราคาค่าโดยสารที่เหมาะสมไว้หลากหลายรูปแบบ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลมีนโยบายให้กระจายความกระจุกตัวของประชากรไปยังเขตชานเมืองแล้วใช้โครงข่ายรถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งหลักเพื่อรองรับดีมานต์การเดินทางของคนเมืองหลวง ทว่าจากสถิติกลับพบว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในชาติที่มีค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพงที่สุดซึ่งจะให้ต้องมาจ่ายค่ารถไฟฟ้าราคา 100-120บาทต่อเที่ยวคงไม่ไหว ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับเรื่องของราคารถไฟฟ้าซึ่งจัดทำไว้หลายรูปแบบ ทั้งเพดานราคา ช่วงราคาที่เหมาะสม รวมถึงการคิดเหมาราคาเดียวตลอดสาย
อย่างไรก็ตามตนเชื่อว่าเมื่อรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งในปีหน้าจะสามารถหยิบยกเกณฑ์ราคาดังกล่าวไปใช้ได้ทันทีหรือแม้แต่จัดเป็นโปรโมทเป็นนโยบายเพื่อลดภาระของประชาชน เช่น รถไฟฟ้า 20-30 บาทตลอดสาย หรือแม้แต่ เพดานค่ารถไฟฟ้าไม่เกิน 40 บาทตลอดจนเรื่องยกเลิกค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าหลากสีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้กฎหมายค่าโดยสารร่วมดังกล่าวจะสามารถบังคับใช้ได้กับโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ที่อยู่ระว่างก่อสร้าง ส่วนผู้ประกอบการรายเดิมอย่าง สายสีเขียวและสายสีน้ำเงินนั้นต้องอาศัยการขอความร่วมมือไม่สามารถไปบังคับได้ ส่วนประเด็นที่ว่าเอกชนผู้บริหารโครงการจะยอมหรือไม่รัฐบาลคงต้องใช้วิธีสนับสนุน ค่าใช้จ่าย(Subsidy) ให้กับเอกชน
ด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสกล่าวว่าตนเห็นด้วยกับผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่เสนอราคาค่าโดยสารสายสีเขียวตลอดสายเช่น ช่วงหมอชิต-บางหว้า ลดอัตราค่าโดยสารในเพดานราคาสูงสุดที่ 65 บาท จากปัจจุบัน 145 บาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับกทม.ถึงแนวทางดำเนินการ ความเป็นไปของแผนดังกล่าว แต่ทั้งนี้ต้องหาข้อสรุปให้ได้ว่าส่วนต่างถึง 80 บาทใครจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือผู้สนับสนุน(Subsidy) ทั้งนี้ยืนยันว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้หากตกลงข้อเสนอกับทุกฝ่ายลงตัวอาจจะเป็นหนึ่งในนโยบายที่ออกมาเพื่อเป็นสิ่งดีดีให้กับคนกรุงเทพก็ได้ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44510
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44510
Location: NECTEC
|
Posted: 10/07/2018 8:41 pm Post subject: |
|
|
รถไฟฟ้ามาหาเธอ คนตั้งราคาห่วยแตก จี้ยุบคณะกรรมการราคากลางแห่งชาติ
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 10 กรกฎาคม 2561 เวลา 16:56
ปรับปรุง: 10 กรกฎาคม 2561 เวลา 18:25
ก่อนจะไล่เรียงไปว่าเมื่อรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ สร้างครบ 10 สาย ทั้งสีอ่อนสีแก่ ตามที่ผู้มีอำนาจเขียนขีดเส้นทางเดินรถกัน โดยอ้างความสะดวกสบายในการเดินทางของคนกรุง ที่ตามแผนต้องใช้เงินลงทุนทั้งระบบกว่า 6 แสนล้านบาท และความทนทุกข์ทรมานของการจราจรที่แสนสาหัสอีกไม่น้อยห้าปีสิบปีในถนนสายหลัก รวมไปถึงการเสี่ยงภัยจากอันตรายที่คนกรุงต้องเผชิญกับอันตรายจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าแบบที่บริษัทรับเหมาที่รับงานกันไปเต็มราคากลาง แต่ความปลอดภัยการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรห่วยแตก
แบบที่ต้องมาขอเรียกร้องขอความปลอดภัย การดูแลการจราจรให้สมกับงานราคาค่าก่อสร้างสายละเกือบ 5 หมื่นล้านแสนล้านบาทกันหน่อย ไม่ใช่มาปล่อยปละละเลยกันแบบนี้ รฟม.เจ้าของสัญญา อย่าตีแต่จัดประมูลประเคนงานตั้งราคากลางแบบผู้รับเหมารวยเละกัน แต่ละเลยใส่ใจคุณภาพการก่อสร้าง เอาเปรียบคนกรุงเทพฯ มาตลอดแบบน่ารังเกียจจริงๆ
กระบังลม ต้องบอกว่างานแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ รฟม.นี้ ไม่ว่าจะกับชุมชนที่ตนเองไปรื้อไปเวนคืนพื้นที่ก่อสร้างกับองค์กรที่เกี่ยวข้องในด้านวิศวกรรมแทบจะเป็นศูนย์ ไม่เคยมีจิตสำนึกในรอบบ้านตนเองในเรื่องที่จะตอบแทนกับสังคมที่ รฟม.มาเอาพื้นที่ไปหากินเลย คิดแล้วมันน่าจะเอาตัวผู้ว่าฯ รฟม.มาถามว่าวันนี้ที่กินเงินเดือนสำนึกบ้างไหมว่ามันมาจากภาษีประชาชน
ที่เกริ่นมายาวแบบนี้ เพราะจากเมื่อวานที่เขียนว่ามีการปรับราคาค่าก่อสร้าง *** ในส่วนราคากลางจากขยายแบบ แก้ราคาวัสดุกัน 4 รอบในรถไฟฟ้าสายสีแดง จนราคาที่ปรับให้ผู้รับเหมาเพิ่มจะทะลุไปหมื่นแปดพันกว่าล้านบาท จากราคากลางที่ตั้งไว้เดิม 75,548 ล้านบาท เพิ่มเป็น 93,950 ล้านบาท ในเวลาที่อ้างว่าคิดราคาไว้เมื่อ 6 ปีที่แล้วนั้น เสียค่าโง่อะไรบ้าง...มาไล่เรียงกันดู
ครั้งแรก อ้างดื้อๆ ว่าคิดราคาไว้ปี 2552 ราคาเก่าไป 2 ปีเท่านั้น ขอปรับดื้อๆ จาก 59,888 ล้านบาทเป็น 75,548 ล้านบาท คำนวณอัตราเงินเฟ้อยังไงก็ฟังไม่ขึ้น ที่ราคากระโดดแบบคนคิดราคากลางไม่โง่ ก็คงเป็นคนอนุมัติราคากลางโง่ เพราะปรับราคาจากที่บอก ราคาไม่อัปเดตแค่แป๊บเดียวปรับกันทีเดียว 15,660 ล้านบาท
มา ครั้งที่ 2 คิดราคากลางกันยังห่วยแตกอีก เพราะประมูลงานกันผู้รับเหมาที่ชนะประมูลใส่ราคามาเกินไปอีก 4,827 ล้านบาท อ้วนกันไปทั้งบริษัท ยูนิค, บริษัท ซิโน-ไทย, บริษัท อิตาเลียนไทย
ครั้งที่ 3 อ้างรถไฟความเร็วสูง ขอขยายแบบสถานีกลางบางซื่อ ปรับราคาอีกพรวดเดียว 8,104 ล้านบาท ยกเนื้องานส่วนเกินเกือบหมื่นล้านบาทให้ผู้รับเหมาเอาไปทำดื้อๆ แบบไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม
ครั้งที่ 4 ย่ามใจเรื่องจัดซื้อรถโดยสาร จัดซื้อระบบอาณัติสัญญาณ เพิ่มราคาอีก 6,743 ล้านบาท ให้บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นกันดื้อๆ ไล่เรียงแบบนี้ทางพ่อค้าพ่อขายมาค้ามาขายเอากำไรไป ก็ยังว่าคือพ่อค้าที่คนสงสัยคือการคิดราคากลางแล้วมันผิด มาหน้าด้านขอปรับราคาใหม่แบบนี้ ทางที่ปรึกษาคิดราคากลาง-ทีมออกแบบ ไม่ละอายใจเลยหรือที่ทำงานกันอีท่าไหน คิดราคาเท่าไหร่ก็ไม่พอมาขอเงินเพิ่ม ขอปรับเพิ่มยังกะเด็กขอค่าขนมแบบนี้
กระบังลม ขอถามว่า คนที่คิดราคาผิดแบบนี้ ในทางปฏิบัติเอาผิดเอาถูกอะไรไม่ได้เลยหรืออย่างไร หรือมันมีอะไรมาเข้าตาเข้าปากผู้มีอำนาจอนุมัติ มาเข้าปากคนใน รฟม.ที่หน้าด้านเสนอไปให้ ครม.อนุมัติ แล้ว ครม.ได้มีการทบทวนกันอย่างดีหรือยังที่ปล่อยให้เพิ่มราคากันถึงสี่หนห้าหน หากมันทำกันแบบนี้ได้ก็ต้องด่าต้องว่ากันว่า จะว่าไปต้องบอกว่าราคากลางเมืองไทยมันห่วยแตก ที่ทำราคากลางมาแล้วเชื่อถือไม่ได้เลย
ต้องบอกว่าคนทำราคากลางมันไม่มีความรู้ความสามารถอะไรกันเลย คณะกรรมการราคากลางแห่งชาติ ที่นั่งกันกินเบี้ยประชุมกันอยู่มายาวนาน หน้าเดิมกันทุกคนมันไม่อายกันบ้างหรือ ที่ต้องถามแบบนี้อยากให้นายกฯ ตู่ทบทวนหน่อยว่า กรรมการราคากลางแห่งชาติ ถ้ามีไว้ไม่ได้ประโยชน์ สร้างมาตรฐานราคากลางไม่ได้ก็ยุบทิ้งไปเลย อย่างน้อยก็ประหยัดเบี้ยประชุมที่มาจากภาษีประชาชนไปบ้างยังดี |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48170
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 16/07/2018 8:13 am Post subject: |
|
|
เตรียมจับเข่าชาวทองหล่อ สนับสนุนรถไฟฟ้าสายสีเทา
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 16 ก.ค. 2561 05:01
นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16.25 กม. ว่า มีความเป็นไปได้ที่ กทม.จะนำโครงการกลับมาพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อ เนื่องจากมองว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม เป็นทางเลือกในการเดินทางได้ บรรเทาปัญหาการจราจร ขณะนี้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ และเตรียมทำความเข้าใจ ชี้แจงประชาชนกลุ่มผู้คัดค้านที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ เช่น ประชาชนย่านทองหล่อ เร็วๆนี้ ขณะเดียวกัน กทม.เตรียมหารือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ รวมถึงรูปแบบการก่อสร้างโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทาระยะที่ 1 ในส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กทพ. ซึ่งมีบางส่วนใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ทั้งนี้ กำชับ สจส.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือร่วมกันเร็วที่สุด. |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48170
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 18/07/2018 11:48 pm Post subject: |
|
|
ทุ่ม 400 ล้านจ้างศึกษาพัฒนาที่รอบสถานีระบบราง
พุธที่ 18 กรกฎาคม 2561 เวลา 07.25 น.
สนข. ทุ่ม 400 ล้านบาท จ้างที่ปรึกษาศึกษาพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีระบบรางทั่วประเทศ 18 เดือน
นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข. อยู่ระหว่างว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD) ระบบรางทั่วประเทศคาดว่าจะได้ตัวที่ปรึกษาเดือน ส.ค. นี้ ตอนนี้กำลังคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา เนื่องจากเป็นโครงการที่ใหม่และพัฒนาพื้นที่ทีโอดีระบบรางทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดมูลค่าและมีระบบยั่งยืน ในกระบวนการหาที่ปรึกษานี้จะเป็นแบบเปิดให้ทั้งบริษัทภายในและภายนอกประเทศเข้ามา จากนั้น สนข. พิจารณาตามคุณสมบัติเงื่อนไขตามทีโออาร์จัดจ้าง เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
นางวิไลรัตน์ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการดังกล่าว ใช้เวลาศึกษา 18 เดือน งบศึกษา 400 ล้านบาท โดยศึกษาการพัฒนาพื้นที่ทีโอดีที่เกี่ยวกับระบบขนส่งทางรางทั้งหมดทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รถไฟชานเมือง รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) และรถไฟฟ้ารางเบาในเมืองภูมิภาคพื้นที่ 6 เมืองหลักที่มีการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะ ได้แก่ จ.ขอนแก่น, อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา, ภูเก็ต, เชียงใหม่, นครราชสีมา และพิษณุโลก อย่างไรก็ตามการพัฒนาแผนแม่บททีโอดีนี้จะส่งผลช่วยเพิ่มมูลค่าจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม นำรายได้มาสนับสนุน พัฒนาระบบขนส่งทางราง ย่านพื้นที่การขนส่งและภายในเมืองนั้นๆ ได้ |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48170
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 19/07/2018 5:38 pm Post subject: |
|
|
รฟม.เล็งคิดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นรายวันแทนราคาต่อเที่ยว
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 19 ก.ค. 2561 เวลา 14:03 น.
รฟม.เผยเล็งคิดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นรายวันแทนราคาต่อเที่ยว เพื่อให้ประชาชนจ่ายในราคาที่ถูกที่สุด
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่าสำหรับการคิดเพดานค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอนาคตเพื่อให้ได้ราคาถูกที่สุดสำหรับประชาชนนั้นในอนาคตจะเปลี่ยนการคิดค่าโดยสารรถไฟฟ้าจากการเดินทางต่อเที่ยวมาเป็นการคิดค่าโดยสารต่อวันแทนคล้ายตั๋ววัน (Daily Ticket) เช่นในอนาคตเพดานค่ารถไฟฟ้าอยู่ที่ 100 บาท ผู้โดยสารจะสามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้ากี่เที่ยวก็ได้โดยเสียค่าโดยสารเต็มที่เพียง 100 บาท อาทิ รถไฟฟ้าเที่ยวละ 35 บาท ผู้โดยสารต้องจ่ายแค่ 3 เที่ยว แต่พอเที่ยวที่ 4 ก็ถือว่านั่งฟรีเพราะถือว่าราคาเกิน 100 บาทแล้ว
สำหรับแนวทางการคิดค่าโดยสารดังกล่าวนั้นสามารถทำได้เนื่องจากระบบบัตร EMV มีการปิดยอดบัญชีเป็นรายวันก่อนกระจายเงินในระบบไปให้เอกชนผู้บริหารรถไฟฟ้าแต่ละสาย
นายภคพงศ์กล่าวต่อว่าส่วนด้านการเปลี่ยนผ่านระบบตั๋วร่วมไปสู่ระบบบัตร EMV (Euro/ MasterCard และ Visa) หรือบัตรเครดิตดิจิทัลที่เป็นสากลมีใช้กันทั่วโลกมาในรูปแบบของเครดิตการ์ดที่สามารถใช้โดยสารหรือชำระสินค้าได้เลยโดยใช้บัตรเพียงใบเดียว ซึ่งคาดว่าจะมีการนำบัตรดังกล่าวมาใช้ในปี 2562 นั้นทางผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสยืนยันว่าจะนำรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าร่วมในระบบดังกล่าวแน่นอน
สำหรับเทคโนโลยีบัตร EMV นั้นเป็นหนึ่งในการใช้นวัตกรรม 4.0 เข้ามาแก้ปัญหาความแออัดบนชานชาลา ลดอัตราการรอคิวที่ยาวเหยียดโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ซึ่งในอนาคตผู้โดยสารจะใช้ระบบยอดเหรียญน้อยลงแล้วหันมาใช้บัตรใบเดียวเดินทางในทุกระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ในอนาคตจะมีการติดตั้งอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ในแต่ละสถานีเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนอีกด้วย |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48170
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 20/07/2018 5:45 pm Post subject: |
|
|
ครึ่งทางเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้าน ล. ปี62 ทุกโหมดเร่งสร้าง-เร่งเปิดใช้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 20 July 2018 - 08:00 น.
หลังรัฐบาลทหารประกาศทุ่มเม็ดเงินกว่า 2.8 ล้านล้านบาท ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยให้แล้วเสร็จ 8 ปี (2558-2565) ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมใส่เกียร์ดันโครงการจนผ่านมาได้ครึ่งทาง เตรียมเดินสายสร้างการรับรู้ไปยังภูมิภาค ประเดิมเวทีแรกที่ กทม.ต่อด้วยสงขลาและนครพนม
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่ายยาว คมนาคม 4 ปี + อนาคต คนไทยได้อะไร ครบถ้วนทุกโหมด บก-ราง-น้ำ-อากาศ พร้อมจัดไทม์ไลน์รายโปรเจ็กต์ชัดเจน ตามบัญชา สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ขุนพลเศรษฐกิจ คสช.ที่ลงมาขันนอตให้ทุกโครงการเดินหน้าเต็มสูบ 7-8 เดือนที่เหลือก่อนเลือกตั้งในปี 2562
เริ่มจากระบบรางที่ อาคม ย้ำเป็นการลงทุนเพื่อปฏิรูปการคมนาคมครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ จะครอบคลุมทั้งในเมือง ต่างจังหวัด ทะลุต่างประเทศ
รถไฟฟ้าคืบหน้าในรอบ 20 ปี
โดยรถไฟฟ้าใน กทม.-ปริมณฑลกำลังก่อสร้างและได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว 349.8 กม. ตั้งเป้าปี 2565 ต้องมีเส้นทาง 464 กม. จะเปิดบริการทุกปี
ในปี 2562 มี สายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ 13 กม. จะเปิดเดือน ม.ค. และสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค 14 กม. ปัจจุบันคืบหน้า 98% จากนั้นปี 2563 มี 4 สาย สีเขียวหมอชิต-คูคต สีน้ำเงินบางซื่อ-ท่าพระ สีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กม. สร้างเสร็จแล้วรอขบวนรถไฟจะเร่งญี่ปุ่นผลิตให้เสร็จในปี 2562
สร้างโมโนเรล 2 สายแรก
ปี 2564 เปิดโมโนเรล 2 สายแรกสีชมพูแคราย-มีนบุรี และสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง ปี 2565 จะเปิดสีแดงตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา และสีแดงรังสิต-ธรรมศาสตร์ส่วนสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และสีน้ำเงิน บางแค-สาย 4 จะเปิดปี 2566 และปี 2567 เปิดสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน และสีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
เพิ่ม 3 โครงข่ายย่อย
จะเร่งรถไฟฟ้าสร้างให้ครบ 10 สาย และผลักดันส่วนต่อขยาย 3 โครงการที่เหลือให้ได้รับอนุมัติ ได้แก่ สีเขียวต่อขยายคูคต-ลำลูกกา และสมุทรปราการ-บางปู และสีน้ำเงินต่อขยายบางแค-พุทธมณฑล สาย 4 ซึ่งสายสีเขียวจะเป็นรถไฟฟ้าที่ยาวที่สุด
ไม่หยุดเท่านี้ จะทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ M-Map 2 เพิ่มระบบสายรอง 3 สาย สีเทา สีน้ำตาล และสีทอง เชื่อมสายหลัก มีสถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อของรถไฟฟ้า 5 สายและเร่งสร้างโมโนเรลภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น และโคราช
ปีหน้าคนอีสานนั่งรถไฟทางคู่
ส่วนรถไฟทางคู่ ผ่านมา 4 ปี มี 1,350 กม. อีก 4 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 3,514 กม. ซึ่งปี 2562 จะเปิดใช้สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กม. และจิระ-ขอนแก่น 187 กม. ปี 2564 จะเปิดสายนครปฐม-หัวหิน 169 กม. หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 84 กม. และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม. ในปี 2565 มีลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม. และมาบกะเบา-จิระ 132 กม.ในปี2566 พร้อมผลักดันทางคู่ เฟส2 อีก 9 เส้นทาง 2,164 กม. ให้ครม.อนุมัติและเริ่มสร้างปี 2562 ซึ่งปี 2568 มีทางคู่ 2 สายใหม่ เปิดใช้ มีเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-นครพนม
ไม่ได้สร้างแค่ทางคู่ จะเปลี่ยนหัวรถจักรจากระบบดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า ส่วนดีเซลจะนำไปใช้เส้นทางท่องเที่ยวแทน
เร่งพัฒนารถไฟความเร็วสูง
นอกจากนี้ รัฐบาลยังผลักดันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 สายแรก คือ กทม.-นครราชสีมา 253 กม. เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน และสายเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา รองรับพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 220 กม. กำลังเปิดประมูล จะเปิดปี 2566 ซึ่งเส้นทาง กทม.-นครราชสีมา จะสร้างไปถึงหนองคายเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงของจีนที่กำลังสร้างอยู่ฝั่ง สปป.ลาว จะเปิดปี 2570 ขณะที่ กทม.-เชียงใหม่เป็นความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่น จะสร้างช่วง กทม.-พิษณุโลก 380 กม. กำลังเสนอ ครม.อนุมัติ พร้อมเปิดปี 2568 ส่วน กทม.-หัวหิน 211 กม. กำลังดำเนินการ PPP เปิดปี 2568 และจะเร่งต่อขยายไปถึงสุราษฎร์ธานี
ผุดมอเตอร์เวย์ทั่วไทย
ทางบก เพิ่มโครงข่ายถนนเป็น door to door เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และอีอีซี สร้างจุดพักรถบรรทุก 34 แห่ง เปิดแล้ว 2 แห่งที่ อ.โนนสูง เปลี่ยนถนนลูกรังเป็นลาดยาง สร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่เชียงของ ขยายถนน 4 ช่องจราจร 1,050 กม. สร้างสะพานเมยแห่งที่ 2 จะเปิดปี 2562 ก่อสร้างมอเตอร์เวย์เพิ่ม 3 สายเชื่อมภาคอีสาน ตะวันตก และตะวันออก ได้แก่ บางปะอิน-นครราชสีมา เปิดใช้ปี 2563 พร้อมกับบางใหญ่-กาญจนบุรี และพัทยา-มาบตาพุด จะสร้างเพิ่ม 3 สาย มีนครปฐม-ชะอำ, หาดใหญ่-สะเดา และกทม.-มหาชัย เปิดใช้ปี 2565
ด้านทางด่วน มีทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมวงแหวนตะวันออก และพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก เปิดปี 2565
ดันไทยศูนย์กลางการบิน
ทางอากาศ จะเสริมศักยภาพสนามบิน 17 แห่ง สร้างใหม่ 1 แห่งที่เบตง ไฮไลต์ขยาย 3 สนามบินหลักของประเทศ มีสนามบินสุวรรณภูมิ กำลังสร้างเฟส 2 เปิดปี 2565 รองรับ 60 ล้านคนต่อปี ส่วนดอนเมืองจะมีเฟส 3 สร้างปี 2563 เปิดปี 2568 รับได้ 40 ล้านคนต่อปี และอู่ตะเภารองรับEEC เริ่มปี 2562 เสร็จปี 2566 จะมีศูนย์ซ่อมอากาศยานใหญ่ใกล้เคียงกับสิงคโปร์ ขณะที่สนามบินภูมิภาค มีปรับปรุง 4 แห่ง จะเปิด 3 แห่งปี 2563 ที่เบตง ขอนแก่น และกระบี่ ปี 2564 มีแม่สอด และปี 2562 ปรับปรุงที่นครศรีธรรมราช
เพิ่มท่องเที่ยวทางน้ำ
ปิดท้ายทางน้ำ มีการลงทุนใหญ่ 1 โครงการในอีอีซี คือ ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เปิดปี 2568 โครงการอื่น เช่น เส้นทางท่องเที่ยววงแหวนอันดามันภูเก็ต พังงา กระบี่ เปิดเดินเรือเฟอร์รี่พัทยา-หัวหิน พัฒนาท่าเรือคุรยส์ และสถานีเรือ 19 แห่งที่แม่น้ำเจ้าพระยา |
|
Back to top |
|
 |
|