View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 31/08/2019 8:43 pm Post subject: |
|
|
พายุโพดุลถล่มโคราชทางลอดรถไฟทางคู่กลายเป็นคลองรถวิ่งผ่านไม่ได้
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 30 ส.ค. 2562 เวลา 20:00 น.
นครราชสีมา-ทางลอดรถไฟทางคู่กลายเป็นคลองเจอพายุโพดุลถล่มชาวบ้านชี้การก่อสร้างขวางทางน้ำรถผ่านไปไม่ได้พังแล้วหลายคันเพราะระดับการแจ้งเตือนก็ไม่ตรงกับระดับน้ำจริง
อิทธิพายุโซนร้อนโพดุล ส่งผลให้ฝนตกหนักตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ที่อุโมงค์ทางลอดใต้รางรถไฟทางคู่ บ้านโนนมะเกลือ ตำบลดอนใหญ่ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา รถไม่สามารถสัญจรผ่านได้เพราะมีปริมาณน้ำไหลลงอุโมงค์อย่างต่อเนื่อง และมีน้ำขังอยู่ภายในอุโมงค์เครื่องสูบน้ำไม่สามารถระบายน้ำได้ทันกับปริมาณน้ำที่ไหลเข้า
นายศักดิ์ชัย ด้วงไพร ชาวบ้านโนนมะเกลือเปิดเผยว่า เดิมชาวบ้านไม่เคยมีปัญหาน้ำท่วมขังมาก่อนในพื้นที่ แต่หลังจากสร้างทางลอดแล้วเสร็จปรากฏว่าทางลอดได้ไปขวางทางน้ำเดิมทำให้น้ำเปลี่ยนเส้นทางเข้าท่วมหมู่บ้าน ที่ผ่านมาเคยร้องเรียนไปหลายครั้งแต่ปรากฏว่าเรื่องก็เงียบหาย ซึ่งไม่เพียงแต่พายุทำให้ฝนตกหนักในครั้งนี้เท่านั้นที่ก่อให้เกิดเหตุน้ำท่วมหมู่บ้าน แม้ฝนตกในระดับปกติก็ท่วมเช่นกันเนื่องจากน้ำไม่มีเส้นทางในการระบาย
ส่วนปัญหาน้ำท่วมขังในทางลอดนั้นแม้เครื่องสูบน้ำจะทำงานแต่ก็ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน เนื่องจากทางลอดอยู่ในระดับต่ำจึงทำให้น้ำไหลลาดลงไปได้โดยง่ายกว่าเครื่องสูบน้ำจะสามารถสูบออกได้หมดก็ใช้เวลาจนค่อนวันหรือถ้าตกหนักก็ใช้เวลาตลอดทั้งวันจนชาวบ้านไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ส่วนระดับการแจ้งเตือนก็ไม่ตรงกับระดับน้ำจริงที่ผ่านมามีรถลงไปจอดเสียในทางลอดแล้วหลายสิบคันเนื่องจากเชื่อป้ายเตือนว่าถ้าระดับน้ำไม่ถึงขีดแดงสามารถใช้งานทางลอดได้แต่ปรากฏว่าเมื่อลงไปใช้งานจริงๆระดับน้ำกลับสูงเกินกว่าระดับแจ้งเตือน.
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
|
Posted: 02/09/2019 1:45 pm Post subject: |
|
|
ความก้าวหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 1
Italian-Thai Development Public Company Limited "ITD"Like Page
30 สิงหาคม 2562 เวลา 4:32 PM ·
ความก้าวหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา - คลองขนานจิตร ในส่วนของงานก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ (Elevated Railway) ที่ก่อสร้างข้ามผ่าน อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ระยะทางประมาณ 4.8 กิโลเมตร
ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการในส่วนของโครงสร้างส่วนบน
1. งานยกติดตั้งชิ้นส่วน Segmental Box Girder แล้วเสร็จสะสมจำนวน 31/95 Span
2. งานก่อสร้างด้วยวิธี Balanced cantilever method แล้วเสร็จสะสม 2/31 Span
การก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา (สระบุรี) - ชุมทางถนนจิระ (นครราชสีมา) ในช่วง "มวกเหล็ก" มีความจำเป็นต้องสร้างทางยกระดับสูง เนื่องจาก ที่ตั้งมวกเหล็กนั้นอยู่ใน "หุบเขาแอ่งกะทะ" จึงต้องสร้างและตัดเส้นทางใหม่ รวมถึงสร้างสถานีแห่งใหม่ เป็นแบบลอยฟ้า โดยที่ตั้งสถานีรถไฟมวกเหล็ก จะอยู่บริเวณใกล้ที่ตั้ง "โรงเรียนนายเรืออากาศ" แห่งใหม่ ที่จะเปิดในอีกราว 1-2 ปีข้างหน้า และสถานีแห่งใหม่ จะเป็นที่รองรับ การขนส่งทางราง ในการเดินทางที่สะดวกสบาย ของ นักเรียน ข้าราชการ และครอบครัว กว่า 2000 คน ที่จะไปอยู่เป็น สมาชิก ชาวอำเภอมวกเหล็ก |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
|
Posted: 02/09/2019 3:22 pm Post subject: |
|
|
ปิดทางประธานขึ้นช่วงย่านสถานีบ้านแฮด จ.ขอนแก่น ให้ใช้ทางล่องร่วมกันไปพลางก่อน ระหว่างนำหินเสริมทางดินที่ทรุดคาดเสร็จ5โมงเย็นวันนี้
31ส.ค.62 เวลา 11.30 น. พื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีฝนตกกระจายเป็นบางสถานี เจ้าหน้าที่ของฝ่ายการช่างโยธาเขตพื้นที่บ้านไผ่ พบทางประธานขึ้น ในย่านสถานีรถไฟบ้านแฮด หลักกิโลเมตรที่ 424/2-3 ด้านเหนือของสถานีทางทรุด ปิดทางประธานขี้น ในย่านสถานีรถไฟบ้านแฮดตั้งแต่เวลา10.35น. ให้ขบวนรถขึ้นเดินในทางประธานล่อง ในย่านสถานีรถไฟบ้านแฮด การแก้ไขดินทรุด ใช้รถแบ็คโฮ นำหินเสริมทาง ระยะเวลาดำเนินแก้ไขแล้วเสร็จโดยประมาณ 17.00 น. ของวันนี้ครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2491439784236285&set=a.1782760508437553&type=3&theater |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 03/09/2019 3:54 pm Post subject: |
|
|
คมนาคม เร่งศึกษาลดใช้พลังงานรถไฟทางคู่ นำร่อง จิระ-ขอนแก่น และ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 September 2019 - 11:36 น.
นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ ผู้อำนวยการสำนักแผนความปลอดภัย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สนข.ได้เล็งเห็นศักยภาพในการลดใช้พลังงานจากโครงการรถไฟทางคู่ เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายในการลดใช้พลังงานภาคขนส่งภายในปี 2579 ลง 30%
ทั้งนี้การขนส่งด้วยระบบรางช่วยลดการก่อมลพิษจากรถบรรทุกถึง 70% ต่อตันกิโลเมตร จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
เพื่อวิเคราะห์แนวทางและจัดทำแนวทางการติดตามประเมิน Tracking การใช้พลังงานที่ลดได้จากโครงการรถไฟทางคู่ จัดทำข้อมูลฐาน (Baseline Data) ในการคำนวณปริมาณการลดการใช้พลังงานของโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 ทั้ง 7 เส้นทาง และจัดทำระบบฐานข้อมูลในการติดตามประเมินการลดการใช้พลังงานจากการใช้รถไฟทางคู่
รวมถึงการสร้างตัวชี้วัดประกอบการประเมินมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งตามแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2558-2579 (EEP2015) ที่มีค่าเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งเท่ากับ 30,213 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (Ktoe) ในปี2579
โดย สนข.ได้คัดเลือกโครงการรถไฟทางคู่ที่มีการก่อสร้างใกล้เสร็จสมบูรณ์ คือ ช่วงจิระ-ขอนแก่น และช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เป็นโครงการนำร่อง เพื่อประเมินการใช้พลังงานก่อนและหลังเปิดให้บริการและดำเนินการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification: MRV) การลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก ใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 16 เดือน ระหว่างเดือนกรกฏาคม 2562-ตุลาคม 2563
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินนโยบายตามมาตรการด้านการส่งเสริมการขนส่งที่ยั่งยืน และมาตรการอนุรักษ์พลังงาน ภาคขนส่งตามแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 (EEP2015) ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ และสามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ตามแผนปฏิบัติการลดก๊าชเรือนกระจกของประเทศ ปี 2564-2573 สาขาคมนาคมขนส่ง รวมทั้งสามารถตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (MRV) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันมาตรการกีดกันทางการค้า
สำหรับผลการศึกษาเมื่อจัดทำสำเร็จแล้วจะเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ภาครัฐนำไปกำหนดนโยบายภาคการขนส่งทางรางในระยะยาว คาดว่าหากมีการดำเนินโครงการตามแผนคาดว่าจะมีศักยภาพในการลดการใช้พลังงานประมาณ 4,922 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในปี 2579 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
|
Posted: 04/09/2019 3:26 am Post subject: |
|
|
สนข.ดันแผนขนส่งใช้รถไฟทางคู่ เซฟพลังงานลง 30% ในปี 79
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคารที่ 3 กันยายน 2562 เวลา 12:25
ปรับปรุง: วันอังคารที่ 3 กันยายน 2562 เวลา 12:51
สนข.ศึกษาการลดใช้พลังงานจากรถไฟทางคู่ในการขนส่ง ตั้งเป้า 30% ภายในปี 2579 เล็งทำแผนเสนอภาครัฐนำไปกำหนดนโยบายภาคการขนส่งทางรางในระยะยาว
นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ ผู้อำนวยการสำนักแผนความปลอดภัย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาแนวทางการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพในการลดใช้พลังงานจากโคงการรถไฟทางคู่เพื่อตอบสนองต่อค่าเป้าหมายในการลดใช้พลังงานภาคขนส่งภายในปี 2579 ลง 30%
ทั้งนี้ การขนส่งด้วยระบบรางช่วยลดการก่อมลพิษจากรถบรรทุกถึง 70% ต่อตันกิโลเมตร จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
เพื่อวิเคราะห์และจัดทำแนวทางการติดตามประเมินTracking การใช้พลังงานที่ลดได้จากโครงการรถไฟทางคู่ จัดทำข้อมูลฐาน (Baseline Data) ในการคำนวณปริมาณการลดการใช้พลังงานของโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 ทั้ง 7 เส้นทาง และจัดทำระบบฐานข้อมูลในการติดตามประเมินการลดการใช้พลังงานจากการใช้รถไฟทางคู่
รวมถึงสร้างตัวชี้วัดประกอบการประเมินมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งตามแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 (EEP2015) ที่มีค่าเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งเท่ากับ 30,213 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (Ktoe) ในปี พ.ศ. 2579
สนข.ได้คัดเลือกโครงการรถไฟทางคู่ที่มีการก่อสร้างใกล้เสร็จสมบูรณ์ คือ ช่วงจิระ-ขอนแก่น และช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เป็นโครงการนำร่อง เพื่อประเมินการใช้พลังงานก่อนและหลังเปิดให้บริการและดำเนินการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting
and Verification : MRV) การลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก
ใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 16 เดือน ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2562-ตุลาคม 2563 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินนโยบายตามมาตรการด้านการส่งเสริมการขนส่งที่ยั่งยืน และมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งตามแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 (EEP2015) ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ และสามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ตามแผนปฏิบัติการลดก๊าชเรือนกระจกของประเทศปี 2564-2573 สาขาคมนาคมขนส่ง รวมทั้งสามารถตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (MRV) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันมาตรการกีดกันทางการค้า
สำหรับผลการศึกษาเมื่อจัดทำสำเร็จแล้วจะเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ภาครัฐนำไปกำหนดนโยบายภาคการขนส่งทางรางในระยะยาว คาดว่าหากมีการดำเนินโครงการตามแผนคาดว่าจะมีศักยภาพในการลดการใช้พลังงานประมาณ 4,922 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือ Ktoe ในปี 2579 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
|
Posted: 04/09/2019 11:17 am Post subject: |
|
|
สนข. คิกออฟแผนลดพลังงานรถไฟทางคู่
ข่าวเศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
วันอังคารที่ 3 กันยายน 2562 เวลา 16.02 น.
รถไฟทางคู่7สายลดใช้พลังงาน4,922 พัน
ข่าวเศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
วันอังคารที่ 3 กันยายน 2562 เวลา 17.33 น.
สนข. ฟังเสียงประชาชนครั้งแรกติดตามประเมิน การใช้พลังงานที่ลดได้จากรถไฟทางคู่ระยะแรก 7 สาย 993 กม. คาดช่วยลดพลังงาน 4,922 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในปี 79
เมื่อวันที่ 3 ก.ย.62 ที่โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ ผู้อำนวยการสำนักแผนความปลอดภัย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดประชุมสัมมนาเพื่อเผยแพร่โครงการครั้งที่ 1 โครงการศึกษาแนวทางการติดตามประเมิน (Tracking) การใช้พลังงานที่ลดได้จากการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่
นายอธิภู เปิดเผยว่า สนข. ได้ดำเนินโครงการศึกษาดังกล่าว เนื่องจากได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน งบประมาณ 20 ล้านบาท ศึกษา 16 เดือน เริ่ม ก.ค.62-ต.ค.63 เพื่อวิเคราะห์แนวทางติดตามประเมิน จัดทำข้อมูลฐานคำนวณปริมาณการลดการใช้พลังงานของโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 ทั้ง 7 เส้นทาง ระยะทาง 993 กม. ได้แก่ ช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย, ช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น, ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ, ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, ช่วงนครปฐม-หัวหิน, ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร โดยเปิดให้บริการครบทั้งหมดปี 65 รวมทั้งจัดทำระบบฐานข้อมูลติดตามประเมินการลดการใช้พลังงานการใช้รถไฟทางคู่ สร้างตัวชี้วัดประกอบการประเมินมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่งตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ปี 58-79 (EEP2015) ที่มีค่าเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งเท่ากับ 30,213 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (Ktoe) ในปี 79
นายอธิภู กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้คัดเลือกโครงการรถไฟทางคู่ที่ก่อสร้างใกล้เสร็จสมบูรณ์ในปี 62 จำนวน 2 สาย 293 กม. คือ ช่วงจิระ-ขอนแก่น 187 กม. และช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กม. เป็นโครงการนำร่อง เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนการใช้บริการของผู้โดยสาร และขนส่งสินค้า รวมทั้งปรับเปลี่ยนรถบรรทุกมาขนส่งทางราง เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง จากนั้นนำมาประเมินการใช้พลังงานก่อนและหลังเปิดให้บริการ ดำเนินการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification: MRV) การลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก ทั้งนี้หากดำเนินโครงการตามแผนคาดว่ามีศักยภาพลดการใช้พลังงาน โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 ทั้ง 7 เส้นทาง ประมาณ 4,922 ktoe ในปี 79
นายอธิภู กล่าวอีกว่า อนาคตจะนำฐานขอข้อมูลติดตามประเมินผลลดการใช้พลังงานขยายผลไปปรับใช้กับโครงการก่อสร้างทางคู่ระยะที่ 2 อีก 7 สาย ระยะทาง 1,483 กม. อาทิ ช่วงเด่นชัย-ปากน้ำโพ และ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ที่เปิดบริการครบทั้งหมดปี 70 และรถไฟสายใหม่ ระยะแรก 2 สาย 681 กม. เช่น ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม และ รถไฟสายใหม่ระยะถัดไป 12 สาย 2,419 กม. อาทิ ช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ และช่วงชุมพร-ระนอง ต่อไป
ด้านผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับในอนาคตต้องการให้ศึกษาเปลี่ยนหัวรถจักรระบบดีเซลมาเป็นหัวรถจักรระบบไฟฟ้ามาประกอบผลการศึกษา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดการใช้พลังงาน รวมทั้งการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากรถบรรทุกมาเปลี่ยนใช้รถไฟ และนำผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบกมาใช้ด้วย ตลอดจนผลการศึกษาจะมีผลช่วยปรับปรับพฤติกรรมประชาชนเดินทางด้วยรถไฟทางคู่มากกว่าการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อลดปัญหาจราจร ทั้งนี้ต้องการให้คำนวณค่ามลพิษอื่นๆ ด้วย เช่น ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)
//-------------------------- |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 08/09/2019 7:59 pm Post subject: |
|
|
บานปลายเห็นต่างรถไฟทางคู่โคราช พ่อเมืองลั่นต้องจบเร็วๆนี้ ชาวโคราชขึ้นป้ายทุบสะพานหัวทะเลฟื้นเศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์ 8 กันยายน 2562 17:39 ภูมิภาค
ความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงเส้นทางผ่านเขตเมือง นครราชสีมา ซึ่งเป็นรูปแบบยกระดับตั้งแต่ลอดใต้สะพานต่างระดับปักธงชัยจนถึงสะพานหัวทะเลและช่วงจุดตัดทางข้ามเส้นทางหลักมีความสูงไม่ต่ำกว่า 5 เมตร เพื่อให้รถยนต์ขนาดใหญ่สามารถแล่นข้ามได้สะดวกและมีทางเชื่อมต่อทุกจุดเช่นเดิม เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการใช้รถใช้ถนนและทำให้การขยายตัวของเมืองมีความเจริญเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นผลดีในระยะยาวต่อการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของชาวโคราช สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 20 ปี
ล่าสุดยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากมีความเห็นต่างการรื้อถอนสะพานโรงแรมสีมาธานีและสะพานหัวทะเล ส่งผลให้การดำเนินโครงการ ฯ ล่าช้า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้สั่งการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพูดคุยให้ได้ข้อสรุปเป็นแนวทางเดียวกัน แม้นต้องเพิ่มงบประมาณแต่ต้องมีความชัดเจนและเหตุผลความจำเป็นและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งความเป็นไปได้ทางเทคนิคก่อสร้าง ล่าสุดนายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา จัดประชุมพิจารณาเสนอรูปแบบการแก้ไขปัญหาจราจรและเชิญคู่เห็นต่างมาพูดคุย เพื่อแสวงหาจุดร่วมแต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 8 กันยายน ที่บริเวณอาคารพาณิชย์ใต้สะพานหัวทะเล เขตเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา นายสุวกฤต รังสิโรจน์ พร้อมพวกได้จับกลุ่มพูดคุย เพื่อหารือการเคลื่อนไหวและรวบรวมรายชื่อเสนอต่อจังหวัดนครราชสีมา กรณีได้รับผลกระทบจากสะพานหัวทะเลจากนั้นได้นำป้ายไวนิลซึ่งมีจ้อความ พวกเราเดือดร้อนมานานแล้ว ทุบสะพานอย่างเดียว ฟื้นคืนเศรษฐกิจ ไปติดตั้งรอบสะพานดังกล่าว
นายสุวกฤต ฯ เปิดเผยว่า ปัญหาเรื้อรังนานกว่า 30 ปี สะพานหัวทะเลได้บดบังภูมิทัศน์ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเดินทางเข้าเมือง หากรื้อถอนสะพานออกไปได้จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในละแวกนี้ให้กลับมาคึกคักอย่างแน่นอน นายเจษฎา พรพิมานแมน เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด (ห.จ.ก.) ธนาสติกเกอร์ กล่าวว่า เดิมบริเวณนี้เคยมีความเจริญรุ่งเรือง หลังสะพานเปิดใช้งานต้องประสบปัญหาทุกมิติ ส่งผลให้การค้าขาย ธุรกิจต่างๆทยอยปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง พวกเราต้องการถนนราชสีมา-โชคชัย ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 1 เป็นถนนระดับพื้นราบเหมือนเดิมและรื้อถอนสะพานออกไป เพื่อยกระดับรถไฟทางคู่
นายเกษม ตังอนุสรณ์สุข เจ้าของโรงแรมเฮอร์มิเทจโคราช กล่าวว่า ก่อนหน้านี้กิจการโรงแรมที่พักคึกคักมาก แต่อยู่ได้เพียง 2 ปี มีการสร้างสะพานกีดขวางทางเข้าออกส่งผลให้การเดินทางไม่สะดวก การจัดกิจกรรมมีจำนวนลงลดเรื่อยๆ เพื่อความเจริญเติบโตของเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตนขอสนับสนุนให้รื้อถอนสะพาน หัวทะเลออกไป
ด้านนายวิเชียร ฯ ผวจ.นครราชสีมา กล่าวว่า ตนจะเชิญกลุ่มที่เห็นต่างมาร่วมประชุมย่อย โดยมีวิศวกรการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) นครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (มร.นม.) ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทเอกชนและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ ส.ส ในพื้นที่มาเป็นคนกลาง โดยเป็นการชี้แจงข้อมูลความเหมาะสมด้านกายภาพ การใช้ประโยชน์ของพื้นที่สอดคล้องความต้องการของทุกภาคส่วน ปัญหาอุปสรรคในการก่อสร้างและความเป็นไปได้ในเชิงวิศวกรรม เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกมิติรวมทั้งเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและซักถามข้อสงสัย หากได้ข้อสรุปเป็นทางเดียวกัน ก็จะจัดประชุมใหญ่เชิญทุกภาคส่วนมารับฟังการชี้แจงข้อมูลผลการศึกษาคาดจะมีขึ้นในเร็วๆนี้
นครราชสีมา/เกษม ชนาธินาถ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
|
Posted: 08/09/2019 11:58 pm Post subject: |
|
|
เอาอะไรกันกับบรรดาฐานเสียงที่ยอมลดตัวเป็นทาสนายกเล็ก จนสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว
//---------------------------
เถียงไม่จบ รถไฟทางคู่ช่วงผ่านเมืองโคราช เห็นต่างประเด็นทุบสะพานสีมาธานีและสะพานหัวทะเล นายกเล็กเปิดเวทีย่อยชี้แจง ส่วนฝ่ายเห็นต่างยันจุดยืนเดิม
ข่าว ภูมิภาค - นครราชสีมา
โดย เกษม ชนาธินาถ
สยามรัฐออนไลน์ 5 กันยายน 2562 19:42
ความคืบหน้าความเห็นต่างการรื้อถอนสะพานข้ามทางรถไฟโรงแรมสีมาธานี ซึ่งเป็นเส้นทางของโครงการรถไฟทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงผ่านเมือง นครราชสีมา ได้ยื้อเยื้อมานานร่วม 2 ปี ทำให้การดำเนินโครงการ ฯ ล่าช้า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้สั่งการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพูดคุยให้ได้ข้อสรุปเป็นแนวทางเดียวกัน แม้นต้องเพิ่มงบประมาณแต่ต้องมีความชัดเจนและเหตุผลความจำเป็นและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งความเป็นไปได้ทางเทคนิคก่อสร้าง ล่าสุดนายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา จัดประชุมพิจารณาเสนอรูปแบบการแก้ไขปัญหาจราจรและเชิญคู่เห็นต่างมาพูดคุย เพื่อแสวงหาจุดร่วมแต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้
เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 5 กันยายน ที่มูลนิธิหลักเสียงเซียงตึ้งโคราช ในวาระการประชุมงานเทศกาลกินเจ ประจำปี 2562 นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา ได้ชี้แจงข้อมูลดังกล่าวให้ตัวแทนองค์กรคนไทยเชื้อสายจีน คณะกรรมการบริหารมูลนิธิ ฯ พร้อมนำโมเดลจำลองมาแสดงให้ดู ปรากฏได้รับความสนใจมีการซักถามข้อสงสัยนานร่วมชั่วโมง
นายสุรวุฒิ ฯ นายก ทน.นครราชสีมา เปิดเผยว่า หลายฝ่ายวิตกกังวลผลกระทบที่เกิดขึ้นหากรื้อถอนสะพานสีมาธานีและสะพานหัวทะเลทั้งในระหว่างก่อสร้างและหลังเสร็จสิ้น ผลการศึกษาอย่างรอบด้านพบรูปแบบทางรถไฟยกระดับและรื้อถอนสะพานทั้ง 2 แห่ง สามารถเชื่อมระบบการจราจรได้ทั้งเมืองพร้อมตัดถนนซึ่งเป็นเส้นทางคู่ขนานทางรถไฟรวมทั้งวางระบบระบายน้ำจากทิศเหนือลงทิศใต้ได้สะดวกยิ่งขึ้น จะนำไปสู่การขยายความเจริญออกไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันซึ่งมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างหลายประการ
อย่างไรก็ตามเมื่อทราบข้อมูลแบก่อสร้างที่ชัดเจน จะช่วยให้ ทน. ฯ สามารถออกแบบผังเมืองมีถนนโครงข่ายเชื่อมต่อกันในลักษณะเส้นทางลัด ลดระยะเวลาเดินทางรองรับสภาพจราจรที่คับคั่ง รองรับปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการบริหารจัดการระหว่างรื้อถอนสะพาน ฯ ได้จัดการจราจรใช้เส้นทางถนนสืบสิริโดยเตรียมเพิ่มช่องทางจราจรจากเดิม 4 เลน เป็น 6 เลน ส่วนการเดินทางจากกรุงเทพ ฯ ทางหลวงชนบทหรือถนน 1120 ผ่านหน้าโรงเรียนสุรนารี 2 กำลังขยายช่องทางจราจรจากเดิม 4 เลน เป็น 8 เลน เพื่อเข้าสู่เมืองโคราช
ด้านนายจักริน เชิดฉาย อดีตประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประธานกลุ่มโคราชเพื่อโคราชและแกนนำเห็นต่าง กล่าวว่า ยืนยันจุดยืนแบบก่อสร้างทางรถไฟต้องยกระดับผ่านสะพานสีมาธานีและสะพานหัวทะเลแล้วค่อยลดระดับลงเท่านั้นและไม่ควรรื้อถอนสะพานทั้ง 2 แห่ง จะสามารถตอบโจทย์แก้ไขปัญหาจราจรและความขัดแย้งได้ดีที่สุด หากอ้างความจำเป็นต้องรื้อถอนสะพาน ฯ ผลการศึกษาระบุเกิดปัญหาวิกฤตจราจรในวันปกติ รถติดสะสมนาน 4 ชั่วโมง ช่วงเทศกาลสำคัญ 10 ชม. และใช้เวลาก่อสร้าง 36 เดือน หรือ 3 ปี แม้นการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ใช้สะพานแบริ่งติดตั้งไว้ทั้งขาเข้าและออก เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรคับคั่ง ก็ สามารถจำลองสถานการณ์โดยปิดใช้สะพาน ฯ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อเตรียมเผชิญเหตุการณ์จริงและการใช้เส้นทางเลี่ยงแทน จากนั้นให้สอบถามผู้ใช้รถใช้ถนนรับผลกระทบได้หรือไม่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2501213596592237&set=a.1878620525518217&type=3 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
|
Posted: 09/09/2019 4:29 pm Post subject: |
|
|
ชาวบ้าน ขอทุบสะพานหัวทะเล โคราช ชี้ ทำเศรษฐกิจซบเซา
ประจำวันที่ 09 กันยายน 2562
กรณีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเขตตัวเมืองนครราชสีมา ซึ่งยังคงเป็นปัญหาความเห็นต่าง เรื่องการจะให้ทุบ หรือไม่ทุบสะพานสีมาธานี จนทำให้ยังไม่มีข้อยุติและส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ในเขตตัวเมืองนครราชสีมาถึงปัจจุบัน ล่าสุดวันนี้ได้มีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง ติดป้ายขอให้มีการทุบสะพานข้ามทางรถไฟหัวทะเล หน้าโรงแรมเฮมิเทจ ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมาด้วย หลังจากที่ผู้อยู่อาศัยบริเวณ 2 ฝั่งข้างสะพาน ได้รับผลกระทบ ทำให้เศรษฐกิจซบเซา อาคารและบ้านเรือนร้างไปทั้ง 2 ฝั่งมานานกว่า 30 ปีแล้วตั้งแต่สร้างสะพานนี้ขึ้นมา
ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปสำรวจสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ในพื้นที่ 2 ฝั่งข้างสะพานข้ามทางรถไฟหัวทะเล พบว่า อาคาร บ้านเรือน ต่างๆ กว่า 20 คูหา ที่อยู่บริเวณดังกล่าว ได้รกร้าง ไม่มีผู้อยู่อาศัย บางอาคารเคยใช้เป็นอาคารพาณิชย์ ประกอบกิจการร้านค้าต่างๆ ช่วงที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองก่อนสร้างสะพาน ปัจจุบันก็มีการปิดประตูล็อกกุญแจทิ้งไว้นานแล้ว ส่วนบางอาคารก็มีการเช้าเปิดเป็นร้านขายอะไหล่รถยนต์ และร้านตัดสติ๊กเกอร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีสถานีจอดรถเมล์หัวทะเล ที่อยู่บริเวณทางลงสะพานหัวทะเล ซึ่งในอดีตเคยมีรถเมล์หลายสาย มาจอดรับผู้โดยสารตลอดทั้งวัน แต่ปัจจุบันนี้ เหลือเพียงรถเมล์สาย นครราชสีมา-ครบุรี เพียงสายเดียวเท่านั้นที่มาใช้บริการประจำ ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านอาหารในสถานีต้องปิดกิจการหนีไปหมด เหลือเพียงร้านของเจ๊เล็กเจ้าเดียวเท่านั้นที่ยังอยู่ ส่วนภายในอาคารนั่งพักผู้โดยสาร ก็มีการเก็บที่นั่งไม้ไปกองทิ้งไว้ริมอาคารจนผุพัง เนื่องจากไม่มีผู้โดยสารมานั่งรอแออัดเหมือนในอดีตแล้ว
นางเพ็ญศรี ศรีตะวัน หรือเจ๊เล็ก อายุ 57 ปี ผู้ประกอบการร้านอาหารตามสั่งในสถานีจอดรถเมล์หัวทะเล กล่าวว่า ในอดีตช่วงก่อนสร้างสะพานข้ามทางรถไฟหัวทะเลนั้น สถานีจอดรถเมล์แห่งนี้ เป็นที่จอดรถเมล์หลายสาย ทั้งที่วิ่งอยู่ในตัวเมืองนครราชสีมา และวิ่งออกไปต่างอำเภอ ซึ่งจะมีผู้โดยสารมารอขึ้นรถเมล์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็น จะมีนักเรียน นักศึกษา มารอขึ้นรถเมล์อย่างเนืองแน่นทุกวัน ขณะนั้นจึงมีร้านอาหารมาจองแผงขายอาหารอยู่เต็มทุกแผง รวมจำนวน 7 แผง
แต่หลังจากที่สร้างสะพานหัวทะเลแล้ว ก็ทำให้บริเวณนี้เดินทางเข้าออกไม่สะดวก รถเมล์จึงไม่วิ่งเข้ามา เพราะต้องอ้อมไปกลับรถไกล ขณะเดียวกันผู้โดยสารก็เดินทางมาไม่สะดวกเช่นกัน ทำให้เริ่มกลายเป็นสถานีร้าง ไม่มีรถเมล์และผู้โดยสารเข้ามาอีกเลย ดังนั้นผู้ประกอบการร้านอาหารก็ขายของไม่ได้ พากันปิดร้านหนีกันหมด เหลือเพียงร้านตนร้านเดียวที่ยังอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็มีแผนว่าจะย้ายออกไปเร็วๆ นี้แน่นอน เพราะทนแบกรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ได้ โดยมีทั้งค่าเช่าแผงเดือนละ 1,500 บาท ค่าน้ำ และค่าไฟด้วย จึงได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ตนเองจึงอยากให้มีการทุบสะพานหัวทะเลนี้ซะ แล้วทำให้รถวิ่งภาคพื้นดินเหมือนในอดีต ส่วนรถไฟทางคู่ก็ให้ยกขึ้นวิ่งด้านบนแทน เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจบริเวณนี้ฟื้นฟูกลับมารุ่งเรืองเหมือนในอดีตอีกครั้ง นางเพ็ญศรี กล่าว
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในส่วนของความขัดแย้งเรื่องทุบสะพานสีมาธานี และสะพานหัวทะเลนี้ ทางนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ระบุว่าได้มีการกำชับจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนกันยายนนี้ เพื่อที่จะเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ให้แล้วเสร็จ หลังจากที่ล่าช้ามานานกว่า 1 ปีแล้ว ซึ่งนายวิเชียร เตรียมที่จะเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย มาร่วมแสดงความคิดเห็นและหาข้อสรุปอีกครั้งภายในเดือนกันยายนนี้ต่อไป. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43772
Location: NECTEC
|
Posted: 09/09/2019 4:45 pm Post subject: |
|
|
ร.ฟ.ท.เปิด 3 โปรเจครถไฟทางคู่ หนุนอีอีซี/เชื่อม 10 อุตสาหกรรม
สื่อสาร - คมนาคม
03 ก.ค. 2562
ร.ฟ.ท.เปิด 3 โปรเจคสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ประเดิมช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด ลงทุน 5-6 หมื่นล้าน ประมูลปี 2564 หนุนการขนส่งอีอีซี เชื่อม 10 นิคมอุตสาหกรรม กระตุ้นท่องเที่ยวชายทะเล เร่งของบออกแบบทางคู่ชุมพร-ระนอง เสริมท่าเรือน้ำลึกเอสอีซี
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้นอกจากการผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ยังอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ เพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
การศึกษาเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล เพื่อผลักดันการขนส่งเข้าอีอีซีด้วย ดังนั้นมั่นใจว่าโครงการนี้จะถูกพัฒนาในเร็วๆ นี้ เพื่อทันต่อการพัฒนาในเขตอีอีซี คาดว่าปี 2563 จะเริ่มออกแบบก่อสร้าง และหลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่ช่วงเปิดประมูลจัดหาเอกชนก่อสร้าง โดยเป้าหมายส่วนใหญ่เพื่อขนส่งสินค้าเชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง รวมไปถึงสนับสนุนการเดินทางเชื่อมต่อในพื้นที่ และการท่องเที่ยวภาคตะวันออกด้วย
นอกจากการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว ร.ฟ.ท.ยังศึกษาความเหมาะสมพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อมต่อศรีราชา-มาบตาพุด คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 เพื่อขออนุมัติงบออกแบบก่อสร้าง โดยเส้นทางสายนี้จะช่วยสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือ ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ เปลี่ยนการขนส่งจากรถยนต์ทางถนน เป็นระบบราง ขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.ยังอยู่ระหว่างศึกษาเส้นทางชุมพร-ระนอง เพื่อเชื่อมการขนส่งเข้าท่าเรือน้ำลึกระนองด้วย
ทั้งนี้ ยังรายงาข่าวจาก ร.ฟ.ท.เปิดเผยด้วยว่า เส้นทางรถไฟสายใหม่ ช่วงศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ เบื้องต้นจะมีระยะทางยาว 250 กิโลเมตร เป็นรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1 เมตร ประเมินงบประมาณในการลงทุนอยู่ที่ 5-6 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันการศึกษาเส้นทางแล้วเสร็จไปราว 90% คาดว่าจะภายในเดือน มิ.ย.นี้ จะเสร็จสมบูรณ์ ก่อนเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อของบประมาณปี 2563 ราว 120-150 ล้านบาท มาดำเนินการออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง
โดยขณะนี้เป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่แนวเส้นทาง แต่ก็ยังไม่ได้บทสรุปว่าจะเลือกแนวเส้นทางไหน โดยมีทางเลือกอยู่ 3 เส้นทาง ซึ่งอาจจะต้องรอประเมินจากตัวเลขความคุ้มค่าแต่ละเส้นทางก่อน ซึ่งคาดว่าเดือนหน้าก็น่าจะเสร็จ
ทั้งนี้ หาก ร.ฟ.ท.ได้รับงบประมาณออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะใช้เวลาออกแบบราว 1 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนประมูลหาผู้รับเหมา คาดว่าจะประมูลได้ช่วงกลางปี 2564 และจะสามารถเร่งรัดเริ่มงานก่อสร้างในช่วงปลายปีเดียวกัน โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปีแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในช่วงปี 2568-2569 โดย ร.ฟ.ท.มั่นใจว่ารถไฟสายใหม่นี้ จะเป็นเสมือนแขนขาของอีอีซี เชื่อมการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะผลไม้ในจ.จันทบุรีไปยังท่าเรือแหลมฉบังสะดวกขึ้น
สำหรับแนวเส้นทางรถไฟทางคู่เส้นทางศรีราชา-ตราดแบ่งเป็น 3 ช่วง คือช่วงที่ 1 ชุมทางศรีราชา-สถานีระยอง ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมนิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรม 10 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 1-3 นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง นิคมอุตสาหกรรมโรจนะบ่อวิน นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมเหมราชระยอง
ช่วงที่ 2 เป็นเส้นทางเชื่อมนิคมอุตสาหกรรมสู่เมืองระยอง โดยเริ่มจากสถานีมาบตาพุด และช่วงที่ 3 เป็นเส้นทางเชื่อมระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor)และเชื่อมการท่องเที่ยว ซึ่งเริ่มจากสถานีระยองและมีจุดสิ้นสุดโครงการที่ด่านศุลกากร อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ที่สามรถเชื่อมการขนส่งสินค้าไปประเทศกัมพูชาได้
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอของบประมาณปี 2563 ราว 90 ล้านบาท เพื่อเริ่มออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กิโลเมตร หลังจากที่ปัจจุบันได้ทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเสร็จแล้ว โดยคาดว่าหลังจากได้รับจัดสรรงบประมาณนี้ จะใช้เวลาออกแบบรายละเอียด 1 ปี ก่อนเปิดประมูลจัดหาผู้รับเหมา และเริ่มงานก่อสร้างในปี 2564 มีกำหนดก่อสร้าง 3 ปีแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในปี 2567 ซึ่งอยู่ในแผนการเชื่อมเส้นทางขนส่งของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี)
โดยช่วงชุมพร-ระนอง เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อน เพราะจะช่วยขนส่งทั้งคนและสินค้า เชื่อมต่อ 2 ฝั่งทะเลของไทย จะทำให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น และที่สำคัญจะเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยก่อนหน้านี้ สนข.ศึกษาความเหมาะสมจะต้องก่อสร้างในปี 2565 แต่ขณะนี้ก็มีความเหมาะสมที่จะเร่งสร้าง
นอกจากนี้ ร.ฟ.ท. ยังมีแผนพัฒนารถไฟเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอีสต์-เวสต์ คอริดอร์ โดยจะเชื่อมต่อการเดินทางจากแม่สอด (ตาก)-นครสวรรค์-บ้านไผ่ (ขอนแก่น)-นครพนม เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งคนและสินค้าระหว่างภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการในช่วงแม่สอด-นครสวรรค์เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างศึกษาช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ โดยคาดว่าจะต้องใช้เวลานาน เนื่องจากมีระยะทางค่อนข้างยาว อีกทั้งยังตัดผ่านภูเขาหลายแห่ง ดังนั้นรถไฟสายใหม่นี้ อาจยังไม่เกิดเร็วๆ นี้ แต่จะเป็นโครงการอนาคตที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการขนส่ง
นายวรวุฒิ กล่าวว่า ความคืบหน้ารถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ร.ฟ.ท.ได้ส่งรายละเอียดเพื่อเตรียมเสนอคณะกรรมการ สศช. ซึ่งคาดว่าจะทยอยอนุมัติโครงการ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยอาจไม่ได้เสนอเข้า ครม.ในครั้งเดียว แต่จะเลือกในเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อการขนส่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด คาดว่า สศช.จะอนุมัติช่วงขอนแก่น-หนองคาย ก่อนเพราะเป็นเส้นเชื่อมต่อโลจิสติกส์ให้สมบูรณ์จากชุมทางจิระ-ขอนแก่นอยู่แล้ว และเส้นทางนี้ยังเชื่อมต่อลงพื้นที่อีอีซีด้วย นายวรวุฒิกล่าว |
|
Back to top |
|
|
|