View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 28/11/2019 12:45 am Post subject: |
|
|
รฟท.ขยาย ทางคู่"ศรีราชา-มาบตาพุด" เชื่อม 3 ท่าเรือ EEC
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เวลา 22:06
วันนี้ ( 27 พ.ย. ) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้จัดประชุมใหญ่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการออกแบบรายละเอียดโครงการงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก- ฉะเชิงเทรา-ศีรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด โดยมี
นางแสงเพ็ญ วิวัฒน์พนชาติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางกะปิ เป็นประธาน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุมจำนวนมาก
นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า โครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด มีระยะทางรวม 202 กิโลเมตร จำนวน 18 สถานี ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือแหลมฉบังท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและกระจายสินค้าไปยังทุกภูมิภาคอาเซียน ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังมาบตาพุดประมาณ 2 ชั่วโมง
โดยคาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 2.3 ล้านคนต่อปี ในปีเปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5.9 ล้านคนต่อปีในปี 2598 และคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการขนส่งสินค้า 83 ล้านตันต้อปี ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 250 ล้านตันต่อปี ในปี 2598
ซึ่งที่ประชุมยังได้นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโครงการเพื่อลดผลกระทบ
ทั้งต่อการดำเนินชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนในพื้นโครงการด้านๆ ต่าง เช่น การแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟด้วยการสร้างสะพาน และทางลอดเพื่อความปลอดภัยการเดินทางและขนส่งทางรถไฟ ลดผลกระทบด้านการจราจร
และ การก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางป้องกันไม่ให้ประชาชนและสัตว์เลี้ยงได้รับอันตรายจากการถูกรถไฟชนหรือถูกรถไฟดูด
นอกจากนั้นได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และกำหนดมาตรการป้องกัน เช่น การควบคุมน้ำท่วม และการระบายน้ำ โดยบริเวณก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำต้องมีตาข่ายรองรับโครงสร้างสะพานป้องกันเศษวัสดุก่อสร้างร่วงหล่นลงในลำน้ำ การจัดให้มีแนวป้องกันน้ำฝน ระบบระบายน้ำ และบ่อตกตะกอน รองรับน้ำฝนก่อนระบายออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ และการจัดการเครื่องสูบน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่
ด้านคุณภาพอากาศ ออกมาตรการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์รถบรรทุก รวมทั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน การฉีดพรมน้ำควบคุมฝุ่นละอองอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้านคุณภาพเสียงได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงแนวเส้นทางโครงการเกี่ยวกับรายละเอียดของการกิจกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีเสียงดัง รวมทั้งติดตั้งกำแพงกันเสียงทั้งประเภทชั่วคราวและถาวรในพื้นที่ก่อสร้าง และจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากชุมชน โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำ 24 ชั่วโมง และต้องมีการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว
ทางด้านการคมนาคมขนส่ง อุบัติเหตุ และความปลอดภัย กำหนดให้มีการวางแผนการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง รวมทั้งติดตั้งเครื่องหมายจราจร ไฟเตือน ป้ายเตือน ตั้งแต่ก่อนถึงบริเวณก่อสร้างจนถึงบริเวณก่อสร้าง พร้อมจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ให้ผู้สัญจรไปมา ได้รับความปลอดภัย และสะดวกในการเดินทาง
รถไฟทุ่ม 3.85 หมื่นล้าน สร้างทางคู่เชื่อมอีอีซี-คาดเพิ่มมูลค่าการผลิตในระบบเศรษฐกิจ 1 แสนล.
เศรษฐกิจ
วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เวลา 18:02 น.
รถไฟทุ่ม 3.85 หมื่นล้าน สร้างทางคู่เชื่อมอีอีซี-เพิ่มประสิทธิภาพขนส่ง 3 ท่าเรือหลัก แหลมฉบัง-สัตหีบ-มาบตาพุด คาดเพิ่มมูลค่าการผลิตในระบบเศรษฐกิจ 1 แสนล้านบาท
รถไฟทุ่ม3.85หมื่นล้านสร้างทางคู่ นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการ ศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียด โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังประชุมรับฟังความเห็นครั้งสุดท้ายประชาชนวันนี้ (27 พ.ย.) ว่า เตรียมนำเสนอผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์เสนอให้ รฟท. พิจารณาในเดือนธ.ค.ปีนี้ เบื้องต้นคาดว่ารัฐบาลจะลงทุนดำเนินโครงการเองทั้งหมด โดยใช้จะใช้เม็ดเงินในการลงทุนรวมทั้งสิ้น 3.85 หมื่นล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาโครงข่ายการเดินทางและการขนส่งทางรางจากภาคกลางไปยังเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง , สัตหีบ และมาบตาพุด รวมระยะ 202 กิโลเมตร จำนวน 18 สถานี ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและกระจายสินค้าไปยังทุกภูมิภาคอาเซียนด้วย
ผลการศึกษาเบื้องต้นโครงการนี้คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) สูงถึง 14% คาดว่าจะส่งผลทางอ้อมช่วยเพิ่มมูลค่าการการผลิตในระบบเศรษฐกิจได้ราว 1 แสนล้านบาท , เพิ่มมูลค่าการจ้างงาน 1.1 หมื่นล้านบาท และสร้างมูลค่าเพิ่มด้านรายได้ในจีดีพีได้อีก 2.9 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะเสนอผลศึกษาฉบับสมบูรณ์ให้ รฟท. พิจารณาภายในเดือนธ.ค. หากเห็นชอบรถไฟฯ ก็จะเสนอของบประมาณจากรัฐบาลผ่านความการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมกับเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาควบคู่กันไป ซึ่งโครงการนี้อาจจะต้องเร่งทำเพื่อรองรับอีอีซี ตามนโยบายของรัฐบาลหากทุกอย่างเดินตามแผนคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2564 โดยจะใช้เวลาเวนคืน 2 ปี และก่อสร้างอีก 5 ปี
นายสมเกียรติ กล่าวว่า การดำเนินโครงการจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย
1. ปรับปรุงทางรถไฟเดิมและอาณัติสัญญานและแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-สถานีชุมทางศรีราคา ระยะทาง 115 กิโลเมตร
2. ก่อสร้างทางคู่เส้นใหม่ ช่วงศรีราชา-ชุมทางเขาชีจรรย์-มาบตาพุด ระยะทาง 70 กิโลเมตร และชุมทางเข้าชีจรรย์-สัตหีบ 15 กิโลเมตร และ
3. ก่อสร้างทางเลี้ยงเมืองบริเวณชุมทางศรีราชา และชุมทางเขาชีจรรย์ระยะทาง 2 กิโลเมตร
ทั้งนี้ จะเริ่มดำเนินการช่วงที่ 2 และ 3 ได้ก่อน เนื่องจากช่วงที่ 1 ยังติดปัญหาความชัดเจนของรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา สำหรับโครงการนี้จะมีการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟรวม 161 แห่ง ซึ่งจะต้องมีการเวนคืนที่ดินจากประชาชนจำนวน 750 ครัวเรือน โดยรอบเบื้องต้นซึ่งจะต้องจะใช้งบเวนคืนราว 3,000 ล้านบาท โดยขณะนี้ได้เริ่มทยอยแจ้งไปยังประชาชนที่จะถูกเวนคืนที่ดินให้รับทราบแล้ว ซึ่งบางส่วนเริ่มแสดงความกังวล เช่น ในพื้นที่ลาดกระบังพบว่าประชาชนเริ่มกังวลเรื่องของผลกระทบด้านปัญหาการจราจรติดขัด ส่วนย่านศรีราชาและพัทยา พบว่าธุรกิจท้องถิ่นขนาดเล็กเริ่มความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการพัฒนาจะทำให้ระยะเวลาการขนส่งสินค้าจากกรุงเทพฯ ไปยังท่าเรือเพียง 2 ชั่วโมง เนื่องจากรถไฟจะทำความเร็วได้มากขึ้น โดยในส่วนของการขนส่งสินค้า ความเร็วจะเพิ่มจาก 40-50 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็น 80-90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนการขนส่งคนความเร็วจะเพิ่มขึ้นจาก 60-70 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็น 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทั้งนี้ มีการคาดการว่าว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 2.3 ล้านคน/ปี ในปีเปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5.9 ล้านคน/ปี ในปี 2598 ส่วนการขนส่งสินค้าคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณ 83 ล้านตัน/ปี ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 250 ล้านตัน/ปี ในปี 2598 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 28/11/2019 10:04 am Post subject: |
|
|
ทุ่มหมดหน้าตัก 3.8 หมื่นล้าน รฟท.สร้างทางคู่เชื่อมอีอีซี
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
28 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09:32 น.
นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เตรียมนำเสนอผลการศึกษาขั้นสุดท้าย ให้ รฟท.พิจารณาเดือน ธ.ค.นี้ คาดว่ารัฐบาลจะลงทุน 38,500 ล้านบาท ในการพัฒนาโครงข่ายการเดินทางและการขนส่งทางรางจากภาคกลางไปยังเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) กับ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง, สัตหีบ และมาบตาพุด รวม 202 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 18 สถานี ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง และกระจายสินค้าไปยังอาเซียน
โครงการนี้คุ้มค่ากับการลงทุน มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 14% ส่งผลทางอ้อมช่วยเพิ่มมูลค่าการผลิตในระบบเศรษฐกิจได้ 100,000 ล้านบาท, เพิ่มมูลค่าการจ้างงาน 11,000 ล้านบาท สร้างมูลค่าเพิ่มด้านรายได้ให้กับการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) 29,000 ล้านบาท โครงการนี้จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อรองรับอีอีซี คาดว่าเริ่มก่อสร้างปี 2564
ทั้งนี้ โครงการแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ 1.ปรับปรุงทางรถไฟเดิม ฯลฯ ช่วงหัวหมาก-สถานีชุมทางศรีราชา ระยะทาง 115 กม., 2.ก่อสร้างทางคู่เส้นใหม่ ช่วงศรีราชา-ชุมทางเขาชีจรรย์-มาบตาพุด 70 กม. ฯลฯ, ก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองชุมทางศรีราชา-ชุมทางเขาชีจรรย์ 2 กม. โดยเริ่มดำเนินการช่วงที่ 2 และ 3 ได้ก่อน เนื่องจากช่วงที่ 1 ยังติดปัญหาความชัดเจนของรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา
ภายหลังการพัฒนาทำให้ระยะเวลาการขนส่งสินค้าจากกรุงเทพฯไปยังท่าเรือเพียง 2 ชั่วโมง เนื่องจากรถไฟทำความเร็วได้มากขึ้น โดยการขนส่งสินค้า ความเร็วจะเพิ่มจาก 40-50 กม.ต่อชั่วโมง (ชม.) เป็น 80-90 กม.ต่อ ชม. ส่วนการขนส่งคนความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 60-70 กม.
ต่อ ชม. เป็น 100 กม.ต่อ ชม. มีปริมาณผู้โดยสาร 2.3 ล้านคนต่อปี ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็น 5.9 ล้านคนต่อปีในปี 2598.
ลุยทางคู่ตะวันออกเชื่อม3ท่าเรือ
27 พฤศจิกายน 2562
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งดำเนินโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ระยะทาง 202 กิโลเมตร จำนวน 18 สถานี ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือแหลมฉบังท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและกระจายสินค้าไปยังทุกภูมิภาคอาเซียน ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังมาบตาพุดประมาณ 2 ชั่วโมง คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 2.3 ล้านคนต่อปี ในปีเปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5.9 ล้านคนต่อปีในปี 2598 และคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการขนส่งสินค้า 83 ล้านตันต้อปี ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 250 ล้านตันต่อปี ในปี 2598
ทั้งนี้ เนื่องจากทั้ง2โครงการ เป็นโครงการขนาดใหญ่ จึงต้อง เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการระบุว่า รฟท. ให้ความสำคัญต่อการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกขั้นตอนของโครงการ เพราะถือว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินโครงการ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินไปได้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนความต้องการของประชาชน และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริง
การพัฒนาระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย นับเป็นกลไกที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในพื้นที่ EEC รองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าจากทั่วประเทศ กระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางธุรกิจ สนับสนุนการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชน ช่วยสร้างเสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโต และส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคและของอาเซียน
รฟท.ทุ่ม 3.85 หมื่นล้าน เร่งทางคู่ 'ศรีราชา-มาบตาพุด'
เศรษฐกิจ
พฤหัสบดี 28 พฤศจิกายน 2562
รฟท.ทุ่ม 3.85 หมื่นล้าน ลุยรถไฟทางคู่สายตะวันออก เชื่อม 3 ท่าเรือ หนุนเดินทางและขนส่งสินค้า ดันไทยขึ้นฮับโลจิสติกส์อาเซียน
นายสมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ ผู้จัดการโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการออกแบบรายละเอียดโครงการ
รถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด โดยที่ประชุมได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโครงการเพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและความปลอดภัยของประชาชน เช่น การแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟด้วยการสร้างสะพาน และทางลอดเพื่อความปลอดภัยการเดินทาง รวมทั้งการสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางป้องกันไม่ให้ประชาชนและสัตว์เลี้ยงได้รับอันตรายจากการถูกรถไฟชน
สำหรับโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออกนี้ คาดว่าจะใช้งบลงทุนราว 3.85 หมื่นล้านบาท มีระยะทางรวม 202 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 18 สถานี ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด
ทั้งนี้ หากรถไฟทางคู่เปิดให้บริการ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและกระจายสินค้าไปยังทุกภูมิภาคอาเซียน โดยใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังมาบตาพุดประมาณ 2 ชั่วโมง คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 2.3 ล้านคนต่อปี ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็น 5.9 ล้านคนต่อปีในปี 2598 และคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการขนส่งสินค้า 83 ล้านตันต่อปี ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 250 ล้านตันต่อปี ในปี 2598
การพัฒนาระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย นับเป็นกลไกที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในพื้นที่อีอีซี รองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าจากทั่วประเทศ กระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางธุรกิจ สนับสนุนการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชน ช่วยสร้างเสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโต และส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคและของอาเซียน |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 28/11/2019 10:43 am Post subject: |
|
|
การแก้ปัญหา แถวร่มเกล้า - เทคโนลาดกระบัง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) :
Thanato Rotsunthonkitti wrote: | วันนี้ไปนั่งประชุมร่วมกับที่ปรึกษาโครงการเพิ่มศักภาพการขนส่งทางรางระหว่างหัวหมาก - ชุมทางฉะเชิงเทรา มาซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชน วิถีชีวิตที่ลาดกระบังค่อนข้างเยอะ เนื่องจากเป็นโครงการทับซ้อนหลายโครงการ เช่น การทำทางคู่ใหม่ รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน และทำเป็นระบบปิดด้วยส่วนหนึ่ง จึงสรุปสั้นๆได้โดยประมาณนี้
.
โครงการเริ่มจากหัวหมากลงมาโดยต่อจากโครงการรรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน Missing Link โดยจะดำเนินการสร้างทางรถไฟเพิ่ม 1 Track ระหว่าง ทางคู่ และ ทางเก่า (คูระบายน้ำ) รวมเป็น 4 ทาง ปรับปรุงโดยการอัดเสาคอนกรีตป้องกันทางทรุดตัว โดยหลังจากสร้างทางใหม่เสร็จ ก็จะปรับปรุงทางคู่เก่า เปลี่ยนเป็นเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ติด OCS) ส่วนทางที่ติดตอม่อ ARL ก็จะรื้อเพื่อวางฐานเข็มอีกที ทั้งหมดอยู่เป็นทางระดับดิน และจะยกระดับอีกทีช่วงเข้าตัวเมืองพัทยา
.
ทั้งโครงการจะเป็นระบบปิดหมด ไม่มีทางตัดเสมอระดับดิน ทางข้ามเป็นสะพานลอย เกือกม้า หรือลอดใต้ทางรถไฟหมด สถานีมีการปรับเปลี่ยนโดยเริ่มจาก สถานีลาดกระบังเดิมจะถูกยุบ แล้วย้ายไปทางอีกฝั่งของถนนร่มเกล้า (ทางฝั่งตะวันตก) ใช้เป็นสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงไปในตัว มีที่จอดรถ ลิฟต์ ทางข้าม บริการ อารมณ์คล้ายๆที่หลักหก
.
ทางตัดร่มเกล้าเป็นปัญหามากที่สุดในการประชุม เพราะปิดทาง ไม่มีการทดแทนใดๆ ซึ่งถ้าจะข้ามฝั่งไปร่มเกล้า มีนบุรีหรือ ลงมากิ่งแก้ว หัวตะเข้ ต้องกลับรถกันไกล เลยถูกร้องเรียนหนัก ถึงขั้นให้รถไฟลอยฟ้าทีเดียว เลยลองเสนอทำ Local road แล้วสะพานข้ามแบบเกือกม้าให้ทางที่ปรึกษาพิจารณาดู
.
จากนั้นทำสะพานข้ามบริเวณ ชุมชนวัด 3, วัด 4 เป็นสะพานลอยพร้อมทางลาดมอเตอร์ไซค์
.
สุดท้ายที่เทคโนลาดกระบังอันนี้เปลี่ยนเยอะมากกกกกกกกๆๆๆ
.
ทางลักผ่านเข้าหอในจะถูกปิด และแทนที่ด้วยสะพานลอยข้ามแทน ซึ่งมีน้องวิศวะปี 4 เสนอให้ทำทางลาดจักรยานยนต์เพิ่มเติม ซึ่งทางที่ปรึกษาก็โอเค และน่าจะดำเนินการสร้างเพิ่ม
.
ป้ายหยุดรถพระจอมเกล้าถูกยุบ
.
ทางตัดทางรถไฟฉลองกรุงจะกลายเป็นอุโมงค์ 4 เลนลอดใต้ทางรถไฟ ระยะประมาณ 500 เมตร รถบัส 2 ชั้นลอดได้ โดยปากอุโมงค์อยู่ตรง Convention hall ก่อนถึงอุโมงค์จะมีทางเบี่ยงสำหรับไปทาง เกกี หรือไปทางเลียบทางรถไฟไปหัวตะเข้ มีการออกความคิดเป็นโคราชโมเดล คือยกทั้งย่านขึ้นลอยฟ้า หรือ ลงดินแทนหลายเสียงอยู่
.
มีการสร้างถนนเบี่ยงฉลองกรุงน่าจะ 4 เลน เริ่มจากแยกสุขสมาน ไปทางสถาปัตย์ แล้ววนอ้อมหลัง เกษตร - อก. ขึ้นสะพานข้ามสถานีหัวตะเข้ แล้วไปเชื่อมกับสะพานข้ามมอเตอร์เวย์ไปทางหนองจอก เพื่อเบี่ยงบายการจราจรให้ออกไปทางนอกสถาบัน
.
ส่วนสถานีหัวตะเข้เดิมน่าจะถูกยุบ หรือไม่ก็เป็นสถานีคุมย่านแทน และย้ายมาตั้งใหม่ เป็นสถานีรถไฟสายสีแดงหัวตะเข้ (หัวตะเข้ (พระจอม) เหมือนของหลักหก) บริเวณตรงตึก Food Processing เดิมของ อก. แล้วตั้งเป็นสถานีขึ้นมาใกล้ๆตึก อก. ใหม่ แล้วทำสะพานลอยข้ามไปมา 2 ฝั่ง
.
หลังออกหัวตะเข้ไป ก็จะตั้งเป็น เดโป้ของสายสีแดงอ่อนตรงบริเวณหมู่บ้านเอื้ออาทร
.
ที่เขียนมายังไม่ 100% เพราะต้องปรับแบบอีกตามการประชุมร่วมฟังความเห็นกับชาวบ้านในพื้นที่แต่ละครั้ง แต่ก็ยังยึดกรอบตามนี้อยู่ |
https://www.facebook.com/pao.rotsunthonkitti/posts/2412271845487358?hc_location=ufi
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/624351318003351?sfns=mo
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/624351318003351?hc_location=ufi
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/624008218037661?hc_location=ufi |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47242
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 02/12/2019 10:56 am Post subject: |
|
|
"รถไฟไทย"ในแผนอีอีซี
กรุงเทพธุรกิจ 2 ธันวาคม 2562
อะไรเอ๋ยไม่เข้าพวก คำถามนี้น่าจะใช้ได้ดับโครงการอีอีซี ที่มุ่งยกระดับทั้งภาคอุตสาหกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน แต่หากพูดถึง "รถไฟไทย" อาจเกิดคำถามในใจว่า จะกลายเป็นความไม่เข้าพวกหรือไม่ แต่รถไฟไทยมีของดีมากกว่าที่คิด
ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งการเตรียมงานของภาครัฐส่วนใหญ่เป็นการวางกฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุน รวมไปถึงการวางโครงสร้างพื้นฐาน ทุกด้านให้มีความพร้อมและสามารถดึงดูดการลงทุนได้ ซึ่งรถไฟที่เป็นระบบขนส่งมานานเป็นร้อยปีของไทยก็อยู่ในแผนพัฒนาดังกล่าวด้วย
ตามแผนของกระทรวงคมนาคม เรื่องโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก เชื่อมการขนส่งทางรางสู่ 3 ท่าเรือ ประกอบด้วยรถไฟทางคู่สายตะวันออก ช่วงหัวหมาก -ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา -มาบตาพุด
คาดว่าจะใช้งบลงทุนราว 3.85 หมื่นล้านบาทมีระยะทางรวม 202 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 18 สถานี ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่อีอีซี แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด
การใช้ประโยชน์โครงการลงทุนขนาดใหญ่ให้คุ้มค่าก็จำเป็นต้องมีโครงการเครือข่ายย่อยเพื่อให้บริการทั่วถึงในทุกพื้นที่ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 11/12/2019 5:24 pm Post subject: |
|
|
แผนแก้ "จุดตัดรถไฟในอีอีซี" พัฒนาได้ปลอดภัยด้วย
11 ธันวาคม 2562 147
การพัฒนาต้องมาควบคู่กับความปลอดภัย ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปที่ยึดถือปฎิบัติซึ่งในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ก็ยึดหลักการนี้ด้วยเช่นกัน
การพัฒนาต้องมาควบคู่กับความปลอดภัย ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปที่ยึดถือปฎิบัติซึ่งในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ก็ยึดหลักการนี้ด้วยเช่นกัน โดยปัญหาความปลอดภัยของการคมนาคมขนส่งที่พบบ่อยในประเทศไทย
นอกจากภัยบนท้องถนนแล้ว ยังมีภัยจากระบบขนส่งทางราง ซึ่งมีการตระหนักถึงปัญหานี้และนำไปสู่การแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟเพื่อความปลอดภัย ใส่ใจประชาชน หรือRestricting Level Crossings for Public Safety โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
ทั้งนี้ ได้จำแนกปัญหาที่เกิดจากจุดตัดรถไฟ พร้อมแนวทางแก้ไข โดยรวมปัจจัยใหม่ว่าด้วยการดำเนินงานของรถไฟความเร็วสูง หรือ High speed train ที่จะต้องมีทั้งส่วนที่ผ่านเส้นทางคมนาคมปกติ พื้นที่การเกษตร พื้นที่ชุมชน ทำให้แผนการป้องกันอันตรายจากระบบขนส่งต่างๆต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและเหมาะสมที่สุด
การเกิดขึ้นของอีอีซี คือการพัฒนาในรูปแบบที่หลากหลายและรอบด้านมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม การป้องกันปัญหาจากการพัฒนาก็ต้องให้หลากหลายและรอบด้านเช่นกัน อย่างเช่นแผนแก้ปัญหาจุดตัดรถไฟนี้เป็นต้น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 25/02/2020 9:56 am Post subject: |
|
|
ลุยศึกษาทางคู่ศรีราชา-ระยองอีก2ปีประมูล
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ร.ฟ.ท.เร่งเดินหน้ารถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-ระยอง -จันทบุรี -ตราด (คลองใหญ่) หลังรับฟังความเห็นประชาชน หนุนเส้นทางอีอีซี ขณะที่รถไฟทางคู่เฟส 2 เตรียมเสนอของบ สภาพัฒน์ฯ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย เชื่อมทางคู่จิระ - แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด รวมถึงรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร - สุราษฎร์ฯ คาดประมูลปลายปี 65
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงศรีราชา-ระยอง จันทบุรี ตราด(คลองใหญ่) ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้ศึกษาความเหมาะสม และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปอยู่ระหว่างขออนุมัติงบประมาณเพื่อออกแบบโครงการ ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ช่วงระยอง จันทบุรี ตราด ยังอยู่ระหว่างการศึกษา
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ได้ศึกษาความเหมาะสมของรถไฟทางคู่ ช่วงระยอง จันทบุรี ตราด แล้วเสร็จ เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา มีระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งเป็นรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1 เมตร โดยประเมินงบประมาณลงทุนราว 5-6 หมื่นล้านบาท โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าในกลุ่มผลไม้ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของภาคตะวันออก และมีการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศจำนวนมาก "รถไฟทางคู่เส้นใหม่ ระยอง จันทบุรี ตราดนี้ จะเป็นเส้นทางรถไฟสายหลักที่สนับสนุนการขนส่งสินค้าและขนส่งผลไม้ และกระจายการกระจุกตัวของภาคการท่องเที่ยวไปยังทะเลตราด โดยขั้นตอนหลังจากศึกษาเสร็จ การรถไฟฯ ตั้งเป้าจะของบประมาณประจำปี 2564 เพื่อออกแบบ โดยใช้เวลาออกแบบราว 1 ปี หลังจากนั้นจะเสนอขออนุมัติจากสภาพัฒน์ฯ กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมกับออก พรฎ.เวนคืนที่ดิน หากไม่ติดปัญหาก็คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลงานก่อสร้างได้ปลายปี 2565 ซึ่งจากการรับฟังความเห็น ประชาชนและเอกชนให้การตอบรับดี ดีมานด์ความต้องการใช้มีสูง" ขณะที่โครงการไฮสปีดเทรน ช่วงระยอง จันทบุรี ตราด ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ ร.ฟ.ท.ศึกษาเพื่อขยายแนวเส้นทางต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยแนวเส้นทางจะคู่ขนานไปกับรถไฟทางคู่ แต่สาเหตุที่ ร.ฟ.ท.เริ่มศึกษา เพราะต้องการทราบถึงดีมานด์การเดินทางและสนับสนุนการขยายเมืองให้มากขึ้น เบื้องต้นได้ประเมินว่าไฮสปีดเทรนอาจจะยังไม่ได้พัฒนาในเร็วๆ นี้ หากเทียบกับความคุ้มค่าของรถไฟทางคู่ที่มีมากกว่า หากจันทบุรี และตราด มีความต้องการเดินทางสูง ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวอีกว่า ปัจจุบันโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ที่ ร.ฟ.ท.ศึกษาแล้วเสร็จไปก่อนหน้านี้ อยู่ระหว่างการเสนอข้อมูลเพิ่มเติมให้กับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. เบื้องต้น คาดว่า สศช.อาจจะไม่อนุมัติให้พัฒนาทุกโครงการที่ยังค้างอยู่รวม 7 เส้นทาง เนื่องจากต้องจัดสรรงบประมาณการลงทุน จึงคาดว่าโครงการที่มีความเหมาะสม และอาจได้รับการอนุมัติให้พัฒนาก่อน อาทิ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางเชื่อมกับทางคู่จิระ - แก่งคอย และเชื่อมต่อถึงท่าเรือมาบตาพุด รวมถึงรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร - สุราษฎร์ฯ เนื่องจากปัจจุบันรถไฟทางคู่มีการพัฒนาไปถึงช่วงชุมพร และต่อจากนั้นยังเป็นระบบรถไฟทางเดี่ยว ส่งผลให้มีปัญหาคอขวด ในช่วงชุมพร - สุราษฎร์ฯ หากได้รับการอนุมัติให้พัฒนา ก็จะช่วยลดปัญหา เช่นเดียวกับช่วงจิระ - อุบลราชธานี ถือเป็นอีกแนวเส้นทางที่จะสนับสนุนการเดินทางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีปริมาณความต้องการเดินทางสูงอย่างต่อเนื่อง |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 13/03/2020 11:30 am Post subject: |
|
|
ร.ฟ.ท.จับมือเอกชนนำร่องเปิดเส้นทางขนส่งทางรางสถานีมาบตาพุด จ.ระยอง-บ้านป่าหวาย จ.ลพบุรี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2563 เวลา 17:19
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม 2563 เวลา 17:29
ระยอง - ร.ฟ.ท.จับมือเอกชน นำร่องเปิดเส้นทางขนส่งสินค้าทางรางระหว่างสถานีมาบตาพุด จ.ระยอง กับสถานีบ้านป่าหวาย จ.ลพบุรี ส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากนิคมฯ มาบตาพุด สู่ภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ลดการเกิดอุบัติเหตุ ความแออัดการจราจรทางถนน ต้นทุนประกอบการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วันนี้ (12 มี.ค.) นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง น.ส.เยาวลักษณ์ สุนทรนนท์ หัวหน้ากองบริการสินค้า คอนเทนเนอร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และนายปัญญา ปะพุธสะโร ประธานกรรมการบริษัท เก้าเจริญ เทรนทรานสปอร์ต จำกัด ได้ร่วมกันเปิดโครงการขนส่งตู้สินค้าคอนเทนเนอร์โดยรถไฟ เส้นทางระหว่างสถานีมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง กับสถานีบ้านป่าหวาย จ.ลพบุรี พร้อมปล่อยขบวนรถไฟขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ เป็นขบวนปฐมฤกษ์
นายปัญญา ปะพุธสะโร ประธานกรรมการบริษัท เก้าเจริญ เทรน ทรานสปอร์ต จำกัด กล่าวว่า การที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดเส้นทางเดินรถขนส่งตู้สินค้าระหว่างสถานีมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง กับสถานีบ้านป่าหวาย จ.ลพบุรี จะทำให้การขนส่งสินค้าทางรถไฟจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เชื่อมไปสู่ภูมิภาคอื่นของประเทศสะดวกและได้ปริมาณมากขึ้น
ลดต้นทุนระบบขนส่งโลจิสติกส์และยังลดปริมาณการใช้น้ำมัน ซึ่งเป็นพลังงานสำคัญ รวมทั้งยังลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ถึง 3 เท่า และยังจะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 บนท้องถนนได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้น ยังจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย
"เก้าเจริญ เทรน ทรานสปอร์ต จำกัด ต้องขอบคุณการรถไฟแห่งประเทศไทยที่มีส่วนร่วมในโครงการขนส่งสินค้าดังกล่าว เปลี่ยนการขนส่งจากรถบรรทุกมาเป็นรถไฟ ซึ่งเส้นทางระหว่างสถานีรถไฟมาบตาพุดและสถานีบ้านป่าหวาย ถือเป็นเส้นทางบุกเบิกสำหรับการขนส่งสินค้าทางรถไฟภายในประเทศ และจากความสำเร็จครั้งนี้จะส่งผลต่อการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรถไฟเพื่อเพิ่มเส้นทางและปริมาณการขนส่งสินค้าอื่นๆ ต่อไปในอนาคต"
ขณะที่ นายสุรศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า การเปิดเส้นทางใหม่ในการขนส่งสินค้านับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะ จ.ระยอง เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่มีการสนับสนุนส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้ จ.ระยอง มีความพร้อมในการกระจายสินค้า
โดยเพิ่มช่องทางการขนส่งโดยระบบรางรถไฟไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ สอดคล้องต่อนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางรางให้เชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์และเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ด้าน นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รัฐบาลสนับสนุนการขนส่งทางรางและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันภาคเอกชนด้วย จะเห็นได้ว่าขณะนี้รัฐบาลมีรถไฟรางคู่ไปเกือบทั่วประเทศ ในบางจุดได้เริ่มแล้ว บางจุดกำลังจะขับเคลื่อนการเชื่อมโยงภูมิภาคต่อภูมิภาค
และโครงการดังกล่าวที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดความแออัดการจราจรทางถนน ลดต้นทุนการประกอบการและส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งบริษัทเอกชนก็จะได้ประโยชน์ทั้งในแง่ผู้ให้บริการและรับบริการอีกด้วย |
|
Back to top |
|
|
|