Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311914
ทั่วไป:13579534
ทั้งหมด:13891448
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 370, 371, 372 ... 486, 487, 488  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2020 12:22 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อ 25 มิ.ย. 63 เวลา 13.00 น. นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มอบนโยบายเชิงรุกผ่านระบบ vdo Conferencing ให้กับพนักงานฝ่ายการช่างกล และสำนักงานจัดหาพัสดุซ่อมบำรุง สังกัดหน่วยธุรกิจซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อนทุกแขวงทุกเขตทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาส่งเสริมพนักงานการรถไฟฯ ให้มีประสิทธิภาพการทำงาน ก้าวสู่การเป็น SMART PEOPLE และขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็น SMART ORGANIZATION

ทั้งนี้ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ให้นโยบายแนวทางปฏิบัติทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย
1. การพัฒนาพนักงานให้เป็น SMART PEOPLE เพื่อมุ่งสู่ SMART ORGANIZATION ด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ ทักษะ และพัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ในการทำงาน ตลอดจนยังเปิดกว้างสำหรับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการทำงาน
2.การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยสนับสนุนให้ช่วยกันบูรณาการความคิดของคนรถไฟ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบแนวคิด วิธีการทำงาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
3. การรักษาระเบียบวินัยระหว่างการทำงาน ด้วยการส่งเสริมให้มีการแต่งเครื่องแบบ การแต่งกาย และทรงผมของพนักงานให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อพัฒนาภาพลักษณ์ที่ดีต่อตัวพนักงาน และต่อภาพรวมของหน่วยงาน

จากนโยบายดังกล่าวว่า นายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการหน่วยธุรกิจซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ได้กล่าวขอบคุณผู้ว่าการรถไฟฯ และพร้อมนำนโยบายทั้ง 3 ด้านไปสื่อสารให้พนักงานในสังกัดทุกคนเกิดความเข้าใจ และร่วมแรงร่วมใจนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานของหน่วยธุรกิจซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อนขั้นตอนการทำงาน ตลอดจนเพิ่มความมีระเบียบวินัย เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยต่อไป

เพิ่มเติมที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1742421329230372&id=100003875652024
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3155634634483460&set=a.3033691060011152&type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2020 6:07 pm    Post subject: Reply with quote

เมื่อ 23 มิ.ย.63 ศูนย์อุตสาหกรรม อิตาเลียนไทย (J.1404) ให้การต้อนรับวิศวกรใหญ่ฝ่ายช่างกล, คณะเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 22 ท่าน เยี่ยมชมโรงงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมระบบราง รวมถึงร่วมตรวจสอบการทำ Flat Wagon Acceptance Test ที่ดำเนินการทดสอบครั้งแรกในประเทศไทย ณ ศูนย์อุตสาหกรรมอิตาเลียนไทย อ. วิหารแดง จ. สระบุรี โดยนายช่างพิพัฒน์ โลราช SVP (Railway BU.) และนายช่างจิตต์ เลวรรณ์ ASVP (Construction Support BU.) ให้การต้อนรับ

https://www.facebook.com/185621321543403/posts/2759106480861528/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3168358729877717&set=a.2020745444639057&type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2020 5:24 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่าการรถไฟฯ แถลงนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการรถไฟแห่งประเทศไทย สู่อนาคตการเป็นผู้นำระบบราง พร้อมยกระดับการขนส่งของประเทศ
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓

"นิรุฒ" ชู 3 ยุทธศาตร์ ขับเคลื่อนรถไฟ "เพิ่มความสามารถ-สร้างรายได้-พัฒนาองค์กร" มั่นใจเป็นผู้นำระบบรางที่ดีที่สุดในอาเซียนปี 2570
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:03 น.

ผู้ว่าฯ รฟท.ประกาศพลิกโฉมรถไฟสู่ผู้นำขนส่งทางราง
เศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 18.18 น.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ระยะเวลากว่า 2 เดือน ที่ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ ได้ลงพื้นที่ดูงาน ตรวจเยี่ยมพนักงานทั่วประเทศ ในการลงพื้นที่ทำให้เห็นถึงการดำเนินงานต่างๆของการรถไฟฯทั้งในเรื่องของข้อจำกัดต่างๆทั้งในด้านการดำเนินงาน การบริหารทรัพย์สินต่างๆของการรถไฟฯ รวมถึงปัญหาที่เกิดจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจของประชาชนที่มีการรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของการรถไฟฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสูญเสียทั้งกับการรถไฟฯเอง หรือแม้แต่ประชาชน ซึ่งหลังจากได้ลงพื้นที่และได้เข้าไปดูแลในหลายๆที่ก็ได้รับการตอบรับและความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทั้ง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงประชาชน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อทั้งองค์กร และประเทศชาติ


นายนิรุฒ กล่าวว่า สำหรับยุทธศาสตร์หลัก 3 ด้าน ที่จะขับเคลื่อนการรถไฟฯต่อจากนี้ เพื่อให้กลับมาแข็งแกร่งและเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบด้วย คือ 1. การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางราง ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางราง ขณะนี้ การรถไฟฯ มีโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่หลายโครงการ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง และส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟความเร็วสูง (กรุงเทพ – นครราชสีมา) และโครงการรถไฟเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีใหญ่ อาทิ สถานีกลางบางซื่อ สถานีแม่น้ำ สถานีมักกะสัน เป็นต้น



2. การเพิ่มรายได้และการลดค่าใช้จ่าย ได้แก่ การมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างรายได้ทั้งในธุรกิจหลัก (Core Business) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร และธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก (Non Core Business) อาทิ ที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อสร้างให้เกิดรายได้และประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยมีการเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องของการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบแผนที่ (GIS) เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่ดินทั้งหมด จะได้นำมาสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กรได้ต่อไป
นอกจากนี้ในเรื่องการใช้ประโยชน์พื้นที่นั้น ได้มีนโยบายที่จะวางแนวทางการจัดระเบียบผู้เช่าให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงการควบคุมแก้ไขปัญหาผู้บุกรุกที่ดินของการรถไฟฯ การสร้างรายได้เสริมให้การรถไฟฯ จากสินทรัพย์ที่ไม่อยู่ในสภาพใช้งาน เช่น ซากสิ่งของเหลือใช้ ตู้รถไฟเก่า หมอนไม้ เศษเหล็ก เป็นต้นรวมถึงการหารายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็น สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือการลดค่าใช้จ่าย และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินงาน และบูรณาการข้อมูลจะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ของการรถไฟฯ อีกทาง



และ3.การขับเคลื่อนและการยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยการพัฒนาองค์กรและการจัดการให้เชื่อมโยงอย่างบูรณาการ โดยจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงานในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในการยกระดับโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ การพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร เพื่อให้มีศักยภาพตรงตาม Competency ที่การรถไฟฯ ต้องการ และการ Reskill & Upskill พนักงาน โดยมีส่วนสำคัญคือ การรักษาองค์ความรู้ โดยการสร้างระบบถ่ายทอดและเก็บรักษาองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น (Knowledge anagement) รวมถึงยังมีแนวทางในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการบริการให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



"ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การรถไฟฯ ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคหลายประการ แต่ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ มาได้ จึงเห็นได้ว่าการรถไฟฯเป็นองค์กรแห่งโอกาส ทั้งโอกาสในการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางสู่ความเป็นเลิศ และความเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน โอกาสที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับระบบราง เพื่อรับใช้สังคมไทยในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในฐานะผู้ว่าการรถไฟ แห่งประเทศไทย พร้อมแล้วที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนภารกิจของการรถไฟฯ อย่างเต็มศักยภาพ ตามวิสัยทัศน์ “เป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570” สู่อนาคตอย่างยั่งยืน"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2020 11:34 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ผู้ว่าการรถไฟฯ แถลงนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการรถไฟแห่งประเทศไทย สู่อนาคตการเป็นผู้นำระบบราง พร้อมยกระดับการขนส่งของประเทศ
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓

"นิรุฒ" ชู 3 ยุทธศาตร์ ขับเคลื่อนรถไฟ "เพิ่มความสามารถ-สร้างรายได้-พัฒนาองค์กร" มั่นใจเป็นผู้นำระบบรางที่ดีที่สุดในอาเซียนปี 2570
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:03 น.


ผู้ว่าการ รฟท.ลั่นสู้ไม่ถอยคดีโฮปเวลล์ ลุยดันการรถไฟฯผู้นำขนส่งทางราง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่:วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 19:01



ผู้ว่าการ รฟท.คนใหม่ “นิรุฒ มณีพันธ์”ประกาศ3 ยุทธศาสตร์หลัก ขับเคลื่อนการรถไฟฯ ผู้นำขนส่งทางราง และประกาศสู้ไม่ถอยคดีค่าโง่โฮปเวลล์ ล่าสุดยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง ขอให้นายทะเบียน มีคำสั่งเพิกถอนจดทะเบียนของโฮปเวลล์ตั้งแต่ปี 2533

นายนิรุฒ มณีพันธ์ แถลงนโยบายครั้งแรก หลังเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) โดยมีนโยบายขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคตการเป็นผู้นำระบบราง เพื่อยกระดับการขนส่งของประเทศ ผ่านแผนยุทธศาสตร์หลัก 3 ด้านที่จะขับเคลื่อนการรถไฟฯ ให้กลับมาแข็งแกร่งและเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบด้วย 1.การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางราง 2.การเพิ่มรายได้และการลดค่าใช้จ่าย 3.การขับเคลื่อนและการยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของการรถไฟฯในการ“เป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570”

สำหรับแผนการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางรางนั้น ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ /โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง และส่วนต่อขยาย /โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟความเร็วสูง (กรุงเทพ – นครราชสีมา) และโครงการรถไฟเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีใหญ่ อาทิ สถานีกลางบางซื่อ สถานีแม่น้ำ สถานีมักกะสัน เป็นต้น สำหรับการเพิ่มรายได้และการลดค่าใช้จ่ายการรถไฟฯจะมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างรายได้ทั้งในธุรกิจหลัก (Core Business) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร และธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก (Non Core Business) สำหรับการสร้างรายได้เสริมให้การรถไฟฯ จากสินทรัพย์ที่ไม่อยู่ในสภาพใช้งาน เช่น ซากสิ่งของเหลือใช้ ตู้รถไฟเก่า หมอนไม้ เศษเหล็ก ต้องหารูปแบบการบริหารจัดการดังกล่าว

ส่วนการขับเคลื่อนและการยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยการพัฒนาองค์กรและการจัดการให้เชื่อมโยงอย่างบูรณาการ โดยจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงานในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในการยกระดับโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ การพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร เพื่อให้มีศักยภาพตรงตาม Competency ที่การรถไฟฯ ต้องการ และการ Reskill & Upskill พนักงาน โดยมีส่วนสำคัญคือ การรักษาองค์ความรู้ โดยการสร้างระบบถ่ายทอดและเก็บรักษาองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น (Knowledge anagement) รวมถึงการรถไฟฯ มีแนวทางในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการบริการให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผู้ว่าการ รฟท. ยังชี้แจงความคืบหน้าคดีค่าโง่โฮปเวลล์ หลังจากที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม ยืนยันจะต่อสู้คดีนี้ถึงที่สุด โดยยืนยันว่า คดีนี้ รฟท.จะดำเนินการอย่างเต็มที่ โดยจะต่อสู้คดีไม่มีถอย ล่าสุด รฟท.ได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางไปแล้ว เพื่อขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอฟังคำสั่งของศาลปกครองกลาง ว่า จะมีคำสั่งว่าอย่างไร

นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า รฟท.มีทรัพย์สินจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ดินที่มีทั้งหมด (รวมเขตทาง) ราว 2.4 แสนไร่ โดยในจำนวนนี้มีการใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ราว 2 หมื่นไร่ ที่มีรายได้ค่าเช่าเพียง 2 พันกว่าล้านบาท ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าน้อยมาก เพราะที่ดินบางส่วนอยู่ใจกลางเมือง จึงเห็นว่าควรจะปรับอัตราค่าเช่าให้สมเหตุสมผลมากขึ้น แต่ก็ยอมรับว่าการบริหารจัดการไม่ง่าย เพราะมีบางส่วนที่ชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ หรือคนเช่าเดิมไม่ยอมจ่ายเงินและซื้อเวลาในศาล


ทั้งนี้ จะมีการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม ต้องมาดูในรายละเอียด ซึ่งต้องจัดระบบให้สอดคล้องกับบริบทในอนาคต เช่น การจัดเก็บค่าเช่า โดยจะหารือกับธนาคารกรุงไทยเพื่อเชื่อมระบบจัดเก็บที่มีผู้เช่าเป็นหมื่นรายให้เกิดความสะดวกและไม่รั่วไหล รวมทั้งเตรียมเปิดให้บริหารพื้นที่สถานีตามหัวเมืองใหญ่ เช่น ขอนแก่น นครราชสีมา สถานีแม่น้ำ สถานีมักกะสัน โดยจะพยายามจัดระบบการบริหารจัดการพื้นที่ใหม่ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้

รฟท.กับผู้ว่าการคนนอก “นิรุฒ มณีพันธ์” เป้าหมายผู้นำระบบรางที่ดีสุดในอาเซียนปี 2570
ThaiPublica > เกาะกระแส
วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 “นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการรถไฟแห่งประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ขององค์กรให้สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพ

“นิรุฒ” ในวัย 52 ปี เคยดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย และเลขานุการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

“นิรุฒิ”นับเป็นคนนอกคนที่ 3 ต่อจาก “ประภัสร์ จงสงวน” และ “วุฒิชาติ กัลยาณมิตร” ที่ข้ามห้วยมาบริหารรัฐวิสาหกิจเก่าแก่ 123 ปี ที่ทั้ง “เก่า” ขาดจากการปรุบปรุงพัฒนามานานกว่าศตวรรษ และ “แก่” จนไม่ดึงดูดให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานด้วย แล้วจะพลิกฟื้นได้อย่างไร

“รับใช้ประชาชน” มาก่อน “ทำกำไร”
“นิรุฒ” กล่าวว่ากว่า 2 เดือน ที่ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น ได้ลงพื้นที่ดูงาน ตรวจเยี่ยมพนักงานทั่วประเทศ ในการลงพื้นที่ทำให้เห็นถึงการดำเนินงานต่างๆของการรถไฟฯทั้งในเรื่องของข้อจำกัดต่างๆทั้งในด้านการดำเนินงาน การบริหารทรัพย์สินต่างๆของการรถไฟฯ รวมถึงปัญหาที่เกิดจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจของประชาชนที่มีการรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของการรถไฟฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสูญเสียทั้งกับการรถไฟฯเอง หรือแม้แต่ประชาชน ซึ่งหลังจากได้ลงพื้นที่และได้เข้าไปดูแลในหลายๆที่ก็ได้รับการตอบรับและความร่วมมือเป็นอย่างดี

“ในช่วง 2 เดือนที่สิ่งที่เห็นและนำไปสู่อนาคตอย่างไรบ้าง วิธีคิดคือมองว่าองค์กรนี้เป็นองค์กรที่ยาวนานและภารกิจสำคัญคือการรับใช้ประชาชน ภารกิจหลักทำอย่างไรก็ได้ให้ประชาชนได้ใช้บริการอย่างมีคุณภาพปลอดภัยมากที่สุดภารกิจต่อมาคือในฐานะรัฐวิสาหกิจต้องมีกำไรบ้างหรือขาดทุนให้น้อยที่สุด ไม่ได้มองข้าม แต่ขณะเดียวกันการทำกำไรจะต้องไม่ทิ้งภารกิจดั้งเดิมในการดูแลประชาชน ดังนั้นองค์กรนี้จะเป็นองค์กรที่ดีขึน ไม่ว่าใครจะมองอย่างไร”

“นิรุฒ” กล่าวต่อไปว่าองค์กรจะดีขึ้นได้ก็ต้องเตรียมคนให้พร้อม พร้อมทั้งกายทั้งใจในการทำงานและพร้อมที่จะเดินไปด้วยกัน หลายคนบอกก่อนจะเข้ามารับตำแหน่งว่า “เป็นผู้ว่าการคนนอก” แต่วันนี้สามารถบอกได้แล้วว่าพวกเขาพร้อมจะเดินไปด้วยกันแล้ว

“ผมเริ่มจากเข้าไปดูการเป็นอยู่สิ่งแวดล้อมของการรถไฟ ตั้งแต่บ้านพักของคนรถไฟในนิคมรถไฟมักกะสัน กม. 11 เข้าไปคิดว่าจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น แม้ว่าจะกระทบกับประชาชนที่อยู่ก่อนในพื้นที่ จะด้วยบริบทอะไรก่อนหน้าก็ตาม เราก็อลุ่มอลวยมาตลอด ก็ต้องหาทางออกว่าจะทำอย่างไร แต่ผมชัดเจนว่าจะไม่ประนีประนอมกับอันแรกคือความปลอดภัย ถ้าไม่ปลอดภัยเราจะจัดการแน่นอน อันที่สองคือเรื่องอบายมุขหรือแหล่งอาชญากรรมต่างๆอันที่สาม พื้นที่ของรฟท. ต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปัญหาสังคม โดยเฉพาะในหน้าฝน ต้องไม่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมในเมืองต่างๆ เราเองต้องเข้าไปรณรงค์ในสามเรื่องนี้”


“นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการรถไฟแห่งประเทศไทย
3 ยุทธ์ศาสตร์สู่เบอร์หนึ่งอาเซียน
สำหรับยุทธศาตร์หลัก “นิรุฒ” กล่าวว่าจะแบ่งเป็น 3 ด้าน ที่จะขับเคลื่อนการรถไฟฯต่อจากนี้ เพื่อให้กลับมาแข็งแกร่งและเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบด้วย คือ

1. การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางราง
2. การเพิ่มรายได้และการลดค่าใช้จ่าย
3. การขับเคลื่อนและการยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน
เพื่อให้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของการรถไฟฯในการ “เป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570”

1.การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางราง ขณะนี้ การรถไฟฯ มีโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่หลายโครงการ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง และส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟความเร็วสูง(กรุงเทพ – นครราชสีมา) และโครงการรถไฟเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีใหญ่ อาทิ สถานีกลางบางซื่อ สถานีแม่น้ำ สถานีมักกะสัน เป็นต้น

2.การเพิ่มรายได้และการลดค่าใช้จ่าย การรถไฟฯจะมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างรายได้ทั้งในธุรกิจหลัก (Core Business) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร และธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก (Non Core Business) อาทิ ที่ดินของการรถไฟฯ เพื่อสร้างให้เกิดรายได้และประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยมีการเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องของการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วนบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบแผนที่ (GIS) เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่ดินทั้งหมด จะได้นำมาสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กรได้ต่อไป นอกจากนี้ในเรื่องการใช้ประโยชน์พื้นที่นั้น ได้มีนโยบายที่จะวางแนวทางการจัดระเบียบผู้เช่าให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงการควบคุมแก้ไขปัญหาผู้บุกรุกที่ดินของการรถไฟฯ

นอกจากนี้ การสร้างรายได้เสริมให้การรถไฟฯ จากสินทรัพย์ที่ไม่อยู่ในสภาพใช้งาน เช่น ซากสิ่งของเหลือใช้ ตู้รถไฟเก่า หมอนไม้ เศษเหล็ก เป็นต้น นอกจากการหารายได้เพิ่มขึ้นแล้วนั้น สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือการลดค่าใช้จ่าย และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินงาน และบูรณาการข้อมูลจะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ของการรถไฟฯ อีกทาง

“ในอนาคตอันใกล้รฟท.จะสร้างพันธมิตรอาศัยคนที่มีความชำนาญและมีความเข้มแข็งเหมือนกัน ที่แรกที่นึกถึงคือไปรษณีย์ไทย ด้วยการช่วยขนส่งสินค้าให้กับไปรษณีย์ไทยทำให้รถขนส่งของเขาใช้น้อยลงมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุลดลง และกำไรต่อหน่วยของการขนส่งพัสดุเป็นกล่องมีมากที่สุด มากกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่นๆ”



ชูหลักสูตร “วิศวกรรมรถไฟ” ด้วยห้องทดลองจริง
3. การขับเคลื่อนและการยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยการพัฒนาองค์กรและการจัดการให้เชื่อมโยงอย่างบูรณาการ โดยจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงานในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในการยกระดับโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ การพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร เพื่อให้มีศักยภาพตรงตาม Competency ที่การรถไฟฯ ต้องการ และการ Reskill & Upskill พนักงาน โดยมีส่วนสำคัญคือ การรักษาองค์ความรู้ โดยการสร้างระบบถ่ายทอดและเก็บรักษาองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น (Knowledge Management) นอกจากนี้ การรถไฟฯ มีแนวทางในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการบริการให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟจากเดิมที่เคยเป็นโรงเรียนสำคัญของประเทศ แต่ปัจจุบันได้ลดความสำคัญลงไปค่อนข้างมาก จึงถือโอกาสนี้ปรับหลักสูตรใหม่ให้ทันสมัยและสามารถรองรับระบบรางสมัยใหม่ของประเทศได้ด้วย แม้ว่าในหลายมหาวิทยาลัยจะเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมรถไฟเหมือนกัน แต่รฟท.มีข้อได้เปรียบสำคัญคือห้องทดลองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีผู้เชี่ยวชาญที่จะสอนได้ทั้งประเทศ มีบุคลากรที่มีความชำนาญในพื้นที่จริงอยู่”

“นิรุฒ” กล่าวต่อไปว่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้อาสาเข้ามาออกแบบหลักสูตรใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าจะต้องได้มาตรฐานโลก เราอาศัยความเป็นมาตรฐานโลกของสถาบันฯลาดกระบังมาช่วยให้โรงเรียนรถไฟมีมาตรฐานโลกเช่นเดียวกัน ถึงวันนั้นคาดหวังว่าจะให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สอนเฉพาะทางรถไฟ แล้วเรามีพื้นที่ที่จะขยายวิทยาเขตออกไปในพื้นที่ต่างๆได้ด้วย

“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคหลายประการ แต่ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ มาได้ จึงเห็นได้ว่า การรถไฟฯ เป็นองค์กรแห่งโอกาส ทั้งโอกาสในการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางสู่ความเป็นเลิศ และความเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน โอกาสที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับระบบราง เพื่อรับใช้สังคมไทยในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในฐานะผู้ว่าการรถไฟ แห่งประเทศไทย พร้อมแล้วที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนภารกิจของการรถไฟฯ อย่างเต็มศักยภาพ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2020 5:32 pm    Post subject: Reply with quote

สส.เทพไท เสนอให้ย้ายสถานีนครศรีธรรมราช ไปอยู่ที่สถานีวังวัว อำเภอพระพรหม คนนครว่ายังไง?? รู้แต่ว่า นี่เป็นการเล่นดอ ใส่ทหารแน่นอน ท่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนเรื่องที่ดินแน่ๆ เรื่องพรรค์นี้ คนคอนสาปส่งนัก
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/966255890479557
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/07/2020 9:14 am    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟศิลาอาสน์-ศูนย์กลางเชื่อมโยง ไทย-ลาว-เมียนมา-จีน
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
นำรัก สมบัติ

ที่ห้องประชุมสถานีรถไฟศิลาอาสน์ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ให้การต้อนรับนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยพร้อมคณะ เนื่องในโอกาสเดินทางไปปฏิบัติราชการ พร้อมตรวจเส้นทางเดินรถระบบรางในพื้นที่ภาคเหนือ โดยรถไฟโดยสารขบวนพิเศษ พร้อมทั้งแนะนำพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบรางมาอย่างยาวนาน ซึ่งสถานีรถไฟศิลาอาสน์มีความสำคัญอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมผลักดันการพัฒนาสถานีรถไฟศิลาอาสน์ให้เป็นศูนย์ Container Yard ร่วมกับจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การค้าชายแดนกับสปป.ลาว ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ให้ความสำคัญ และมีแนวคิดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบรางเพื่อเชื่อมต่อเส้นทาง LIMEC

จากนั้น คณะได้ร่วมเดินทางในโบกี้รถไฟ เดินทางต่อไปยังสถานีรถไฟเด่นชัย ระหว่างการเดินทางได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนหารือประเด็นแนวคิดการพัฒนาเส้นทางการขนส่งทางราง เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC (ด่านแม่สอด-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์จุดผ่านแดนถาวรภูดู่) นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์และเครือข่ายวิชาการโลจิสติกส์ภาคเหนือนำโดย ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบรางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC จากข้อเสนอโครงการวิจัย "การพัฒนาแผนที่นำทางสำหรับการขนส่งที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จังหวัดอุตรดิตถ์" รวมทั้งการศึกษาผลกระทบด้านโล จิสติกส์ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และความมั่นคงจากโครงการก่อสร้างรถไฟลาว-จีน (ช่วงบ่อเต็นเวียงจันทน์) ในพื้นที่จังหวัดน่าน, อุตรดิตถ์ และ เลย ภายใต้โครงการแผน "การศึกษาแผนยุทธศาสตร์รองรับโครงการก่อสร้างรถไฟลาว-จีน (ช่วงบ่อเต็น-เวียงจันทน์)" ตามที่จังหวัดอุตรดิตถ์ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองชายแดน

การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในจังหวัดและที่เชื่อมโยงกับประเทศและกลุ่มจังหวัดตามระเบียงเศรษฐกิจระหว่าง "หลวงพระบาง-อินโดจีน-เมาะลำไย (LIMEC) รวมทั้งเชื่อมโยงกับแนวทางการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจเชียงใหม่-เวียง จันทน์ (CVEC) ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์มีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการค้า การท่องเที่ยว การเดินทางข้ามประเทศ โดยมียุทธศาสตร์ชายแดนสำคัญที่บริเวณจุดผ่านแดนสากลภูดู่ อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ รวมทั้งพื้นที่ตลอดเส้นทางผ่านสู่ด่านชายแดน สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่รองรับทั้งการค้า การท่องเที่ยว ในอนาคตได้ อีกทั้งยังเป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากเมียนมาผ่านด่านสากลที่แม่สอด สู่ สปป.ลาว ผ่านจุดผ่านแดนสากลภูดู่ ด้วยระยะทางที่ใกล้ที่สุดตามแนวตะวันออกสู่ตะวันตก อีกทั้งยังเป็นโอกาสสำคัญในอนาคต ที่จะเชื่อมโยงระบบรางเข้ากับโครงการก่อสร้างรถไฟจีน-ลาว ในอนาคต

สำหรับโครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการนำเสนอขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินงานวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติซึ่งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะมีความเชื่อมั่นและประสบความสำเร็จได้ หากได้รับความร่วมมือและได้รับข้อเสนอแนะคำปรึกษาจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์จะประชุมหารือและผลักดันโครงการดังกล่าวผ่านเวที กรอ.จังหวัด และระดับประเทศ พร้อมทั้งหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคม เพื่อให้หน่วยงานทั้งกรมการขนส่งทางราง การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ร่วมมือและเป็นผู้ให้คำแนะนำจังหวัดและการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ และพร้อมนำเสนอหากมีครม.สัญจรในครั้งต่อไปในภูมิภาค สำหรับโอกาสการพัฒนาเรื่องดังกล่าวในอนาคต

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับฟังแนวความคิดยุทธศาสตร์ พร้อมแลกเปลี่ยนถึงกระบวนการขับเคลื่อน เพื่อนำงานวิจัยมาพัฒนาร่วมกัน และหากกระบวนการศึกษาวิจัยโอกาสการพัฒนาเสร็จสิ้น จะนำเสนอโครงการเพื่อทำการศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ ในการลงทุนและผล กระทบด้านต่าง ๆ ต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2020 9:14 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ผู้ว่าการรถไฟฯ แถลงนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการรถไฟแห่งประเทศไทย สู่อนาคตการเป็นผู้นำระบบราง พร้อมยกระดับการขนส่งของประเทศ
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓

"นิรุฒ" ชู 3 ยุทธศาตร์ ขับเคลื่อนรถไฟ "เพิ่มความสามารถ-สร้างรายได้-พัฒนาองค์กร" มั่นใจเป็นผู้นำระบบรางที่ดีที่สุดในอาเซียนปี 2570
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:03 น.

ผู้ว่าการ รฟท.ลั่นสู้ไม่ถอยคดีโฮปเวลล์ ลุยดันการรถไฟฯผู้นำขนส่งทางราง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่:วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 19:01

รฟท.กับผู้ว่าการคนนอก “นิรุฒ มณีพันธ์” เป้าหมายผู้นำระบบรางที่ดีสุดในอาเซียนปี 2570
ThaiPublica > เกาะกระแส
วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

3 ยุทธศาสตร์ 'นิรุฒ มณีพันธ์' ปลุกยักษ์ใหญ่ 'รฟท.' ลุกขึ้นยืน-คนรถไฟฯ ต้องไม่เลี้ยงบอลไปวันๆ
รายงาน-สกู๊ป | สัมภาษณ์ - ปาฐกถา | เรื่องเด่น -
เขียนโดยisranews
เขียนวันที่วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม 2563 เวลา 21:42 น.

"...ที่ดินของการรถไฟฯเป็นตลาดเยอะมาก เราลองถามแม่ค้า วันนี้จ่ายเงินให้ใคร จ่ายมากี่ทอด แม่ค้าจ่ายทอดที่ 3 ที่ 4 ก็ต้องแพงกว่าคนที่จ่ายทอดที่ 1 เรากำลังจะเข้าไปจัดระเบียบ ให้แม่ค้ามาขึ้นทะเบียนกับการรถไฟฯ แล้วจ่ายทอดที่ 1 กับเรา ซึ่งเราต้องอาศัยความกล้ามากๆ แต่ก็ต้องทำ...”

หมายเหตุ : นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงนโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ตึกบัญชาการการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 ก.ค.63



นิรุฒ กล่าวว่า รฟท.มีวิสัยทัศน์ว่า เราจะเป็นผู้ให้บริการระบบรางที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570 ฉะนั้นเหลือเวลาทำงานอีก 7 ปี ในการทำให้ รฟท. เป็นผู้ให้บริการระบบรางที่ดีที่สุดในอาเซียน

“หลายคนอาจบอกว่าเป็นไปได้หรือ โม้หรือเปล่า ซึ่ง 4 ปีของผมคงไม่ถึงตรงนั้น แต่ถ้า 8 ปีก็พอดีเป๊ะเลย แน่นอนว่าผมไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าจะไปถึงตรงนั้นได้ อย่างน้อยๆเราต้องมี 3 ข้อ และคนที่จะบอกว่าเรา (รฟท.) ดีที่สุด คือ ประชาชนที่ขึ้นมาใช้บริการเรา แล้วบอกว่าที่นี่ดีที่สุด เราจึงต้องเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งคนและสินค้า ซึ่งโอกาสของเราก็มีอยู่ เพราะเรากำลังทำรถไฟทางคู่เฟส 1 และหวังว่าจะมีเฟส 2 รวมทั้งส่วนต่อขยาย” นิรุฒกล่าว

นิรุฒ กล่าวว่า วันนี้ รฟท. ขนส่งสินค้าปีละ 11 ล้านตัน แต่ปี 2570 เราตั้งเป้าเพิ่มการขนส่งสินค้าเป็น 38 ล้านตัน หรือเพิ่มจาก 2% ของการขนส่งสินค้าทั้งประเทศ เป็น 5% ซึ่งจริงๆเรามักน้อยไป แต่ขอให้ลองคิดดู หากเราสามารถขนส่งสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น ก็ทำให้รถบรรทุกบนท้องถนนน้อยลง มลภาวะและอุบัติเหตุ ก็น้อยลงตามไปด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงว่าประชาชนโดยรวมจะมีความสุขกับการเป็นอยู่ในประเทศนี้มากขึ้น

ส่วนการขนส่งผู้โดยสาร เรามีผู้โดยสารปีละ 35 ล้านคน แต่เป็นผู้โดยสารในเชิงสังคมประมาณ 20 ล้านคน อีก 10 ล้านคน เป็นผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ ในขณะที่รายได้ 90% ของการรถไฟฯมาจากผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ แต่อย่างไรก็ดี ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่สะท้อนได้ว่า การรถไฟฯยังคงเป็นสาธารณูปโภคหลักของประชาชน

“การรถไฟฯไม่ได้ถูกดีไซด์มาเพื่อทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ ถ้าอยากทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ ก็ต้องขึ้นค่าโดยสาร แต่คนที่เดือดร้อน คือ ประชาชน ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการรถไฟฯ ดังนั้น โจทย์หนึ่งที่เราทิ้งไม่ได้ คือ การรถไฟฯ ต้องรับใช้ประชาชน ส่วนที่ทำเชิงพาณิชย์ก็ทำไป แต่ประชาชนส่วนหนึ่งก็อยากเห็นการรถไฟฯทำกำไรด้วย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ผมต้องคิดว่าจะทำอย่างไร จึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ 3 ข้อ” นิรุฒกล่าว

สำหรับยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ข้อนั้น นิรุฒ ระบุว่า ยุทธศาสตร์แรก คือ การเพิ่มความสามารถในการให้บริการ ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย และยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การขับเคลื่อนและยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน

“เรื่องการหารายได้ การรถไฟฯหมดเวลาแล้วในบริบทเดิม ที่ต้องรอให้ผู้โดยสารมาซื้อตั๋ว รอให้ผู้โดยสารมาขอให้เราขนส่งสินค้า หมดเวลาแล้วที่จะรอให้คนมาเช่าพื้นที่ของการรถไฟฯ ผมมาจากธนาคาร ธนาคารมี NPA (ทรัพย์สินรอการขาย เช่น บ้านและที่ดิน) มากมาย เขายังจัดการได้ ซึ่งผมอาจหาวิธีบางอย่างที่จะใช้เปิดการตลาดของเรา ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้า ขนส่งผู้โดยสาร แม้กระทั่งการบริหารจัดการทรัพย์สินของการรถไฟฯ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้

ส่วนการลดรายจ่าย เราจะบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ไปประกาศลดค่าใช้จ่าย โดยการตัดเงินเดือนพนักงาน ลดรายได้พนักงาน อันนั้นไม่ใช่ บางองค์กรอาจทำอย่างนั้น แต่ไม่ใช่การรถไฟฯ ซึ่งมีหลายส่วนที่ผมเห็นว่า เราสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ และเพิ่มรายได้ได้

ขณะเดียวกัน เราต้องขับเคลื่อนประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งผมขอใช้คำว่า ‘Smart Organization’ ซึ่งผมจะทำให้การรถไฟฯ เป็นองค์กรที่คนอื่นมองเข้ามาแล้ว เป็นองค์กรที่ชาญฉลาด ไม่ใช่องค์กรที่ใครมองเข้ามาแล้วบอกว่าล้าหลัง ทุจริต ไม่มีประสิทธิภาพ สกปรก เพราะเมื่อผมเข้ามา ผมเห็นว่ามันไม่ใช่ เรามีโอกาสมากมาย

แต่สิ่งที่ต้องบูรณาการ คือ 1.เรื่องบุคลากร 2.ขั้นตอนการทำงาน ซึ่งที่นี่อาจเยิ่นเย้อไปนิดหนึ่ง เพราะเราบริบทของปี 24 กว่าๆหรือปี 25 ต้นๆ มาบริหารจัดการองค์กรที่อยู่ในปี 2563 และเชื่อเถอะว่าหลังโควิด-19 เรื่อง New normal เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราต้องปรับตัว โดยผมเตรียมพร้อมให้เราไปถึงจุดนั้น แต่การจะเป็น Smart Organization นั้น วันนี้ เทคโนโลยีถูกลงเยอะ มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงแต่ว่าเราจะเอาเทคโนโลยีมาใช้กับการรถไฟฯได้อย่างไร” นิรุฒกล่าว

นิรุฒ กล่าวว่า นอกจากจะเป็นองค์กรที่ฉลาด และคนของการรถไฟฯเป็นคนที่ฉลาดแล้ว การรถไฟฯจะต้องมีขั้นตอนการทำงานที่เหมาะสมและฉลาดบนบริบทของการเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย เพราะการเป็นรัฐวิสาหกิจไม่จำเป็นต้องยืดยาดเสมอไป เราสามารถจัดการรัฐวิสาหกิจแบบไม่ให้ยืดยาดก็ได้ แม้ว่าจะไม่เร็วเท่ากับเอกชน ส่วนข้อกฎหมายที่มีอยู่ก็ไม่ได้เป็นข้อจำกัดขนาดนั้น โดยเราจะนำเทคโนโลยีมาช่วย

“เมื่อก่อนท่านอาจจะเห็นตั๋วที่ยิงแก๊บๆ แล้ววันนี้เป็นตั๋วที่ปริ้นออกมา แต่วันหน้าตั๋วจะไปอยู่ในมือถือ มันควรจะเป็นระบบที่ทำผ่านแอพพลิเคชั่น

สิ่งที่ผมกำลังจะทำต่อไป และผมได้หารือกับกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทยแล้วว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่การรถไฟฯจะเอาระบบการเช่าที่ดินของการรถไฟฯที่มีเป็นหมื่นราย ให้มาจ่ายเงินผ่านแอพฯ ไม่ต้องมีแล้ว พนักงานการรถไฟฯ ที่เดินถือตั๋วสีฟ้าไปเก็บตังก์แล้วแจกตั๋ว ถ้าทำอย่างนี้ได้ นอกจากเราจะเอาคนเหล่านี้ไปทำอย่างอื่นได้แล้ว การรั่วไหลก็จะไม่มี อันนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน” นิรุฒกล่าว

นิรุฒ กล่าวต่อว่า หากการรถไฟฯจะเป็นผู้บริหารระบบรางที่ดีที่สุดในอาเซียน นอกจากจะต้องมียุทธศาสตร์ 3 ข้อนี้แล้ว ทุกอย่างต้องมาถูกเวลา และถูกต้องด้วย

“บางอย่าง ถ้ามันเกิดขึ้น แต่ไม่ถูกเวลา ก็ไม่มีประโยชน์ เทคโนโลยีของวันนี้ แต่เอาไปใช้อีก 10 ปีข้างหน้า กว่าจะจัดซื้อจัดจ้างได้ก็ไม่มีประโยชน์แล้ว แต่ถ้าถูกเวลา แต่มาไม่ถูกต้อง มาจากการทุจริตคดโกง ก็ไม่มีประโยชน์เหมือนกัน เพราะถ้าถูกต้อง ถูกเวลา ผมว่ามันยั่งยืน สิ่งนี้เป็นสิ่งการรถไฟฯมีอยู่ เพียงแต่ต้องสร้างเพิ่มเติม” นิรุฒกล่าว

นิรุฒ ย้ำว่า สิ่งที่จะเพิ่มความสามารถให้การรถไฟฯได้ นั่นก็คือ การสร้างรถไฟทางคู่ และเป็นโอกาสที่รัฐบาลมอบให้กับการรถไฟฯ เพราะลองนึกภาพดู หากรถไฟที่วิ่งต้องหลีก ต้องเลี่ยงกัน การเดินทางจะไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น สิ่งที่ตนเน้นมากๆ และอยากให้เกิดเร็วที่สุด คือ รถไฟทางคู่

“ถ้าเราจัดลำดับความสำคัญว่า รถโดยสารรถชั้น 1 ชั้น 2 และชั้นสังคม ต้องมาก่อน สุดท้ายจึงเป็นการขนส่งสินค้า แล้วกว่าสินค้าจะส่งถึงปลายทางได้ต้องใช้เวลานาน แล้วใครจะอยากใช้ แต่ถ้าเป็นรถไฟทางคู่ มันไม่ต้องเลี่ยง ไม่ต้องหลีก หรือมีก็มีน้อยที่สุด ทำให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้ตรงเวลา แต่ถ้าเกิดรางคู่แล้ว ไม่มีรถวิ่งก็ไม่มีประโยชน์ เราต้องบริหารให้มีการใช้รางให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการขบวนรถ” นิรุฒกล่าว

นิรุฒ ระบุว่า สิ่งที่สำคัญอีกอันหนึ่ง คือ การพัฒนาและบริหารพื้นที่ของสถานีใหญ่ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและก่อให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะที่ดินแปลงใหญ่ๆกลางเมือง เช่น กรุงเทพฯ อย่างที่ดินสถานีกลางบางซื่อ 2,000 ไร่ ที่ดินสถานีแม่น้ำ และที่ดินมักกะสันส่วนที่เหลือจากที่การแบ่งให้กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยเราจะต้องบริหารจัดการเพื่อนำที่ดินเหล่านี้มาสร้างรายได้ให้การรถไฟฯ

“เราต้องไม่หารายได้ให้การรถไฟฯ โดยที่ไม่ลืมหู ลืมตาดูประชาชน ที่ดินบางที่ เราไม่ได้ทำเพื่อเงินอย่างเดียว บางทีเราต้องจัดระเบียบให้ประชาชนด้วย อย่างตลาด ที่ดินของการรถไฟฯเป็นตลาดเยอะมาก เราลองถามแม่ค้า วันนี้จ่ายเงินให้ใคร จ่ายมากี่ทอด แม่ค้าจ่ายทอดที่ 3 ที่ 4 ก็ต้องแพงกว่าคนที่จ่ายทอดที่ 1 เรากำลังจะเข้าไปจัดระเบียบ ให้แม่ค้ามาขึ้นทะเบียนกับการรถไฟฯ แล้วจ่ายทอดที่ 1 กับเรา ซึ่งเราต้องอาศัยความกล้ามากๆ แต่ก็ต้องทำ” นิรุฒกล่าว

นิรุฒ กล่าวต่อว่า คนพูดว่าการรถไฟฯมีที่ดินเยอะ และเครดิตที่ทำให้การรถไฟฯอยู่ได้ ไม่ว่าจะไปกู้เงินที่ไหน คือ ทรัพย์สินของการรถไฟฯที่เรามีมากมายก่ายกอง ซึ่งนอกจากทรัพย์สินที่เราเห็นอยู่ว่าเป็นของการรถไฟฯแล้ว และจะเข้าไปจัดการทรัพย์สินที่ยังคลุมเครือว่าเป็นของการรถไฟฯหรือไม่ โดยเราจะเอาระบบดาวเทียมเข้ามายิงเลยว่าที่ดินตรงนี้เป็นของการรถไฟฯหรือไม่ จากนั้นก็เอาที่ดินที่รถไฟฯมีอยู่ไปสร้างรายได้

“จะมีทีมหนึ่งที่จะเข้าไปดูว่าที่ดินตรงนี้เป็นของการรถไฟหรือไม่ เอาออกให้เช่าแล้วหรือไม่ ติดอยู่ในโครงการอะไรหรือเปล่า แล้วเอามาวางในหิ้ง แล้วจะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งวิ่งไปหาคนมาซื้อของในหิ้ง วิธีแบบนี้จะเกิดขึ้นในยุคนี้

หรืออย่างซากเก่าๆของการรถไฟฯ เช่น ตู้โบกี้เก่าๆที่เต็มไปหมดเลย ผมกับคนในการรถไฟฯก็คิดว่าทำอย่างไร จึงจะสร้างมูลค่าให้สิ่งเหล่านี้ เพราะแทนที่เราจะขายเป็นเศษเหล็ก เราเอาตู้โบกี้มาทำเป็นร้านกาแฟได้ไหม ตกแต่งเป็นตู้ท่องเที่ยว ทำเป็นห้องสมุดให้เด็กๆได้หรือไม่ ซึ่งมีคนพร้อมสนับสนุนเราในเรื่องนี้ โดยเฉพาะภาคเอกชนมีเยอะมาก”

nirut railway 02 07 20 4(นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯรฟท.คนที่ 29 แถลงนโยบายฯ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.63)

นิรุฒ ระบุว่า แม้ว่าทุกวันนี้การรถไฟฯจะมีการทำตลาด แต่ไม่เข้มข้นและชัดเจน ซึ่งองค์กรที่ทำธุรกิจให้บริการจะต้องมีการตลาดที่ชัดเจน อย่างบริษัท การบินไทย มีการตลาดที่ชัดเจน แต่ขาดเรื่องการลดค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่ขอพูดถึง

“รถไฟฯเรายังไม่เข้มข้นเรื่องการตลาด เรายังไม่เคยถือกระเช้าไปหาลูกค้า เพื่อที่จะบอกให้เขามาใช้บริการ อันนั้นเราจะทำมิติใหม่ของการตลาด ทั้งแบบบีทูบี (ธุรกิจต่อธุรกิจ) บีทีซี (ธุรกิจกับลูกค้า) พวกนี้จะเกิดขึ้นมาในยุคที่ผมเป็นผู้ว่าฯแน่นอน” นิรุฒกล่าว

นิรุฒ กล่าวว่า การรถไฟฯยุคนี้ เราจะพัฒนาคนอย่างจริงจัง คนของการรถไฟฯจะต้องไม่ใช่คนที่คนอื่นมองว่า ทำงานไปวันๆ ต่อไป คนรถไฟฯจะรู้ว่าเราจะมีเป้าหมายอย่างเดียวกันอย่างไรบ้าง เหมือนทีมฟุตบอล เราจะรู้ว่าประตูฝั่งตรงข้ามอยู่ตรงไหน ไม่ใช่เลี้ยงบอลไปวันๆ แล้วส่งบอลต่อให้คนอื่นๆเท่านั้นเอง แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการสร้างประสิทธิภาพให้เขา ทั้งผ่านโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟฯ การอัพสกิล การรีสกิล ต้องเกิดขึ้นอย่างเต็มความสามารถ

“เราสร้างคนให้เป็นฝ่ายช่าง ฝ่ายโยธา เราสร้างคนเก่งมากในเรื่องอาณัติสัญญาณ และในเรื่องระบบรางไม่มีใครเก่งกว่าเรา แต่ยังไม่ได้สร้างคน เพื่อเอาบริการเหล่านี้ไปขาย เรายังไม่สร้างคนที่เก่งในการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ ต่อไปเราจะสร้าง เราเอาประสบการณ์ของการรถไฟฯที่มีนับร้อยปี เอามาเป็นองค์ความรู้ที่มี และต่อยอด เราจะไม่ย่ำอยู่กับที่อีกต่อไป” นิรุฒกล่าว

นิรุฒ กล่าวว่า “ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผมจะทำ และเป็นแผนที่ผมนำเสนอบอร์ดรถไฟฯ ซึ่งเบื้องต้นบอร์ดเห็นด้วย ที่จะให้ผู้ว่าฯเดินหน้าในรูปแบบอย่างนี้ เราจะต้องเติบโตไปบนบริบทที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เราจะเดินไปอย่างนี้ ผมยืนยันว่าการรถไฟฯเป็นยักษ์ใหญ่ แต่วันนี้เรายังเป็นยักษ์ใหญ่ที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก นั่งๆนอนๆ ยังไม่มีแรงเท่าไหร่ เราจะต้องเสริมอาหารเสริม เพิ่มพลังกาย พลังใจให้เขาลุกขึ้นยืน

แต่การยืนได้อย่างมั่นคงนั้น ยังไม่สำคัญเท่า เขาจะมั่นคงตลอดไป นั่นหมายความระบบต้องดี วัฒนธรรมองค์กรต้องดี และผมเชื่อว่าทั้งหมดจะทำไม่ได้ดีที่สุด ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน”

เหล่านี้เป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการรถไฟฯของ ‘นิรุฒ มณีพันธ์’ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คนที่ 29
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2020 8:47 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"นิรุฒ" ชู 3 ยุทธศาตร์ ขับเคลื่อนรถไฟ "เพิ่มความสามารถ-สร้างรายได้-พัฒนาองค์กร" มั่นใจเป็นผู้นำระบบรางที่ดีที่สุดในอาเซียนปี 2570
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:03 น.

“นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.คนใหม่ กับภารกิจ “ปลุกม้าเหล็ก..ฝ่าวิกฤต พลิกฟื้นองค์กร”
เผยแพร่: 6 ก.ค. 2563 07:47 ปรับปรุง: 6 ก.ค. 2563 08:38 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size
นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

รถไฟไทย ถึงการช่าง...ไม่ถึงก็ช่าง! วันนี้...ถึงเวลาปรับตัวครั้งใหญ่ภายใต้การนำของ “นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คนใหม่ ที่วางนโยบาย ภายใต้ยุทธศาสตร์ “พัฒนาคน... เพิ่มรายได้ ยกระดับองค์กร” ดึงรถไฟพ้นจากยุคไดโนเสาร์...ปรับปรุงบริการ ตอบโจทย์สังคม ปัจจุบัน ...ดึงจุดแข็ง หาพันธมิตรสร้างธุรกิจใหม่ๆ สร้างรายได้จากรถโดยสาร สินค้า และที่ดิน

“นิรุฒ มณีพันธ์” ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. วันที่ 16 เม.ย. 2563 โดยเริ่มเข้าทำงานเป็นทางการ 24 เม.ย. 2563 ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งสภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยเป็นใจ ยิ่งเพิ่มความท้าทายผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ที่เป็นคนนอกในการเข้ามาขับเคลื่อนองค์กร ที่มีภารกิจสำคัญในการคมนาคมขนส่งพื้นฐานของประเทศ แถมยังมีหนี้สินสะสม ประมาณ 1.67 แสนล้านบาท มีปัญหาการบริหารงาน และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย

นิรุฒ มณีพันธ์ ระบุว่า ในช่วง 2 เดือนแรก ได้เดินสายตรวจพื้นที่ ขึ้นขบวนรถทำตัวเป็นผู้โดยสารคนหนึ่งเพื่อสัมผัสกับบริการที่แท้จริง ซึ่งก็ทำให้เห็นภาพว่าจะต้องทำอะไร ต้องแก้ปัญหา ต้องพัฒนารถไฟตรงไหนบ้าง

โดยสิ่งแรกที่ได้เข้าไปเริ่มทำแล้ว คือ แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของพนักงานที่มีสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม โดยเริ่มจัดระเบียบบริเวณบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 นิคมรถไฟมักกะสัน บางซื่อ และจิตรลดา ปัญหานี้อาจมองเป็นเรื่องเล็ก แต่เป็นปัญหาที่มีมายาวนาน แต่เมื่อจะมีการจัดระเบียบ คนรถไฟกลับเห็นด้วยและเป็นแนวร่วม... จึงถือเป็นสัญญาณที่ดี

ขณะที่การจัดระเบียบมีพื้นที่บางส่วนที่กระทบต่อประชาชนที่เข้าไปบุกรุก ซึ่งจะผ่อนปรนตามความเหมาะสม แต่จะไม่ผ่อนปรน 3 เรื่อง คือ 1. ทำให้การเดินรถไม่ปลอดภัย 2. เป็นแหล่งอาชญากรรม 3. มีสิ่งปลูกสร้าง ขวางทางน้ำ

“ก่อนหน้านี้เป็นอย่างไรไม่ทราบ แต่ยุคนี้ยอมไม่ได้”

โดยขณะนี้ได้แก้ปัญหาบริเวณตลาดคลองตันที่ตั้งอยู่บนรางรถไฟ เป็นอันตรายในการเดินรถอย่างมาก เพราะอยู่กลางทาง รถไฟต้องลดความเร็ว ปัญหานี้ยืดเยื้อมานาน แต่ตอนนี้จบแล้ว คิวต่อไปจะแก้ปัญหาตลาดร่มหุบ ซึ่งได้ร่วมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เพราะเป็นตลาดที่เกี่ยวข้องกับวิถีชาวบ้าน..เป็นแลนด์มาร์กของประเทศ แหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ จะต้องหาวิธีสร้างสมดุล ให้คงไว้ โดยมีความปลอดภัย 100% ยืนยันไม่ยกเลิกตลาดร่มหุบ เพราะอยู่ปลายเส้นทาง การแก้ปัญหาจะต่างจากที่ตลาดคลองตัน

และจากวิสัยทัศน์ของการรถไฟฯ “เป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570” ซึ่งขณะนี้เป็นปี 2563 มีเวลาอีก 7 ปี แล้ว...จะทำได้หรือ?

ปัจจุบันรถไฟมีผู้โดยสารจำนวน 35 ล้านคน/ปี แต่เป็นบริการเชิงสังคม (PSO) ซึ่งกำหนดค่าโดยสารต่ำถึง 20 ล้านคน/ปี ส่วนผู้โดยสารเชิงพาณิชย์มีเพียง 10 ล้านคน/ปี แต่มีสัดส่วนรายได้ถึง 90%

ด้านขนส่งสินค้าจะต้องสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ ซึ่งโครงการรถไฟทางคู่ เป็นโอกาสในการเพิ่มรายได้ เนื่องจากสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการเดินรถทั้งโดยสารและสินค้า ซึ่งเป้าหมายจะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าจากปัจจุบัน 11 ล้านตัน/ปี เป็น 38 ล้านตัน/ปี ในปี 2570 หรือมีสัดส่วนการขนส่งสินค้าสินค้าทางราง จาก 2% เป็น 5% ของปริมาณการขนส่งทั้งประเทศ

“ขณะเดียวกัน ธุรกิจที่ดีต้องมีพันธมิตร ซึ่งไม่จำกัดว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือประชาชน ที่ผ่านมาได้หารือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย เพื่อนำจุดแข็งมารวมกันเพื่อสร้างธุรกิจ ขนส่งสินค้าร่วมกันแบบ Door To Door ภายใต้บริบทใหม่เพื่อตอบสนองสังคมปัจจุบันที่การขนส่งพัสดุกล่องมีความสำคัญอย่างมาก และมีกำไรต่อหน่วยมากกว่าการขนส่งทุกแบบ”

ดังนั้น การหารายได้ ต้องคิดใหม่...ทำใหม่ จะรอให้ผู้โดยสารเดินเข้ามาหาเหมือนเดิม ไม่ได้ ...จะรอให้คนเอาสินค้ามาส่งขึ้นรถไฟเหมือนเดิมไม่ได้... และหมดเวลาแล้ว ที่รอให้ประชาชนเดินเข้ามาขอเช่าพื้นที่รถไฟ

ในฐานะที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และมีประสบการณ์จากธนาคาร ที่มีหน้าที่ขายทรัพย์สิน จำนวนมากที่ยึดจากลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระ ซึ่งมีระบบที่ดี สามารถนำมาบริหารจัดการ ในการหาตลาดด้านขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และบริหารจัดการทรัพย์สิน เพื่อเพิ่มรายได้ให้การรถไฟ ฯ

โดยปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจจาก Business to Business (B2B) เป็น Businessto Business to Customer (B2B2C) วางยุทธศาสตร์เป็นผู้ขนส่งระหว่างจังหวัด (Hub to Hub) และใช้จุดแข็งการขนส่งทางรางที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากถนนสู่รางให้มากขึ้น

รถไฟ มีตลาด แต่ไม่เข้มข้นและไม่ชัดเจน ดังนั้น ต้องปรับรูปแบบใหม่ๆ ที่ทันสมัยและสะดวกมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทุกๆ ขั้นตอน เท่าที่จะทำได้

ปั้นที่ดิน เพิ่มศักยภาพ สร้างรายได้เพิ่ม

ร.ฟ.ท.มีที่ดินทั่วประเทศ 234,976 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่ คิดเป็น 80.68% ของที่ดินรวม, พื้นที่บ้านพัก ที่ทำการ 3,755 ไร่ คิดเป็น 1.6%, พื้นที่ย่านสถานี (วางราง) 5,333 ไร่ คิดเป็น 2.27% และพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ใช้เพื่อการเดินรถ 36,302 ไร่ คิดเป็น 15.45% โดยมีพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ทั่วทั้งประเทศ ประมาณ 4 หมื่นกว่าไร่

“นิรุฒ มณีพันธ์” กล่าวว่า ปัจจุบันรถไฟมีรายได้จากการพัฒนาที่ดิน 2,000-3,000 ล้านบาท/ปีเท่านั้น จากที่ดินประมาณ 20,000 ไร่ ถือว่าน้อยมากๆ ตรงนี้ต้องดูว่า รายได้มีรั่วไหลหรือไม่

“ที่ต้องพิจารณา คือ รายได้จากสัญญาต่างๆ เหมาะสมแล้วหรือไม่ ยังมีรายได้รั่วไหลในจุดไหนบ้าง หรือผู้เช่า จ่ายต่อมากี่ทอด ค่าเช่าเข้ารถไฟ หรือไปเข้าที่ใคร เรื่องนี้ต้องบริหารจัดการ ซึ่งยอมรับว่า ต้องอาศัยความกล้ามากๆ ที่จะเข้าไปแก้ไข”

นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินที่อาจเป็นของรถไฟแต่รถไฟไม่เห็นอีก ซึ่งขณะนี้ได้มีการทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบแผนที่ (GIS) และระบบสารสนเทศ (MIS ) เพื่อสำรวจ รังวัดแนวเขตที่ดินของรฟท.ทั่วประเทศ จะทำให้รู้ว่ามีที่ดินตรงไหน มีสัญญาอย่างไร และนำที่ดินนั้นมาคิด พัฒนาและหาลูกค้า

นอกจากนี้ สถานีรถไฟหลายแห่งมีขนาดใหญ่เพราะออกแบบไว้รองรับการเดินทางในอนาคต เช่น สถานีขอนแก่น, เชียงใหม่ แถมตั้งอยู่กลางเมือง ทำให้ที่ดินรอบสถานี มีศักยภาพมากด้วย หากบริหารจัดการในบริบทเดิมๆ ก็คงไม่มีรายได้เพิ่มขึ้น ตรงนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่

และเท่าที่ตรวจสอบยังมีที่ดินอีกหลายแปลงที่กำลังจะหมดสัญญา อาทิ แปลงรัชดา แปลงอาร์ซีเอ จะทยอยหมดสัญญาในปี 2564-2565 เป็นแปลงเล็กแปลงน้อยแต่รวมแล้วมูลค่าค่อนข้างสูง ประเด็นที่ต้องคิดคือ ที่ดินเหล่านี้ยุคหนึ่งเคยเป็นทำเลทอง ...แต่ยุคต่อจากนี้ยังเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ ...

เบรกพัฒนาที่ดินแปลง A รอประเมินตลาด

สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่แปลง A เป็นโครงการนำร่องการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในศูนย์คมนาคมพหลโยธิน มีเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ หลังเปิดประมูลไม่มีเอกชนสนใจ ตอนนี้อยู่ระหว่างการทบทวนแผนการพัฒนา ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันเป็นช่วงที่ยังไม่เหมาะแก่การลงทุน เพราะตอนนี้จึงไม่ได้นำมาอยู่ในแผนเร่งด่วน คิดง่ายๆ เปิดแปลง A ตอนนี้จะหาดีมาร์ทมาจากไหน แต่หลังจากนี้การพัฒนาพื้นที่ต้องมี แต่ต้องดูความเหมาะสมอย่างละเอียดให้ชัดเจนที่สุด

รวมถึงที่ดินแปลงใหญ่กลางเมือง เช่น บางซื่อประมาณ 2,000 ไร่ ที่ดินแม่น้ำเนื้อที่ 277 ไร่ และย่านมักกะสัน ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.จะมีการจัดตั้งบริษัทลูก ด้านบริหารสินทรัพย์ ซึ่งได้เสนอเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีมืออาชีพเข้ามาบริหารจัดการทรัพย์สิน บริหารสัญญาเช่าที่ดินของ ร.ฟ.ท.ให้เกิดประสิทธิภาพ

ปรับหลักสูตร โรงเรียนวิศวกรรม ศูนย์ผลิตบุคลากรระบบรางของประเทศ

นอกจากนี้จะพัฒนายกระดับโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ที่เป็นแหล่งผลิตบุคลากรรถไฟมาเป็นเวลายาวนาน โดยได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟที่มีมาตรฐานโลกเป็นวิทยาลัยวิศวกรรมรถไฟ และยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยในอนาคตแน่นอน โดยการสร้างบุคลากรไม่เฉพาะรองรับกิจการการรถไฟฯ แต่จะรองรับระบบรางทั้งหมดของประเทศ ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้เปรียบสถาบันการศึกษาอื่นที่มีหลักสูตรระบบราง คือ รถไฟมีห้องทดลองที่ใหญ่ที่สุด คือ การเดินรถทั่วประเทศ และมีบุคลากรที่มีความรู้ มีประสบการณ์จำนวนมากที่พร้อมจะถ่ายทอดความรู้ สร้างคนรถไฟที่มีคุณภาพ

“ร.ร.วิศวกรรถไฟ เป็นต้นน้ำในการผลิตคนรถไฟ ที่ผ่านมา มีหลักสูตรแค่อนุปริญญา และช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไม่มีการรับนักเรียนเพราะมีการปรับหลักสูตร ผมจึงเห็นว่าเป็นโอกาสในการปรับในมิติใหม่และมีเป้าหมายที่สูงขึ้น และจะเปิดรับนักเรียนอีกครั้งในปี 2564 แน่นอน”

เดินหน้า “รถไฟทางคู่-ไฮสปีดไทย-จีน” ตามแผนเดิม

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมกว่า 2.73 แสนล้านบาท ขระนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาทนั้น อยู่ในขั้นตอนการเตรียมประกวดราคา ซึ่งจะเดินหน้าโครงการตามแผนงาน เพราะเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ ในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า

รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท คาดว่าสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท จะลงนามในสัญญาได้ประมาณ ต.ค.นี้ โดยขณะนี้อัยการสูงสุดอยู่ระหว่างพิจารณาร่างสัญญา

ยกระดับองค์กร เป็น Smart Organization

เป้าหมายที่จะทำคือ ยกระดับการรถไฟ เป็นองค์กรที่ชาญฉลาด (Smart Organization) ซึ่งคนต้องฉลาดมีประสิทธิภาพ, ขั้นตอนการทำงานต้องเหมาะสม บนบริบทของความเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีขั้นตอนการบริหารจัดการไม่ยุ่งยาก ไม่ซ้ำซ้อน ยกตัวอย่างระบบตั๋ว การซื้อตั๋ว การจ่ายเงิน ทุกอย่างผ่านแอปพลิเคชั่น ลดการใช้เงินสด ลดการรั่วไหล ซึ่งได้หารือกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ในการพัฒนาแอปฯ เพื่อระบบการเช่าที่ดิน ที่มีผู้เช่ากว่า 10,000 ราย จ่ายเงินค่าเช่าผ่านแอป แทนพนักงานรถไฟ เพื่อให้พนักงานเหล่านั้นไปทำงานอื่นๆ ได้ ซึ่งทำไม่ยากเลย และจะเกิดขึ้นแน่นอน

แผนทั้งหมดนี้ ได้นำเสนอและได้รับความเห็นชอบจากบอร์ด ร.ฟ.ท.แล้ว จะเร่งนำไปสู่การปฎิบัติ

ต่อจากนี้จะเห็นการทำงานแบบใหม่ ปรับปรุงขั้นตอนการบริหารจัดการ ลดความซ้ำซ้อน และล่าช้า ภายใต้แนวคิด “ถูกเวลา ถูกต้อง ยั่งยืน”

และหลังจากนี้ รถไฟยุค New Normal “เป็นองค์กรที่ชาญฉลาด” และจะไม่เห็นภาพขององค์กรที่ล้าหลัง... ทุจริต... ไม่มีประสิทธิภาพ สกปรก อีกต่อไป

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2020 8:52 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"นิรุฒ" ชู 3 ยุทธศาตร์ ขับเคลื่อนรถไฟ "เพิ่มความสามารถ-สร้างรายได้-พัฒนาองค์กร" มั่นใจเป็นผู้นำระบบรางที่ดีที่สุดในอาเซียนปี 2570
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:03 น.

“นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.คนใหม่ กับภารกิจ “ปลุกม้าเหล็ก..ฝ่าวิกฤต พลิกฟื้นองค์กร”
เผยแพร่: 6 ก.ค. 2563 07:47 ปรับปรุง: 6 ก.ค. 2563 08:38 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size
นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

รถไฟไทย ถึงการช่าง...ไม่ถึงก็ช่าง! วันนี้...ถึงเวลาปรับตัวครั้งใหญ่ภายใต้การนำของ “นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คนใหม่ ที่วางนโยบาย ภายใต้ยุทธศาสตร์ “พัฒนาคน... เพิ่มรายได้ ยกระดับองค์กร” ดึงรถไฟพ้นจากยุคไดโนเสาร์...ปรับปรุงบริการ ตอบโจทย์สังคม ปัจจุบัน ...ดึงจุดแข็ง หาพันธมิตรสร้างธุรกิจใหม่ๆ สร้างรายได้จากรถโดยสาร สินค้า และที่ดิน

“นิรุฒ มณีพันธ์” ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. วันที่ 16 เม.ย. 2563 โดยเริ่มเข้าทำงานเป็นทางการ 24 เม.ย. 2563 ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งสภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยเป็นใจ ยิ่งเพิ่มความท้าทายผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ที่เป็นคนนอกในการเข้ามาขับเคลื่อนองค์กร ที่มีภารกิจสำคัญในการคมนาคมขนส่งพื้นฐานของประเทศ แถมยังมีหนี้สินสะสม ประมาณ 1.67 แสนล้านบาท มีปัญหาการบริหารงาน และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย

นิรุฒ มณีพันธ์ ระบุว่า ในช่วง 2 เดือนแรก ได้เดินสายตรวจพื้นที่ ขึ้นขบวนรถทำตัวเป็นผู้โดยสารคนหนึ่งเพื่อสัมผัสกับบริการที่แท้จริง ซึ่งก็ทำให้เห็นภาพว่าจะต้องทำอะไร ต้องแก้ปัญหา ต้องพัฒนารถไฟตรงไหนบ้าง

โดยสิ่งแรกที่ได้เข้าไปเริ่มทำแล้ว คือ แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของพนักงานที่มีสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม โดยเริ่มจัดระเบียบบริเวณบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 นิคมรถไฟมักกะสัน บางซื่อ และจิตรลดา ปัญหานี้อาจมองเป็นเรื่องเล็ก แต่เป็นปัญหาที่มีมายาวนาน แต่เมื่อจะมีการจัดระเบียบ คนรถไฟกลับเห็นด้วยและเป็นแนวร่วม... จึงถือเป็นสัญญาณที่ดี

ขณะที่การจัดระเบียบมีพื้นที่บางส่วนที่กระทบต่อประชาชนที่เข้าไปบุกรุก ซึ่งจะผ่อนปรนตามความเหมาะสม แต่จะไม่ผ่อนปรน 3 เรื่อง คือ 1. ทำให้การเดินรถไม่ปลอดภัย 2. เป็นแหล่งอาชญากรรม 3. มีสิ่งปลูกสร้าง ขวางทางน้ำ

“ก่อนหน้านี้เป็นอย่างไรไม่ทราบ แต่ยุคนี้ยอมไม่ได้”

โดยขณะนี้ได้แก้ปัญหาบริเวณตลาดคลองตันที่ตั้งอยู่บนรางรถไฟ เป็นอันตรายในการเดินรถอย่างมาก เพราะอยู่กลางทาง รถไฟต้องลดความเร็ว ปัญหานี้ยืดเยื้อมานาน แต่ตอนนี้จบแล้ว คิวต่อไปจะแก้ปัญหาตลาดร่มหุบ ซึ่งได้ร่วมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เพราะเป็นตลาดที่เกี่ยวข้องกับวิถีชาวบ้าน..เป็นแลนด์มาร์กของประเทศ แหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ จะต้องหาวิธีสร้างสมดุล ให้คงไว้ โดยมีความปลอดภัย 100% ยืนยันไม่ยกเลิกตลาดร่มหุบ เพราะอยู่ปลายเส้นทาง การแก้ปัญหาจะต่างจากที่ตลาดคลองตัน

และจากวิสัยทัศน์ของการรถไฟฯ “เป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570” ซึ่งขณะนี้เป็นปี 2563 มีเวลาอีก 7 ปี แล้ว...จะทำได้หรือ?

ปัจจุบันรถไฟมีผู้โดยสารจำนวน 35 ล้านคน/ปี แต่เป็นบริการเชิงสังคม (PSO) ซึ่งกำหนดค่าโดยสารต่ำถึง 20 ล้านคน/ปี ส่วนผู้โดยสารเชิงพาณิชย์มีเพียง 10 ล้านคน/ปี แต่มีสัดส่วนรายได้ถึง 90%

ด้านขนส่งสินค้าจะต้องสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ ซึ่งโครงการรถไฟทางคู่ เป็นโอกาสในการเพิ่มรายได้ เนื่องจากสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการเดินรถทั้งโดยสารและสินค้า ซึ่งเป้าหมายจะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าจากปัจจุบัน 11 ล้านตัน/ปี เป็น 38 ล้านตัน/ปี ในปี 2570 หรือมีสัดส่วนการขนส่งสินค้าสินค้าทางราง จาก 2% เป็น 5% ของปริมาณการขนส่งทั้งประเทศ

“ขณะเดียวกัน ธุรกิจที่ดีต้องมีพันธมิตร ซึ่งไม่จำกัดว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือประชาชน ที่ผ่านมาได้หารือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย เพื่อนำจุดแข็งมารวมกันเพื่อสร้างธุรกิจ ขนส่งสินค้าร่วมกันแบบ Door To Door ภายใต้บริบทใหม่เพื่อตอบสนองสังคมปัจจุบันที่การขนส่งพัสดุกล่องมีความสำคัญอย่างมาก และมีกำไรต่อหน่วยมากกว่าการขนส่งทุกแบบ”

ดังนั้น การหารายได้ ต้องคิดใหม่...ทำใหม่ จะรอให้ผู้โดยสารเดินเข้ามาหาเหมือนเดิม ไม่ได้ ...จะรอให้คนเอาสินค้ามาส่งขึ้นรถไฟเหมือนเดิมไม่ได้... และหมดเวลาแล้ว ที่รอให้ประชาชนเดินเข้ามาขอเช่าพื้นที่รถไฟ

ในฐานะที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และมีประสบการณ์จากธนาคาร ที่มีหน้าที่ขายทรัพย์สิน จำนวนมากที่ยึดจากลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระ ซึ่งมีระบบที่ดี สามารถนำมาบริหารจัดการ ในการหาตลาดด้านขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และบริหารจัดการทรัพย์สิน เพื่อเพิ่มรายได้ให้การรถไฟ ฯ

โดยปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจจาก Business to Business (B2B) เป็น Businessto Business to Customer (B2B2C) วางยุทธศาสตร์เป็นผู้ขนส่งระหว่างจังหวัด (Hub to Hub) และใช้จุดแข็งการขนส่งทางรางที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากถนนสู่รางให้มากขึ้น

รถไฟ มีตลาด แต่ไม่เข้มข้นและไม่ชัดเจน ดังนั้น ต้องปรับรูปแบบใหม่ๆ ที่ทันสมัยและสะดวกมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทุกๆ ขั้นตอน เท่าที่จะทำได้

ปั้นที่ดิน เพิ่มศักยภาพ สร้างรายได้เพิ่ม

ร.ฟ.ท.มีที่ดินทั่วประเทศ 234,976 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่ คิดเป็น 80.68% ของที่ดินรวม, พื้นที่บ้านพัก ที่ทำการ 3,755 ไร่ คิดเป็น 1.6%, พื้นที่ย่านสถานี (วางราง) 5,333 ไร่ คิดเป็น 2.27% และพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ใช้เพื่อการเดินรถ 36,302 ไร่ คิดเป็น 15.45% โดยมีพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ทั่วทั้งประเทศ ประมาณ 4 หมื่นกว่าไร่

“นิรุฒ มณีพันธ์” กล่าวว่า ปัจจุบันรถไฟมีรายได้จากการพัฒนาที่ดิน 2,000-3,000 ล้านบาท/ปีเท่านั้น จากที่ดินประมาณ 20,000 ไร่ ถือว่าน้อยมากๆ ตรงนี้ต้องดูว่า รายได้มีรั่วไหลหรือไม่

“ที่ต้องพิจารณา คือ รายได้จากสัญญาต่างๆ เหมาะสมแล้วหรือไม่ ยังมีรายได้รั่วไหลในจุดไหนบ้าง หรือผู้เช่า จ่ายต่อมากี่ทอด ค่าเช่าเข้ารถไฟ หรือไปเข้าที่ใคร เรื่องนี้ต้องบริหารจัดการ ซึ่งยอมรับว่า ต้องอาศัยความกล้ามากๆ ที่จะเข้าไปแก้ไข”

นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินที่อาจเป็นของรถไฟแต่รถไฟไม่เห็นอีก ซึ่งขณะนี้ได้มีการทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบแผนที่ (GIS) และระบบสารสนเทศ (MIS ) เพื่อสำรวจ รังวัดแนวเขตที่ดินของรฟท.ทั่วประเทศ จะทำให้รู้ว่ามีที่ดินตรงไหน มีสัญญาอย่างไร และนำที่ดินนั้นมาคิด พัฒนาและหาลูกค้า

นอกจากนี้ สถานีรถไฟหลายแห่งมีขนาดใหญ่เพราะออกแบบไว้รองรับการเดินทางในอนาคต เช่น สถานีขอนแก่น, เชียงใหม่ แถมตั้งอยู่กลางเมือง ทำให้ที่ดินรอบสถานี มีศักยภาพมากด้วย หากบริหารจัดการในบริบทเดิมๆ ก็คงไม่มีรายได้เพิ่มขึ้น ตรงนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่

และเท่าที่ตรวจสอบยังมีที่ดินอีกหลายแปลงที่กำลังจะหมดสัญญา อาทิ แปลงรัชดา แปลงอาร์ซีเอ จะทยอยหมดสัญญาในปี 2564-2565 เป็นแปลงเล็กแปลงน้อยแต่รวมแล้วมูลค่าค่อนข้างสูง ประเด็นที่ต้องคิดคือ ที่ดินเหล่านี้ยุคหนึ่งเคยเป็นทำเลทอง ...แต่ยุคต่อจากนี้ยังเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ ...

เบรกพัฒนาที่ดินแปลง A รอประเมินตลาด

สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่แปลง A เป็นโครงการนำร่องการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในศูนย์คมนาคมพหลโยธิน มีเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ หลังเปิดประมูลไม่มีเอกชนสนใจ ตอนนี้อยู่ระหว่างการทบทวนแผนการพัฒนา ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันเป็นช่วงที่ยังไม่เหมาะแก่การลงทุน เพราะตอนนี้จึงไม่ได้นำมาอยู่ในแผนเร่งด่วน คิดง่ายๆ เปิดแปลง A ตอนนี้จะหาดีมาร์ทมาจากไหน แต่หลังจากนี้การพัฒนาพื้นที่ต้องมี แต่ต้องดูความเหมาะสมอย่างละเอียดให้ชัดเจนที่สุด

รวมถึงที่ดินแปลงใหญ่กลางเมือง เช่น บางซื่อประมาณ 2,000 ไร่ ที่ดินแม่น้ำเนื้อที่ 277 ไร่ และย่านมักกะสัน ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.จะมีการจัดตั้งบริษัทลูก ด้านบริหารสินทรัพย์ ซึ่งได้เสนอเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีมืออาชีพเข้ามาบริหารจัดการทรัพย์สิน บริหารสัญญาเช่าที่ดินของ ร.ฟ.ท.ให้เกิดประสิทธิภาพ

ปรับหลักสูตร โรงเรียนวิศวกรรม ศูนย์ผลิตบุคลากรระบบรางของประเทศ

นอกจากนี้จะพัฒนายกระดับโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ที่เป็นแหล่งผลิตบุคลากรรถไฟมาเป็นเวลายาวนาน โดยได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟที่มีมาตรฐานโลกเป็นวิทยาลัยวิศวกรรมรถไฟ และยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยในอนาคตแน่นอน โดยการสร้างบุคลากรไม่เฉพาะรองรับกิจการการรถไฟฯ แต่จะรองรับระบบรางทั้งหมดของประเทศ ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้เปรียบสถาบันการศึกษาอื่นที่มีหลักสูตรระบบราง คือ รถไฟมีห้องทดลองที่ใหญ่ที่สุด คือ การเดินรถทั่วประเทศ และมีบุคลากรที่มีความรู้ มีประสบการณ์จำนวนมากที่พร้อมจะถ่ายทอดความรู้ สร้างคนรถไฟที่มีคุณภาพ

“ร.ร.วิศวกรรถไฟ เป็นต้นน้ำในการผลิตคนรถไฟ ที่ผ่านมา มีหลักสูตรแค่อนุปริญญา และช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไม่มีการรับนักเรียนเพราะมีการปรับหลักสูตร ผมจึงเห็นว่าเป็นโอกาสในการปรับในมิติใหม่และมีเป้าหมายที่สูงขึ้น และจะเปิดรับนักเรียนอีกครั้งในปี 2564 แน่นอน”

เดินหน้า “รถไฟทางคู่-ไฮสปีดไทย-จีน” ตามแผนเดิม

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมกว่า 2.73 แสนล้านบาท ขระนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาทนั้น อยู่ในขั้นตอนการเตรียมประกวดราคา ซึ่งจะเดินหน้าโครงการตามแผนงาน เพราะเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ ในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า

รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท คาดว่าสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท จะลงนามในสัญญาได้ประมาณ ต.ค.นี้ โดยขณะนี้อัยการสูงสุดอยู่ระหว่างพิจารณาร่างสัญญา

ยกระดับองค์กร เป็น Smart Organization

เป้าหมายที่จะทำคือ ยกระดับการรถไฟ เป็นองค์กรที่ชาญฉลาด (Smart Organization) ซึ่งคนต้องฉลาดมีประสิทธิภาพ, ขั้นตอนการทำงานต้องเหมาะสม บนบริบทของความเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีขั้นตอนการบริหารจัดการไม่ยุ่งยาก ไม่ซ้ำซ้อน ยกตัวอย่างระบบตั๋ว การซื้อตั๋ว การจ่ายเงิน ทุกอย่างผ่านแอปพลิเคชั่น ลดการใช้เงินสด ลดการรั่วไหล ซึ่งได้หารือกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ในการพัฒนาแอปฯ เพื่อระบบการเช่าที่ดิน ที่มีผู้เช่ากว่า 10,000 ราย จ่ายเงินค่าเช่าผ่านแอป แทนพนักงานรถไฟ เพื่อให้พนักงานเหล่านั้นไปทำงานอื่นๆ ได้ ซึ่งทำไม่ยากเลย และจะเกิดขึ้นแน่นอน

แผนทั้งหมดนี้ ได้นำเสนอและได้รับความเห็นชอบจากบอร์ด ร.ฟ.ท.แล้ว จะเร่งนำไปสู่การปฎิบัติ

ต่อจากนี้จะเห็นการทำงานแบบใหม่ ปรับปรุงขั้นตอนการบริหารจัดการ ลดความซ้ำซ้อน และล่าช้า ภายใต้แนวคิด “ถูกเวลา ถูกต้อง ยั่งยืน”

และหลังจากนี้ รถไฟยุค New Normal “เป็นองค์กรที่ชาญฉลาด” และจะไม่เห็นภาพขององค์กรที่ล้าหลัง... ทุจริต... ไม่มีประสิทธิภาพ สกปรก อีกต่อไป

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2020 8:54 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"นิรุฒ" ชู 3 ยุทธศาตร์ ขับเคลื่อนรถไฟ "เพิ่มความสามารถ-สร้างรายได้-พัฒนาองค์กร" มั่นใจเป็นผู้นำระบบรางที่ดีที่สุดในอาเซียนปี 2570
เศรษฐกิจ
สยามรัฐออนไลน์
วันพฤหัสบดี ที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17:03 น.

“นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.คนใหม่ กับภารกิจ “ปลุกม้าเหล็ก..ฝ่าวิกฤต พลิกฟื้นองค์กร”
เผยแพร่: 6 ก.ค. 2563 07:47 ปรับปรุง: 6 ก.ค. 2563 08:38 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size
นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

รถไฟไทย ถึงการช่าง...ไม่ถึงก็ช่าง! วันนี้...ถึงเวลาปรับตัวครั้งใหญ่ภายใต้การนำของ “นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คนใหม่ ที่วางนโยบาย ภายใต้ยุทธศาสตร์ “พัฒนาคน... เพิ่มรายได้ ยกระดับองค์กร” ดึงรถไฟพ้นจากยุคไดโนเสาร์...ปรับปรุงบริการ ตอบโจทย์สังคม ปัจจุบัน ...ดึงจุดแข็ง หาพันธมิตรสร้างธุรกิจใหม่ๆ สร้างรายได้จากรถโดยสาร สินค้า และที่ดิน

“นิรุฒ มณีพันธ์” ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. วันที่ 16 เม.ย. 2563 โดยเริ่มเข้าทำงานเป็นทางการ 24 เม.ย. 2563 ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งสภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยเป็นใจ ยิ่งเพิ่มความท้าทายผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ที่เป็นคนนอกในการเข้ามาขับเคลื่อนองค์กร ที่มีภารกิจสำคัญในการคมนาคมขนส่งพื้นฐานของประเทศ แถมยังมีหนี้สินสะสม ประมาณ 1.67 แสนล้านบาท มีปัญหาการบริหารงาน และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย

นิรุฒ มณีพันธ์ ระบุว่า ในช่วง 2 เดือนแรก ได้เดินสายตรวจพื้นที่ ขึ้นขบวนรถทำตัวเป็นผู้โดยสารคนหนึ่งเพื่อสัมผัสกับบริการที่แท้จริง ซึ่งก็ทำให้เห็นภาพว่าจะต้องทำอะไร ต้องแก้ปัญหา ต้องพัฒนารถไฟตรงไหนบ้าง

โดยสิ่งแรกที่ได้เข้าไปเริ่มทำแล้ว คือ แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของพนักงานที่มีสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม โดยเริ่มจัดระเบียบบริเวณบ้านพักนิคมรถไฟ กม.11 นิคมรถไฟมักกะสัน บางซื่อ และจิตรลดา ปัญหานี้อาจมองเป็นเรื่องเล็ก แต่เป็นปัญหาที่มีมายาวนาน แต่เมื่อจะมีการจัดระเบียบ คนรถไฟกลับเห็นด้วยและเป็นแนวร่วม... จึงถือเป็นสัญญาณที่ดี

ขณะที่การจัดระเบียบมีพื้นที่บางส่วนที่กระทบต่อประชาชนที่เข้าไปบุกรุก ซึ่งจะผ่อนปรนตามความเหมาะสม แต่จะไม่ผ่อนปรน 3 เรื่อง คือ 1. ทำให้การเดินรถไม่ปลอดภัย 2. เป็นแหล่งอาชญากรรม 3. มีสิ่งปลูกสร้าง ขวางทางน้ำ

“ก่อนหน้านี้เป็นอย่างไรไม่ทราบ แต่ยุคนี้ยอมไม่ได้”

โดยขณะนี้ได้แก้ปัญหาบริเวณตลาดคลองตันที่ตั้งอยู่บนรางรถไฟ เป็นอันตรายในการเดินรถอย่างมาก เพราะอยู่กลางทาง รถไฟต้องลดความเร็ว ปัญหานี้ยืดเยื้อมานาน แต่ตอนนี้จบแล้ว คิวต่อไปจะแก้ปัญหาตลาดร่มหุบ ซึ่งได้ร่วมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เพราะเป็นตลาดที่เกี่ยวข้องกับวิถีชาวบ้าน..เป็นแลนด์มาร์กของประเทศ แหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ จะต้องหาวิธีสร้างสมดุล ให้คงไว้ โดยมีความปลอดภัย 100% ยืนยันไม่ยกเลิกตลาดร่มหุบ เพราะอยู่ปลายเส้นทาง การแก้ปัญหาจะต่างจากที่ตลาดคลองตัน

และจากวิสัยทัศน์ของการรถไฟฯ “เป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570” ซึ่งขณะนี้เป็นปี 2563 มีเวลาอีก 7 ปี แล้ว...จะทำได้หรือ?

ปัจจุบันรถไฟมีผู้โดยสารจำนวน 35 ล้านคน/ปี แต่เป็นบริการเชิงสังคม (PSO) ซึ่งกำหนดค่าโดยสารต่ำถึง 20 ล้านคน/ปี ส่วนผู้โดยสารเชิงพาณิชย์มีเพียง 10 ล้านคน/ปี แต่มีสัดส่วนรายได้ถึง 90%

ด้านขนส่งสินค้าจะต้องสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ ซึ่งโครงการรถไฟทางคู่ เป็นโอกาสในการเพิ่มรายได้ เนื่องจากสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการเดินรถทั้งโดยสารและสินค้า ซึ่งเป้าหมายจะเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าจากปัจจุบัน 11 ล้านตัน/ปี เป็น 38 ล้านตัน/ปี ในปี 2570 หรือมีสัดส่วนการขนส่งสินค้าสินค้าทางราง จาก 2% เป็น 5% ของปริมาณการขนส่งทั้งประเทศ

“ขณะเดียวกัน ธุรกิจที่ดีต้องมีพันธมิตร ซึ่งไม่จำกัดว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือประชาชน ที่ผ่านมาได้หารือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย เพื่อนำจุดแข็งมารวมกันเพื่อสร้างธุรกิจ ขนส่งสินค้าร่วมกันแบบ Door To Door ภายใต้บริบทใหม่เพื่อตอบสนองสังคมปัจจุบันที่การขนส่งพัสดุกล่องมีความสำคัญอย่างมาก และมีกำไรต่อหน่วยมากกว่าการขนส่งทุกแบบ”

ดังนั้น การหารายได้ ต้องคิดใหม่...ทำใหม่ จะรอให้ผู้โดยสารเดินเข้ามาหาเหมือนเดิม ไม่ได้ ...จะรอให้คนเอาสินค้ามาส่งขึ้นรถไฟเหมือนเดิมไม่ได้... และหมดเวลาแล้ว ที่รอให้ประชาชนเดินเข้ามาขอเช่าพื้นที่รถไฟ

ในฐานะที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และมีประสบการณ์จากธนาคาร ที่มีหน้าที่ขายทรัพย์สิน จำนวนมากที่ยึดจากลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระ ซึ่งมีระบบที่ดี สามารถนำมาบริหารจัดการ ในการหาตลาดด้านขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และบริหารจัดการทรัพย์สิน เพื่อเพิ่มรายได้ให้การรถไฟ ฯ

โดยปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจจาก Business to Business (B2B) เป็น Businessto Business to Customer (B2B2C) วางยุทธศาสตร์เป็นผู้ขนส่งระหว่างจังหวัด (Hub to Hub) และใช้จุดแข็งการขนส่งทางรางที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากถนนสู่รางให้มากขึ้น

รถไฟ มีตลาด แต่ไม่เข้มข้นและไม่ชัดเจน ดังนั้น ต้องปรับรูปแบบใหม่ๆ ที่ทันสมัยและสะดวกมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทุกๆ ขั้นตอน เท่าที่จะทำได้

ปั้นที่ดิน เพิ่มศักยภาพ สร้างรายได้เพิ่ม

ร.ฟ.ท.มีที่ดินทั่วประเทศ 234,976 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่ คิดเป็น 80.68% ของที่ดินรวม, พื้นที่บ้านพัก ที่ทำการ 3,755 ไร่ คิดเป็น 1.6%, พื้นที่ย่านสถานี (วางราง) 5,333 ไร่ คิดเป็น 2.27% และพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ใช้เพื่อการเดินรถ 36,302 ไร่ คิดเป็น 15.45% โดยมีพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ทั่วทั้งประเทศ ประมาณ 4 หมื่นกว่าไร่

“นิรุฒ มณีพันธ์” กล่าวว่า ปัจจุบันรถไฟมีรายได้จากการพัฒนาที่ดิน 2,000-3,000 ล้านบาท/ปีเท่านั้น จากที่ดินประมาณ 20,000 ไร่ ถือว่าน้อยมากๆ ตรงนี้ต้องดูว่า รายได้มีรั่วไหลหรือไม่

“ที่ต้องพิจารณา คือ รายได้จากสัญญาต่างๆ เหมาะสมแล้วหรือไม่ ยังมีรายได้รั่วไหลในจุดไหนบ้าง หรือผู้เช่า จ่ายต่อมากี่ทอด ค่าเช่าเข้ารถไฟ หรือไปเข้าที่ใคร เรื่องนี้ต้องบริหารจัดการ ซึ่งยอมรับว่า ต้องอาศัยความกล้ามากๆ ที่จะเข้าไปแก้ไข”

นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินที่อาจเป็นของรถไฟแต่รถไฟไม่เห็นอีก ซึ่งขณะนี้ได้มีการทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบแผนที่ (GIS) และระบบสารสนเทศ (MIS ) เพื่อสำรวจ รังวัดแนวเขตที่ดินของรฟท.ทั่วประเทศ จะทำให้รู้ว่ามีที่ดินตรงไหน มีสัญญาอย่างไร และนำที่ดินนั้นมาคิด พัฒนาและหาลูกค้า

นอกจากนี้ สถานีรถไฟหลายแห่งมีขนาดใหญ่เพราะออกแบบไว้รองรับการเดินทางในอนาคต เช่น สถานีขอนแก่น, เชียงใหม่ แถมตั้งอยู่กลางเมือง ทำให้ที่ดินรอบสถานี มีศักยภาพมากด้วย หากบริหารจัดการในบริบทเดิมๆ ก็คงไม่มีรายได้เพิ่มขึ้น ตรงนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่

และเท่าที่ตรวจสอบยังมีที่ดินอีกหลายแปลงที่กำลังจะหมดสัญญา อาทิ แปลงรัชดา แปลงอาร์ซีเอ จะทยอยหมดสัญญาในปี 2564-2565 เป็นแปลงเล็กแปลงน้อยแต่รวมแล้วมูลค่าค่อนข้างสูง ประเด็นที่ต้องคิดคือ ที่ดินเหล่านี้ยุคหนึ่งเคยเป็นทำเลทอง ...แต่ยุคต่อจากนี้ยังเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ ...

เบรกพัฒนาที่ดินแปลง A รอประเมินตลาด

สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่แปลง A เป็นโครงการนำร่องการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในศูนย์คมนาคมพหลโยธิน มีเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ หลังเปิดประมูลไม่มีเอกชนสนใจ ตอนนี้อยู่ระหว่างการทบทวนแผนการพัฒนา ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันเป็นช่วงที่ยังไม่เหมาะแก่การลงทุน เพราะตอนนี้จึงไม่ได้นำมาอยู่ในแผนเร่งด่วน คิดง่ายๆ เปิดแปลง A ตอนนี้จะหาดีมาร์ทมาจากไหน แต่หลังจากนี้การพัฒนาพื้นที่ต้องมี แต่ต้องดูความเหมาะสมอย่างละเอียดให้ชัดเจนที่สุด

รวมถึงที่ดินแปลงใหญ่กลางเมือง เช่น บางซื่อประมาณ 2,000 ไร่ ที่ดินแม่น้ำเนื้อที่ 277 ไร่ และย่านมักกะสัน ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.จะมีการจัดตั้งบริษัทลูก ด้านบริหารสินทรัพย์ ซึ่งได้เสนอเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีมืออาชีพเข้ามาบริหารจัดการทรัพย์สิน บริหารสัญญาเช่าที่ดินของ ร.ฟ.ท.ให้เกิดประสิทธิภาพ

ปรับหลักสูตร โรงเรียนวิศวกรรม ศูนย์ผลิตบุคลากรระบบรางของประเทศ

นอกจากนี้จะพัฒนายกระดับโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ที่เป็นแหล่งผลิตบุคลากรรถไฟมาเป็นเวลายาวนาน โดยได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟที่มีมาตรฐานโลกเป็นวิทยาลัยวิศวกรรมรถไฟ และยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยในอนาคตแน่นอน โดยการสร้างบุคลากรไม่เฉพาะรองรับกิจการการรถไฟฯ แต่จะรองรับระบบรางทั้งหมดของประเทศ ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้เปรียบสถาบันการศึกษาอื่นที่มีหลักสูตรระบบราง คือ รถไฟมีห้องทดลองที่ใหญ่ที่สุด คือ การเดินรถทั่วประเทศ และมีบุคลากรที่มีความรู้ มีประสบการณ์จำนวนมากที่พร้อมจะถ่ายทอดความรู้ สร้างคนรถไฟที่มีคุณภาพ

“ร.ร.วิศวกรรถไฟ เป็นต้นน้ำในการผลิตคนรถไฟ ที่ผ่านมา มีหลักสูตรแค่อนุปริญญา และช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไม่มีการรับนักเรียนเพราะมีการปรับหลักสูตร ผมจึงเห็นว่าเป็นโอกาสในการปรับในมิติใหม่และมีเป้าหมายที่สูงขึ้น และจะเปิดรับนักเรียนอีกครั้งในปี 2564 แน่นอน”

เดินหน้า “รถไฟทางคู่-ไฮสปีดไทย-จีน” ตามแผนเดิม

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมกว่า 2.73 แสนล้านบาท ขระนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาทนั้น อยู่ในขั้นตอนการเตรียมประกวดราคา ซึ่งจะเดินหน้าโครงการตามแผนงาน เพราะเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ ในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า

รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท คาดว่าสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท จะลงนามในสัญญาได้ประมาณ ต.ค.นี้ โดยขณะนี้อัยการสูงสุดอยู่ระหว่างพิจารณาร่างสัญญา

ยกระดับองค์กร เป็น Smart Organization

เป้าหมายที่จะทำคือ ยกระดับการรถไฟ เป็นองค์กรที่ชาญฉลาด (Smart Organization) ซึ่งคนต้องฉลาดมีประสิทธิภาพ, ขั้นตอนการทำงานต้องเหมาะสม บนบริบทของความเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีขั้นตอนการบริหารจัดการไม่ยุ่งยาก ไม่ซ้ำซ้อน ยกตัวอย่างระบบตั๋ว การซื้อตั๋ว การจ่ายเงิน ทุกอย่างผ่านแอปพลิเคชั่น ลดการใช้เงินสด ลดการรั่วไหล ซึ่งได้หารือกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ในการพัฒนาแอปฯ เพื่อระบบการเช่าที่ดิน ที่มีผู้เช่ากว่า 10,000 ราย จ่ายเงินค่าเช่าผ่านแอป แทนพนักงานรถไฟ เพื่อให้พนักงานเหล่านั้นไปทำงานอื่นๆ ได้ ซึ่งทำไม่ยากเลย และจะเกิดขึ้นแน่นอน

แผนทั้งหมดนี้ ได้นำเสนอและได้รับความเห็นชอบจากบอร์ด ร.ฟ.ท.แล้ว จะเร่งนำไปสู่การปฎิบัติ

ต่อจากนี้จะเห็นการทำงานแบบใหม่ ปรับปรุงขั้นตอนการบริหารจัดการ ลดความซ้ำซ้อน และล่าช้า ภายใต้แนวคิด “ถูกเวลา ถูกต้อง ยั่งยืน”

และหลังจากนี้ รถไฟยุค New Normal “เป็นองค์กรที่ชาญฉลาด” และจะไม่เห็นภาพขององค์กรที่ล้าหลัง... ทุจริต... ไม่มีประสิทธิภาพ สกปรก อีกต่อไป

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 370, 371, 372 ... 486, 487, 488  Next
Page 371 of 488

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©