View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43656
Location: NECTEC
|
Posted: 27/09/2020 6:02 am Post subject: |
|
|
มทร.อีสาน ว.ขอนแก่น ได้งบทดลองสร้างรถไฟฟ้ารางเบา ทั้ง ตู้โดยสาร ระบบราง ฯลฯ เราสร้างเองได้ ไม่ต้องซื้อต่างชาติ หากทดลองสำเร็จ จะนำไปวิ่งริมบึงแก่นนครเป็นขบวนแรกของคนขอนแก่น
...
ดร.ศุภฤกษ์ ชามงคลประดิษฐ์
รองคณบดีคณะวิศวกรรมฯ มทร.อีสาน ว.ขอนแก่น
กล่าวในเวที "รวมพลคนสมาร์ท" วันที่ 25 ก.ย. 63
https://www.facebook.com/esanbiz/posts/5246418218717627 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43656
Location: NECTEC
|
Posted: 17/11/2020 11:38 am Post subject: |
|
|
"ความคืบหน้ารถไฟรางเบา (TRAM) เส้นทางรอบบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น"
Thai PBS ศูนย์ข่าวภาคอีสาน
วันจันทร์ ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16.43 น.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เปิดการเรียนรู้และปฏิบัติการวิศวกรรมระบบราง ในโครงการค่ายวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง มทร.อีสาน ครั้งที่ 1 สำรวจเส้นทางรถไฟรางเบารอบบึงแก่นนคร (TRAM) โดยมี อ.ปริญ นาชัยสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ นายกสมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย (วศรท.) อ.ณรงค์ สีหาจ่อง ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมระบบขนส่งทางราง คณาจารย์ และนักวิจัยวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง ทั้งสาขาวิชาเครื่องกล ไฟฟ้า โยธา และครุศาสตร์อุตสาหกรรม นำนักศึกษาเรียนรู้วางแผนการทำงาน และการแก้ปัญหา ก่อนออกสำรวจและวัดระดับพื้นผิวจราจร เพื่อการวางแผนโครงการฯ วิ่งรอบบึงแก่นนคร ในระยะทาง 4 กิโลเมตร ร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่นต่อไป #รถไฟรางเบา #TRAM #ขอนแก่น #ThaiPBSศูนย์ข่าวภาคอีสาน
Note: หวังว่าคงไม่ใช่ราคาคุยนะครับ
https://www.facebook.com/ThaiPBSEsan/posts/1327435934264012 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43656
Location: NECTEC
|
Posted: 17/12/2020 11:07 am Post subject: |
|
|
เปิด 6 โปรเจค!!แผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รถไฟฟ้าLTRรอบบึงแก่นนคร
ขอนแก่น, อีสานมอนิเตอร์
อีสานบิซ
วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10.22 น.
15 ธันวาคม 2563 นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จับมือนักวิจัยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำเสนอนิทรรศการ โครงการ รางสร้างเมือง -รางสร้างไทย การพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยการพัฒนาขนส่งมวลชนระบบราง : กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้า เซนทรัลพล่าซ่า ขอนแก่น โอกาสนี้ได้รับเกียรติ จากนายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเป็นประธานกล่าวเปิดนิทรรศการและเวทีเสวนา รางสร้างเมือง -รางสร้างไทย
สำหรับโครงการรางสร้างเมือง รางสร้างไทย (การศึกษา) การพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยการพัฒนาขนส่งมวลชนระบบราง : กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบบึงแก่นนคร คือโครงการที่ออกแบบแผนธุรกิจด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชุมชน กิจกรรมเชิงพาณิชย์และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกโดยรอบพื้นที่สวนสาธารณะบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 6 โครงการ ได้แก่
1.โครงการชิงช้าสวรรค์ขอนแก่นวีล
2.โครงการแก่นนครสแควร์
3.โครงการเมืองเก่าขอนแก่น
4.โครงการโซลาฟาร์มลอยน้ำ
5.โครงการตลาดเกษตรอินทรีย์แก่นนคร และ
6.โครงการศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรางขอนแก่น โดยจะเชื่อมต่อด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (รถแทรม) ระยะทาง 4.4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นรถแทรมที่ได้รับมอบจากเมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาศึกษาและทดลองวิ่ง เพื่อเป็นการศึกษาระบบราง โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( สกสว.) ได้มีการดำเนินการ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึง เดือน พฤศจิกายน 2563
บ่ได้ฝันอีหลีเด้อ ขอนแก่นเปิดแบบรถไฟฟ้ารางเบา ทดลองวิ่งรอบบึงแก่นนคร 11 สถานี (รอบบึงแก่นนคร 10 สถานี เชื่อมวัดศรีนวล 1 สถานี) หวังเป็นแหล่งเรียนรู้พัฒนาอุตสาหกรรมระบบราง
ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดขอนแก่น เมื่อดำเนินการศึกษาและวิจัยสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จึงได้จัดกิจกรรม แทรมน้อย รางสร้างเมือง รางสร้างไทยในครั้งนี้ขึ้น เพื่อนำผลการวิจัยมาสรุปออกสู่สาธารณชน ภายในงานได้มีการจัดเวทีเสวนา จัดนิทรรศการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชน โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถนำเสนอความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยใช้ระบบรางเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและวิถีการเดินทางของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง ไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ อีกทั้งยังส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ นำเสนอวิถีชุมชนและไม่ลืมที่จะรักษาคุณค่าของประวัติศาสตร์ ถิ่นกำเนิดรากเหง้าเมืองแห่งอารยะ การศึกษา วัฒนธรรม ให้สอดรับกับการนำระบบรางมาช่วยสร้างเมือง และสร้างไทยในอนาคตอย่างยั่งยืนต่อไป
บรรยากาศการจัดงานได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนคนขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมชมนิทรรศการและรับฟังการเสวนา อย่างคับคั่ง ทั้งนี้ผลการศึกษาวิจัย ครั้งนี้ จะส่งมอบให้ สกสว.เพื่อเป็นข้อมูลกำหนดแผนบูรณาการในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ ซึ่งจังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดนำร่อง เมือง Smart City |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43656
Location: NECTEC
|
Posted: 25/12/2020 8:02 pm Post subject: |
|
|
25 ธ.ค 63 มทร.อีสานวิทยาเขตขอนแก่น ให้การต้อนรับท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายดอน ปรมัตต์วินัย พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ในโอกาสเดินทางมาตรวจราชการ โครงการร้อยแก่นสารสินธ์ุ Railway Innopolis ซึ่งเป็นโครงการที่ทางมหาวิทยาลัยเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนให้กลุ่มจังหวัดอีสานตอนกลางเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางของประเทศครับผม
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3671621919551393 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43656
Location: NECTEC
|
Posted: 03/03/2021 9:40 pm Post subject: |
|
|
#แทรมน้อย เมืองขอนแก่น ใช้เป็นครูใหญ่เพื่อสอนนักศึกษา ซ่อมบำรุงจากของจริง
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure is feeling excited.
3 มีนาคม 2564 เวลา 21:28น.
จุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการพึ่งพาตนเอง ของระบบรางในประเทศ ในอนาคตจะมาทดสอบวิ่งจริงในมหาวิทยาลัย
วันนี้เอาความคืบหน้าของ แทรมน้อยเมืองขอนแก่น ที่ก่อนหน้านี้ได้รับมาจาก เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งรับมาจากญี่ปุ่น เมื่อปี 62 ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/631658533939296/?d=n
รายละเอียดรถรางที่ได้รับมา
รุ่น Hiroden 900 Series
จำนวนผู้โดยสาร 36 คน
ระบบขับเคลื่อนโดยใช้ไฟฟ้า
ความกว้างรางขนาดมาตรฐาน 1.435 ม.
หลังจากนั้นทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
ได้ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และเป็นศูนย์ศึกษาส่วนประกอบ เพื่อทำการพัฒนาชิ้นส่วนของอุตสาหกรรมระบบรางภายในประเทศ ตามนโยบาย Local Content ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1097503517354793/?d=n
แล้วเมื่อวานนี้ได้มีการเรียนการสอนในห้องทดลองระบบรางและต้นแบบตัวรถแทรมขนาดเท่าของจริง (Railway System Laboratory and Full-Size Tram Prototype Project)
โดย อาจารย์เขมวัตร อินทรวิเศษ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลระบบราง ที่ผ่านการฝึกอบรมการซ่อมบำรุงรถแทรม Hiroden ที่ประเทศญี่ปุ่น
ให้กับนักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลระบบราง ชั้นปีที่ 2 ในวิชา การบํารุงรักษาล้อเลื่อนรถไฟซึ่งจะมีการเรียนรู้กับของจริงในรายละเอียดได้แก่
- ขั้นตอนการยกตัวรถด้วยลิฟล์ 4 เสา
- ขั้นตอนการถอดแคร่รถไฟออกจากตัวรถ
- การถอดและตรวจเช็คระบบเบรค
- ระบบรองรับน้ำหนัก
- การตรวจสอบการสึกหรอของล้อรถไฟ
ซึ่งน้องๆนักศึกษาจะเป็นอีกกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของไทยในอนาคต เพื่อจะพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต
โดยในอนาคต จะมีรางทดสอบ (Test Track) จากศูนย์ซ่อมบำรุง มาถึงหน้าประตูมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะทำเป็นพื้นที่ทดสอบอุปกรณ์จากการใช้งานจริง ตามโพสต์เก่า
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/838649156573565/?d=n
แต่มากกว่านั้นคือ ทางมหาวิทยาลัยราชมงคล อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และเมืองขอนแก่น มีโครงการทำรถรางรอบบึงแก่นนคร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาเมือง
โครงการวิจัย "รางสร้างเมือง - รางสร้างไทย การพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยการพัฒนา - ขนส่งมวลชนระบบราง : กรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบบึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น" โดยนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายละเอียดโครงการจากลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/664413493692824/posts/2129552710512221/?d=n
https://fb.watch/2tGIxcgcmj/
ขอบคุณภาพจากอาจารย์ปริญ และ อาจารย์ณรงค์ คณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
น้องๆที่สนใจอยากเรียนทางด้าน ระบบราง ลองเข้าไปศึกษารายละเอียดการรับสมัครได้นะครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43656
Location: NECTEC
|
Posted: 18/03/2021 9:34 pm Post subject: |
|
|
เอกชนร่วมนักวิจัย พัฒนาระบบราง ยกระดับรถไฟฟ้ารางเบา ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ ขยายเศรษฐกิจฐานชุมชน
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ-บพข.
17 มีนาคม 2564 เวลา 07:32 น.
A.ระบบรถไฟฟ้ารางเบา คืออะไร ต่างจากรถไฟฟ้าที่มีอยู่ในประเทศตอนนี้ยังไง
.
Q.ระบบรถไฟฟ้าในโลก แบ่งออกเป็น 5 ส่วน
1. รถไฟฟ้ารางเบา (LRT)เป็นระบบรถไฟฟ้าที่ไม่ใหญ่มาก ลักษณะเด่นคือ สามารถวิ่งบนผิวจราจรร่วมกับรถยนต์ได้ เหมือนกับในยุโรป ญี่ปุ่น ที่วิ่งบนถนน ติดไฟแดงร่วมกับรถยนต์ ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.
2. เมโทร หรือ subway หรือ Heavy rail เป็นรถไฟฟ้าที่ใหญ่ขึ้น บรรทุกผู้โดยสารได้เยอะขึ้น ใช้ขนส่งมวลชนในเมืองหลักที่มีจำนวนเที่ยวค่อนข้างถี่ เป็นลักษณะของ BTS MRT
3. Intercity train รถไฟฟ้าระหว่างเมือง เช่น airport link หรือรถไฟฟ้าสายสีแดงที่เชื่อมระหว่างเมืองออกมาชานเมือง จะบรรทุกผู้โดยสารได้มาก และมีความเร็วมากขึ้น
4. Commuter train คล้ายกับอินเตอร์ วิ่งระหว่างเมืองต่อเมือง ยังไม่มีในประเทศไทย
5. High Speed Train เป็นรถที่วิ่งระหว่างภูมิภาค มีความเร็วสูง พวก shinkansen ญีปุ่น CRH ของจีน TGV ของฝรั่งเศส และยังแยกได้อีกหลายประเภท ถ้าเป็นระบบรางเก่าก็จะวิ่ง 200 กม./ชม.ขึ้นไป ถ้าระบบรางใหม่จะมากกว่า 250 กม./ชม.
A.ทำไมให้ความสำคัญกับระบบราง
Q.เริ่มต้นมาจากยุทธศาสตร์ชาติที่จะมีนโยบายเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บวกกับเส้นทางรถไฟไทย-จีนที่จะวิ่งผ่านภาคอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์พอดี ท่านอธิการบดีรับนโยบายมาจากภาครัฐให้พัฒนา ผลิตบุคลากรเพื่อป้อนให้กับสายรถไฟที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ เพราะฉะนั้นนโยบายมหาวิทยาลัยจึงสะท้อนออกมาในด้านนี้
.
โดย การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศไทย : เพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมการทำงานยุทธศาสตร์ของจังหวัดขอนแก่น ที่มีนโยบายเรื่อง Smart City ซึ่งมีโครงการรถไฟฟ้ารางเบารวมอยู่ด้วย โดยโครงการนี้มีแผนที่จะให้ภาคเอกชนผลิตตัวรถที่จะป้อนให้กับโครงการ (บริษัทเชาว์ทวี) แต่ยังขาดองค์ความรู้ทางด้านการออกแบบ สิ่งที่จะมาเติมเต็มได้คืออาจารย์จากฝั่งมหาวิทยาลัย องค์ความรู้ที่ได้ไปเรียนมาจากต่างประเทศ ก็เอามาบูรณาการร่วมกัน เพื่อที่จะออกแบบรถไฟฟ้ารางเบาให้กับภาคเอกชนไปผลิต และสามารถต่อยอดผลิตขายในเชิงพาณิชย์ได้ กลายเป็นองค์ประกอบที่ลงตัวค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะการออกแบบรถไฟฟ้าจะใช้ผู้เชี่ยวชาญจากหลายศาสตร์ร่วมกัน ทั้งวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา ร่วมกันออกแบบ
.
.
Q.ทำไมจึงเลือกรถไฟฟ้ารางเบาสำหรับระบบขนส่งในขอนแก่น
.
A.ขอนแก่นเป็นเมืองรองของประเทศ ระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมควรจะเป็นอะไรที่มีต้นทุนการก่อสร้างไม่สูงมาก อย่าง LRT ต้นทุนจะไม่สูงมากเท่ากับ BTS MRT มีงบประมาณก่อสร้างไม่สูงมากเนื่องจากสามารถวิ่งบนผิวจราจรได้ แค่เปิดผิวจราจร เอารางวาง แล้วก็เทคอนกรีตกลับไปเหมือนเดิม ไม่ต้องมีการขึ้นโครงสร้างเสา ทำให้งบก่อสร้างถูกมาก ขอนแก่นมีโครงการรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น ที่กำลังขับเคลื่อนกันอยู่ โดยบริษัท KKTT เป็นภาคเอกชนที่จัดตั้งโดยเทศบาลทั้ง 5 ของจังหวัด ตั้งขึ้นมาเพื่อเดินรถของจังหวัดขอนแก่น KKTT จะซื้อรถจากต่างประเทศก่อน (เฟสแรก) บางส่วนจะผลิต (สำหรับเฟสถัดไป) เน้นเรื่องชิ้นส่วนการผลิตที่ผลิตในไทย และจะทำให้ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับต่างประเทศ พอโครงการรถไฟฟ้ารางเบาขึ้น รถต้นแบบของเราจะใช้ไปวิ่งในราง ระยะทาง 26 กม. จากสถานีสำราญ ไปถึง สถานีท่าพระ วิ่งตามแนวถนนมิตรภาพ
.
นี่เป็นโครงการยุทธศาสตร์จังหวัดซึ่งมีแผนจะสร้างรถไฟฟ้ารางเบาอยู่แล้ว มีแผนที่จะเสร็จปี 2565 จังหวะนั้นโครงการของขอนแก่นน่าจะเริ่มก่อสร้าง จะเป็นรูปเป็นร่าง พอเสร็จโครงการนี้ บริษัทเชาว์ทวี ที่เป็นผู้ร่วมทุนวิจัยหลักของโครงการ จะนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยตรงนี้ มีฐานข้อมูลชิ้นส่วนจะเอาไปพัฒนาต่อยอด ผลิตใช้จริงในจังหวัดขอนแก่น บ.เชาว์ทวี จะผลิตและส่งรถให้ KKTT ต่อไป
.
Q.เปรียบเทียบราคาวัสดุ ถ้านำเข้าจากต่างประเทศ กับผลิตในไทย
.
A.เราเริ่มตั้งแต่กระบวนการ R&D ผู้วิจัยจะออกแบบชิ้นส่วน 3D ทั้งหมดเลย พอออกแบบเสร็จจะประชุมร่วมกับภาคเอกชนว่า ออกแบบแล้วผลิตได้มั้ย ติดขัดในกระบวนการผลิตหรือไม่ วัตถุดิบมีมั้ย แม่พิมพ์แบบนี้ทำได้มั้ย ในเชิงวิศวกรรมต้องมีการคุยกันระหว่างผู้ออกแบบกับผู้ผลิต สิ่งนี้คือสิ่งที่เติมเต็มซึ่งกันและกัน อาจารย์จะมีความรู้ด้านการออกแบบ ภาคเอกชนสายการผลิตเข้มแข็ง เราเอาสองสิ่งมารวมกัน
.
ถ้าเราซื้อรถจากต่างประเทศ (finish goods) เฉพาะตัวรถ 90 ล้านบาท (1 ขบวน= 2 ตู้) ถ้าผลิตในไทย จะมีราคาขายที่ประมาณ 70 ล้านบาท ส่วนหนึ่งคือราคาลดลง อีกส่วนที่เป็นประโยชน์มากที่สุดคือ Supply Chain ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ในประเทศ ถ้าซื้อจากต่างประเทศ เราเอาเงินไปให้ได้รถมา แต่อุตสาหกรรมไม่เกิด ถ้าเป็นการผลิตในประเทศ เชาว์ทวีขายรถให้ KKTT ในราคาเท่านี้ แต่เชาว์ทวีต้องซื้ออะไหล่ภายในประเทศ เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบ Supply Chain การผลิตรถไฟ เกิดขึ้นในประเทศทันที ม ผู้ซื้อในประเทศ ซื้อจากคนผลิตในประเทศ ผู้ผลิต ผู้ประกอบรถจะต้องซื้อชิ้นส่วนที่ผลิตจากชิ้นส่วนย่อย ๆ ในประเทศ เกิด supply chain การผลิตรถไฟฟ้ารางเบาในประเทศทันที เป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดจากโครงการวิจัย
.
Q.ผลกระทบที่สร้างให้เกิดขึ้นกับประเทศคืออะไร
.
A.สิ่งที่ตอบโจทย์ภาครัฐมากที่สุดคือ ประเทศไทยจะลดการเสียดุลทางด้านการนำเข้า ถ้าเราซื้ออย่างเดียว เราขาดดุลด้านเทคโนโลยี แต่ถ้าเราออกแบบผลิตใช้เอง เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น จากภาคเอกชนเพิ่มขึ้น เกิด supply chain ทั้งชิ้นส่วน การจ้างงาน สังคม แรงงานไม่ต้องไปทำงานที่กรุงเทพก็ได้ ได้ทำงานในพื้นที่ เป็นสิ่งที่ดี ลูกหลานที่เรียนจบก็ทำงานแถวบ้าน เกิดผลด้านสังคมตามมา มีการจ้างงานเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมด้านนี้ ปัจจุบันอุตสาหกรรมหลักด้านนี้จะอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ลูกหลานที่จบก็ต้องลงไปทำงาน ตั้งถิ่นฐานที่โน่น เกิดความแออัด ถ้าเกิดว่าอุตสาหกรรมขยายออกมา จะช่วยลดความหนาแน่นของประชากรในกรุงเทพได้อีกด้วย ถ้าเกิดแบบนี้ในอีกหลายจังหวัดจะเกิดการขยายตัวทางอุตสาหกรรม เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น เป็น Impact ที่มีผลดีต่อประเทศ
.
.
ถอดความจากบทสัมภาษณ์ : ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ หัวหน้าสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43656
Location: NECTEC
|
Posted: 29/04/2021 11:28 pm Post subject: |
|
|
เริ่มแล้ว!! ต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น
Khon Kaen Talk
วันที่ 29 เมษายน 2564 - 18:44 น.
ความคืบหน้า การผลิตและประกอบชิ้นส่วนโครงสร้างตัวถัง (Car Body) สำหรับรถไฟฟ้ารางเบา ซึ่งเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศไทย เพื่อต่อยอดสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม
.
ในความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทพันธมิตร ซึ่งนับเป็นที่แรกในประเทศไทย สำหรับการผลิตรถไฟฟ้ารางเบา โดยการผลิตได้ใช้ทีมงานที่มีความรู้ ความสามารถภายในบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ที่ตั้งในจังหวัดขอนแก่น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43656
Location: NECTEC
|
Posted: 14/07/2021 11:05 pm Post subject: |
|
|
14 ก.ค.64. Update ความคืบหน้างานสร้างชิ้นส่วนต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทย ที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทพันธมิตร ร่วมกันผลิตชิ้นส่วน จากแผนการทำงานประมาณเดือนมกราคม 2565 จะประกอบขบวนรถไฟฟ้ารางเบา ขบวนต้นแบบนี้แล้วเสร็จครับผม
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4237245296322383 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43656
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43656
Location: NECTEC
|
Posted: 16/11/2021 11:34 am Post subject: |
|
|
#ขอนแก่นปังต่อ!! เตรียมลงนามก่อสร้าง รถไฟฟ้า LRT 16 พฤศจิกายน 2564 นี้
อีสานโกรนอัพ
13 พฤศจิกายน 2564
วันศุกร์ที 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 เวลา 14.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น พร้อมด้วย นายธวัชชัย รื่นรมย์สิริ รองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ให้การต้อนรับ นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน), Mr.Sven Gaber กรรมการบริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน), Mr.Liu Tong ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดระหว่างประเทศ บริษัท CRRC , Mr. Wang Chi ผู้ช่วยฝ่ายการตลาด บริษัท CRRC, Mr.Kai Tai Francis Wu ที่ปรึกษาบริษัท CRRC, พลตรีชาติชาย ประดิษพงษ์ ประธานกรรมการบริหารและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการบริษัท ขอนแก่น ทรานชิท ชิสเต็ม จำกัด, คุณโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ ที่ปรึกษาบริษัท ขอนแก่น ทรานชิท ชิสเต็ม จำกัด, พลเอกสมนึก เอนกวัฒน์ ที่ปรึกษาบริษัท ขอนแก่น ทรานชิท ชิสเต็ม จำกัด ในโอกาสเข้าพบนายกเทศมนตรีนครขอนแก่นเพื่อเชิญร่วมพิธีแถลงข่าวการลงนามบันทึกข้อตกลงงานโครงการก่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น เส้นทางนำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ)
สืบเนื่องจาก บริษัท ขอนแก่น ทรานชิท ชิสเต็ม จำกัด ผู้ดำเนินโครงการและบริหารจัดการโครงการก่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น เส้นทางนำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) ได้กำหนดจัดพิธีแถลงข่าวการลงนามบันทึกข้อตกลง งานโครงการก่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น เส้นทางนำร่องสายสีแดง (สำราญ-ท่าพระ) ร่วมกับ CKKM-CRRC CONSORTIUM สำหรับงานจ้างเหมาออกแบบและก่อสร้างงานโยธาและโครงสร้างพร้อมทั้งผลิตและติดตั้ง (งานโครงการ KK-1) โดยนายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ได้รับเกียรติกล่าวรายงานในพิธีแถลงข่าวการลงนามบันทึกข้อตกลง (Memorandum of Agreement) ระหว่าง KKTS กับ CKKM-CRRC CONSORTIUM ในวันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น. ณ ห้องออคิด บอลรูม 1 โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด สำหรับรายละเอียดทางเทศบาลนครขอนแก่นจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นลำดับต่อไป
https://www.facebook.com/esanbiz/posts/7315228681836560 |
|
Back to top |
|
|
|