View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 27/03/2024 11:15 am Post subject:
2 ผู้เช่า ไม่ยอมย้ายออก รฟท.ต้องชะลอปรับพื้นที่สร้างอาคารสถานีใหม่ ไฮสปีดโคราช
กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอคืนพื้นที่อาคารพาณิชย์ 35 คูหา ด้านทิศตะวันตกสถานีรถไฟนครราชสีมา ริม ถ.มุขมนตรี ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนมารีย์วิทยา เขตเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทาง 251.9 กม. สัญญาที่ 3-5 งานโยธา ช่วงสถานีโคกรวด-สถานีนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ดินของ รฟท. และมีเอกชนมาเช่าช่วงก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ แต่ผู้เช่าส่วนหนึ่ง อ้างอยู่อาศัยกว่า 35 ปี ไม่ยอมย้ายออกและพยายามเจรจาต่อรองขอค่าขนย้าย
.
ต่อมา รฟท. ได้กำชับเข้มนำป้ายประกาศไปติดหน้าอาคารที่มีข้อพิพาท ระบุ รฟท.ได้ทำหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าลงวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ขอแจ้งให้ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของผู้ให้เช่าและให้ส่งมอบพื้นที่คืนในสภาพเรียบร้อย ภายในวันที่ 5 มีนาคม 2567 หากไม่ดำเนินการ จะใช้สิทธิดำเนินการฟ้องขับไล่เรียกค่าเสียหายต่อไป รวมทั้งนำแบริเออร์ไปปิดกั้นด้านหน้า ปรากฏก่อนครบเงื่อนเวลาผู้เช่าที่ดื้อแพ่ง ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกก่อนครบเงื่อนเวลา เหลือผู้เช่า 2 ราย ไม่ยอมออก ช่วงกลางวันยังประกอบการค้าตามปกติ
.
ความคืบหน้าล่าสุด บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้าง พบปัญหาอุปสรรคไม่สามารถนำเครื่องจักรกลเข้าไปปรับพื้นที่ได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นแนวเขตก่อสร้างสถานีรถไฟความสูง 3 ชั้น ให้บริการรถไฟความเร็วสูงและทางคู่ จึงต้องชะลอการรื้อถอน ส่วนพนักงาน รฟท. ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในอาคารสถานีรถไฟประวัติศาสตร์ ได้เคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์มาไว้อาคารชั่วคราวด้านข้างรวมทั้งผู้รับจ้างได้เริ่มทยอยย้ายอาณัติสัญญาณของรถไฟทางคู่เดิมมาติดตั้งที่ตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งเป็นสำนักงานชั่วคราว เพื่อเตรียมรื้อถอนอาคารสถานีเก่าอายุกว่า 80 ปี ในเร็วๆนี้
.
นายจรัล ทองกระจ่าง พนักงานบริหารงานทั่วไป 8 รฟท. พร้อมเอกชนผู้รับจ้างได้ลงพื้นที่ชุมชนป่าไม้-191 เพื่อรื้อบ้านพักในแนวเขตรถไฟทางคู่ เส้นทางเข้าสู่สถานีชุมทางถนนจิระ เพื่อวางตอม่อรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 โดยมีนายสุวกฤต รังสิโรจน์ ประธานชุมชนดังกล่าว พร้อมนายสหพล กาญจนเวนิช กรรมการหอการค้านครราชสีมา ฐานะผู้ประสานงานผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 64 แปลง 30 ไร่ ซึ่งมีเอกสิทธิที่ดิน หรือโฉนด และได้ข้อยุติการจ่ายค่าชดเชยที่ดินเพื่อพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและทางคู่ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
.
ส่วนบริเวณทางข้ามรถไฟ ถ.สืบศิริ และช่วงผ่านสะพานโรงแรมสีมาธานี ผู้รับจ้างได้ขุดหลุมวางตอม่อคานทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงยกระดับความสูง 14 เมตร ตั้งแต่สถานีโคกกรวด-สถานีนครราชสีมา รวมทั้งปิดเส้นทาง 3 จุด คือ 1.ถนนเบี่ยงใต้สะพานสีมาธานี 2.ถนนสืบศิริ 6 และ 3.ทางแยกถนนสิบศิริ
https://www.facebook.com/KoratForumSkyscrapercity/posts/721114016852133
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 28/03/2024 12:05 am Post subject:
ถไฟความเร็วสูงhsr3-1ช่วงแก่งคอย ถึง กลางดงและปางอโศก ถึง บันไดม้า
27 มี.ค. 67 16:07
·
วีดิทัศน์ความก้าวหน้างาน ประจำเดือนกุมภาพันธ์ (26 ก.พ. 67 ถึง 25 มี.ค. 67)
https://fb.watch/r42QJmExXf/
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 29/03/2024 8:33 am Post subject:
ไฮสปีด 3 สนามบินอยู่ในมือของ CP | THANTALK | 26 มี.ค. 67
ฐานเศรษฐกิจ
Mar 26, 2024
ไฮสปีด 3 สนามบิน ชี้ รฟท. อีอีซี ซีพี "เจรจายังไม่ยุติ เหตุ ส่งมอบหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) ล่าช้าแนะ การเจรจาต้องจบ เอกชนควรส่งเอกสาร หลักฐานให้ BOI อนุมัติ ก่อน ช่วงขยายเวลานัดสุดท้ายวันที่ 22 พ.ค.นี้
https://www.youtube.com/watch?v=nPZlqrFC1eM
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 29/03/2024 1:14 pm Post subject:
25 มีนาคม 67 อัปเดตทางรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ช่วง นครราชสีมา-สูงเนิน-สีคิ้ว
รถไฟไทย Train Thailand Speed
Mar 29, 2024
https://www.youtube.com/watch?v=m1YVmQVV_F4
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 29/03/2024 9:10 pm Post subject:
จากการลงพื้นที่สำรวจอาคาร 32 ห้องบริเวณ 5แยกหัวรถไฟ พบว่าอาคารดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของผู้เช่า หากการรถไฟต้องการเรียกคืนพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ ทางผู้เช่าจะต้องทำการขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากพื้นที่ รวมถึงตัวอาคารสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวด้วย เบื้องต้นทางฝ่ายกฎหมายการรถไฟฯ ได้รวบรวมข้อมูลและเข้าพบผู้เช่าที่เหลืออยู่และแจ้งให้ขนย้ายทรัพย์สินดังกล่าวออกจากพื้นที่แล้ว หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=399728796098891&id=100081853208848
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 30/03/2024 7:27 am Post subject:
กพท.รับไฮสปีดอีอีซีล่าช้า
Source - ไทยโพสต์
Saturday, March 30, 2024 06:36
ฉุดสร้างอู่ตะเภาดีเลย์/ทร.ฟุ้งเอกชนแห่ซื้อซอง30ราย
ชลบุรี * กพท.รับ "รถไฟเชื่อมสามสนามบิน" กระทบแผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา-เมืองการบิน หลังยังไร้ข้อยุติจุดเชื่อมต่อสถานีกับเทอร์มินัลใหม่ จี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหา ด้าน UTA เชื่อโครงการเกิดขึ้นแน่นอน ส่วน "กองทัพเรือ" ฟุ้ง 30 รายแห่ซื้อซอง ภายในปี 67 ได้ผู้รับเหมา
นายสุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพล เรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยภายในงานเสวนา "เช็กความพร้อมอุตสาหกรรมการบิน รองรับการบินใหม่ในอนาคต" ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งยอมรับตอน นี้โครงการมีความล่าช้า เนื่อง จากติดปัญหาความชัดเจนและข้อสรุปในการก่อสร้างโครง การรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณ ภูมิ-อู่ตะเภา) ส่งผลให้บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีอู่ตะเภากับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ จึงยังไม่สามารถส่งมอบหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to Proceed: NTP) ได้
"การมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ไม่ใช่แค่อู่ตะเภาอย่างเดียว แต่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญเกี่ยวกับรายละเอียดของสามสนามบินทั้งระบบ การไม่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง จะทำให้ไม่มีศักยภาพ โดยเฉพาะ ในการเข้าถึงสนามบินมีอุปสรรค แต่ก็มั่นใจว่าถ้ากรณีที่โครงการสะดุดติดขัด รัฐบาลจะหาทางแก้ปัญหาเพื่อให้เดินหน้าตามแผนได้" นายสุทธิพงษ์กล่าว
ด้าน นายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อู่ตะเภาอินเตอร์เนชั่น แนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA กล่าวว่า ในการดำเนินการพัฒนาอาคารผู้โดยสารหลังใหม่นั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามยืนยันว่าโครงการดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ขณะที่ นาวาเอก รตน วันภูงา หัวหน้าฝ่ายอำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 2 และทางขับสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา วงเงินโครงการ 15,200 ล้านบาท ว่า ความล่าช้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนั้นไม่กระทบต่อการดำเนินโครงการก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 เนื่องจากมีเพียงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้รันเวย์เท่านั้น ซึ่งสามารถมาดำเนินการภายหลังได้
ส่วนความคืบหน้าโครง การดังกล่าว ขณะนี้มีเอกชนมาซื้อซองประมูลกว่า 30 ราย โดยกองทัพเรือมีกำหนดยื่นข้อเสนอในวันที่ 20 พ.ค.2567 คาดได้ตัวผู้รับเหมาภายในปลายปี 2567 และเริ่มก่อสร้างทันที โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี จะดำเนินการติดตั้งพร้อมทดสอบระบบประมาณ 1 ปี และจะเปิดใช้งานภายในปี 2571
ขณะที่ แหล่งเงินในการลงทุนโครงการนี้ ได้รับทุนจากเงินกู้ของธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย หรือ AIIB สัดส่วน 85% ของต้นทุนการจัดซื้อจัดจ้าง และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยจะต้องจัดให้มีกองทุนคู่สัญญา 15% อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 0% เท่านั้น นำไปใช้กับการจัดหาเงินทุนของ AIIB และรูปแบบการประมูลจะดำเนินการผ่านการประกวดราคาแบบนานาชาติ.
บรรยายใต้ภาพ
สุทธิพงษ์ คงพูล
ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 30 มี.ค. 2567
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 30/03/2024 5:25 pm Post subject:
รถไฟไฮสปีด3สนามบิน ไม่จบ! กระทบ เมืองการบินอู่ตะเภา ลุ้นออก NTP ปลายปีนี้
เดลินิวส์ 30 มีนาคม 2567 12:04 น.
นวัตกรรมขนส่ง
รถไฟไฮสปีดสามสนามบินว้าวุ่นไม่จบ! สะเทือนโปรเจกต์พัฒนา สนามบินอู่ตะเภา-เมืองการบิน เงื่อนไขสำคัญออก NTP เชื่อรัฐบาล-หน่วยเกี่ยวข้อง กำลังเร่งหาข้อยุติ ชี้หากจบไม่เกิน ก.ย. 67 จะเริ่มก่อสร้างได้ปลายปีนี้ เปิดบริการปี 71 ขณะที่งานรันเวย์ 2 ยาว 3,505 เมตร เอกชนสนใจซื้อซอง 30 ราย เปิดให้ยื่นข้อเสนอ 20 พ.ค. ปักธงเริ่มสร้างปลายปี 67 เว้นงานอุโมงค์ 80 เมตร ลอดใต้รันเวย์
นายสุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กล่าวตอนหนึ่งในการเปิดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร เช็กความพร้อมอุตสาหกรรมการบิน รองรับการบินใหม่ในอนาคต และแผนการดำเนินโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ที่โรงแรมเบย์เฟียสร์ พัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ว่า ขณะนี้การดำเนินโครงการฯ ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง สาเหตุที่ล่าช้ามาจากการได้รับผลกระทบในเรื่องต่างๆ อาทิ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการยังไม่ได้ข้อยุติเรื่องการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งหากโครงการรถไฟไฮสปีดฯ ยังมีความล่าช้าออกไปอีก จะกระทบกับโครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภาแน่นอน
นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่อว่า มั่นใจว่ารัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งหารือกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟไฮสปีดฯ เพื่อให้ได้ข้อยุติ และเริ่มดำเนินการโครงการนี้ให้ได้ แต่สุดท้ายหากไม่ได้ข้อยุติ และมีการยกเลิกกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟไฮสปีดฯ ทางรัฐบาลก็ต้องศึกษาว่าจะทำอย่างไรต่อไป จะเปิดประมูลใหม่ หรือรัฐบาลจะลงทุนเอง ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าโครงการรถไฟไฮสปีดฯ ควรต้องเกิดขึ้นให้ได้ตามแผน เพราะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ 3 สนามบิน หากไม่มีโครงการนี้เกิดขึ้น จะทำให้ศักยภาพการเข้าถึงสนามบินทั้ง 3 แห่ง ด้อยลงไปมหาศาล
ด้านนายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อู่ตะเภาอินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) กล่าวว่า บริษัทฯ ได้รับสัมปทานโครงการฯ บนพื้นที่ 6,500 ไร่ มาตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย. 63 ปัจจุบันยังไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างได้จนกว่าเงื่อนไขในการออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน(NTP) จะครบถ้วน ซึ่งขณะนี้ยังขาดอยู่อีก 1 เรื่อง คือ ข้อตกลงร่วมกับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน เพราะต้องมีการหารือเรื่องการก่อสร้างสถานีรถไฟไฮสปีดฯ ภายในสนามบินอู่ตะเภาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่รอออก NTP ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินงานในส่วนอื่นๆ ซึ่งใช้เงินลงทุนแล้วประมาณ 4 พันกว่าล้านบาท อาทิ การออกแบบรายละเอียดการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และการปรับแบบแอร์พอร์ตซิตี้ นอกจากนี้ ยังเดินหน้าเชิญชวนหานักลงทุน และเชิญชวนสายการบินมาร่วมใช้บริการด้วย
นายวีรวัฒน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเหลือเพียงเรื่องเดียวที่ต้องให้ได้ความชัดเจน เพราะหากโครงการใดโครงการหนึ่งเริ่ม แต่อีกโครงการหนึ่งยังเริ่มไม่ได้ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็จะทำให้เกิดความเสียหายได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ กำลังรอความชัดเจนเรื่องรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน คาดว่าจะได้ข้อยุติประมาณไตรมาสที่ 2-3 (เม.ย.-ก.ย. 67) และมั่นใจว่า NTP จะออกได้ประมาณปลายปี 67 จากนั้นจะเร่งรัดดำเนินการก่อสร้าง เพื่อให้แล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการระยะที่ 1 ได้ภายในปี 71 ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจากปัจจุบัน 3 ล้านคนต่อปี เป็น 12 ล้านคนต่อปี
ด้านนาวาเอกรตน วันภูงา หัวหน้าฝ่ายอำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า กองทัพเรือเปิดประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 2 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ความยาว 3,505 เมตร กว้าง 60 เมตร วงเงิน 1.52 หมื่นล้านบาทแล้ว โดยมีเอกชนมาซื้อเอกสารการประมูลประมาณ 30 ราย ซึ่งกำหนดให้ยื่นข้อเสนอในวันที่ 20 พ.ค. 67 คาดว่าจะได้เอกชนผู้ชนะการประมูล และเริ่มงานก่อสร้างได้ภายในปลายปี 67 คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดบริการได้ประมาณปี 71 อย่างไรก็ตาม สำหรับรันเวย์ที่ 2 อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภา มีระยะห่างจากรันเวย์ที่ 1 ประมาณ 1,140 เมตร ซึ่งเครื่องบินสามารถขึ้นลงพร้อมกันได้ทั้ง 2 รันเวย์ ตอบโจทย์การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี
นาวาเอกรตน กล่าวต่อว่า การก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 สามารถดำเนินการได้ทันที โดยจะเริ่มทยอยสร้างเป็นช่วงๆ ไปก่อน ยกเว้นในส่วนของงานอุโมงค์รถไฟไฮสปีดฯ ที่จะลอดใต้รันเวย์ ระยะทางประมาณ 80 เมตร ซึ่งเชื่อว่าโครงกาารถไฟไฮสปีดฯ น่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ และสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงาน แต่หากสุดท้ายแล้วรถไฟไฮสปีดฯ ยังไม่ได้ข้อสรุป ทางกองทัพเรือก็ต้องเตรียมแผนสำรองที่จะดำเนินการในส่วนนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโอกาสนี้นายสุทธิพงษ์ ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมพื้นที่ที่จะใช้ในการก่อสร้างโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ ด้วย ซึ่งขณะนี้ กองทัพเรือได้เริ่มดำเนินการเคลียร์พื้นที่ส่วนต่างๆ แล้ว อาทิ ถมดินและถางป่า เพื่อเตรียมพร้อมให้เอกชนเข้ามาดำเนินการพัฒนาโครงการฯ รวมทั้งปัจจุบันพื้นที่บางส่วนได้เริ่มถูกนำมาใช้ในการทำกิจกรรมด้านสาธารณูปโภคแล้ว อาทิ งานท่อน้ำมัน และงานระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น ประมาณ 165 ไร่ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยจะผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (HybridPower Plant) ระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Co-Generation Power Plant) โดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ กับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (PV Solar Farm) เป็นต้น
ทั้งนี้ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโดยใช้เงินลงทุนประมาณ 2.9 แสนล้านบาท โดยการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ได้ปรับแผนจากเดิมกำหนดไว้ 4 เป็น 6 ระยะ (เฟส) เพื่อให้สอดคล้องกับประมาณการผู้โดยสารที่เปลี่ยนแปลงไป โดยขีดความสามารถในภาพรวมยังคงรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ 6 เฟส แบ่งเป็น เฟสที่ 1 รองรับได้ 12 ล้านคนต่อปี เฟสที่ 2 จำนวน 15.9 ล้านคนต่อปี เฟสที่ 3 จำนวน 22.4 ล้านคนต่อปี เฟสที่ 4 จำนวน 30 ล้านคนต่อปี เฟสที่ 5 จำนวน 45 ล้านคนต่อปี และเฟสที่ 6 จำนวน 60 ล้านคนต่อปี
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47359
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 31/03/2024 9:19 am Post subject:
ไฮสปีด3สนามบินช้า5ปีป่วนไปทั่ว
Source - เดลินิวส์
Sunday, March 31, 2024 06:50
อู่ตะเภา-เมืองการบินส่อร้าง เอกชนลุยงานก่อสร้างไม่ได้
นายสุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร "เช็กความพร้อมอุตสาหกรรมการบิน รองรับการบินใหม่ในอนาคต" และแผนการดำเนินโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ที่โรงแรมเบย์เฟียสร์ พัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 29 มี.ค.
นายสุทธิพงษ์ เปิดเผยว่า โครงการฯ ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง สาเหตุที่ล่าช้ามาจากการได้รับผลกระทบในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และยังไม่ได้ข้อยุติเรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) หากโครงการรถไฟไฮสปีดฯ มีความล่าช้าออกไปอีก (***ลงนามในสัญญากับเอกชนตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค.62) จะกระทบกับโครงการท่าอากาศยานอู่ตะเภาแน่นอน
ส่วนตัวมองว่าโครงการรถไฟไฮสปีดฯ ควรต้องเกิดขึ้นให้ได้ตามแผน เพราะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ 3 สนามบิน หากไม่มีโครงการนี้เกิดขึ้น จะทำให้ศักยภาพการเข้าถึงสนามบินทั้ง 3 แห่งด้อยลงไปมหาศาล
ด้านนายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อู่ตะเภาอินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) กล่าวว่า บริษัทฯ ได้รับสัมปทานโครงการฯ บนพื้นที่ 6,500 ไร่ มาตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย.63 ยังไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างได้จนกว่าเงื่อนไขในการออกหนังสือให้เอกชนเริ่มงาน (NTP) จะครบถ้วน ขาดอีก 1 เรื่องคือข้อตกลงร่วมกับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน เพราะต้องหารือเรื่องการก่อสร้างสถานีรถไฟไฮสปีดฯภายในสนามบินอู่ตะเภาร่วมกัน ระหว่างรอออก NTP ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินงานในส่วนอื่น ๆ ซึ่งใช้เงินลงทุนแล้ว 4 พันกว่าล้านบาท อาทิ การออกแบบรายละเอียดการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และการปรับแบบแอร์พอร์ตซิตี้ นอกจากนี้ยังเดินหน้าเชิญชวนหานักลงทุน และเชิญชวนสายการบินมาร่วมใช้บริการด้วย
นายวีรวัฒน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเหลือเพียงเรื่องเดียวที่ต้องให้ได้ความชัดเจน เพราะหากโครงการใดโครงการหนึ่งเริ่ม แต่อีกโครงการหนึ่งยังเริ่มไม่ได้ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็จะทำให้เกิดความเสียหายได้ บริษัทฯกำลังรอความชัดเจนเรื่องรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน คาดว่าจะได้ข้อยุติประมาณไตรมาสที่ 2-3 (เม.ย.-ก.ย.67) และมั่นใจว่า NTP จะออกได้ประมาณปลายปี 67 จากนั้นจะเร่งรัดก่อสร้าง เพื่อให้แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการระยะที่ 1 ได้ภายในปี 71 จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารจาก 3 ล้านคนต่อปี เป็น 12 ล้านคนต่อปี
ด้านนาวาเอกรตน วันภูงา หัวหน้าฝ่ายอำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า กองทัพเรือเปิดประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 2 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ความยาว 3,505 เมตร กว้าง 60 เมตร วงเงิน 1.52 หมื่นล้านบาทแล้ว โดยมีเอกชนมาซื้อเอกสารการประมูลประมาณ 30 ราย กำหนดยื่นข้อเสนอวันที่ 20 พ.ค. 67 คาดว่าจะได้เอกชนผู้ชนะการประมูล และเริ่มงานก่อสร้างได้ภายในปลายปี 67 คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดบริการได้ประมาณปี 71 สำหรับรันเวย์ที่ 2 อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภา มีระยะห่างจากรันเวย์ที่ 1 ประมาณ 1,140 เมตร เครื่องบินขึ้นลงพร้อมกันได้ทั้ง 2 รันเวย์ ตอบโจทย์การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้รองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคน ต่อปี การก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 ทยอยสร้างเป็นช่วง ๆ ไปก่อน ยกเว้นในส่วนของงานอุโมงค์รถไฟไฮสปีดฯ ที่จะลอดใต้รันเวย์ ประมาณ 80 เมตร เชื่อว่าโครงการรถไฟไฮสปีดฯ น่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ หากสุดท้ายยังไม่ได้ข้อสรุป กองทัพเรือต้องเตรียมแผนสำรอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะนี้กองทัพเรือเริ่มเคลียร์พื้นที่ส่วนต่างๆ แล้ว อาทิ ถมดินและถางป่า เพื่อเตรียมพร้อมให้เอกชนเข้าพัฒนาโครงการฯ รวมทั้งปัจจุบันพื้นที่บางส่วนได้เริ่มถูกนำมาใช้ในการทำกิจกรรมด้านสาธารณูปโภคแล้ว อาทิ งานท่อน้ำมัน และงานระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น ประมาณ 165 ไร่ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยจะผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid Power Plant) ระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Co-Generation Power Plant) โดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ กับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (PV Solar Farm) เป็นต้น
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโดยใช้เงินลงทุนประมาณ 2.9 แสนล้านบาท โดยการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ได้ปรับแผนจากเดิมกำหนดไว้ 4 เฟส (ระยะ) เป็น 6 เฟสให้สอดคล้องกับประมาณการผู้โดยสารที่เปลี่ยนแปลงไป ขีดความสามารถในภาพรวมยังรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ 6 เฟส แบ่งเป็น เฟสที่ 1 รับได้ 12 ล้านคนต่อปี เฟสที่ 2 จำนวน 15.9 ล้านคนต่อปี เฟสที่ 3 จำนวน 22.4 ล้านคนต่อปี เฟสที่ 4 จำนวน 30 ล้านคนต่อปี เฟสที่ 5 จำนวน 45 ล้านคนต่อปี และเฟสที่ 6 จำนวน 60 ล้านคนต่อปี.
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 1 เม.ย. 2567 (กรอบบ่าย)
Back to top