RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312063
ทั่วไป:13660105
ทั้งหมด:13972168
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 547, 548, 549 ... 581, 582, 583  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/04/2024 4:58 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา สัญญาที่ 3-5
22 เม.ย. 67 16:34 น.

อัพเดตภาพงานก่อสร้างสถานีภูเขาลาด (ใหม่) ความคืบหน้าล่าสุด 7%

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=413761554695615&id=100081853208848
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2024 6:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
‘รฟท’ เคาะสร้าง ‘รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน‘ เฟส 2 แล้ว!
โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567

Mongwin wrote:
การรถไฟฯ จ่อชง ครม. เดินหน้า 'ไฮสปีดไทยจีน' โคราช - หนองคาย
กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 14:40 น.

Mongwin wrote:
บอร์ดรฟท.เคาะลงทุนไฮสปีดไทย-จีน เฟส 2 กว่า 3.41 แสนล้าน-ไฟเขียว PPP ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทาหนุนขนส่งข้ามแดน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:30 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 09:51 น.
https://mgronline.com/business/detail/9670000034598

บอร์ดรฟท.ไฟเขียว “ไฮสปีดไทย-จีน” เฟส 2 แตะ 3.41 แสนล้าน
ฐานเศรษฐกิจ
วันจันทร์ ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 10:19 น.

บอร์ดรฟท.เคาะสร้าง “ไฮสปีดไทย-จีน” เฟส 2 วงเงิน 3.41 แสนล้านบาท เล็งชงคมนาคม-ครม.ไฟเขียว จ่อเปิดประมูลปี 68 รวม 13 สัญญา ขณะที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทาเตรียมประมูลแยก 1 สัญญา หวังเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟทางคู่
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.มีมติอนุมัติโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระบบรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดไทย-จีน) ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กม. วงเงินรวม 341,351 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูง 235,129 ล้านบาท ,ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน 10,310 ล้านบาท ,ค่าลงทุนระบบราง-ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล 80,165 ล้านบาท ,ค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการ ควบคุมงานและรับรองระบบ 10,060 ล้านบาท ปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดของโครงการแล้วเสร็จ



ส่วนรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาเห็นชอบ หลังจากนี้รฟท.จะรายงานต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป



ทั้งนี้ตามแผนโครงการไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 จะเปิดประมูลหาผู้รับจ้างในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Bidding) ภายในปี 2568 แบ่งออกเป็น งานโยธา 13 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาแนวเส้นทาง 11 สัญญา มีมูลค่า 20,000 ล้านบาทต่อสัญญา เพื่อไม่ให้มีผู้แข่งขันน้อยรายหรือมากรายมากจนเกินไป ,ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 1 สัญญา และศูนย์ซ่อมบำรุงนาทา 1 สัญญา โดยมีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างงานโยธา 4 ปี หรือ 48 เดือน และงานระบบราง ,ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล 1 สัญญา ระยะเวลาก่อสร้างงานระบบรถไฟฟ้า 5 ปีครึ่งหรือ 66 เดือน คาดว่าดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2573 พร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2574


ขณะเดียวกันโครงการไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 ได้มีการปรับแบบการก่อสร้างงานโยธา แบ่งเป็น ทางวิ่งยกระดับ ระยะทาง 202.48 กม. ทางวิ่งระดับดิน ระยะทาง 154.64 กม. เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมี 5 สถานีใหญ่ ประกอบด้วย 1.สถานีบัวใหญ่ 2.สถานีบ้านไผ่ 3.สถานีขอนแก่น 4.สถานีอุดรธานี 5.สถานีหนองคาย



นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ได้มีมติเห็นชอบผลการศึกษาโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายและย่านกองเก็บตู้สินค้าสินค้านาทาเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย วงเงิน 5,686 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่างานก่อสร้างงานโยธา 2,325 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน 2,108 ล้านบาท ค่าลงทุนระบบราง ,ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล 508 ล้านบาท ค่าลงทุนเครื่องมือ/อุปกรณ์และรถจักรศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา 639 ล้านบาท ,ค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการควบคุมงานและรับรองระบบ 104 ล้านบาท


“สาเหตุที่มีการแยกสัญญาออกมาดำเนินการจากโครงการไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 เนื่องจากผลการศึกษาโครงการฯพบว่า การแยกสัญญานาทาจะเป็นประโยชน์สูงสุด เพราะเป็นโครงการที่สำคัญเชื่อมโยงกับโครงการรถไฟทางคู่และศูนย์เปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าของกรมขนส่งทางบก (ขบ.) ทำให้รฟท.มีความจำเป็นต้องแยกสัญญา”



สำหรับโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายและย่านกองเก็บตู้สินค้าสินค้านาทาเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย เบื้องต้นรฟท.จะเสนอต่อกระทรวงคมนาคม,คณะกรรมการ PPP และครม.พิจารณาเห็นชอบต่อไป ซึ่งเป็นการเปิดประมูลในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP Net Cost) ระยะเวลาสัมปทาน 20 ปี โดยมีค่าสัมปทานที่รฟท.จะได้รับตลอดอายุโครงการฯ 4,457 ล้านบาท คาดว่าเปิดให้บริการได้พร้อมกับโครงการไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 ทั้งนี้ตามผลการศึกษาคาดว่าจะมีปริมาณสินค้าขนส่งบนเส้นทางรถไฟผ่านศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทาเติบโตขึ้นเป็น 11.06 ล้านตันในปี 2590



บอร์ดรฟท.เคาะวงเงิน 3.41 แสนลบ. สร้างรถไฟไทย-จีน เฟส 2
วันอังคาร ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:20 น.

บอร์ดรฟท.ไฟเขียวรถไฟไทย-จีน เฟส 2 วงเงินกว่า 3.41 แสนลบ. เตรียมชงคมนาคม-ครม.ในปีนี้

23 เม.ย. 2567 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.จะเสนอโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย) ระยะทาง 357.12 กม. รวมมูลค่าลงทุน 341,351.42 ล้านบาท หลังคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ได้มีมติอนุมัติเมื่อสัปดาห์ก่อน ให้กระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติภายในปี 2567 คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างงานโยธา 48 เดือน (หรือ 4 ปี) ก่อสร้างงานระบบรถไฟฟ้า 66 เดือน (หรือ 5 ปีครึ่ง) กำหนดเปิดให้บริการปี 2574

ปัจจุบัน โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย มีการออกแบบงานโยธาเสร็จเรียบร้อย โดยรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เตรียมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) อนุมัติ
สำหรับ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย แบ่งงานเป็น 2 ส่วน คือ

1.งานรถไฟความเร็วสูง วงเงินลงทุน 335,665.21 ล้านบาท ได้แก่
1.1 ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน วงเงิน 10,310.10 ล้านบาท,
1.2 ค่าก่อสร้างงานโยธา วงเงิน235,129.40 ล้านบาท,
1.3 ค่าลงทุนระบบราง วงเงิน 30,663.75 ล้านบาท,
1.4 ค่าระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล วงเงิน 29,007.08 ล้านบาท,
1.5 ค่าจัดหาขบวนรถไฟ วงเงิน 17,874.35 ล้านบาท
1.6 ค่าจัดหาขบวนรถซ่อมบำรุงทาง วงเงิน 2,620.43 ล้านบาท,
1.7 ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 6,466.06 ล้านบาท,
1.8 ค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการและที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานระบบรถไฟ วงเงิน 2,792.38 ล้านบาท และ
1.9 ค่าที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ วงเงิน 801.66 ล้านบาท


2.งานศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา วงเงินลงทุน 5,686.21 ล้านบาท ได้แก่
2.1 ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน วงเงิน 2,108.51 ล้านบาท ,
2.2 ค่าก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 2,325.46 ล้านบาท ,
2.3 ค่าลงทุนระบบราง วงเงิน 418.76 ล้านบาท
2.4 ค่าระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล วงเงิน 89.44 ล้านบาท,
2.5 ค่าเครื่องมือ/อุปกรณ์ยกขนในศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯ 429.24 ล้านบาท,
2.6 ค่าจัดหารถจักรในศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯ 210.00 ล้านบาท,
2.7 ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานโยธา วงเงิน 63.95 ล้านบาท,
2.8 ค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการและที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างงานระบบรถไฟ วงเงิน 29.38 ล้านบาท และ
2.9 ค่าที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ วงเงิน 11.47 ล้านบาท

โครงการรถไฟไทย-จีน เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย แบ่งเป็น
ทางวิ่งยกระดับ (Elevated Structure) ระยะทาง 202.48 กม.
ทางวิ่งระดับดิน 154.64 กม. (แบบคันทาง138.93 กม. เป็นสะพานรถไฟ 15.71 กม.)
มี 5 สถานี ได้แก่
สถานีบัวใหญ่ (จุดลงรถไปชัยภูมิ),
สถานีบ้านไผ่ (จุดลงรถไปมหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลิงนกทา มุกดาหาร),
สถานีขอนแก่น (จุดลงรถไปเลยและกาฬสินธุ์),
สถานีอุดรธานี (จุดลงรถไปหนองบัวลำพู สกลนคร นครพนม หรือแม้แต่บึงกาฬ),
สถานีหนองคาย (จุดลงรถไปเชียงคานและบึงกาฬ)
มีหน่วยซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง ได้แก่
หน่วยซ่อมบำรุงบ้านมะค่า ,
หน่วยซ่อมบำรุงหนองเม็ก,
หน่วยซ่อมบำรุงโนนสะอาด ,
หน่วยซ่อมบำรุงนาทา
มีศูนย์ซ่อมบำรุง2 แห่ง คือ ศูนย์ซ่อมบำรุงนาทา และศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย และมีย่านกองเก็บตู้สินค้าและย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า 1 แห่ง ที่นาทา

นายนิรุฒ กล่าวว่า เบื้องต้นการก่อสร้างงานโยธาทั้งโครงการมูลค่าการลงทุน 341,351.42 ล้านบาท จะแบ่งงานออกเป็น 13 สัญญา โดยในส่วนของ การก่อสร้างแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กม. วงเงิน 235,129.40 ล้านบาท แบ่งงานโยธาเป็น 11 สัญญา เฉลี่ยมูลค่าสัญญาละประมาณ 20,000 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผู้รับจ้างก่อสร้างที่มีคุณภาพ และการเข้าร่วมประมูลไม่มากราย หรือไม่น้อยรายจนเกินไป นอกจากนี้ ยังมีงาน ศูนย์ซ่อมบำรุงนาทา 1 สัญญา และศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 1 สัญญา โดยจะใช้วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e – bidding) ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง

นอกจากนี้ บอร์ดรฟท.ยังเห็นชอบผลการศึกษาโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย (ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าฯนาทา) ตามมาตรา 22 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งเห็นว่าควรแยกการลงทุนออกมาดำเนินการในรูปแบบ PPP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโครงการที่ช่วยขยายขีดความสามารถทางการขนส่งของจังหวัดหนองคาย ให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรถไฟระหว่างประเทศไทย-ลาว-จีน

โดยหลังจาก บอร์ดรฟท. ให้ความเห็นชอบ จะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(บอร์ด PPP) เห็นชอบหลักการและเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติเพื่อดำเนินการคัดลือกเอกชนร่วมลงทุน ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2571

สำหรับโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้านาทา และย่านกองเก็บตู้สินค้า เพื่อรองรับการขนส่งทางราง จ.หนองคาย ขนาดเนื้อที่ ใช้รูปแบบ PPP Net Cost มูลค่าการร่วมลงทุน 7,211.94 ล้านบาท (การรถไฟฯลงทุน 6,560.03 ล้านบาท หรือ 90.96% เอกชนลงทุน 651.91 ล้านบาท หรือ 9.04%) ระยะเวลาร่วมลงทุน 20 ปี ประเมินค่าสัมปทานที่การรถไฟฯ ได้รับตลอดอายุโครงการ ที่4,457.07 ล้านบาท โดย การรถไฟฯ มีผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) 5.87% เอกชน 15.09% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) รฟท. ที่ 941 ล้านบาท เอกชน 32 ล้านบาท คาดการณ์ปริมาณตู้สินค้าในปีแรกที่เปิดให้บริการ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 5.56 ล้านตัน หรือ 317,439 ทีอียู และเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ในปีที่ 20 เป็น 11.05 ล้านตันหรือประมาณ 631,237 ทีอียู


Last edited by Wisarut on 26/04/2024 11:40 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/04/2024 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้า รถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 4-7 สระบุรี-แก่งคอย 2จุดนี่คืบหน้าไปมากกว่าที่อื่นจริงๆ
Max Puttipong
Apr 23, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=bouBv-QrsSc

The progress on the high-speed rail, particularly on Contract 4-7 Saraburi-Kaeng Khoi, is notably higher compared to the other segments.


Update HSR in Thailand|April 2024
Apr 23, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=bK8_7Z8mHEQ

Continue to visit the area of contract 3-1.

KLANGDONG-MUAKLEK-HINLAP-PHASADET

คลิปนี้เราจะนั่งรถไฟจากปากช่องกลับกรุงเทพฯ มาดูการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่กำลังดำเนินอยู่ โดยเฉพาะ เราจะเน้นไปที่ส่วนกลางดง - มวกเหล็ก - หินลาด - ผาเสด็จ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาหมายเลข 3-1 (บริหารโดย บริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด (มหาชน)) ซึ่งคุณจะเห็นกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

จากสถานีกลางดงได้ทำการเคลียร์พื้นที่เพื่อสร้างเส้นทางระหว่างสถานีกับโรงงานยาหม่อง เส้นทางนี้จะสิ้นสุดที่จุดสิ้นสุดของสะพานรถไฟความเร็วสูง ปัจจุบันที่ DK146-045 อยู่ระหว่างดำเนินการวิเคราะห์ดินโดยการขุดค้น ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 20 เมษายน

ใกล้โรงงานยาหม่อง (ประมาณ 100 เมตร) มีจุดก่อสร้างสำคัญ 2 จุด และคาดว่าจะมีกิจกรรมสำคัญเร็วๆ นี้ ก่อนถึงสถานีมวกเหล็กที่มีสะพานข้ามคลองมวกเหล็กก็ตอกเสาเข็มลงที่ จะต้องมีการสังเกตเพิ่มเติม นอกจากนี้ เส้นทางผันที่นำไปสู่อุโมงค์ยังเสร็จสมบูรณ์และใช้งานได้ใกล้กับจุดสิ้นสุดของสะพานลอยฟ้า

คาดว่าพวกเขาจะเริ่มดำเนินการรถไฟเข้าไปในอุโมงค์ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ อย่าลืมติดตามข่าวสารสำหรับการอัพเดต การก่อสร้างดำเนินต่อไปตามเส้นทางสู่อุโมงค์หินลับ แต่วิวจากรถไฟมีจำกัด มุมมองระดับพื้นดินจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำยิ่งขึ้น

สุดท้ายที่อุโมงค์มวกเหล็ก หมายเลข 1 ขณะนี้มีการบุคอนกรีตเพื่อรองรับทางเข้าอุโมงค์เพื่อป้องกันการถ้ำ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว เนื่องจากอุโมงค์มีความยาวสั้น (274 เมตร) กระบวนการเจาะจึงไม่ใช้เวลานาน มาดูกันดีกว่าในคลิป!

Iron Wheels Roaming
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2024 4:41 am    Post subject: Reply with quote

'สุริยะ'ลุยถกจีนเร่งไฮสปีด
Source - ไทยโพสต์
Wednesday, April 24, 2024 04:06

ดันเฟส2โคราช-หนองคายเปิดประมูลปี68

"สุริยะ" เล็งเยือนจีน ฟื้นเจรจาระดับรัฐมนตรีในรอบ 5 ปี เร่งไฮสปีดไทย-จีน พร้อมดันระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ประกาศใช้เวทีนี้ปิดฉากโรดโชว์แลนด์บริดจ์ดึงนักลงทุน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 7-9 พ.ค.นี้ จะเดินทางไปเยือนจีนพร้อมกับผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีกำหนดการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 31 ระดับรัฐมนตรี ในวันที่ 8 พ.ค.นี้ โดยจะหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง

ทั้งนี้จะหารือถึงความพร้อมของไทยในการผลักดันโครงการไฮสปีดเทรนไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการออกแบบแล้วเสร็จ และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แล้ว รวมทั้งรัฐบาลมีเป้าหมายเร่งผลักดันโครงข่ายรถไฟสายนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ในการเดินทางและการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนและจีน เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ One Belt One Road ที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค

สำหรับโครงการไฮสปีดเทรนไทย-จีน ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา ปัจจุบันพบว่าข้อมูล ณ วันที่ 25 มี.ค.2567 ภาพรวมการก่อสร้างมีความคืบหน้าประมาณ 32.31% ล่าช้าประมาณ 28.76% เหลือรอลงนามสัญญาอีก 2 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา โดยกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งรัด และยังมีเป้าหมายเปิดให้บริการในปี 2571

ส่วนระยะที่ 2 ช่วงนคร ราชสีมา-หนองคาย เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา บอร์ด รฟท.มีมติอนุมัติไฮสปีดไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร วงเงินรวม 341,351 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น ค่างานก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูง 235,129 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน 10,310 ล้านบาท ค่าลงทุนระบบราง-ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล 80,165 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาบริหารโครงการ ควบคุมงานและรับรองระบบ 10,060 ล้านบาท

สำหรับแผนงานเบื้องต้น คาดว่าจะเปิดประมูลหาผู้รับจ้างในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Bidding) ภายในปี 2568 โดยจะแบ่งออกเป็นงานโยธา 13 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาแนวเส้นทาง 11 สัญญา มีมูลค่า 20,000 ล้านบาทต่อสัญญา สัญญาศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 1 สัญญา และสัญญาศูนย์ซ่อมบำรุงนาทา 1 สัญญา ส่วนสัญญางานระบบราง ระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล จะรวมเป็น 1 สัญญา

ทั้งนี้มีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างงานโยธา 4 ปี หรือ 48 เดือน โดยการก่อสร้างงานโยธาจะแบ่งเป็น ทางวิ่งยกระดับ ระยะทาง 202.48 กม. ทางวิ่งระดับดิน ระยะทาง 154.64 กิโลเมตร เบื้องต้นคาดว่าดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2573 พร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2574

นายสุริยะกล่าวด้วยว่า การเดินทางไปจีนครั้งนี้จะใช้โอกาสในการพบปะนักลงทุนจีน เพื่อประชาสัมพันธ์และเชิญชวนร่วมลงทุนในโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทยอันดามัน (แลนด์บริดจ์) ซึ่งการเดินทางมาจีนครั้งนี้จะถือเป็นเวทีสุดท้ายของการโรดโชว์แลนด์บริดจ์ หลังจากนั้นกระทรวงจะเริ่มกระบวนการจัดทำเอกสารเชิญชวนการลงทุนตามเป้าหมาย.

บรรยายใต้ภาพ
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 24 เม.ย. 2567


Thailand's Transport Minister to Discuss Accelerated High-Speed Rail Project with China

Focus on completing the second phase of Korat-Nong Khai line, opening bidding in 2025.

[Wednesday, April 24, 2024] Thailand's Minister of Transport, Suriya Juangroongruangkit, will travel to China on May 7-9 to revitalize ministerial-level negotiations on the Thai-China high-speed rail project. This follows a five-year gap in discussions. The trip will also involve executives from agencies under the Ministry of Transport.

A key goal of the visit is to accelerate the second phase of the high-speed rail project, linking Nakhon Ratchasima to Nong Khai. This section's design is complete and has received approval from the State Railway of Thailand (SRT) board. The Thai government aims to fast-track the network's completion to enhance travel and freight connections within the ASEAN region and to China, supporting the One Belt One Road initiative and Thailand's role as a regional transportation hub.

Minister Suriya will meet with Chinese investors to promote the Landbridge project, an economic bridge connecting the Andaman Sea to the Gulf of Thailand. This finalizes the Landbridge roadshow and paves the way for the development of official investment documents.

Progress Updates

Phase 1 (Bangkok-Nakhon Ratchasima): Construction is approximately 32.31% complete as of March 25, 2024. Two out of 14 contracts await signing, with the Ministry of Transport working to expedite proceedings. The target opening remains 2028.

Phase 2 (Nakhon Ratchasima-Nong Khai): Approved by the SRT board on April 18 with a budget of 341,351 million baht. Bidding for contractors is expected to open electronically in 2025, split into 13 civil works contracts and one contract for the rail systems, electric train, and mechanical infrastructure. Construction is estimated to take four years, with service beginning by 2031.

Source: Thai Post newspaper, April 24, 2024.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 24/04/2024 10:31 am    Post subject: Reply with quote

‘คมนาคม’ ยกทีมเยือนจีน ถกแผนไฮสปีดเทรน - แลนด์บริดจ์
วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:49 น.

“สุริยะ” เตรียมนำทีมคมนาคมเยือนจีน 7-9 พ.ค.นี้ ประกาศใช้เวทีนี้ปิดฉากโรดโชว์ “แลนด์บริดจ์” ดึงนักลงทุนก่อนเริ่มขั้นตอนประมูลปีหน้า ฟื้นเจรจาระดับรัฐมนตรีกับจีนในรอบ 5 ปี เคลื่อนโครงการไฮสปีดไทย - จีน พร้อมดันระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1123546

“สุริยะ” เตรียมบินจีน พ.ค.นี้ประชุมรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 31 พร้อมหารือบริษัทขนส่ง-สายเรือใหญ่โรดโชว์ "แลนด์บริดจ์"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 06:52 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 08:06 น.


“สุริยะ” เตรียมเยือนจีน 6-15 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 31 ติดตามงานเฟส 1 และเร่งรัดเฟส 2 (นครราชสีมา-หนองคาย) เชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ และโรดโชว์ "แลนด์บริดจ์" กับนักลงทุนสายเรือรายใหญ่

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ช่วงวันที่ 6-15 พ.ค. 2567 นี้ตนมีกำหนดการเดินทางไปกรุงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีแผนงานที่กรุงปักกิ่ง คือการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 31 ในวันที่ 8 พ.ค.2567เพื่อหารือติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร และโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร ซึ่งรัฐบาลต้องการผลักดันให้มีการพัฒนาต่อเนื่อง

นอกจากนี้ จะมีการประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการท่าเรือและสายเดินเรือรายใหญ่ของจีน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทย-อันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือแลนด์บริดจ์ รวมถึงดูงานด้านโลจิสติกส์ และการพัฒนาท่าอากาศยาน และระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัยต่างๆ ของประเทศจีนด้วย

โดยในวันที่ 9 พ.ค. 2567 มีกำหนดการหารือร่วมกับผู้บริหารท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง และเยี่ยมชมท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเยี่ยมชมระบบการบริหารจัดการรถบรรทุก พร้อมทั้งเยี่ยมชมท่าเรือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Port) รวมถึงประชุมหารือกับผู้บริหารสถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้ และเยี่ยมชมระบบควบคุมการจราจรด้านระบบราง เพื่อนำข้อมูลแนวทางการดำเนินการต่าง ๆ มาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับการคมนาคม ขนส่ง โลจิสติกส์ของประเทศไทยต่อไป

รายงานข่าว แจ้งว่าการโรดโชว์โครงการแลนด์บริดจ์นั้นจะมีนักลงทุนจีนให้ความสนใจมากกว่า 20 บริษัท โดยมีทั้งกลุ่มผู้ประกอบการท่าเรือ กลุ่มสายเดินเรือ เช่น COSCO กลุ่มบริษัทด้านโลจิสติกส์ กลุ่มสถาบันการเงิน และกลุ่มผู้รับเหมา เป็นต้น

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร ในส่วนของงานโยธาจาก 14 สัญญา ก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง 2 สัญญา คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาเพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ทั้งหมด 14 สัญญาภายในปี 2567 และคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2571 ส่วนโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 357.12 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 341,351.42 ล้านบาทนั้น ล่าสุดคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2567 ได้มีมติอนุมัติโครงการแล้ว โดยจะเสนอกระทรวงคมนาคม พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติภายในปี 2567 ซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้างงานโยธา 48 เดือน (หรือ 4 ปี) ก่อสร้างงานระบบรถไฟฟ้า 66 เดือน (หรือ 5 ปีครึ่ง) กำหนดเปิดให้บริการปี 2574

โครงการรถไฟไทย-จีนนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพระบบราง พัฒนาโครงข่ายเส้นทางการคมนาคมของประเทศไทยเชื่อมโยงสู่เมืองหลัก เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า และการเดินทางของภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ และรองรับการขยายตัวของจังหวัดต่างๆ รวมถึงปริมาณผู้ใช้บริการที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/04/2024 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

ล่าสุด รถไฟความเร็วสูงประเทศไทยไทย 泰国最新的高速列车
รถไฟไทยสดใส
Apr 24, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=CPO7BVCUNYw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/04/2024 7:23 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดต! รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเฟสที่ 1 ช่วงปากช่อง-ลำตะคอง วางคานได้ไกลขึ้นมาก
Max Puttipong
Apr 25, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=RIvNFKcArAI
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/04/2024 6:55 am    Post subject: Reply with quote

Update HSR in Thailand from Muaklek Station to Pak Chong Station |April 2024
Iron Wheels Roaming
Apr 26, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=VZCdO2-XrqA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/04/2024 8:14 am    Post subject: Reply with quote

“อีอีซี”สรุปแผนพัฒนา TOD สถานีไฮสปีด”พัทยา ฉะเชิงเทรา”ผุดศูนย์เชื่อมเดินทาง Mixed-Use Complex,โมเดินร์เทรด ร้านโอทอป
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Friday, April 26, 2024 23:51

สกพอ. สรุปผลศึกษาและรับฟังความคิดเห็นประชาชนพัฒนาTOD รอบสถานีไฮสปีด“พัทยา,ฉะเชิงเทรา” ผุด ศูนย์เปลี่ยนถ่ายการเดินทาง,ศูนย์ขนส่งต่อเนื่อง แบบMixed-Use Complex, โมเดิร์นเทรด,OTOPและที่อยู่อาศัย เร่งเสนอครม.ในปี 67

วันที่ 25 เม.ย.67 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) ได้จัดการสัมมนาสรุปผลการศึกษาโครงการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณพื้นที่รอบสถานีเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ณ ห้องชลธี1 ชั้น2 โรงแรมซันธารา เวลเนส รีสอร์ท อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีนายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานเปิดการประชุม เพื่อนำเสนอข้อมูลสรุปผลการศึกษาโครงการพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย เจ้าของที่ดินที่เกี่ยวข้อง

ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการ ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการเพื่อนำมาพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมมากที่สุด

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญในการขับเคลื่อนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ซึ่งหนึ่งในการต่อยอดการพัฒนารถไฟความเร็วสูง คือ การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง หรือTOD ให้เกิดการใช้ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมพร้อมไปกับการสร้างให้พื้นที่มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงขึ้นโดยแนวทางการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานีขนส่งหรือTOD จะเป็นการวางแผนเพื่อการพัฒนาพื้นที่โดยเน้นความสมัครใจและความสนใจร่วมโครงการฯ ไม่มีการเวนคืนที่ดินของประชาชน

ที่ผ่านมา สกพอ.พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯได้ดำเนินการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณพื้นที่รอบสถานีเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง2 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา จังหวัดชลบุรีและ สถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราพร้อมกับรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง


ซึ่งในส่วนของสถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทราสามารถสรุปผลรายละเอียดโครงการมีการวางผังการใช้ประโยน์ที่ดินของสถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทราจำนวนทั้งหมด321 ไร่ในเขตพื้นที่ตำบลวังตะเคียน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งได้2 โซน ดังนี้

บริเวณที่1 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ (ขก.1)มีพื้นที่78 ไร่ เป็นพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

บริเวณที่2 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ (ขก.2)มีพื้นที่243ไร่เป็นพื้นที่เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา สนับสนุนกิจการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และ

เป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรม ธุรกิจ การค้าการบริการ ที่อยู่อาศัยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพศูนย์การแพทย์ และฟื้นฟูสุขภาพ

ซึ่งมีแนวคิดการออกแบบและการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ แบ่งได้3 ระยะ ดังนี้

1.ระยะเร่งด่วน ได้แก่โครงการศูนย์สนับสนุนการเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง และโครงการย่านการค้า

เพื่อสนับสนุนการเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูง

2.ระยะสั้น (5 ปี) ได้แก่ โครงการศูนย์ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) และร้านค่าชุมชน (OTOP) ,โครงการที่อยู่อาศัยประเภทห้องพักสำหรับผู้ทำงานในพื้นที่โครงการฯ,โครงการที่พักอาศัยหนาแน่นปานกลาง เช่น อาคารชุด,โครงการอาคารสำนักงาน ร้านค้า และที่พักอาศัย (Home Office) ซอยทวีสุข

3.ระยะยาว (10 ปี) ได้แก่ โครงการศูนย์การแพทย์และที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุครบวงจร (Senior Complex) โรงแรมและย่านการค้า และโครงการที่พักอาศัยหนาแน่นปานกลาง


นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาของภาครัฐหลากหลายโครงการที่เตรียมเสนอแนะเพื่อให้รองรับกับการพัฒนาโครงการ โดยแบ่งได้ 5 ส่วน ดังนี้1.โครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งเพื่อการเข้าถึงสถานีรถไฟจำนวน3 โครงการ

2.โครงการศึกษาออกแบบจัดทำแนวทางการออกแบบทางกายภาพ (Design Guidelines) ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ จำนวน1 โครงการ

3.โครงการพัฒนาโครงข่ายถนนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี จำนวน6 โครงการ

4.โครงการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ จำนวน 5 โครงการ

5.โครงการบริการสาธารณะ จำนวน 2 โครงการ


และในวันที่ 26 เม.ย.67 สกพอ. ได้จัดการสัมมนาสรุปผลการศึกษาโครงการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยาณ ห้องรัตนโกสินทร์ โรงแรมอีสเทิร์น แกรนด์ พาเลซ พัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยมีนายวีกิจมานะโรจน์กิจ นายอำเภอบางละมุง เป็นประธานเปิดการประชุม

โดยสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา มีการวางผังการใช้ประโยน์ที่ดิน จำนวน 280 ไร่ในเขตพื้นที่ตำบลนาเกลือ และตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แบ่งได้ 3 โซน ดังนี้

บริเวณที่ 1 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ (ขก.1) มีพื้นที่ 97 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

บริเวณที่ 2 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ (ขก.2) มีพื้นที่ 83 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ย่านสถานีเพื่อเป็นศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบการให้บริการสาธารณะ และธุรกิจการค้า การบริการด้านการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ

บริเวณที่ 3 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ (ขก.3) มีพื้นที่ 100 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ย่านที่พักอาศัยและศูนย์กลางพาณิชยกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว


มีแนวคิดการออกแบบและการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์แบ่งได้ 2 ระยะ ดังนี้

1.ระยะสั้น (1-5 ปี) ได้แก่ โครงการศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (ITF) แบบMixed-Use Complex

2.ระยะยาว (6-10 ปี) ได้แก่ โครงการMixed-Use ฝั่งตะวันตกของสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา,โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับย่านพาณิชยกรรมใหม่TOD,โครงการศูนย์ประชุมและอาคารแสดงสินค้า (MICE) ,โครงการพัฒนาย่านที่พักอาศัยเพื่อรองรับธุรกิจบริการโดยรอบสถานี,โครงการMixed-Use ฝั่งตะวันออกของสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาของภาครัฐหลากหลายโครงการที่เตรียมเสนอแนะเพื่อให้รองรับกับการพัฒนาโครงการ โดยแบ่งได้ 3 ส่วน ดังนี้ 1.โครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง จำนวน 11 โครงการ 2.โครงการศึกษาออกแบบจัดทำแนวทางการออกแบบทางกายภาพ (Design Guidelines) ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ จำนวน 1 โครงการ 3.โครงการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี จำนวน 8 โครงการ


ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมครั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม นำมาปรับปรุงการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณพื้นที่รอบสถานีเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีพัทยา ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จากนั้นจึงเสนอ สกพอ.เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่รอบสถานีเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน : บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา

และสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี2567

The Eastern Economic Corridor Commission (EEC) has summarized the results of the study and public hearings on the development of Transit-Oriented Development (TOD) around the high-speed rail stations in Pattaya and Chachoengsao. The plan includes mixed-use complexes, modern trade, OTOP shops, and residential areas. The projects are expected to be submitted to the Cabinet in 2027.

Key points:

The TOD projects will be developed around the Pattaya and Chachoengsao high-speed rail stations.
The projects will include mixed-use complexes, modern trade, OTOP shops, and residential areas.
The goal of the projects is to create vibrant and sustainable communities around the high-speed rail stations.
The projects are expected to be completed by 2027.
Additional details:

The Pattaya TOD project will cover an area of 280 rai (448 acres) and will be divided into three zones:
Zone 1: This zone will be for the high-speed rail station and related facilities.
Zone 2: This zone will be a transit hub with public services, commercial businesses, and international tourism services.
Zone 3: This zone will be a residential and commercial area to support tourism.
The Chachoengsao TOD project will cover an area of 321 rai (513 acres) and will be divided into two zones:
Zone 1: This zone will be for the high-speed rail station and related facilities.
Zone 2: This zone will be a mixed-use development area with commercial, residential, and tourism facilities.
Overall, the TOD projects are expected to have a significant positive impact on the Pattaya and Chachoengsao areas. They will create jobs, boost economic growth, and improve the quality of life for residents.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47367
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/04/2024 8:33 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดต! รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงคลองไผ่-สีคิ้ว ในเดือนเมษายน 67 ถึงจะช้าแต่เสร็จชัวร์
Max Puttipong
Apr 27, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=r8_fIjb-Ht8

Update! Thai-Chinese high-speed rail Khlong Phai-Sikhiu section In April 2024, it will be slow but it will definitely be finished.


Update HSR from Muaklek Tunnel to Nongsaeng station|Thailand April 2024
Iron Wheels Roaming
Apr 29, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=nkhsxHHWZ7E

ในคลิปนี้ เราจะได้นั่งรถไฟย้อนกลับจากสถานีผาเสด็จไปยังสถานีหนองแซง เริ่มต้นด้วยงานเจาะอุโมงค์ที่อุโมงค์ผาเสด็จ 1 ตรงบริเวณปากอุโมงค์ จะเห็นการพ่นคอนกรีตเพื่อป้องกันหินถล่ม และการเจาะลึกเข้าไปหลายเมตรแล้ว แม้จะมองไม่ชัดเจนในตอนแรก แต่ถ้าเทียบกับคลิปที่ผ่านมาจะเห็นความคืบหน้าได้

ในส่วนของสัญญา 3-1 จากโรงเรียนทับกวางไปยังสถานีมาบกะเบา จะมีการดำเนินการเคลียร์พื้นที่อย่างต่อเนื่อง และมีการติดตั้งเสาเข็มทดสอบใกล้กับวัดทับกวาง รวมถึงทีมงานเจาะดินวิเคราะห์ดินในแต่ละระดับด้วย

คลิปนี้จะพาเราไปดูหลายจุด เริ่มจากบริเวณติดกับสถานีมาบกะเบา ต่อด้วยสัญญาหมายเลข 4-7 ในส่วนงานโยธาที่เกี่ยวข้องกับฐานรากและหล่อเสา รวมถึงช่วงทางแยกแก่งคอย และทางแยกแก่งคอยใหม่ ตรงกับสถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรี ความคืบหน้าดำเนินไปตลอดจนถึงการประกอบส่วนโครงสร้าง (segments) บริเวณถนนพหลโยธิน ซึ่งจะดำเนินการในช่วงกลางคืน

ต่อเนื่องด้วยสัญญา 4-6 ช่วงการเจาะและหล่อเสาเข็ม โดยทำงานตลอดต่อเนื่องไปจนถึงสถานีหนองแซง สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถรับชมได้ในคลิปครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 547, 548, 549 ... 581, 582, 583  Next
Page 548 of 583

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©