Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 16/04/2024 8:29 am Post subject:
"ชัชชาติ" เสนอคืนรถไฟฟ้า 3 สาย รอคมนาคมเห็นชอบ เหตุ กทม.ไม่มีงบดูแล
Source - เว็บไซต์สยามรัฐ
Monday, April 15, 2024 09:16
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยแนวทางดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน สีเทา และสีฟ้าว่า จากการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ครั้งที่ 5/2567 มีมติโอนโครงการรถไฟฟ้าลงทุนใหม่ในความรับผิดชอบของ กทม. คืนแก่กระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โดยรถไฟฟ้าสายดังกล่าว แต่เดิม กทม.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ดังนั้น จึงต้องทำเรื่องเสนอ คจร.เพื่อขอโอนคืนโครงการอย่างเป็นทางการ โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะเลขาธิการ คจร. เพื่อพิจารณาบรรจุในวาระการประชุม คจร. ครั้งที่1/2567 แล้ว คาดว่าจะมีการประชุมเร็วๆ นี้
"ต้องรอการตัดสินใจอีกที ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องมองอย่างไร สุดท้ายเชื่อว่าจะมีประโยชน์มากกว่า เพราะ กทม.ไม่ได้มีเงินทุนมาก ยังมีภาระต้องดูแล เช่น เรื่องสาธารณสุข เรื่องการศึกษา จึงคิดว่ามีประโยชน์มากกว่าหากกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดำเนินการ โดยเฉพาะการผลักดันราคาตั๋ว 20 บาทตลอดสาย" นายชัชชาติ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีฟ้า รูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) แนวเส้นทางใหม่ในเขตเมืองชั้นในถนนประชาสงเคราะห์ เพชรบุรี วิทยุ และสาทร ระยะทาง 9 กม. จำนวน 9 สถานี ปัจจุบันอยู่ระหว่างขอจัดสรรงบประมาณในการศึกษาโครงการดังกล่าวทั้งการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) ซึ่งแนวเส้นทางไม่ผ่านถนนสายหลักจำเป็นต้องเวนคืนที่ดินอาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชน
สายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ รูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) แนวเส้นทางเริ่มจากต่างระดับรามอินทรา ข้ามทางพิเศษฉลองรัช มุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม ตัดถนนลาดพร้าว ข้ามถนนพระราม 9 ทางพิเศษศรีรัช รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เลี้ยวขวาแยกเอกมัยเหนือ เข้าสู่เกาะกลางถนนเพชรบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าถนนทองหล่อ สิ้นสุดปากซอยสุขุมวิท55 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อเดือน ก.พ.65 กทม.โดยสจส.ศึกษารูปแบบการลงทุน PPP แล้วเสร็จเดือน มิ.ย.65 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอ มท.เห็นชอบรายงานผลการศึกษา
สายสีเงิน ลักษณะเป็นรถไฟรางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) แนวเส้นทางจากบางนาไปตามถนนเทพรัตน ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กม. แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก จากบางนา-ธนาซิตี้ ระยะทาง 14.6 กม. จำนวน 12 สถานี ระยะที่2 จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 5.1 กม. 2 สถานี กทม.โดยสจส.ได้จ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมของโครงการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างเสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนการลงทุนรูปแบบ PPP (เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ) ศึกษาแล้วเสร็จเดือน มิ.ย.65 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอกระทรวงมหาดไทย (มท.) เห็นชอบรายงานผลการศึกษา
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 22/04/2024 3:43 am Post subject:
กทม.ชง สนข.คืนรถไฟฟ้า สายสีฟ้า,สีเทา,สีเงิน เสนอเข้าที่ประชุม คจร.
ข่าว ทั่วไทย กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันจันทร์ ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 09:20 น.
นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าฯกทม.เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะผู้บริหารครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบให้ กทม. โอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าลงทุนใหม่ในความรับผิดชอบของ กทม. กลับคืนให้แก่กระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน ช่วงบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจาก กทม.ได้รับมอบหมายภารกิจให้ดำเนินโครงการจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ดังนั้น จะต้องทำเรื่องเสนอ คจร.เพื่อขอโอนภารกิจโครงการที่ได้รับมอบหมายคืนกลับอย่างเป็นทางการ โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจร.) กทม. ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะเลขาธิการ คจร. เพื่อพิจารณาบรรจุในวาระการประชุม คจร. ครั้งที่ 1/2567 เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะมีการประชุมเร็วๆนี้
สำหรับความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 3 สายนั้น รถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา-สุวรรณภูมิเป็นรถไฟรางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) อยู่ระหว่างเสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนการลงทุนรูปแบบ PPP ศึกษาแล้วเสร็จเดือน มิ.ย.2565 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบรายงานผลการศึกษา สายสีฟ้า ดินแดง-สาทรเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล ปัจจุบันอยู่ระหว่างขอจัดสรรงบประมาณในการศึกษาโครงการ รถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้วเมื่อเดือน ก.พ.2565 ขณะที่ผลการศึกษารูปแบบการลงทุนแล้วเสร็จเดือน มิ.ย.2565 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบรายงานการศึกษา.
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2778483
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47112
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 11/05/2024 1:43 pm Post subject:
ดันยกเลิก'บีอาร์ที'สร้างรถไฟฟ้ารางเบาแก้ผังเมือง บูม 'สาทร-ราชพฤกษ์'[/color]
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, May 11, 2024 05:51
"ประชาชน-AREA ดันยกเลิกบีอาร์ที สร้างรถไฟฟ้ารางเบา บูมสาทร-ราชพฤกษ์ แก้ผังเมืองก่อสร้างพ้นที่อาคารในอัตราส่วน 15-20 เท่า"
ที่ผ่านมามีผู้เสนอให้เพิ่มสายรถบีอาร์ที และเสนอไปสร้างในต่างจังหวัด มองว่าเป็นการสร้างความหายนะแก่เมืองโดยตรง จึงเสนอให้ยกเลิกมาดูมุมมองที่น่าสนใจจากประสบการณ์ในต่างประเทศ ที่นายโสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) สะท้อนว่าถึงเวลายกเลิกรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ หรือ Bus Rapit Transit (BRT หรือ รถบีอาร์ที) โดยได้ยกตัวอย่างในต่างประเทศ เพื่อไม่สร้างปัญหาบานปลายแก่เมือง
ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครเคยมีข่าวจะเลิกรถบีอาร์ทีเพราะขาดทุนไปปีละ 200 ล้านแต่ภายหลังมีกระแสไม่ให้ยกเลิก โดยอาจมาจากการทำแบบสอบถามโดยคณะนักศึกษาให้กับหน่วยงานบางแห่ง ในครั้งนั้น ซึ่งใช้บริการรถบีอาร์ทีเป็นประจำในช่วงนั้นได้ตอบคำถามด้วย แต่ตอบว่า "เห็นควรให้เลิก" ปรากฏว่ากลุ่มนักศึกษาที่ทำแบบสอบถามได้เลิกถามไป คาดว่าคงอยากได้เฉพาะคนที่บอกให้มีอยู่ต่อไป
การที่ไปเที่ยวถามคนใช้บริการ ส่วนมากก็ต้องตอบว่าอยากให้อยู่ต่อเพราะตนเองใช้บริการประจำ แต่ถ้าหากทราบว่าที่ผ่านมาขาดทุนปีละ 200 ล้านบาท หากไม่ต้องการให้ขาดทุนสำหรับผู้ใช้สอยวันละ 20,000 คน คงต้องขึ้นราคาอีกเที่ยวละ 27.4 บาท จากที่เก็บค่าโดยสารปัจจุบัน 5 บาท กลายเป็น 32.4 บาท หรือเผื่อค่าดำเนินการต่างๆ ควรเก็บ 40 บาทตลอดสาย และเพื่อหาเงินชดเชยที่ขาดทุนไปแล้วนับพันล้าน ก็คงต้องขึ้นราคาอีกเที่ยวละ 20 บาท รวมเป็นเงิน 60 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการขึ้นราคาที่ประชาชนผู้ใช้บริการคงรับไม่ได้เพราะปัจจุบันราคาก็ขึ้นมาเป็น 15 บาท ซึ่งคงยังขาดทุนสะสมมหาศาล
สิ่งที่ควรทำก็คือการสร้างรถไฟฟ้าวิ่งแทนเพราะคลองตรงกลางถนนสามารถสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าได้โดยไม่กระทบต่อการจราจรในปัจจุบันมากนัก ทั้งนี้ต้องมีการแก้ผังเมืองให้สามารถก่อสร้างพื้นที่อาคารในอัตราส่วนได้ถึง 15-20 เท่าของพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio) เพื่อเพิ่มปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้า ส่วนในช่วงเฉพาะหน้า เส้นทาง BRT นี้ให้ใช้เป็นช่องจราจรพิเศษ เฉพาะช่วงเวลา 06.30-09.00 น. และ 16.30 -19:00 น.เพื่อให้รถประจำทางวิ่งโดยเฉพาะ เพื่อการบริการแก่ประชาชน แต่นอกเหนือจากเวลานี้ ให้คืนพื้นที่จราจรให้กับรถอื่นๆ
ที่ผ่านมามีประชาชนผู้คัดค้านการเลิกบีอาร์ที โดยมีเหตุผลดังนี้
1. ต้องการให้ขยายเส้นทาง บีอาร์ทีมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนใช้รถประจำทางมากขึ้น ข้อนี้คงเป็นไปได้ยาก เพราะทำให้ผิวการจราจรสูญหายไป 1 ช่องทางจราจรตลอดทั้งวัน ยิ่งเพิ่มปัญหาให้กับการจราจรมากยิ่งขึ้น ถ้าต้องการให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ก็ควรสร้างเป็นรถไฟฟ้าที่อาจเป็นแบบปกติหรือแบบมวลเบามากกว่า
2. บ้างก็บอกว่า "คนใช้ชอบ คนไม่ใช้ก็จะให้เลิก" ข้อนี้ต้องประเมินจำนวนผู้ใช้บริการ ซึ่งมีไม่มากนักและมีในชั่วโมงเร่งด่วนเท่านั้น จำนวนรถก็มีน้อย (ถ้ามียิ่งมากก็คงยิ่งขาดทุน)
3. ราคาถูก แต่ถ้ารวมต้นทุน อื่นๆ แล้วค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายนับว่าขาดทุนเป็นอย่างมาก ถ้าประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงและตระหนักถึงการขาดทุนมหาศาลปีละ 200 ล้านในอดีต ก็ควรจะเลิกได้แล้ว
4. บนถนนที่มีระบบขนส่งมวลชนแบบราง เช่น บีทีเอส รถยนต์ก็ยังติดเหมือนกัน ข้อนี้ต้องมองในมุมกลับว่าหากถนนเหล่านั้น เช่น สีลม สุขุมวิท หากไม่มีระบบรถไฟฟ้า ก็คงกึ่ง "จลาจล" เข้าไปแล้ว การมีระบบขนส่งมวลชนที่ได้มาตรฐาน (รถไฟฟ้าใต้ดินหรือบนดินแบบปกติหรือรางเบา) ย่อมทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นสร้างบนน้ำได้
5. แม้ยกเลิกรถบีอาร์ทีและได้ผิวจราจรเพิ่มขึ้นอีก 1 ช่องทาง รถยังติดอยู่ดี ข้อนี้พึงมองว่าการเพิ่มช่องทางจราจรจาก 3 เป็น 4 ช่องทาง ทำให้พื้นที่การจราจรเพิ่มขึ้นถึง 33.3% ย่อมทำให้การไหลเวียนสะดวกยิ่งขึ้น ยิ่งในกรณีออกนอกเมืองในช่วงเย็นและค่ำ ยิ่งทำให้เกิดการระบายการจราจรได้ดีกว่านี้หากยกเลิกบีอาร์ทีเสีย
อันที่จริงการสร้างรถไฟฟ้าสามารถทำได้ทันที ด้วยการใช้คลองช่องนนทรีที่ตั้งอยู่ตรงกลาง โดยไม่รบกวนผิวการจราจร ทั้งนี้ควรจะสร้างจากสถานีช่องนนทรีที่บีทีเอสตัดผ่านไป หรืออาจขยายไปถึงหัวถนนสาทรช่วงที่ตัดกับถนนพระรามที่ 4 เพื่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที และวิ่งไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปจนถึงถนนพระรามที่ 3 และสร้างข้าม หรือมุดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงเส้นทางเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ท่าพระไปได้เลย
ส่วนที่มีบางส่วนเป็นห่วงว่าจะทับซ้อนกับรถไฟฟ้าสายสีเทา ซึ่งยังไม่มีอนาคตที่แน่นอน อาจปรับรถไฟฟ้าสายสีเทาบางส่วนได้ เช่น อาจเริ่มจากสถานีคลองสี่ สายไหม จตุโชติ เทพรักษ์ ร่วมมิตรพัฒนา วัชรพล ก็อาจเริ่มจาก;วัชรพล-อยู่เย็น ตรงถนนรามอินทรา แล้วมาตามประดิษฐ์มนูธรรม 27 ประดิษฐ์มนูธรรม 25 โยธินพัฒนา ประดิษฐ์มนูธรรม 15 สังคมสงเคราะห์ ลาดพร้าว 71 ศรีวรา ศูนย์แพทย์พัฒนา วัดพระราม 9 เพชรบุรี 47 แจ่มจันทร์ ทองหล่อ 10 ทองหล่อ พระโขนง บ้านกล้วยใต้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เกษมราษฎร์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แล้วแทนที่จะไปทางพระรามที่ 3 นางลิ้นจี่ รัชดา-นราธิวาส และสิ้นสุดที่สะพานพระรามที 9 แทน ก็จะอำนวยความสะดวกในการเดินทางได้เป็นอย่างยิ่ง
การมีรถไฟฟ้าผ่านถนนพระรามที่ 3 และสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทาผ่านถึงสะพานพระรามที่ 9 ก็ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างมหาศาลในพื้นที่ ศูนย์กลางธุรกิจการเงินของประเทศในย่านสีลม-สาทรก็สามารถขยายตัวมาทางด้านนี้ได้ และแต่เดิมก็ได้พยายามเปลี่ยนผังเมืองมาช่วงหนึ่ง โดยสังเกตได้ว่าธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็ย้ายสำนักงานใหญ่มาถนนพระรามที่ 3 ช่วงหนึ่ง ธนาคารกรุงเทพก็ตั้งใจจะสร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ แต่ท้ายสุดก็ย้ายมาเพียงศูนย์คอมพิวเตอร์และอื่นๆ ถ้ามีรถไฟฟ้าเช่นนี้ เมืองก็จะเจริญ และหากมีการปรับระบบการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ กรุงเทพ มหานครก็จะได้ภาษีมาพัฒนาท้องถิ่นได้อีกมาก
รื้อรถบีอาร์ทีแล้วสร้างรถไฟฟ้า (มาตรฐานหรือมวลเบา) ด่วน!
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 12 - 15 พ.ค. 2567
Push to Replace BRT with Light Rail, Boost Sathorn-Ratchapruek Development
Thansettakij (Saturday, May 11, 2024)
There is a growing movement to replace the current Bus Rapid Transit (BRT) system on the Sathorn-Ratchapruek line with a light rail system. This proposal aims to solve urban planning issues and stimulate development in the area. The push also includes a call to amend city planning regulations to allow for taller buildings, increasing density and maximizing the potential of the new transportation infrastructure.
In the past, proposals to expand the BRT system and introduce it in other provinces have been met with criticism due to their potential to disrupt city planning. Mr. Sophon Phonchokchai, President of the Thai Real Estate Research and Valuation Information Center (AREA), argues that it is time to abandon the BRT in favor of a more efficient and less disruptive light rail system. He cites examples from abroad to illustrate the potential negative consequences of BRT systems on urban development.
Bangkok has previously considered canceling the BRT due to annual losses of 200 million baht. However, a survey conducted among BRT users at that time indicated a desire to keep the service. Mr. Phonchokchai argues that this survey was flawed, as it primarily targeted regular BRT users who were more likely to support its continuation.
He further contends that the BRT's low fares, while seemingly beneficial to riders, have led to significant financial losses. Raising fares to cover operational costs and compensate for accumulated losses would likely make the BRT unaffordable for many users.
Building a light rail system along the existing canal in the middle of the road would offer a solution. It would minimally impact current traffic while providing a more efficient and sustainable mode of transportation. To maximize the benefits of this new infrastructure, city planning regulations should be amended to allow for taller buildings, increasing population density and ridership.
In the interim, the BRT route could be utilized as a dedicated bus lane during peak hours, returning the road space to other vehicles at other times.
Arguments against canceling the BRT have been raised in the past. These include:
Desire for route expansion: Expanding the BRT would further disrupt traffic flow by permanently occupying one lane of road.
Popularity among current users: While some riders support the BRT, their numbers are relatively small and concentrated during rush hours.
Affordability: The current fare is heavily subsidized, leading to significant losses.
Traffic congestion on roads with existing rail systems: These systems, while not perfect, prevent much worse congestion.
Limited impact of an additional traffic lane: Removing the BRT would only marginally improve traffic flow.
Mr. Phonchokchai proposes building a light rail line along the Chong Nonsi canal, connecting Chong Nonsi BTS station to the MRT at the intersection of Sathorn and Rama IV roads. This line would continue along Narathiwat Ratchanakarin Road to Rama III Road, crossing the Chao Phraya River to connect with the Blue Line MRT at Tha Phra.
To address concerns about overlapping with the proposed Gray Line, adjustments could be made to the Gray Line's route. This revised route would stimulate development in the area, connecting the Silom-Sathorn financial district to Rama III Road.
Building this light rail system has the potential to transform the area, attracting businesses and investment. With efficient tax collection, the increased economic activity would benefit the entire city.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 05/06/2024 5:29 pm Post subject:
รถไฟฟ้าสายสีทองได้แค่ 7 พันจาก 3 หมื่น ผู้โดยสารต่ำจากประมาณการ KT หาทางแก้
ข่าวทั่วไทย กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันพุธ ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 07:35 น.
นายธรัฐพร เตชะกิจขจร กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ว่ารถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะทาง 1.75 กม. เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สถานีกรุงธนบุรี มีจำนวน 3 สถานี ได้แก่ 1.สถานีกรุงธนบุรี (G1) 2.สถานีเจริญนคร (G2) และ 3. สถานีคลองสาน (G3) โดยเอกชนลงทุนทั้งหมด และรับภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ประเด็นปัญหาที่พบก็คือ จำนวนผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการ เฉลี่ย 7,400 เที่ยว-คนต่อวัน ต่ำกว่าที่ประมาณการอยู่ที่ 30,000 เที่ยว-คนต่อวัน ส่งผลให้ค่าโดยสารของโครงการไม่เพียงพอกับรายจ่ายค่าการบริการจัดการเดินรถ ปัจจัยหลักเนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นโครงข่ายอิสระไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นแบบครบวงจร นอกจากนี้มีการเดินรถลักษณะอื่นแข่งขัน เช่น การเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนั้นทางแก้เพื่อช่วยลดภาระที่เกิดขึ้นต้องปรับปรุงนำโครงการเข้าสู่โครงข่ายภาพรวมของภาครัฐให้ได้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการเส้นทางร่วมกัน เมื่อเชื่อมโยงกันแล้วเชื่อว่าปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้
นายธรัฐพรกล่าวว่า สำหรับการเชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนอื่น ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงความเหมาะสมว่าจะต่อบนเงื่อนไขและโครงสร้างอะไร เพราะรถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นของ กทม. หากจะต่อมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องกลับเข้าสู่ระบบรวมของภาครัฐ เพื่อให้การเชื่อมต่อมีประสิทธิภาพ ส่วนที่มีการเสนอให้ต่อขยายเส้นทางไปเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ที่สถานีประชาธิปก (G4) เพื่อให้การเดินทางสะดวกมากยิ่งขึ้น เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของ กทม. จะพิจารณาดำเนินการอย่างไรต่อไป.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 04/09/2024 10:11 am Post subject:
ชาวเน็ตจวกเละ หลังกทม. เปิดให้บริการ รถบีอาร์ทีอีวี โฉมใหม่ วันแรก พบปัญหาอื้อ
เด่นออนไลน์
วันอังคาร ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 15:55 น.
เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2567 ที่ศาลาว่าการกทม. นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบการเดินรถด่วนพิเศษ (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ว่า ตามที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เปิดให้บริการรถโดยสารด่วนพิเศษ หรือ รถเมล์ BRT รุ่นใหม่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ในเส้นทางปัจจุบันสายสาทร-ราชพฤกษ์ เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา พบปัญหาหลักๆ อยู่ 3 เรื่อง
เรื่องแรก จำนวนรถที่ให้บริการ มีเพียง 16 คันจากทั้งหมด 23 คัน ทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการในการใช้บริการของประชาชน
เรื่องที่ 2 ความถี่ในการปล่อยรถ กำหนดทุกๆ 12 นาที จากเดิม 7 นาที ทำให้ประชาชนที่มาใช้บริการต้องใช้เวลารอนานมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน เช้าและเย็นจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมากต้องต่อแถวเข้าคิวล้นออกมาด้านนอกสถานี สาเหตุที่ปล่อยรถทุก 12 นาที เพราะจำนวนรถมีไม่เพียงพอ จึงต้องเฉลี่ยเวลาในการปล่อยรถออกมาให้บริการ
เรื่องที่ 3 เรื่องประตูไม่ปิด ขณะที่รถวิ่ง เนื่องจากรถเมล์บีอาร์ทีรุ่นใหม่ จะติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ควบคุมการปิดเปิดประตูบานพับ ถ้ามีสิ่งของหรือคนไปกีดขวางหรือปิดบังเซนเซอร์ ทำให้ประตูปิดไม่สนิท ซึ่งเป็นระบบเซฟตี้ของรถ
นอกจากนี้ยังได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับการขึ้นลงรถไม่ได้รับความสะดวก จากเดิม รถจะเข้าจอดเทียบสถานี แต่รถรุ่นใหม่เป็บแบบชานต่ำ ผู้โดยสารต้องเดินลงไปขึ้นรถที่ทางเท้า ระหว่างทางเดินไม่มีหลังคาคลุม
ขณะที่ สจส.อยู่ระหว่างหาตัวผู้รับจ้างเพื่อดำเนินการปรับปรุงสถานีเพื่อให้รองรับกับรถรุ่นใหม่ พร้อมทั้งก่อสร้างหลังคาครอบคลุมทางเดินด้วย เมื่อเสร็จจะได้รับความสะดวกมากขึ้น ส่วนการให้บริการคาดว่าจะใช้เวลาสักระยะ ทุกอย่างถึงจะเข้าที่ได้
ส่วนเรื่องสถานีชาร์จรถไฟฟ้า โดยการไฟฟ้านครหลวง (MEA) จะก่อสร้างสถานีชาร์จที่ สถานีช่องนนทรีให้กับกทม.ตาม MOU ที่ได้ลงร่วมกันไว้ แต่เพิ่งได้รับแจ้งจากMEA ว่า การก่อสร้างสถานีชาร์จรถอาจจะต้องล่าช้าออกไป เพราะอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้อัยการตรวจสอบข้อสัญญาระหว่างMEA กับผู้รับเหมาก่อสร้าง มีปัญหาติดขัดด้านข้อกฎหมายหรือไม่อย่างไร เบื้องต้นได้ประสานขอใช้สถานีชาร์จของไทย สมายล์ บัส ย่านถนนพระราม 3 ก่อน แต่อาจจะไม่สะดวก เพราะต้องแจ้งจองคิวก่อน เนื่องจากหัวจ่ายมีจำกัด
ขณะที่เพจฟุตบาทไทยสไตล์ โพสต์ภาพ พร้อมข้อความ อัปเดตสถานการณ์สดๆๆ ลูกเพจนั่งบีอาร์ที BRT กลับบ้านที่สถานีต้นทางสาทร ทำงานว่าเหนื่อยแล้ว เจอสภาพแถวคิวแล้วคือ เป็นลม
โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวนมาก เช่น รถเสียบ่อย ประตูไม่ปิด ทำให้ผู้โดยสารต้องลงมาขึ้นรถคันอื่น รวมถึงการปล่อยให้รถส่วนตัววิ่งในช่องบีอาร์ที ทำให้รถชะลอตัว ทำเวลาตามกำหนดไม่ได้ ผู้โดยสารต้องรอรถในเวลาที่ไม่แน่นอน
นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนนำรถมาวิ่งรับประชาชน เหตุใดจึงไม่ตรวจสอบความพร้อมให้เรียบร้อย เพราะเมื่อเกิดปัญหารถเสีย ไม่มีรถเสริม ทำให้ประชาชนต่อคิวยาวมากขึ้น และไม่มีรถเพียงพอต่อการใช้งานของผู้โดยสาร รวมถึงการปล่อยรอบวิ่งรถ 12 นาทีต่อ 1 คัน น้อยเกินไป แตกต่างจากรถรูปแบบเดิมที่มีรถจำนวนมากกว่า จุผู้โดยสารได้มากกว่า และออกรอบติด ๆ กัน ไม่ต้องรอนาน
แต่ประชาชนบางส่วนให้ความเห็นว่า เป็นเพราะขณะนี้คือช่วงทดลองให้นั่งฟรี จึงทำให้มีผู้โดยสารจำนวนมาก รถจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9394709
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 22/10/2024 6:21 pm Post subject:
ประมูลปรับปรุงสถานีรอบ 3 BTSC จัดรถเมล์ไฟฟ้าใหม่บีอาร์ทีวิ่งครบแล้ว 23 คัน
ข่าวทั่วไทยกทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันศุกร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เวลา 09:00 น.
รถเมล์ด่วน บีอาร์ที วิ่งครบ 23 คัน เพิ่มความถี่ปล่อยรถ ด้าน สจส. เปิดประมูลปรับปรุงสถานีรอบที่สาม ต.ค.นี้
เมื่อวันที่ 17 ต.ค.67 ที่ศาลาว่าการ กทม. นายสุทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการให้บริการเดินรถด่วนพิเศษ (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ว่า ตามที่ สจส. ได้เร่งรัดบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือบีทีเอสซี ผู้รับจ้างเดินรถนำรถโดยสารใหม่แบบรถไฟฟ้าอีวีมาวิ่งให้ครบตามสัญญา จำนวน 23 คัน รวมถึงเพิ่มความถี่การปล่อยรถทุกๆ 7 นาทีนั้น ล่าสุด บริษัท บีทีเอสซี ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่การเปิดให้บริการเดินรถระยะที่ 3 เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา พบปัญหาอุปสรรคหลายเรื่อง อาทิ จำนวนรถไม่เพียงพอ ความถี่ในการปล่อยรถ และความไม่สะดวกการขึ้นลงรถบริเวณสถานีให้บริการ
นายสุทธิพรกล่าวว่า ส่วนเรื่องการปรับปรุงสถานีเดิม และก่อสร้างเพิ่มอีก 4 จุด ก่อนหน้านี้ สจส.ได้เปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้าง 2 ครั้ง ปรากฏว่าไม่มีเอกชนสนใจยื่นข้อเสนอ จึงได้มีการปรับปรุงร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ใหม่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอขอความเห็นชอบร่างทีโออาร์ และราคากลาง โดยมีการปรับแก้ไขเรื่องระยะเวลา จากเดิม 120 วัน เป็น 200 วัน ตามวงเงินเดิมที่ได้รับอนุมัติจำนวน 17 ล้านบาท คาดว่าภายในเดือน ต.ค.นี้ จะสามารถประกาศประกวดราคาได้ สำหรับสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ได้รับความร่วมมือจากการไฟฟ้านครหลวง (MEA) รับดำเนินการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย.นี้.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
Posted: 24/12/2024 2:29 pm Post subject:
คจร.เคาะโอนคืนรถไฟฟ้า 3 สายจากกทม.ให้คมนาคม หั่นสีแดงช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 03:06 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 03:06 น.
คจร. มีมติตัดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาเวนคืนที่ดิน
คจร. อนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานลอย (Skywalk) เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-Airport Rail Link และสายสีชมพู-สายสีแดง
สุริยะ นั่งหัวโต๊ะประชุม คจร.เคาะโอนคืนรถไฟฟ้า 3 สาย สีเงิน,สีเทา,สีฟ้าจากกทม.ให้คมนาคม และตัดเส้นทางสายสีแดงช่วงหัวลำโพง-วงเวียนใหญ่แก้ปัญหาเวนคืน ไฟเขียว สร้างSkywalk เชื่อมสีเหลือง-ARLและชมพู-แดง
วันที่ 23 ธ.ค. 67 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2567 โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นกรรมการและเลขานุการ
ที่ประชุมมีวาระพิจารณา 11 เรื่อง โดยได้มีมติเห็นชอบ เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1.การโอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าลงทุนใหม่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร(กทม.) กลับคืนให้แก่กระทรวงคมนาคม จำนวน 3 โครงการ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเงิน สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 19.7 กิโลเมตร มีจานวนสถานี 14 สถานี เป็นรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทางโครงการประมาณ 16.3 กิโลเมตร และมีจานวนสถานี 15 สถานี เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้า (ช่วงดินแดง-สาทร) มีระยะทางประมาณ 9.5 กิโลเมตร และมีจานวน 9 สถานี รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)
โดยทางกทม. ได้มีการสรุปเปรียบเทียบข้อได้เปรียบและข้อจำกัด ระหว่างกรณีการโอนให้ กระทรวงคมนาคม ดำเนินการ และกรณี กทม. ดำเนินการเอง จาก 3 ประเด็น คือ แหล่งเงินทุน / การเชื่อมต่อโครงข่าย / การกำกับดูแลโครงการ พบว่าการโอนให้ กระทรวงคมนาคม ดำเนินการมีความคล่องตัว เหมาะสม และสามารถ กำกับดูแลได้ดีกว่า
2.การปรับเปลี่ยนรถไฟชานเมืองสายสีแดง เดิมจากหัวลำโพง มหาชัย เป็น วงเวียนใหญ่ มหาชัย เนื่องจากในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมพื้นที่ของโครงการฯเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ช่วงหัวลาโพง - วงเวียนใหญ่ มี ชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถใช้ผลการศึกษาเดิมได้ (พ.ศ. 2549) และหากดำเนิน โครงการฯ จะส่งผลให้โครงการมีมูลค่าสูง จากการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
นอกจากนี้ ช่วงสะพานข้ามแม่น้าเจ้าพระยา ยังไม่ผ่านการพิจารณา การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับการศึกษาเดิม เส้นทาง จากหัวลำโพง มหาชัย มีระยะทาง 36.56 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 53,064 ล้านบาท ส่วนช่วง วงเวียนใหญ่ มหาชัย ระยะทาง 33.16 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 48,129 ล้านบาท
โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จึงได้เสนอ งบประมาณปี พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนเงิน 140 ล้านบาท เพื่อดำเนิน การทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯในด้านต่าง ๆ ศึกษาออกแบบ รายละเอียด จัดทารายงาน EIA และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงวงเวียนใหญ่ มหาชัย
3.โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-Map)
4.หลักการการดำเนินงานก่อสร้างทางเชื่อมบริเวณสถานีเชื่อมต่อ (Interchange) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว สำโรง และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย มีนบุรี โดยมอบหมายให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับผิดชอบก่อสร้าง Skywalk หรือทางเดินเชื่อม 2 จุด คือ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง กับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่สถานีหัวหมาก และ เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีชมพู กับ สายสีแดง ที่สถานีหลักสี่
5.ผลการศึกษาเปรียบเทียบทางเลือกการดำเนินงานโครงการที่เหมาะสมสำหรับดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน - สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์
6.การขอทบทวนโครงการภายใต้แผนแม่บทสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
7.โครงการศึกษาการแก้ไขปัญหาการจราจรทั้งระบบบนถนนสายหลักในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระยะเร่งด่วน ดังนี้ 7.1) การดำเนินงานแก้ไขปัญหาการจราจรในระยะเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 7.2) แนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรถนนพหลโยธิน บริเวณกองทัพอากาศ
8.แผนปฏิบัติการด้านการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2567 - 2580
9.ขอทบทวนแผนการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษในภาพรวมทั้งระบบ
10.โครงการนำร่องการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะในเขตจังหวัดปริมณฑล โครงการการประเมินผลการใช้มาตรการตรวจจับผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรโดยใช้กล้องตรวจจับ : พื้นที่จังหวัดปทุมธานี
11.การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 เรื่อง การส่งเสริมการจัดท่าเทียบเรือสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและสามารถนำพื้นที่บางส่วนของท่าเรือสาธารณะมาใช้ในเชิงพาณิชย์
นอกจากนี้ ยัง ได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการที่สำคัญ จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่
1. แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเปิดให้บริการแล้ว 13 เส้นทาง ระยะทางรวม 276.84 กิโลเมตร ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบและมอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พิจารณาศึกษาขนส่งมวลชนระบบรอง (รางเบา) ในย่านจตุจักร เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ให้เกิดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาระบบรางและประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทาง
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน
3.การดำเนินการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทาง สถานีรถไฟชานเมือง สายสีแดง (สถานีรังสิต) ตามมติ อจร. จังหวัดปทุมธานี
4.แผนพัฒนาการเดินทางทางน้ำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และการเชื่อมต่อการเดินทางรูปแบบอื่น
5.ผลการทบทวนการศึกษาความเหมาะสมโครงการขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1) ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบา สายเหนือ - ใต้ รวมถึงโครงการระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น เส้นทางนำร่องสายสีแดง (สำราญ - ท่าพระ)
6. แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2563
7. ผลการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นในการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนนในเขตพื้นที่การจราจรหนาแน่นในกรุงเทพมหานคร โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เตรียมการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก United Kingdom Partnering for Accelerated Climate Transition (UKPACT) สามารถเริ่มโครงการศึกษาได้ในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2567
และ8.สรุปผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ปีงบประมาณ 2565 - 2566
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group