RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179751
ทั้งหมด:13490983
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ขุดกรุ : จากสถานี HS 1 PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ขุดกรุ : จากสถานี HS 1 PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 26/10/2006 1:47 pm    Post subject: Reply with quote

ครับ...ท่านเป็นบิดาของอธิบดีชาตรี ช่วยประสิทธิ์ แห่งกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เจ้าของตึกที่กรมผมอาศัยพักพิงอยู่ด้วยครับ Laughing

และอย่าลืม พ.อ.(พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง ผู้ร่วมก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ขาวดำ สมัยโน้นด้วยนะครับ เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่เดือนนี้ เป็นผู้ต้นคิดระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์เบนซินโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับทองขาวโดยฝีมือคนไทย ( ในชื่อการค้าว่า Super spark และ Phantom spark ) ก่อนที่บริษัทผู้ผลิดรถยนต์ทั้งหลายจะพัฒนาระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์เบนซินเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ล้วนในทุกวันนี้

Wisarut wrote:
คุณลุงถาวรก็เคยเล่าเรื่องการพาทหารทั้งกรม เดินทางกลับประเทศไทยด้วยเท้าเปล่าจากเชียงตุงไปพิษณุโลก และต่อรถไฟพิเศษไปโคราช ด้วยครับ

ส่วนท่านผู้พันการุณนั้นก็ต้องยอมรับว่าแน่เหมือนกัน


ขอบคุณครับ คุณกวง สำหรับคำติชม Very Happy ไปกันต่อครับ.....

ในช่วงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรภาพแห่งใหม่กำลังดำเนินไปท่ามกลางบรรยากาศวิวาทะถึงความสิ้นเปลืองเงินงบประมาณระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับรัฐบาลนั้น ทางเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องที่กลับมาจากการศึกษาดูงานด้านวิทยุโทรภาพ จากสหรัฐอเมริกา เริ่มฝึกหัดทดลองการใช้งานโทรทัศน์ในระบบวงจรปิด โดยอาศัยเครื่องส่งโทรทัศน์ขนาดเล็กยี่ห้อ " มาร์โคนี่ " เป็นอุปกรณ์เครื่องมือ ใช้หอประชุมอาคารกรมประชาสัมพันธ์เป็นสถานที่ถ่ายทอดให้แก่ผู้มาเยี่ยมดูงานได้ชม สร้างความตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้เห็นภาพตัวเองปรากฎบนจอโทรภาพ และเริ่มกล่าวขวัญสร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับการมีโทรทัศน์ในประเทศไทย

ในเวลาต่อมา หลังจากได้ระดมทุนเพื่อจัดตั้ง " บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด " โดยส่วนราชการเข้าถือหุ้นทั้งหมด รวมมูลค่าหุ้น 4,000,000 บาท มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว บรรดาผู้เกี่ยวข้องเล็งเห็นว่า สมควรให้ดำเนินกิจการด้านวิทยุกระจายเสียงด้วย เพื่อหารายได้สนับสนุนกิจการวิทยุโทรภาพ ฝึกฝนบุคลากร และเตรียมการด้านอื่นๆ แก่กิจการโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า

สถานีวิทยุแห่งใหม่ได้เปิดกระจายเสียงออกอากาศในระบบ A.M. คลื่นความถี่ 1,500 Khz. และคลื่นสั้นความถี่ 5.27 MHz. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2497 เวลา 20.30 น. โดยใช้ชื่อว่า " สถานีวิทยุ ท.ท.ท. " และเริ่มเป็นขวัญใจผู้รับฟังอย่างรวดเร็ว เพราะมีเนื้อหาสาระเข้าใจง่าย มีลักษณะชวนฟัง แตกต่างจากสถานีแห่งอื่นที่ลักษณะรูปการจัดรายการเป็นทางการ และกระจายเสียงเป็นช่วงเวลา ไม่ต่อเนื่องกันอีกด้วย

ในขณะนั้น สถานีวิทยุกระจายเสียงที่มีอยู่ในประเทศไทย รวม 5 สถานี ได้แก่

- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ของกรมโฆษณาการ
- สถานีวิทยุกระจายเสียง 1 จ.ส. ของกรมการทหารสื่อสาร
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมการรักษาดินแดน
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกองสัญญาณทหารเรือ กองทัพเรือ
- สถานีวิทยุกระจายเสียงภาคทดลอง 1 ปณ. ของกรมไปรษณีย์โทรเลข


และในภายหลัง สถานีวิทยุ ท.ท.ท.ได้ขยายเวลาออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง และเริ่มส่งกระจายเสียงในระบบ F.M. เป็นสถานีแรกในประเทศไทย

หากใครถามว่าอาคารวิทยุ ท.ท.ท.ขณะนั้นอยู่ที่ไหน ? คงตอบได้ว่า อยู่ตรงที่ตั้งอนุสาวรีย์วีรชน 14 ตุลาคม นั่นแหละครับ แต่สถานีวิทยุ ท.ท.ท. ได้ย้ายไปอยู่ที่ตึกศูนย์การค้าราชดำริอาเขต ( ถูกรื้อไปแล้ว ) อาคารนี้จึงกลายเป็นที่ทำงานของ กตป. และเกิดเหตุการณ์เผาตึก กตป.ในช่วง 14 ตุลาคม ดังกล่าว

Click on the image for full size
การทดลองออกอากาศในระบบวงจรปิดแก่ผู้มาเยี่ยมชมงาน ณ อาคารกรมประชาสัมพันธ์ ( เดิม )

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498 เวลา 07.30 น. ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเครื่องส่งสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งก่อสร้างบนที่ดินธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม ในชื่อว่า " สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทย ที.วี. " มีชื่อเรียกตามอนุสัญญาสากลวิทยุว่า " HST TV." ออกอากาศทางช่อง 4 ด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์

หลังจากกดปุ่มเปิดป้ายนามสถานีในภาคเช้าแล้ว ในเวลา 19.00 น. ได้เปิดสถานีด้วยภาพยนต์สัญญาณ ต่อด้วยการรำต้นบรเทศ เพลงประจำสถานีโดยคุณ อารีย์ นักดนตรี จากนั้น ทางสถานีได้เริ่มรายการประจำคืนนั้นไปตามลำดับ จนปิดสถานีเมื่อเวลา 23.30 น.

ในขณะนั้น ประเทศไทยมีเครื่องรับโทรทัศน์ประมาณ 1,000 เครื่องเท่านั้น และต้องจดทะเบียนกับทางการด้วย จนกระทั่งในภายหลัง มีบริษัทผู้นำเครื่องรับเข้ามาจำหน่ายร้องเรียนว่า ไม่สามารถจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ได้สะดวก และผูกขาดจำหน่ายเพียงไม่กี่บริษัท จึงได้เลิกจดทะเบียนเครื่องรับวิทยุ - โทรทัศน์ ตั้งแต่นั้น

จากรายงานติดตามผลการรับชมในพื้นที่ต่างๆ ของฝ่ายช่างของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด สามารถรับชมสัญญาณได้ชัดเจนรวม 12 จังหวัด นอกเหนือจากกรุงเทพฯ

Click on the image for full size
อาคารสถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทย ที.วี. ช่อง 4 บางขุนพรหม

ตลอดระยะเวลาออกอากาศ มีผู้บันทึกไว้ว่า จะเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 18.00 น. เพื่อฉายภาพทดสอบ ( เอ...เด็กสมัยนี้จะรู้จักหรือเปล่าหว่า ? )

Click on the image for full size
ภาพ test pattern แบบนี้แหละครับ ที่ใช้กับ ไทยทีวี. ช่อง 4 แต่ของช่อง 7 ขาว - ดำ จะไม่มีหัวอินเดียนแดง เพราะใช้อุปกรณ์เครื่องส่งคนละบริษัท

ภาพทดสอบเป็นแผ่น pattern วงกลม มีเส้นลายลักษณะต่างๆ ทั้งแนวตั้งแนวนอน เพื่อทดสอบความคม ระดับความเข้ม และปรับรูปทรงภาพสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมกับเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้าน ( ผมเคยเห็นคล้ายๆ กันกับโทรทัศน์วงจรปิดที่ห้องบรรยายใน ม.ร.)

จากนั้นแล้ว จะเปิดสถานีเวลา 18.30 น. ดำเนินรายการตามผังรายการที่จัดทำไว้ให้ทุกฝ่ายได้ทราบ และเป็นคู่มือปฏิบัติงานระหว่างออกอากาศ

จนปิดสถานีเมื่อเวลา 22.00 น.

ซึ่งการออกอากาศประจำวันแต่ละครั้ง ต้องใช้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจำนวน 42 คน

Click on the image for full size
ปูมผังรายการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ครับ

ในกลุ่มข้าราชการที่ไปศึกษาดูงานด้านกิจการวิทยุโทรทัศน์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา นั้น

คุณสมชาย มาลาเจริญ มีบุคลิกหน้าตาหล่อเหลากว่าเพื่อน

เลยได้รับการจัดวางเป็นผู้ประกาศชายทางสถานีโทรทัศน์ ไทย ที.วี. คนแรกของประเทศไทย

Click on the image for full size
ผู้ประกาศชาย ทางสถานีโทรทัศน์คนแรกของไทย

ในส่วนของผู้ประกาศหญิง ก็ไม่น้อยหน้าครับ ปรากฎโฉมเป็นทีม บางท่าน เป็นถึงระดับนางสาวไทยด้วยล่ะ

ถ้าผมจำข้อมูลไม่คลาดเคลื่อน ผู้ประกาศหญิงทางโทรทัศน์คนแรกของไทย คือ คุณอารีย์ นักดนตรี ครับ

Click on the image for full size
ทีมงานผู้ประกาศหญิง ที่สถานีโทรทัศน์ ไทย ที.วี.

สำหรับรายการที่จัดในช่วงนั้น ยังไม่มีภาพยนต์ชุดสำหรับฉายออกทางโทรทัศน์มากนัก รายการจึงเป็นรายการสด เช่น ข่าว ดนตรี ละคร ทายปัญหา และผู้จัดรายการจะวนเวียนอยู่ในสถานีโทรทัศน์เอง ศึกษาหาประสบการณ์จากปฏิบัติงานจริงจนเชี่ยวชาญ และอยู่ในกำกับตามแนวนโยบายของรัฐบาลอย่างใกล้ชิดจาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ปลูกฝังวัฒนธรรมด้านภาษาพูด ได้แก่ " คุณ " , " ผม " , " ดิฉัน " เริ่มต้นจากบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เป็นแห่งแรก

ส่วนการถ่ายทอดสด ได้ถ่ายทอดสดพิธีฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ณ ท้องสนามหลวง และถ่ายทอดการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายอื่นได้ใช้เวลาของสถานีด้วย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ก่อตั้ง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 ( ขาว - ดำ ) ออกอากาศแข่งขันภายในเวลา 4 เดือน หลังจากทำรัฐประหารขับไล่รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ.2500 นั้นเอง

Click on the image for full size
รายการสดจากห้องส่งสถานี " ปัญหาผะหมี " ( ภาษาจีน : ผะ = ตี , หมี = ปริศนา ปัจจุบันยังนิยมเล่นกันอยู่ที่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี )

ผมยังเคยเห็นผู้จัดรายการที่สถานีโทรทัศน์ไทย ทีวี.ช่อง 4 อยู่รายหนึ่งคือ คุณ รักษ์ รักษ์พงษ์ ( โพธิรักษ์ในปัจจุบัน ) ด้วยครับ

Click on the image for full size
เบื้องหลังรายการสด สัมภาษณ์แพทย์หญิง ฮัน ซู หยิน

ผู้ร่วมรายการในสมัยนั้นครับ Very Happy

Click on the image for full size
โฉมหน้าผู้ร่วมรายการ

ลิเกโทรทัศน์ครับ แต่ผู้แสดงไม่ธรรมดาเลย เป็นลิเกบรรดาศักดิ์

Click on the image for full size
หลังกล้องโทรทัศน์ ในรายการลิเก

ขอแทรกนิดหนึ่งครับว่า แผนกศิลปกรรมของสถานีโทรทัศน์ ไทย ที.วี.ช่อง 4 บางขุนพรหม นำทีมโดย คุณพิชัย วาสนาส่ง สถาปนิกหนุ่มผู้ออกแบบอาคารกรมประชาสัมพันธ์ ถนนราชดำเนิน นั่นเอง และท่านผู้นี้ได้เก็บเกี่ยวความรู้ ประสบการณ์จากร่วมจัดทำรายการที่นี่ ไปเป็นผู้จัดรายการชื่อดัง โดยเฉพาะด้านวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศ สารคดีประวัติศาสตร์ ทางวิทยุโทรทัศน์ และนิตยสารต่างๆ

ผมติดรายการที่ท่านผู้นี้จัดอยู่รายการหนึ่ง คือรายการ " พบโลก " ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มีสารคดี " มหาสงครามโลกครั้งที่ 2 " ฉายให้ชมด้วย โดยท่านผู้จัดลงมือทำบทพากษ์และบรรยายเอง ได้เกร็ดความรู้เพียบ...

Click on the image for full size
โฉมหน้าผู้กำกับรายการ

มาดูภาพผู้อยู่เบื้องหลังภาพกันบ้าง นำทีมโดย คุณ จำนง รังสิกุล ผู้กำกับรายการ ที่บ่อยครั้งต้องรับหน้าที่พิธีกรด้วยครับ

นอกจากนั้น ยังมีทีมงานผู้บุกเบิกกิจการโทรทัศน์ที่มักอยู่หลังเบื้องกล้อง อาทิ

Click on the image for full size

Click on the image for full size
ทีมงานเบื้องหลังกล้อง

Click on the image for full size
ภาพนี้ต้องขออภัยที่ต้อง censor บางส่วนครับ

คุณอัมพร พจนพิสุทธิ์ รับผิดชอบด้านผู้ควบคุมด้านเทคนิค ,
คุณธำรง วรสูตร รับผิดชอบด้านหน่วยควบคุมกล้องถ่ายภาพและระบบไมโครเวฟ ,
คุณธนะ นาคพันธ์ รับผิดชอบด้านการให้บริการด้านเครื่องรับโทรทัศน์ และ
คุณฟู ชมชื่น รับผิดชอบด้านเครื่องส่งโทรทัศน์

Click on the image for full size
ฝ่ายข่าว..

อีกท่านหนึ่ง รับหน้าที่หัวหน้าฝ่ายข่าว มักเป็นข่าวระดับประเทศด้วยสิ ข่าวสุดท้ายในอาชีพก็คือ สั่งการในฐานะ ผอ.สถานีโทรทัศน์ฯ ให้เปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ออกข่าวด่วน " 6 ตุลาคม 2519 " จนเป็นที่ฮือฮาทั้งเมือง

คุณสรรพสิริ วิริยศิริ ยังไงครับ ?


Last edited by black_express on 12/04/2012 9:27 pm; edited 11 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 26/10/2006 4:01 pm    Post subject: Reply with quote

ขอข้ามไปโทรทัศน์ของคนบ้านนอก เอ๊ย ! คนต่างจังหวัดกันบ้างครับ... Very Happy

ในช่วงปี พ.ศ.2505 กรมประชาสัมพันธ์ ได้สนองนโยบายของรัฐบาล ขยายสถานีโทรทัศน์ไปตั้งอยู่ภูมิภาค ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีอุปกรณ์ห้องส่งออกอากาศสมบูรณ์ครบถ้วน ไม่ใช่เพียงแค่สถานีถ่ายทอดสัญญาณเหมือนที่เป็นมา

โดยเริ่มต้นที่ภาคใต้ ออกอากาศทางช่อง 10 ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกอากาศทางช่อง 5 ที่ อ.เมืองฯ จ.ขอนแก่น และ ภาคเหนือ ออกอากาศทางช่อง 8 ที่ อ.เมืองฯ จ.ลำปาง ตามลำดับ

สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ( Television of Thailand ) ช่อง 5 , ช่อง 8 ออกอากาศในระบบ 525 เส้น ยกเว้นช่อง 10 หาดใหญ่ ออกอากาศในระบบ 625 เส้น เพื่อแข่งขันกับสถานีโทรทัศน์จากประเทศมาเลเซีย แต่ยังเป็นโทรทัศน์ ขาว - ดำ

ผมเป็นแฟนโทรทัศน์ต่างจังหวัดประเภทนี้ โดยตระเวนไปดูตามบ้านที่มีโทรทัศน์อยู่ ไม่มีโอกาสหมุนช่องไปไหน เพราะอยู่มีช่องเดียว ส่วนใหญ่จะดูตอนหัวค่ำ เพราะมีหนังญี่ปุ่น Ultra Man ( version แรก ) , หุ่นอภินิหาร , หนังไทยทั้งช่อง 4 ช่อง 7 ไปเหมาช่องฉายรวมกันที่นั่น พอ 2 ทุ่ม ถึงภาคข่าว ก็ทยอยกันกลับบ้าน

น่าเบื่อมากๆ ครับ... มีแต่ข่าวประเภท นั่งอ่านเอา... อ่านเอา... ตั้งเกือบชั่วโมง ไม่มีภาพยนต์ข่าวประกอบเลย กลับไปนอนฟังละครวิทยุดีกว่า

ถ้าวันไหนสถานีถ่ายทอดสัญญาณเสีย วันนั้นคนดูก็ฟาล์ว... Crying or Very sad

Click on the image for full size
สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในภูมิภาค

ในเวลาต่อมา กรมประชาสัมพันธ์ ได้ตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ออกอากาศทางช่อง 9 ที่ อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี และสถานีวิทยุโทรทัศน์ขนาดเล็ก ช่อง 11 ที่ อ.เมืองฯ จ.ภูเก็ต เป็นระบบ 525 เส้น

ส่วนสถานีทวนสัญญาณ ( Repeater ) ในตอนหลัง ฝ่ายช่างของสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ขอนแก่น ได้ผลิตเอง ทดแทนนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้เผยแพร่ออกอากาศได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น

Click on the image for full size
ห้องส่งและอุปกรณ์เครื่องมือสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในภูมิภาค

แล้ววันหนึ่ง..... สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ได้ติดตั้งสถานีถ่ายทอดโทรทัศน์สีผ่านดาวเทียมแห่งแรก (ดาวเทียมปาลาป้า - บี ?) ที่ดอยสุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

เหมือนระเบิดปรมาณูลูกแรกทิ้งลงฮิโรชิมายังไงยังงั้น...

ยอดจำหน่ายโทรทัศน์สีในจังหวัดภาคเหนือสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการตั้งแผงรับโทรทัศน์สีกันเกลื่อนกลาด แห่เสาสัญญาณหาช่องคลื่นสัญญาณรอบบ้าน เพราะเป็นพื้นที่ภูเขา แผงเสาอากาศจึงติดตั้งในลักษณะแปลกๆ บนหลังคาบ้านไม่ชัด กลับชัดเจนใต้ถุนบ้าน บริเวณบ้านไม่ชัด ไปชัดตรงข้างถนน บางแห่ง ตั้งบนถังเก็บน้ำ ไม่ชัด เจอลมพายุพัดโค่นลงพาดถังเก็บน้ำ กลับชัดแจ๋วก็มี เจ้าของแผงเลยปล่อยไปตามเดิม ไม่กล้าขยับอีก

ปัญหานี้ค่อยหมดไป เมื่อสถานีโทรทัศน์ช่องอื่น ช่วยกันตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมขึ้นมาบ้าง จนคนดูในประเทศไทยพูดภาษาโทรทัศน์แบบเดียวกันหมด...

กรมประชาสัมพันธ์เอง ก็ทนนั่งดูลูกค้าหายไปทีละมากๆ แบบนี้ไม่ได้ เลยจัดทำแผนปรับปรุงระบบสัญญาณโทรทัศน์ในภูมิภาคกันใหม่ โดยกำหนดให้เป็นระบบสัญญาณสี 625 เส้น ทุกสถานี พร้อมติดตั้งระบบสัญญาณผ่านดาวเทียม จัดทำตราประจำสถานีลักษณะเหมือนของช่อง 11 ในปัจจุบัน แตกต่างกันตรงเลขช่องสถานี และติดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณกันใหม่ แต่ยังไม่มีสถานีแม่ข่ายที่กรุงเทพฯ คงอาศัยการถ่ายทอดภาคข่าวจาก ไทย ที.วี.สี ช่อง 9 ไปก่อน

จนกระทั่ง มีเครื่องถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์สี ซึ่งเหลือจากการติดตั้งที่ อ.เด่นชัย จ.แพร่ อยู่ 1 เครื่อง ส่งสัญญาณในช่อง 11 จึงได้นำมาทดลองติดตั้งที่ อาคารซอยศูนย์วิจัยฯ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ กลายเป็นโทรทัศน์ขวัญใจโรงนวด ( เขาว่ามานะ ไม่ใช่ผมคิด ) ว่ากันว่าหมอนวดดูโทรทัศน์ช่องนี้เป็นการฆ่าเวลา รอเรียกตัวไปทำงาน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ด้วยเหตุที่ว่า เครื่องส่งเดิมมีกำลังต่ำ จึงได้มีการสั่งซื้อเครื่องส่งใหม่ โดยทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ออกอากาศในช่อง 11 กลายเป็นสถานีแม่ข่ายของโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ และสถานีโทรทัศน์ในภูมิภาค ครั้งนี้ ได้เปลี่ยนตราสัญญลักษณ์สถานีเป็นช่อง 11 เหมือนกันหมด พร้อมทั้งจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เพิ่มเติมที่ จ.พิษณุโลก , อุบลราชธานี , ระยอง , กาญจนบุรี , ชุมพร และจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 News 1 ออกอากาศผ่านสัญญาณดาวเทียมอีกด้วย

ในส่วนของโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ มีเสนอเพียงเท่านี้ครับ Smile

Click on the image for full size
สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ( แม่ข่าย ) กรมประชาสัมพันธ์


Last edited by black_express on 11/09/2011 10:29 am; edited 7 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 26/10/2006 4:12 pm    Post subject: Reply with quote

ย้อนกลับมาสถานีวิทยุโทรทัศน์ในกรุงเทพฯ ส่งท้ายกระทู้นะครับ ไม่รวม Cable TV. และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม

นับตั้งแต่กำเนิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทย ที.วี ช่อง 4 บางขุนพรหม ที่เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรก เมื่อคืนวันที่ 24 มิถุนายน 2496 เป็นต้นมา และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในเอเซียอาคเนย์ ได้มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ติดตามมาอีกตามลำดับดังนี้ครับ

สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 สนามเป้า ออกอากาศครั้งแรกในระบบ 525 เส้น ขาว - ดำ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501 ซึ่งตรงกับวันกองทัพไทย

แล้วอีกหลายปี....ก็ถึงยุคสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกในเอเซียอาคเนย์ด้วยสิ ไม่แพ้ช่อง 4 บางขุนพรหม

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ออกอากาศครั้งแรกในการถ่ายทอดสดงานประกวดนางสาวไทย พ.ศ.2509 และเปิดสถานีอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2510 โดยอาศัยห้องส่งร่วมกับ ช่อง 7 ขาว - ดำ

ต่อมาได้สร้างห้องส่งใหม่ ที่ ซอยยาสูบ 1 หลังสถานีขนส่งสายเหนือ ( ตลาดหมอชิต ) ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า " วิกหมอชิต "

สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ ทำให้มีคนร่ำรวยหลายคน จากการรับติดตั้ง oscillater เพิ่มความถี่รับสัญญาณเสียงในระบบ 625 เส้น ให้กับเครื่องรับเดิม ( จูนเนอร์ลูกบิด ) ที่รับสัญญาณ 525 เส้น หรือเรียกว่า " ใส่เสียง " คิดค่าติดตั้งกับลูกค้ารายละเกือบร้อยบาท แล้วลดราคาลงมาเรื่อยๆ จนบริษัทผู้ผลิตใช้จูนเนอร์ระบบกดปุ่มรับสัญญาณ ถึงได้สร่างซาไป

แฟนๆ ช่องเจ็ดสี มีมากกว่าใคร เพราะติดใจละครโทรทัศน์ " ยอพระกลิ่น " แถมมีละครมากกว่าข่าว

มาปรับรูปแบบครั้งใหญ่ ตอนมือดีมาจัดรายการข่าวแย่งเรตติ้งคนฮิตทั้งบ้านทั้งเมือง ที่ช่อง 9 โดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล และทีมงานนั่นแหละครับ

แต่ช่องเจ็ดสียังคงฮิตอยู่ จนถึงรุ่นหลังที่มักเป็นคนต่างจังหวัด เพราะเป็นสถานีบุกเบิกด้านติดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมไปทั่วประเทศ

ดังนั้น คนกรุงเทพฯ มักจะล้อคนที่เปิดช่องเจ็ดสีดูก่อนอื่นว่า " เพิ่งมาจากต่างจังหวัดหรือ ? " Very Happy

ก็...จริงๆ ด้วยสิ เปิดด้วยความเคยชิน ทำไงได้ Wink

สิ่งที่มาพร้อมกับสถานีโทรทัศน์สีแห่งนี้คือ สถานีวิทยุ F.M. Stereo ให้ชาวบ้านรับฟังเสียงที่หายไปจากความถี่คลื่นเสียงไม่ตรงกัน เหลือเป็นมรดกให้ค่ายเพลงคลื่นต่างๆ สร้างความบันเทิงให้กับคนกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ครับ

แล้วคู่แข่งก็ติดตามมา สถานีโทรทัศน์ไทย ที.วี.สี ช่อง 3 เปิดสถานี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2513 มีที่ตั้งอยู่ที่ เขต หนองแขม ชานเมืองกรุงเทพฯ ด้านฝั่งธนบุรี ชาวบ้านเรียกติดปากอีกเช่นกันว่า " วิกหนองแขม "

สถานีนี้ มีละครบุกเบิกแหวกแนวกว่าใครอื่น รายการไม่อนุรักษ์นิยมแบบช่องเจ็ด แต่ด้วยความถี่คลื่นออกอากาศต่ำ มีสัญญาณรบกวนง่าย จึงมีจุดแข็งด้านช่างซ่อมบำรุงเป็นพิเศษ และมีสถานีวิทยุ F.M. Stereo ถ่ายทอดเสียงภาพยนต์ - รายการที่ออกอากาศเช่นเดียวกับของช่อง 7

ช่อง 3 ในปัจจุบัน คลื่นสัญญาณสู้ตึกระฟ้าไม่ไหว ต้องออกอากาศในระบบความถี่สูง ( UHF ) ที่ตึกใบหยก 2 แถมย้ายห้องส่งมาอยู่แถวถนนพระรามที่ 4 ปล่อยให้สถานีเดิมเป็นที่ตั้งเครื่องส่งช่อง 3 ( เดิม ) , ช่อง 9 กับส่งสัญญาณโทรทัศน์ขึ้นสู่ดาวเทียมเท่านั้น

จากการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ที่หนองแขม มีเครื่องส่งสำรองเหลืออยู่อีกเครื่องหนึ่ง จึงกลายเป็นเครื่องส่งระบบ 625 เส้น ในช่อง 9 ควบคู่กับการออกอากาศของ ไทย ทีวี.ช่อง 4

ภายหลัง เครื่องส่งออกอากาศช่อง 4 เริ่มหมดสภาพใช้งาน จึงได้เปลี่ยนเป็นออกอากาศเต็มตัวด้วยสัญญาณในช่อง 9 เมื่อปี 2517 แล้วยกเลิกการออกอากาศทางช่อง 4 ในที่สุด

สถานีโทรทัศน์ ไทย ทีวี.สี ช่อง 9 ได้ย้ายออกมาจากบริเวณวังบางขุนพรหม เนื่องจากหมดสัญญาเช่าที่ดิน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการปัจจุบัน จึงได้เช่าอาคารพาณิชย์บริเวณบางลำภู ถ.พระอาทิตย์ ( หน้าวัดสังเวชฯ ) กลายเป็นสถานีโทรทัศน์ห้องแถวอยู่หลายปี จนกระทั่งยุบเลิกบริษัท แปรสภาพเป็น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ( อสมท.) จึงได้เข้าที่ตั้งถาวรบริเวณ ถ.พระราม 9 ( สี่แยก อสมท.) ทุกวันนี้

ผมเคยเห็นสภาพที่ดินเมื่อก่อน ยังเป็นสวนผักอยู่เลย ตรงโค้งหักศอกเหนือโรงงานมักกะสัน ถ.อโศก - ดินแดง ( เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จตอนนั้นหมาดๆ ) นึกภาพไม่ออกเลยว่ากลายเป็นสี่แยก อสมท. ได้ไง ?

สถานีนี้ เป็นผู้บุกเบิกรายการข่าวจนเป็นต้นแบบให้สถานีโทรทัศน์แห่งอื่นๆ ตามอย่างทุกช่อง ก็รายการข่าวประจำวันของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล และทีมงาน ไงครับ ?

เคยเห็นที่ไหนบ้าง ? กับรายการข่าว และ varities ข่าวด้านต่างๆ ที่ยาวยืดถึง 1 ชั่วโมง แต่คนดูเฝ้าติดตามไม่มีเบื่อ ?

สถานีโทรทัศน์ ไทย ทีวี.สี ช่อง 9 แห่งนี้ เปลี่ยนรูปโฉมไปหมดจดในรูปลักษณ์ใหม่ Modern nine TV. เมื่อเดือนเมษายน 2546 ไม่ยึดติดสัญญลักษณ์ประจำช่องในกรอบจอ ทีวี. แบบเดิม ท่าทางมาแรงแซงโค้งทิ้งเรตติ้งเพื่อนฝูงด้วยสิ

ต่อมา สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 เริ่มเปลี่ยนเครื่องส่ง กลายเป็น สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 อย่างเงียบ ๆ แต่เป็นผู้ริเริ่มความร่วมมือระหว่างสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ในนามของ " โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ( TV Pool of Thailand ) " เพื่อออกรายการ และถ่ายทอดสดรายการสำคัญของประเทศทุกช่อง ซึ่งสถานีโทรทัศน์ในหลายๆ ประเทศ ยังรวมกันเฉพาะกิจแบบนี้ไม่ได้เลย

มาครึกโครมตอนหลัง มีสถานีโทรทัศน์หน้าใหม่กำเนิดขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นสถานีข่าวโดยเฉพาะ ถ้าจะจูนคลื่นความถี่จะตกอยู่ในช่อง 26 เลยเรียกกันสั้นๆ กันพอเข้าใจว่า " สถานีโทรทัศน์ ไอ ทีวี. ( Independent Television ) " เป็นครั้งแรกที่ชื่อสถานีโทรทัศน์ ไม่ยึดติดกับช่องความถี่ออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ โตขึ้นด้วยเงื่อนไขค่อนข้างหิน ที่ต้องจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณทั่วประเทศให้ครบถ้วนตามสัญญาด้วย ที่ทันสมัย ก็ตรงกระจายเสียงด้วยระบบเสียง Stereo ( ถ้ามีเครื่องรับแบบเดียวกัน ) พอฮิตติดตลาดถึงตอนนี้ เลยมีผู้ต้องการมาไว้ในมือแบบบูรณาการ ?

แฮ่ม...

จะอิสระตามชื่อสถานีหรือเปล่า ? ตอบคำถามกันเองเด้อครับ Very Happy

Click on the image for full size
วิวัฒนาการของโทรทัศน์ไทย


Last edited by black_express on 13/12/2007 5:00 pm; edited 6 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 26/10/2006 4:18 pm    Post subject: Reply with quote

แถมท้ายครับ...

คนในยุคโทรทัศน์กดปุ่ม อาจไม่เข้าใจว่า ช่องโทรทัศน์ มีมาอย่างไร ?

โทรทัศน์สมัยก่อน มีไม่มากนัก จึงกำหนดตั้งคลื่นความถี่ภาพและความถี่เสียงรวมเป็น 1 ช่องสัญญาณ ใช้จูนเนอร์แบบลูกบิด มีช่องในระบบ VHF ( Very High Frequency ) ในระบบ 525 เส้น แบ่งเป็น 12 ช่องด้วยกัน มีแค่ช่อง 2 - 13 หมดเพียงแค่นั้น

เมื่อโทรทัศน์บ้านเรา เปลี่ยนระบบสัญญาณอออกอากาศเป็น 625 เส้นกันใหม่ๆ มีเพียงบางช่องเท่านั้นที่สัญญาณตรงกัน จึงมีชาวบ้านหัวใส เขียนใส่กระดาษติดข้างจูนเนอร์โทรทัศน์แบบลูกบิด อย่างนี้

ดูช่อง 3 หมุนจูนเนอร์ ไปช่อง 2
ดูช่อง 5 หมุนจูนเนอร์ ไปช่อง 7
ดูช่อง 7 หมุนจูนเนอร์ ไปช่อง 9 ( ต้องใส่เสียง หรือฟังวิทยุ F.M.ถ่ายทอดเสียงออกอากาศ )
ดูช่อง 9 หมุนจูนเนอร์ ไปช่อง 11 หรือช่อง 12

ในปัจจุบัน เครื่องรับโทรทัศน์ได้ผลิตเป็นระบบ 625 เส้น และกลายเป็นระบบ multi function รับได้ทุกระบบ โดยตั้งจูนเนอร์รับคลื่นสถานีเป็นแบบกดปุ่ม scan หาคลื่น แล้ว set ช่องไว้ตามใจชอบ เผื่อจำนวนสถานีมีเพิ่มขึ้นในอนาคต ( คิดเผื่อเอาไว้ถึง 88 ช่อง ) ปัญหาเรื่องจูนเนอร์แบบลูกบิดได้หมดไป

ราคาเครื่องรับโทรทัศน์สีสมัยก่อน ราวเครื่องละ 12,000 บาท ( ทองคำบาทละ 400 บาท ) สมัยก่อน ผมอาศัยดูตามร้านจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์แถวถนนเจริญกรุง คนบ้านนอกอย่างผม อดทึ่งไม่ได้กับสีสันสวยสดที่เห็นบนจอครับ

แล้วมีใครก็ไม่ทราบ ไปป่าวข่าวว่า คุณผู้หญิงหากดูโทรทัศน์สีนานๆ แล้วจะเป็นหมัน ทำเอาตื่นเต้นฮือฮาไปทั้งกรุง Laughing

ส่วนเครื่องรับโทรทัศน์ขาวดำ ขนาด 20 นิ้วในขณะนั้น ราคาเครื่องละ 4,000 บาท

เดี๋ยวนี้ โทรทัศน์สี 21 นิ้ว จอแบน เครื่องละ 4,500 บาท ( ตอนขายลดราคา ) ถ้าเป็นระบบเสียงสเตอริโอ จะขึ้นไปอยู่ประมาณราคา 6,500 บาท ยังไม่พูดถึงจอ LCD หรือว่าจอพลาสมา ตามบ้านผู้มีอันจะกินนะครับ ราคาร่วม 20,000 - 250,000 บาท ( ทองคำขณะที่เขียนกระทู้นี้ บาทละ 8,000 บาท )

โทรทัศน์ขาวดำ 12 นิ้ว เครื่องละ 1,250 บาท ถ้าขนาดจอ 7 นิ้ว ไม่รวมวิทยุหรือ CD มีราคาไม่ถึง 1,000 บาท

อะไรๆ ก็เปลี่ยนไป เนาะ... Rolling Eyes

Click on the image for full size
ชุมนุมเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นเก่า

ครับ...เนื้อหาเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง รวมทั้งฝอยต่างๆ ที่นำลงในกระทู้ สิ้นสุดเพียงแค่นี้ล่ะครับ

ใช้เวลาข้ามเดือนเหมือนกันแฮะ

ขอบคุณทุกท่านที่ได้ติดตามชมมาตลอดครับ มีข้อมูลอะไรเพิ่มขึ้นมา อย่าลืมนำมาเล่าขยายความที่นี่ด้วยนะครับ Very Happy Very Happy Very Happy


Last edited by black_express on 13/12/2007 5:05 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006
Posts: 1346

PostPosted: 26/10/2006 6:56 pm    Post subject: Reply with quote

เสียดายที่สถานีวิทยุแห่งแรกในประเทศไทย (สถานีศาลาแดง) โดนรื้อทิ้ง ไปแล้ว
กลายเป็น ฮอลล์ อะไรที่สวนลุม

เป็นสถานีวิทยุโทรเลข ที่รัชกาลที่ 6 ทรงส่งโทรเลข ไปหา กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (ถ้าจำไม่ผิด) ที่สงขลา
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 27/10/2006 11:37 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณคุณมิ้งค์มากครับ ที่เพิ่มเติมข้อมูลด้านวิทยุโทรเลขเข้ามา ฮอลล์ ที่ว่า คงเป็นเวทีลีลาศสวนลุมพินี กระมัง ? ที่สวนลุมพินี ยังเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียงของกรุงเทพมหานคร ระบบ เอ.เอ็ม. ความถี่ 873 kHz กำลังส่ง 5 kW

( สถานีวิทยุนี้ เดิมอยู่ใต้สะพานพุทธฯ ครับ ขอบอก...)

มา update ข้อมูลสำหรับพิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง ของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งตอนนี้จัดแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ด้วยครับ แต่ยังคงกำหนดเวลาเปิดเข้าชมเป็นวัน - เวลาราชการเท่านั้น ( จะไม่ค่อยสะดวกตรงข้อนี้แหละ )

รายละเอียดก็ตามเวปไซด์นี้แหละครับ

http://www.prd.go.th/broadcasting%20museum/พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง.html
Back to top
View user's profile Send private message
RAPID140
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 430
Location: สถานีท่าช้าง นครราชสีมา

PostPosted: 27/10/2006 4:13 pm    Post subject: Reply with quote

Very Happy ขอบคุณมากครับสำหรับสาระความรู้ที่นำมาให้ได้อ่านกัน เป็นประโยชน์ต่อคนที่อยู่ในแวดวงอิเล็กทรอนิกส์อย่างผมมากเลยครับ
Very Happy ไม่ทราบว่าทางพิพิธภัณฑ์จำกัดผู้เข้าชมไหมครับ ถ้าเผื่อจะพานักเรียนไปทัศนศึกษาหนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006
Posts: 1346

PostPosted: 27/10/2006 10:07 pm    Post subject: Reply with quote

น่าจะเป็นสวนลุมไนท์บาซาร์ครับ
พอสถานีวิทยุถูกรื้อปุ๊บ ไนท์บาซาร์ก็มาปั๊บ
ผมเองก็ไม่เคยไป เห็นแต่ในรูป
Tower ต้นเบ้อเริ่มเทิ่ม รู้สึกว่าไม่ได้ใช้สลิง (ไม่ได้ใช้ตัวแสดงแทน) แต่ใช้เหล็กเส้นแทนสลิง ในการยึดโยงเสา (Tower) ไม่ให้ล้ม
เทคโนโลยีการก่อสร้าง และอุปกรณ์ก่อสร้างในยุคโบราณที่หาดูได้ยาก
ถ้ามีโอกาสจะหาภาพมาให้ดูกันครับ

ก่อนโดนรื้อมีนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารบางฉบับ (น่าจะ 2 ฉบับ) มาทำ Scoop อำลา ด้วยครับ

ส่วนสถานีที่สงขลาอยู่ในเขตกองทัพเรือสงขลา คงถูกรื้อไปก่อนหน้านั้นแล้ว เพราะผมไม่เห็นเสาสูงๆ เลย (เพราะมีสนามบินทหารอยู่ใกล้ๆ)
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 30/10/2006 10:39 am    Post subject: Reply with quote

RAPID140 wrote:
ไม่ทราบว่าทางพิพิธภัณฑ์จำกัดผู้เข้าชมไหมครับ ถ้าเผื่อจะพานักเรียนไปทัศนศึกษาหนะครับ


เท่าที่ทราบ ไม่มีข้อจำกัดผู้เข้าชมหรอกครับ หากไปเป็นคณะ และต้องการวิทยากรนำชมแล้ว ลองประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตามเวปลิงค์ข้างบนก็ได้ครับ

ขอบคุณคุณมิ้งค์อีกครั้งหนึ่งครับ เกี่ยวกับข้อมูลของสวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ( ขอเรียกลำลองไปก่อนครับ )
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©