RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181043
ทั้งหมด:13492278
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องจากอดีต : ทางหลวงสายกรุงเทพฯ - สระบุรี
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องจากอดีต : ทางหลวงสายกรุงเทพฯ - สระบุรี

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/12/2006 3:22 pm    Post subject: เรื่องจากอดีต : ทางหลวงสายกรุงเทพฯ - สระบุรี Reply with quote

ย้อนอดีต มาต่ออีกช่วงหนึ่งครับ จากนิตยสาร “ เสรีภาพ ” ฉบับที่ 129 ปี พ.ศ. 2509 เรื่อง “ เปิดเส้นทางหลวงสายกรุงเทพฯ – สระบุรี ”

ต่อเนื่องจากหัวเรื่อง “ กรุงเทพฯ – หนองคายใน 8 ชั่วโมง ” เส้นทางสายนี้ส่วนใหญ่จะทับแนวถนนพหลโยธิน (เดิม) แต่จะแยกออกจาก ถนนพหลโยธิน ตรงสามแยกหน้าอนุสรณ์สถานฯ ในปัจจุบัน ผ่านหน้าสนามบินดอนเมือง ตัดเส้นทางเดิมอีกครั้งตรง ห้าแยกลาดพร้าว อันแสนจะติดขัดในทุกวันนี้ ก่อนไปสิ้นสุดที่ถนนดินแดง ใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

กรมทางหลวงได้ขึ้นทะเบียนเส้นทางสายนี้เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 แต่ชาวบ้านสมัยก่อนมักเรียกติดปากว่า “ ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ” แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “ ถนนวิภาวดี รังสิต ” ขนานตามพระนาม หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต ซึ่งสิ้นชีพิตักษัย คราวปฏิบัติราชการสนองพระโอษฐ์ ในเฮลิคอปเตอร์ ที่ถูก ผกค.ซุ่มยิง เหนือพื้นที่กิ่ง อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน

ดูภาพเก่าๆ สมัยนั้นไปพลางๆ นะครับ หลายคนที่เคยผ่านเส้นทางสายนี้เมื่อสิบปีขึ้นไป คงอุทานว่า “ ไม่น่าเชื่อ ” เพราะเดี๋ยวนี้..เป็นถนนที่จอแจที่สุดสายหนึ่งในประเทศไทย แถมมีทางด่วนอยู่ชั้นบนอีกต่างหาก โดยเฉพาะช่วงสี่แยกลาดพร้าว มีตั้งสองชั้นแน่ะ

นี่ถ้ามีรถไฟฟ้า BTS ขยายเส้นทางไปสะพานใหม่ได้สำเร็จ คงมีถึงสามชั้น มองรถวิ่งผ่านไปมากันสนุกไปเลย ผมผ่านสี่แยกนี้ทุกวัน เห็นรถยนต์แล้วน่าเกิดเป็นลูกหลานเจ้าของโรงกลั่นน้ำมัน ( น้ำมันพืชก็เอาล่ะ…) เผื่อร่ำรวยขี่รถคันละหลายล้านกับเขาบ้าง

เข้าเรื่องเราดีกว่า…..

................................

ทางหลวงสาย กรุงเทพฯ – สระบุรี

Click on the image for full size
การคมนาคมและการขนส่งระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถทำได้โดยสะดวก รวดเร็ว ( ปัจุบัน ทั้งเครื่องบิน และสามแยกแห่งนี้ กลายเป็นภาพที่ไม่หวนกลับมาทั้งหมดแล้ว )

อีกครั้งหนึ่งที่ ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกาได้ประสบความสำเร็จอย่างน่าชื่นชมในงานพัฒนาทางหลวงร่วมกัน ทางหลวงสายใหม่ที่สร้างเสร็จ และทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อเช้าวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๐๙ ณ สี่แยกลาดพร้าว คือ ทางหลวง สายกรุงเทพฯ – สระบุรี โดยมี จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด ท่ามกลางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และแขกผู้มีเกียรติทั้งไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งมาร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย เกรแฮม มาร์ติน ผู้แทนรัฐบาลสหรัฐ เป็นผู้กล่าวคำปราศรัยก่อน ได้ยืนยันว่า สหรัฐยินดีจะให้ความช่วยเหลือไทยต่อไปเมื่อได้โอกาสที่เหมาะสม และได้ชี้ให้เห็นว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศเสรี เป็นหนทางที่นำไปสู่อนาคตอันแจ่มใสของมนุษยชาติ ท่านกล่าวตอนหนึ่งว่า :

“ จากผลของการร่วมมือระหว่างไทยกับอเมริกัน ต่อไปในอนาคตไม่กี่เดือนข้างหน้า เราก็จะได้เห็นว่าถนนที่สร้างขึ้นสำเร็จใหม่นี้จะมีความสำคัญเพิ่มยิ่งขึ้น เพราะทางการจะได้สร้างทางหลวงที่ทันสมัยขึ้นอีกสายหนึ่ง ระหว่าง สระบุรี กับ หล่มสัก ซึ่งจะเชื่อมต่อกับถนนสายนี้ไปทางภาคเหนือ ”

Click on the image for full size
จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ตัดริบบิ้นเปิดทางหลวงสายกรุงเทพฯ – สระบุรี ณ บริเวณทางแยกใกล้ลาดพร้าว

ต่อจากนั้นนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดว่า

" ทางหลวงสายนี้ นอกจากจะเป็นอนุสาวรีย์แห่งมิตรภาพอันยั่งยืน ระหว่างประชาชนชาวไทย และประชาชนชาวอเมริกัน ตลอดไปชั่วกาลนานแล้ว ยังจะเป็นสายสัมพันธ์อันดี ที่จะช่วยกระชับมิตรภาพระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศให้แนบแน่นยิ่งขึ้น "

และสุดท้ายได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ช่วยไทยครั้งนี้

ทางหลวงสาย กรุงเทพฯ – สระบุรี ซึ่งมีความยาวกว่า ๑๐๔ กม.นี้ เป็นทางหลวงที่สร้างเป็นแบบมาตรฐานสมัยใหม่ และเป็นทางที่มีการจราจรหนาแน่นมากที่สุดของประเทศ ต้นทางเริ่มจาก ดินแดง ชานเมืองด้านเหนือของ กรุงเทพฯ ไปสู่ จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีพลเมืองประมาณ ๓๒๐,๔๐๐ คน

ทางหลวงสายใหม่นี้ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับลำต้นของต้นไม้ซึ่งมีกิ่งก้านสาขาแยกออกไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางหลวงของประเทศไทย ทางหลวงที่แยกออกไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และครึ่งหนึ่งของส่วนเหนือของภาคกลาง

ทางหลวงสายกรุงเทพฯ – สระบุรี และทางหลวงสายต่างๆ ที่แยกออกไปจากทางหลวงสายนี้ จึงเป็นทางหลวงที่เชื่อมโยงจากกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นทั้งเมืองหลวง และเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ กับจังหวัดต่างๆ และประเทศเพื่อนบ้านทางภาคตะวันออกด้วย

Click on the image for full size
บริเวณทางแยกใกล้ลาดพร้าวเป็นตอนที่มีการจราจรคับคั่งจนต้องติดตั้งสัญญาณไฟจราจรไว้เพื่อความปลอดภัย ( ใครจะไปเชื่อว่า เป็นห้าแยกที่จอแจที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร )

ทางหลวงสายกรุงเทพฯ – สระบุรี และทางหลวงต่างๆ ที่เชื่อมโยงอื่นๆ ในส่วนนี้ ทั้งที่ได้ก่อสร้างเสร็จแล้ว และที่จะดำเนินการก่อสร้างต่อไป มีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและในการป้องกันประเทศ

ทางหลวงที่เชื่อมต่อจากทางหลวงสาย กรุงเทพฯ – สระบุรี ก็คือทางหลวงสายมิตรภาพ จาก สระบุรี ไปถึง จังหวัดนครราชสีมา มีระยะทาง ๑๔๘ กม. ซึ่งได้ก่อสร้างเสร็จเปิดการจราจรแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑ ทางหลวงตอนที่ต่อจาก จังหวัดนครราชสีมา ก็คือ ทางหลวงสาย นครราชสีมา - หนองคาย ซึ่งมีระยะทางยาว ๓๖๐ กม. ติดต่อกันจาก กรุงเทพฯ ถึงจังหวัดหนองคาย โดยมีทางตอน กรุงเทพฯ – สระบุรี เป็นส่วนสำคัญของระบบทางหลวง

ทางหลวงสายกรุงเทพฯ – สระบุรี ถือได้ว่า เริ่มต้นเมื่อโครงการได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่าง ประเทศไทย กับ สหรัฐอเมริกา ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒

ข้อตกลงนี้เป็นการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะที่ได้ทำไว้เดิมว่า สำหรับทางสายใหม่จะสร้างสายใดตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง ซึ่งในบัญชีสายทางตามข้อเสนอแนะนั้น มีทางสาย กรุงเทพฯ – สระบุรี เป็นลำดับแรก

Click on the image for full size
ภาพระหว่างการก่อสร้างเพื่อทำผิวจราจรปลายทางซึ่งอยู่ใกล้ทางด้านกรุงเทพฯ

งานก่อสร้างทางตอนแรก จาก จังหวัดสระบุรี ถึง หนองแค ระยะทางยาว ๒๑ กม. เริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๐ และก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๔ ตอนจาก หนองแค ถึง รังสิต ระยะทางยาว ๕๕ กม. ได้เริ่มก่อสร้างในเดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ทางตอนสุดท้ายจาก รังสิต ถึง กรุงเทพฯ ผ่านสนามบินดอนเมือง ระยะทางยาว ๒๘ กม. ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๘ ทางตอนนี้เป็นตอนเดียวที่สร้างเป็นเส้นทางคอนกรีต ส่วนทางสระบุรี ถึง รังสิต ระยะทางยาว ๗๖ กม. ซึ่งได้ก่อสร้างเป็นผิวทางลาดยางชั่วคราวนั้น ก็ได้ก่อสร้างผิวทางชนิดแอสฟัลติคคอนกรีต เริ่มก่อสร้างในเดือน มกราคม และเสร็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๘

ทางสาย กรุงเทพฯ – สระบุรี ตอนที่ได้ก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตยาวประมาณ ๒๘ กม.นั้น ช่วง ๒๐ กม.แรก จาก ดินแดง ถึง สนามบินดอนเมือง เป็นทางคอนกรีต ๔ แนว ชนิดควบคุมทางเข้าออกบางส่วน ช่วงที่เหลืออีก ๘ กม.จาก ดอนเมือง ถึง รังสิต เป็นทางคอนกรีต ๒ แนว กว้าง ๗.๐๐ เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ ๒.๕๐ เมตร ลาดยางจาก รังสิต กม. ๓๒ ถึง สระบุรี กม. ๑๐๘ เป็นระยะทาง ๗๖ กม. ทางสายนี้ผ่าน ประตูน้ำพระอินท วังน้อย หนองแค หินกอง เป็นทางผิวแอสฟัลติคคอนกรีต กว้าง ๗.๐๐ เมตร และมีไหล่ทางกว้างข้างละ ๒.๕๐ เมตร ลาดยางเช่นกัน

สะพานจาก กรุงเทพฯ ถึง สระบุรี ทุกสะพานสร้างใหม่ ตัวสะพานตลอดทางเท้าและราวสะพานทั้งสองข้าง เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ความกว้างของสะพาน กว้างกว่าความกว้างของผิวจราจร ๑ เมตร ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการขับรถบนทางสายใหม่นี้ ในจำนวนสะพานที่สร้างทั้งหมดรวม ๒๔ สะพาน มีอยู่สองสะพาน ที่สร้างเป็นแบบสะพานยกได้ เพื่อเตรียมไว้สำหรับเรือขุดของกรมชลประทานลอดผ่านได้

การก่อสร้างทางยาว ๑๐๔ กม. สายนี้ ใช้เวลาก่อสร้าง ๔ ๑/๒ ปี ค่าก่อสร้างตอนถนนคอนกรีต ๒๘ กม. เป็นเงิน ๘๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท ตอนที่เป็นผิวแอสฟัลต์ ๗๖ กม. เป็นเงิน ๑๒๓,๖๐๐.๐๐๐ บาท รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๒๐๖,๕๐๐,๐๐๐ บาท เฉลี่ยประมาณ กม.ละ ๑.๙๘ ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายทางด้านวิศวกรรม และ การก่อสร้างทั้งหมด รัฐบาลไทย และ สหรัฐอเมริกา สมทบกันออก รัฐบาลไทยเป็นผู้จ่ายเงินค่าซื้อที่ดิน.

............................................


Last edited by black_express on 29/12/2006 4:47 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/12/2006 3:58 pm    Post subject: Reply with quote

TODAY....

เพิ่มเติมครับ เพิ่งเก็บภาพมาเปรียบเทียบเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2548 อากาศครึ้มตั้งแต่เช้าแล้วล่ะ ฝนตกช่วงบ่าย ลามปามมาจนถึงเช้าวันนี้ รถราที่กรุงเทพฯ ติดหนึบหนับเชียวครับ

Click on the image for full size
ถนนวิภาวดี รังสิต (หมายเลข 31) ปัจจุบัน ที่หน้า ร.1 รอ. สายดั้งเดิมจะอยู่ด้านซ้ายภาพใต้ทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์

ภาพแรก...เปรียบเทียบกับช่วงก่อสร้างทางใกล้จุดเริ่มต้นตามระบุในเรื่อง จับจุดไม่ได้ เหมาเอาใกล้เคียงที่หน้า ร.1 รอ. ใกล้สามแยกดินแดง ขยายทางออกไปจากเดิมกว้างขวางมาก

แถมมีทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์อยู่ข้างบนอีก คลองข้างทางมุดหายเป็นท่อระบายน้ำหมดแล้วครับ

Click on the image for full size
หน้าโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ดินแดง

แถวสามเหลี่ยมดินแดง สะพานข้ามคลองไม่ค่อยเห็น มีแต่ทางด่วนยาวเหยียดขึ้นมาแทน

Click on the image for full size
ห้าแยกลาดพร้าว ปัจจุบัน

ห้าแยกลาดพร้าวครับ....ถนนมีตั้งสามชั้นเลย เพิ่มเติมข้อมูลอีกนิดหนึ่งว่า ช่องทางขาขึ้นนั้น ไม่ใช่ถนนพหลโยธินนะครับ เป็นถนนกำแพงเพชร 1 ส่วนถนนพหลโยธิน จัดเฉพาะรถขาล่องเข้าในเมือง

ไม่กล้าข้ามไปเก็บภาพตรงจุดดั้งเดิมครับ เพราะเป็นเกาะใต้สะพานลอยไปแล้ว แถมฝ่าฝูงรถยนต์มากมายเสียด้วยสิ ใจยังไม่ถึง....

Click on the image for full size
สามแยกบรรจบถนนพหลโยธิน หน้าอนุสรณ์สถานฯ

สามแยกหน้าอนุสรณ์สถานฯ ครับ กลายเป็นสะพานลอยไปแล้ว อยู่ในพื้นที่ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ว่าจะขยับไปที่มุมมองให้ชัดเจนกว่านี้ บังเอิญ,,,

มีลูกพี่จับมอเตอร์ไซด์ที่ไม่วิ่งเข้าทางขนาน ใกล้ๆ กันนั้นพอดี มองๆ มาทางเราอยู่ คงกลัวว่าเราแอบเก็บภาพกระมัง?

เกรงใจลูกพี่เขา ภาพเลยอยู่ใต้จุดที่เหมาะสมไปนิดหนึ่ง

Click on the image for full size
ถนนวิภาวดี รังสิต ช่วงระหว่างดอนเมือง - อนุสรณ์สถานฯ

มองดูกันจะๆ อีกสักภาพนะครับ โค้งมาจากสนามบินดอนเมือง

ก่อนถนนสายนี้สร้างขึ้น มีพระราชอาคันตุกะมาเยือนประเทศไทยบ่อยครั้งมาก การรถไฟฯ ได้จัดขบวนรถพระที่นั่งโดยเสด็จฯ ระหว่างสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา - สถานีดอนเมือง เสมอมา

การจัดขบวนรถไฟพระที่นั่งโดยเสด็จฯ ในช่วงเวลาที่กล่าวนี้ มีใครจารึกไว้บ้างหรือเปล่าครับ ?

Click on the image for full size
ถนนวิภาวดี รังสิต ขาเข้า

ถนนวิภาวดี รังสิต ขาเข้า จากสามแยกอนุสรณ์สถานฯ ครับ

Click on the image for full size
อนุสรณ์สถานฯ ( จำชื่อเต็มไม่ได้แล้วครับ ) อยู่แนวเส้นทางร่อนลงสนามบินดอนเมืองพอดี ( เครื่องบินก็เป็นอดีตเช่นกัน ไปคึกคักที่สนามบินสุวรรณภูมิ แทน )

ในส่วนของการเข้าชมการแสดงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการทหารภายในอนุสรณ์สถานฯ นั้น ผมลองสอบถามคุณพี่ รปภ. แล้ว ทราบว่า เปิดเข้าชมในวันราชการ ช่วงเวลา 09.00 - 15.30 น. เว้นวันเสาร์ - อาทิตย์ วันหยุด สามารถถ่ายภาพได้ภายนอกอาคาร

การถ่ายภาพภายในสถานที่จัดแสดงในอาคารนั้น ต้องขออนุญาตหัวหน้าดูแลอนุสรณ์สถานฯ ก่อนนะครับ

Click on the image for full size
ถนนพหลโยธิน มาจากสามแยกอนุสรณ์สถานฯ หน้าตลาดสามแยกคูคต เข้า อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี

ภาพส่งท้ายล่ะครับ...

เป็นถนนพหลโยธินมาจาก สามแยกอนุสรณ์สถานฯ ตรงหน้า ตลาดสามแยกคูคต เข้า อ.ลำลูกกา ( คลองหนึ่งหรือเปล่าหว่า ? )

ตรงหลักดำๆ ด้านซ้ายภาพนั่นเป็น หลักเขตกรุงเทพมหานคร ครับ และก็เป็นจุดเริ่มต้น กม. 0.000 ของถนนเข้า อ.ลำลูกกา ด้วย

คิดว่า..คงขยายความของทางหลวงสายกรุงเทพฯ - สระบุรี ในปัจจุบันนี้ ได้พอควรนะครับLaughing
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©