RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180606
ทั้งหมด:13491841
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 471, 472, 473  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 19/12/2006 9:27 am    Post subject: Reply with quote

ก็หมายความตามภาษาชาวบ้านว่า ต้องตัดที่ขายใช้หนี้ค้างเก่านั่นแหละครับ แถมโดนเจ้าหนี้สอนอีกด้วยว่า คราวหน้า หาคนมาบริหารที่ดินให้อย่าให้รั่วไหล ทำเงินได้เยอะๆ หน่อย

เอาละ หนี้เก่าก็โดนยกไปเกือบหมดแล้ว คราวนี้ จะทำยังไงให้มีเงินรายได้งอกเงยขึ้นมา โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งของเก่าและของใหม่

จะมัวเช้าชาม เย็นชาม อาศัยแค่สามัญสำนึกมาประกอบการทำงานแทนระเบียบปฏิบัติฯ คงทำไม่ได้แล้วกระมัง ?
Back to top
View user's profile Send private message
puggi
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/07/2006
Posts: 119

PostPosted: 19/12/2006 1:01 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
1. แก่งคอย - คลอง 19 - ฉะเชิงเทรา - ศรีราชา - แหลมฉบัง ซึ่งทางช่วงนี้ของตาย เพราะใครๆก็อยากได้ทั้วนั้น แต่ต้องอดใจไว้หน่อย


ผมเข้าใจว่าโครงการนี้ ซึ่งอนุมัติงบประมาณ สมัย รัฐบาลที่แล้ว จะเริ่มทำ การก่อสร้างไปแล้ว

สรุป คือยังไม่เริ่มเลยหรือครับ น่าเสียดายเวลาจังเลย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2006 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

ตากฝันสร้างทางรถไฟเชื่อมอันดามัน ดันเศรษฐกิจชายแดนแม่สอด-พม่า

โดย ผู้จัดการรายวัน 19 ธันวาคม 2549 15:51 น.


ตาก-ภาครัฐและเอกชนตากหยิบโครงการความร่วมมือ การเชื่อมโยงเศรษฐกิจแม่สอดกับเขตเศรษฐกิจพิเศษไทย-พม่าที่ดองมานานขึ้นโต๊ะมาคุยกันใหม่ หวังดันความฝันให้เป็นจริง เหตุทุกอย่างมีไว้รองรับหมดแล้ว

จากการประชุม ความร่วมมือ การเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดกับเขตเศรษฐกิจชายแดน ไทย-พม่า เพื่อร่วมมือ-แก้ปัญหา-และแนวทางการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ Sister City โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม-มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย-หอการค้าจังหวัดตาก ซึ่งมีนายชุมพร พลรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานการประชุมร่วมกับภาครัฐและเอกชน กว่า 50 คน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นทรัล แม่สอด ฮิลล์ อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549

นายชุมพร พลรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่า จังหวัดตากมีมรดกทางประวัติศาสตร์และมรดกทางธรรมชาติที่สำคัญ เป็น แผ่นดิน 4 มหาราชทางประวัติศาสตร์ และน้ำตกทีลอซู เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เพื่อพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ จนถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด และไทย-พม่า โดยหากมีการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจตะวันออก-สู่ตะวันตก หรือ เส้นทางอิสต์-เวสต์-อีโคโนมิก คอร์ริดอร์ และการสร้างเส้นทางรถไฟช่วงกลาง แม่สอด- ตาก จะพัฒนาและเชื่อมโยงให้แม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจและเขตเศรษฐกิจพิเศษไทย-พม่า และ Sister City รวมไปถึงการพัฒนาโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง

นายชุมพร กล่าวอีกว่า เส้นทางรถไฟสายตาก-แม่สอด เป็นเส้นทางที่จะสามารถดำเนินการด้วยความเป็นไปได้สูงและสามารถดำเนินการได้ทันที เป็นเส้นทางช่วงกลางระหว่างเส้นทางที่จะดำเนินการในโครงการระดับใหญ่ ที่จะรองรับและเชื่อมเส้นทาง อิสต์-เวสต์ อีโคโนมิก คอร์ริดอร์ โดยเส้นทางรถไฟ อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร-มาเชื่อมที่ ฝั่งตะวันตก จ.กำแพงเพชร มาจ.ตาก เข้า อ.แม่สอด มุ่งสู่พม่า ไปจีน และ อินเดีย สู่ตะวันออกกลางและยุโรป ขณะที่ฝั่งตะวันออก จะไปเชื่อม จ.พิษณุโลก - มุกดาหาร มุ่งสู่เวียดนาม การสร้างเส้นทางรถไฟช่วงกลาง จะรองรับเส้นทางทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก สู่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด และชายแดนไทย- พม่า

นายนิยม ไวยรัชพานิช ประธานคณะอนุกรรมการการค้าชายแดนหอการค้าไทย กล่าวว่า การพัฒนาความร่วมมือ การเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดกับเขต เศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า และ Sister City และโครงการคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง เพื่อให้ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถ สร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่ทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งไทย-พม่า มีโครงการความร่วมมือที่จะดำเนินการร่วมกันกว่า 57 โครงการ ซึ่งโครงการดังกล่าวถือว่าเร่งด่วนและสามารถดำเนินการได้ในขณะนี้

นายนิยม กล่าวอีกว่า รัฐบาลไทย กำลังมีนโยบายและแผนที่จะดำเนินการหลายโครงการที่จะสนับสนุนและสร้างถนนในพม่าหลายเส้นทาง เช่น แม่สอด-พบพระ-วาเล่ย์-ผ่านพม่า-เข้าสู่ อ.อุ้มผาง เส้นทางแม่สอด-เมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรี ที่ได้ดำเนินการไปแล้วและเตรียมที่จะเสนอแผนสร้างต่อไปสู่เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว และเมืองอุตสาหกรรมอีกหลายๆเมือง

// --------------------------------------------------------------------------------------
อยากได้โน่น อยากได้นี่ก็เตรียมพิ้นที่ทำเส้นทาง จาก ตะพานหิน, กำแพงเพชร ไป ตากและแม่สอด เอาไว้สิครับ และที่แน่ๆ คือ การรถไฟเขาพิจารณาเฉพาะ ทางจาก นครสวรรค์ - กำแพงเพชร - ตาก - แม่สอด หรือ พิษณุโลก - สุโขทัย - ตาก - แม่สอด

งานนี้ไม่รู้ว่าหอการค้าเมืองตาก จะ เปิด ศึก กะหอการค้าเมืองพิษณุโลก, สุโขทัย และ นครสวรรค์ หรือเปล่าหนอ

อีกอย่าง เราจะต้องกู้เงินจากใครถึงจะทำทางสายนี้ได้
Back to top
View user's profile Send private message
shinoda
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 16/10/2006
Posts: 309
Location: พิจิตร

PostPosted: 09/01/2007 4:04 pm    Post subject: Reply with quote

อันนี้ไม่ใช่จาก นสพ. แต่ขอแทรกไปด้วยนะครับ Embarassed
---------------------------------------------------------------------------------------
ตำรวจลำปางตรวจรถไฟเพื่อความปลอดภัย

พ.ต.ท. จิตพล วงษ์วัน รองผู้กับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง นำกำลังเข้าร่วมกับ ตำรวจรถไฟ และเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 5 ตรวจค้นขบวนรถไฟเชียงใหม่ – กรุงเทพ ในทุกโบกี้ เผื่อจะมียาเสพติด ซุกซ่อนมากับสัมภาระ และที่สำคัญป้องกันการก่อเหตุร้าย ตลอดจนลอบวางเพลิงระเบิดบนรถไฟ ซึ่งการตรวจค้นครั้งนี้ ไม่พบยาเสพติด ไม่มีสิ่งผิดสังเกต โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจอย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อความปลอดภัย และขอความร่วมมือจากผู้โดยสารอีกทางให้ช่วยเป็นหูเป็นตาให้ด้วย เพราะกำลังเจ้าหน้าที่อาจจะดูแลไม่ทั่วถึง หากพบเห็นอะไรที่ผิดปกติก็ให้รีบแจ้ง พร้อมกับดูแลสัมภาระของตัวเองไม่วางทิ้งไปทั่ว เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด และความโกลาหลตามมา

09-01-2550 | 01.36

ที่มา : http://www.ch7.com/website/news/news09jan_0136_08.html
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2007 11:13 am    Post subject: Reply with quote

บทบาทใหม่ "ศิวะ แสงมณี" 1 ปีกับการแก้ปัญหาการรถไฟฯ

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3861 (3061)

สัมภาษณ์

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก็ยังคงมีปัญหาซ้ำรอยเดิม จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังรักษาไม่หาย โดยเฉพาะภาระหนี้สินที่สะสมมายาวนานหลายสิบปี ขณะที่รายได้ไม่ได้พอกพูนขึ้น ทำให้แต่ละปีการรถไฟฯประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด

ขณะที่แผนปรับโครงสร้างหนี้ซึ่งผ่านมือรัฐบาลมาหลายรัฐบาลก็ไม่มีความคืบหน้า ราวกับว่ายังคลำปมปัญหาที่แท้จริงไม่เจอ

"ศิวะ แสงมณี" ประธานบอร์ดการรถไฟฯ คนใหม่ ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแนวทางการพลิกฟื้นสถานะองค์กรแห่งนี้ ในช่วงระยะเวลา 1 ปีจากนี้ไปไว้อย่างน่าสนใจ

- ภายใน 1 ปีจะเร่งแก้ไขปัญหาจุดไหนบ้าง

อย่างแรกที่จะต้องทำ คือ จะเสนอแผนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของการรถไฟฯมูลค่า 40,000 กว่าล้านบาท ที่กระทรวงการคลังสรุปแผนฟื้นฟูเสร็จเรียบร้อยแล้ว และผ่านการพิจารณาของบอร์ดแล้ว กำลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดว่าจะบรรจุเข้าวาระการประชุม ครม.ได้ภายในเดือนมกราคมนี้ จากนั้นจะมีนโยบายชัดเจนออกมาว่า จะทำอะไรบ้างนับจากนี้ไป

รายละเอียดที่กระทรวงการคลังจัดขึ้นนั้น การรถไฟฯต้องลดภาระหนี้สินเงินกู้ที่มีอยู่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยขอให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ 37,000 ล้านบาท เป็นเงินสดชดเชยขาดทุนค้างรับ 18,000 ล้านบาท หนี้โครงสร้างพื้นฐาน 15,000 ล้านบาท และการแลกที่ดินที่ ส่วนราชการเช่าอีก 4,000 ล้านบาท เมื่อการรถไฟฯทำตามแผนจะเหลือหนี้สินประมาณ 5,700 ล้านบาท

นอกจากนี้จะมีการฟื้นฟูการดำเนินงานระยะสั้น โดยการรถไฟฯจะพัฒนาบริการเพื่อเพิ่มรายได้ โดยให้ความสำคัญกับการขนส่งสินค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะเส้นทางสายตะวันออก ซึ่งจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง มูลค่า 6,000 ล้านบาท ขณะนี้ยังไม่ได้เปิดประมูล อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบ และต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาอีกรอบ เพราะงบประมาณเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 1,000 ล้านบาท แต่โครงการนี้เป็นโครงการที่จำเป็น เพราะจะช่วยในเรื่องของระบบลอจิสติก แม้ว่างบประมาณก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น แต่ในระยะยาวถือว่าคุ้ม เพราะไม่ต้องซ่อมแซมบ่อยๆ ส่วนสายอื่นๆ ที่เหลือ อยากจะทำ แต่ต้องรอไปก่อน เพราะงบประมาณยังไม่มี

- ภารกิจหรือการลงทุนโครงการอื่นๆ

จะมีการลงทุนซื้อห้วรถจักรเพิ่มอีก 20 คัน แคร่ขนสินค้าอีก 396 คัน มูลค่ารวม 2,900 ล้านบาท ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของการรถไฟฯในขณะนี้ เพราะจะเพิ่มรายได้ก็ไม่ได้ เนื่องจากอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ

สุดท้าย คือ การแก้ไขภาระบำนาญที่การรถไฟฯรับภาระอยู่ปีละ 2,000 กว่าล้านบาท โดยการรถไฟฯจะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยจะจัดตั้งหลังจากที่ ครม.อนุมัติแผนการฟื้นฟูกิจการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หลังจากได้รับอนุมัติจาก ครม.

- บริษัทบริหารสินทรัพย์จะทำอะไรบ้าง

บริษัทลูกที่ตั้งขึ้นมานี้ การรถไฟฯจะถือหุ้น 100% จะทำหน้าที่หารายได้จากที่ดินที่การรถไฟฯมีอยู่ทั้งหมด โดยเฉพาะแปลงใหญ่ๆ เช่น พหลโยธิน มักกะสัน ริมแม่น้ำ เป็นต้น ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยจะดูว่าที่ดินเหล่านี้สามารถทำอะไรได้บ้าง บริษัทบริหารสินทรัพย์จะเป็นคนจัดการทั้งหมด โดยหาคนที่เป็นมืออาชีพมาบริหารจัดการ แต่อยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟฯ ซึ่งตอนนี้บอร์ดได้สั่งระงับที่ดินทุกแปลงที่รัฐบาลชุดที่แล้วมีนโยบายจะเปิดประมูล โดยให้เอกชนมาเช่าระยะยาวหรือเข้ามาลงทุน ให้รอบริษัทลูกที่จะตั้งขึ้นมานี้ดำเนินการ ซึ่งจะมีนโยบายชัดเจนออกมาว่าแต่ละแปลงจะทำอะไรบ้าง

นอกจากนี้ตามแผนที่กระทรวงการคลังจัดทำมานั้น จะตั้งบริษัทลูกขึ้นมาอีกบริษัทหนึ่ง เพื่อมาบริหารจัดการเดินระบบรถไฟฟ้าของโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งก็ต้องหามืออาชีพมาดำเนินการเช่นกัน

- หลังฟื้นฟูกิจการรายได้จะเพิ่มขึ้นมากน้อย แค่ไหน

ต้องดูแผนก่อน แต่การรถไฟฯคงไม่มีรายได้เพิ่มอยู่แล้ว เพราะของไม่มีใช้ มีแต่ของเก่า และที่ผ่านมารัฐไม่ค่อยเข้ามาดูแลและให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ทำให้เรื่องต่างๆ คาราคาซังมาจนถึงทุกวันนี้ การรถไฟฯเหมือนคนป่วย จะรักษาก็ไม่รักษา แทนที่จะทำบายพาสต่อเส้นเลือดใหม่ ก็กินมากๆ เลือดตกในกระเพาะอีก

ปี 2550 หลังจากที่ ครม.ผ่านแผนฟื้นฟูที่เสนอไปแล้ว จะทำให้การรถไฟฯมีโอกาสฟื้นตัวมากขึ้น โดยปี 2551-2552 จะแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะปี 2553-2554 จะยิ่งฟิตเปรี๊ยะ แต่ว่าบางเรื่องรัฐบาลจะต้องลงมารับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน

- โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ถูกตรวจสอบ

ก็ต้องว่ากันไปตามความเป็นจริง เราไม่ก้าวก่ายอยู่แล้ว ผลสอบออกมายังไง ก็ต้องว่าตามนั้น ตอนนี้เราได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อเป็นคณะกรรมการกลาง ตรวจสอบข้อเท็จจริงตรงนี้ ตั้งแต่ต้นเปิดประมูลจนมาถึงการก่อสร้าง ผลสอบคงจะออกมาเร็วๆ นี้

- จะมีผลต่อการก่อสร้างและการเปิดใช้หรือเปล่า

ไม่มี เพราะคนละส่วนกัน การก่อสร้างจะต้องเดินหน้าต่อ เพื่อเปิดให้บริการให้ได้เดือนมิถุนายนปี 2551 เพราะต้องรองรับกับคนที่จะเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ ตอนนี้ผมก็กำลังเร่งรัดผู้รับเหมาก่อสร้างให้เร่งมืออยู่ เพราะที่ผ่านมาล่าช้ามามากแล้ว

- รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเร่งรัดยังไง

ใน 1 ปีนี้ ผมจะเร่งรัดการรถไฟฯก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยจะเปิดประมูลให้ได้ ซึ่งตอนนี้รอให้ ครม.อนุมัติงบประมาณก่อสร้าง เพราะการรถไฟฯไม่มีเงินจะก่อสร้างเอง แต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะเปิดประมูลได้เมื่อไร ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ครม.เป็นหลัก

- การต่อสัญญาเช่าที่ดินรถไฟกับห้างเซ็นทรัล

ปลายปีนี้จะต้องเสร็จเรียบร้อย เพราะสัญญาเช่าที่ดินที่ทำไว้กับห้างเซ็นทรัลจะครบกำหนดในเดือนธันวาคม 2551 ขณะนี้เราได้ดำเนินการไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2535 ปัจจุบันตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายร่วมทุนแล้ว จากนั้นจะมีการว่าจ้างบริษัทกลางขึ้นมาประเมินราคาทรัพย์สินว่ามีมูลค่าเท่าไร เพื่อจะได้นำไปใช้เป็นข้อมูลในการเจรจาปรับค่าเช่าที่ดิน

ผมเร่งการรถไฟฯให้เจรจาโดยเร็วที่สุด แต่เราต้องทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน อาจจะล่าช้าบ้าง เพราะบอร์ดชุดเก่าต้องหารือไปมากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมาย แต่จะพยายามเร่งให้เสร็จโดยเร็ว เพราะเอกชนก็ต้องวางแผนด้านการลงทุนธุรกิจเหมือนกัน ยังไงปลายปีนี้ต้องเสร็จแน่ๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2007 10:35 am    Post subject: Reply with quote

หนุนเชื่อมทางรถไฟ"ไทรโยค-พม่า"
ปธ.หอกาญจน์ชี้ช่วยลดทุนการค้า เล็งไกลถึงอำนาจต่อรองระดับโลก
มติชน 12 มกราคม 2550


นายประทีป พงษ์วิทยภานุ ประธานหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า ในอดีตก่อนปี 2528 ด่านพระเจดีย์สามองค์ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี มีการค้าที่รุ่งเรืองมาก แต่หลังจากที่ทางการพม่ามีความเข้มงวดทำให้การค้าบริเวณนี้ซบเซาตลอดมา จนเมื่อปลายปี 2545 พม่าได้ผ่อนปรนการค้าบริเวณนี้ ทำให้การค้ากลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง แต่ล่าสุดเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในพม่า ประกอบกับนโยบายภายในของไทยไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้การค้าเริ่มชะงัก ปัญหาค้าชายแดนมีความยุ่งยากเกี่ยวกับการนำเฟอร์นิเจอร์ไม้พม่าเข้าไทย โรงงานฝั่งไทยที่ใช้แรงงานพม่า (เช้ามา-เย็นกลับ) ก็มีปัญหากับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของไทย จึงทำให้การค้าการลงทุนไม่คืบหน้า

"ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจตามนโยบาย ACMECS ไม่สามารถปฏิบัติได้ เพราะบางเรื่องขัดต่อกฎหมาย รวมทั้งปัญหาคมนาคมฝั่งพม่า การเดินทาง-ส่งสินค้าเข้าเขตชั้นในพม่า กระทำได้เพียงหน้าแล้ง ช่วงเดือนมกราคม-เมษายนของทุกปีเท่านั้น จึงทำให้การประสานความร่วมมือทั้งด้านการค้า การเมือง ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร" นายประทีปกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางเกาหลีใต้ได้ออกเงินทุนให้บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย สำรวจวิศวกรรมธรณีเทคนิค ออกแบบเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อสถานีรถไฟไทรโยคน้อย อ.ไทรโยค วางแนวต่อเข้าพม่า ผ่านด่านพระเจดีย์สามองค์-เมืองตันบลูซายัท ระยะทางประมาณ 260 กิโลเมตร

ประธานหอการค้ากาญจนบุรีกล่าวด้วยว่า ทั้งนี้มีการเจาะสำรวจ 16 จุดในฝั่งไทย พบว่าเส้นทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บางส่วนจมอยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ ดังนั้น ถ้ามีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายไทรโยค-เจดีย์สามองค์-ตันบลูซายัท การขนส่งระบบรางจะช่วยสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของไทย ช่วยลดต้นทุนเวลาและค่าใช้จ่าย ที่ต้องอ้อมช่องแคบมะละกา การขนส่งจากอ่าวไทย ท่าเรือมาบตาพุดไปลงทะเลอันดามัน จะสะดวกรวดเร็ว

"จึงอยากให้รัฐบาลพิจารณาผลักดันให้การก่อสร้างทางรถไฟสายดังกล่าวสำเร็จ ประเทศไทยและภูมิภาคนี้จะได้ประโยชน์ทางด้านการค้า-การท่องเที่ยว-การลงทุน สร้างเขตเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ขึ้นในแถบนี้ ที่สำคัญเราจะมีอำนาจการต่อรองในระดับโลก" นายประทีปกล่าว

// ------------------------------------------------------------------------------------------

อ่านะ จะฟื้นฟูทางรถไฟสายมรณะนั้น ได้เตรียมที่ไว้หรือยังหละ ได้เจรจากะรัฐบาลทหารพม่ากลุ่มกะเหรียงเคเอนยู และ กลุ่มมอญพลัดถิ่น แล้วหรือ ... หรือว่าอยากจะแย่งชิงพื้นทื่ข่าวตามวิสัยหอการค้าจังหวัด
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 12/01/2007 10:38 am    Post subject: Reply with quote

จะรอดูว่า ความฝันของหอการค้าจังหวัดตาก กับกาญจนบุรี ใครจะใกล้ความจริงมากกว่ากัน ? Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message
shinoda
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 16/10/2006
Posts: 309
Location: พิจิตร

PostPosted: 17/01/2007 11:50 pm    Post subject: สกู๊ปพิเศษ จาก เดลินิวส์ Reply with quote

สยองขวัญ "ม้าเหล็ก" ซิ่งชนยับ ! อุทาหรณ์ที่สังเวยด้วยเลือด-น้ำตา

เหตุการณ์สยองขวัญ "ม้าเหล็ก" พุ่งชนกันยับเยินที่สถานีรถไฟหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ช่วงเช้ามืดวันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา สร้างความสูญเสียให้กับชีวิตและทรัพย์สินไปไม่น้อย เป็นอีกหนึ่งอุทาหรณ์ให้ "นักเดินทาง" พึงสำนึกไว้เสมอว่า "ไม่มีอะไรแน่นอน" สิ่งใดที่ไม่คิดว่าจะเกิดก็อาจจะปรากฏให้เห็นดังเช่นในครั้งนี้

เหตุการณ์สุดสยองที่เกิดขึ้น ไม่ว่าบทสรุปสุดท้ายอาจจะเป็น "ความประมาท" ของคนขับรถไฟที่ไม่ระมัดระวังอันตรายหรือหลับในระหว่างปฏิบัติหน้าที่รวมทั้งความเลินเล่ออื่น ๆก็ตาม สิ่งเหล่านี้ล้วนกลายเป็นชนวนของการนองเลือด ที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในรอบหลายปีที่ผ่านมาได้ทั้งสิ้น

โดยเมื่อเวลา 02.45 น. ของวันที่ 14 ม.ค. รถเร็ว ขบวนที่ 178 วิ่งระหว่างสถานีหลังสวน-ธนบุรี มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพมหานครด้วยความเร็วสูง เมื่อมาถึงสถานีรถไฟหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พนักงานขับรถ (พขร.) ไม่ยอมหยุดรอสับเปลี่ยนรางตามตารางเดินรถ ทำให้พุ่งชนประสานงากับรถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ ขบวนที่ 39/41 สายกรุงเทพฯ-ยะลา ที่จอดรอสับหลีกอยู่รางที่สอง ส่งผลให้โบกี้หล่นตกรางระเนระนาด มีผู้เคราะห์ร้ายบาดเจ็บจำนวนกว่า 300-400 คน

หลังได้รับรายงานเหตุร้าย นายประสงค์ พิทูรกิจจา ผวจ.ประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.ต.น้อยวรรณ ไพบูลย์ ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ นายประสิทธิ์ บุญลิขิต นายอำเภอหัวหิน พ.ต.อ.ประภาส สมเพราะ ผกก.สภ.อ.หัวหิน พ.ต.ท.สุทธิพงษ์ พงศ์ประภาอำไพ พนักงานสอบสวน และหน่วยกู้ภัยมูลนิธิสงเคราะห์หัวหิน มูลนิธิสว่างแผ่ไพศาลธรรมสถานปราณบุรี หน่วยกู้ภัยเทศบาลเมืองหัวหิน รถกู้ชีพจากโรงพยาบาลหัวหินรีบไปช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายออกจากโบกี้รถไฟส่งโรงพยาบาลหัวหิน โรงพยาบาลซานเปาโลหัวหิน

ทั้งนี้ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่แข้งขาถลอกปอกเปิก ศีรษะแตกและบาดเจ็บเล็กน้อย แพทย์ปฐมพยาบาลในเบื้องต้นก็ให้กลับบ้านได้ เหลือพักรักษาตัวรอดูอาการในโรงพยาบาล 2 แห่งอีกจำนวน 9 ราย และมีผู้เคราะห์ร้ายอาการสาหัสทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตจำนวน 3 ราย ได้แก่ นายไพจิตร ชูยอด อายุ 59 ปี พขร.รถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ นายธีรพล บุญใช้ อายุ 35 ปี และ น.ส.วนิดา โพธิ์พันธ์ อายุ 23 ปี พนักงานบริการบนขบวนรถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ ทุกรายสภาพศพแขนขาหักแหลกเละ กะโหลกศีรษะแตกร้าวจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรง

ต่อมา นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รมช.มหาดไทย นายศิวะ แสงมณี ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พร้อมคณะมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ สั่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและสาเหตุของอุบัติเหตุว้เป็นความผิดพลาดของพนักงานขับรถ (พขร.) หรือความผิดพลาดของสถานีในการส่งสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งสาเหตุอื่น ๆ พร้อมสั่งเก็บกู้ซากโบกี้และเปิดการเดินทางตามปกติแล้วในวันเดียวกัน

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ครั้งนี้ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.คมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สั่งกำชับให้ผู้บริหารการรถไฟดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บอย่างเต็มที่ ซึ่งค่าเสียหายทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท

ย้อนประวัติของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ถือกำเนิดครั้งแรกในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 หรือปีรัตนโกสินทร์ศก 105 ตรงกับ พ.ศ.2429 บริษัท ชาวเดนมาร์ก ได้สัมปทานก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ระยะทาง 21 กม. ต่อมาใน พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น สังกัดกรมโยธาธิการ และในวันที่ 26 มี.ค. 2439 เสด็จฯเปิดทางรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 71 กม. ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2494

จากวันนั้นถึงปัจจุบันการรถไฟฯได้พยายามปรับปรุงกิจการตลอดมา แต่ก็ไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควรและยังขาดทุนอยู่ทุกปี ซึ่งในกิจการบริการยุคใหม่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลน่าจะปรับปรุงให้ทันสมัยและมุ่งมั่นบริการให้ความอบอุ่นใจในความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้โดยสาร แต่ก็ยังมีอุบัติเหตุให้เห็นอยู่เนือง ๆ ทั้งรถไฟตกราง รถไฟชนคนตาย เป็นต้น ส่วนกรณีรถไฟชนกัน ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก ยกเว้นเกิดความผิดพลาดหรือสุดวิสัยเท่านั้น

สำหรับขั้นตอนการสับหลีกขบวนรถไฟตามปกติจะเป็นไปตามการกำหนดตารางเดินรถ และพิจารณาว่าควรสับหลีกช่วงสถานีใด และเวลาไหนตามความเหมาะสมของตารางเดินรถในแต่ละวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความล่าช้าของขบวนรถแต่ละสาย ขณะที่จะมีการสับหลีก เมื่อขบวนรถที่ถูกระบุให้เป็นขบวนหลีกจะต้องวิ่งเข้าชานชลาสอง ระยะทางประมาณ 500-800 เมตร ด้วยความเร็วที่จำกัด โดยสถานีจะสับประแจ (สับราง) เพื่อเปลี่ยนจากรางหนึ่งเข้าสู่รางสอง (รางหลีก) ซึ่งเป็นการสับประแจหัวท้ายทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อป้องกันกรณีขบวนรถไม่สามารถหยุดได้ในระยะทางที่กำหนด หากเลยรางหลีกก็จะต้องถอยกลับให้อยู่ในรางหลีก แล้วค่อยสับประแจฝั่งหัวเพื่อไม่ให้ขบวนรถวิ่งผ่านเข้ามาในรางสอง ส่วนขบวนรถที่วิ่งผ่าน ต้องรอสัญญาณไฟที่มาอยู่ด้านละ 2 ต้น ระยะห่างจากสถานี 500-1,000 เมตร เป็นสัญญาณแจ้งว่าให้รถจอดหรือให้แล่นออกจากสถานีได้ นอกจากนี้ยังมีการใช้สัญญาณวิทยุติดต่อระหว่างสถานีกับพนักงานขับรถ เพื่อแจ้งว่าให้แล่นเข้ามาในรางใด อีกทั้งจะมีป้ายสัญญาณกำกับการใช้ความเร็วขณะแล่นผ่านด้วย ซึ่งพนักงานขับรถจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของนายสถานี ขณะเดียวกันจะต้องดูสัญญาณไฟฉายสีเขียวหรือสีแดงในมือพนักงานสับหลีกด้วยว่าระยะการแล่นผ่านปลอดภัยหรือไม่

ทั้งนี้จากกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงหนึ่งในอุทาหรณ์ในประวัติศาสตร์ รฟท. และยังมีปัจจัยหลาย ๆ ด้านที่เอื้อต่อการประสบอุบัติเหตุด้วยเช่นกัน ตั้งแต่สภาพเครื่องจักรกับขบวนรถค่อนข้างเก่า ขาดแคลนงบประมาณในการพัฒนาและ รฟท.เป็นหนี้ในสถาบันการเงินอยู่ประมาณ 80,000 ล้านบาท ต้องจ่ายดอกเบี้ย 2,000 ล้านบาท/ปี นอกจากนี้คนขับรถ (พขร.) ทำงานหนัก 7 วัน โดยไม่มีวันหยุดและไม่มีนโยบายรับคนเพิ่ม จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณให้มากกว่าเดิม

ก็หวังเพียงว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สถานีรถไฟหนองแก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะเป็นบทเรียนสอนใจให้ รฟท.เข้มงวดและเพิ่มมาตรการเพื่อความปลอดภัยให้ผู้โดยสารให้มากกว่าเดิม คงไม่มีใครอยากเห็นอุบัติเหตุนองเลือดบ่อย ๆ เป็นแน่.

สุกัญญา สังฆธรรม-ข้อมูล/ศิวสรร เมฆสัจจากุล-รายงาน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับที่ 20,915 วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2550 (สกู๊ปพิเศษ หน้า 2)[/b]
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/01/2007 9:09 am    Post subject: Reply with quote

อืมม์....ผมคิดว่าดีกว่าข่าวรายวันของหลายๆ สำนักพิมพ์ที่นำลงกันมา ขายเพื่อความมันส์ กับเร่งนำเสนอเป็นเจ้าแรก เท่านั้น

ขอบคุณมากๆ ครับ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2007 6:11 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เร่งเคลียร์ปัญหาไอซีดีลาดกระบัง

ฐานเศรษฐกิจ - 11- 14 กุมภาพันธ์ 2550

การรถไฟฯ เร่งเครื่องแก้ปัญหาปรับเพิ่มค่าเช่าที่ ไอซีดี. ลาดกระบัง หลังปล่อยค้างเติ่งมากว่า 1 ปี ตั้งเป้าคลอดอัตราใหม่ให้ได้ภายใน 15 ก.พ.นี้ ยอมอ่อนข้อปรับลดอัตราค่าเช่าที่จะเรียกเก็บจากเดิม 84 บาท/ตารางเมตร/เดือน เป็น 60 - 70 บาท/ตารางเมตร/เดือน ด้านผู้ประกอบการเสียงอ่อน ยอมกลับไปทบทวนตัวเลขผลตอบแทนที่จะจ่ายให้การรถไฟฯ ใหม่ ก่อนร่วมหารือกันอีกครั้ง 13 ก.พ.นี้

แหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.ฟ.ท. ) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าในการพิจารณาปรับเพิ่มค่าเช่าพื้นที่ภายในสถานีบรรจุ และแยกสินค้ากล่อง ( Inland Container Depot : ICD ) ลาดกระบัง ว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากการรถไฟฯ และคู่สัญญา ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขอัตราค่าเช่าใหม่ที่เป็นที่น่าพอใจของทั้งสองฝ่ายได้

ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้กำหนดเป้าหมายไว้แล้วว่า จะต้องสรุปตัวเลขอัตราค่าเช่าใหม่ไห้จบภายในวันที่ 15 ก.พ.50 นี้ เพื่อนำรายละเอียดทั้งหมดเสนอให้คณะกรรมการบริหาร ( บอร์ด ) การรถไฟฯ พิจารณา ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบ ก็จะเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ( Inland Container Depot : ICD ) ลาดกระบัง ที่มีนายยุทธนา ทัพเจริญ รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. พิจารณาเป็นลำดับต่อไป เพื่อดูว่า จะยอมรับในอัตราตัวเลขค่าเช่าที่เสนอ และอนุมติให้ต่อสัญญากับคู่สัญญารายเดิมต่อไปหรือไม่ หรือจะยกเลิก และให้เปิดประมูลหาผู้เช่ารายใหม่ หากเห็นว่าค่าเช่าใหม่ไม่เหมาะสม

แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวต่อว่า สัญญาการเช่าพื้นภายในสถานีบรรจุ และแยกสินค้ากล่องฯ นั้น ได้หมดลงตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค.49 ผ่านมา แม้ว่าผู้ประกอบการเอกชนที่เป็นคู่สัญญาจะยืนยันขอเช่าพื้นที่เดิมต่อไป แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องของอัตราค่าเช่าพื้นที่ เนื่องจากการรถไฟฯ ต้องการเรียกเก็บค่าเช่าใหม่ ที่อัตรา 84 บาท/ตารางเมตร/เดือน ขณะที่ผู้ประกอบการเห็นว่าอัตราที่เหมาะสม ควรอยู่ที่ 40 บาท/ตารางเมตร/เดือน เป็นผลให้การเจรจายืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี การรถไฟฯ จึงได้หาทางแก้ไข ด้วยการว่าจ้างให้ บริษัท นิว แอสเซ็ท แอดไวเซอรี่ จำกัด ศึกษาและประเมินมูลค่าทางธุรกิจ มูลค่าทรัพย์สินที่ดิน และอาคาร ในการเช่าพื้นที่ภายในสถานีบรรจุ และแยกสินค้ากล่องฯ ว่าควรจะคิดผลตอบที่อัตราเท่าใดจึงจะเหมาะสม โดยได้ข้อสรุปว่า ควรจะเรียกเก็บที่อัตรา 60 - 70 บาท/ตารางเมตร / เดือน ซึ่งจะทำให้การรถไฟฯ ได้รายได้เดือนละ 38 ล้านบาท จึงจะถือว่าเหมาะสม

ขณะเดียวกัน แม้การรถไฟฯ จะทำการปรับลดอัตราค่าเช่าที่จะเรียกเก็บลงมาแล้ว แต่ก็มีเพียง บริษัทไทยฮันจิน โลจิสติกส์ จำกัด รายเดียวเท่านั้นที่ยอมรับ ขณะที่ผู้ประกอบการอีก 5 ราย ไม่ยอมรับ ทำให้ยังต้องมีการเจรจาปรับเพิ่มค่าเช่าต่อไป

โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 8 ก.พ.50 ที่ผ่านมา ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างการรถไฟฯ และคู่สัญญา อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหาทางออกในเรื่องการคิดอัตราค่าเช่าที่ใหม่ โดยภาคเอกชนยินยอมที่จะกลับไปพิจารณาอีกครั้งว่า จะสามารถเพิ่มอัตราค่าเช่าที่จะจ่ายให้การรถไฟฯ ได้มากขึ้นอีกหรือไม่ จากเดิมที่พอใจอยู่ที่อัตรา 40 บาท/ตารางเมตร/เดือน จากนั้น ในวันที่ 13 ก.พ.50 นี้ การรถไฟฯ และคู่สัญญา จะหารือเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันอีกครั้ง

อนึ่งผู้ประกอบการเอกชน หรือคู่สัญญาที่ได้รับสัมปทานประกอบการภายในสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot : ICD) ลาดกระบัง มีทั้งสิ้น 6 ราย ประกอบด้วย

บริษัท สยามซอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี A,

บริษัท อีสเทิร์น ซี แหลมฉบัง เทอ์มินอล จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี B,

บริษัทเอเวอร์กรีน คอมเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี C,

บริษัท ทิฟฟ่าไอซีดี จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี D,

บริษัทไทยฮันจิน โลจิสติกส์ จำกัดได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี E และ

บริษัท เอ็น.วาย.เค.ดิสทริบิวเทชั่น เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานประกอบการในสถานี F

ทั้งนี้ผู้ประกอบการทั้ง 6 ราย ได้หมดสัญญาการเช่าพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวกับการรถไฟฯ ไปแล้วเมื่อวันที่ 5 มี.ค.9 ที่ผ่านมา โดยในขณะนี้ ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่พร้อมจ่ายค่าเช่าในอัตราเดิม คือ 30 ล้านบาทต่อเดือน ไปจนกว่าจะตกลงเรื่องค่าเช่าพื้นที่อัตราใหม่ได้ จึงจะทำสัญญาเช่าพื้นที่ต่ออีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 471, 472, 473  Next
Page 2 of 473

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©