Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311787
ทั่วไป:13502364
ทั้งหมด:13814151
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องน่ารู้ : โรงงานมักกะสัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องน่ารู้ : โรงงานมักกะสัน
Goto page 1, 2, 3 ... 13, 14, 15  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/12/2011 12:33 pm    Post subject: เรื่องน่ารู้ : โรงงานมักกะสัน Reply with quote

สวัสดีครับ....

ช่วงที่หายหน้าไปนานนั้น ผมอยู่ในช่วงศึกษาดูเรื่องเก่าๆ ที่ได้รับมาจากหนังสือ "งานฉลองรถไฟหลวงครบ 50 ปี" และ "ครบรอบ 72 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย" ที่ได้รับมาจาก คุณบอมบ์ (CivilSpice) และ ป๋าณัฐ (nathapong) มานานแล้ว มีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรงงานของกรมรถไฟหลวง จนมาถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ในทุกวันนี้ คือ โรงงานมักกะสัน อันยิ่งใหญ่ ฝากฝีมือนามกระเดื่องด้านช่างซ่อมสร้างรถไฟมานาน เลยขอคัดมาตัดต่อเผยแพร่ให้บรรดาสมาชิกและผู้สนใจในเรื่องดังกล่าวได้ทราบในกระทู้นี้นะครับ สำหรับภาพประกอบบางส่วนนั้น ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก เฮียวิศ (Wisarut) กูรูด้านรถไฟประจำเว็บไซต์ของเรา ซึ่งผมขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อจากสมาชิกผู้ที่กล่าวนามมาทุกท่านด้วยครับ

เนื่องจากเนื้อหาและภาพประกอบ มีความยาวค่อนข้างมาก ผมจึงขอแบ่งเรื่องราวออกเป็น 3 ตอน โดยเป็นช่วงตอนแรกจากการก่อสร้างโรงงานมักกะสันจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงที่สองการฟื้นฟูบูรณะโรงงานช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จากเงินกู้ของธนาคารโลก และช่วงสุดท้ายกับผลงานจากโรงงานมักกะสัน และเรื่องเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวข้อง ที่อาจใช้เวลาเรียบเรียงค่อนข้างนาน และยังไม่สมบูรณ์นัก ซึ่งจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงข้อมูลเป็นระยะๆ กันต่อไปครับ

คงฝากไว้เป็นที่ระลึก หากโครงการย้ายโรงงานรถไฟแห่งนี้ไปตั้งยังที่แห่งใหม่เพื่อพัฒนาที่ดินบริเวณเดิมให้เกิดประโยชน์มากกว่าเดิมนั้น เกิดขึ้นจริงในอนาคต และถึงตอนนั้น ชื่อของโรงงานที่มักกะสันอาจเหลือเพียงความจำซึ่งคนรุ่นหลังๆ อาจนึกภาพไม่ออกว่าเรื่องราว หน้าตาของโรงงานมักกะสันมีหน้าตาเป็นอย่างไรด้วยครับ...

ป.ล.ต้องขออนุญาตท่าน วมต.ในบางภาพเช่น chart และ map อาจมีลงขนาดเกินมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากมีข้อมูลรายละเอียดประกอบอยู่มาก เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาด้วยครับ

...................


โรงงานมักกะสัน (1)

ณ สถานีมักกะสัน ห่างจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ออกไปทางทิศตะวันออก 3 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของโรงงานรถไฟขนาดใหญ่และสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นโรงงานแห่งเดียวของกรมรถไฟที่สามารถทำการซ่อมและประกอบรถจักรและรถพ่วงทุกชนิดได้อย่างสมบูรณ์ คือ โรงงานมักกะสัน

คำว่า “มักกะสัน” มิใช่ชื่อของโรงงานที่ได้รับการแต่งตั้งหรือลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน แต่ก็เป็นธรรมดาอยู่เองเมื่อโรงงานตั้งอยู่ ณ บริเวณสถานีมักกะสันก็เลยพากันขนานนามโรงงานนั้นให้คล้อยตามชื่อของตำบลตั้งแต่เริ่มสำเร็จเป็นตัวโรงงานเป็นต้นมาจนกระทั่งบัดนี้

โรงงานซ่อมยุคแรก

เมื่อครั้งการรถไฟฯ ยังเป็นกรมรถไฟหลวงอยู่ในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ กิจการได้แยกออกเป็น 2 กรม คือ กรมรถไฟหลวงสายเหนือและสายใต้ กรมรถไฟหลวงสายเหนือ บังคับบัญชาทางสายตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีทางรถไฟขนาดกว้าง 1.435 เมตร ส่วนกรมรถไฟหลวงสายใต้ บังคับบัญชาทางสายตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีทางรถไฟขนาดกว้าง 1.000 เมตร เท่ากับทางรถไฟที่ใช้ในแหลมมลายู หัวหน้าของกรมรถไฟทั้งสองสายเป็นชาวต่างประเทศ และข้าราชการชั้นสูงก็เป็นชาวต่างประเทศเสียโดยมาก

กิจการด้านช่างกลในกรมรถไฟหลวงสายเหนือ มีโรงงานซ่อมสำหรับรถจักรและล้อเลื่อนอยู่ที่สถานีหัวลำโพง เป็นโรงงานซ่อมเล็กๆ สำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษารถ ส่วนของกรมรถไฟหลวงสายใต้ มีโรงงานซ่อมอยู่ที่บางกอกน้อย ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสร้างเส้นทางสายใต้ใหม่ๆ คือประมาณ พ.ศ.2446

Click on the image for full size

ครั้น พ.ศ.2450 ทางการได้เริ่มลงรากทำการก่อสร้างโรงงานซ่อมส่วนกลางขึ้นที่มักกะสัน และสร้างเสร็จเรียบร้อยเปิดทำการเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ.2453 โรงงานใหญ่แห่งนี้มีหน้าที่ซ่อมทุกประเภทให้แก่รถจักรและล้อเลื่อนของกรมรถไฟสายเหนือ โดยยุบโรงงานซ่อมที่หัวลำโพง ไปรวมซ่อมที่โรงงานมักกะสันแห่งเดียว ส่วนรถไฟของกรมรถไฟหลวงสายใต้ ก็ยังคงรับการซ่อมที่โรงงานบางกอกน้อย

ในขณะนั้น การซ่อมรถจักรและรถพ่วงในทางสายใต้เกิดติดขัดมาก เพราะโรงงานบางกอกน้อยแห่งเดียวไม่สามารถจะทำการซ่อมได้ทัน จึงในปี พ.ศ.2457 ได้กำหนดแผนงานสร้างโรงงานซ่อมรถจักรและล้อเลื่อนที่คันธุลี (กม.566) ในทางสายใต้ แต่การก่อสร้างอาคารยังไม่แล้วเสร็จ กล่าวคือเพียงสร้างรากฐานและกำแพงบางอาคารเท่านั้นก็ต้องถูกระงับไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

ครั้นต่อมา ประเทศสยามได้ประกาศสงครามร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2460 ชาวต่างประเทศสัญชาติเยอรมันก็ต้องถูกออกจากกรมรถไฟรวม 28 คน โดยให้มีคนสัญชาติไทยและสัญชาติสัมพันธมิตรเข้าปฏิบัติราชการแทน

ในปีเดียวกันนั้นเอง ได้มีพระราชกฤษฎีการวมกรมรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าเป็นกรมเดียวกัน และทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และได้รับพระบรมราชานุญาตให้รวมโรงงานซ่อมเข้าไว้ที่โรงงานมักกะสันแต่แห่งเดียวตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2460 จึงย้ายเครื่องมือกล เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ที่กำหนดจะติดตั้งที่คันธุลี นำมาไว้ที่โรงงานมักกะสัน

Click on the image for full size

บริเวณภายในรั้วสังกะสีของโรงงานมีเนื้อที่วัดได้ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร และต่อจากนั้นก็ได้รับการปรับปรุงขยายการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นเป็นลำดับ อาทิ เช่น โรงซ่อมรถโดยสาร ซึ่งก่อสร้างเสร็จในพุทธศักราช 2465 พร้อมรถปั้นจั่นไฟฟ้าเหนือหัวขนาด 15 ตัน 2 เครื่อง และโรงซ่อมรถจักร ก่อสร้างเสร็จในพุทธศักราช 2471 พร้อมรถปั้นจั่นไฟฟ้าเหนือหัวรวม 5 เครื่อง คือขนาด 80 ตัน 1 เครื่อง กับ 5 ตัน 1 เครื่อง ซึ่งใช้สำหรับในการซ่อมและประกอบตัวรถจักร ขนาด 10 ตัน 1 เครื่อง กับ 25 ตัน 1 เครื่อง ใช้สำหรับในการซ่อมหม้อน้ำขนาด 10 ตัน อีก 1 เครื่องสำหรับในการซ่อมรถลำเลียง

จากปี พ.ศ.2471 จนถึงปี พ.ศ.2481 ไม่ปรากฎว่ามีการก่อสร้างโรงซ่อมสำคัญๆ ภายในโรงงานเพิ่มเติมขึ้นอีก

Click on the image for full size

ในขณะนั้น การซ่อมหนักรถจักรและล้อเลื่อนของทางรถไฟสายใต้ ขนาดกว้าง 1.000 เมตร ต้องใช้ลำเลียงทางเรือจากบางกอกน้อยมายังสถานีแม่น้ำ แล้วเคลื่อนตามรางรถไฟมาเข้าซ่อมที่โรงงานมักกะสัน โรงงานซ่อมบางกอกน้อยขณะนั้นยังยุบเลิกไม่ได้ เนื่องจากมีความจำเป็นที่ซ่อมรถโดยสารและรถสินค้าประเภทซ่อมเบา และปานกลางไปก่อน

การมีทางรถไฟทั้งสองขนาด ย่อมไม่สะดวกหลายประการ ทั้งในด้านการลำเลียงรถเข้าซ่อมยังโรงงานมักกะสันและการสับเปลี่ยนใช้ล้อเลื่อนแทนกันไม่ได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟของรัฐเป็นขนาดกว้าง 1.000 เมตร เหมือนกันหมด เพราะรถไฟในประเทศเพื่อนบ้านใช้ทางขนาดกว้าง 1.000 เมตรกันแล้วทุกแห่ง โดยกำหนดให้จัดการแก้ไขทางขนาดกว้าง 1.435 เมตรเดิมทั้งหมดให้เสร็จภายในเวลา 10 ปี โดยเริ่มจัดทำเมื่อ พ.ศ.2463 และสำเร็จในปี พ.ศ.2472 คำนวณค่าใช้จ่ายในการนี้ตกเป็นเงิน 1,548,144.- บาท

เมื่อได้แก้ไขทางสายเก่าเป็น 1.000 เมตรเหมือนกันหมดแล้วทั่วประเทศ ต่อมาก็ถึงขั้นที่จะต้องเชื่อมทางรถไฟหลวงทั้ง 2 ฝั่งให้ติดต่อกัน ก็โดยวิธีสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือกรุงเทพฯ ซึ่งสะพานนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2469 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมนามาภิไธยว่า “สะพานพระราม 6”

เมื่อการก่อสร้างสะพานพระราม 6 เสร็จแล้ว ก็เริ่มวางแผนการที่จะยุบโรงงานบางกอกน้อย โดยค่อยๆ ทยอยส่งรถจักรและล้อเลื่อนเข้ารับการซ่อม มายังโรงงานมักกะสันให้มากขึ้น หลังจากนั้นในประมาณปี พ.ศ.2473 ก็ได้ยุบเลิกโรงงานซ่อมที่บางกอกน้อย และย้ายการซ่อมไปรวมไว้ที่โรงงานมักกะสันแต่แห่งเดียว


Last edited by black_express on 19/12/2011 7:36 am; edited 5 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/12/2011 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

นับแต่โรงงานมักกะสันเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ.2453 มีการควบคุมบริหารโดยนายช่างชาวยุโรปเป็นผู้อำนวยการจนกระทั่งปลายปี พ.ศ.2474 มิสเตอร์ อิงค์ฮัม ซัตสคริฟฟ (Ingham Sutcliffe) ผู้อำนวยการโรงงานชาวยุโรปคนสุดท้ายลาออกไป คนไทยคนแรกซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายช่างกลอำนวยการโรงงาน คือ หลวงจรูญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรูญ สนิทวงศ์) ดำรงตำแหน่งเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ.2473 แต่ได้ถึงแก่อนิจกรรมลงในปลายปีเดียวกัน ต่อจากนั้นก็มีนายช่างกลคนไทยได้เข้ารับตำแหน่งอำนวยการโรงงานมักกะสันต่อเนื่องกันมา

Click on the image for full size

ครั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศใน พ.ศ.2475 กรมรถไฟได้เปลี่ยนระบบบริหารราชการใหม่ โดยแยกโรงงานมักกะสันออกจากกิจการช่างกลโดยให้ขึ้นอยู่กับกิจการช่างทั่วไป ในระยะนั้นมี ม.จ.เสริมสวาสดิ์ กฤดากร ทรงดำรงนายช่างเอก และหลวงเดชาติวงศ์ วราวัฒน์ (ม.ล.กรี เดชาติวงศ์) เป็นผู้อำนวยการโรงงานมักกะสัน และในระยะต่อมา หลวงรถรัฐวิจารณ์ (พุฒ รักตะประจิต) ก็ได้เข้ารับตำแหน่งต่อจากหลวงเดชาติวงศ์

Click on the image for full size

จนกระทั่งปี พ.ศ.2481 เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักและกรมในสังกัดกระทรวงเศรษฐการ (ฉบับที่ 8) ประกาศใช้ การดำเนินกิจการของโรงงานมักกะสัน ก็กลับมาสังกัดในราชการของฝ่ายการช่างกลตามเดิม จนกระทั่งกาลปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 18/12/2011 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

Laughing ขอบคุณมาก ครับ สำหรับสาระความรู้เกี่ยวกับโรงงานมักกะสัน เสียดาย ตู้โดยสารและตู้สินค้ายี่ห้อมักกะสัน เดี๋ยวนี้เลิกผลิตแล้ว

แต่ตู้โดยสารส่วนใหญ่ก็ยังเป็นยี่ห้อมักกะสันอยู่

-------------------------------------------------------
รอติดตามชมต่อไป ครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/12/2011 12:58 pm    Post subject: Reply with quote

โรงงานมักกะสันในสมัยนั้น ภายในโรงงานมีโรงซ่อมและโรงผลิตต่างๆ และมีการขยายและปรับปรุงกิจการรวมทั้งการก่อสร้างโรงอื่นๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ อาทิ เช่น

Click on the image for full size

โรงซ่อมรถโดยสาร (และใช้ซ่อมรถบรรทุกด้วย) สร้างเสร็จ พ.ศ.2466 (มีปั้นจั่นไฟฟ้าเหนือหัวขนาด 15 ตัน 2 เครื่อง)

Click on the image for full size

โรงซ่อมรถจักรไอน้ำ สร้างเสร็จ พ.ศ.2471 (มีปั้นจั่นไฟฟ้าเหนือหัว 5 เครื่อง)

โรงซ่อมรถบรรทุก เริ่มของบประมาณเพื่อดำเนินการสร้างในปี พ.ศ.2471 – 2472 ขนาด 120 ม. X 200 ม. แต่ยังมิได้ดำเนินการสร้าง

Click on the image for full size

นับแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา โรงงานมักกะสันได้เริ่มเปิดหน่วยซ่อมรถจักรดีเซลขึ้นอีกหน่วยหนึ่ง เพื่อรับภาระตรวจซ่อมรถจักรดีเซลไฟฟ้าขนาดต่างๆ รวม 10 คัน ที่กรมรถไฟสั่งซื้อมาจากประเทศยุโรป และได้เริ่มส่งออกปฏิบัติงานลากจูงขบวนรถด่วนและรถเร็วตลอดมา

โรงแบตเตอรี่ สร้างเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2479

ในปี พ.ศ.2479 นี้เอง ทางการกรมรถไฟได้พิจารณาเห็นว่า ได้สั่งซื้อรถจักรไอน้ำและรถจักรดีเซล ตลอดจนรถพ่วงเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก จึงสมควรขยายโรงงานมักกะสัน เช่น โรงซ่อมต่างๆ และสั่งซื้อเครื่องจักรเครื่องมีอกลมาให้เพียงพอแก่การซ่อม และเพียงพอแก่ตัวโรงงานที่จะขยายออกไป
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/12/2011 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องราวการสร้างรถโดยสารและรถบรรทุกสินค้าของโรงงานมักกะสัน ยังมีลงต่อในตอนหลังครับ พี่สมชาย ขอได้อดใจรอ Razz
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/12/2011 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย ทางการได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง เมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ.2480 เพื่อวางหลักเกณฑ์ในการแก้ไข ปรับปรุงและขยายโรงงานมักกะสันในปีต่อไป คณะกรรมการประกอบด้วย ม.จ.เสริมสวาสดิ์ กฤดากร (นายช่างเอกรถไฟ) เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอีก 4 ท่าน คือ หลวงรถรัฐวิจารณ์ หลวงวิฑูรวิธีกล หลวงวิเทศยนตรกิจ และนายปุ่น ศกุนตนาค

คณะกรรมการได้พิจารณาวางหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปรับปรุง 3 ประการ คือ

ประการที่ 1 การขยายโรงซ่อมต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้ดำเนินการซ่อมได้เพียงพอ รวมทั้งให้มีสถานที่เก็บรถจอดรอไว้ก่อนนำเข้าซ่อม

ประการที่ 2 ได้กำหนดจำนวนล้อเลื่อนที่จะนำเข้าซ่อม

ประการที่ 3 กำหนดวางรูปโรงงานใหม่ โดยหาวิธีให้มีการรื้อโรงงานเก่าที่มีอยู่ให้น้อยที่สุด และในขณะเดียวกัน โรงที่จะกำหนดขึ้นใหม่ ให้มีประสิทธิภาพในการซ่อมดีที่สุดด้วย

ในการวางรูปโรงงานใหม่ คณะกรรมการได้กำหนดบริเวณออกเป็น 4 ส่วน

Click on the image for full size

ส่วนแรก สำหรับเป็นที่ทำการกองอำนวยการ โรงเรียนช่างฝีมือ โรงทดลองและพัสดุ

ส่วนที่ 2 คือโรงซ่อมรถจักร โรงซ่อมรถโดยสาร และโรงซ่อมรถบรรทุก

ส่วนที่ 3 เป็นโรงงานย่อยต่างๆ ที่จะทำงานป้อนให้กับโรงซ่อมหลัก

ส่วนที่ 4 เป็นย่านและบริเวณสำหรับจอดรถที่จะนำเข้าซ่อมและมีเนื้อที่เตรียมไว้สำหรับการขยายในอนาคตด้วย

Click on the image for full size

ประมาณค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในขณะนั้น เป็นเงิน 5,000,000 บาท กำหนดใช้เวลาประมาณ 6 ปี และแบ่งงานออกเป็น 4 ชั้น โดยเจียดเงินไว้ประมาณ 330,000 บาทต่างหาก สำหรับการใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินสายไฟฟ้า และโคมไฟแสงสว่าง รวมทั้งโรงซ่อมของหนัก เช่น เหล็กสะพาน

งานก่อสร้าง ขยายและปรับปรุงโรงงานมักกะสันได้เริ่มต้นการสร้างในปี พ.ศ.2481 โดยให้มีการก่อสร้างโรงกลึงใหม่สำหรับอุปกรณ์รถจักรไอน้ำ โรงทองเหลืองใหม่ ซึ่งรวมโรงเชื่อมไฟฟ้า โรงซ่อมรถจักร โรงซ่อมรถโดยสาร และโรงซ่อมรถบรรทุก แต่งานก่อสร้างได้เสร็จไปเพียงบางส่วนเท่านั้น ก็ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น งานก่อสร้างขยายโรงงานมักกะสันจึงต้องหยุดชะงักลง ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484

ขณะนั้น นายปุ่น ศกุนตนาค เป็นวิศวกรหัวหน้ากองโรงงาน (ตั้งแต่ พ.ศ.2481 ถึง 2486)
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/12/2011 1:16 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

นับตั้งแต่สงครามในภาคเอเซียบูรพาเกิดขึ้น ทางการพิจารณาเห็นว่า โรงงานมักกะสันเป็นจุดไม่ปลอดภัย จึงได้วางโครงการสร้างโรงงานชั่วคราวขึ้นที่แก่งคอย และทางนครราชสีมาสำรองไว้อีก โดยจัดส่งเครื่องกำเหนิดไฟฟ้าและเครื่องมือกลที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ไปไว้ ณ ที่นั้น ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2486 แต่ยังมิได้เปิดดำเนินงาน เพราะต้องรอการสร้างอาคารที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อยก่อน

Click on the image for full size

ครั้นในปลายปี 2486 ภัยทางอากาศที่คุกคามบริเวณพระนคร – ธนบุรีได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทางการจึงได้เริ่มอพยพหน่วยซ่อมรถโดยสารรถบรรทุก และกำลังคนออกไปดำเนินการในจังหวัดอุบลราชธานี การย้ายสรรพวัสดุต่างๆ ที่จำเป็นได้เสร็จเรียบร้อยและสามารถดำเนินงาน ณ เขตใหม่ได้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2487 เมื่อได้อพยพเคลื่อนย้ายหน่วยงานและเครื่องมือเครื่องใช้บางส่วนไปไว้ ณ ที่ปลอดภัยแล้ว เป็นเหตุทำให้ประสิทธิภาพและสมรรถภาพในการซ่อมของโรงงานมักกะสันเหลืออยู่ประมาณ 25%

Click on the image for full size

และเพื่อให้โรงงานและเครื่องมือเครื่องใช้ที่สำคัญและจำเป็นได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น ทางการก็ได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายเครื่องมือกลและอุปกรณ์ต่างๆ จากแก่งคอย และนครราชสีมาไปไว้ตามสถานีเล็กๆ มี ลำชี ท่าช้าง ขอนแก่น และปากช่อง เป็นต้น แม้ทางโรงงานมักกะสันก็ได้เคลื่อนย้ายเพิ่มเติมออกไปอีกเป็นอันมาก คงเหลือไว้ใช้พอเพียงเท่าที่จำเป็นแก่การซ่อมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น

สรุปแล้ว ตลอดระยะเวลาที่ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงคราม โรงงานมักกะสันต้องประสพภัยทางอากาศรวม 4 ครั้ง ผลแห่งการเสียหายแต่ละครั้งมีปรากฎอยู่ในแผนผังที่แสดงไว้แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/12/2011 1:24 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

แต่เดิมมา การซ่อมรถจักรไอน้ำ รถโดยสารและรถบรรทุก ได้ใช้ระเบียบวิธีมอบรถที่ชำรุดให้แก่ช่างเป็นหมวดๆ จะเป็นคันเดียวหรือหลายคันก็ตาม ช่างหมวดหนึ่งๆ จะประกอบด้วยหัวหน้าช่างและลูกมือซึ่งเป็นช่างฝีมือที่ชำนาญงานหลายอย่างรวมกัน และรับรอตรวจเชื่อมตั้งแต่เริ่มเข้าโรงซ่อมจนซ่อมเสร็จ ส่งออกจากโรงงาน ระหว่างการตรวจและซ่อมนี้ คงได้รับการควบคุมดูแลแนะนำโดยนายงานหรือสารวัตร และหัวหน้าช่างทั่วไปตามระเบียบ

ต่อมา ทางการโรงงานเห็นว่า การซ่อมด้วยวิธีนี้ ถึงจะยังผลสำเร็จรวดเร็วดีก็จริงอยู่ เพราะอาจให้ดำเนินการเหมาซ่อมและเป็นการประกวดผลไปในตัวได้ แต่ผลทางฝีมือของแต่ละคันปรากฎว่าผิดกันมาก ทั้งไม่สามารถกำหนดพิกัดเวลาซ่อมได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะเกี่ยวกับการซ่อมรถจักรซึ่งเป็นงานสำคัญ อันต้องอาศัยความรอบรู้ทางหลักวิชาการและความละเอียดถี่ถ้วนเป็นพิเศษ ซึ่งจะมาอบรมสั่งสอนกันให้รู้และฝึกฝนให้ชำนาญเสียทุกอย่างโดยทั่วกันทุกหมวดนั้น ย่อมทำได้ยากมากหรืออาจไม่สามารถทำได้เลย พื้นความรู้ของช่างแทบทุกคนก็มีเป็นทุนเดิมมาน้อยอยู่แล้ว

Click on the image for full size

ด้วยเหตุนี้ ในพุทธศักราช 2481 จึงได้พิจารณาวางกระบวนการซ่อมรถจักรไอน้ำขึ้นใหม่ ส่วนระเบียบวิธีซ่อมรถโดยสารและรถบรรทุก คงให้เป็นไปตามเดิมก่อน กระบวนการใหม่นี้ ได้วางรูปโดยจัดช่างชำนาญการอย่างเดียวกันรวมเป็นหมู่ๆ มีตั้งแต่หมู่รื้อ หมู่สร้าง หมู่ตรวจก่อนซ่อม ซึ่งมีพนักงานตรวจหรือพนักงานเทคนิคเป็นผู้พิจารณาตรวจและสั่งซ่อมตามข้อแนะนำและหลักการเทคนิค โดยถือตามระเบียบวิธีและมาตรฐานของโรงงานอย่างเดียวกันหมด ตลอดจนมีหมู่ช่างชำนาญการซ่อมเครื่องประกอบที่สำคัญเป็นพิเศษ เช่น หมู่ซ่อมหม้อเพลา หมู่ซ่อมลูกสูบลิ้นไอและเครื่องเคลื่อนไหว ฯลฯ จนถึงหมู่ประกอบ หมู่ตรวจแบ่งลิ้นไอ กระทั่งสำเร็จส่งออกทดลองเดินทางไกล ทั้งนี้ โดยใช้วิธีส่งคนเดินไปรุมซ่อมยังตัวรถ ไม่ใช่เลื่อนรถมาหาคนดังเช่นกระทำในต่างประเทศบางแห่ง เพราะโรงซ่อมรถจักรได้ถูกสร้างไว้ให้ทำได้แต่เชิงวิธีนี้

Click on the image for full size

ตามระเบียบวิธีนี้ปรากฎผลต่อมาเป็นที่พึงพอใจ สามารถทดลองวางพิกัดเวลาในการซ่อมรถจักรชนิดตรวจซ่อมทั่วไปทั้งขนาดหนักและขนาดกลางได้ดังนี้

1) ให้รับรถจักรเข้าตรวจซ่อมทั่วไปเพียง 16 คัน (ชนิดใหญ่ 13 เล็ก 3)

2) ตั้งแต่วันเริ่มลงมือรื้อจนซ่อมเสร็จ ส่งออกจากโรงงาน ให้กำหนดเวลาไว้ 80 วัน (วันทำงานเต็ม 8 ชั่วโมง) โดยแบ่งงานออกเป็น 16 คันๆ ละ 5 วัน)

3) ทุกๆ 5 วัน (วันทำงานเต็ม 8 ชั่วโมง) ต้องส่งออกได้ 1 คัน และรับเข้าซ่อมแทน 1 คัน

4) เดือนหนึ่ง ถือเวลาทำงาน 25 วัน (200 ชั่วโมง) จะได้ปริมาณรถจักรซ่อม 5 คัน หรือปีละ 60 คัน

ตามนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าโรงงานมีสมรรถภาพและประสิทธิภาพดีขึ้นและสามารถลดเวลาซ่อมของ 16 คันนั้นลงได้เท่าใด รถจักรจะซ่อมได้เร็วขึ้น และมีประมาณซ่อมออกมาได้มากขึ้นตามสัดส่วนเท่านั้น โดยไม่ต้องขยายสถานที่ให้กว้างขวางใหญ่โตออกไปอีกเลย

ทั้งนี้ ให้พยายามที่จะเว้นการซ่อมรถจักรชนิดเบาให้น้อยที่สุด เพื่อมิให้เวลาที่ถูกพิกัดไว้เสียไปด้วยการแทรกแซงจากการซ่อมเบา เพราะช่างฝีมือดีมีอยู่น้อยตัว อันกว่าจะฝึกได้แต่ละคนเป็นสิ่งยากและลำบากนัก จึงยังมีไม่พอที่จะตั้งหมู่ช่างพิเศษสำหรับซ่อมเบาได้

อนึ่ง เป็นการยากที่จะกำหนดได้แน่ว่าเมื่อใดจึงจะมีรถชนิดต้องซ่อมเบาเข้ามาซ่อม เพราะตามโรงเก็บรถจักร ณ สถานีต่างๆ ก็มีอุปกรณ์พร้อมที่จะซ่อมได้เองเสมออยู่แล้ว จึงการที่ต้องส่งเข้าโรงงานก็เนื่องด้วยอุบัติเหตุเฉพาะราย ทางโรงเก็บรถจักรไม่สามารถซ่อมได้จริงๆ เท่านั้น


Last edited by black_express on 18/12/2011 2:19 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/12/2011 1:36 pm    Post subject: Reply with quote

แต่พิกัดเวลาที่วางไว้นั้น กระทำยังมิได้เที่ยงตรงแน่นอนทุกคน เนื่องจากต้องถูกแทรกแซงด้วยการซ่อมเบาเสมอโดยมาก เช่นใน พ.ศ.2485 , 2486 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังประสบอุปสรรคต่างๆ อีกหลายประการมีที่สำคัญก็คือ

1. รถจักร รฟท. มีหลายขนาดหลายแบบหลายยี่ห้อ แบบหนึ่งยี่ห้อหนึ่ง ก็มีเป็นจำนวนไม่มากพอ คือมีทั้งรถจักรอังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิส ญี่ปุ่น ซึ่งรวมทั้งสิ้นแล้วแบ่งแยกออกได้กว่า 20 ชนิด อุปกรณ์เครื่องประกอบจึงต้องมีหลายต่อหลายแบบ กระสวนไม้ก็ต้องมีอย่างมากมาย จึงยากแก่การผลิตให้ได้ปริมาณพอเพียงโดยทั่วถึง

ทางการได้พยายามกำหนดเครื่องอุปกรณ์ให้มีแบบเหมือนกันเป็นมาตรฐาน แต่ก็ทำได้เป็นส่วนน้อย เพราะนอกจากต้องอาศัยวิศวกรผู้ชำนาญงานและสนใจในงานนี้เป็นพิเศษจริงๆ แล้ว ยังต้องอาศัยผู้ที่รู้จักออกแบบแผนด้วยตนเอง วิศวกรชนิดนี้จึงควรเป็นวิศวกรที่ได้รับการศึกษาและฝึกฝนงานด้านนี้เป็นอย่างดี ทั้งเคยเห็นของทันสมัยแปลกๆ ใหม่ๆ อยู่เสมอด้วย

2. ตั้งแต่ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา วิศวการกล ตลอดจนสารวัตรนายงานเหลือน้อยตัวลงเป็นลำดับ ไม่มีการเสาะแสวงหานักเรียนวิศวกรเข้ามาอบรมหรือส่งเสริมให้ไปศึกษาวิชาการรถไฟในต่างประเทศโดยคัดเป็นรุ่นๆ ดุจสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟและเสนาบดีกระทรวงคมนาคม

3. โรงงานขาดแคลนกรรมกรประเภทช่างฝีมือดีเป็นอันมาก โดยเฉพาะช่างเครื่องมือกล จนไม่สามารถสนองงานให้รวดเร็วก้าวหน้าทันความต้องการจัดหาเครื่องจักรเครื่องมือกลเข้ามาใช้งานให้ได้ปริมาณและคุณภาพ จะง่ายกว่าการการเพาะและฝึกสอนช่างฝีมือไทยให้รอบรู้และชำนาญงาน ซึ่งแลเห็นได้จากการได้รับเครื่องมือกลใหม่จากต่างประเทศเข้ามาหลายสิบเครื่อง แต่ยังหาช่างอันเหมาะสมที่จะเข้าประจำเครื่องให้ครบไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการเพาะและฝึกสอนตัวช่างนั้น นอกจากจะต้องมีเงินเป็นทุนแล้ว ยังต้องอาศัยครูผู้ฝึกสอนซึ่งก็หาได้ยากยิ่งอยู่แล้วนั้นอีก

Click on the image for full size

ในปี 2484 ซึ่งเป็นปีที่เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ถึงปี 2486 รวม 3 ปีติดๆ กัน โรงงานสามารถซ่อมรถจักร รถโดยสารและรถบรรทุกได้ปริมาณสูงเป็นสถิติยอดเยี่ยมกว่าปีใดๆ

Click on the image for full size

พอย่างเข้าปี 2487 เป็นเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม วัสดุสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ในการซ่อมซึ่งได้เริ่มลดน้อยเรื่อยมาเพราะไม่สามารถสั่งซื้อจากต่างประเทศใดๆ เข้ามาอีกได้ สิ่งของต่างๆ ก็ร่อยหรอไปจนไม่มีเหลือในคลังพัสดุ แต่อาศัยเหตุที่ภายในโรงงานมีคนที่มีความสามารถดี ใช้ความอุตสาหะพยายามคิดค้นประดิษฐ์สิ่งของขึ้นใช้แทนสิ่งที่ขาดแคลนได้ แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะไม่เคยทำ ก็ยังพยายามทำกันโดยสุดฝีมือจนเป็นผลสำเร็จ

ภายหลังที่ได้ทำการทดลองใช้งานแล้วปรากฎว่าได้ผลเป็นที่พึงพอใจ นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างสำคัญชิ้นหนึ่ง ซึ่งการสงครามคราวนี้สอนให้รู้จักช่วยตัวเอง กรณีที่บรรดาข้าราชการและกรรมกรร่วมใจกันกระทำสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ประจักษ์ชัดนั้น สมควรได้รับความสรรเสริญว่าเป็นผู้ที่มีน้ำใจดีงามอย่างยิ่ง

ความขาดแคลนวัสดุสิ่งของเครื่องใช้ดังกล่าว ได้ทำความขลุกขลักให้แก่งานซ่อมของโรงงาน เป็นที่หนักอกหนักใจอย่างยิ่งแก้ผู้บริหารงานจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เพราะมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างซึ่งไม่สามารถจะหาเองได้ และยังจะต้องพึ่งพาอาศัยสั่งซื้อมาจากต่างประเทศอีก

เดือนสิงหาคม พ.ศ.2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงแล้ว ได้อพยพเครื่องจักร เครื่องมือกลกลับคืนเข้าโรงงานมักกะสัน

Click on the image for full size

ประสิทธิภาพของโรงงานในขณะนั้นตกต่ำลงกว่าเมื่อก่อนสงครามไม่น้อยกว่า 60% โดยเฉพาะอาคารต่างๆ ทั้งด้านโรงซ่อมและโรงผลิตได้ถูกทำลายไปประมาณ 80% อาคารโรงงานที่เหลืออยู่ สามารถบูรณะขึ้นใหม่ได้มีเพียง 2 โรง คือ โรงซ่อมรถจักรไอน้ำกับโรงซ่อมโดยสาร (คลังพัสดุโรงงานปัจจุบัน) ซึ่งยังคงถาวรอยู่จนกระทั่งบัดนี้

ขณะนั้น นายอาชว์ กุญชร ณ อยุธยา เป็นวิศวกรหัวหน้ากองโรงงาน (ตั้งแต่ พ.ศ.2486 ถึง พ.ศ.2495)

..............

(จบตอนที่ 1)


Last edited by black_express on 19/12/2011 11:03 am; edited 8 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Dahlia
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 17/02/2007
Posts: 1030
Location: BKK / NST

PostPosted: 18/12/2011 1:41 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบพระคุณพี่ตึ๋งสำหรับข้อมูลครับ..

ผมเคยจะพยายามหาข้อมูลจำพวกนี้ ก็ได้มาบ้างเป็นบางส่วน แต่คงไม่แน่นเท่านี้ครับ

จะรออ่านอีกสองตอนที่เหลือด้วยครับ Razz
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3 ... 13, 14, 15  Next
Page 1 of 15

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©