RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274791
ทั้งหมด:13586087
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 44, 45, 46  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 23/04/2013 8:49 pm    Post subject: Reply with quote

ครับ ตอนนี้พอรู้โผเกี่ยวกับการสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ที่ผ่านที่ใด อำเภอใด จังหวัดใดแล้ว เริ่มมีการกระตุ้นเศรษฐกิจในที่นั้น ๆ เพราะในที่นั้น ๆ เขารอให้มีการสร้างเส้นทางรถไฟพาดผ่านไปยังที่ดังกล่าว และยังมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกด้วย อย่างเช่น สายบ้านไผ่ (ขอนแก่น) ไปยังนครพนม ซึ่งในจังหวัดนครพนม ก็จะมีพระธาตุพนมที่อยู่ในอำเภอธาตุพนม และก็พระธาตุเรณูที่อยู่ในอำเภอเรณูนคร ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีเส้นทางรถไฟพาดผ่าน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว นอกเหนือจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/05/2013 2:55 pm    Post subject: Reply with quote

สำรวจ...มุกดาหาร-สะหวันนะเขต ติดปีกเมืองคู่แฝดการค้า-ลงทุนใหม่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 07 พ.ค. 2556 เวลา 02:06:50 น.

จาก เมืองเล็ก ๆ สงบเงียบริมแม่น้ำโขง "จังหวัดมุกดาหาร และแขวงสะหวันนะเขต" ถูกปลุกให้เข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจใหม่ทันที หลังจากมีการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 เป็นต้นมา พร้อมทั้งมีการพัฒนาให้สอดคล้องไปกับเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวัน ออก-ตะวันตก (EWEC)

ทั้งนี้ จังหวัดมุกดาหารมีศักยภาพสูง เนื่องจากตั้งอยู่บนเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เป็นประตูด้านตะวันออกของไทยเชื่อมเข้าสู่ สปป.ลาว และเวียดนามตอนกลาง ขณะที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นประตูด้านตะวันตกที่เชื่อมสู่ประเทศพม่า

นาย สมศักดิ์ สีบุญเรือง เลขาธิการหอการค้าจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า หลังจากมีการเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต ทำให้มูลค่าการค้าชายแดนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประมาณปีละ 2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวก็ขยายตัวมากเช่นกัน มีคนไทยประมาณ 1 แสนคน เดินทางไปท่องเที่ยวใน สปป.ลาว และเวียดนาม โดยใช้เส้นทางสัญจรผ่านถนน R9 และในตอนนี้ก็มีการลงทุนใหม่ ๆ เกิดขึ้น และยังสามารถเชื่อมโยงการค้าไปสู่ประเทศจีนได้ด้วย ฉะนั้นระเบียงเศรษฐกิจ EWEC จะเป็นเส้นทางสายไหมยุคใหม่ได้อย่างแน่นอน

จากการสำรวจของ "ประชาชาติธุรกิจ" พบว่า ปัจจุบันในเขตตัวเมืองมุกดาหารมีการลงทุนใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะภาคการค้าปลีก มีกลุ่มทุนจากกรุงเทพฯเข้ามาปักหลักที่เมืองชายแดนแห่งนี้หลายรายแล้ว เช่น กลุ่มโกลบอลเฮ้าส์ กลุ่มไทวัสดุ รวมถึงห้างบิ๊กซีและแม็คโคร ซึ่งรูปแบบการลงทุนไม่ใช่การขยายตลาดในจังหวัดมุกดาหารเท่านั้น แต่จะใช้มุกดาหารเป็นฐานเพื่อรุกเข้าไปเจาะตลาดในลาวและเวียดนาม

สำหรับ การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ในปี 2555 มีมูลค่าการค้ารวม 28,678 ล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออก 12,006 ล้านบาท และนำเข้า 16,670 ล้านบาท และในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2556 มีมูลค่าการค้า 5,174 ล้านบาท แบ่งเป็นการ

ส่งออก 2,160 ล้านบาท และนำเข้า 3,014 ล้านบาท

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ น้ำมันเบนซิน เหล็กและเหล็กกล้า ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป ผลไม้และของปรุงแต่งจากผลไม้ ผัก ลวดและสายเคเบิล

อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว พบว่า จังหวัดมุกดาหารยังไม่มีโครงการพัฒนาที่โดดเด่น ขณะที่ในฝั่งสะหวันนะเขตมีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโนขึ้นเป็น ที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากมีการผลักดันมานานเกือบ 10 ปี โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณที่ติดกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 กำลังมีการก่อสร้างร้านค้า อาคารพาณิชย์ และบ้านพักอาศัยอย่างคึกคัก

วัน นี้สะหวันนะเขตเป็นเมืองที่มีธุรกรรมทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับสองรองจากนคร หลวงเวียงจันทน์ เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสินค้าไปยังแขวงใกล้เคียง รวมทั้งเวียดนามและไทย และกำลังจะกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่ของ สปป.ลาว

ปัจจุบัน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน (Savan-SENO Special Economic Zone) มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่โซนซี หรือสะหวันพาร์ค เป็นเขตอุตสาหกรรมและ

การค้ามีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดนั้น บริษัท สะหวัน แปซิฟิก ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด กลุ่มทุนจากประเทศมาเลเซียได้เข้ามาร่วมทุนกับ สปป.ลาว พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 4,000 ไร่

ผู้บริหารของบริษัท สะหวัน แปซิฟิก

ดี เวลลอปเม้นท์ จำกัด ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในโครงการแล้ว จำนวน 32 บริษัท มูลค่าเงินลงทุน 90 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,700 ล้านบาท ได้แก่ นักลงทุนลาว 11 ราย มาเลเซีย 4 ราย ไทย 4 ราย ญี่ปุ่น 3 ราย ฝรั่งเศส 2 ราย ฮอลแลนด์ 2 ราย ส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนจากออสเตรเลีย เบลเยียม ฮ่องกง เกาหลี และบริษัทร่วมทุนลาวกับมาเลเซียและญี่ปุ่นอีกแห่งละ 1 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีกลุ่ม AEROWORKS มาตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินด้วย ล่าสุดกลุ่มแคนนอนและบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ในเครือโตโยต้าก็เข้ามาตั้งโรง งานที่สะหวันนะเขตเช่นกัน

นอกจากนี้ สะหวันนะเขตยังมีสนามบินภายในประเทศและระหว่างประเทศอยู่ในเมืองไกสอน พมวิหาน โดยมีเที่ยวบินไป-กลับระหว่างสะหวันนะเขต-กรุงเทพฯ และระหว่างสะหวันนะเขต-นครหลวงเวียงจันทน์

ในขณะที่ฝั่งมุกดาหาร ยังไม่มีสนามบิน ต้องใช้บริการในจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น ได้แก่ สนามบินนครพนม และสนามบินอุบลราชธานี ล่าสุดมีการผลักดันให้มีการก่อสร้างสนามบินที่อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เพื่อรองรับการเดินทางในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ มุกดาหาร ยโสธร และอำนาจเจริญ

ข้อมูลจากสถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต ระบุว่า การลงทุนของไทยในแขวงสะหวันนะเขต ได้แก่
1.กลุ่มไทยฮั้วยางพารา ลงทุนปลูกยางพารา
2.กลุ่มน้ำตาลมิตรผล ปลูกอ้อยและผลิตน้ำตาลในนามบริษัทน้ำตาลมิตรลาว
3.กลุ่มดั๊บเบิล เอ ในนามบริษัทไชโยเอเอลาว รับซื้อและปลูกยูคาลิปตัส และกำลังขอสัมปทานพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
4.บริษัทสะหวันก้าวหน้าการเกษตร ปลูกถั่วลิสงและร้านขายสินค้าพื้นเมืองลาว (ODOP)
5.บริษัท เคพี-นิซเซอิ มิซูกิ ลาว จำกัด ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ลงทุนโดยบริษัท นิซเซอิ มิซูกิ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่น กับบริษัท เคพี จำกัด (จำหน่ายรถยนต์โตโยต้า อะไหล่ และให้บริการ)
6.กลุ่มบริษัท Lao World ลงทุนสร้างศูนย์การค้าและการประชุม SAVAN-ITECC แห่งแรกในเมืองไกสอน พมวิหาน
7.สถานเสริมความงามวุฒิ-ศักดิ์ คลินิก และ
8.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

นี่คือสถานการณ์การลงทุนในแขวงสะ หวันนะเขต ขณะที่ฝั่งมุกดาหารของไทย รัฐบาลเพิ่งจะมีมติให้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดมุกดาหาร นครพนม และหนองคาย และเห็นชอบโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายบ้านไผ่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม เพื่อสนับสนุนให้มุกดาหารเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์

วันนี้ เมืองคู่แฝดทางเศรษฐกิจ "มุกดาหารและสะหวันนะเขต" จึงเริ่มโดดเด่นเป็นที่หมายตาของนักลงทุนไทย-เทศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2013 4:51 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.หวั่นพ.ร.บ.กู้2ลล.สะดุด กระทบรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม 4.2หมื่นล.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9
9 กรกฎาคม 2556 16:41 น.


ร.ฟ.ท.จ้างออกแบบรถไฟสายใหม่ (บ้านไผ่-นครพนม) วงเงินลงทุน 4.2 หมื่นลบ. ตั้งเป้าประมูลก่อสร้างในปี 58 ต่อจากสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เผยเป็นสายใหม่ ไม่มีเขตทางเดิมต้องเวนคืนใหม่ตลอดแนว คาดเชื่อมขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยวจากลาว-จีน ได้สะดวก "ประภัสร์"ยอมรับหากพ.ร.บ.กู้ 2 ลล.สะดุด ทำโครงการก่อสร้างรถไฟสายใหม่เป็นหมัน

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า วันนี้ ( 9 ก.ค.) ร.ฟ.ท.ได้ลงนามสัญญาว่าจ้างบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท โชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท พีบี เอเชียจำกัด และบริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาสำรวจ ออกแบบรายละเอียด ทางวิศวกรรมและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่–มหาสารคาม–ร้อยเอ็ด–มุกดาหาร–นครพนม วงเงิน 199.02 ล้านบาทระยะเวลาศึกษา 15 เดือน ( 9 ก.ค.56 - 9 ต.ค.57) โดยหลังออกแบบเสร็จจะดำเนินการเพื่อขอนุมัติด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ประมาณ 6 เดือนและคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการเพื่อเปิดประกวดราคาก่อสร้างได้ต้นปี 2558 ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี

ทังนี้ รถไฟสายบ้านไผ่- นครพนม จะเป็นรถไฟสายใหม่เส้นทางที่ 2 ที่จะเปิดประกวดราคาต่อจากสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร วงเงิน 7.7 หมื่นล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการนำเสนอรายงานผลกระทยสิ่งแวดล้อมครั้งสุดท้าย คาดว่าภายใน 1-2 เดือนจะผ่าน EIA และเปิดประกวดราคาได้ปลายปี 2556 เริ่มก่อสร้างต้นปี2557 โดยทั้ง 2 สายจะเป็นระบบรถไฟดีเซล เป็นทางคู่ซึ่งจะมีความเร็ว 160 กม./ชม.

"การศึกษาออกแบบสายบ้านไผ่-นครพนม ช่วงแรกจะเป็นวางแนวเส้นทาง ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่านพื้นที่ว่างไม่ใช่ชุมชน และไม่ผ่านพื้นที่ป่าสงวน ดังนั้นการเวนคืนจะไม่ยุ่งยากและใบ้งบประมาณไม่มาก และจะเป็นเส้นทางที่เปลี่ยนการเดินทางของคนภาคอีสานจากปัจจุบันที่ใช้รถยนต์เป็นหลักและเกิดอุบัติเหตุบ่อย มาเป็นรถไฟที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและปลอดภัยกว่า นอกจากนี้จะมีศูนย์เปลี่ยนถ่ายใกล้สะพานข้ามมิตรภาพ3 ( นครพนม-คำม่วน) เพื่อรองรับสินค้าจากจีนและลาวด้วย"นางสร้อยทิพย์กล่าว

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า โครงการรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม ได้ศึกษามาตั้งแต่ปี 2537 แต่ไม่มีงบประมาณในการก่อสร้าง โดยขณะนี้โครงการถูกบรรจุอยู่ในพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทด้วย หากกฎหมายไม่ผ่าน จะมีผลกระทบต่อโครงการแน่นอน และประเทศไทยจะเสียโอกาสในการพัฒนาระบบรถไฟ ซึ่งเส้นทางนี้จะมีความสำคัญในการเชื่อมต่อกับรถไฟลาว ซึ่งอยู่ระหว่างปรับปรุงระบบราง และกำลังหายุติเรื่องการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศลาวกับทางจีน ช่วยเพิ่มความสะดวกการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารโดยเฉพาะนักท่องเที่ยว โดยในส่วนของร.ฟ.ท.ยืนยันว่าจะดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างโปร่งใส ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และดำเนินการตามกฎหมายทุกขั้นตอน

ด้านนายนิรัตน์ ตันสวัสดิ์ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า จะต้องเวนคืนตลอดเส้นทางเพราะไม่มีแนวรถไฟเดิม แต่การเวนคืนไม่น่าจะมีปัญหามากนักเนื่องจากผ่านที่ราบ พื้นที่ว่างเปล่า ทุ่งนา ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลังเป็นส่วนใหญ่ โดยแนวเส้นทางจะเลียบชานเมือง ไม่ผ่านชุมชนหนาแน่น แนว้ขตทางประมาณ 80 เมตรและจะมีจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า 2 แห่งที่ มุกดาหารและนครพนม

สำหรับรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม มีระยะทาง 347 กิโลเมตร วงเงินรวม4.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 3.8 หมื่นล้านบาท ค่าเวนคืนประมาณ 3 พันล้านบาท ค่าที่ปรึกษาประมาณ 700 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 12.3% แนวเส้นทางครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น -มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม มี 14 สถานี เริ่มจาก
บ้านไผ่
กุดรัง
บรบือ
มหาสารคาม
ร้อยเอ็ด
เชียงขวัญ
โพนทอง
หนองพอก
นิคมคำสร้อย
มุกดาหาร
หว่านใหญ่
ธาตุพนม
เรณูนคร
นครพนม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/07/2013 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เดินหน้าลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงการก่อสร้างทางรถไฟสาย บ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม
โดย.. ศูนย์ประชาสัมพันธ์และบริการท่องเที่ยว 9 ก.ค. 2013 - 5:49:57 PM

Click on the image for full size

ภาพใหญ่ Arrow http://www.railway.co.th/intranet/db_srt_intranet_employee/upload/pr/UploadFolder/Capture.JPG

วันนี้ (วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖) เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ห้องประชุมปฏิบัติการ ชั้น ๓ อาคารการรถไฟแห่งประเทศไทย เขตรองเมือง กรุงเทพฯ มีพิธีลงนามลงนามสัญญาว่าจ้างงานบริการ บริษัทที่ปรึกษาเพื่อสำรวจ ออกแบบรายละเอียด ทางวิศวกรรมและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนส์ จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาหลัก (Leader Firm) ร่วมกับอีก ๓ บริษัท คือ บริษัทโชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท พีบี เอเชีย จำกัด และบริษัท พีบี เอเชีย จำกัด และบริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแตนส์ จำกัด โดยมีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน

นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการรถไฟฯ (ร.ฟ.ท.) ลงนามสัญญาจ้าง ว่าจ้างงานบริการบริษัทที่ปรึกษาเพื่อสำรวจ ออกแบบรายละเอียด ทางวิศวกรรมและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม ระยะทาง ๓๔๗ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ๕ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น(จุดเริมต้นที่โครงการที่สถานีรถไฟไผ่ อำเภอบ้านไผ่) จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม มีสถานีเบื้องต้น ๑๔ สถานี ประกอบด้วย สถานีบ้านไผ่ สถานีกุดรัง สถานีบรบือ สถานีมหาสารคาม สถานีร้อยเอ็ด สถานีเชียงขวัญ สถานีโพนทอง สถานีหนองพอก สถานีนิคมคำสร้อย สถานีมุกดาหาร สถานีหว่านใหญ่ สถานีธาตุพนม สถานีเรณูนคร และสถานีนครพนม ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมในขั้นตอนการสำรวจออกแบบรายละเอียดต่อไป ประกอบด้วยงานหลัก ๔ งาน คือ งานรวบรวมข้อมูลผลการศึกษาและการดำเนินงานของโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้อง งานวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม งานสำรวจ ออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) ประมาณราคา และจัดทำเอกสารประกวดราคา และงานจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) รวมทั้งประชาสัมพันธ์โครงการและดำเนินกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน

สำหรับโครงการศึกษา งานสำรวจ ออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรมและจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนมนี้ การรถไฟฯ (ร.ฟ.ท.) ได้รับการจัดงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๕๖ จำนวน ๔๐ ล้านบาท และผูกพันงบประมาณปี ๒๕๕๗ จำนวน ๒๐๐ ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการสำรวจ ออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม และได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ ประกอบด้วย ๔ บริษัท โดยมีบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนส์ จำกัด เป็นบริษัทที่ปรึกษาหลัก (Leader Firm) ร่วมกับอีก ๓ บริษัท คือ บริษัทโชติจินดา มูเชล คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท พีบี เอเชีย จำกัด และบริษัท พีบี เอเชีย จำกัด และบริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแตนส์ จำกัด รวมระยะเวลาในการดำเนินของที่ปรึกษา ๑๕ เดือน วงเงินค่าจ้างประมาณ ๑๙๙.๐๒๐ ล้านบาท

Click on the image for full size

Click on the image for full size

----

ร.ฟ.ท.เชื่อประชาชนไม่ขวางรถไฟทางคู่ เชื่อ 15 เดือนเสร็จ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2556 19:23 น.

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า สาเหตุที่โครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม มีความล่าช้ามาถึง 19 ปีนั้น เกิดจากประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลขาดงบประมาณสนับสนุนการก่อสร้างโครงการ จึงถูกพักชั่วคราว จนปี 2555 ได้งบประมาณศึกษาอย่างจริงจัง จนนำมาสู่การลงนามจ้างที่ปรึกษาในที่สุด

อย่างไรก็ตาม รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า คาดว่าแนวทางก่อสร้างจะไม่ได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ เพราะทางผ่านส่วนใหญ่เป็นที่ว่างเปล่า และเป็นที่ลุ่ม จึงน่าจะผ่านการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ในระยะเวลา 15 เดือน ใช้งบประมาณทั้งหมด 42,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2013 1:04 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เชื่อประชาชนไม่ขวางรถไฟทางคู่ เชื่อ 15 เดือนเสร็จ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9
9 กรกฎาคม 2556 19:23 น.

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า สาเหตุที่โครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม มีความล่าช้ามาถึง 19 ปีนั้น เกิดจากประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลขาดงบประมาณสนับสนุนการก่อสร้างโครงการ จึงถูกพักชั่วคราว จนปี 2555 ได้งบประมาณศึกษาอย่างจริงจัง จนนำมาสู่การลงนามจ้างที่ปรึกษาในที่สุด
อย่างไรก็ตาม รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า คาดว่าแนวทางก่อสร้างจะไม่ได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ เพราะทางผ่านส่วนใหญ่เป็นที่ว่างเปล่า และเป็นที่ลุ่ม จึงน่าจะผ่านการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ในระยะเวลา 15 เดือน ใช้งบประมาณทั้งหมด 42,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 14/07/2013 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

ผมจะมีโอกาสได้นั้งรถไฟไปสถานีเรณูนครได้หรือป่าวหนอ
หากมีการตอกเสาตอม่อเมื่อไร ผมคงจะดีใจได้แน่นอนนะครับ
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2013 3:57 am    Post subject: Reply with quote

เวนคืน 3หมื่นไร่ ตัดรถไฟ 2สายใหม่ เปิดพท.10จังหวัด เหนือ-อีสานเชื่อมโลจิสติกส์ลาว
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 13:00:59 น.

เปิด แนวก่อสร้างรถไฟสายใหม่ 2 เส้นทาง เวนคืนที่ดินเฉียด 3 หมื่นไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้าน ร.ฟ.ท.ประเดิมปี"57ประมูลสาย "เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ" ระยะทาง 323 กม. ค่าก่อสร้าง 7 หมื่นล้าน เวนคืนกว่า 1 หมื่นไร่พาดยาว 4 จังหวัดภาคเหนือ และสายอีสานตัดผ่าน 6 จังหวัดจาก "บ้านไผ่-นครพนม" ระยะทาง 347 กม. ค่าก่อสร้างกว่า 4.2 หมื่นล้าน เตรียมประมูลต้นปี"58 เสริมการเดินทางและระบบโลจิสติกส์สู่ภาคอีสาน เผยเวนคืนกว่า 17,500 ไร่ จุดพลุ "มุกดาหาร-นครพนม" ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้ารับการค้าชายแดนไทย-ลาว

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เซ็นสัญญาจ้างบริษัทที่ปรึกษามาสำรวจ ออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมและจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการรถไฟสายใหม่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีบริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาหลักโครงการ ค่าจ้าง 200 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 15 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2556 ถึงเดือนตุลาคม 2557

ลงทุน 4.2 หมื่นล้าน



"โครงการนี้อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะใช้เงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 42,106 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 38,070 ล้านบาท ค่าเวนคืน 3,293 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษา 743 ล้านบาท จะเริ่มประมูลต้นปี"58 ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี หรือเสร็จเปิดให้บริการได้ในปี 2560-2561"

นายประภัสร์กล่าวอีกว่า รถไฟสายนี้ได้ศึกษาไว้เมื่อปี 2537 แต่ไม่มีงบประมาณก่อสร้าง จนมาเมื่อปี 2554 ร.ฟ.ท.ได้นำผลการศึกษามาทบทวนเส้นทางใหม่ จนได้แนวเส้นทางที่เหมาะสมดังกล่าว และปีนี้ได้รับงบฯมาออกแบบรายละเอียดโครงการ

โดยจะออกแบบเป็นระบบทางคู่ขนาดความกว้าง 1 เมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจประมาณ 12.3% จะเป็นเส้นทางตัดใหม่ และเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ใน 6 จังหวัดที่แนวโครงการตัดผ่าน

ผ่าน 6 จว. จอดป้าย 14 สถานี

ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น จะมีจุดเริ่มต้นที่ อ.บ้านไผ่ ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร (จะตัดผ่านพื้นที่ตอนบนเล็กน้อย จะไม่มีสถานีจอด) มุกดาหาร และนครพนม เบื้องต้นมี 14 สถานี ได้แก่

1. สถานีบ้านไผ่
2. กุดรัง
3. บรบือ
4. มหาสารคาม
5. สถานีร้อยเอ็ด
6. เชียงขวัญ
7. โพนทอง
8. หนองพอก
9. นิคมคำสร้อย
10. มุกดาหาร
11. หว้านใหญ่
12. ธาตุพนม
13. เรณูนคร และ
14. นครพนม

"จะช่วยเปิดโครงข่ายการเดินทางและการค้าการขนส่งกระจายไปทางกลุ่มภาคอีสานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น พร้อมลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพราะจะมีเส้นทางเชื่อมต่อกับทางคู่สายขอนแก่น-หนองคาย และเชื่อมทางรถไฟที่ฝั่ง สปป.ลาว"

เวนคืนที่ดิน 17,500 ไร่

นายนิรัตน์ ตันสวัสดิ์ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า เนื่องจากเป็นรถไฟสายใหม่จะต้องเวนคืนที่ดินกว้าง 80 เมตร ตลอดเส้นทางเพื่อกันเขตทางไว้ก่อสร้าง โดยแนวเส้นทางจะตัดผ่านพื้นที่ชานเมืองห่างจากตัวเมืองของแต่ละจังหวัดประมาณ 5 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่โล่งและเกษตรกรรม คาดว่าจะเวนคืนที่ดิน 17,500 ไร่

โดยจุดใหญ่ที่มีการเวนคืน เป็นบริเวณสถานีที่จะต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างประมาณ 70-120 ไร่ต่อสถานี และจุดที่ตั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าที่จ.นครพนมและมุกดาหาร เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าข้ามเขตแดนที่บริเวณสะพานมิตรภาพแม่น้ำโขง จะเชื่อมกับสปป.ลาว ที่สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต และแห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน

ขยับแนวเลี่ยงพระธาตุชัยมงคล

"จะมีขยับแนวลงมาด้านล่างเล็กน้อยตรงบริเวณพื้นที่ อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด เพราะใกล้พระธาตุเจดีย์ชัยมงคลและอาจจะเพิ่ม 1 สถานีที่ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแนวเส้นทางที่กลุ่มบริษัท ทีม คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้คัดเลือกไว้ จะตัดผ่านพื้นที่ 14 อำเภอ 5 จังหวัด มีจุดเริ่มต้นที่สถานีบ้านไผ่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ไปตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม จากนั้นเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันออกบริเวณบ้านหนองลุมพุก ผ่านที่โล่งเกษตรกรรม ขนานไปกับทางหลวงหมายเลข 23 เลียบผ่าน อ.บรบือ แล้วเบี่ยงแนวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านที่โล่งเข้าทางทิศใต้ของ อ.เมือง จ.มหาสารคาม แล้วแนวเส้นทางขนานกับถนนทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง จ.มหาสารคาม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 3041 และผ่าน อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด อ.เชียงขวัญ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 2046แล้วเลี้ยวขวาไปทางอ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด และ อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 2370 จะเบี่ยงไปทางทิศเหนือเลียบกับแม่น้ำโขง ผ่าน อ.เมือง และ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม และสิ้นสุดปลายทางที่บริเวณบ้านโพนบก อ.เมือง จ.นครพนม

ใช้เงินลงทุนรวม 42,086 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 3,293 ล้านบาท งานระบบราง 13,972 ล้านบาท งานดิน 3,404 ล้านบาท ระบบอาณัติสัญญาณ 7,840 ล้านบาท งานสถานีรถไฟ 1,190 ล้านบาท งานกระจายสินค้า 1,160 ล้านบาท งานระบบระบายน้ำ 1,004 ล้านบาท งานแก้ปัญหาจุดตัดทางผ่านเสมอระดับ 9,500 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษา 723 ล้านบาท โดยมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 12.4%

นายนิรัตน์กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันบริษัทได้ศึกษารถไฟสายใหม่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างรอการอนุมัติอีไอเอเนื่องจากตัดผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ ตามแผนทาง ร.ฟ.ท.จะใช้เงินกู้ใน 2 ล้านล้านบาท มาก่อสร้าง เงินลงทุนรวม 79,419 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้างกว่า 71,000 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 3,808 ล้านบาท จะเปิดประมูลปี 2557

แนวเส้นทางมีระยะทาง 323.10 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด คือ
1. จังหวัดแพร่
2. ลำปาง
3. พะเยา
4. เชียงราย มี 26 สถานี แยกเป็น
1.จังหวัดแพร่ มีระยะทาง 77.20 กิโลเมตร มี 6 สถานี คือ
1.1 สถานีเด่นชัย
1.2 สูงเม่น
1.3 แพร่
1.4 แม่คำมี
1.5 หนองเสี้ยว
1.6 สอง
2.จังหวัดลำปาง มีระยะทาง 52.40 กิโลเมตร มี 3 สถานี คือ
2.1 สถานีแม่ตีบ
2.2 งาว
2.3 ปงเตา
3.จังหวัดพะเยา ระยะทาง 54.10 กิโลเมตร จำนวน 6 สถานี มี
3.1 สถานีมหาวิทยาลัยพะเยา
3.2 บ้านโทกกวาก
3.3 พะเยา
3.4 ดงเจน
3.5 บ้านร้อง
3.6 บ้านใหม่
4.จังหวัดเชียงราย ระยะทาง 139.40 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี มี
4.1 สถานีป่าแดด
4.2 ป่าแงะ
4.3 บ้านโป่งเกลือ
4.4 สันป่าเหียง
4.5 เชียงราย
4.6 ทุ่งก่อ
4.7 เวียงเชียงรุ้ง
4.10 ชุมทางบ้านป่าซาง
4.11 บ้านเกี๋ยง
4.12 ศรีดอนชัย และ
4.13 เชียงของ

การก่อสร้างใช้เขตทางกว้าง 50 เมตร มีเวนคืนที่ดินประมาณ 10,000 ไร่ และมีเจาะอุโมงค์ 4 แห่ง รวม 13 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างเฉลี่ย 1,500 ล้านบาทต่อกิโลเมตร

//--------------------------------------------------------------
งานนี้ ถ้า 14 สถานีไม่พอมือก็ต้องเปิดสถานีเลิงนกทาเพื่อเอาใจคนยโสธรไปด้วยท่าจะดีนะ


Last edited by Wisarut on 16/07/2013 5:01 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2013 6:47 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เวนคืนที่ 3 พันล้าน ผุดสาย"บ้านไผ่-นครพนม"
หน้าข่าวปก
สยามธุรกิจ
ฉบับที่ 1419 ประจำวันที่ 13-16 กรกฏาคม พ.ศ. 2556

ความคืบหน้าโครงการรถไฟสายใหม่บ้านไผ่-นครพนม ที่มีการผลักดันมากว่า 20 ปี จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดเมืองใหม่ขึ้นบริเวณสถานี มีศูนย์ขนถ่ายสินค้าเกิดขึ้นที่มุกดาหารและนครพนม อีกทั้งยังเป็นการเปิดหน้าดินตลอดสองข้างทางรถไฟ หลังร.ฟ.ท.จะมีการเวนคืนที่ 80 เมตร เป็นเขตทางรถไฟและตัดถนนเชื่อม ต่อรถไฟ รวมถึงเตรียมพร้อมรับรถไฟฟ้าความเร็วสูงในอนาคตด้วย

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. กล่าวกับ .สยามธุรกิจ. ว่า แนวนโยบายการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่เส้นนี้บริษัทที่ปรึกษาควรคำนึงถึงความจำเป็นในการตัดถนนเลียบทางรถไฟ หรือการตัดถนนเข้าไปเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเข้ามาใช้บริการ

ผลการศึกษาเบื้องต้น ได้พิจารณาเลือกแนวเส้นทางรถไฟแนวทางเลือกที่ 4 เริ่มต้นจากสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อย เอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เป็นเส้นทางที่มีความเหมาะสมที่สุด โดยรถไฟสายนี้จะเป็น รถไฟทางคู่สายใหม่ ที่ไม่ได้ก่อสร้างตามแนวเส้นทางเดิม สามารถวิ่งได้ความเร็วสูงสุด 160 กม.ต่อชั่วโมง จึงสามารถอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและการขนส่งสินค้าในพื้นที่ภาคอีสานได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันยังเป็นเส้นทางที่จะเชื่อมการขนส่งทางภาคตะวันออกและตกของประเทศเข้าด้วยกัน โดยจะต้องใช้วงเงินลงทุนประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท และโครงการจะให้อัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 12.3%

ขณะที่นิรัตน์ ตันสวัสดิ์ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ ให้ความเห็นว่า การก่อสร้างรถไฟ สายบ้านไผ่-นครพนมใช้งบก่อสร้างประมาณ 38,000 ล้านบาท และใช้เงินเวนคืนที่ดินประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยพื้นที่ที่จะต้องเวนคืนมากที่สุด คือ มุกดาหาร และนครพนม เพราะต้องเชื่อมโยงกับสถานี ขนถ่ายสินค้าในพื้นที่ต่อไปยังสปป.ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพ นอกจากนี้ ยังเตรียม พื้นที่ไว้รองรับการก่อสร้างรถไฟความเร็ว สูง (ไฮสปีดเทรน) ในอนาคตด้วย

"แนวรถไฟสายใหม่จะต้องเวนคืนตลอดเส้นทาง เพราะไม่มีแนวรถไฟเดิม แต่การเวนคืนไม่น่าจะมีปัญหามากนักเนื่องจากผ่านพื้นที่ราบ พื้นที่ว่างเปล่า ทุ่ง นา ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลังเป็นส่วนใหญ่ โดยแนวเส้นทางจะเลียบชานเมือง ไม่ผ่านชุมชนหนาแน่น แนวเขตทางประมาณ 80 เมตรและจะมีจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า 2 แห่งที่มุกดาหารและนครพนม"

เส้นทางสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทางประมาณ 347 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม มีทั้งหมด 14 สถานี ประกอบด้วย
สถานีบ้านไผ่
สถานีกุดรัง
สถานีบรบือ
สถานีมหาสารคาม
สถานีร้อยเอ็ด
สถานีเชียงขวัญ
สถานีโพนทอง
สถานีหนอกพอก
สถานีนิคมคำสร้อย
สถานีมุกดาหาร
สถานี หว่านใหญ่
สถานีธาตุพนม
สถานีเรณูนคร และ
สถานีนครพนม

ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมในขั้นตอนการสำรวจออกแบบรายละเอียดได้ ส่วนการพัฒนาตามสถานีนั้น จะเน้นวัฒนธรรมตาม จังหวัดต่างๆ และความทันสมัยเข้าด้วยกัน เพื่อให้โอกาสที่ดีต่อคนในชุมชนสามารถหาอาชีพทำได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม ยังมีความเสี่ยงที่ไปผูกติดกับงบเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท โดยนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า โครงการรถไฟสายนี้ ได้ศึกษามาตั้งแต่ปี 2537 แต่ไม่มีงบประมาณในการก่อสร้าง ขณะนี้ได้บรรจุโครงการอยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่ถ้ากฎหมายไม่ผ่านก็จะส่งผลกระทบต่อโครงการ อย่างแน่นอน

"เส้นทางนี้จะมีความสำคัญในการเชื่อมต่อกับรถไฟลาว ซึ่งอยู่ระหว่างปรับปรุงระบบราง และกำลังหาข้อยุติเรื่องการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ในประเทศลาวกับทางจีน ช่วยเพิ่มความสะดวกการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร รวมถึงนักท่องเที่ยวด้วย ร.ฟ.ท.ยืนยันว่าจะดำเนิน การทุกขั้นตอนอย่างโปร่งใส ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและดำเนินการตามกฎหมายทุกขั้นตอน"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/07/2013 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าสร้างได้จริง จะเป็นรถไฟธรรมดาสายแรกที่มีสถานีระดับจังหวัดสองสถานีอยู่ติดกันครับ
คือสถานีมหาสารคามกับสถานีร้อยเอ็ด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44656
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/07/2013 6:20 pm    Post subject: Reply with quote

เวนคืน3หมื่นไร่ตัดรถไฟ2สายใหม่ เปิดพท.10จังหวัดเหนือ-อีสานเชื่อมโลจิสติกส์ลาว
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 16 ก.ค. 2556 เวลา 13:00:59 น.


Last edited by Mongwin on 16/07/2013 6:59 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 44, 45, 46  Next
Page 11 of 46

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©