RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272920
ทั้งหมด:13584216
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ส่วนต่อขยายบีทีเอสที่ กทม. จะทำ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ส่วนต่อขยายบีทีเอสที่ กทม. จะทำ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 100, 101, 102, 103, 104, 105  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2014 12:39 pm    Post subject: Reply with quote

<---
Click on the image for full size

Quote:
ซึ่งกทม.ก็ไม่ได้ส่งแบบให้ทช.พิจารณา ทวงถามหลายครั้งอีกทั้งยังมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งก็ยังไม่นำเสนอแบบดังกล่าวให้ทช.พิจารณาแต่อย่างใด


ท่าทางจะยาวและเรื่องใหญ่จริง ๆ ครับ ไม่เหมือนทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ ที่ลงทุนสร้างทางใหม่ยกระดับอ้อมจุดปัญหาไปเลย
----
รอคำนี้อยู่ครับ Embarassed

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2014 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.เร่งสร้าง6สถานีรถไฟฟ้าส่วนขยายจากบางหว้า
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 6 สิงหาคม 2557 16:24

กทม.เร่งศึกษาสร้าง 6 สถานีรถไฟฟ้า ส่วนขยายจากบางหว้าอีก 7 กม. เชื่อมสายสีแดง-สีส้ม

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ขณะนี้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. อยู่ระหว่างศึกษาโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีลมเพิ่มเติมต่อจากสถานีบางหว้า ซึ่งได้ศึกษาเบื้องต้นกำหนดแนวทางการก่อสร้าง 6 สถานี ระยะทาง 7 กิโลเมตร คือสถานีบางหว้า - บรมราชชนนี โดยจะเชื่อมต่อกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีส้มที่ตลิ่งชัน ทั้งนี้ บริเวณถนนบรมราชชนนี มีทางคู่ขนานลอยฟ้าที่สูงประมาณ 15 เมตร หากมีการก่อสร้างสถานีจะต้องสูงกว่าถนน ซึ่งต้องสูงประมาณ 20 เมตร และในการศึกษาจะมีการก่อสร้างโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (เดปโป้) ที่ตลิ่งชัน

ด้านนายสมชาย ตกสิยานันท์ ผู้อำนวยการกองการขนส่ง สำนักการจราจรและขนส่ง กทม. กล่าวว่า ขณะนี้กำลังประกวดราคาหาบริษัทที่ปรึกษา เพื่อศึกษาโครงการดังกล่าวซึ่งเป็นนโยบายผู้ว่าฯ กทม. ว่าควรดำเนินการในเส้นทางใดจึงจะเหมาะสม คาดว่าจะได้บริษัทที่ปรึกษาในเดือนกันยายนนี้ โดยใช้เวลาศึกษา 1 ปี จากนั้นจะเป็นการศึกษารูปแบบการลงทุนว่ากทม.จะก่อสร้างเองแล้วจ้างเอกชนวิ่งรถไฟฟ้า หรือจะให้เอกชนดำเนินการทั้งหมด อย่างไรก็ตามได้มีการศึกษาเส้นทางไว้แล้วเบื้องต้น 2 เส้นทาง

1.จากสถานีบางหว้าไปเส้นทางถนนราชพฤกษ์ โดยผ่านถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งเป็นถนนตัดใหม่ของกทม. จนไปถึงทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี โดยจะตัดกับสายสีแดงที่ตลิ่งชัน ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ดีสามารถต่อขยายสถานีให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ที่บางใหญ่ได้ในอนาคต

2.จากสถานีบางหว้าไปเส้นทางถนนราชพฤกษ์ ผ่านถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางพุทธมณฑลสาย 1 แล้วเลี้ยวขวาออกทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ซึ่งแนวทางนี้มีเส้นทางใกล้สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ สามารถรองรับประชาชนที่จะเชื่อมต่อการเดินทางได้

"คาดว่าจะไม่มีการเวนคืนที่ดินประชาชน แต่อาจมีการซื้อที่ดินบางส่วนบริเวณตลิ่งชัน เพื่อสร้างโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุง และจะหารือกับกรมทางหลวงชนบท เพื่อขอใช้พื้นที่เกาะกลางบางส่วน เพราะถือเป็นโครงการเร่งด่วนตามนโยบายผู้ว่าฯกทม. เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนฝั่งธนบุรีในอนาคต" นายสมชาย กล่าว

----

กทม.เร่งศึกษาสร้าง 6 สถานีรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลมจากบางหว้าเชื่อมสายสีแดงที่ตลิ่งชัน
เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 7 สิงหาคม 2557 เวลา 08:56 น.

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)กล่าวว่า ขณะนี้สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.)กทม.อยู่ระหว่างศึกษาโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีลมเพิ่มเติมต่อจากสถานีบางหว้า ซึ่งได้ศึกษาเบื้องต้นกำหนดแนวทางการก่อสร้าง6 สถานี ระยะทาง7 กิโลเมตรคือสถานีบางหว้า – บรมราชชนนีโดยจะเชื่อมต่อกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีส้มที่ตลิ่งชันทั้งนี้บริเวณถนนบรมราชชนนี มีทางคู่ขนานลอยฟ้าที่สูงประมาณ15 เมตรหากมีการก่อสร้างสถานีจะต้องสูงกว่าถนนซึ่งต้องสูงประมาณ 20เมตรและในการศึกษาจะมีการก่อสร้างโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า(เดปโป้)ที่ตลิ่งชัน

ด้านนายสมชายตกสิยานันท์ ผู้อำนวยการกองการขนส่งสำนักการจราจรและขนส่ง กทม.กล่าวว่าสจส.อยู่ระหว่างประกวดราคาหาบริษัทที่ปรึกษาศึกษาโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีลมเพิ่มเติมต่อจากสถานีบางหว้า 6 สถานีระยะทาง 7กิโลเมตรซึ่งเป็นนโยบายผู้ว่าฯกทม.คาดว่าจะได้บริษัทที่ปรึกษาในเดือนก.ย.นี้โดยใช้เวลาศึกษา 1ปีจากนั้นจะเป็นการศึกษารูปแบบการลงทุนว่ากทม.จะก่อสร้างเองแล้วจ้างเอกชนวิ่งรถไฟฟ้า หรือจะให้เอกชนดำเนินการทั้งหมดอย่างไรก็ตามเบื้องต้นมี2 เส้นทางคือ 1.จากสถานีบางหว้าไปเส้นทางถนนราชพฤกษ์โดยผ่านถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย4 ไปถึงทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีโดยจะตัดกับสายสีแดงที่ตลิ่งชันเส้นทางนี้สามารถต่อขยายสถานีให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ที่บางใหญ่ได้ในอนาคต2.จากสถานีบางหว้าไปเส้นทางถนนราชพฤกษ์ผ่านถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย4 แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางพุทธมณฑลสาย1แล้วเลี้ยวขวาออกทางคู่ขนานลอยฟ้าฯซึ่งแนวนี้ใกล้สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ทั้งนี้คาดว่าจะไม่มีการเวนคืนที่ดินแต่อาจมีการซื้อที่ดินบางส่วนบริเวณตลิ่งชันเพื่อสร้างโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2014 1:35 am    Post subject: Reply with quote

ยังไม่สรุปทุบสถานีบีทีเอสตากสิน
เดลินิวส์
วันอาทิตย์ 24 สิงหาคม 2557 เวลา 15:02 น.

ขยายรางคู่บีทีเอสตากสินยังไม่คืบ ทช.เสนอเลื่อนสถานีไปอยู่ตรงกลางสะพาน กทม.รับต้องศึกษาอย่างละเอียดหวั่นต้องปิดการเดินรถฝั่งธนฯ

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่าตามที่กทม.มีแผนที่จะขยายรางรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสินเป็นรางคู่ ซึ่งได้เสนอต่อกรมทางหลวงชนบท(ทช.)ขอใช้พื้นที่สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินทำรางคู่และจะขยายขอบสะพานฯให้แทน เพื่อจะได้ไม่ต้องทุบสถานีตากสิน โดย ทช.เสนอกลับมาว่าสามารถทุบสะพานตากสินได้แต่กทม.ต้องสร้างสะพานขึ้นมาทั้งสองฝั่งโดยไม่ใช้โครงสร้างสะพานตากสินเดิมนั้นล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการประชุมร่วมกันทช.ได้เสนอ4 แนวทางคือ1.ทุบสะพานและขยายขอบสะพานด้านข้างซึ่งจะต้องมีการเพิ่มตอม่อสะพานขึ้นมาใหม่เพื่อความแข็งแรงของสะพาน 2.หากไม่ต้องการทุบขอบสะพานก็จะต้องย้ายสถานีไปอยู่ตรงบริเวณกลางสะพานที่มีพื้นที่กว้างกว่าบริเวณตีนสะพานที่สถานีอยู่เดิมซึ่งทางวิศวกรรมอาจสามารถทำได้แต่ติดปัญหาที่ว่าอาจต้องมีการปิดการเดินไปยังฝั่งธนบุรีเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 7เดือนแน่นอนว่าจะทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างมาก3.ทุบสถานีตากสินแล้วทำทางเลื่อนตามแผนเดิมและ 4.คงสภาพเช่นเดิมไว้โดยไม่ต้องดำเนินการใดๆทั้งสิ้นแต่ก็จะกระทบกับการเดินรถที่ต้องหยุดรอสับหลีกต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ ทาง สจส.ได้นำทั้ง4แนวทางไปศึกษาอย่างละเอียดเพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุดโดยคาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาเลือกแนวทางประมาณ2-3 เดือน

อย่างไรก็ตามส่วนตัวตนเห็นว่าทางเลือกที่ดีที่สุดคือการยกเลิกสถานีสะพานตากสินและสร้างทางเลื่อนอัตโนมัติให้ประชาชนใช้บริการที่สถานีสุรศักดิ์แทนซึ่งใช้เวลาและงบประมาณน้อยที่สุดแต่อาจกระทบกับความเคยชินของประชาชนที่เคยใช้บริการที่สถานีดังกล่าวรวมถึงก็อาจกระทบกับผู้ประกอบการที่อยู่บริเวณใกล้เคียงที่เคยได้รับประโยชน์จากการมีสถานีสะพานตากสินเบื้องต้นกทม.จะทำทางเดินระหว่างสถานีสุรศักดิ์ถึงสถานีตากสินระยะทาง700 เมตรก่อน โดยได้มอบหมายให้บริษัทกรุงเทพธนาคมเป็นผู้ดำเนินการคาดว่าจะสามารถหาผู้รับจ้างได้ในเร็วๆนี้ ทั้งนี้หากผลสรุปว่าจะต้องทุบสถานีสะพานตากสินก็จะปรับเปลี่ยนทางเดินดังกล่าวเป็นทางเลื่อนอัตโนมัติเพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการแต่หากไม่ต้องทุบสถานีสะพานตากสินแล้วทางเดินดังกล่าวก็จะเป็นสกายวอล์คให้ประชาชนใช้ได้เช่นกัน

//----------------

4 ทางเลือกแก้สถานีตากสิน
โดย ทีมข่าว กทม.
ไทยรัฐ
25 สิงหาคม 2557 05:30

ทช.เสนอ กทม.ตัดสินใจ-กทม.เล็งทุบแล้วทำสกายวอล์ก

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า ตามที่ กทม.มีแผนที่จะขยายรางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (บีทีเอส) บนสะพานตากสินเป็นรางคู่ ซึ่ง กทม.ได้ยื่นข้อเสนอต่อกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ขอใช้พื้นที่สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินทำรางคู่และจะขยายขอบสะพานฯให้แทน เพื่อจะได้ไม่ต้องทุบสถานีตากสิน โดย ทช.เสนอกลับมาว่าสามารถทุบสะพานตากสินได้ แต่ กทม.ต้องสร้างสะพานขึ้นมาทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อรองรับการจราจร แต่ กทม.จะต้องไม่ใช้โครงสร้างสะพานตากสินเดิมนั้น ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการประชุมร่วมกันของหน่วยงานด้านระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด ซึ่งสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. ได้เข้าร่วมประชุมและได้มีการหารือถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว โดย ทช.ได้เสนอแนวทางให้ กทม. ศึกษาแนวทาง 4 แนวทาง ประกอบด้วย

1.การทุบสะพานและขยายขอบสะพานด้านข้าง ซึ่งจะต้องมีการเพิ่มตอม่อสะพานขึ้นมาใหม่เพื่อความแข็งแรงของสะพาน

2.หากไม่ต้องการทุบขอบสะพานก็จะต้องย้ายสถานีไปอยู่ตรงบริเวณกลางสะพานที่มีพื้นที่กว้างกว่าบริเวณเชิงสะพานที่สถานีอยู่เดิม ซึ่งทางวิศวกรรมอาจสามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ติดปัญหาที่ว่าอาจต้องมีการปิดการเดินไปยังฝั่งธนบุรีเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 7 เดือน แต่จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างมาก

3.ทุบสถานีตากสินแล้วทำทางเลื่อนตามแผนเดิม และ

4.คงสภาพเช่นเดิมไว้โดยไม่ต้องดำเนินการใดๆทั้งสิ้น แต่ก็จะกระทบกับการเดินรถ เนื่องจากปัจจุบันมีประชาชนใช้บริการเต็มเกือบทุกขบวน โดยที่ไม่สามารถเพิ่มโบกี้ได้ เพราะขณะนี้แต่ละขบวนมีความยาวพอดีกับตัวสถานีแล้ว

ส่วนการเพิ่มขบวนให้มีความถี่มากขึ้นนั้นก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะระยะห่างของแต่ละขบวนประมาณ 4 นาทีถือว่าเร็วที่สุดแล้ว ทั้งนี้ ทาง สจส.ได้นำทั้ง 4 แนวทางไปศึกษาอย่างละเอียดเพื่อเลือกแนวทางที่ดีที่สุด โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาเลือกแนวทางประมาณ 2-3 เดือน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวตนเห็นว่าทางเลือกที่ดีที่สุดคือการยกเลิกสถานีสะพานตากสินและสร้างทางเลื่อนอัตโนมัติให้ประชาชนใช้บริการที่สถานีสุรศักดิ์แทน ซึ่งใช้เวลาและงบประมาณน้อยที่สุด แต่อาจกระทบกับความเคยชินของประชาชนที่เคยใช้บริการที่สถานีดังกล่าว รวมถึงก็อาจกระทบกับผู้ประกอบการที่อยู่บริเวณใกล้เคียงที่เคยได้รับประโยชน์จากการมีสถานีสะพานตากสิน เบื้องต้น กทม.จะทำทางเดินระหว่างสถานีสุรศักดิ์ถึงสถานีตากสินระยะทาง 700 เมตรก่อน โดยได้มอบหมายให้บริษัทกรุงเทพธนาคมเป็นผู้ดำเนินการ คาดว่าจะสามารถหาผู้รับจ้างได้ในเร็วๆนี้.
https://www.facebook.com/LOVEROTFAIFAHCLUB/photos/a.435018543243629.98784.434453293300154/698818496863631/?type=1&fref=nf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44637
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/08/2014 5:19 pm    Post subject: Reply with quote

อีก 1 ปีรู้ผล "สร้าง" - "ไม่สร้าง" ต่อรถไฟฟ้าบางหว้าไปตลิ่งชัน
เดลินิวส์ วันพุธ 27 สิงหาคม 2557 เวลา 08:22 น.

กทม.ทุ่ม40ล้าน จ้างศึกษาแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากบางหว้าไปตลิ่งชัน คาด 1ปีพิจารณาได้ว่าจะสร้างหรือไม่

นายนิคม พรธารักษ์เจริญ รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร(กทม.)กล่าวถึงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร(รถไฟฟ้าบีทีเอส)ส่วนต่อขยายสายสีลมว่ากทม.ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีลมที่กทม.มีเป้าหมายในการสร้างเพิ่มเติมจากสถานีบางหว้าไปจนถึงสถานีตลิ่งชันเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เพื่อให้เกิดเป็นโครงค่ายการเดินทางที่สมบูรณ์แก่ประชาชนโดยกทม.ได้ใช้งบประมาณในการว่าจ้างคณะที่ปรึกษาเพื่อศึกษาโครงการจำนวนกว่า40ล้านบาทซึ่งจะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการแนวเส้นทางที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุดงบประมาณในการดำเนินโครงการและการจัดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงกาดังกล่าวซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ1ปีก็สามารถรายงานผลให้ผู้บริหารกทม.พิจารณาได้ว่าจะดำเนินโครงการหรือไม่

นายนิคมกล่าวต่อว่าสำหรับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบางหว้า-ตลิ่งชันเบื้องต้นกำหนดแนวทางในการก่อสร้างระยะทางประมาณ7กิโลเมตรจำนวน 6สถานีซึ่งตนเห็นว่ามีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการอย่างมากเนื่องจากจะเป็นส่วนในการสร้างระบบเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายอื่นๆซึ่งเมื่อมีระบบขนส่งมวลชนที่สมบูรณ์ประชาชนก็จะหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนกันมากขึ้นปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯก็จะลดลงได้อีกทั้งการสร้างรถไฟฟ้าก็จะทำให้พื้นที่กรุงเทพฯมีความพัฒนามากยิ่งขึ้นอีกด้วยดังนั้นจึงเป็นโครงการที่กทม.จะเร่งดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนโดยเร็วที่สุด

อย่างไรก็ตามได้มีการศึกษาเส้นทางไว้แล้วเบื้องต้น2 เส้นทางคือ

1.จากสถานีบางหว้าไปเส้นทางถนนราชพฤกษ์โดยผ่านถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย4ซึ่งเป็นถนนตัดใหม่ของกทม.จนไปถึงทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีโดยจะตัดกับสายสีแดงที่ตลิ่งชันซึ่งถือเป็นแนวทางที่ดีสามารถต่อขยายสถานีให้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ที่บางใหญ่ได้ในอนาคต

2.จากสถานีบางหว้าไปเส้นทางถนนราชพฤกษ์ผ่านถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย4แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางพุทธมณฑลสาย1แล้วเลี้ยวขวาออกทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีซึ่งแนวทางนี้มีเส้นทางใกล้สถานีขนส่งสายใต้ใหม่สามารถรองรับประชาชนที่จะเชื่อมต่อการเดินทางได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2014 8:46 pm    Post subject: Reply with quote

อีก1ปีมีใช้ลิฟท์ทุกสถานีบีทีเอส
เดลินิวส์
วันพุธ 17 กันยายน 2557 เวลา 07:00 น.
ได้ผู้รับเหมาแล้วกทม.เร่งติดลิฟท์สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อีก1ปีมีครบทุกสถานี

เมื่อวันที่16ก.ย.2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในโซเชียลเน็ตเวิร์คมีการแชร์ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊คตามเพจต่างๆเรียกร้องขอลิฟท์ผู้โดยสารผู้พิการและคนชราที่ใช้รถเข็นบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งเป็นขนส่งมวลชนที่เปิดใช้งานเป็นเวลานานกว่า10ปีแล้วแต่กลับหลงลืมกลุ่มคนพิการและผู้ใช้รถเข็น

ทั้งนี้นายอมรกิจเชวงกุลรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)กล่าวว่าได้เร่งติดตั้งลิฟท์โดยสารสำหรับผู้พิการบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งขณะนี้ได้ตัวผู้รับเหมาเรียบร้อยแล้วซึ่งจะติดตั้งลิฟท์คนพิการบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสตั้งแต่พื้นราบไปจนชั้นชานชาลารถไฟฟ้าโดยจะติดตั้งลิฟท์สถานีละ4ตัวใน 21สถานีรวมติดลิฟท์ทั้งสิ้น84ตัวใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น270วันโดยคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ภายในปลายปี58
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2015 11:43 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเสนอขยับชานชาลาสถานีตากสินแทนทุบทิ้ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
20 กุมภาพันธ์ 2558 09:45 น. (แก้ไขล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2558 10:08 น.)



“คมนาคม” เสนอ กทม.ขยับชานชาลาสถานีตากสินมากลางสะพานสาทรประมาณ 200 เมตรแก้ปัญหาโดยไม่ต้องยกเลิกสถานี ระบุมีช่องว่างระหว่างสะพานกว้างมากกว่า ประชาชนไม่ต้องเดินไกล ด้าน กทม.รับไปหารือรายละเอียด แต่ยังยืนยันแผนสร้าง Skywalk ระยะทาง 711 เมตรไปใช้สถานีสุรศักดิ์แทน ชี้ผ่านสภา กทม.แล้ว

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมปรับปรุงสถานีสะพานตากสิน โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส (S6) วานนี้ (19 ก.พ.) ว่า ได้หารือร่วมกับผู้แทนกรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรณีที่ กทม.จะยกเลิกสถานีตากสินและก่อสร้างทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Skywalk) ระยะทาง 711 เมตร เพื่อให้ไปใช้สถานีสุรศักดิ์ (S5) แทนนั้น ล่าสุดทาง สนข.ได้นำเสนอแนวคิดใหม่โดยคงสถานีตากสินไว้ โดยในส่วนของพื้นที่ชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ที่เดิมและให้บริการตามปกติ ส่วนชั้นชานชาลาสถานีที่จะต้องปรับปรุงรางรถไฟฟ้าจากรางเดียวให้เป็นรางคู่เพื่อแก้ปัญหาช่วงคอขวดนั้น ให้ขยับจากจุดเดิมไปทางฝั่งธนบุรีประมาณ 200 เมตร ซึ่งจะออกไปทางแม่น้ำมากขึ้น เนื่องจากช่วงกลางสะพานสาทรช่องว่างระหว่างสะพานจะมีความกว้างมากกว่า

ซึ่งทาง กทม.ยังคงยืนยันแนวทางเดิม คือใช้สถานีสุรศักดิ์แทน โดยก่อสร้าง Skywalk เนื่องจากผ่านความเห็นชอบจากสภา กทม.มาแล้ว และแนวคิดดังกล่าวของ สนข.ยังมีข้อจำกัดหลายเรื่อง เช่น ในระหว่างก่อสร้างชานชาลาใหม่นั้นจะสามารถให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสได้แค่สถานีตากสินเท่านั้น ส่วนจากสถานีตากสินไปยังสถานีกรุงธนบุรีและปลายทางสถานีบางหว้าจะต้องหยุดเดินรถประมาณ 6 เดือน ซึ่งเป็นประเด็นที่กระทบต่อระบบสัญญาสัมปทานกับบีทีเอส อีกทั้งจะต้องออกแบบก่อสร้างเสาตอม่อขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับชานชาลาสะพาน

“ทาง กทม.ยังไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ และเห็นว่าแนวคิดสร้าง Sky Walk ดีกว่า เพราะผ่านสภา กทม.มาแล้ว แต่รับข้อมูลที่เป็นแนวคิดของ สนข.ไปหารือในรายละเอียดร่วมกัน เบื้องต้น สนข.ระบุว่าช่วงกลางสะพานน่าจะมีระยะห่างมากพอที่จะก่อสร้างชานชาลาได้โดยไม่กระทบต่อตัวสะพานสาทร และประชาชนจะยังคงใช้บริการสถานีตากสินได้เหมือนเดิม โดยขึ้นลงสถานีและซื้อตั๋วได้ที่จุดเดิมและเดินมาขึ้นรถไฟฟ้าอีก 200 เมตร แต่ กทม.จะต้องก่อสร้างตอม่อใหม่ขึ้นมา เทคนิคคิดว่าไม่มีปัญหา แต่ผู้แทนจากก ทม.เป็นระดับปฏิบัติการตัดสินใจอะไรยังไม่ได้ ต้องนำข้อมูลกลับไปหารือกับผู้บริหารก่อน ซึ่งต่อไปทางกระทรวงคมนาคมจะนัดประชุมร่วมกับ นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลโครงการบีทีเอสโดยตรงต่อไปเพื่อให้ได้ข้อยุติ” นายชาติชายกล่าว

//-------------------

ปรับสถานีตากสินขยับชานชาลาลงตัว
บ้านเมือง
วันศุกร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558, 07.18 น.


นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมปรับปรุงสถานีสะพานตากสิน โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส (S6) เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ในการประชุมนั้นได้หารือร่วมกับผู้แทนกรุงเทพมหานคร (กทม.) สำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ว่า สนข.ได้นำเสนอแนวคิดใหม่โดยคงสถานีตากสินไว้ โดยในส่วนของพื้นที่ชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ที่เดิมและให้บริการตามปกติ ส่วนชั้นชานชาลาสถานีที่จะต้องแล้วปรับปรุงรางรถไฟฟ้าจากรางเดียวให้เป็นรางคู่ เพื่อแก้ปัญหาช่วงคอขวดนั้น ให้ขยับจากจุดเดิมไปทางฝั่งธนบุรี ประมาณ 200 เมตร ซึ่งจะออกไปทางแม่น้ำมากขึ้น เนื่องจากช่วงกลางสะพานสาทร ช่องว่างระหว่างสะพานจะมีความกว้างมากกว่า ทั้งนี้ กทม.ยังคงยืนยันแนวทางเดิม คือใช้สถานีสุรศักดิ์แทน โดยก่อสร้าง Skywalk เนื่องจากผ่านความเห็นชอบจากสภา กทม.มาแล้ว และแนวคิดดังกล่าวของ สนข.ยังมีข้อจำกัดหลายเรื่อง เช่น ในระหว่างก่อสร้างชานชาลาใหม่นั้น จะสามารถให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้แค่ สถานีตากสินเท่านั้น ส่วนจากสถานีตากสินไปยังสถานีกรุงธนบุรีและปลายทางสถานีบางหว้าจะต้องหยุดเดินรถประมาณ 6 เดือน ซึ่งเป็นประเด็นที่กระทบต่อระบบสัญญาสัมปทานกับบีทีเอส อีกทั้งจะต้องออกแบบก่อสร้างเสาตอม่อขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับชานชาลาสะพาน


อย่างไรก็ตาม สืบเนื่องจากกรณีที่ กทม.จะยกเลิกสถานีตากสินและก่อสร้าง ทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Skywalk) ระยะทาง 711 เมตร เพื่อให้ไปใช้สถานีสุรศักดิ์ (S5) แทนนั้น ขณะนี้ กทม.ยังไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ และเห็นว่าแนวคิดสร้าง Sky Walk ดีกว่า เนื่องจากผ่านสภา กทม.มาแล้ว แต่รับข้อมูลที่เป็นแนวคิดของ สนข.ไปหารือในรายละเอียดร่วมกัน เบื้องต้น สนข.ระบุว่า ช่วงกลางสะพานน่าจะมีระยะห่างมากพอที่จะก่อสร้างชานชาลาได้โดยไม่กระทบต่อตัวสะพานสาทร และประชาชนจะยังคงใช้บริการสถานีตากสินได้เหมือนเดิม ทั้งนี้จะต้องนำข้อมูลกลับไปหารือกับผู้บริหารก่อน ซึ่งต่อไปทางกระทรวงคมนาคมจะนัดประชุมร่วมกับ นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม. เพื่อให้ได้ข้อยุติอีกครั้ง” นายชาติชาย กล่าว


ขณะเดียวกัน นายประพนธ์ ปัทมกิจสกุล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือ ทอท. กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีนระหว่างวันที่ 14-26 กุมภาพันธ์ 2558 ทสภ.คาดว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการในช่วงดังกล่าวประมาณ 2.15 ล้านคน หรือเฉลี่ยวันละ 165,783 คน ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกผู้โดยสารที่คาดว่าจะเดินทางเป็นจำนวนมากในช่วงเทศกาลตรุษจีน ทสภ.จึงได้มีการจัดเจ้าหน้าที่ล่ามมาประจำอยู่บริเวณด้านหน้าเคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารชาวจีนโดยเฉพาะ การจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกผู้โดยสารที่เดินทางเป็นกรุ๊ปทัวร์ บริเวณห้องโถงผู้โดยสารขาออก และจัดเตรียมรถเข็นกระเป๋าไว้ให้บริการให้เพียงพอกับจำนวนผู้โดยสาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับผู้โดยสารในช่วงเทศกาลดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 21/02/2015 5:58 pm    Post subject: Reply with quote

แหม..รู้สึกเสียดายที่ รถไฟฟ้าบางหว้านั้นเลี้ยวขวาไปทางถนนราชพฤกษ์ น่าจะตรงต่อไปตามถนนกัลปพฤกษ์แล้วเลี้ยวซ้ายไป แยกตลาดบางบอน (จัสโก้) เพื่ออนาคตได้ต่อไปยังถนนพระราม 2 ทำให้พื้นที่แถบนี้ยังต้องปลอดรถไฟฟ้าไปอีกนาน Sad คงต้องรอสาย วงเวียนใหญ่-มหาชัย ที่ยังเป็นแค่โครงการไปก่อนละครับ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2015 11:09 am    Post subject: Reply with quote

เร่งทำสกายวอล์กให้เดินไปขึ้นที่สถานีสุรศักดิ์แทน

วันอาทิตย์ 22 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14:10 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่กระทรวงคมนาคมได้มีการประชุมหารือถึงการปรับปรุงรางสถานีสะพานตากสินโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ให้รถสามารถเดินสวนกันได้ โดยที่ประชุมได้มีการเสนอความเห็นร่วมกันว่า ให้กทม.คงสถานีตากสินไว้เหมือนเดิมโดยในส่วนของพื้นที่ชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ที่เดิมส่วนชั้นชานชาลาสถานีจะต้องปรับปรุง และรางรถไฟฟ้าจากรางเดียวให้เป็นรางคู่เพื่อแก้ปัญหาช่วงคอขวดนั้น โดยให้ขยับจากจุดเดิมไปทางฝั่งธนบุรีประมาณ200 เมตรซึ่งจะออกไปทางแม่น้ำมากขึ้น เนื่องจากช่วงกลางสะพาน ช่องว่างระหว่างสะพานจะมีความกว้างมากกว่าแต่กทม.จะต้องออกแบบก่อสร้างเสาตอม่อขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับชานชาลาสะพานทั้งนี้ในการดำเนินการตามแนวคิดใหม่นั้นจะต้องหยุดเดินรถเป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่สถานีตากสินไปยังสถานีกรุงธนบุรีและปลายทางสถานีบางหว้าซึ่งกทม.จะต้องไปเจรจากับบีทีเอสผู้รับสัมปทาน ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นดังกล่าว

ด้านนายอมรกิจเชวงกุล รองผู้ส่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ขอเสนอการคงสถานีบีทีเอาสะพานตากสินไว้แต่จะต้องย้ายสถานีไปอยู่ตรงบริเวณกลางสะพานที่มีพื้นที่กว้างกว่าบริเวณตีนสะพานที่มีสถานีอยู่เดิมนั้นเป็นขอเสนอของทางกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ในฐานะเจ้าของพื้นที่ ซึ่งแนวทางดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นไปได้ยากเนื่องจากในทางวิศวกรรมสามารถทำได้ แต่จะติดปัญหาที่ว่าอาจต้องมีการปิดการเดินรถไปยังฝั่งธนบุรีเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า7 เดือนซึ่งจะทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างมาก กทม.จึงไม่สามารถดำเนินการตามแนวทางนี้ได้เลยทั้งนี้กทม.ก็ต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสะพานตากเนื่องจากปัจจุบันมีประชาชนใช้บริการรถไฟฟ้าในสายสีลม วันละกว่า 100,000คนและในอนาคตก็จะมีปริมาณผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นอีกดังนั้นกทม.จึงต้องดำเนินการขยายรางรถไฟฟ้าบีทีเอส สะพานตากสินเป็นรางคู่ เพื่อให้รถไม่ต้องมีการหยุดเพื่อรอสับหลีกขบวนซึ่งจะทำให้ประชาชนต้องเสียเวลารอรถถึง 3-4นาทีต่อขบวน

อย่างไรก็ตามการจะขยายรางรถไฟฟ้าบีทีเอสตากสินเป็นรางคู่นั้น คงต้องรื้อสถานีสะพานตากสินซึ่งเบื้องต้นกทม.จึงได้ดำเนินการทำทางเดิน(สกายวอล์ค)ระหว่างสถานีสุรศักดิ์ถึงสถานีตากสินระยะทาง 700 เมตรเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้รถไฟฟ้าได้ที่สถานีสุรศักดิ์แทนซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำทีโออาร์คาดว่าจะสามารถเปิดหาผู้รับรับเหมาได้ในต้นเดือน มี.ค.นี้ โดยสกายวอล์ดดังกล่าวจะต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 14เดือน หลังจากนั้นกทม.จึงจะสามารถสรุปผลได้อีกครั้งว่าจะมีการยกเลิกการใช้สถานีบีทีเอสตากสินเมื่อใด.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 3:39 am    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส"สถานีตลิ่งชัน"บูมอสังหาฝั่งธน ชุมทางเชื่อม3สี"แดง-ส้ม-น้ำเงิน"รื้อผังเมืองพัฒนาเชิงพาณิชย์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 มีนาคม 2558 เวลา 14:55:20 น.


กทม.ทุ่ม 1.3 หมื่นล้านขีดรถไฟฟ้าบีทีเอสไปฝั่งธนฯ จาก "บางหว้า-ตลิ่งชัน" ระยะทาง 7-8 กม. เตรียมรื้อผังเมืองรวมใหม่ จากพื้นที่รับน้ำหันมาบูมพื้นที่พาณิชยกรรม-ที่อยู่อาศัย รองรับ "สถานีตลิ่งชัน" ชุมทางรถไฟฟ้า 3 สาย "บีทีเอส-สีแดง-สีส้ม" ตั้งแท่นชง ครม.บรรจุแผนแม่บทหลังผลการศึกษาจบ ก.ย.นี้

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กทม.อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม จัดทำแบบเบื้องต้น และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน เนื่องจากมีพื้นที่โครงการทั้งหมดอยู่ในเขตตลิ่งชัน และเขตภาษีเจริญ ปัจจุบันมีหมู่บ้านจัดสรร ศูนย์อาหาร ร้านค้ากระจายอยู่เต็มพื้นที่ แต่ยังขาดระบบขนส่งมวลชนมาเชื่อมการเดินทาง ทำให้ประชาชนต้องเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล จึงเกิดปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนราชพฤกษ์ โดยเฉพาะช่วงชั่วโมงเร่งด่วนและวันหยุด



เชื่อมรถไฟฟ้า 4 สาย

รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยบรรเทาการจราจรฝั่งธนบุรี และเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ ๆ เนื่องจากแนวเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สายทาง ได้แก่ สายสีเขียว ช่วงถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถึงบางหว้า, สายสีน้ำเงิน ช่วงท่าพระถึงบางแค, สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อถึงตลิ่งชัน และสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชันถึงดินแดง

สำหรับแนวโครงการ บริษัทที่ปรึกษาเสนอ 3 เส้นทางเลือก ครอบคลุมพื้นที่ 2 เขต 11 แขวง คือ บางหว้า บางด้วน ปากคลองภาษีเจริญ คูหาสวรรค์ บางจาก บางแวก บางเชือกหนัง บางระมาด ฉิมพลี บางพรม ตลิ่งชัน โดยทั้ง 3 แนวเส้นทางมีสถานีร่วมกัน คือ สถานีบางแวก กับสถานีกระโจมทอง

โดยแนวเส้นทางที่ 1 ระยะทาง 7-8 กิโลเมตร มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก สถานีกระโจมทอง สถานีบางพรม สถานีอินทราวาส สถานีบรมราชชนนี สิ้นสุดที่สถานีตลิ่งชัน

มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่จุดเชื่อมต่อกับโรงจอดรถที่บริเวณบางหว้า วิ่งไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชพฤกษ์ จะสร้างบนพื้นที่เกาะกลางความกว้าง 3-3.5 เมตร แล้วผ่านแยกตัดบางแวก ตรงซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 ทางแยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 จากนั้นจะยกระดับขึ้นไปข้ามทางแยกตัดถนนบรมราชชนนี และยกระดับเพื่อข้ามทางด่วนศรีรัช-วงแหวนตะวันตกที่กำลังก่อสร้างตามแนวรถไฟสายใต้ สิ้นสุดที่ทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และรถไฟสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี)

แนวเส้นทางที่ 2 ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มี 8 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก สถานีกระโจมทอง สถานีบางพรม สถานีพุทธมณฑลสาย 1 สถานีโพธิสาร สถานีบรมราชชนนี สถานีตลิ่งชัน สิ้นสุดที่สถานีฉิมพลี

มีจุดเริ่มต้นเดียวกับแนวที่ 1 คือใช้พื้นที่เกาะกลางตามแนวถนนราชพฤกษ์มุ่งหน้าทิศเหนือ แต่เลี้ยวซ้ายที่ทางแยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 เลี้ยวขวาเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 1 สิ้นสุดที่ปลายถนนสวนผัก บรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) ที่สถานีศาลาธรรมสพน์

แนวเส้นทางที่ 3 เหมือนแนวที่ 1 ยกเว้นช่วงปลายทางหลังจากทางยกระดับบรมราชชนนี จะเบี่ยงแนวเส้นทางไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่สถานีตลิ่งชัน ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟสายสีแดงอ่อนมากที่สุด จากนั้นจะเบี่ยงแนวเส้นทางผ่านพื้นที่เอกชนกลับมายังถนนราชพฤกษ์อีกครั้ง ระยะทาง 7-8 กิโลเมตร มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีบางแวก สถานีกระโจมทอง สถานีบางพรม สถานีอินทราวาส สถานีบรมราชชนนี และสิ้นสุดสถานีตลิ่งชัน

เคาะแนวสร้างบน ถ.ราชพฤกษ์

จากทั้ง 3 แนวเส้นทางนั้น แนวที่ 1 กับ 3 เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นเส้นทางตัดตรง ระยะทางสั้น เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ที่สถานีตลิ่งชัน, สายสีน้ำเงิน (ท่าพระ-บางแค) และสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี

ที่สำคัญจะไม่มีการเวนคืนที่ดินเพราะสร้างบนเกาะกลางถนนเดิม อาจจะมีเวนคืนเล็กน้อยช่วงปลายทางแนวที่ 3 จำนวน 30 ไร่ ที่จะต้องตัดผ่านที่ดินเอกชน เพื่อให้เชื่อมกับสถานีตลิ่งชันของสายสีแดง

"ค่าก่อสร้างเฉลี่ย 1,500 ล้านบาท/กิโลเมตร รวมเวนคืนที่ดินแล้ว คาดว่าลงทุนทั้งโครงการ 11,000-13,000 ล้านบาท ผลศึกษาจะแล้วเสร็จกันยายนนี้ จากนั้น กทม.จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อนำโครงการบรรจุเข้าไปในแผนแม่บทรถไฟฟ้าเพิ่มเติม เพราะเป็นโครงการใหม่ ขณะเดียวกัน กทม.จะพิจารณารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม 3 แนวทาง คือ กทม.ลงทุนเอง ให้สัมปทานเอกชน และบริษัทกรุงเทพธนาคม เป็นผู้ดำเนินการ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี"61 แล้วเสร็จเปิดใช้ปี"64" นายอมรกล่าวและว่า

"ตลิ่งชัน" ฮับรถไฟฟ้า

สำหรับประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ เจ้าของที่ดินและทรัพย์สิน โรงเรียน วัด สถานประกอบการ หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษาให้ความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากแนวเส้นทางซ้ายและขวา ข้างละ 500 เมตร อาทิ ชุมชนข้างวัดทอง โรงเรียนโพธิสารพิทยากร โรงเรียนมหรรณพาราม วัดทองเชือกหนัง โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน เดอะเซอร์เคิลราชพฤกษ์ หมู่บ้านลดาวัลย์ เป็นต้น

"ต่อไปทำเลตลิ่งชันจะน่าสนใจมาก เมื่อรถไฟฟ้าเส้นนี้สร้างเสร็จ เพราะสถานีตลิ่งชันจะกลายเป็นชุมทางรถไฟฟ้า 3 สาย คือ บีทีเอส สีแดง สีส้ม กำลังเตรียมปรับผังเมืองรวม กทม.ใหม่ เพื่อรับกับความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะปัจจุบันการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ตลิ่งชันเป็นพื้นที่สีเขียวลายขาว หรือพื้นที่รับน้ำ เน้นเกษตรกรรม จะปรับสีการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ เช่น พื้นที่ย่านพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งผังเมือง กทม.จะหมดอายุปี"62 คาดว่าจะพอดีกับที่รถไฟฟ้าเปิดใช้บริการ" รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42749
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 3:41 am    Post subject: Reply with quote

BTS ลุ้นรับงานเดินรถ 6 เส้นใหม่ ใช้เงินลงทุน 1.23 แสนล้านใน 5 ปีนี้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มีนาคม 2558 09:49 น. (แก้ไขล่าสุด 9 มีนาคม 2558 16:53 น.)


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
BTS ลุ้นรับงานเดินรถ 6 เส้นใหม่ ใช้เงินลงทุน 1.23 แสนล้านใน 5 ปีนี้
“บีทีเอส กรุ๊ป” ตั้งเป้างบลงทุน 5 ปีนี้ 1.23 แสนล้านบาท หากได้รับงานบริหารเดินรถไฟฟ้าทั้ง 6 เส้นทางใหม่ ระยะทาง 118.5 กม. คาด หนุนรายได้จากการรับจ้างเดินรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแตะ 1 หมื่นล้านบาทในปี 2561

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษทย่อย BTS เปิดเผยแผนการลงทุน 5 ปีนี้ (2558-2562) ว่า บริษัทฯ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1.23 แสนล้านบาท หากบริษัทฯ ได้งานรับจ้างบริหารเดินรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ 6 เส้นทาง รวมระยะทาง 118.5 กม.

ประกอบด้วย 1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กม. ซึ่งขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างเจรจาโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) จากนั้นบริษัทจึงจะเจรจากับ กทม.ในการรับจ้างเดินรถต่อไป คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญารับจ้างบริหารเดินรถกับ กทม.ในไตรมาส 3/2558 ซึ่งล่าช้ากว่าแผนเดิมที่วางไว้ในไตรมาส 2/2558 คาดว่าเส้นทางรถไฟฟ้าสีเขียวใต้แบริ่ง-สมุทรปราการจะเปิดให้บริการได้ในปี 2561-2562 เบื้องต้นคาดว่าจะมีผู้โดยสารใหม่เข้าระบบ 20-30% จากจำนวนผู้โดยสารที่ กทม.คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงวันละ 1 แสนคน

ทั้งนี้ บริษัทฯ จะลงทุนซื้อรถไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก 15 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ ใช้เงินลงทุน 9,000-10,000 ล้านบาท เพื่อรองรับเส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ หากบริษัทฯ สามารถเจรจากับ กทม.ได้ทันไตรมาส 3 ตามแผนที่วางไว้ก็จะนำการจัดซื้อรถไฟฟ้าดังกล่าวมารวมกับการสั่งซื้อรถไฟฟ้าอีก 7 ขบวนที่รองรับเส้นทางเดินรถในคราวเดียวกัน ทำให้การประมูลสั่งซื้อรถไฟฟ้าได้ต้นทุนที่ถูกลง ซึ่งปัจจุบันบีทีเอสมีรถไฟฟ้ารองรับอยู่ 52 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้

2. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิด-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กม. คาดว่าจะได้ข้อสรุปและลงนามสัญญาการก่อสร้างโยธาภายในกลางปีนี้ และบริษัทฯ น่าจะมีโอกาสได้รับให้เป็นผู้บริหารการเดินรถส่วนต่อขยายเส้นทางนี้ มีแผนเปิดให้บริการในปี 2562 โดยบริษัทฯ จะต้องลงทุนซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 20-21 ขบวน รวมทั้งลงทุนระบบไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ ระบบตั๋ว คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

3. ระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRT) จากบางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 18.3 กม. มูลค่าโครงการ 2.5 หมื่นล้านบาท บริษัทฯ คาดว่าจะมีการประมูลเส้นทางนี้ในปีนี้ ขณะนี้ผลศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเสร็จแล้วพร้อมกับการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เสร็จเรียบร้อยแล้ว รอนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าปลายปีนี้จะเริ่มงานก่อสร้าง และแล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2561

4. รถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทา ช่วงวัชรพล- ทองหล่อ เป็นโครงการของ กทม.ที่จะลงทุนด้านงานโยธา มูลค่าโครงการ 2.4 หมื่นล้านบาท และบริษัทคาดว่าจะมีโอกาสได้งานรับจ้างบริหารการเดินรถจาก กทม. ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ คาดว่าทำเสร็จปลายปีนี้

5. ส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงบางหว้า-บรมราชชนนี ระยะทาง 7 กม. คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2562 ขณะนี้ กทม.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการแล้ว คาดเสร็จสิ้นปีนี้ใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าสายสีเทา โดยเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ตลิ่งชัน ซึ่ง BTS มีโอกาสได้เจรจาบริหารเดินรถ เพราะระยะทางเพียง 7 กม. ซึ่งใช้รถไฟฟ้าเพิ่มอีก 6 ขบวน

และ 6. รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี คาดว่าจะเปิดประมูลในปลายปีนี้ และจะเปิดให้บริการในปี 2563-64 ขณะนี้รอนำเสนอเข้า ครม.พิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ การเดินรถสายสีชมพูเป็นรถแบบโมโนเรล ซึ่งบริษัทจะเข้าประมูล

สำหรับแหล่งเงินลงทุนทั้ง 6 โครงการดังกล่าวข้างต้นบริษัทฯ มีความพร้อม โดยมีเงินสดในมือกว่า 3 หมื่นล้านบาท เงินจากการออกวอร์แรนต์ที่มีอายุ 3 ปี วงเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท และมีความสามารถกู้ได้อีกราว 1 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ หากบริษัทได้รับเลือกให้เดินรถทั้ง 6 เส้นทางดังกล่าวข้างต้นจะทำให้มีผู้โดยสารเข้าระบบบีทีเอสเพิ่มขึ้น 1 ล้านคน/วัน หนุนรายได้จากการรับจ้างเดินรถเพิ่มขึ้นมาเป็น 1 หมื่นล้านบาทในปี 2561 จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้ 1.7 พันล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2557/58 (เม.ย. 57-มี.ค. 58) คาดว่าจำนวนผู้โดยสารโตขึ้นจากปีก่อน 3% และรายได้จากการเดินรถโต 6% โดยยอมรับว่าจำนวนผู้โดยสารปีนี้โตต่ำกว่าเป้าที่วางไว้โต 5-8% แต่รายได้จากเดินรถเป็นไปตามเป้า

ส่วนการปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา หากจะปรับขึ้นก็จะมีผลในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วัน ปัจจุบันบริษัทเก็บค่าโดยสาร 15-42 บาท/เที่ยว ซึ่งเก็บต่ำกว่าสิทธิที่เก็บได้ในช่วง 20-60 บาท/เที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 100, 101, 102, 103, 104, 105  Next
Page 101 of 105

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©