RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273505
ทั้งหมด:13584801
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 54, 55, 56 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2015 1:05 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลสั่ง BTS สร้างลิฟท์เพิ่มสำหรับผู้พิการ
News True Life

ศาลปกครองสูงสุด สั่งให้ 'บีทีเอส' ก่อสร้างลิฟท์สำหรับผู้พิการเพิ่มเติมอีก 18 สถานี ด้านกลุ่มผู้พิการย้ำ ไม่ใช่การขอให้สังคมเวทนา แต่เป็นการร้องหาสิทธิ...


ศาลปกครองสูงสุด สั่งให้ 'บีทีเอส' ก่อสร้างลิฟท์สำหรับผู้พิการเพิ่มเติมอีก 18 สถานี ด้านกลุ่มผู้พิการย้ำ ไม่ใช่การขอให้สังคมเวทนา แต่เป็นการร้องหาสิทธิความเท่าเทียม

ศาลปกครองสูงสุด กลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง กรณีกลุ่มผู้พิการยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ได้รับสัมปทานก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอส เนื่องจากไม่จัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการตามที่กฎหมายกำหนด

โดยศาลสั่งให้ กรุงเทพมหานคร และบีทีเอส จัดสร้างลิฟต์อำนวยความสะดวกอีก 18 สถานี จัดทำราวบันได ทางลาดเอียง รวมถึงป้ายบอกทาง และสัญลักษณ์ให้แก่คนพิการทุกสถานี และจัดที่ว่าง เก้าอี้เข็นสำหรับคนพิการ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี หลังจากศาลมีคำพิพากษา

ศาลปกครองสูงสุด ยังระบุเพิ่มเติมว่า แม้ทางเครือข่ายผู้พิการ จะไม่ได้ดำเนินการยื่นฟ้อง ภายในระยะเวลา 90 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด แต่เนื่องจากเป็นคดีที่มีผลต่อกลุ่มคนจำนวนมาก ตามมาตรา 52 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติศาลปกครองสูงสุด ศาลจึงรับไว้พิจารณา

ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองกลาง พิพากษายกฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2552 โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง เพราะสัญญาการก่อสร้างรถไฟฟ้าทำขึ้นในปี 2539 แต่กฎกระทรวงมหาดไทย และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่ผู้พิการ มีผลบังคับใช้ในปี 2544 ซึ่งกลุ่มผู้พิการมองว่า เป็นเรื่องทางเทคนิคกฎหมาย ไม่ใช่หลักการบริหารสาธารณะ

สำหรับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ดำเนินจัดสร้างลิฟต์สำหรับผู้พิการแล้วมีเพียง 5 สถานีจากทั้งหมด 23 สถานี ได้แก่ สยาม หมอชิต ช่องนนทรีย์ สนามกีฬากลางแห่งชาติ และอ่อนนุช โดยแต่ละสถานีมีลิฟต์เพียง 1 ตัว ซึ่งไม่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกคนพิการได้จริง เพราะในความเป็นจริงควรมีทั้งสิ้น 4 จุด

//---------------

ศาลปกครองสั่งกทม.-บีทีเอส สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทุกสถานีรถไฟฟ้าให้เสร็จใน1ปี
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 18:37 น.

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาคดีที่นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอภาค กับพวกจำนวน 3 คน ฟ้องกทม. ผู้ว่าฯกทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม. และบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ในข้อหาร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามพ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ที่กำหนดให้ต้องจัดสร้างลิฟท์และสิ่งอำนวยความสะดวกทั่วบริเวณสถานี และบนขบวนรถสำหรับคนพิการที่มาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนบีทีเอส โดยมีคำสั่งให้ กทม.จัดทำลิฟท์ขึ้นลงสำหรับผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้ง 23 สถานี และให้จัดทำอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทั้ง 23 สถานี และให้ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยให้เว้นที่สำหรับจอดรถเข็น และให้มีราวจับ ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามคำสั่งศาลให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี หลังจากมีคำพิพากษา

โดยศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า กทม. ผู้ว่าฯกทม.และบีทีเอส ได้ทำสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2534 ก่อนที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจะออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกความตามพ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือบริการสาธารณะอื่น ที่ต้องมีอุปกรณที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ และคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจะออกระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่า ด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ.2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.2544 ไม่อาจใช้บังคับสัญญาสัมปทานดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของ กทม. ที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการตามกฎหมาย

ดังนั้น นับแต่วันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกความตามพ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2542 และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่า ด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ.2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.2544 จนถึงวันที่สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ กับพวกจำนวน 3 คนนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองในวันที่ 13 ก.ย.2550 เป็นระยะเวลากว่า 6 ปี แต่กทม.เพียงจัดให้มีทางขึ้น-ลง และลิฟท์อำนวยความสะดวกแก่คนพิการเพียง 5 สถานี จากสถานีขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี ถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล้าช้าเกินสมควร จึงให้ดำเนินการอำนวยความสะดวกดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษา

//------------------------



คนพิการปลื้มศาลปกครอง สั่งปรับปรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
21 มกราคม 2558 21:12 น.

วานนี้ (21ม.ค.) ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง สั่งให้กรุงเทพมหานครจัดทำลิฟต์ขึ้นลงสำหรับผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้ง 23 สถานี และให้จัดทำอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ทั้ง 23 สถานี รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยให้เว้นที่สำหรับจอดรถเข็นคนพิการมีความกว้างไม่น้อยกว่า 120 ซ.ม. มีราวจับ สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซ.ม. บริเวณทางขึ้นลง และติดสัญลักษณ์คนพิการไว้ทั้งใน และนอกตัวรถที่จัดให้สำหรับคนพิการ ซึ่งกรุงเทพมหานคร ต้องดำเนินการตามคำสั่งศาลให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี หลังจากมีคำพิพากษา
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอภาค กับพวก จำนวน 3 คน ฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม) ผู้ว่าฯ กทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม. และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ในข้อหาร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ ตามพ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่กำหนดให้ต้องจัดสร้างลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งบริเวณสถานี และบนขบวนรถสำหรับคนพิการที่มาใช้บริการระบบขนส่งมวลชน บีทีเอส ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 52 ให้ยกฟ้อง ด้วยเหตุผลว่า แม้ขณะนั้นจะมี พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดรายละเอียดของอาคาร สถานี และยานพาหนะ ที่จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่อย่างใด การที่ กทม.และบมจ.บีทีเอส ไม่ได้ก่อสร้างลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวก จึงไม่อาจถือว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนด
แต่ที่ศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษาในครั้งนี้ ระบุว่า แม้ กทม. โดยผู้ว่าฯกทม. และบีทีเอส ได้ทำสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 เม.ย.34 ก่อนที่จะมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกความตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ และคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
จะออกระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. 44 จึงไม่อาจใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานดังกล่าวก็ตาม
แต่เมื่อกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของกทม. ที่เป็นเจ้าของอาคารสถานีขนส่งมวลชน ต้องแก้ไขปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะ ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ โดยให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงคดีนี้ ปรากฏว่า กทม.ได้จัดทางขึ้น-ลง และลิฟต์ อำนวยความสะดวกแก่คนพิการเพียง 5 สถานี จากสถานีขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี และไม่ได้แสดงให้ศาลเห็นว่า เหตุที่ไม่ได้จัดทางขึ้น-ลง และลิฟต์ อำนวยความสะดวกแก่คนพิการในอีก 18 สถานี เกิดจากข้อจำกัดอันใด
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามเอกสารสรุปการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าฯ กทม. รายงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามหนังสือที่ กท4000/3314 ลงวันที่ 4 พ.ค.42 แสดงให้เห็นว่า อยู่ในวิสัยที่กทม. โดยผู้ว่าฯกทม.จะจัดอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ให้เป็นไปตามกฎหมายได้
ดังนั้น เมื่อนับแต่วันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกความตามพ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.42 และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.44 จนถึงวันที่ นายสุภรธรรม กับพวกจำนวน 3 คน นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ในวันที่ 13 ก.ย. 50 เป็นระยะเวลากว่า 6 ปี แต่กทม. เพียงจัดให้มีทางขึ้น-ลง และลิฟต์ อำนวยความสะดวกแก่คนพิการเพียง 5 สถานี จากสถานีขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล้าช้าเกินสมควร การที่ศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง
ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษา นายสุภรธรรม กล่าวว่า รู้สึกตื้นตันใจ เพราะคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าสังคมดีขึ้น เป็นการสร้างความเป็นธรรม และเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งเป็นการสร้างสำนึก และจิตสาธารณะของคนในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่เรารอคอยมานาน และถือว่าคุ้มค่ามาก หลังจากนี้จะติดตามการดำเนินการของกทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าได้ทำตามคำสั่งหรือไม่ อย่างไร ส่วนระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น เราก็จะไปพูดคุยเพื่อให้มีการอำนวยสะดวกให้กับคนพิการที่ใช้บริการ โดยจะใช้คำสั่งศาลปกครองสูงสุด เป็นบรรทัดฐานในการพูดคุย เพื่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการอ่านคำพิพากษาดังกล่าวได้มีผู้พิการ และผู้สูงอายุ เครือข่ายมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ และ ชมรมมนุษย์ล้อและเครือข่ายคนพิการนานาชาติ ประมาณ 100 คน เดินทางมารับฟังคำพิพากษา โดยก่อนเข้าฟังคำพิพากษา ทั้งหมดได้ร่วมอ่านแถลงการณ์ ในนามกลุ่ม“ปฏิบัติการขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้”ยืนยันเจตนารมณ์ ว่า ระบบขนส่งมวลชนของไทย และที่จะเชื่อมต่อในประเทศอาเซียนนั้น คนพิการทุกคนต้อง ขึ้นได้ด้วยความสะดวก ปลอดภัยอย่างแท้จริง โดยบริการขนส่งสาธารณะ ต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้เท่าเทียมกัน

//------------------------

วันนี้ที่รอคอย! ศาลปกครองสั่ง กทม.ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
21 มกราคม 2558 19:32 น.


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
วันนี้ที่รอคอย! ศาลปกครองสั่ง กทม.ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ภาพจากแฟ้ม



คนพิการเฮหลังรอคอย 6 ปี ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา กทม. ละเลยจัดสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส สั่งผู้ว่าฯ ติดอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ทั้งลิฟต์ ราวจับ ที่จอดรถคนพิการให้เสร็จภายใน 1 ปี

วันนี้ (21 ม.ค.) ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองกลางสั่งให้ กรุงเทพมหานครจัดทำลิฟต์ขึ้นลงสำหรับผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้ง 23 สถานี และให้จัดทำอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทั้ง 23 สถานี รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยให้เว้นที่สำหรับจอดรถเข็นคนพิการมีความกว้างไม่น้อยกว่า 120 ซม. มีราวจับ สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. บริเวณทางขึ้นลง และติดสัญลักษณ์คนพิการไว้ทั้งในและนอกตัวรถที่จัดให้สำหรับคนพิการ ซึ่งกรุงเทพมหานครต้องดำเนินการตามคำสั่งศาลให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี หลังจากมีคำพิพากษา

ทั้งนี้ คดีดังกล่าว นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอภาค กับพวกจำนวน 3 คน ฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม) ผู้ว่าฯ กทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม. และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ในข้อหาร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่กำหนดให้ต้องจัดสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งบริเวณสถานีและบนขบวนรถสำหรับคนพิการที่มาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนบีทีเอส ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 52 ให้ยกฟ้องด้วยเหตุผลว่า แม้ขณะนั้นจะมี พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดรายละเอียดของอาคาร สถานี และยานพาหนะ ที่จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่อย่างใด การที่ กทม. และ บมจ.บีทีเอส ไม่ได้ก่อสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวก จึงไม่อาจถือว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด

แต่ที่ศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษาในวันนี้ระบุว่า แม้ กทม. โดย ผู้ว่าฯ กทม. และบีทีเอส ได้ทำสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2534 ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกความตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ และคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจะออกระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. 2544 จึงไม่อาจใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของ กทม. ที่เป็นเจ้าของอาคารสถานีขนส่งมวลชนต้องแก้ไขปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ โดยให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงคดีนี้ ปรากฏว่า กทม. ได้จัดทางขึ้น - ลง และลิฟต์อำนวยความสะดวกแก่คนพิการเพียง 5 สถานี จากสถานีขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี และไม่ได้แสดงให้ศาลเห็นว่า เหตุที่ไม่ได้จัดทางขึ้น - ลง และลิฟต์อำนวยความสะดวกแก่คนพิการในอีก 18 สถานี เกิดจากข้อจำกัดอันใด นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามเอกสารสรุปการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าฯ กทม. รายงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามหนังสือที่ กท4000/3314 ลงวันที่ 4 พ.ค. 2542 แสดงให้เห็นว่าอยู่ในวิสัยที่ กทม. โดยผู้ว่าฯ กทม. จะจัดอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ให้เป็นไปตามกฎหมายได้

ดังนั้น เมื่อนับแต่วันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกความตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2542 และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. 2544 จนถึงวันที่สุภรธรรม กับพวกจำนวน 3 คน นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองในวันที่ 13 ก.ย. 2550 เป็นระยะเวลากว่า 6 ปี แต่ กทม. เพียงจัดให้มีทางขึ้น - ลง และลิฟต์อำนวยความสะดวกแก่คนพิการเพียง 5 สถานี จากสถานีขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล้าช้าเกินสมควร การที่ศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วยจึงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง

ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษา นายสุภรธรรม กล่าวว่า รู้สึกตื้นตันใจ เพราะคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในครั้งนี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าสังคมดีขึ้น เป็นการสร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งเป็นการสร้างสำนึกและจิตสาธารณะของคนในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่เรารอคอยมานานและถือว่าคุ้มค่ามาก หลังจากนี้ จะติดตามการดำเนินการของ กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ได้ทำตามคำสั่งหรือไม่อย่างไร ส่วนระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่นเราก็จะไปพูดคุยเพื่อให้มีการอำนวยสะดวกให้กับคนพิการที่ใช้บริการ โดยจะใช้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดเป็นบรรทัดฐานในการพูดคุย เพื่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการอ่านคำพิพากษาดังกล่าวได้มีผู้พิการ และผู้สูงอายุ เครือข่ายมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ และชมรมมนุษย์ล้อและเครือข่ายคนพิการนานาชาติ จำนวน 100 คน เดินทางมารับฟังคำพิพากษา โดยก่อนเข้าฟังคำพิพากษา ทั้งหมดได้ร่วมอ่านแถลงการณ์ในนามกลุ่ม “ปฏิบัติการขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้” ยืนยันเจตนารมณ์ว่า ระบบขนส่งมวลชนของไทย และที่จะเชื่อมต่อในประเทศอาเซียนนั้น คนพิการทุกคนต้องขึ้นได้ด้วยความสะดวก ปลอดภัยอย่างแท้จริง โดยบริการขนส่งสาธารณะต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้เท่าเทียมกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2015 6:57 pm    Post subject: Reply with quote

ยันลิฟท์บนรถไฟฟ้าบีทีเอสใช้ได้ภายใน1ปีแน่นอน
เดลินิวส์
วันศุกร์ 23 มกราคม 2558 เวลา 12:08 น.

กทม.เร่งสร้างลิฟท์คนพิการบนบีทีเอส ยันเสร็จใน1ปีตามศาลสั่งแน่นนอน เผย8สถานีติดปัญหาก่อสร้างบังอาคารอาจล่าช้าจากแผนบ้างเล็กน้อย

นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์รองผู้อำนวยการสำนักการโยธากรุงเทพมหานคร (กทม.)กล่าวว่า จากกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้กทม.จัดทำลิฟต์ขึ้นลงสำหรับผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้ง23 สถานีและให้จัดทำอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทั้ง23 สถานีและให้ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอสโดยให้เว้นที่สำหรับจอดเก้าอี้เข็นคนพิการให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า120 ซม.และให้ราวจับสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า80 ซม.บริเวณทางขึ้นลงและติดสัญลักษณ์คนพิการไว้ทั้งในและนอกตัวรถที่จัดให้สำหรับคนพิการโดยให้ดำเนินการตามคำสั่งศาลให้แล้วเสร็จภายใน1 ปีหลังจากมีคำพิพากษานั้นในส่วนของลิฟท์โดยสารสำหรับผู้พิการกทม.ได้ดำเนินการติดตั้งลิฟท์ในส่วนแรกไปแล้ว4 สถานีและขณะนี้ ทางสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.)ได้ลงนามจ้างบริษัทเสรีการโยธาทำการติดตั้งลิฟท์ผู้พิการเพิ่มเติมบนสถานีบีทีเอสส่วนสัมปทานที่ยังไม่มีลิฟท์โดยสารสำหรับผู้พิการเพิ่มเติมอีก19 สถานีจากทั้งหมด 23สถานี มูลค่าสัญญา 350ล้านบาท โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่31 ก.ค.ปี57 กำหนดเสร็จ450 วันหรือ15 เดือนซึ่งจะครบกำหนดเสร็จในเดือนพ.ย.ปี58นี้

นายทวีศักดิ์ กล่าวต่อว่าอย่างไรก็ตามการก่อสร้างลิฟท์โดยสารผู้พิการในสถานนีรถไฟฟ้าบีทีเอสเกิดปัญหาตัวลิฟท์ที่ก่อสร้างจะไปบิดบังหน้ทอาคารร้านค้าที่อยู่ริมทางเท้าจนเจ้าของอาคารมีการยื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างขึ้นซึ่งสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีปัญหาดังกล่าวมีจำนวน 8สถานนีได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสนามเป้า นานา เอกมัย ทองหล่อและศาลาแดง ซึ่งกทม.ก็ได้ทำการปรับรูปแบบของลิฟท์และปรับแนวการก่อสร้างเพื่อให้กระทบต่ออาคารร้านค้าดังกล่าวน้อยที่สุดแต่ก็จะทำให้ก่อสร้างต้องล่าช้าออกไปจากกำหนดเดิมซึ่งในสถานีที่มีปัญหาก่อสร้างทั้ง8สถานนีนั้นลิฟท์ผู้โดยสารคนพิการอาจเปิดใช้งานได้ไม่พร้อมกับสถานีอื่นๆที่น่าจะเปิดใช้งานได้ประมาณเดือนพ.ย.58นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2015 11:18 pm    Post subject: Reply with quote

ชัยชนะของ"มนุษย์ล้อ" ศาลฯสั่งกทม.ติดตั้งลิฟต์ทุกสถานีรถไฟฟ้าBTS


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
24 มกราคม 2558 07:04 น.


ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เป็นเวลากว่า 15 ปีแล้ว ที่รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดให้บริการ เพื่อเป็นทางเลือก และลดปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ โดยสายแรกเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 คือ สายสุขุมวิท ระยะทาง 17 กม. และ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2554 ได้เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย สายสุขุมวิทอย่างเป็นทางการ ระยะทาง 5.25 กม. จากสถานีอ่อนนุช ถึงสถานีแบริ่ง และสายสีลม ระยะทาง 6.5 กม. ตลอดเวลาดังกล่าว กลุ่มผู้พิการ โดยเฉพาะกลุ่ม "มนุษย์ล้อ" ได้แต่มอง ไม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้โดยลำพัง หรือถ้าจะเข้าไปใช้ ก็เป็นไปด้วยความยุ่งยาก ทุลักทุเล เพราะการออกแบบก่อสร้างสถานี ไม่ได้จัดสร้างลิฟต์ ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการอย่างเพียงพอ

ความจริงแล้วคนกลุ่มนี้ ได้พยายามรณรงค์ ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่สังคม ถึงความเท่าเทียมของคนพิการในการเดินทาง ว่ารัฐต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับพวกเขา มาตั้งแต่ปี 2538 ก่อนที่จะมีการทำสัญญาการก่อสร้างรถไฟฟ้าในปี 2539 เสียอีก เพราะตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ก็กำหนดไว้ชัดว่า ต้องจัดสร้างลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งบริเวณสถานี และบนขบวนรถ สำหรับคนพิการ ที่มาใช้บริการระบบขนส่งมวลชน

แต่รถไฟฟ้าบีทีเอส ก็มีการติดตั้งลิฟต์ไว้แค่ 5 สถานีเท่านั้น จากทั้งหมด 23 สถานี คือที่ สถานีสยาม หมอชิต ช่องนนทรีย์ สนามกีฬาแห่งชาติ และ อ่อนนุช ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง และสถานีเชื่อมต่อ ทำให้คนพิการไม่สามารถลงที่สถานีอื่นได้ นอกจากนี้ยังเป็นการติดตั้งลิฟต์แค่จุดเดียวเท่านั้น และไม่มีจุดเชื่อมต่อในการเดินทาง ทำให้เมื่อลงลงลิฟท์มาแล้ว หากคนพิการต้องการข้ามถนนอีกฝั่ง ก็ไม่สามารถทำได้ นอกจากต้องนั่งแท็กซี่ข้ามเอง

นี่คือความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น ที่ทำให้คนพิการไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะนี้ได้

จึงได้ยื่นเรื่องฟ้องผู้เกี่ยวข้องและมีหน้าที่รับผิดชอบ คือฟ้อง กรุงเทพมหานคร (กทม.) ผู้ว่าฯ กทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม. และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ในข้อหา ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ต่อศาลปกครอง

วันที่ 22 กันยายน 2552 เป็นวันตัดสินในยกแรก ผลปรากฏว่า ผู้พิการเป็นฝ่ายแพ้ !!

ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษา ให้ยกฟ้อง ด้วยเหตุผลว่า แม้ขณะนั้นจะมี พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดรายละเอียดของอาคาร สถานี และ ยานพาหนะ ที่จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่อย่างใด การที่กทม. และบมจ.บีทีเอส ไม่ได้ก่อสร้างลิฟต์ และ สิ่งอำนวยความสะดวก จึงไม่อาจถือว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนด

แต่กลุ่มผู้พิการ ก็สู้ต่อในยก 2 โดย นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอภาค กับพวก ยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาลปกครองกลาง ต่อศาลปกครองสูงสูด

และวันที่ 21 มกราคม 2558 ก็เป็นวันแห่งชัยชนะของผู้พิการ ที่ต่อสู้มาอย่างทรหด ยาวนาน

ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษา กลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง สั่งให้กรุงเทพมหานคร จัดทำลิฟต์ขึ้นลงสำหรับผู้พิการ ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้ง 23 สถานี และให้จัดทำอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ทั้ง 23 สถานี รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยให้เว้นที่สำหรับจอดรถเข็นคนพิการ มีความกว้างไม่น้อยกว่า 120 ซ.ม. มีราวจับ สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซ.ม. บริเวณทางขึ้นลง และติดสัญลักษณ์คนพิการไว้ ทั้งใน และนอกตัวรถที่จัดให้สำหรับคนพิการ ซึ่งกรุงเทพมหานคร ต้องดำเนินการตามคำสั่งศาลให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปี หลังจากมีคำพิพากษา

ในรายละเอียดของคำพิากษาของศาลปกครองสูงสุดที่กลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ระบุว่า แม้ กทม.โดยผู้ว่าฯกทม. และ บีทีเอสได้ทำสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 34 ก่อนที่จะมีกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกความตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่กำหนดลักษณะ อาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่น ที่ต้องมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ และคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจะออกระเบียบ คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. 44 จึงไม่อาจใช้บังคับกับสัญญาสัมปทานดังกล่าวก็ตาม

แต่เมื่อกฎกระทรวง และระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของกทม. ที่เป็นเจ้าของอาคารสถานีขนส่งมวลชน ต้องแก้ไขปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะ ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ โดยให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงคดีนี้ ปรากฏว่า กทม.ได้จัดทางขึ้น-ลง และลิฟต์ อำนวยความสะดวกแก่คนพิการเพียง 5 สถานี จากสถานีขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี และไม่ได้แสดงให้ศาลเห็นว่า เหตุที่ไม่ได้จัดทางขึ้น-ลง และลิฟต์ อำนวยความสะดวกแก่คนพิการในอีก 18 สถานี เกิดจากข้อจำกัดอันใด

นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามเอกสารสรุปการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าฯ กทม. รายงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามหนังสือที่ กท 4000/3314 ลงวันที่ 4 พ.ค.42 แสดงให้เห็นว่า อยู่ในวิสัยที่กทม. โดยผู้ว่าฯกทม.จะจัดอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ให้เป็นไปตามกฎหมายได้

ดังนั้น เมื่อนับแต่วันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกความตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 42 และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.44

จนถึงวันที่ นายสุภรธรรม กับพวกจำนวน 3 คน นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ในวันที่ 13 ก.ย. 50 เป็นระยะเวลากว่า 6 ปี แต่กทม. เพียงจัดให้มีทางขึ้น-ลง และลิฟต์ อำนวยความสะดวกแก่คนพิการเพียง 5 สถานี จากสถานีขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล้าช้าเกินสมควร การที่ศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของผู้พิการ ที่จะเป็นบรรทัดฐานให้สังคมพึงตระหนักต่อไปว่า การออกแบบอาคาร สถานที่ ที่เป็นบริการสาธารณะนั้น จะต้องคำนึงถึง "ภูมิสถาปัตย์" ที่จะต้องอำนวยความสะดวกแก่คนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นคนปกติ เด็ก คนชรา และผู้พิการ โดยต้องยึดตรรกะ "เพื่อความเท่าเทียม" ไม่ใช่ยึดหลัก "เท่าที่จำเป็น"

เราต้องร่วมกันขับเคลื่อนสังคมไทยจาก "สังคมฐานเวทนานิยม" เมื่อมองผู้พิการ หรือผู้ที่ด้อยโอกาส ไปสู่ "สังคมฐานสิทธิ" ที่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2015 8:46 pm    Post subject: Reply with quote

กทม. คาดติดตั้งลิฟต์ผู้พิการระบบขนส่งมวลชน 56 ตัวเสร็จพ.ย. 58
โดย ณัฐญา เนตรหิน
- คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ ข่าวรายวัน
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคารที่ 27 มกราคม 2558 เวลา 17:11 น.

วันนี้ (27 ม.ค. 58) นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมรายการ “สถานีประชาชน” ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดีรังสิต กรณีศาลปกครองมีคำตัดสินให้กรุงเทพมหานครติดตั้งลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ และให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือและให้การสนับสนุน โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี โดยมีผู้ร่วมรายการ คือ นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ นายมานิต อินทร์พิมพ์ ตัวแทนผู้พิการที่ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และนายเจษฎา อนุจารี ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ โดยรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวว่า กรุงเทพมหานครรู้สึกดีใจและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ศาลมีคำตัดสินดังกล่าว ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้ดำเนินการด้านต่างๆ แก่ผู้พิการเกินกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้พิการสามารถเดินทางได้ด้วยตนเอง

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ได้ติดตั้งและเปิดให้บริการลิฟต์สำหรับผู้พิการในโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร สายสุขุมวิท 5 สถานี รวม 11 ตัว ส่วนต่อขยายสายสีลม 2 สถานี รวม 8 ตัว และส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (ตากสิน – บางหว้า) 4 สถานี รวม 16 ตัว และในปี 2558 มีแผนติดตั้งเพิ่มอีก 19 สถานี รวม 56 ตัว ซึ่งมีการลงนามในสัญญาจ้างและเริ่มติดตั้งแล้ว เหลือเพียง 8 ตัวที่ยังไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากประชาชนที่มีบ้านเรือนในบริเวณดังกล่าวไม่ยินยอมเพราะแจ้งว่าบดบังทัศนียภาพหน้าบ้านเรือนของตน ซึ่งจะมีการเจรจาหาข้อตกลงโดยเร็ว หากทุกอย่างเรียบร้อยจะสามารถดำเนินการติดตั้งลิฟต์ได้ครบทั้ง 56 ตัว ภายในเดือน พ.ย. 58 รวมถึงจะมีการจัดทำจุดพักคอยสำหรับผู้พิการด้วย

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร ได้มีการทดลองให้บริการรถแท็กซี่สำหรับผู้พิการซึ่งมีระบบไฮดรอลิกที่ผู้พิการสามารถบังคับรถเข็นขึ้นได้เอง โดยในปีนี้จัดรถไว้ให้บริการ 30 คัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 20.00 น. เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเปิดให้บริการฟรีถึง 30 ก.ย. 58 ปัจจุบันให้บริการได้ประมาณ 1,500 เที่ยว/เดือน ผู้สนใจใช้บริการโทร. 0 2294 6524 และขณะนี้กรุงเทพมหานครกำลังรอรถเมล์ชานต่ำที่จะมีการนำมาให้บริการ โดยกรุงเทพมหานครจะมีการปรับพื้นที่บริเวณป้ายรถเมล์ให้มีความเหมาะสมและสะดวกสำหรับผู้พิการต่อไป

//-----------------

สำรวจ "BTS" หลังศาลปค.สั่งอำนวยความสะดวกผู้พิการ
โดย ไทยรัฐออนไลน์
22 มกราคม 2558 15:53

ไทยรัฐออนไลน์ไม่รอช้าออกสำรวจบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสบางจุดและในขบวนรถบางขบวน หลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ต้องสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการที่มาใช้บริการทั้ง 23 สถานี จากปัจจุบันมีเพียงบางสถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2015 11:44 pm    Post subject: Reply with quote

ความเสมอภาคของผู้พิการในการโดยสารรถไฟฟ้า : สิทธิที่ต้องแลกมาด้วยการต่อสู้ !?


โดย ทีมข่าวอาชญากรรม - ครองธรรม ธรรมรัฐ
ASTV
30 มกราคม 2558 11:12 น.

ผู้พิการ ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญในสังคมที่ไม่ควรถูกละเลย ในทางตรงข้ามควรเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลจากรัฐเป็นพิเศษเพื่อให้มีโอกาสทัดเทียมกับบุคคลทั่วไป ทั้งนี้เพราะความเสมอภาคที่แท้จริง คือ “การที่รัฐหรือฝ่ายปกครองจะต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่มีสาระสำคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน และปฏิบัติต่อบุคคลที่มีสาระสำคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันออกไป” ดังที่มาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญฯ 2550 บัญญัติว่า

“บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม”

ฉะนั้น การเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรมจึงสามารถทำได้ และผู้พิการมีสิทธิที่จะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลือจากรัฐ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

ดังเช่นในคดีที่ตัวแทนผู้พิการได้ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครและบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (จำกัดมหาชน) ต่อศาลปกครอง เพื่อเรียกร้องให้มีการก่อสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้พิการหรือผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้พิการสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้เสมอภาคเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

โดยการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า BTS นั้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2535 ในลักษณะของสัญญาสัมปทาน ซึ่งในขณะนั้นมีพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแล้ว แต่กฎหมายดังกล่าวยังมิได้กำหนดรายละเอียดของอาคาร สถานที่และยานพาหนะที่จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ จึงยังมิได้มีการดำเนินการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว

ต่อมาได้มีการออกออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ.2544 ทำให้มีความชัดเจนในรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว แต่ กทม.ก็ยังมิได้มีการดำเนินการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด

ตัวแทนผู้พิการในนามคณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอภาคได้เคยมีหนังสือเรียกร้องและมีการหารือกับ กทม. หลายครั้ง เพื่อให้มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อประโยชน์แก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลเช่นอารยประเทศ แต่ก็ยังไม่เป็นผล สุดท้ายจึงนำเรื่องมาฟ้องต่อศาลปกครอง

คดีนี้แม้จะพ้นระยะเวลาการฟ้องคดีตามมาตรา 49 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ที่จะต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานหรือได้รับแต่เห็นว่าเป็นคำชี้แจงที่ไม่มีเหตุผล แต่เนื่องจากการพิจารณาคดีนี้จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมคือคนพิการและผู้สูงอายุโดยทั่วไป ศาลปกครองจึงรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้แม้จะพ้นระยะเวลาการฟ้องคดีแล้ว (ตามมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน)

ในส่วนเนื้อหาของคดีศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า โดยที่มาตรา 55 แห่งรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดว่า “บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ” แม้ว่าการทำสัญญาก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าดังกล่าวจะเกิดขึ้นก่อนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจะได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ ที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้พิการ

แต่เมื่อกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวได้ออกมามีผลใช้บังคับแล้ว จึงย่อมเป็นหน้าที่ของ กทม.ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกอบกับ กทม.ไม่ได้แสดงให้ศาลเห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อจำกัด ปัญหา อุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถจัดให้มีลิฟต์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการได้ แต่ปรากฏตามคำชี้แจงของ กทม.ต่อศาลปกครองกลางว่า การดำเนินการดังกล่าวอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ และเมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่กฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวใช้บังคับจนถึงวันที่มีการนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เป็นเวลากว่าหกปี การที่ กทม.ไม่ดำเนินการจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บริการรถไฟฟ้าแก่ผู้พิการ คงมีเพียงการก่อสร้างลิฟต์ใน 5 สถานีหลักจาก 23 สถานีเท่านั้น จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

จึงพิพากษาให้ กทม.จัดทำลิฟต์พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ สำหรับผู้พิการตามที่กฎหมายกำหนด ทั้ง 23 สถานี ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี และให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้ความร่วมมือสนับสนุนกรุงเทพมหานครในการจัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกดังกล่าว (อ.650/2557)

เป็นอันปิดคดี... การต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้พิการในการใช้บริการรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นหน้าที่ของ กทม. ที่ควรต้องดำเนินการมาก่อนหน้านี้ คดีนี้จึงเป็นตัวอย่างการใช้สิทธิทางศาลในการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมที่เกิดจากพลังบริสุทธิ์ ซึ่งก่อนเข้ารับฟังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด กลุ่มผู้พิการได้รวมตัวกันและเปล่งเสียงอย่างพร้อมเพรียงว่า... “ศาลปกครองของประชาชน ต้องพึ่งได้” และสุดท้ายได้ออกมาจากห้องฟังผลการพิจารณาคดีด้วยสีหน้าที่ปีติและดีใจ ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจแก่ผู้พบเห็นทีเดียวครับ....
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2015 12:33 am    Post subject: Reply with quote

เปิดตัว “อิออน แรบบิท” หวังยอดสมาชิกรวมกว่า 4 ล้านใบ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
15 กุมภาพันธ์ 2558 14:21 น.


“บีทีเอส กรุ๊ป” จับมือ “อิออน” เปิดตัวบัตรสมาชิกโดยสารรถไฟฟ้า “บีทีเอส” โฉมใหม่ “อิออน แรบบิท” พร้อมมอบสิทธิประโยชน์เต็มที่ ทั้งส่วนลดค่าโดยสาร ร้านค้าพันธมิตร รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลและชำระสินค้า ตลอดจนชมภาพยนตร์ เล่นโบว์ลิ่งและไอซ์สเก็ตในเครือ “เมเจอร์” คาดขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น 7 แสนใบจากฐานเดิม 3.5 ล้านใบ

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “บีทีเอส กรุ๊ป” คือผู้นำในธุรกิจระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นที่การแก้ปัญหาระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลวงของประเทศที่มีผู้โดยสารเดินทางสูงสุดมากกว่า 9 แสนเที่ยวต่อวัน โดยบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บีเอสเอส) บริษัทในเครือของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ “บีทีเอส” และร้านค้าที่เป็นพันธมิตรแต่เพียงผู้เดียว ภายใต้ชื่อ “แรบบิท” โดยปัจจุบันได้มีการออกบัตรกว่า 3.5 ล้านใบ

ล่าสุด บริษัทฯ ได้ขยายฐานลูกค้าผ่านการเป็นพันธมิตรร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำคือ บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้นำในการให้บริการสินเชื่อรายย่อย โดยเตรียมเปิดตัว บัตรสมาชิก “อิออน แรบบิท” เพื่อมุ่งเน้นเพิ่มการให้บริการด้านการเงินในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีช่องทางในการชำระเงินที่หลากหลาย โดยจะเริ่มเปิดให้สมัครในวันที่ 16 ก.พ.58

“บัตรใบใหม่ที่เกิดจากความร่วมมือกันในครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมธุรกิจของทั้งสององค์กร แต่ยังมอบความสะดวกสบายที่มาพร้อมกับสิทธิพิเศษมากมายให้แก่ผู้ถือบัตรอีกด้วย โดยผู้ถือบัตรสมาชิก อิออน แรบบิท จะได้รับส่วนลดพิเศษ 4 บาทในวันเสาร์และอาทิตย์ นอกจากนี้ยังจะได้รับข้อเสนอพิเศษมากมายจากร้านค้าพันธมิตรของเราที่ร่วมรายการ อาทิ ส่วนลด 10% จาก แมคโดนัลด์ เป็นต้น”

บัตรสมาชิก “อิออน แรบบิท” ยังให้วงเงินแก่ผู้ถือบัตรในรูปแบบของสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อผ่อนชำระสินค้า โดยผู้ถือบัตรจะสามารถผ่อนชำระค่าสินค้าตามร้านค้าต่างๆ ได้กว่า 1.6 หมื่นร้านค้าที่เป็นพันธมิตรกับอิออน รวมถึงการถอนเงินสดที่เครื่องเอทีเอ็มกว่า 3.4 หมื่นเครื่องทั่วประเทศ โดย “บีทีเอส กรุ๊ป” และ “อิออน” ตั้งเป้าหมายในการออกบัตรสำหรับโครงการความร่วมมือนี้ไว้มากกว่า 7 แสนใบ

ทางด้าน นายยาซูฮิโกะ คอนโดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับบริษัทขนส่งมวลชนครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกและเป็นก้าวสำคัญสำหรับ “อิออน” โดยเชื่อว่าบัตรนี้จะมอบสิทธิประโยชน์มากมายแก่ผู้ถือบัตรในการใช้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอส และร้านค้าพันธมิตร รวมถึงตอบโจทย์ชีวิตที่ทันสมัยของคนเมืองในไลฟ์สไตล์แบบเร่งด่วนได้

“บัตรสมาชิก อิออน แรบบิท จะทำให้ อิออน สามารถขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้เดินทางในเมืองเป็นประจำที่ต้องการได้รับความสะดวกสบายขณะเดินทาง โดยความร่วมมือระหว่างกันในครั้งนี้จะเป็นการผสานจุดแข็งของทั้ง 2 บริษัทในการมอบบริการที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้าและตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน”

ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรสมาชิกอิออนแรบบิท ยังจะได้รับสิทธิประโยชน์อีกมากมาย อาทิ สิทธิ์ในการซื้อตั๋วชมภาพยนต์ครึ่งราคาที่โรงภาพยนตร์ในเครือ “เมเจอร์ ซีนีเพล็ก กรุ้ป” หรือรับสิทธิ์ฟรีชั่วโมงที่ 2 เมื่อเล่นโบว์ลิ่ง หรือร้องคาราโอเกะที่ “เมเจอร์ โบว์ล ฮิต” และ “บลูโอ ริธึม แอนด์ โบว์ล” และเล่นสไอซ์สเก็ตที่ “ซับซีโร่ ไอซ์สเก็ต คลับ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2015 11:18 pm    Post subject: Reply with quote

ระทึก! พบวัตถุต้องสงสัย BTS พญาไท ตรวจพบแค่กล่องเปล่า


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
22 กุมภาพันธ์ 2558 17:59 น.

เมื่อเวลาประมาณ 15.30 น.วันนี้ (22 ก.พ.) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถานีบีทีเอส พญาไท ได้ใช้เชือกกั้นพื้นที่ที่พบวัตถุต้องสงสัยที่บริเวณชั้น 2 ของสถานีรถไฟฟ้า ใกล้จุดบริการลูกค้าและประชาสัมพันธ์
อย่างไรก็ตาม หลังจากเจ้าหน้าที่อีโอดีเข้าตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยดังกล่าวแล้ว พบว่าเป็นกล่องเปล่า ล่าสุด เปิดใช้ทางเข้า-ออกสถานีได้ตามปกติแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2015 4:48 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลทำสกายวอล์กจากบางนา-อุดมสุข
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 26 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:58 น.

กทม.เตรียมสร้างสกายวอล์กเชื่อมบีทีเอสสถานีอุดมสุข ถึงสถานีบางนา ยาวกว่า 1 กม.คาดเสร็จปี 59

รายงานข่าวแจ้งว่ากรุงเทพมหานคร(กทม.)เตรียมประกวดราคาโครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับหรือสกายวอล์ก (SkyWalk) เชื่อมต่อกับระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทจากสถานีอุดมสุข ถึงสถานีบางนาระยะทางกว่า 1,000 เมตรรวมพื้นที่ 7,150เมตรเงินงบประมาณโครงการ477 ล้านบาทเพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการระบบขนส่งมวลชนและเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางเพื่อเปลี่ยนถ่ายการเดินทางระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง450 วันคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี2559 ก่อนหน้านี้เมื่อกลางปี 2557กทม.ได้เปิดใช้งานทางเดินลอยฟ้า(สกายวอล์ก)เชื่อมบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีวงเวียนใหญ่ ถึงแยกตากสินระยะทาง 425เมตรซึ่ง บริษัท กรุงเทพธนาคมจำกัด (เคที)ได้จัดสรรงบประมาณ120ล้านบาทสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและปลอดภัยของประชาชนโดยมีหลังคาปกคลุมตลอดเส้นทางนอกจากนี้ที่บริเวณดังกล่าวยังมีการติดกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัยและมีไฟฟ้าส่องสว่างตลอดเส้นทางนอกจากนี้ ยังมีการปรับพื้นที่ว่างด้านล่างสถานีให้ใช้ประโยชน์หลากหลายขณะนี้ มีเส้นทางสกายวอล์กรวมแล้วประมาณกว่า2,000เมตร

ในปี 58กทม.มีโครงการก่อสร้างสกายวอล์กเส้นทางสถานีอุดมสุขถึงสถานีบางนายาวประมาณกว่า 1,000 เมตร และเส้นทางจากสถานีบางหว้า ถึงท่าเรือตากสินเพชรเกษม ระยะทาง 245เมตรเพื่อเชื่อมเส้นทางระหว่างารถไฟฟ้าและการสัญจรทางเรือเนื่องจากกทม.อยู่ระหว่างการหาผู้ประกอบการเดินเรือในคลองภาษีเจริญหลังจากหมดสัญญาทดลองเดือนเรือกับเคที ในช่วงกลางปีนี้และในอนาคตกทม.เตรียมที่จะก่อสร้างตามเส้นทางรถไฟฟ้าให้ได้เกือบตลอดทั้งแนวเส้นทางรวมถึงการเชื่อมต่อกับสถานที่สำคัญๆ เช่น ศูนย์การประชุมไบเทคบางนาเป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 5:02 am    Post subject: Reply with quote

BTS ลุ้นรับงานเดินรถ 6 เส้นใหม่ ใช้เงินลงทุน 1.23 แสนล้านใน 5 ปีนี้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มีนาคม 2558 09:49 น. (แก้ไขล่าสุด 9 มีนาคม 2558 16:53 น.)


“บีทีเอส กรุ๊ป” ตั้งเป้างบลงทุน 5 ปีนี้ 1.23 แสนล้านบาท หากได้รับงานบริหารเดินรถไฟฟ้าทั้ง 6 เส้นทางใหม่ ระยะทาง 118.5 กม. คาด หนุนรายได้จากการรับจ้างเดินรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแตะ 1 หมื่นล้านบาทในปี 2561

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษทย่อย BTS เปิดเผยแผนการลงทุน 5 ปีนี้ (2558-2562) ว่า บริษัทฯ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1.23 แสนล้านบาท หากบริษัทฯ ได้งานรับจ้างบริหารเดินรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ 6 เส้นทาง รวมระยะทาง 118.5 กม.

ประกอบด้วย 1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กม. ซึ่งขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างเจรจาโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) จากนั้นบริษัทจึงจะเจรจากับ กทม.ในการรับจ้างเดินรถต่อไป คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญารับจ้างบริหารเดินรถกับ กทม.ในไตรมาส 3/2558 ซึ่งล่าช้ากว่าแผนเดิมที่วางไว้ในไตรมาส 2/2558 คาดว่าเส้นทางรถไฟฟ้าสีเขียวใต้แบริ่ง-สมุทรปราการจะเปิดให้บริการได้ในปี 2561-2562 เบื้องต้นคาดว่าจะมีผู้โดยสารใหม่เข้าระบบ 20-30% จากจำนวนผู้โดยสารที่ กทม.คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงวันละ 1 แสนคน

ทั้งนี้ บริษัทฯ จะลงทุนซื้อรถไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก 15 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ ใช้เงินลงทุน 9,000-10,000 ล้านบาท เพื่อรองรับเส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ หากบริษัทฯ สามารถเจรจากับ กทม.ได้ทันไตรมาส 3 ตามแผนที่วางไว้ก็จะนำการจัดซื้อรถไฟฟ้าดังกล่าวมารวมกับการสั่งซื้อรถไฟฟ้าอีก 7 ขบวนที่รองรับเส้นทางเดินรถในคราวเดียวกัน ทำให้การประมูลสั่งซื้อรถไฟฟ้าได้ต้นทุนที่ถูกลง ซึ่งปัจจุบันบีทีเอสมีรถไฟฟ้ารองรับอยู่ 52 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้

2. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิด-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กม. คาดว่าจะได้ข้อสรุปและลงนามสัญญาการก่อสร้างโยธาภายในกลางปีนี้ และบริษัทฯ น่าจะมีโอกาสได้รับให้เป็นผู้บริหารการเดินรถส่วนต่อขยายเส้นทางนี้ มีแผนเปิดให้บริการในปี 2562 โดยบริษัทฯ จะต้องลงทุนซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 20-21 ขบวน รวมทั้งลงทุนระบบไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ ระบบตั๋ว คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

3. ระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (LRT) จากบางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 18.3 กม. มูลค่าโครงการ 2.5 หมื่นล้านบาท บริษัทฯ คาดว่าจะมีการประมูลเส้นทางนี้ในปีนี้ ขณะนี้ผลศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเสร็จแล้วพร้อมกับการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เสร็จเรียบร้อยแล้ว รอนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าปลายปีนี้จะเริ่มงานก่อสร้าง และแล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2561

4. รถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทา ช่วงวัชรพล- ทองหล่อ เป็นโครงการของ กทม.ที่จะลงทุนด้านงานโยธา มูลค่าโครงการ 2.4 หมื่นล้านบาท และบริษัทคาดว่าจะมีโอกาสได้งานรับจ้างบริหารการเดินรถจาก กทม. ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ คาดว่าทำเสร็จปลายปีนี้

5. ส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงบางหว้า-บรมราชชนนี ระยะทาง 7 กม. คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2562 ขณะนี้ กทม.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการแล้ว คาดเสร็จสิ้นปีนี้ใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าสายสีเทา โดยเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ตลิ่งชัน ซึ่ง BTS มีโอกาสได้เจรจาบริหารเดินรถ เพราะระยะทางเพียง 7 กม. ซึ่งใช้รถไฟฟ้าเพิ่มอีก 6 ขบวน

และ 6. รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี คาดว่าจะเปิดประมูลในปลายปีนี้ และจะเปิดให้บริการในปี 2563-64 ขณะนี้รอนำเสนอเข้า ครม.พิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ การเดินรถสายสีชมพูเป็นรถแบบโมโนเรล ซึ่งบริษัทจะเข้าประมูล

สำหรับแหล่งเงินลงทุนทั้ง 6 โครงการดังกล่าวข้างต้นบริษัทฯ มีความพร้อม โดยมีเงินสดในมือกว่า 3 หมื่นล้านบาท เงินจากการออกวอร์แรนต์ที่มีอายุ 3 ปี วงเงิน 4.8 หมื่นล้านบาท และมีความสามารถกู้ได้อีกราว 1 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ หากบริษัทได้รับเลือกให้เดินรถทั้ง 6 เส้นทางดังกล่าวข้างต้นจะทำให้มีผู้โดยสารเข้าระบบบีทีเอสเพิ่มขึ้น 1 ล้านคน/วัน หนุนรายได้จากการรับจ้างเดินรถเพิ่มขึ้นมาเป็น 1 หมื่นล้านบาทในปี 2561 จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้ 1.7 พันล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2557/58 (เม.ย. 57-มี.ค. 58) คาดว่าจำนวนผู้โดยสารโตขึ้นจากปีก่อน 3% และรายได้จากการเดินรถโต 6% โดยยอมรับว่าจำนวนผู้โดยสารปีนี้โตต่ำกว่าเป้าที่วางไว้โต 5-8% แต่รายได้จากเดินรถเป็นไปตามเป้า

ส่วนการปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา หากจะปรับขึ้นก็จะมีผลในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วัน ปัจจุบันบริษัทเก็บค่าโดยสาร 15-42 บาท/เที่ยว ซึ่งเก็บต่ำกว่าสิทธิที่เก็บได้ในช่วง 20-60 บาท/เที่ยว

//---------------------------

BTS ส่งสัญญาณเตรียมปรับค่าโดยสารใหม่ มิถุนายน 58
by Phakaphong Udomkalayalux
Voice TV
9 มีนาคม 2558 เวลา 19:44 น.


BTS เตรียมทุ่มงบประมาณ 1 แสน 2 หมื่นล้านบาท เข้าร่วมประมูลรถไฟฟ้า 6 เส้นทางใหม่ภายใน 5 ปี และส่งสัญญาณเตรียมปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้ารอบใหม่ มิถุนายนนี้

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า บีทีเอส เตรียมเงินทุนสำหรับการประมูลโครงการเดินรถไฟฟ้า 6 เส้นทาง ระยะทาง 118.5 กิโลเมตร วงเงิน 1 แสน 2 หมื่น 3 พันล้านบาท ภายในช่วง 5 ปีนี้ (ปี 58-62) ทำให้จะมีรายได้จากการเดินรถได้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาทในปี 2561 เติบโตจาก 1 พัน 7 ร้อยล้านบาทในงวดปี 57/58 (เม.ย.57-มี.ค.58) จากปัจจุบันเดินรถระยะทาง 36.3 กิโลเมตร

โดยปีนี้คาดว่าจะงานเดินรถ 3 เส้นทาง คือ สายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง -สมุทรปราการ สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ และระบบรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา หรือ LRT บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมเตรียมเข้าร่วมประมูลบริหารตั๋วร่วม ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ใน 6 เดือนข้างหน้า เพื่อต่อยอดธุรกิจบัตรแรบบิท และสามารถเดินทางทุกระบบคมนาคม

ทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มเข้าระบบบีทีเอส 1 ล้านคนต่อวัน โดยบีทีเอสใช้วิธีการเดินรถที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ไม่ได้ประโยชน์หากผู้โดยสารเพิ่มขึ้น และดีกว่าการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชน หรือ PPP ที่ใช้เวลาอย่างน้อย 9 เดือน

และคาดว่าจะมีการปรับขึ้นค่าโดยสาร ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ 5-6% แต่ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น เงินเฟ้อที่ผ่านมาต่ำกว่าคาด ค่าใช้จ่าย และ ดัชนีราคาผู้บริโภค หากจะปรับขึ้นต้องแจ้งก่อนปรับจริง 30 วัน ปัจจุบัน BTS เก็บค่าโดยสาร 15-42 บาท ซึ่งเก็บต่ำกว่าสิทธิที่เก็บได้ในช่วง 20-60 บาท และมีผู้ใช้บริการ 7 แสนคนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 13/03/2015 3:21 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯ สั่ง มท.เจรจาชะลอขึ้นค่ารถไฟฟ้า ห่วง ปชช.เดือดร้อน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
12 มีนาคม 2558 14:29 น.

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีบีทีเอสเตรียมปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้า ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นไปตามสัญญาสัมปทานที่ บีทีเอสมีกับกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2542 แต่มีการปรับขึ้นค่าโดยสารอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ตามสัญญาสัมปทาน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกังวลเรื่องนี้ที่จะไปกระทบกับประชาชน จึงมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยไปพูดคุยกับกรุงเทพมหานคร เพื่อชะลอเรื่องขึ้นค่าโดยสารออกไปก่อน ทั้งนี้ หากการเจรจาไม่สำเร็จ ก็ขอให้ประชาชนเข้าใจซึ่งคาดว่าจะมีการปรับขึ้นราคา 2 บาท

//--------------------


ผู้บริหาร BTS ยืนยันยังไม่เคาะค่าโดยสารใหม่


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
12 มีนาคม 2558 15:17 น.

นายอาณัติ อาภาภิรม ผู้บริหารบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ยอมรับว่า ขณะนี้ทางบริษัทฯ ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องการปรับเพิ่มค่าโดยสาร โดยจะมีการพิจารณาจากหลายตัวแปร โดยเฉพาะผลกระทบต่อประชาชน โดยยืนยันว่า ปัจจุบันอัตราค่าโดยสารที่มีการเรียกเก็บ ยังไม่เต็มเพดาน คือมีการจัดเก็บอยู่ในช่วง 15-42 บาท ขณะที่รัฐบาลได้อนุมัติให้มีการจัดเก็บได้เต็มเพดาน ที่ 15-45 บาท โดยในเงื่อนไขสัญญาก็ระบุให้สามารถปรับราคาได้ในระยะเวลา 1 ปีครึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 54, 55, 56 ... 155, 156, 157  Next
Page 55 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©