RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13273780
ทั้งหมด:13585076
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 149, 150, 151  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2015 5:27 am    Post subject: Reply with quote

เล็งเคาะราคาสัญญา3รถไฟสีแดงเกือบ 3.4 หมื่นล้าน-จ่อขอเพิ่มงบ


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
25 กุมภาพันธ์ 2558 18:43 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.จ่อปิดดีลสัญญา 3 งานระบบและเดินรถสายสีแดง แย้มกลุ่มมิตซูบิชิยอมลดราคาเหลือไม่ถึง 3.4 หมื่นล.แม้เกินกรอบวงเงินแต่รับได้ เหตุราคาเก่าคิดไว้นานแล้ว เตรียมสรุปเสนอครม.ขอเพิ่มกรอบ “ปลัดคมนาคม”คาดสรุปในเม.ย.เซ็นสัญญา เร่งเปิดเดินรถตลอดสายในปี 61 พร้อมเร่งทำทางเชื่อมสีแดงกับสีม่วง ที่สถานีบางซ่อนอำนวยความสะดวก

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังความคืบหน้าโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ของการถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่สถานีบางซ่อนซึ่งเป็นจุดเขื่อมต่อ ของ 2 โครงการ วานนี้ (25 ก.พ.) ว่า เนื่องจากการประกวดราคา สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาท ยังไม่สามารถสรุปผลการเจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ซึ่งเสนอราคาที่ 49,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสรุปผลในเดือนเมษายนนี้ โดยหากวงเงินสุดท้ายเกินกรอบที่ได้รับอนุมัติ ร.ฟ.ท.จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติ ซึ่งคาดว่าจะลงนามในสัญญากันได้ในเดือนพฤษภาคม ดำเนินก่อสร้าง 4 ปี จะทำให้การเดินรถเชื่อมของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและ บางซื่อ-รังสิตเชื่อมต่อกันสมบูรณ์แบบ พร้อมกันนี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมสรุป โครงการสายสีแดงส่วนต่อขยายจาก รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ซึ่งผ่านการพิจารณาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) แล้วเสนอครม.ขออนุมัติต่อไปด้วย

โดยก่อนหน้านี้ร.ฟ.ท.ได้นำรถดีเซลรางมา เปิดให้ประชาชนได้ทดลองใช้ฟรี ช่วง ตลิ่งชัน-บางบำหรุ เริ่มเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2555 เพื่อเป็นการรักษารางในระหว่างที่รอการจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าแล้วเสร็จและเปิดเดินรถได้ในปี 2561 แต่เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารน้อยมากเฉลี่ย 10-12 คน ไม่คุ้มค่า จึงหยุดบริการไปหลายเดือนแล้ว แต่ยังคงวิ่งรถเปล่าเพื่อเป็นการรักษาทางต่อไปแต่หากสายสีม่วงเปิดเดินรถในปี 2559 คาดว่าจะทำให้การเชื่อมต่อที่สถานีบางซ่อน มีความสะดวกมากขึ้น อาจจะพิจารณาเปิดเดินรถดีเซลขึ้นอีกครั้ง

รายงานข่าวจากร.ฟ.ท.แจ้งว่า การเจรจาราคากับกลุ่ม MHSC สรุปราคาล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการประเมินราคาที่ร.ฟ.ท.รับได้ว่าไม่ควรเกิน 3.5 หมื่นล้านบาทเนื่องจากวงเงินเดิม ที่2.79 หมื่นล้านบาทกำหนดมานานแล้ว โดยจะมีการเสนอครม.ขอเพิ่มกรอบวงเงินต่อไป

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ได้ข้อสรุปเรื่องการก่อสร้างสะพานกลับรถสะพานกลับรถ (U-Turn) 2 ตัว คือ บริเวณ หมู่บ้านภาณุรังสี และไทรน้อย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้กระทรวงคมนาคมและ ร.ฟ.ท.ดำเนินการก่อสร้าง หลังจากโครงการสายสีแดงกระทบต่อเดินทางของประชาชน โดยให้ร.ฟ.ท.นำเรื่องเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) เพื่อของบประมาณในการออกแบบประมาณ 3 ล้านบาท ค่าก่อสร้างประมาณ 200 ล้านบาทระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 3 ปี โดยให้ประสานกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย( กทพ.)เพื่อออกแบบให้สอดคล้องกับทางพิเศษ ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย

ส่วนการเชื่อมต่อที่สถานีบางซ่อนของสายสีแดงกับสายสีม่วงนั้น ได้สรุปให้ร.ฟ.ม.เป็นผู้ลงทุนออกออกแบบและก่อสร้าง ทางเชื่อมต่อบนพื้นที่ประมาณ 800 ตารางเมตรซึ่งเป็นของร.ฟ.ท.โดยให้ใช้วิธีเช่าใช้พื้นที่จาก ร.ฟ.ท.ไปดำเนินการพร้อมทั้งได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ไปด้วย โดยค่าก่อสร้างทางเชื่อมต่อประมาณ 24 ล้านบาท ซึ่งรฟม.ได้ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้วคาดว่าจะก่อสร้างประมาณ 1 ปีกว่า จะเสร็จพร้อมกับการเปิดเดินรถสายสีม่วงจะทำให้ระชาชนเดินเชื่อมต่อกันได้สะดวกรวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและคนชรา ด้วย

“ทางร.ฟ.ท.ต้องรายงานบอร์ด ให้รับทราบ เพื่อให้ รฟม.เข้ามาดำเนินการในพื้นที่ของร.ฟ.ท.ในลักษณะการเช่าใช้พื้นที่ ซึ่งเหตุผลที่ให้รฟม.เป็นผู้ดำเนินการเนื่องจาก สายสีม่วงของรฟม.ยังอยู่ระหว่างก่อสร้างจะสะดวกมากกว่าให้ ร.ฟ.ท.ทำเพราะงานก่อสร้างสายสีแดงเสร็จแล้ว อีกทั้งเรื่องการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ รฟม.จะมีความคล่องตัวมากกว่า”นางสร้อยทิพย์กล่าว

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีต้องการให้มีการเชื่อมต่อกันของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก จึงมีการเสนอให้กระทรวงคมนาคมยกเลิกมติ ครม.เดิม และปรับหลักเกณฑ์ในการสรรหาผู้เดินรถใหม่ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชนมากที่สุด ซึ่งนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า การลงทุนทางรางรัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุน ส่วนเอกชนจะลงทุนในเรื่องของตัวรถและระบบสัญญาณ

// ======================

สรุปราคาสีแดงสัญญา 3 เม.ย.นี้
บ้านเมือง
วันพฤหัสบดี ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558, 09.50 น.


นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาราคากับกลุ่มกิจการร่วมค้า เอ็มเอชเอสซี คอนโซเตียม ซึ่งประกอบด้วย บริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดรัสเตรียล บริษัท ฮิตาชิ และบริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น นั้นคาดว่าจะสรุปได้ภายในเดือนเมษายนนี้ โดยหากวงเงินสุดท้ายเกินกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติไว้ รฟท.ต้องนำเสนอ ครม.ปรับเพิ่มวงเงิน โดยคาดว่าหลังลงนามสัญญา จะใช้เวลาดำเนินงาน 4 ปี จากนั้นการเดินรถเชื่อมต่อของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและ บางซื่อ-รังสิต จะสมบูรณ์แบบ และขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปโครงการสายสีแดงส่วนต่อขยายจาก รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ผ่าน EIA แล้ว กระทรวงคมนาคมจะได้เสนอ ครม.ขออนุมัติต่อไป

นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า ในวันนี้ได้ลงพื้นที่สถานีบางซ่อน เพื่อแก้ปัญหาจุดเขื่อมต่อโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) โดยได้ข้อสรุปเรื่องการก่อสร้างสะพานกลับรถ 2 ตัว คือ บริเวณหมู่บ้านภาณุรังษี และไทรน้อย ตามคำสั่งศาลที่ให้กระทรวงคมนาคมและ รฟท.ดำเนินการก่อสร้าง เนื่องจากโครงการสายสีแดงส่งผลกระทบต่อเดินทางของประชาชน

โดยให้ รฟท.นำเรื่องเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เพื่อของบประมาณในการออกแบบและก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2 ปีครึ่ง พร้อมกันนี้ให้ประสานการออกแบบกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อให้สอดคล้องกับการก่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย

ส่วนการเชื่อมต่อที่สถานีบางซ่อนของสายสีแดงกับสายสีม่วงนั้นได้สรุปให้ รฟม.เป็นผู้ลงทุนค่าออกแบบและก่อสร้าง ทางเชื่อมต่อบนพื้นที่ประมาณ 800 ตารางเมตร ซึ่งเป็นของ รฟท.โดยให้ใช้วิธีเช่าใช้พื้นที่จาก รฟท.ไปดำเนินการ พร้อมทั้งได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ไปด้วย โดยค่าก่อสร้างทางเชื่อมต่อประมาณ 24 ล้านบาท ซึ่ง รฟม.ได้ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้ว คาดว่าจะก่อสร้างประมาณ 1 ปีกว่า

// ------------------------

คาดเซ็นสัญญารถไฟฟ้าสายสีแดงพ.ค.นี้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558, 10:35

คมนาคมคาดรถไฟฟ้าสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" ลงนามสัญญาเดือนพ.ค.นี้ กำหนดเสร็จทันปี 2561

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงสัญญาที่ 3 ช่วงบางซื่อ - รังสิต ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการต่อรองราคากับเอกชน หากได้ข้อสรุปจะต้องนำเสนอของคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาได้ประมาณเดือน พ.ค. 2558

"จากนั้นจะเริ่มก่อสร้าง ตามกรอบเวลานั้นใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ 4 ปี กำหนดแล้วเสร็จในปี 2561"

นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่าการขยายเส้นทางจากสถานีรังสิตไปศูนย์ธรรมศาสตร์รังสิตและผ่านอีไอเอ ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนของการปรับเอกสารให้สมบูรณ์แล้วส่งมายังกระทรวงคมนาคมเพื่อนำไปสู่การอนุมัติก่อสร้าง และหากการก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้การเดินทางจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก หรือจากตลิ่งชัน-รังสิต - ธรรมศาสตร์ สะดวกขึ้น

สำหรับโครงการรถไฟชานเมือง สายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)นั้น จากการลงพื้นที่พบว่าสภาพระบบราง ระบบลิฟท์ บันไดเลื่อนของรถไฟสายสีแดงมีสภาพความแข็งแรง

ขณะที่จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีบางซ่อนของสายแดงกับสถานีบางซ่อนของรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้น เบื้องต้นจะให้ รฟม. เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างจุดเชื่อมต่อดังกล่าวซึ่งมีขนาดพื้นที่ 800 ตารางเมตร คาดว่าใช้งบ 24 ล้านบาท และเปิดโอกาสให้รฟม.เช่าพื้นที่ของ ร.ฟ.ท. ในจุดดังกล่าวพัฒนาในเชิงพาณิชย์ด้วย

รายละเอียดการพัฒนาจุดเชื่อมต่อดังกล่าวต้องให้ รฟม. และ ร.ฟ.ท. ตกลงเรื่องรายละเอียดค่าเช่าพื้นที่ การออกแบบก่อสร้างจุดเชื่อมต่อก่อนที่จะสามารถกำหนดงบประมาณได้ชัดเจน

นอกจากนี้ยังให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ไปศึกษาออกแบบทางเข้าออกแต่ละสถานีของรถไฟชานเมืองสายสีแดง เช่น สถานีบางซื่อ บางซ่อน บางบำหรุ ตลิ่งชัน เพื่อให้เกิดความสะดวก สบายในการเข้าออกแต่ละสถานี และจัดการจราจรให้เกิดความคล่องตัวเนื่องจากว่าเป็นเส้นทางคู่ขนานกับเส้นทางรถไฟดีเซลราง

นางสร้อยทิพย์ กล่าวต่ออีกว่า ภายหลังจากเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงในปี 2559 ก็จะพิจารณานำรถไฟดีเซลรางมาวิ่งให้บริการบนสายสีแดง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางประชาชนในช่วงที่มีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่มีจุดเชื่อมต่อกันระหว่างสถานีบางซ่อน และยังเป็นการรักษาระบบรางให้คงสภาพสมบูรณ์

ก่อนหน้านี้ รฟท .เคยเปิดให้บริการรถดีเซลรางบนทางยกระดับรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน แต่มีผู้ใช้บริการเพียง10-12คนต่อวันเท่านั้นซึ่งไม่คุ้มค่า จึงได้ยกเลิกไปให้บริการกับประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2015 5:02 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยอมสร้างสะพานลอยแทนสะพานเกษตรอุดมพันธ์
เดลินิวส์ วันศุกร์ 27 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 16:33 น.

รฟท.เร่งแก้ปัญหาโครงการต่อรถไฟสายสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต คืนความสุขชาวดอนเมืองสร้างสะพานลอยเชื่อมการเดินทางประชาชน2ฝั่ง พร้อมรับแก้ตามข้อเสนอแนะที่ประชาชนได้ร้องเรียน

เมื่อวันที่ 27ก.พ. 2558 ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ได้ เปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่2 งานแก้ไขปรับแบบรายละเอียดโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนตามแนวสายทาง เขตจตุจักร บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และในเขตอ.เมืองปทุมธานี อ.ธัญบุรี เข้าร่วมรับฟังความเห็นอีกครั้งหนึ่งเพื่อหาาแนวทางที่ยอมรับให้ได้ทั้ง2ฝ่าย

นายสาธิต มาลัยธรรม วิศวกรโครงการ กล่าวว่า เนื่องจากโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต มีการแก้ไขแบบรายละเอียดทั้งในส่วนของงานโยธา และสถานี เพื่อให้เป็นมาตรฐาน (Standard Gauge)และหลังจาก10วันที่ผ่านมาหลังจากที่ทางรฟม.ได้เชิญให้ประชาชนตามแนวสายทางมารับทราบข้อมูลและร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆจากครั้งที่แล้ว(17ก.พ.58) โดยเรื่องที่ประชาชนได้ขอให้รฟม.ได้ดำเนินการแก้ไขมี2เรื่อง คือ1. การเสนอให้ขยายเส้นทางจากรังสิตไปม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ถึงโรงงานอุตสาหกรรมนวนคร จากขhอคิดเห็นดังกล่าวทาทางทีมวิศวกรมีความเข้าใจถึงความต้องการการใช้ของประชาชนซึ่งโครงการส่วนต่อขยายอยู่ในส่วนอนาคตและจะนำไปศึกษาต่อไป 2.เรื่องผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการดังกล่าว เช่น บ้านแตกร้าว ถนนเสียหาย ปัญหาฝุ่นละออง เสียงดัง การจัดจราจร รถเข้าออกพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงทำทางรถจักรยาน เป็นต้น สำหรับข้อเสนอแนะดังกล่าวทางผู้ดำเนินโครงการได้ดำเนินการปรับแบบทางเท้าให้สามารถใช้เป็นเส้นทางจักรยานได้โดยจะทำความกว้าง2เมตรเพื่อให้จักรยานได้สัญจรได้สะดวก ส่วนในด้านของการทุบสะพานเกษมอุดมพันธ์ ย่านดอนเมืองนั้น ซึ่งเป็นสะพานข้ามทางรถไฟเชื่อมชุมชนเปรมประชากร ทั้ง 2 ฝั่ง ทางผู้รับเหมามีความจำเป็นต้องทุบสะพานเกษมอุดมพันธ์และให้ใช้สะพานเกือกม้าทดแทนเพื่อให้รถยนต์ทั่วไปสัญจรได้ปกติและจะดำเนินการสร้างสะพานลอยคนข้ามทดแทนเพื่อรองรับประชาชนที่สัญจรได้ใช้งานได้ และเริ่มเปิดใช้สะพานเกือกม้าได้วันที่25มี.ค.นี้

ทั้งนี้ภายในที่ประชุมยังมีประชาชนยังให้ความกังวลในด้านการก่อสร้างทางรถไฟโดยได้ทำการถมทีคูคลองเพื่อวางรางรถไฟทำให้ประชาชนหวั่นเกิดปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนที่จะถึงนี้และประชาชนยังได้มีความกังวลถนนถนนโลคัลโรดที่ใช้ในปัจจุบันต้องปิดลงและทำให้ประชาชนสัญจรลำบากขึ้น และสะพานลอยคนข้ามหลายแห่งที่ต้องดำเนินการรื้อย้ายออก.

ภายหลังทางรฟท.ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและจะจัดทีมดำเนินการปรับปรุงจุดที่ได้รับการร้องเรียนโครงการต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2015 12:32 am    Post subject: Reply with quote

คุณโมนบ่นเรื่อง red line commuter ที่ คุยที่อมารีแอร์พอร์ต

mone wrote:
ผมมีเรื่องน่าเสียใจเล็กน้อยจะเล่าให้ฟัง...
...
เมื่อสิ้นเดือนที่แล้ว พ่อกับแม่ผมไปประชุมกับการรถไฟฯ ในกรณีที่การรถไฟฯ จะปิดทางเข้า-ออกสำหรับเว้นพื้นที่ให้โครงการ 3 ล้านล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีแดง จนทำให้คนในชุมชนกว่าร้อยหลังคาเรือน รวมถึงบ้านผมไม่สามารถเข้า-ออกบ้านได้นั้น เรียนตามตรง ผมไม่อยากจะเชื่อเลยว่า ทั้งเพื่อนบ้าน ทั้งหัวหน้าชุมชน ทั้งผู้บริหารเทศบาล ไม่เคยแม้แต่จะให้ความสำคัญหรือไปประชุมร่วมกันทั้งๆ ที่เป็น “ผลประโยชน์ส่วนรวม” เพื่อนบ้านที่ไม่ทราบข่าวก็ไม่เป็นไร ทราบข่าวแต่ไปไม่ได้เพราะติดธุระก็ไม่เป็นไร (มีธุระจำเป็นจริงๆ หรือไม่ คุณรู้อยู่แก่ใจ) แต่ “หัวหน้าชุมชน” และ “เทศบาล” สมควรต้องไป และสุดท้ายเมื่อคุณไม่ไป ก็สมควรที่คุณจะ “ถูกตำหนิ”
...
วันนั้นพ่อกับแม่ต้องไปขึ้นรถไฟแต่เช้า เพื่อหาโอกาสอธิบายในที่ประชุมจนการรถไฟฯ ยอมรับฟัง การรถไฟฯ บอกว่า เขาไม่เคยรับรู้ปัญหานี้มาก่อน แม้แต่กรณีที่ชาวบ้านได้ช่วยกันล่ารายชื่อให้เทศบาลรังสิตนำไปยื่นต่อการรถไฟฯ การรถไฟฯ ก็ยืนยันว่ายังไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนใดๆ ทั้งสิ้น (แสดงว่ารายชื่อนั่นคงจะถูกหมักดองอยู่ที่เทศบาลรังสิตตามสไตล์การทำงานแบบ “ราชการ” สินะ) แต่เรื่องที่ทำให้ใจชื้นขึ้นมาบ้างก็คือ หลังจากได้รับทราบปัญหาแล้ว การรถไฟฯ ก็รับปากว่าในสัปดาห์หน้าจะลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นนิมิตรหมายที่ดี
...
ผมรู้สึกเหนื่อยแทนพ่อกับแม่ ที่ต้องมาคิดแก้ปัญหาให้ชาวชุมชนโดยไร้ความช่วยเหลือ ต้องมาหาทางออกไปรถไฟฟ้าทั้งที่พ้นวัยทำงาน ต้องมาหาถนนให้คนมีรถใช้เป็นทางออกทั้งๆ ที่ไม่มีรถขับ ต้องมาศึกษาว่ารางรถไฟขนาด MG กับ SG มันแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องที่แสนทุเรศทุรัง ทั้งการออกแบบของการรถไฟฯ ผังเมืองและ EIA อันห่วยแตก จนถึงการขาดความร่วมมือของคนในชุมชนของตนเอง
...
อีกเรื่องที่ขอตำหนิก็คือ ในระหว่างการประชุมดังกล่าวนั้น มีกลุ่ม “คนรักรถไฟ” ใช้โอกาสนี้สอบถามข้อมูลรายละเอียดตามประสาคนอยากรู้อยากเห็นเรื่องราวเกี่ยวกับรถไฟไปเสียทุกเรื่อง ในฐานะที่ผมก็เป็นคนรักรถไฟเหมือนกัน ผมขอติท้วงคนในกลุ่มของตนสักเล็กน้อยเถอะว่า ขอให้ดูกาละเทสะบ้าง เนื่องจากการประชุมดังกล่าวถูกจัดขึ้นสำหรับ “รับเรื่องร้องเรียน” ไม่ได้จัดขึ้นเพื่อให้มาแสวงหาความรู้เรื่องรถไฟ เพราะเท่าที่ได้ยินเสียงตำหนิจากผู้ใหญ่ก็คือ กลุ่มคนรักรถไฟใช้เวลาถามโน่นถามนี่ กินเวลาสำหรับคนที่เดือนร้อนจริงๆ เป็นอย่างมาก
...
ผมไม่ได้โกรธอะไรมากมาย เพราะผมก็เป็นคนคนหนึ่งที่ยังต้องพึ่งพาคนในชุมชน เพียงแต่หวังว่า เพื่อนมิตรที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นจะให้ความสำคัญแก่ “ส่วนรวม” บ้าง


ภายหลังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่า
mone wrote:
คุณสาธิต มาลัยธรรม วิศวกรโครงการ ทราบปัญหาแล้วครับพี่ อีกไม่นานนี้เขาจะเข้ามาสำรวจและแก้ปัญหาร่วมกัน

www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=924906000882632&id=100000897212448
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44648
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/03/2015 6:44 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดถนนกำแพงเพชร 6 ตั้งแต่4 มี.ค.สร้างรถไฟสายสีแดง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มีนาคม 2558 18:09 น.

ร.ฟ.ท.แจ้งปิดถาวร ถนนกำแพงเพชร 6 ช่วงหลังสถานีขนส่งหมอชิต – ที่หยุดรถไฟ กม. 11 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2558 เป็นต้นไป เพื่อก่อสร้างฐานรากทางวิ่งยกระดับรถไฟสายสีแดง โดยสร้างถนนใหม่ 2 เลน ตลอดแนวด้านข้างฝั่งทิศเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต เป็นเส้นทางเชื่อมถนนกำแพงเพชร 6 และกำแพงเพชร 2 แทน

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งปิดการจราจรบนถนนกำแพงเพชร 6 เริ่มตั้งแต่ด้านหลังสถานีขนส่งหมอชิต ถึง ที่หยุดรถไฟ กม.11 บริเวณใต้ทางด่วนศรีรัช ระยะทางประมาณ 700 เมตร เป็นการถาวร เพื่อใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างฐานรากทางวิ่งยกระดับ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันพุธที่ 4 มีนาคม 2558 เวลา 06.00 น.เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางในบริเวณดังกล่าว ร.ฟ.ท.ได้ก่อสร้างถนนใหม่ทดแทน ตลอดแนวด้านข้างฝั่งทิศเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต ขนาดความกว้างจำนวน 2 ช่องจราจร เพื่อใช้เป็นเส้นทางเชื่อมถนนกำแพงเพชร 6 กับถนนกำแพงเพชร 2 และกำหนดจัดการจราจรในเส้นทางดังกล่าวให้เดินรถทางเดี่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางในบริเวณดังกล่าว โดยผู้ที่ใช้ถนนกำแพงเพชร 2 ขาออก จากแยก อตก. มุ่งหน้าวัดเสมียนนารี หรือ ถนนวิภาวดี-รังสิต สามารถเลือกใช้เส้นทางดังนี้

1. ใช้ถนนกำแพงเพชร 2 (เส้นทางด้านหน้าสถานีขนส่งหมอชิต 2 ) ไปตามปกติ

2. ใช้ถนนกำแพงเพชร 6 (เส้นทางด้านหลังสถานีขนส่งหมอชิต 2 ) เข้าสถานีขนส่งหมอชิต ได้ตามปกติ จนถึงจุดที่ปิดการจราจร ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนที่ตัดใหม่ แล้วเลี้ยวซ้ายกลับเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 2

โดยประชาชนที่ใช้เส้นทางดังกล่าว เพื่อสัญจรไป – มา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียนของโครงการ สำนักงานโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต โทร 02-1152-999 ต่อ 119 หรือ www.bangsue-rangsitredline.com
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2015 9:00 pm    Post subject: Reply with quote


รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วยการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=PsUbNbRdIj4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2015 6:06 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เตรียมศึกษาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าถึง “อยุธยา”
มติชน
วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 16:37:05 น.

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เตรียมศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ต่อขยายไปถึงจังหวัดอยุธยาเพื่อรองรับการเป็นเมืองบริวาร หลังจากที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(สผ.) เห็นชอบให้ผ่านการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนต่อขยายจากรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ระยะทาง 10 กม.แล้ว โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะรอเสนอคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)และคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาต่อไป

ส่วนนโยบายรัฐบาลที่ให้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพ-หัวหิน และกรุงเทพ-พัทยานั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจาณาเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)รับผิดชอบสรุปข้อมูลผลการศึกษาและออกแบบเบื้องต้นเพื่อรายงานกระทรวงคมนาคมได้ก่อนช่วงวันหยุดสงกรานต์ จากนั้นจะเสนอพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาเพื่อเสนอ ครม.ต่อไป

//-----------------
คมนาคมสั่ง ร.ฟ.ท.ศึกษาขยายเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงถึงอยุธยา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
19 มีนาคม 2558 16:18 น. (แก้ไขล่าสุด 19 มีนาคม 2558 16:19 น.)

คค. สั่ง ร.ฟ.ท. ศึกษารถไฟฟ้าถึงอยุธยา
by บุญญิสา เพ็งบุญมา
Voice TV
19 มีนาคม 2558 เวลา 15:59 น.

คค.สั่งร.ฟ.ท.ศึกษารถไฟฟ้าถึงอยุธยา
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2558 16:00น.
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง รังสิต-ธรรมศาสตร์ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว และอีก 3 เดือนจะเสนอมายังกระทรวงคมนาคม ดังนั้น จึงได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปศึกษาเส้นทางเพิ่มเติมขยายไปถึง จ.พระนครศรีอยุธยา ส่วนงบประมาณที่จะใช้ในการศึกษาจะเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.ในครั้งหน้า

ขณะที่การจัดซื้อหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าจำนวน 30 คัน น้ำหนัก 16 ตันเพลา แทนการซ่อมบำรุงรถจักรดีเซลไฟฟ้าอัลสตรอม 56 คัน ภายใต้วงเงินงบประมาณ 3,316 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการเช็กราคากลาง ก่อนเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีอีกครั้ง

นางสร้อยทิพย์ กล่าวอีกว่า รถไฟทางคู่เส้นทาง จิระ-ขอนแก่น ได้ผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว และเตรียมเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เห็นชอบ ก่อนที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในเดือนพฤษภาคม พร้อมกันนี้ เชื่อว่ารถไฟทางคู่ทั้ง 6 เส้นทาง จะสามารถเปิดประมูลได้ในสิ้นปีนี้


//------------


Last edited by Wisarut on 20/03/2015 1:00 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2015 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

สิ้นเดือนนี้รื้อแน่สะพานเกษมอุดมธ์
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 19 มีนาคม 2558 เวลา 18:04 น.

เตรียมรื้อสะพานข้าม ทางรถไฟเกษมอุดมธ์สิ้นเดือนมี.ค. 58 พร้อมเปิดใช้สะพานเกือกม้าเพื่อแทนตำรวจเร่งประสานผู้รับเหมาตีเส้นจราจรให้ เรียบร้อยหวั่นเกิดอุบัติเหตุ


เมื่อวันที่19 มี.ค.2558พ.ต.ท.สมคิด ปราบมนตรี สารวัตรจราจรสน.ดอนเมืองเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการรื้อสะพานเกษมอุดมพันธ์ซึ่งเป็นสะพานข้ามทางรถไฟเชื่อมชุมชนเปรมประชากรทั้ง 2ฝั่งซึ่งมีความจำเป็นต้องรื้อถอนเรื่องจากติดโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิตและจะมีการก่อสร้างสะพานเกือกม้าเพื่อให้ประชาชนใช้ทดแทนโดยจากที่ทางสน.ได้มีหารือร่วมกับเอกชนผู้รับเหมาคาดว่าประมาณสิ้นเดือนมี.ค.2558นี้ทางผู้รับเหมาจะเริ่มดำเนินการทุบสะพานอุดมพันธ์และเปิดสะพานเกือกม้าให้ประชาชนสัญจรแทนซึ่งขณะนี้ความคืบหน้าในการก่อสร้างสะพานเกือกม้านั้นดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 80 แล้วทั้งนี้ทางสน.ได้มีการขอความร่วมมือไปยังผู้รับเหมาให้ดำเนินการตีเส้นจราจร ติดป้ายสัญลักษ์จราจรตีเส้นสะดุดและมุดสะท้อนแสงให้เรียบร้อยก่อนที่จะมีการเปิดให้ประชาชนใช้งานเนื่องจากรูปแบบสพานเกือกม้ารถที่ต้องการข้ามไปยังถนนวิภาวดีและหมูบ้านเปรมประชากรจะต้องวิ่งสวนทางกันซึ่งถือว่ามีความอันตรายหากมีการดำเนินการที่ดี

พ.ต.ท.สมคิดกล่าวต่อว่าสำหรับแผนการจัดการจราจรในระหว่างที่มีการรื้อสะพานเกษมอุดมพันธ์นั้นคาดว่าผู้รับเหมาจะใช้เวลาในการรื้อถอนประมาณ2เดือนซึ่งระหว่างนั้นประชาชนที่จะขึ้นสะพานเกือกม้าจะต้องใช้ถนนกำแพงเพชร6 บริเวณด้านหน้าหมูบ้านแกรนด์แคแนลและตัดเข้าถนนชั่วคราวก่อนถึงสะพานเกือกม้าประมาณ100 เมตรเพื่อขึ้นสะพานซึ่งทางสน.ได้มีการประสานให้ผู้รับเหมานำสัญญาณไฟจราจรมาติดตั้งเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการจรารด้านประชาชนที่มาฝั่งถนนวิภาวดีรังสิตที่จะข้ามไปยังหมู่บ้านเปรมประชากรเมื่อลงจากสะพานเกือกม้าแล้วก็จะต้องเข้าถนนกำแพงเพชร6 แล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านอยางไรก็ตามหากการรื้อสะพานเกษมอุดมพันธ์เสร็จเรียบร้อยประชาชนที่ออกมาจากหมูบ้านก็จะสามารถวิ่งขึ้นสะพานเกือกม้าได้ทันทีโดยไม่ต้องวิ่งเข้าถนนกำแพงเพรช 6ด้านรถที่มาจากถนนวิภาวดีรังสิตเมื่อลงจากสะพานก็สามารถเลี้ยวขวาเข้าถนนภายในหมู่บ้านได้เลย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 21/03/2015 5:49 pm    Post subject: Reply with quote

สผ.ไฟเขียว EIA สายสีแดงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ร.ฟ.ท.ชงบอร์ดขอออกแบบต่อขยายถึง จ.อยุธยา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
19 มีนาคม 2558 17:39 น. (แก้ไขล่าสุด 20 มีนาคม 2558 09:11 น.)



“คมนาคม” เผย สผ.เห็นชอบ EIA รถไฟสายสีแดง (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) วงเงิน 6 พันล้าน พร้อมรถไฟฟ้าสีชมพูและสีส้ม เตรียมชงคมนาคมอนุมัติเปิดประมูล ด้าน ร.ฟ.ท.เตรียมชงบอร์ดของบศึกษาออกแบบสีแดงไปถึงอยุธยา ส่วนทางคู่ 5 สายเร่งประมูลในปีนี้ นำร่องจิระ-ขอนแก่น 2.6 หมื่นล้านสายแรกหลัง สศช.ไฟเขียว ส่วนสายแก่งคอย-คลองสิบเก้า 1.1 หมื่นล้านยังติดปม สตง.ติงราคากลาง จ่อต้องเปิดประมูลใหม่

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วันนี้ (19 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) เมื่อวันที่ 18 มีนาคม มีมติเห็นชอบผลศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10.3 กม. วงเงิน 6,018 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้ ร.ฟ.ท.จะทบทวนรายละเอียดเพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมและเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามขั้นตอนต่อไป พร้อมกันนี้ทาง ร.ฟ.ท.จะเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.เพื่อขออนุมัติงบประมาณปี 2558 ในการศึกษาและออกแบบส่วนต่อขยายจาก ม.ธรรมศาสตร์รังสิตไปถึง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้เป็นเส้นทางที่ขนส่งผู้โดยสารเข้าออกเมืองได้เต็มรูปแบบ นอกจากนี้ สผ.ยังเห็นชอบผลการศึกษา EIA โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 56,691 ล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ที่มีการปรับแบบช่วงอุโมงค์แยกบางพลัด

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่นั้น ล่าสุดคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้อนุมัติรถไฟทางคู่เส้นทางชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 26,007 ล้านบาทแล้ว หลังจากนี้เตรียมเสนอคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และ ครม.ตามขั้นตอน คาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะต้องเตรียมจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) และราคากลางควบคู่ไปด้วยเพื่อเตรียมพร้อมเปิดประกวดราคาหลัง ครม.เห็นชอบ ส่วนรถไฟทางคู่เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,293 ล้านบาท เส้นทางนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 20,038 ล้านบาท เส้นทางมาบกะเบา-โคราช ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,855 ล้านบาท เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 24,842 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนขออนุมัติ EIA โดยทั้งหมดมีเป้าหมายเปิดประกวดราคาภายในปีนี้

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 2 เส้นทางที่รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนว่าจะลงทุน คือ กรุงเทพฯ-พัทยา ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ ร.ฟ.ท. และเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นั้น ได้ทำการศึกษาเบื้องต้นแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และการออกแบบรวมถึงศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ซึ่งทั้ง ร.ฟ.ท.และ สนข.จะสรุปข้อมูลเบื้องต้นรายงานกระทรวงคมนาคมภายใน 2 สัปดาห์

ส่วนการจัดซื้อหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา จำนวน 50 คันพร้อมเครื่องอะไหล่ วงเงิน 6,151 ล้านบาทนั้น ร.ฟ.ท.กำลังเร่งสรุปการประกวดราคาเพื่อนำราคามาใช้เป็นเกณฑ์กำหนดทีโออาร์และจำนวนในการจัดซื้อหัวรถจักรล็อตใหม่เป็นการซื้อแทนแผนเดิมที่เป็นการจ้างซ่อมบูรณะรถจักรดีเซลไฟฟ้าอัลสตอม (Refurbish) จำนวน 56 คัน วงเงิน 3,360 ล้านบาท

10 เม.ย. “ประจิน” เตรียมสรุปแผนตั้งกรมราง

นางสร้อยทิพย์กล่าวถึงการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางว่า ในวันที่ 10 เมษายนนี้คณะกรรมการชุดที่มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เป็นประธานจะประชุมเพื่อสรุปขั้นตอนและรายละเอียดทั้งร่างปรับปรุง พ.ร.บ.กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง ก่อนเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และ ครม.ต่อไป หลักการจะตั้งกรมรางให้แล้วเสร็จและเริ่มทำงานได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 โดยหน้าที่หลักคือ กำกับดูแล (Regulator) ร.ฟ.ท.รับผิดชอบการเดินรถและซ่อมบำรุง ส่วนการก่อสร้างนั้นจะต้องแบ่งเป็นเฟส เพราะในช่วงเปลี่ยนผ่าน ร.ฟ.ท.จะต้องก่อสร้างต่อไปก่อน โดยมีบทเฉพาะกาลรองรับ แต่อนาคตหาก ร.ฟ.ท.มีขีดความสามารถอาจจะรับผิดชอบงานก่อสร้างต่อไปก็ได้

สตง.ติงราคากลางทางคู่แก่งคอย-คลองสิบเก้า อาจต้องเปิดประมูลใหม่

ด้านนายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าฯ (โครงสร้างพื้นฐาน 1) ร.ฟ.ท. กล่าวว่า รถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Lines) 3 แห่ง วงเงิน 11,348.35 ล้านบาทนั้น ล่าสุดสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ส่งหนังสือตอบ ร.ฟ.ท. โดยให้ชี้แจงถึงตัวเลขค่าก่อสร้าง 4 รายการ เนื่องจากมีการคำนวณราคาไม่ตรงกัน ซึ่งนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.จะหารือกับ สตง.เพื่อหาข้อสรุป เนื่องจากเมื่อมีการปรับปรุงราคากลางใหม่ซึ่งคาดว่าจะปรับลดลง ร.ฟ.ท.จะสามารถเดินหน้าเคาะราคาอี-ออกชันแล้ว โดยมีผู้รับเหมาที่มีสิทธิ์เสนอราคา 6 รายได้ หรือจะต้องมีการเปิดขายซองประมูลใหม่เพราะมีการเปลี่ยนแปลงราคากลาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2015 2:15 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.จ่อเพิ่มงบสีแดง4.6 พันล้าน


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
29 มีนาคม 2558 19:12 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.เร่งเจรจากลุ่มมิตซูบิชิ เล็งสรุปประมูลรถไฟสีแดงสัญญา 3 (งานระบบและรถไฟฟ้า) เสนอบอร์ด เม.ย.นี้ ดันเซ็นสัญญาในก.ค.เผย ล่าสุด เอกชนลดราคาเหลือไม่ถึง 3.3 หมื่นล.แล้ว แต่ต้องเสนอครม.ขอเพิ่มกรอบวงเงิน อีก 3.6 พันล. ด้านบขส.ยื้อย้ายหมอชิตขอใช้พื้นที่ 10-15 ไร่ เป็นที่จอดรถชั่วคราว

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) กาารถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประกวดราคาโครงการรถไฟ สายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาท ว่า เมื่อวันที่ 27 มีนาคม คณะอนุกรรมการประกวดราคา ได้เจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ซึ่งล่าสุดได้ปรับลดราคาลงมาอยู่ที่เกือบ 3.3 หมื่นล้านบาทแล้ว จากเสนอราคาที่ 49,000 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่า ราคาสุดท้ายจะเกินกรอบวงเงินที่ร.ฟ.ท.ได้รับอนุมัติไว้ และจะต้องเร่งสรุปและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอเพิ่มกรอบวงเงินเร็วๆนี้

ทั้งนี้ ตามมติครม.ล่าสุดได้เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง 3 สัญญา วงเงินรวม 8,140 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างระบบรองรับรถไฟฟ้าในอนาคต เช่น รถไฟความเร็วสูง โดยแบ่งเป็นสัญญา 1(งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วย บมจ.บริษัท ซิโน-ไทย หรือ STEC และ บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น หรือ UNIQ เป็นผู้รับงาน ได้รับค่างานเพิ่ม 4,315 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 29,826 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 (งานโครงสร้างโยธาและสถานี) มีบมจ.อิตาเลียนไทย เป็นผู้รับจ้าง ได้ค่างาน เพิ่ม 3,352 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 21,235 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมรถไฟฟ้า) ได้รับค่างานเพิ่ม 473 ล้านบาท จากกรอบวงเงินเดิม 28,899 ล้านบาท ซึ่งหากเจรจาราคาสุดท้ายมาอยู่ที่ไม่เกิน 3.3 หมื่นล้านบาท เท่ากับเกินกรอบวงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท.จะต้องเสนอขอปรับเพิ่มวงเงินสัญญา 3 อีกประมาณ 3,600 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ไม่รวมกับที่ได้รับจากการปรับแบบไปแล้ว

แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะพยายามสรุปผลประมูลและเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาการเพิ่มกรอบวงเงินให้ได้ภายในเดือนเมษายนนี้ จากนั้นจะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมและครม. คาดว่าอย่างเร็วจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงจะสามารถลงนามในสัญญาได้หรือภายในเดือนกรกฎาคม ดำเนินก่อสร้าง 4 ปี แต่จะเจรจากับทางผู้รับงาน ให้เร่งดำเนินการภายใน 3.5
ปีเพื่อให้สามารถเปิดเดินรถสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและ บางซื่อ-รังสิต ได้ในปี 2562

ส่วนการย้ายสถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิต) ออกจากพื้นที่ก่อสร้างนั้น ล่าสุด ทางบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้เสนอขอใช้พื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อประมาณ 10-15 ไร่ จากที่เป็นสถานีเดิมทั้งหมดประมาณ 33 ไร่ เพื่อใช้เป็นที่จอดรถบางส่วนเป็นการชั่วคราวสำหรับรับส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟ ซึ่งขณะนี้ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่ให้
เนื่องจากไม่ได้อยู่ในแผนงานตั้งแต่ต้น ที่กำหนดให้ บขขส.ต้องย้ายสถานีขนส่งออกไปอยู่ที่อื่น

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ได้สั่งการให้บขส.เร่าจัดหาพื้นที่ตั้งสถานีขนส่งแห่งใหม่ หลังจากตามผลการศึกษาเดิม ทั้ง บริเวณถนนวิภาวดีขาเข้าและขาออก เมืองทองธานี และไม่เหมาะสม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2015 2:16 am    Post subject: Reply with quote

สีแดงสัญญา3งบบานปลาย:ร.ฟ.ท.จ่อชงครม.ขอเพิ่มวงเงินอีก4พันล้าน
30 มีนาคม 2558 00:00:00





"ร.ฟ.ท." จ่อชง ครม. ขอเพิ่มวงเงินสร้างรถไฟสีแดงสัญญา 3 อีก 4,000 ล้านบาท คาดสรุปผลต่อรองกับผู้รับเหมาญี่ปุ่นพร้อมเสนอบอร์ดได้ในเดือนเม.ย.นี้



นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประกวดราคาโครงการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่า 27,926 ล้านบาทว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการประกวดราคา ได้เจรจาต่อรองกับกลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และบริษัท Sumitomo Corporation) ซึ่งยอมปรับลดราคาลงมาอยู่ที่เกือบ 3.3 หมื่นล้านบาทแล้ว จากเสนอราคามาที่ 49,000 ล้านบาท โดยราคาสุดท้ายจะเกินกรอบวงเงินที่ ร.ฟ.ท.ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไว้แน่นอน จึงต้องเร่งสรุปเพื่อเสนอขอ ครม. เพิ่มกรอบวงเงินเร็วๆ นี้

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.จะพยายามสรุปผลประกวดราคาและเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาเพิ่มกรอบวงเงินให้ได้ภายในเดือนเมษายนนี้ จากนั้นจะรายงานไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอ ครม. ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่าค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นอีก 4,000 ล้านบาท โดยเงินส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับที่ ครม.เคยให้การอนุมัติปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งทำให้วงเงินเพิ่มขึ้นอีก 8,140 ล้านบาท

ทั้งนี้คาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจาก จึงจะสามารถลงนามในสัญญาได้หรือภายในเดือนกรกฎาคม โดยสัญญาที่ 3 นี้ มีระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี แต่จะเจรจากับผู้รับงาน ให้เร่งดำเนินการภายใน 3.5 ปีเพื่อให้สามารถเปิดเดินรถสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันและ บางซื่อ-รังสิต ได้ในปี 2562

“ความจริงวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา เป็นวันสุดท้ายที่การรถไฟฯ กำหนดให้กลุ่ม MHSC Consortium เสนอราคามาให้พิจารณา ซึ่งก็ยังสูงอยู่ เพราะอยู่ที่เกือบ 3.4 หมื่นล้านบาท การรถไฟฯจึงนัดต่อรองอีกครั้งเมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา และได้ลดราคาลงอีกประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นราคาสุดท้ายแล้ว จากนี้ก็จะนำส่งบอร์ด กระทรวงคมนาคม และครม.ตามขั้นตอนเพื่อขอเพิ่มวงเงินก่อสร้างสัญญา 3 อีกประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยเงินจำนวนนี้ไม่เกี่ยวกับที่ ครม.เคยอนุมัติให้ปรับแบบสถานีกลางบางซื่อไปแล้ว” แหล่งข่าว กล่าว

นอกจากนี้ล่าสุดนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ ร.ฟ.ท.เร่งรัดพิจารณาเรื่องงานเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง เพราะที่ผ่านมาจะหารือกันเฉพาะงานโยธาเท่านั้น แต่ยังไม่มีแผนเกี่ยวกับงานเดินรถ ขณะที่รัฐบาลมีนโยบายว่าควรใช้รูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public private Partnership : PPP) เพราะเป็นการแบ่งเบาภาระการลงทุนของภาครัฐ ประกอบกับเอกชนมีความคล่องตัวในการทำงานมากกว่าด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สรุปเบื้องต้นแล้วค่าก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้ปรับเพิ่มขึ้นอีกกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ครม. ได้มีมติเห็นชอบให้ ร.ฟ.ท. แบบสถานีกลางบางซื่อ ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต เพื่อรองรับระบบรางที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งทำให้ค่าก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นอีก 8,140 ล้านบาทไปแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 33, 34, 35 ... 149, 150, 151  Next
Page 34 of 151

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©