RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272513
ทั้งหมด:13583809
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ระบบขนส่งมวลชน หาดใหญ่ - สงขลา
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ระบบขนส่งมวลชน หาดใหญ่ - สงขลา
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 34, 35, 36 ... 41, 42, 43  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2014 5:41 am    Post subject: Reply with quote

ฟื้นทางรถไฟสงขลา อาจได้แค่ สัญญาหน้าฝน
Posted by นายวอร์ วันพุธ ที่ 5 พฤศจิกายน 2557 16:50:03 น.
Arrow http://www.oknation.net/blog/alive/2014/11/05/entry-1
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/11/2014 10:57 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมงัดสารพัดโปรเจ็กต์แก้เมืองอัมพาตสลับเวลาทำงานพื้นที่กทม.-ทุ่มแสนล.ผุดBRT-โมโนเรล 6 จังหวัด
ประชาชาติธุรกิจ 13 พ.ย. 57

คมนาคมเร่งแก้ปัญหารถติดเขต กทม.ปริมณฑล ขยายผลพื้นที่ 6 เมืองหลัก "เชียงใหม่-โคราช-ขอนแก่น-พิษณุโลกภูเก็ต-สงขลา" หลังเมืองโตไม่หยุด เผยนโยบายรถคันแรก ดันปริมาณรถเพิ่ม 2 เท่าตัว ทะลุกว่า 8.55 ล้านคัน ผุดสารพัดโปรเจ็กต์รับมือจราจรอัมพาต ทำงานสลับเวลา คู่มือก่อสร้าง ถนน สะพานข้ามแม่น้ำ ทางด่วน บีอาร์ที รถราง โมโนเรล คาดลงทุนเฉียด 1 แสนล้าน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า จะเร่งแก้ปัญหารถติดพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลรวมถึง 6 เมืองหลัก ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลก และสงขลา จะสรุปโครงการที่จะดำเนินการแต่ละพื้นที่เสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานอนุมัติในเร็ว ๆ นี้

เมืองใหญ่-กทม.ปัญหาไม่ต่างกัน

"ต่างจังหวัดเมืองขยายตัวมาก เพราะคนอยู่อาศัยเยอะ มีปัญหารถติดเหมือนกรุงเทพฯ ต้องเร่งแก้ไข สำหรับกรุงเทพฯและปริมณฑลต้องเร่งแก้ด่วน เพราะคนเริ่มบ่นหลังมีรถเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว อยู่ที่ 8.55 ล้านคัน จากนโยบายรถคันแรก ยังมีสร้างรถไฟฟ้าหลายสายบนถนนหลัก เช่น จรัญสนิทวงศ์ ปีหน้าจะมีสร้างอีกหลายโครงการ จะประสาน กทม. ตำรวจจราจร ทำคู่มือก่อสร้างช่วงกลางวันและกลางคืน"

นายอาคมกล่าวว่า วันที่ 11 พ.ย.ได้เปิดตัว "สาทรโมเดล" โครงการต้นแบบแก้ไขการจราจรพื้นที่กรุงเทพฯ ที่คมนาคมร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) และเอกชนดำเนินการ เนื่องจากถนนสาทรรถติดมาก จึงกำหนดเป็นพื้นที่นำร่อง

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า การแก้รถติดกรุงเทพฯและปริมณฑลมี 3 ระยะ คือ 1.เร่งด่วน เช่น มาตรการทำงานเหลื่อมเวลา 2.ระยะกลาง 1-3 ปี จะแก้ 257 ทางแยกที่เป็นจุดวิกฤตและเร่งสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตามแผนแม่บท เช่น เกียกกาย และ 3.ระยะยาวจะดำเนินการหลังรถไฟฟ้าสร้างเสร็จ เช่น จำกัดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในเส้นทางที่มีรถไฟฟ้า เช่น เก็บค่าใช้ถนน รวมถึงมาตรการด้านผังเมืองกำหนดการพัฒนาให้เมืองขยายตัวไปรอบนอกมากขึ้น

โคราชผุดขนส่งมวลชน 4 พัน ล.

สำหรับปัญหาจราจร 6 เมืองหลัก คาดว่าเบื้องต้นจะใช้เงินลงทุน 94,315 ล้านบาท ในส่วน "นครราชสีมา" เป็นศูนย์กลางด้านการพาณิชย์ คมนาคมและอุตสาหกรรมของอีสานตอนล่าง ในพื้นที่เขตเมืองและรอบนอกมีแนวโน้มขยายตัว ทั้งการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวตั้งและแนวราบ

"แก้ปัญหาเร่งด่วนคือกวดขันวินัยจราจร เช่น จัดระเบียบที่จอดรถ ติดป้ายจราจร ระยะกลางจะพัฒนาโครงข่ายถนนเขตผังเมืองและปรับปรุงระบบสัญญาณไฟจราจร" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ระยะยาวจะจัดระเบียบและพัฒนาระบบรถโดยสารประจำเส้นทางหลัก ใน 5 ปีแรก มี 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงิน (ราชสีมาวิทยาลัย-บ้านเกาะ) 13.94 กม. และสีฟ้า (โคกกรวด-ราชสีมาวิทยาลัย) 9.04 กม., ช่วง 5-10 ปี มี 2 เส้นทาง คือ สายสีม่วง (ประตูน้ำ-หัวทะเล) 9.33 กม. และสีเหลือง (บ้านเกาะ-จอหอ) 7.10 กม. และใน 10-15 ปี มีสายสีแดง (บิ๊กซี-แยกจอหอ) 7.76 กม.

อีกทั้งสร้างระบบขนส่งมวลชนเป็นรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที วิ่งรอบเมือง ระยะทาง 12 กม. จากหน้าโรงเรียนนครราชสีมา ผ่านการเคหะ โรงแรมสีมาธานี เทสโก้ โลตัส โรงพยาบาลกรุงเทพ เดอะมอลล์ อาชีวะ เลี้ยวเข้าถนนสุรนารายณ์ สิ้นสุดที่ราชมงคล ลงทุน 4,697 ล้านบาท และสร้างถนนเลี่ยงเมือง วงเงินกว่า 3,000 ล้านบาท เป็นต้น

เมืองดอกคูนลุยบีอาร์ที 6 พันล้าน

ด้าน "ขอนแก่น" เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การศึกษา และจุดยุทธศาสตร์สำคัญของภาคอีสานและภูมิภาคอินโดจีน ได้แก้ไขปัญหารถติดมาอย่างต่อเนื่อง เช่น สร้างทางต่างระดับหลังศูนย์ราชการและขยายทางผ่านรถไฟ จัดระเบียบตลาด ขยายผิวจราจร ห้ามจอดในชั่วโมงเร่งด่วน ปรับปรุงสัญญาณไฟแยกเซ็นทรัล เป็นต้น

ในระยะยาวจะจัดระเบียบรถขนส่งสาธารณะและก่อสร้างรถบีอาร์ที 5 เส้นทาง คือ 1.สายรอบเมือง 2.สายสำราญ-ท่าพระ 3.สายหนองโคตร-หนองใหญ่ 4.สายน้ำต้อน-ศิลา และ 5.สายบ้านทุ่ม-บึงเนียม ระยะทาง 108 กม. ลงทุน 6,356 ล้านบาท

หาดใหญ่โหมโมโนเรลหมื่นล้าน

ส่วน "หาดใหญ่" จ.สงขลา มีแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน 10 ปี (2555-2565) ลงทุน 316 ล้านบาท จัดรถโดยสารสาธารณะที่มีอยู่วิ่งใน 8 เส้นทาง 104 กม. อาทิ วิ่งวงกลมรอบเมืองฝั่งตะวันออกและตะวันตก, คอหงส์-สถานีรถไฟ, นิพัทธ์อุทิศ 2-นิพัทธ์อุทิศ 3 และสร้างระบบโมโนเรล (รถไฟรางเดี่ยว) จากเทศบาลเมืองบ้านพรุ สถานีขนส่ง ม.สงขลานครินทร์ สามแยกคอหงส์ ตลาดพลาซ่า ตลาดเกษตร จะลงทุนไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท และฟื้นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 30 กม. ที่เลิกมา 30 ปี เปิดวิ่งบริการใหม่และลงทุน 12,000 ล้านบาท สร้างมอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่-สะเดา 50 กม.

อีกทั้งสร้างทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่ 29 กม. จากหมู่บ้านฉัตรแก้ว-บ.ท่านางหอม อ.หาดใหญ่, ตัดถนนใหม่ แยกคูหา- ควนเมือง-บรรจบกับถนนสาย 408 ระยะทาง 32 กม. วงเงิน 1,400 ล้านบาท


ภูเก็ตลงทุน BRT 3 สาย

ขณะที่ "ภูเก็ต" จะสร้างรถบีอาร์ที 3 เส้นทาง 76.6 กม. ลงทุน 12,816 ล้านบาท ได้แก่ 1.สนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง 41.4 กม. ลงทุน 7,064 ล้านบาท 2. ป่าตอง-เมืองภูเก็ต 18.4 กม. ลงทุน 2,844 ล้านบาท และ 3.สามแยกบางคู-ห้าแยกฉลอง 16.8 กม. ลงทุน 2,908 ล้านบาท ก่อสร้างทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง 3.9 กม. ลงทุน 8,730 ล้านบาท จะสร้างปี 2560 และเสร็จปี 2564 โครงการอื่น ๆ เช่น ทางลอดห้าแยกฉลองและแยกบางคู, รถไฟสายสุราษฎร์ฯ-พังงา, ตัดถนนใหม่จากสาคู-เกาะแก้ว 23 กม., เร่งอุโมงค์สี่แยกโลตัสเปิดใช้เดือน มิ.ย.ปีหน้า

เชียงใหม่จัดระเบียบรถแดง

ด้าน "เชียงใหม่" แบ่งการแก้ปัญหา ได้แก่ 1.ระยะ 1-3 ปี ลงทุน 700-1,000 ล้านบาท จัดระเบียบรถสี่ล้อแดงและรถบัสให้เป็นระบบ 2.ระยะกลางใน 10 ปี ลงทุน 14,000 ล้านบาท สร้างรถไฟโมโนเรล วิ่งบริการในเมือง กำลังพิจารณาเป็นรถ บีอาร์ทีหรือรถรางไฟฟ้า (Tram)

และ 3.ระยะยาว 10 ปีขึ้นไป สร้างระบบขนส่งมวลชนครอบคลุมเขตเมืองและนอกเมือง ลงทุน 17,000 ล้านบาท ใน 3-10 ปี ระยะทาง 50 กม. วิ่งภายในถนนวงแหวนรอบ 2 พื้นที่ 150 ตร.กม. มี 4 สาย ได้แก่ สายศาลากลาง-สวนสัตว์กลางคืน, ม.เชียงใหม่-บวกครก, ศูนย์ราชการ-สามแยกสันทราย และพุทธสถานช้างคลาน-เชียงใหม่แลนด์-ศรีดอนไชย ใน 10 ปี ขยายออกไปอีก 50 กม. ไปเขตรอบนอกมี 7 เส้นทาง อีกทั้งในอนาคตกรมทางหลวง (ทล.) จะขยายถนนวงแหวนรอบที่ 3 เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 28 กม. วงเงิน 1,000 ล้านบาท เป็นต้น

พิษณุโลกศึกษาบีอาร์ที-รถราง

ส่วน "พิษณุโลก" เมืองศูนย์กลางการคมนาคม การศึกษา และท่องเที่ยวของภาคเหนือตอนล่าง ปัจจุบันการขยายตัวของเมืองจะกระจุกตัวหนาแน่นเขตเทศบาล

ขณะที่การแก้ปัญหารถติด ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เช่น จัดจราจรสถานที่สำคัญ อาทิ แหล่งท่องเที่ยว โรงเรียน ชุมชน ตลาด ปรับปรุงระบบสัญญาณไฟจราจร ในระยะยาวอยู่ระหว่างศึกษาระบบขนส่งมวลชน เช่น รถบีอาร์ทีหรือรถราง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2014 6:58 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีรถโมโนเรลหาดใหญ่ ที่จะทำมี 15 สถานี

1. บ้านพรุ- กม. 0 + 000
2. คลองหวะ กม. 2 + 650 - มี Park and ride
3. เซนทรัลพลาซา - กม. 5 + 000
4. คลองเรียน - กม. 5 + 830
5. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กม. 7 + 050
6. คอหงส์ กม. 8 + 800
7. Big C - กม. 9 + 937
8. โรงเรียนหาดใหญ่วิทยา- กม. 10 + 835
9. วงเวียนน้ำพุ - กม. 11 + 250
10. ตลาดกิมหยง กม. 12 + 000
11. ชุมทางหาดใหญ่ กม. 12 + 690
12. หาดใหญ่ใน กม.14 + 070
13. รถตู้ กม. 15 + 040
14. แยกสนามบิน กม. 16 + 500 - Park and ride
15. ควนลัง - กม. 18 + 370


ส่วนต่อขยายเฟส 2 จากแยกหาดใหญ่ใน ไป คลองเรียนผ่านพัฒนะศึกษาและ ห้างไดอานา (3.6 กม.)

ส่วนต่อขยายเฟส 3 จากวงเวียนน้ำพุ ไปถนนลพบุรีราเมศวร์ (2.8 กม.) และแยกจากคอหงส์ไป สวนสาธารณะ หาดใหญ่ที่เขาคอหงส์
http://www.hatyaimonorail.com/images/news/1411/meeting-2.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2015 12:02 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
อธิบายโมโนเรลหาดใหญ่ โดย Realist
เส้นทางโมโนเรลและรถประจำทาง
โดยในระยะแรก จะพัฒนาเส้น1-4 (จาก 8 เส้นทาง) ก่อน
ระยะที่ 1 เส้นทางที่ 1 สีแดง 18.3 กม.พัฒนาเป็นโมโนเรล
ระยะที่ 2 เส้นทางที่ 4 สีม่วง 3.6 กม.พัฒนาเป็นรถประจำทาง
ระยะที่ 3 เส้นทางที่ 2,3 สีน้ำเงินและเขียว พัฒนาเป็นรถประจำทาง ให้เกิดความเชื่อมโยงเบื้องต้น


http://www.realist.co.th/blog/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88/
https://www.facebook.com/REALISTsolution/photos/a.332278760214338.73429.329012580540956/644569105651967/?type=1&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2015 9:53 am    Post subject: Reply with quote

ภาคธุรกิจสงขลาหนุน′โมโนเรล′ 15สถานี-ค่าโดยสาร15บาท
มติชน
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 00:36:21 น.

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ความคืบหน้าภายหลังผลการประชุมสรุปผลการศึกษา ครั้งที่ 3 โครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนโดยระบบราง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หรือ "หาดใหญ่ โมโนเรล" โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา ผลสรุปจากผู้ที่เข้าร่วมทั้งฝ่ายตัวแทน อบจ. ฝ่ายกองผังเมือง และประชาชนในพื้นที่หาดใหญ่ ต่างสนับสนุนโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยนายนิพนธ์ บุญญามณี นายก อบจ.สงขลา เผยมาว่า ใช้งบสำหรับโครงการนี้ประมาณ 20,500 ล้านบาท กับการทำรถไฟระบบรางเดี่ยวรวมระยะทาง 18.3 กิโลเมตร มีสถานีตลอดเส้นทาง 15 สถานี ตั้งแต่แยกควนลัง-แยกคอหงส์ (ถนนเพชรเกษม)-สิ้นที่บ้านพรุ (ถนนกาญจนวนิช)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเว็บไซต์ อบจ.สงขลา ได้เผยแพร่โครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนโดยระบบราง มีรายละเอียดของแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเดี่ยวได้กำหนดเส้นทางไว้แล้ว เริ่มต้นที่บ้านพรุไปสิ้นสุดที่สี่แยกควนลัง ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร ทั้งนี้ แนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเดี่ยวชนิดคร่อมทางวิ่งจะไปตามถนนกาญจนวนิชและถนนเพชรเกษม ที่มีเขตทาง 30, 40 และ 60 เมตรตามลำดับ รวมทั้งหมด 15 สถานี มีการจัดเตรียมพื้นที่อาคารศูนย์ควบคุมทางเดินรถ อาคารโรงจอด และซ่อมบำรุง รวมถึงพื้นที่จุดเชื่อมต่อการเดินทางไว้เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวก

ทั้ง 15 สถานีมีดังนี้
1.สถานีบ้านพรุ
2.สถานีคลองหวะ
3.สถานีเซ็นทรัล
4.สถานีคลองเรียน
5.สถานีมอ.
6.สถานีคอหงส์ (จุดเชื่อมต่อการเดินทาง)
7.สถานีบิ๊กซี
8.สถานีหาดใหญ่วิทยาลัย
9.สถานีน้ำพุ
10.สถานีกิมหยง
11.สถานีชุมทางรถไฟหาดใหญ่
12.สถานีหาดใหญ่ใน
13.สถานีรถตู้ (วินรถตู้ตลาดเกษตร)
14.สถานีแยกสนามบิน (จุดเชื่อมต่อการเดินทาง) และ
15.สถานีแยกควนลัง (จุดสิ้นสุดแนวเส้นทาง)

สำหรับราคาค่าโดยสารที่จะจัดเก็บนั้นยังไม่มีการกำหนดรายละเอียดที่ชัดเจน คาดว่าอยู่ที่ 15 บาทตลอดสาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2015 9:16 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.คืนชีพ “รถไฟหาดใหญ่-สงขลา” เชื่อมขนส่งเชื่อม 2 นคร และแก้จราจรคับคั่ง
โดย...ไม้ เมืองขม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 ตุลาคม 2556 12:24 น.






จ.สงขลา มีปัญหาเช่นเดียวกับจังหวัดที่เป็นเมืองเศรษฐกิจอื่นๆ ในประเทศไทย นั่นคือ ปัญหาการจราจรติดขัด เนื่องจากความเติบโตของตัวเมือง ในขณะที่ประชากรเพิ่ม รถยนต์ และยานพาหนะเพิ่ม แต่ถนนหนทางมีเท่าเดิม โดยเฉพาะ จ.สงขลา เป็นเมือง “หน้าด่าน” ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซีย มีปริมาณสินค้าส่งออกทางด่านชายแดน อ.สะเดา จ.สงขลา ที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย และมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยทางด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นอันดับ 1 ของประเทศอีกเช่นกัน

ปัจจุบัน ถนนกาญจนวนิช ซึ่งถือเป็นถนนสายเอเชียที่เริ่มต้นตั้งแต่เขตเทศบาลนครสงขลา จนถึง ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเกือบ 100 กิโลเมตร ซึ่งในอดีตใช้เวลาในการสัญจรไม่เกิน 1 ชั่วโมง มาถึงวันนี้ต้องใช้เวลาในการเดินทางถึง 2 ชั่วโมง และอาจจะถึง 3 ชั่วโมงในช่วงของเวลาเร่งด่วน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ การจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนกำลังจะเป็นเช่นเดียวกับการจราจรในกรุงเทพมหานคร

ปัญหาการใช้ถนนร่วมกันระหว่างรถ 10 ล้อ 18 ล้อ และ 22 ล้อ หรือรถเทรลเลอร์ ซึ่งใช้บรรทุกสินค้า บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ บนถนนกาญจนวนิชก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้การใช้รถใช้ถนนเป็นไปด้วยความล่าช้า โดยเฉพาะอีก 2 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำนวนยานพาหนะที่ต้องผ่านเข้า-ออกบนถนนสายนี้จะต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในขณะที่จังหวัด และกระทรวงคมนาคมยังไม่มีแผนการ ไม่มีนโยบายในการแก้ปัญหาจราจรติดขัดอย่างชัดเจน ไม่มีการขยายถนน และไม่มีแผนในการสร้าง “มอเตอร์เวย์” ตามที่ภาคเอกชนได้นำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้ผ่านความเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ปรับปรุงเส้นทางการเดินรถไฟ “สายหาดใหญ่-สงขลา” ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม และเป็นการแก้ปัญหาจราจรติดขัด ซึ่งเป็นไปตามแผนเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนของรถไฟชานเมือง ที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองหาดใหญ่ และเมืองสงขลา ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมที่สุด

สำหรับเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2456 ตรงกับรัชกาลที่ 6 มีความยาวของเส้นทาง 29.087 กิโลเมตร มีสถานีหยุดรถ จำนวน 12 สถานี และต่อมา การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้หยุดเดินรถเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2521 จนถึงปัจจุบัน แต่ยังคงสภาพรางรถไฟเอาไว้คงเดิม ส่วนที่ทำการสถานีรถไฟสงขลาได้ขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์เอาไว้

เส้นทางเดินรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลาในอดีตนั้น มีสถานีจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร จำนวน 12 สถานีคือ
สถานีหาดใหญ่
สถานีตลาดเทศบาล
สถานีคลองแห
สถานีคลองเปล
สถานีเกาะหมี
สถานีตลาดน้ำน้อย
สถานีกลางนา
สถานีพะวง
สถานีน้ำกระจาย
สถานีบางดาน
สถานีวัดอุทัย และ
สถานีสงขลา

ส่วนการเปิดเดินรถครั้งใหม่จะมีการแวะรับ-ส่งผู้โดยสารกี่สถานีนั้น ขึ้นอยู่ที่การสำรวจเส้นทาง และความเป็นจริงของปัจจุบัน ซึ่งอาจจะต่างกับในอดีตที่ผ่านมา

ในอดีตรถไฟขบวนหาดใหญ่-สงขลานั้น เป็นรถไฟแบบ “หวานเย็น” คือ ขบวนการรถธรรมดา เคยเก็บค่าโดยสารที่ 2 บาท แต่ในการปรับปรุงเส้นทางเพื่อเดินรถครั้งใหม่นี้ คณะกรรมการเดินรถได้พิจารณาแล้วเห็นว่า รูปแบบที่เหมะสมกับเส้นทางสายหาดใหญ่-สงขลา คือ ระบบรถไฟดีเซลราง เพราะเหมาะสมกับระทางที่สั้น และการลงทุนที่ไม่สูงมาก

แต่การรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา เพื่อทำการเดินรถอีกครั้งของการรถไฟแห่งประเทศไทย คงจะทำได้ไม่ง่ายนัก รวมทั้งอาจจะต้องใช้เวลาที่ยาวนาน เนื่องจากตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา ซึ่งการรถไฟฯ ได้หยุดเดินรถไปแล้วนั้น สองข้างทางของริมทางรถไฟได้ถูกประชาชน และ “นายทุน” บุกรุกเข้ายึดครองนับแต่สถานีหาดใหญ่ จนถึงสถานีสงขลา ไม่มีพื้นที่ว่างเหลืออยู่แม้แต่ตารางเมตรเดียว มีการสร้างบ้านเรือน สร้างบริษัทห้างร้าน และทำการเกษตรในบางช่วงบางตอน มีการปลูกสิ่งปลูกสร้างบนรางรถไฟก็มี ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีจำนวนผู้บุกรุกเท่าไหร่ และที่มีการเช่าพื้นที่จากการรถไฟฯ มีจำนวนเท่าไหร่

ดังนั้น จึงเชื่อว่าด่านแรกของปัญหาการปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ที่เป็น “ด่านหิน” คือ การที่เจ้าหน้าที่จะต้องเผชิญกับการต่อต้านของผู้บุกรุกที่อ้างถึงความยากจน การไร้ที่อยู่อาศัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินชดเชย หรือหาที่อยู่อาศัยเป็นการทดแทน รวมทั้งรัฐต้องจ่ายชดเชยให้แก่กลุ่มผู้ที่เช่าที่รถไฟอย่างถูกต้อง ซึ่งหากเปิดเดินรถครั้งใหม่จะกลายเป็นการกีดขวางการเดินรถไปในที่สุด

อย่างไรก็ตาม การที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจรได้ปัดฝุ่นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ขึ้นมาเดินรถใหม่อีกครั้งในครั้งนี้ อย่างน้อยที่สุดประโยชน์ที่ได้รับคือ การทำให้มีเครือข่ายเชื่อมโยงของระบบขนส่งมวลชนระหว่างตัวเมือง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาจราจรติดขันที่ตรงจุด เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ประชาชนผู้หาเช้ากินค่ำ นักเรียน นักศึกษา ได้มีทางเลือกในการเดินทาง และสามารถประหยัดรายจ่ายในการเดินทาง

ในอนาคตอาจจะเชื่อมโยงกับการขนส่งสินค้ากับท่าเรือน้ำลึกสงขลา และอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาอีกช่องทางหนึ่ง.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/03/2015 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

“นายกนิพนธ์” โชว์ศักยภาพประสานสนข.-สภาพัฒน์ ดึงอบจ.ทั่วใต้ร่วมวาง
ระบบโลจิสติกส์ พร้อมดันสงขลาเป็นศูนย์กลางคมนาคม ด้วยต้นทุนต่ำสุด โดยระบบรางเชื่อมทางน้ำ ดัน “รถไฟทางคู่” หาดใหญ่-สงขลา ให้รฟท.เคลียร์ปัญหาผู้บุกรุก
ที่มา: หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ฉบับ 885 วันที่ 14-20 มี.ค.58

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42746
Location: NECTEC

PostPosted: 27/03/2015 12:00 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ก็ดูต่อไปว่า จะทำได้หรือเปล่า แต่ส่อว่าต้องรอให้ หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ และ หาดใหญ่ โมโนเรล เป็นรูปเป็นร่างซะก่อนละมั้ง

หาดใหญ่โมโนเรล
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=pZVbTMMKg9M
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/03/2015 10:02 pm    Post subject: Reply with quote

เทศบาลนครหาดใหญ่ ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) อุดหนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ลอดทางรถไฟฯ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร พร้อมเพิ่มขีดความสามารถรองรับ AEC ได้อย่างสมบูรณ์
Click on the image for full size

แหล่งที่มา : สวท.สงขลา วันที่ข่าว : 30 มีนาคม 2558

นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เปิดเผยว่า เทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมดำเนินโครงการก่อสร้างถนนรถยนต์ลอดใต้ทางรถไฟ ในเขตพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณปลายซอย 7 ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1 เชื่อมต่อกับ ซอย 14 โชคสมาน 5 เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนให้ครอบคลุมทุกด้านและเตรียมความพร้อมปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถให้นครหาดใหญ่ สามารถรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากสภาพการจราจรภายในนครหาดใหญ่มีความหนาแน่นเป็นอย่างมาก ประกอบกับการจราจรที่ติดขัดได้ขยายตัวออกเป็นวงกว้างมากขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบกับธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว และการดำเนินชีวิตของประชาชน เป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ เทศบาลนครหาดใหญ่จึงเป็นต้องสำรวจสภาพปัญหาการจราจรในพื้นที่โดยรอบเพื่อนำมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดโครงการก่อสร้างถนนรถยนต์ลอดใต้ทางรถไฟ ในเขตพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณปลายซอย 7 ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1เชื่อมต่อกับ ซอย 14 โชคสมาน 5 ขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มเส้นทางการจราจร โดยการทำการก่อสร้างสะพานสำหรับเป็นเส้นทางวิ่งของรถไฟ ขนาดความกว้าง 15.50 เมตร ยาว 17.00 เมตร และ ทำการก่อสร้างถนนคอนกรีตลอดใต้ทางรถไฟ โดยมีช่องจราจรเข้าเมืองกว้าง 6.00 เมตร และขาออกเมืองกว้าง 6.00 เมตร พร้อมทางเท้า เพื่อเชื่อมการจราจรระหว่าง ถนนฝั่งโชคสมาน กับ ถนนรัถการ บริเวณหน้าโรงพยาบาลหาดใหญ่

ทั้งนี้ เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้ดำเนินการขออนุญาตใช้สิทธิเหนือพื้นดินจากการรถไฟฯ เพื่อทำการก่อสร้าง และทางการรถไฟแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ดำเนินการออกแบบและดำเนินการก่อสร้างเองเนื่องจากโครงการฯ นี้ ได้ดำเนินการในเขตพื้นที่ทางรถไฟ และเกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยและการควบคุมการเดินของรถไฟโดยตรง โดยมีเทศบาลนครหาดใหญ่เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ เป็นเงินกว่า 42 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างถนนรถยนต์ลอดใต้ทางรถไฟนี้ มีผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ดำเนินการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหลายครัวเรือน เทศบาลนครหาดใหญ่ จึงได้จัดเวทีชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และเจ้าของอาคารที่ปลูกสร้างอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการดังกล่าว เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้ง 19 ครัวเรือน ที่ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินรถไฟต้องรื้อถอนออกไป ในบริเวณพื้นที่เขต 1 ถนนถัดอุทิศ จำนวน 9 ครัวเรือน พื้นที่เขต 4 ถนนโชคสมาน 5 จำนวน 10 ครัวเรือน และหลังจากนั้นได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) การอุดหนุนงบประมาณให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยในการดำเนินโครงการดังกล่าวร่วมกัน ระหว่าง นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ กับ นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้การก่อสร้างโครงการประสบผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และหากโครงการนี้แล้วเสร็จจะสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนภายในนครหาดใหญ่และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก และเป็นการลดระยะเวลาในการเดินทางของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณฝั่งหาดใหญ่ใน บริเวณฝั่งโชคสมาน ในการเดินทางมาฝั่งถนนรัถการ รวมถึงช่วยแก้ปัญหาจราจรบรรเทาความแออัดของรถบริเวณหน้าโรงพยาบาลหาดใหญ่ได้อีกทางด้วย ตลอดจนส่งผลดีให้กับธุรกิจการค้า การลงทุน และท่องเที่ยว ตลอดจนเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2559
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/04/2015 3:04 pm    Post subject: Reply with quote

"หาดใหญ่-ปาดัง"26นาที รับรถไฟฟ้ามาเลย์-รฟท.ศึกษาทางคู่บ่อยาง
by Focus Team @01-04-2558 14.31

ยุทธศาสตร์ชาติมุ่งระบบราง สนข.- รฟท. ฟื้นเส้นทางสงขลา วางแผน รถไฟทางคู่ สุราษฎร์ฯ-บ่อยาง พร้อมทุ่ม 38 ล้าน ศึกษาออกแบบรถไฟฟ้าหาดใหญ่-ปาดังฯ วิ่ง 26 นาที รองรับ ระบบมาเลเซีย

วันที่ 25 มีนาคม 2558 นายชัยวัฒน์ ศิรินุพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาและออกแบบระบบรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ โดยมี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พร้อมคณะทำงาน บริษัทที่ปรึกษาโครงการ ส่วนราชการ ส่วนท้องถิ่น และ ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วม ณ โรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า รูปแบบโครงการจะเป็นการศึกษา พัฒนา รถไฟทางคู่เพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพการขนส่ง และที่สำคัญคือ เป็นระบบใหม่ เป็นโครง การแรกของประเทศไทย สำหรับรถไฟที่ขับ เคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งการใช้รถ ไฟฟ้ามีประโยชน์หลายอย่าง ทั้งเรื่องต้น ทุนการใช้พลังงาน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาระบบรถไฟในอนาคต ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกได้เปลี่ยนมาเป็นรถไฟฟ้ามากขึ้น
ระบบการขนส่งโดยระบบราง เป็นระบบที่มีความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการขนส่งทางถนน เพียงแต่ว่าการขนส่งทางรางจำเป็นต้องมีสถานที่ คลังเก็บสินค้า มีสถานี ซึ่งก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุน แต่ถ้ามองในภาพรวมของประเทศจะมีความคุ้มค่าในระยะยาวมาก

สงขลามีความพร้อมของพื้นที่อยู่แล้ว เพราะเรามีท่าเรือสงขลา และหาดใหญ่ เป็นอำเภอที่มีความเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก มูลค่าการค้าชายแดนกว่าครึ่งของประเทศอยู่ที่สงขลา เพราะฉะนั้นเส้นทางนี้จะตอบโจทย์ในเรื่องการพัฒนาพื้นที่ แน่นอน? นายชัยวัฒน์ กล่าว และว่า
การศึกษาเราเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนธันวาคม ใช้เวลา 10 เดือน โดยใช้งบ 38 ล้านบาท ต้องศึกษาว่า มีความเหมาะสมอย่างไรบ้าง ในการพัฒนา เป็นรถแบบไฟฟ้า เป็นโครงการที่ศึกษาและ ออกแบบรายละเอียด บริษัทที่ปรึกษาจะ ต้องลงพื้นที่ตลอดแนวเส้นทาง เพื่อทำแบบละเอียด พิมพ์เขียว

ผลการศึกษา จะได้คำตอบว่า โครงการมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด

จากนั้นผลการศึกษาจะบอกว่า วิธีการลงทุนควรลงทุนอย่างไรบ้าง อาจจะไม่ได้ทำทาง 1 เมตร ทั้งคู่พร้อมกัน แต่อาจจะทำขึ้นมาเส้นหนึ่ง โดยใช้เส้นเดิมที่มีอยู่แล้วก่อน และจะพัฒนาตัวรถไฟระบบไฟฟ้า ซึ่งผลการศึกษาจะบอกอีกที แต่คงไม่ทำทีเดียวทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะต้นทุนการก่อสร้างสูง และระยะเวลาการก่อสร้างก็ใช้เวลาพอสมควร รวมทั้งส่วนอื่นที่สำคัญ เช่น ระบบควบคุมสัญญาณ และตัวรถไฟ ซึ่งต้องสั่งเข้ามา และเป็นโครงการแรกที่จะ ใช้รถไฟที่เป็นมาตรฐานเหมือนที่มาเลเซีย และที่สำคัญจะใช้รถไฟนี้วิ่งผ่านระหว่าง 2 ประเทศ ไม่ใช่มาหยุดที่ชายแดนแล้วมาเปลี่ยนถ่ายสินค้า

สำหรับแนวเส้นทาง เริ่มจากชุมทางหาดใหญ่ ผ่านสถานีคลองแงะ และสิ้นสุดที่จุดหยุดรถปาดังเบซาร์ รวมระยะทาง 48 กิโลเมตร เพื่อขยายโครงข่ายจากสถานีด่านปาดังเบซาร์ ชายแดนมาเลเซีย ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบรถไฟทางคู่ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าของมาเลเซีย สายอิโปห์-ปาดังเบซาร์ โดยรถไฟสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ส่วนการเดินรถจริง จะให้ความเร็วเฉลี่ยที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากชุมทาง หาดใหญ่ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ ใช้เวลาเพียง 26 นาที

โดยจะมีการออกแบบและปรับปรุงจุดตัดระดับดินของถนนท้องถิ่น 33 จุด ไม่ให้การเดินรถไฟมีจุดตัดกับถนน โดยออกแบบทางลอดหรือทางข้ามในรูปแบบ ที่เหมาะสมตลอดแนว และปรับปรุงจุดตัด ทางน้ำทั้งสิ้น 60 จุด เพื่อให้ระบบการ ระบายน้ำ และควบคุมน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพ ในโครงการนี้เราได้ศึกษาด้วยว่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งชุมชนอย่างไรบ้าง เนื่องจากโครงการนี้ใช้แนวเขต ทางรถไฟเดิม แต่ในพื้นที่เขตทางรถไฟเดิม

มีหลายพื้นที่ที่ประชาชนได้เข้าไปอยู่อาศัย รวมทั้งการรถไฟก็ได้ให้ทางภาคเอกชนเช่า เพราะฉะนั้นเราก็จะเลือกแนวเสนทางในพื้นที่เขตทางรถไฟให้มากที่สุด

ถ้าจำเป็นต้องออกนอกเขต ก็ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

นายชัยวัฒน์ กล่าวถึงกรณีการฟื้นเส้นทางรถไฟสายสงขลา-หาดใหญ่ตามที่ ?ภาคใต้โฟกัส? ได้นำเสนอข่าวในฉบับที่ 885 ประจำวันที่ 14-20 มีนาคม 2558 ว่า
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาเส้นทาง รถไฟรางคู่สายหาดใหญ่-สงขลา โดยเป็น การศึกษาตั้งแต่เส้นทางจากสุราษฎร์ธานี ลงมาที่หาดใหญ่ แล้วต่อไปที่เส้นทางรถไฟเดิม ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา

ตอนนี้สนข.กับการรถไฟฯ ประสาน งานกันอยู่ เพื่อให้โครงการสองโครงการนี้ เป็นโครงข่ายเดียวกัน ซึ่งการรถไฟฯเป็นผู้ดำเนินการอยู่? โดยการที่จะให้จังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางการขนส่งตรงนี้ มีปัจจัยอยู่ 2 ส่วนคือหนึ่ง ลักษณะ ทำเล ที่ตั้งของหาดใหญ่
ซึ่งหาดใหญ่เป็นชุมทางอยู่แล้ว และการพัฒนาระบบราง เราก็ใช้แนวเดิมในการพัฒนา ทำให้เป็นทางคู่ขึ้นมา แล้วเอาระบบรถไฟฟ้ามาวิ่ง

สอง การลงทุนของภาคเอกชน ถ้า เราพัฒนาระบบรางขึ้นมาแล้ว ภาคเอกชนไม่ลงทุน ไม่ใช้ประโยชน์จากการที่เรามีโครงสร้างพื้นฐานนี้ มันก็ไม่เกิด
ส่วนการเชื่อมโยงกับท่าเรือสงขลาเป็นส่วนที่การรถไฟฯ ดูแลรับผิดชอบ แต่อย่างไรก็ตาม สนข.ก็ดูในภาพรวมเรื่องการ พัฒนาประเทศ โดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน ทุกด้าน ทั้งระบบราง ถนน และทางน้ำ

ก็พยายามที่จะบอกรัฐบาลหรือคนไทย ว่า อะไรบ้างที่ควรจะต้องทำ ยุทธศาสตร์ของประเทศในการพัฒนา 7-8 ปีข้างหน้า เราเน้นการขนส่งทางราง เป็นหลัก นายชัยวัฒน์ กล่าวในที่สุด

หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ฉบับ 887 วันที่ 28-3 เมษายน 25558
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 34, 35, 36 ... 41, 42, 43  Next
Page 35 of 43

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©