Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311339
ทั่วไป:13295646
ทั้งหมด:13606985
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 8, 9, 10 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2015 7:40 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีทองผ่านคอนโดใครบ้างมาดูกัน
เกริก บุณยโยธิน
propholic
30 กันยายน 2558 at 2:47 pm

Click on the image for full size
แนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีทอง

ในอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ ชาวฝั่งธนฯได้มีเฮสองต่อ เพราะนอกจากจะมีโครงการดังอย่างไอคอนสยามมาเปิดแล้ว ก็ยังได้รับส้มหล่นเป็นรถไฟฟ้าสายสีทอง (โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง สถานีรถไฟฟ้าธนบุรี-เขตคลองสาน-ประชาธิปก) ที่เหมือนเป็นของสมนาคุณจากไอคอนสยามแบบฟรีๆ ชนิดที่รัฐฯไม่ต้องลงทุนสักบาท…การมาของรถไฟฟ้าสายสีทอง ไม่ได้มีข้อดีแค่ช่วยให้การเดินทางมาไอคอนสยามสะดวกขึ้นครับ โดยตลอดระยะทางประมาณ 2.7 กม. จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ 5 สถานี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ระยะที่ 1 กำหนดเปิดให้บริการปี 2560

ระยะทาง 1.5 กม. มีจำนวนสถานี 3 สถานี โดยสถานีแรกจะเชื่อมต่อกับสถานีกรุงธนบุรี และเข้าโครงการไอคอนสยามที่สถานีที่สอง และไปสิ้นสุดที่สี่แยกคลองสาน

มีโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง

ระยะที่ 2 กำหนดเปิดให้บริการปี 2562

ระยะทาง 1.2 กม. มีจำนวนสถานี 2 สถานี แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีดับเพลิงคลองสาน สิ้นสุดที่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก

เนื่องจากคำนึงถึงการรักษาทัศนียภาพที่สวยงามของเขตคลองสาน และเพื่อหลีกเลี่ยงการเวนคืนที่ดินเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน ทางโครงการฯจึงออกแบบทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีทองบริเวณกลางถนน โดยในแต่ละข้างถนนจะมีเลนวิ่ง 3 ช่องทางการจราจร…สำหรับรูปแบบรถไฟฟ้าที่เหมาะสมในการนำมาใช้นั้น ได้แก่รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ระบบขนส่งมวลชนแบบนำทางอัตโนมัติ (Automated Guided Transit, AGT) รถไฟฟ้าเคเบิล (Cable Hauled) และรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail)/รถราง (Tram)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2015 1:03 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านหวั่นสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองเอื้อเอกชนมากกว่า
เดลินิวส์
วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 16:30 น.

ชาวบ้านหวั่นสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองเอื้อเอกชนมากกว่า กทม.ให้กลุ่มธุรกิจในพื้นที่ร่วมลงทุนเดินหน้าโมโนเรลฝั่งธนฯ ประชาชนกลัวไม่ได้ประโยชน์จริงเพราะเส้นทางซ้ำซ้อนกับที่ก่อสร้างอยู่แล้วหลายสาย

นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร (กทม.)กล่าวในการเป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่1โครงการศึกษาความเหมาะสมจัดทำรูปแบบและจัดเตรียมเอกสารโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง(สถานีรถไฟฟ้าเขตคลองสาน ประชาธิปก)หรือรถไฟฟ้าสายสีทองเพื่อแนะนำโครงการและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ว่า พื้นที่เขตคลองสานและเขตธนบุรีมีประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก มีปริมาณจราจรในพื้นที่โครงข่ายสูงถึง220,000คันต่อวันและมีผู้โดยสารรถไฟฟ้ามากถึง46,800คนต่อวัน อีกทั้งในอนาคตจะมีการพัฒนาศูนย์ราชการตลอดจนอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น กทม.จึงศึกษาแนวทางเพิ่มระบบขนส่วนมวลชนระบบรองรับการเติบโตของเมืองลดปัญหาจราจรโดยการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีม่วงที่กำลังจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะเปิดรับความคิดเห็นอีก2ครั้งและสรุปผลการศึกษาเดือนม.ค.2559 อย่างไรก็ตาม กทม.ได้รับการประสานจากภาคเอกชนคือกลุ่มบริษัทไอคอนสยามซึ่งกำลังจะก่อสร้างศูนย์การค้าในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นส่วนเพิ่มปัญหาการจราจรในพื้นที่เนื่องจากมีกำหนดจะเปิดศูนย์การค้าในปี2560 จึงจะสนับสนุนงบการก่อสร้างและการจัดซื้อรถ โดย กทม.จะเป็นผู้บริหารจัดการเดินรถพร้อมจัดเก็บค่าโดยสารเป็นรายได้ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าไม่เป็นภาระของท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นโครงการที่ กทม.ศึกษาเส้นทางมาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งสอดคล้องกันและสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้รถไฟฟ้าสายสีทองจะเป็นรถไฟฟ้ารูปแบบระบบเบาหรือโมโนเรล ก่อสร้างบน เกาะกลางถนนไม่ต้องเวนคืนที่ดิน แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสกรุงธนบุรีวิ่งไปตาม ถนนกรุงธนบุรีเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนครข้ามแยกคลองสาน เข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยาผ่านหน้าโรงพยาบาลตากสินและสิ้นสุดระยะที่บริเวณจุดตัดกับถนนประชาธิปกคาดว่าเปิดให้บริการได้ปลายปี2560และจะมีผู้โดยสารประมาณ47,000คนต่อวันโดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น2ระยะในระยะแรกจะมี3สถานีได้แก่ 1.สถานีบริเวณบีทีเอสกรุงธนบุรี2.สถานีบริเวณถนนเจริญนครและ3.สถานีบริเวณโรงพยาบาลตากสิน ใช้งบประมาณก่อสร้างราว3,000ล้านบาทส่วนระยะที่2มีการก่อสร้างต่อเนื่องไปถึงวัดอนงคารามและก่อสร้างไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงในแนวถนนประชาธิปกซึ่งส่วนนี้กทม.จะพิจารณาต่อไปว่าจะลงทุนก่อสร้างเองหรือภาคเอกชนยังคงสนใจให้การสนับสนุนต่อไป ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมรับฟังความคิดเห็น ประชาชนมีการแสดงความคิดเห็นว่าย่านคลอนสานมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าในแนวบริเวณใกล้เคียงทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงและโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งหากก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองจึงถือเป็นโครงการซ้ำซ้อนมากเกินไปหรือไม่อีกทั้งโครงการดังกล่าวกทม.ก่อสร้างเพื่อประชาชนโดยแท้จริงหรือก่อสร้างเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชน.“
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2015 9:07 pm    Post subject: Reply with quote

[url]เลาะแนวรถไฟฟ้า"สายสีทอง" ...รู้ยัง? วิ่งเส้นไหน เสร็จเมื่อไหร่ !![/url]
มติชน
วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 16:00:23 น.





เลาะแนวรถไฟฟ้าสายสีทอง ปักหมุด 5 สถานี-ไม่มีเวนคืน เริ่มตั้งไข่แล้ว โปรเจ็กต์รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีทองของ "กทม.-กรุงเทพมหานคร" ที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก "ไอคอนสยาม"

โปรเจ็กต์ร่วมทุนของกลุ่มสยามพิวรรธน์และแมกโนเลียธุรกิจในเครือซีพีมาก่อสร้าง เพื่อเป็นโครงข่ายรองรับการเปิดศูนย์การค้ายักษ์เดือน ธ.ค. 2560

"ทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์" ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. เปิดเผยว่า วันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกที่ กทม.มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณารายละเอียดโครงการ คาดว่าการศึกษาจะเสร็จเดือน ม.ค. 2559 ตามแผนจะสร้างเสร็จและเปิดให้บริการเดือน ธ.ค. 2560 มีผู้ใช้บริการ 47,000 คน/วัน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีชุมชน ที่พักอาศัย ตั้งอยู่หนาแน่น และมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูงในอนาคต จะมีห้างสรรพสินค้า คอนโดมิเนียม สำนักงานและร้านอาหาร

"โครงการสร้างเสร็จ เอกชนจะโอนเป็นทรัพย์สินให้กทม.ทั้งหมด และ กทม.จะเป็นผู้บริหารจัดการ จัดเก็บค่าโดยสารเป็นรายได้แก่ท้องถิ่น เพื่อลดภาระ แนวคิดก็สอดคล้องกันระหว่าง กทม.กับเอกชนที่จะลงทุนค่าก่อสร้างและระบบรถไฟฟ้าให้"



สำหรับแนวเส้นทางจะเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และสายสีแดง โดยจุดเริ่มต้นต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีธนบุรี-เขตคลองสาน-ประชาธิปก รวม 2.7 กม. มี 5 สถานี (ดูแผนที่) แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ

ระยะที่ 1 ช่วงบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี-โรงพยาบาลตากสิน ระยะทาง 1.7 กม. จากสถานีบีทีเอสแนวเส้นทางจะวิ่งมาตามถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร ผ่านวัดสุวรรณาราม มุ่งหน้าไปตามถนนเจริญนคร ผ่านถนนเจริญรัถ แยกคลองสาน และสิ้นสุดหน้าโรงพยาบาลตากสิน มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี (G1) สถานีไอคอนสยาม (G2) อยู่บริเวณเจริญนคร 6 และสถานีคลองสาน (G3) ใช้เงินลงทุนประมาณ 2-3 พันล้านบาท

ระยะที่ 2 จากโรงพยาบาลตากสิน-วัดอนงคารามวรวิหาร ระยะทาง 1 กม. มี 2 สถานี ได้แก่ สถานี G4 อยู่ก่อนถึงโรงเรียนจันทรวิทยาและสถานี G5 อยู่ก่อนถึงวัดอนงคารามวรวิหาร ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (เดโป้) จะสร้างอยู่ในสถานีกรุงธนบุรี

"ปีหน้าจะเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อนำบรรจุในแผนแม่บทรถไฟฟ้า รวมถึงจะทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ จะใช้เวลาไม่นาน เพราะไม่มีเวนคืน สร้างบนเกาะถนนและทางเท้า และใช้ระบบรถไฟฟ้าขนาดรอง จะมีความยืดหยุ่นจัดรูปแบบสถานี และช่วยรับส่งคนเข้าระบบหลักอย่างบีทีเอส สายสีม่วงและสายสีแดงได้ในอนาคต เพื่อแก้รถติด"

//-----------------

คนฝั่งธนฯแนะกทม.จูงเอกชนลงขัน ขยายรถไฟสายสีทองเชื่อมต่อเส้นอื่น
By ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 23 ตุลาคม 2558 0 81
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3098 วันที่ 22 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ชาวคลองสานหนุนกทม.ดึงKbank-BTS ลงทุนสร้างรถไฟสายสีทอง ต่อยอดเฟสแรกที่สิ้นสุดแค่แยกร.พ.ตากสินเลี่ยงข้อกล่าวหาเอื้อซีพี แนะลงทุนครั้งเดียวควรขยายเส้นทางเชื่อมถึงราษฎร์บูรณะ ส่วนฝั่งตะวันตกเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีน้ำเงินก่อนสิ้นสุดที่ศิริราช ด้านกทม.ยันไม่มีเวนคืน

แหล่งข่าวจากการเปิดรับฟังความเห็นครั้งที่ 1 ของโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง ระหว่างสถานีรถไฟฟ้าธนบุรี-เขตคลองสาน-ประชาธิปก จัดโดยสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) เผยว่าหากกทม.จะดำเนินการก่อสร้างเพียงไม่กี่กิโลเมตร เพื่อเอาใจเอกชนคือ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็นเจ้าของโครงการ และเป็นผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างเส้นทาง เพื่อรองรับโครงการไอคอนสยามนั้น

หากกทม.เห็นความสำคัญของโครงการ และไม่เอื้อเอกชนเพียงรายใด ควรพิจารณาขยายเส้นทางออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ทั้งควรจะเจรจากับบีทีเอสให้ลงทุนก่อสร้างจากช่วงสถานีบีทีเอสกรุงธนบุรี – แยกโรงพยาบาลตากสิน ส่วนช่วงจากแยกโรงพยาบาลตากสินไปแยกบ้านแขก ที่เชื่อมกับสายสีม่วงใต้(เตาปูน-พระประแดง) ควรเจรจากับไอคอนสยาม และช่วงจากสี่แยกบ้านแขกไปเชื่อมกับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินที่สถานีอิสรภาพและสิ้นสุดที่ใกล้โรงพยาบาลศิริราช ควรใช้งบของกทม.ดำเนินการ หากไม่มีเอกชนสนใจลงทุนช่วงนี้ จากนั้นช่วงสถานีบีทีเอสกรุงธนบุรี-ถนนราษฎร์บูรณะควรเจรจากับธนาคารกสิกรไทย เพื่อขยายเส้นทางไปถึงหน้าธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่

“การขยายเส้นทางผลดีจะมีมากกว่าเอาใจแค่เอกชน ที่สำคัญหากขยายถึงโรงพยาบาลศิริราชประชาชนจะสะดวกมากขึ้น ลดปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนอิสรภาพ ส่วนช่วงจากบีทีเอสกรุงธนบุรี หากกสิกรไทยสนับสนุนให้สร้างถึงสำนักงานใหญ่จะส่งผลดีอย่างมาก ทั้งอำนวยความสะดวกให้เข้าถึงระบบขนส่งมวลชน สร้างความเจริญให้พื้นที่ด้วย ทุกรายได้ประโยชน์หมดไม่เฉพาะเอกชนเท่านั้น”

ด้านนายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสจส.กทม. กล่าวว่าโครงการนี้เฟสแรก คือช่วงถนนกรุงธนบุรี-แยกคลองสาน(บีทีเอสกรุงธนบุรี-แยกโรงพยาบาลตากสิน) ลงทุนประมาณ 2 พันล้านบาท ส่วนเฟสที่ 2 ช่วงถนนสมเด็จเจ้าพระยา-ถนนประชาธิปกระยะประมาณ 1 กิโลเมตร

“เริ่มต้นจากบริเวณสถานีบีทีเอสกรุงธนบุรี สิ้นสุดที่หน้าวัดอนงคารามประมาณ 3 กิโลเมตร 4 สถานี งบประมาณส่วนหนึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนคือกลุ่มไอคอนสยาม นับเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระบบสายรองของกทม. ซึ่งอยู่ระหว่างเร่งศึกษาความเป็นไปได้โดยจะแล้วเสร็จเดือนมกราคม 2559 คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการในปี 2560 มีผู้โดยสารประมาณ 4.7 หมื่นคน/วัน ซึ่งนโยบายของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะไม่มีการเวนคืนทั้งสิ้น โดยจะประมูลก่อสร้างและ บริหารจัดการพร้อมกัน หรืออาจจะให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที)รับไปดำเนินการ”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44955
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/12/2015 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

โมโนเรลกทม.สะดุดชาวทองหล่อค้านโครงสร้างยกระดับ
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2558 เวลา 10:15 น.

กทม.เข็นโมโนเรลสายแรก ส่อพลาดเป้าไม่ทันประมูลมี59 เหตุชาวทองหล่อค้านโครงสร้างยกระดับ ทบทวนรูปแบบก่อสร้างใหม่

นายทวีศักดิ์เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร (กทม.)กล่าวว่าในโครงการศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว(โมโนเรล)สายสีเทาช่วงวัชรพล สะพานพระราม9ท่าพระความยาวรวมกว่า 39.91กิโลเมตรซึ่งระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวถือเป็นทางเลือกในการเดินทางที่ดีเนื่องจากมีขนาดเล็กก่อสร้างได้รวดเร็วโดยเส้นทางในโครงการช่วงวัชรพลสะพานพระราม9ท่าพระถือเป็นเส้นทางที่มีศักยภาพเนื่องจากประชาชนจะสามารถใช้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าในระบบรางสายอื่นๆได้มากถึง6สาย โดยขณะนี้กทม.ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเสร็จสิ้นแล้วแต่ในรูปแบบของรถไฟฟ้ายังคงต้องมีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมเนื่องจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ผ่านมายังคงประชาชนบางส่วนมีข้อเสนอแนะให้ปรับรูปแบบโครงการโดยเฉพาะช่วงเฟสแรกในเส้นทางวัชรพล-ทองหล่อระยะทาง 16กิโลเมตรนั้นเป็นเส้นทางที่ตัดผ่านเข้าสู่ถนนทองหล่อประชาชนบางส่วนไม่ต้องการให้โครงสร้างของโมโนเรลมีบดบังทัศนียภาพของอาคารในแนวถนนโดยประชาชนบางส่วนเสนอให้กทม.ปรับรูปแบบโมโนเรลลอยฟ้าเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินแทน

นายทวีศักดิ์กล่าวต่อว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อประชาชนมีข้อเสนอกทมงจึงต้องนำกลับมาศึกษารูปแบบว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เพราะเหตุใด แต่เบื้องต้นหากทำเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินจะต้องมีค่าก่อสร้างที่เพิ่มมากขึ้นและใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างอีกจำนวนมากจึงอาจเป็นไปได้ยากโดยกทม.จะต้องทำการชี้แจงถึงโครงการให้ประชาชนเข้าใจมากยิ่งขึ้นโดยหากสรุปผลได้เสร็จสิ้นกทม.ก็จะนำผลการศึกษาโครงการเข้าสู่การพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ต่อไปทั้งนี้เฟสแรกเส้นทางวัชรพล-ทองหล่อระยะทาง 16กิโลเมตรตามเป้าหมาย กทม.จะเริ่มการก่อสร้างในปี59และจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น3ปีก็สามารถเปิดให้บริการได้แต่ด้วยติดปัญหาต่างๆอาจทำให้โครงการก่อสร้างต้องเลื่อนออกไปในปี60

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทา ช่วงวัชรพล สะพานพระราม9ท่าพระจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น3เฟสคือ
ช่วงที่1วัชรพล-ท่องหล่อระยะทาง 16.25กิโลเมตรงบประมาณการก่อสร้าง24,000ล้านบาท
ช่วงที่2พระโขนง-พระราม3ระยะทาง12.17กิโลเมตรงบประมาณการก่อสร้าง15,000ล้านบาทและ
ช่วงที่3พระราม3-ท่าพระระยะทาง 11.49กิโลเมตรงบประมาณการก่อสร้าง18,000ล้านบาท
โดยเบื้องต้นจะดำเนินการก่อสร้างสถานีขึ้นจำนวน39สถานนีซึ่งเริ่มต้นที่สถานีวัชรพลและสิ้นสุดที่สถานนีท่าพระ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2016 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ที่รอคอย! รถไฟฟ้าสายสีทองเผยรายละเอียดสถานี
Condoman

propholic
09 กุมภาพันธ์, 2016 at 11.28 am

รถไฟฟ้าสายสีทองเป็นรถไฟฟ้าที่ทางไอคอนสยาม อภิมหาโปรเจกยักษ์ของ สยามประเทศ ทุ่มงบกว่า 2,000 ล้าน ลงทุนสร้างขึ้นมา แล้วมอบให้กทม. เอาไปดูแลเพื่อเปิดให้บริการ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ที่จะเดินทางมาห้าง Iconsiam ที่จะมีทั้ง Takashimaya และห้างริมน้ำระดับ ultimate luxury นอกจากนี้ยังมีประโยชน์มหาศาลในการทำหน้าที่ เป็นรถไฟฟ้าสายรองเชื่อมต่อคน เข้าสู่รถไฟฟ้าสายหลัก

ในการศึกษาโครงการ ในเฟสที่ 1 บริษัทที่ปรึกษาออกแบบไว้ 4 สถานี คือเริ่มต้น

สถานี G1 ที่กรุงธนบุรี interchange เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ตรงไปตามถนนกรุงธนบุรีขาเข้า แล้วเลี้ยวซ้ายไปเจริญนคร วิ่งตรงไปเรื่อยๆ
สถานี G2 จะอยู่ที่หน้าโครงการ Iconsiam วิ่งผ่านไปถึงทางแยกแล้ววิ่งเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา
สถานี G3 ตำแหน่งด้านหน้าโรงพยาบาลตากสิน วิ่งไปตามแนวถนนจนสิ้นสุดที่
สถานี G4 ประชาธิปก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง(ใต้)


โดยโครงการก่อสร้างเฟสแรกซึ่ง Iconsiam เป็นคนลงทุนจะสร้างแค่ 3 สถานี G1-G3 และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2561 (สถานีG4 กทม.จะเป็นคนรับผิดชอบในการก่อสร้างต่อไป)

รายละเอียดและตำแหน่งสถานี

สถานีกรุงธนบุรี G1 อยู่ติดกับสถานี BTS กรุงธนบุรี อยู่ที่เกาะกลางของถนนด้านในด้านหน้าลานจอด Park&Ride และคอนโด Villa Sathorn สถานีนี้เป็นสถานีแรกและยังเป็นโรงซ่อมบำรุง (depot) อีกด้วย โดยเชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้างเดียวแบ่งตัวสถานี ที่ยาวประมาณ 100 เมตร ออกอย่างละครึ่ง ครึ่งแรกใช้ซ่อมบำรุงและควบคุมการเดินรถ อีกครึ่งใช้เป็นตัวสถานี


จุดเชื่อมต่อระหว่าง BTS กับสายสีทองมีขนาดใหญ่พอสมควร ขนถ่ายคนได้สะดวกและยังสวยงามเหมือนจุดเชื่อมต่อหลายๆที่ ที่เปิดบริการอยู่ในปัจจุบัน


สถานีเจริญนคร G2 อยู่บริเวณหน้าโครงการ Iconsiam รางรถและตอม่อ จะอยู่ที่ตรงกึ่งกลางของถนนเจริญนคร จะต้องมีการลดขนาดฟุทบาททั้งสองฝั่งเล็กน้อย เพื่อชดเชยเพิ่มพื้นที่ผิวจราจร ที่โดนตอม่อรถไฟฟ้ากินไป ให้ถนนยังคงความเป็นฝั่งละ 3 เลนอยู่ โดยจะมีการขุดย้ายต้นไม้ออก เพื่อปลูกใหม่หลังจากขยายถนนเสร็จแล้ว


สถานีคลองสาน G3 อยู่บนฟุทบาทเลียบคลองของถนนสมเด็จเจ้าพระยา ตรงข้ามโรงพยาบาลตากสิน โดยจะมี skywalk เชื่อมต่อกับโรงพยาบาล อำนวยความสะดวกให้คนที่มาใช้บริการ ยังเป็นจุดเชื่อมต่อกับท่าเรือคลองสาน ตามนโยบายรางต่อเรือ

สถานีประชาธิปก G4 อยู่บนถนนสมเด็จเจ้าพระยา บริเวณปากซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 ซึ่งในอนาคตจะเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟ MRT สายสีม่วงใต้ (สถานีนี้ไม่อยู่ในเฟสการก่อสร้างแรก คาดการณ์ว่าพร้อมเปิดใช้บริการในปี2566 - ชะรอยจะรอให้ สถานีรถไฟฟ้าสายม่วง ส่วนต่อขยายเป็นรูปเป็นร่างซะก่อน)

ในอนาคตรถไฟฟ้าสายสีทองยังจะขยายต่อไปอีก 6 สถานี แบ่งเป็นสถานีต่อขยายจาก G4 อีก 3 สถานี และสถานีจาก G1 เลี้ยวขวาตามถนนเจริญนครมุ่งหน้าสะพานกรุงเทพอีก 3 สถานี

รถไฟฟ้าสายสีทองเป็นระบบรางเบา มี 3 ตู้โดยสาร ตู้ละ 10 เมตร เป็นระบบล้อยางวิ่งน้ำหนักไม่มาก เสียงจากการวิ่งของรถค่อนข้างเงียบ ประมาณ 50 เดซิเบล ไม่มีมลพิษทางเสียง (ระดับเสียง ณ จุดวัดในปัจจุบันอยู่ที่ 67 เดซิเบล) ขนาดความสูงของรางพอๆกับของ BTS

เฟสก่อสร้างแรกมีระยะทาง 1.7 กิโลเมตร ไม่มีการเวนคืนที่ดินเลย แต่ต้องลดขนาดฟุทบาทของถนนเจริญนครทั้งสองฝั่งเล็กน้อย - เงินในการก่อสร้างและวางระบบอานัติสัญญาณ ไอคอนสยามเป็นสปอนเซอร์ทั้งหมด - จะยื่น eia ปลายเดือนมีนาคมที่จะถึง พร้อมเปิดใช้บริการภายใน 20 เดือน หลังจาก eiaผ่าน

คาดการณ์ผู้โดยสาร
สถานี G1 เข้าระบบ 36,000คน ออกจากระบบประมาณ 34,000 คน
สถานี G2 เข้าระบบ 49,000คน ออกจากระบบ 51,000 คน
สถานี G3 เข้าระบบ 26,000คน ออกระบบ 26,000 คน

ปัจจุบันโครงการนำเสนอไปถึง คจร (คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก) รอการอนุมัติ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2016 9:38 pm    Post subject: Reply with quote

คนฝั่งธนลุ้นสายสีทองคลอด วัดใจไอคอนสยามหนุนสร้าง/รอรับฟังความเห็น 18 ก.พ.นี้
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์มื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,127
วันที่ 31 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กทม.เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีทอง ยันมอบหมายให้เคทีรับไปดำเนินการ ไม่ฟันธงเรื่องร่วมลงทุนกับเอกชน เตรียมเปิดรับฟังความเห็นครั้งที่ 2 วันที่ 18 ก.พ.นี้ ชี้สนับสนุนงบประมาณและแนวทางดำเนินโครงการต้องชัดเจน ด้าน สจส.จ้าง บ.ดาวฤกษ์ฯ ดอดหารือบิ๊กไอคอนสยาม

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทองคือสถานีรถไฟฟ้าธนบุรี-เขตคลองสาน-ประชาธิปก ว่า โครงการนี้ กทม.มีนโยบายมอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือเคที รับไปดำเนินการ ส่วนเคทีจะมีวิธีการหาทุนดำเนินการอย่างไรก็เป็นสิทธิ์ของเคที โดยที่มูลค่าโครงการประมาณ 2 พันล้านบาท แม้วงเงินลงทุนค่อนข้างสูงแต่เคทีสามารถรับไปดำเนินการได้โดยไม่ต้องร่วมลงทุน ซึ่งแนวทางและวิธีการจะออกมาในรูปแบบใด ทางเคทีจะต้องนำเสนอให้กทม.อนุมัติ ทั้งนี้จะต้องรอฟังผลสรุปของการเปิดรับฟังความเห็นประชาชนครั้งที่ 2 ในวันที่ 18กุมภาพันธ์นี้ก่อนว่ามีข้อเสนออะไรบ้าง หากประชาชนเห็นด้วย และสถานการณ์เอื้ออำนวยกทม.จึงจะต่อยอดพัฒนาโครงการต่อไป

ก่อนหน้านี้ทางสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) มีแนวคิดจะเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมทุนตามนโยบายของรัฐบาล สำหรับโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีเงินลงทุนเกิน 1พันล้านบาท และเบื้องต้นเล็งทาบทามกลุ่มไอคอนสยาม แต่จะไม่ให้ไอคอนสยามลงทุนทั้งโครงการ และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีนโยบายเรื่องการร่วมลงทุนจากผู้บริหารกทม. มีเพียงนโยบายหลักมอบหมายให้เคทีรับไปดำเนินการเท่านั้น ทั้งนี้ จะเห็นว่าบางช่วงอาจจะต้องมีการสร้างสกายวอร์คเชื่อมโยงจุดต่างๆ พร้อมกับปรับปรุงทางเดินเท้าให้ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นอย่างเช่น ช่วงถนนเจริญนคร
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองนี้ กทม.เคยจัดเปิดรับฟังความเห็นครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 และวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 จะเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 2 โดยคาดว่าจะได้รับข้อมูลครบถ้วน ซึ่งโครงการนี้มีระยะทางทั้งเส้นทางตามแผนที่สจส.กำหนดประมาณ 3.3 กิโลเมตร แต่จะเร่งก่อสร้างช่วง 1.5 กิโลเมตรที่เชื่อมโยงถึงโรงพยาบาลตากสินมาดำเนินการก่อน ตามแผนจะสร้างเสร็จเดือนธันวาคม 2560

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากสจส. กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองนี้ประชาชนต้องการเห็นความชัดเจนด้านการลงทุนพัฒนารถไฟฟ้าเส้นทางนี้ จากโครงการไอคอนสยาม เนื่องจากช่วงเปิดรับฟังความเห็นครั้งที่ 1 ที่ผ่านมาพบว่าไม่ได้ออกตัวอย่างเต็มที่ว่าจะสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการนี้อย่างไรบ้าง

“ล่าสุดกทม.จะว่าจ้างบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ไปร่วมหารือวางแผนพัฒนาโครงการและการแก้ไขปัญหาต่างๆ แล้วนำเสนอให้กลุ่มไอคอนสยามพิจารณาว่าจะสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อเปิดรับฟังความเห็นนักลงทุน(มาร์เก็ตซาวดิ้ง)เรียบร้อยแล้ว สจส.จะเป็นผู้คัดเลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้างโครงการเอง ส่วนไอคอนสยามจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไรนั้นยังมีลุ้นกันอีกครั้ง ประการสำคัญ เคทีคงจะไม่กู้เงินมาดำเนินโครงการดังกล่าวทั้งโครงการแน่ แต่อาจจะเลือกใช้รูปแบบการร่วมลงทุนโดยเฉพาะด้านบริหารจัดการโครงการดังกล่าว”

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง มีแผนดำเนินโครงการให้เชื่อมโยงรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีกรุงธน แบ่งเป็น 2 เฟส เฟสแรกคือช่วงกรุงธนบุรี – แยกคลองสาน (BTS กรุงธนบุรี – แยกโรงพยาบาลตากสิน) ลงทุนประมาณ 2-3 พันล้านบาท ระยะทาง 1.7 กิโลเมตร วิ่งมาตามถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร ผ่านวัดสุวรรณ มุ่งหน้าไปตามถนนเจริญนคร ผ่านถนนเจริญรัถ แยกคลองสาน และสิ้นสุดหน้าโรงพยาบาลตากสิน มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี (G1) สถานีไอคอนสยาม (G2) อยู่บริเวณเจริญนคร 6 และสถานีคลองสาน (G3) ส่วนเฟสที่ 2 จากโรงพยาบาลตากสิน – วัดอนงคารามวรวิหาร ระยะทาง 1 กิโลเมตร มี 2 สถานี ได้แก่ สถานี G4 อยู่ก่อนถึงโรงเรียนจันทรวิทยา และสถานี G5 อยู่ก่อนถึงวัดอนงคารามวรวิหาร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2016 11:32 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวคลองสานไม่เอารถไฟฟ้าส่อเอื้อเอกชน
เดลินืวส์

วันพฤหัสที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 17:14 น.

ชาวคลองสานค้านสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง เหตุเอื้อเอกชน ไม่ใช่เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ด้านกทม.ยัน ไอคอนสยาม ยังสนันสนุนโครงการ พร้อมเดินหน้า คาดตามแผนเกิดได้ปี 61


เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 18ก.พ. ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน เขตคลองสานนายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการศึกษาความเหมาะสม โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง

นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า พื้นที่ย่านฝั่งธนบุรี เป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยจำนวนมาก มีประชาชนเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรในพื้นที่ โดยพื้นที่ในเขตคลองสานและเขตธนบุรีปัจจุบันมีปริมาณจราจรโครงข่ายในพื้นที่สูงถึง 220,000 คันต่อวัน ซึ่งพื้นที่ถนนเจริญนคร เป็นพื้นที่หนึ่ง ที่มีการพัฒนาที่อยู่อาศัย และอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ปัจจุบันถนนเจริญนคร มีปริมาณรถหนาแน่น กว่า 7,000 คัน ต่อชั่วโมง ในขณะที่ถนนนั้นสามารถรองรับรถได้เพียง 6,700 คันต่อชั่วโมงเท่านั้น จึงส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด และเมื่อมีการพัฒนาที่อยู่อาศัย อีกทั้งจะเกิดศูนย์การค้าขนาดใหญ่ จะมีประชาขนเข้าสู่พื้นที่มากยิ่งขึ้น ปัญหาการจราจรบนถนนดังกล่าว ก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กทม.ได้ทำการศึกษาแนวทางเพิ่มระบบขนส่วนมวลชนระบบรอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบหลักคือรถไฟฟ้าสายสีเขียว และรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่กำลังจะแล้วเสร็จ เพื่อเป็นการรองรับการเติบโตของประชาชนและเมือง ลดปัญหาการจราจร โดยเรียกว่าระบบรถไฟฟ้าสายสีทอง

นายทวีศักดิ์กล่าวต่อว่า รถไฟฟ้าสายสีทองจะเป็นรถไฟฟ้าสายรอง ในรูปแบบเบาหรือโมโนเรล ซึ่งจะก่อสร้างในพื้นที่เกาะกลางถนน จึงไม่มีการเวนคืนพื้นที่จากประชาชนในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ ตามที่กทม.ได้รับการประสานจากภาคเอกชนคือกลุ่มบริษัทไอคอนสยาม ซึ่งกำลังก่อสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในพื้นที่ จึงจะสนับสนุนการก่อสร้างโครงการดังกล่าวนั้น ขณะนี้ทางกลุ่มบริษัทไอคอนสยาม ก็ยังคงยืนยันที่จะให้การสนับสนุนโครงการเช่นเดิม แต่การสนับสนุนโครงการจะเป็นไปในรูปแบบใดนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษาแนวทางในการลงทุนโครงการ ซึ่งจะได้ผลการศึกษาที่แน่ชัดในปลายเดือนมี.ค.นี้

ทั้งนี้ แนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง จะเริ่มจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสกรุงธนบุรี วิ่งไปตามเกาะกลางถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร ข้ามแยกคลองสาน เข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านหน้าโรงพยาบาลตากสิน และสิ้นสุดระยะที่บริเวณจุดตัดกับถนนประชาธิปกโดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกจะมี 3 สถานี ได้แก่ 1.สถานนีบริเวณบีทีเอสกรุงธนบุรี 2.สถานีบริเวณถนนเจริญนคร และ3.สถานีบริเวณโรงพยาบาลตากสิน ซึ่งจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 2,000ล้านบาท โดยคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี 2561 นี้ ส่วนในระยะที่ 2 มี การก่อสร้างต่อเนื่องไปจนถึงวัดอนงคาราม และก่อสร้างไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงในแนวถนนประชาธิปก ซึ่งจะมีการพิจารณาโครงการต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ต่างแสดงความคิดเห็นเป็นกังวลถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง เนื่องจากอาจเป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชน รวมทั้งกังวลเรื่องมลพิษขณะก่อสร้าง อีกทั้งปัญหาผลกระทบเมื่อโครงการเกิดขึ้นจะส่งผลต่อกายภาพของถนนในบริเวณดังกล่าวที่ค่อนข้างแคบ อีกทั้งในบริเวณนี้ยังเป็นย่านพื้นที่เก่าแก่มีวิถีชุมชนดั้งเดิม โดยนายดนัย จิรดี หนึ่งในประชาชนที่ร่วมแสดงความคิดเห็น กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นโครงการที่กทม.อ้างว่า อยู่ในแผนแม่บทของกทม. มาเป็นเวลานานแล้ว โดยทำการศึกษามาตั้งแต่ ปี2552 แต่ในแผนแม่บทผังเมือง กลับไม่มีโครงการดังกล่าวปรากฎอยู่แต่อย่างใด จึงอย่างให้กทม.ชี้แจงว่า รถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อผลประโยนช์ของภาคเอกชน ไม่ใช่เพื่อประชาชนอย่างแท้จริงใช่หรือไม่ อีกทั้งระยะห่างจากสถานีในเส้นทางสายสีทองระยะแรก มีการกำหนดไม่เหมาะสม มีการกำหนดสถานีเอื้อต่อพื้นที่ของเอกชน แต่ละสถานีมีระยะที่ไม่เหมาะสม โดยสถานีที่สองบริเวณถนนเจริญนคร และสถานีที่สามบริเวณโรงพยาบาลตากสิน มีระยะห่างเพียง 200 เมตร เท่านั้น นอกจากนี้ในแนวถนนเส้นทางรถไฟฟ้า เป็นถนนที่มีขนาดเล็ก อาทิ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา มีความกว้างเพียง 4ช่องจราจรไปกลับ การก่อสร้างรถไฟฟ้า จะส่งผลให้เส้นทางแคบลง และอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างมาก ดังนั้นหากกทม.ตั้งใจจะดำเนินโครงการดังกล่าว ภาคประชาชนชาวคลองสานเสนอให้ทำเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินจะเหมาะสมที่สุด

ทั้งนี้สำหรับรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าว เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-เขตคลองสาน-ประชาธิปก) เชื่อมต่อ ระบบการเดินทางด้วย รถ ราง เรือ ได้แก่ การเชื่อมต่อรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่ทั้งหมด 3 สายทาง ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า (เปิดให้บริการแล้ว) รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2565) รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย (คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการปี 2566) นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อระบบรองอื่นๆ ได้แก่ เรือด่วนเจ้าพระยา เรือข้ามฟาก และรถโดยสารประจำทาง เส้นทางโครงการ ระยะทาง 2.7 กิโลเมตร 4 สถานี

แนวเส้นทางโครงการที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้า BTS กรุงธนบุรี ผ่านแยกคลองสาน ไปยังถนนประชาธิปก ระยะทาง 2.7 กิโลเมตร ประกอบด้วย 4 สถานี โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร มี 3 สถานี เริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี (G1) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายกรุงธนบุรี โดยแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก บนเกาะกลางถนนกรุงธนบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนคร จากนั้นมุ่งหน้าเข้าสู่สถานีเจริญนคร (G2) ตั้งอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองวัดทองเพลง แล้วมุ่งหน้าต่อไปยังแยกคลองสาน เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา โดยแนวเส้นทางจะเบี่ยงไปอยู่เหนือแนวทางเดินเท้าด้านซ้ายฝั่งคลองสมเด็จเจ้า พระยา เข้าสู่สถานีคลองสาน (G3) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเยื้องกับโรงพยาบาลตากสิน โดยมีทางเดิน (Sky walk) เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าสู่โรงพยาบาลตากสินได้โดยตรง และในอนาคตสถานีคลองสาน (G3) จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย ส่วนระยะที่ 2 ระยะทาง 0.9 กิโลเมตร มี 1 สถานี เริ่มต้นจากสถานีคลองสาน (G3) มุ่งหน้าต่อไปตามแนวทางเดินเท้าของถนนสมเด็จเจ้าพระยา จนไปถึงสถานีประชาธิปก (G4) ตั้งอยู่บริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 8 ซึ่งในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ คาดมีผู้ใช้บริการในระยะที่ 1 ในปี 2561 ประมาณ 47,300 เที่ยวคน/วัน และในระยะที่ 2 ในปี 2566 ประมาณ 81,800 เที่ยวคน/วัน

สำหรับผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจพบว่ามีความเหมาะสมในการลงทุน โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) ร้อยละ 28.5 มูลค่าการลงทุน 3,845.70 ล้านบาท แบ่งเป็นระยะที่ 1 มูลค่าการลงทุน 2,512.60 ล้านบาท ระยะที่ 2 มูลค่าการลงทุน 1,333.11 ล้านบาท โดยคาดว่าเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2561 จะประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและประหยัดเวลาในการเดินทาง มูลค่าประมาณ 830 ล้านบาท/ปี และเพิ่มขึ้นเป็น 2,417 ล้านบาท/ปี ในปี 2581 โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการในระยะที่ 1 ในปี 2561 ประมาณ 47,300 เที่ยวคน/วัน และในระยะที่ 2 ในปี 2566 ประมาณ 81,800 เที่ยวคน/วัน นอกจากนี้ในอนาคต (พ.ศ.2579) คาดว่าจะมีปริมาณผู้ใช้บริการรวมในโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร ประมาณ 7,680,000 เที่ยวคน/วัน ใช้ระบบรถไฟฟ้าขนาดรอง ไม่ต้องเวนคืน ก่อสร้างได้ง่าย ปลอดภัยและความคล่องตัวสูง.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2016 10:47 am    Post subject: Reply with quote

TRC ชิงรถไฟฟ้าสายสีเทา
E-FinanceThai
15 มีนาคม 2559

"ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น" ประกาศจับมือ "ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น(CRC)" เข้าร่วมประมูลรถไฟฟ้าสายสีเทา(วัชรพล-ท่าพระ) หลังรัฐเริ่มเวนคืนที่ดินแล้ว แย้มมีแผนเพิ่มทุนอีก หากได้ข้อสรุปร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าเมียนมา 1,000 MW คาดปลายปีนี้รู้ผล พร้อมคงเป้ารายได้ปีนี้ 8.5-9 พันลบ. กำไรนิวไฮ ประมูลงานใหม่ 1.65 หมื่นลบ. ล่าสุดมี Backlog จำนวน 6.4 พันลบ. รับรู้ปีนี้ 3.5 พันลบ.

**จับมือ "ไชน่าเรลเวย์ " เข้าร่วมประมูลรถไฟฟ้าสายสีเทา
นายภาสิต ลี้สกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC เปิดเผยว่า บริษัทฯ พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลรถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ท่าพระ) ซึ่งจะร่วมกับไชน่า เรียลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRC) โดยปัจจุบันทางกรุงเทพมหานคร ได้เริ่มทำการเวนคืนพื้นที่บางส่วนแล้ว  
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 21/03/2016 8:59 am    Post subject: Reply with quote

"รายงานวันจันทร์"-แผนรถไฟฟ้าเฟส 2-กทม. 4 โปรเจกต์ ทอง,เทา,บางนา,ตลิ่งชัน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
21 มีนาคม 2559 05:15

ปัจจุบันแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Mass Rapid Transit MasterPlan in Bangkok Metropolitan Region: M–MAP)สำหรับการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าในช่วง 20 ปีข้างหน้า (ปี 2553–2572) มีทั้งสิ้น 12 เส้นทาง ระยะทางรวม 495 กม. เป็นโครงข่ายสายหลัก 8 เส้นทาง และโครงข่ายสายรอง 4 เส้นทางโครงข่ายสายหลัก ประกอบด้วย โครงข่ายรถไฟฟ้าชานเมือง2 เส้นทาง รถไฟฟ้าสายแอร์พอร์ตลิงก์ 1 เส้นทาง และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 5 เส้นทาง ส่วนโครงข่ายสายรอง 4 เส้นทาง ยังไม่สามารถดำเนินการตามแผนแม่บทได้อย่างเต็มที่ ทั้งเพราะงบลงทุนจำกัด และความซ้ำซ้อนหน่วยงานรับผิดชอบ เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2559 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2559 มีรองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธาน จึงมีมติเร่งผลักดันระบบขนส่งมวลชนเดินหน้าตามแผนแม่บทให้เกิดเป็นรูปธรรมเด่นชัดยิ่งขึ้น

เริ่มจากโครงการ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต และ แบริ่ง–สมุทรปราการ คจร.มีมติโอนโครงการให้ กทม.ดูแล เนื่องจากเป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ กทม.ดูแลอยู่และให้จ่ายคืนค่าก่อสร้างที่ รฟม.ลงทุนไปทั้งหมด โดยให้ทำเป็นบันทึกข้อตกลง (MOU) เป็นหลักฐาน คาดว่าลงนามได้เดือน เม.ย.นี้

ที่ประชุม คจร.ยังเห็นชอบการต่อขยายแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ออกไป 5 กม.โดยไปสิ้นสุดที่บริเวณถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก โดยมีสถานีเพิ่ม2สถานี คือ พระประแดง และครุใน (สุขสวัสดิ์ 70)

ขณะนี้ รฟม.อยู่ระหว่างปรับรูปแบบการก่อสร้างโรงจอดรถและศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ปรับปรุงรายละเอียดการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่สถานีสามยอดและสถานีผ่านฟ้า

นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาของกรุงเทพ-มหานคร ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบีทีเอสช่วงบางหว้า–ตลิ่งชัน ระยะทาง 7.5 กม. และโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบรอง 3 สาย ได้แก่ 1.รถไฟฟ้าสายสีเทา (MonoRail)ซึ่ง กทม.เสนอปรับปรุงเส้นทางเดิมจากวัชรพล–พระราม 9 เป็น วัชรพล–ท่าพระ

2.รถไฟฟ้าสายสีทอง (MonoRail) เชื่อมต่อจากรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี-เขตคลองสาน-ประชาธิปก 3.รถไฟฟ้าสายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (LightRail) ระยะทาง 18 กม. ยกระดับตลอดสาย

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณาว่าโครงข่ายทั้งหมดมีผลกระทบหรือเสริมต่อระบบหลักเดิมอย่างไร เช่น รถไฟฟ้าสายสีเทา ให้ประสานการดำเนินงานกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือที่มีแนวเส้นทางใกล้เคียงกัน

เท่ากับว่าตั้งแต่นี้ไป กรุงเทพมหานครจะสามารถเดินหน้า โครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ที่ศึกษามาเองต่อไปได้ เนื่องจากได้ไฟเขียวจากรัฐบาลโดย คจร.แล้วในครั้งนี้!!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42796
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2016 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
สร้างรถ LRT จาก บางนาไปสุวรรณภูมิ มูลค่า 2000 ล้านบาท เริ่มปี 2560 มี 14 สถานี ระยะทาง 18.3 กิโลเมตร
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154642310613368&set=gm.936685523116861&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 8, 9, 10 ... 31, 32, 33  Next
Page 9 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©