RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13282962
ทั้งหมด:13594284
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 228, 229, 230 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2017 10:46 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เคาะไฮสปีดส.ค.นี้ รอญี่ปุ่นส่งผลศึกษา
โพสต์ทูเดย์ 31 สิงหาคม 2560 เวลา 08:26 น.



ญี่ปุ่น ขอปรับแบบการใช้'สถานีบางซื่อ'รับไฮสปีดเทรน
โดย รายงานโดย วชิราภรณ์ นาสวน
by กองบรรณาธิการ ข่าวเศรษฐกิจ
Voice TV
30 สิงหาคม 2560 เวลา 15:29 น.

คืบหน้า! รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ล่าสุดญี่ปุ่นขอปรับรูปแบบการใช้งานสถานีกลางบางซื่อ แต่ยืนยันโครงการเดินหน้าตามกรอบเวลา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หารือกับผู้แทนจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เส้นทาง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ซึ่งตามกรอบดำเนินการ รายงานสุดท้ายโครงการมีกำหนดแล้วเสร็จปลายเดือนสิงหาคมนี้ โดยทางญี่ปุ่น เสนอให้ปรับรูปแบบการใช้งานสถานีกลางบางซื่อ เพราะเห็นว่า จำเป็นต้องแยกชานชาลาของรถไฟความเร็วสูงที่สถานีกลางออกจากระบบรถไฟอื่นๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งเป้าหมายของญี่ปุ่น จะกระทบงานออกแบบและใช้สถานีกลางบางซื่อที่ไทยเคยออกแบบไว้ ทำให้โครงการยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก

อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคม เชื่อว่ากรณีนี้ จะไม่กระทบให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนและแบบการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ เพราะไทยมีแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อและพื้นที่ย่านพหลฯ ทั้งหมดไว้แล้ว ยืนยันโครงการเดินหน้าตามกรอบ ส่วนจะลงนามความร่วมมือและเริ่มก่อสร้างเมื่อใด จะต้องติดตามและรับฟังความเห็นจากญี่ปุ่นอีกครั้ง เพื่อวางกรอบเวลาทำงานร่วมกัน ต่อไป

ที่ผ่านมา การศึกษาพัฒนารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ใช้เงินลงทุนกว่า 400,000 ล้านบาท ทางญี่ปุ่นยังแสดงความสนใจเข้าร่วมลงทุนตามกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี และจะนำระบบรถไฟชินคันเซน มาใช้ในโครงการ

ไฟเขียวสัญญา 2.2 รถไฟไฮสปีดไทย-จีน ลงนาม 4 ก.ย.นี้

นายอาคม ยังกล่าวถึงมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ซึ่ง ครม. ได้เห็นชอบร่างสัญญา 2.2 งานที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง (Construction Supervision Consultant Service Agreement) โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) ความร่วมมือไทย-จีน วงเงิน 179,412 ล้านบาท และอนุมัติปรับกรอบวงเงินสัญญา 2.2 จากเดิมกำหนดไว้ที่ 1,649 ล้านบาท เป็น 3,500 ล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวคิดเป็น ร้อยละ 2.94 ของวงเงินก่อสร้างงานโยธาทั้งโครงการ เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงบประมาณที่กำหนดค่าที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างไว้ ระหว่างร้อยละ 2.5-3.5

นายอาคม กล่าวว่า ขั้นตอนจากนี้ จะนำร่างสัญญาดังกล่าว พร้อมร่างสัญญา 2.1 การออกแบบรายละเอียดงานโยธา วงเงิน 1,706.711 ล้านบาท ที่ ครม.อนุมัติไปเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ไปลงนามในสัญญาร่วมกันระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และองค์การออกแบบรถไฟแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 4 กันายายนนี้ ที่เมืองเซี๊ยะเหมิน ประเทศจีน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปร่วมประชุม BRICs Summit ที่ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 4-5 กันยานยน จะร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามด้วย

ทั้งนี้ เมื่อลงนามในสัญญาร่วมกันแล้ว ทางจีนจะส่งรายละเอียดแบบการก่อสร้างให้ไทย เพื่อดำเนินการก่อสร้างตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. เส้นทางกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ แต่ต้องรอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ผ่านก่อน คาดจะเป็นช่วงเดือนกันยายน

ส่วนการออกแบบก่อสร้างในส่วนที่เหลือ ตั้งแต่ตอนที่ 2, 3 และ 4 ได้ขอให้จีน เลื่อนระยะเวลาส่งมอบแบบให้เร็วขึ้น จากเดิมกำหนดส่งมอบทั้งหมดให้เสร็จภายใน 8 เดือนหลังการลงนาม เพื่อให้ รฟท. มีเวลาเตรียมแผนเปิดประมูลหาผู้รับเหมาในช่วงดังกล่าว (ตอนที่ 2, 3, 4)

เร่งเวนคืนที่ดินรอบโครงการรถไฟทางคู่ 'หัวหิน-ประจวบฯ'

ด้านนายพิชิต อัครทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ครม. ยังเห็นชอบหลักการพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 'หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์' ระยะทาง 86 กม. วงเงิน 10,239 ล้านบาท จำนวน 13 สถานี โดยก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น 1 ทาง เป็นคันทางระดับดินขนานไปกับเส้นทางรถไฟเดิม และยกเลิกจุดตัดทางรถไฟเสมอดินทุกระดับ เพื่อก่อสร้างทางยกระดับข้ามและสะพานข้ามทางรถไฟแทน

แนวการจัดกรรมสิทธิ์นั้น มีที่ดินตามเส้นทางประมาณ 5 ไร่ มีสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอน 13 หลัง 2 จุด คือ พื้นที่ ต.วังก์พง อ.ปราณบุรี และ ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบฯ ซึ่งกระทรวงคมนาคมจำเป็นต้องเวนคืน เพื่อใช้พื้นที่ก่อสร้างทางยกระดับและสะพานข้ามทางรถไฟ โดยมีกรอบดำเนินการใน 4 ปี

เลื่อนประมูลรถไฟทางคู่ 'ประจวบฯ-ชุมพร' เป็น 5 ก.ย.60

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า ได้เลื่อนวันเสนอราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Auction โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางประจวบฯ-ชุมพร สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบฯ-บางสะพานน้อย ราคากลาง 6,579 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร ราคากลาง 6,071 ล้านบาท ไปเป็นวันที่ 5 กันยายน จากกำหนดเดิม วันที่ 31 สิงหาคมนี้ เนื่องจากการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเสนอราคามีความล่าช้า

ส่วนรถไฟทางคู่ เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางจิระ สัญญา 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร ราคากลาง 7,721 ล้านบาท ยังจัดให้มีการเสนอราคาตามกำหนดการเดิมในวันที่ 1 กันยายนนี้ แต่สัญญา 2 ช่วงคลองขนานจิตร - ชุมทางจิระ เลื่อนประกาศชื่อผู้มีสิทธิเสนอราคา และเลื่อนวันประมูลออกไปก่อน เพื่อรอความชัดเจนเส้นทางที่ต้องตัดผ่านชุมชนเมืองนครราชสีมา

เบื้องต้นจะสร้างเป็นทางรถไฟยกระดับ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ตามคำเรียกร้องของชาวบ้านในพื้นที่ โดยวงเงินก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นมาอีกกว่า 2,000 ล้านบาท เป็นประมาณ 10,000 ล้านบาท จากเดิมราคากลางอยู่ที่ 7,060 ล้านบาท และมีโอกาสที่จะยกเลิก TOR เดิม เปิดให้เอกชนเข้ามายื่นประมูลใหม่ ​
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2017 10:58 am    Post subject: Reply with quote

เช็กสัญญา “จีทูจี” ไทย-จีนกันพลาดซ้ำคดีขายข้าว
โดย MGR Online

31 สิงหาคม 2560 06:34 น. (แก้ไขล่าสุด 31 สิงหาคม 2560 09:28 น.)

คมนาคมตรวจทานสัญญาจ้างออกแบบและคุมงาน “รถไฟไทย-จีน” หวั่นมีปัญหาซ้ำรอย “ขายข้าวจีทูจีเก๊” คมนาคมหารืออัยการ ยืนยันรัฐวิสาหกิจจีนได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลจีนมาดำเนินการชัดเจน พร้อมเซ็นจ้าง 4 ก.ย.นี้ ขณะที่ “ไจก้า” ส่งผลศึกษาพัฒนาสถานีกลางบางซื่อเต็มรูปแบบระยะ 15 ปี หรือในปี 75 เตรียมเปิดรับฟังความเห็น พ.ย.นี้ นำร่องแปลง A รอคณะ กก. PPP เคาะตามขั้นตอน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบสัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบ (2.1) และสัญญาที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง (สัญญา 2.2) ในโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ตอนที่ 1 จากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. โดยจะมีการลงนามสัญญาในวันที่ 4 ก.ย. ที่ประเทศจีนนี้ ซึ่งโครงการนี้เป็นความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) จึงมีข้อเป็นห่วงในเรื่องความชัดเจนและไม่ต้องการให้มีปัญหาซ้ำรอยกับการขายข้าวจีทูจีในอนาคต

ทั้งนี้ คณะทำงานของกระทรวงคมนาคมได้ประชุมร่วมกับอัยการเพื่อตรวจสัญญา 2.1 และ 2.2 เพื่อความรอบคอบและชัดเจนอีกครั้ง โดยเฉพาะประเด็นสภาพัฒนาเศรษฐกิจและปฏิรูปแห่งชาติจีน( NDRC) มอบให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจจีนเป็นผู้ลงนามสัญญาร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีหนังสือการมอบอำนาจยืนยันชัดเจน ถ้อยคำชัดเจน ความหมายตรงกันทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ซึ่งได้ตรวจสอบเรียบร้อนแล้ว พร้อมที่จะลงนามร่วมกัน

***ไจก้าส่งผลศึกษาพัฒนาสถานีกลางบางซื่อเต็มรูปแบบในปี 2575

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ Mr. Takamasa HIROSE รองอธิบดีกรมเมืองฝ่ายวิศวกรรม กระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (Ministry of Land, Infrastructure Transport and Tourism, MLIT) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ว่า ทางญี่ปุ่นได้นำเสนอผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อเบื้องต้นแล้ว และในเดือน พ.ย.นี้จะจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น ซึ่งแผนของไจก้าได้นำแนวคิดการศึกษาเดิมของการรถไฟฯ และของ ปตท.ในเรื่องสมาร์ทซิตี้ (Smart City) มาบูรณาการด้วย

ทั้งนี้ แผนหลักจะมีการพัฒนาพื้นที่เต็มรูปแบบของสถานีกลางบางซื่อและพื้นที่โดยรอบ โดยสถานีกลางบางซื่อนั้นเป็นสถานีกลางที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเมือง ด้วยระบบรถไฟทางคู่เชื่อมต่างประเทศ โดยรถไฟไทย- จีน และมีระบบรถไฟฟ้า โดยระบบขนส่ง บขส.และ ขสมก.เชื่อมต่อเข้าสถานีด้วย ส่วนการพัฒนาเชิงพาณิชย์ จะเป็นทั้งศูนย์ธุรกิจ อาคาร โรงแรม, พัฒนาตลาดจตุจักรเชื่อมกับวิถีชีวิตให้มีความทันสมัย, พัฒนาพื้นที่สีเขียว (Green Area), การเชื่อมต่อระหว่างสถานีขนส่งหมอชิตเก่ากับใหม่ด้วยทางเดินแบบ walk way โดยจะพัฒนาเต็มรูปแบบภายในปี 2575 (15 ปี) แบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ อย่างไรก็ตาม จะไม่กระทบต่อแผนการพัฒนาพื้นที่แปลง A ขนาด 35 ไร่ ตั้งอยู่ด้านหลังศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ตั้งอยู่ทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ เหมาะที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางระบบการขนส่ง และเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร แหล่งรวมอาคารสำนักงานที่ทันสมัย และธุรกิจบริการ ซึ่งขั้นตอนได้เสนอไปที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อพิจารณาการร่วมลงทุนเอกชน (PPP) คาดว่าจะได้รับอนุมัติได้ภายในปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/08/2017 6:24 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม เปิดเวทีรับฟังความเห็น ปรับแนวเส้นทาง Hi-Speed สายใต้ ชูเส้นทาง กรุงเทพฯ–หัวหิน–ปาดังเบซาร์ เสริมศักยภาพการท่องเที่ยวและโลจิสติกส์
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 31 ส.ค. 2560

นางวันเพ็ญ มังศรี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเพชรบุรีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดเพชรบุรี งานแก้ไขแนวเส้นทางที่จังหวัดเพชรบุรี โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน เพื่อนำเสนอรายละเอียดการออกแบบงานแก้ไขแนวเส้นทาง ตลอดจนมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ประชาชน และสื่อมวลชนร่วมสัมมนา

สำหรับโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน เป็นหนึ่งในเส้นทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบใหม่ของกระทรวงคมนาคม ที่ชี้นำการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคใต้ กระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือสนข. ดำเนินงานศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยจัดทำแล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2556 ล่าสุดได้มีการปรับแนวเส้นทางใหม่ช่วงเลี่ยงเมืองเพชรบุรี เพื่อลดปัญหาการใช้เขตทางหลวง และเกิดผลกระทบต่อระดับการให้บริการของโครงข่ายทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงเขาวังถึงห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี เพชรบุรี ระยะทางประมาณ 4.5 กิโลเมตร แนวเส้นทางใหม่จะใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก ยกเว้นบางช่วงจำเป็นต้องมีการปรับแนว เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้อย่างปลอดภัย โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการจากสถานีกลางบางซื่อ ใช้แนวเส้นทางของรถไฟสายใต้ผ่านสถานีนครปฐม สถานีราชบุรี แต่เมื่อเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีแล้ว แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกจากแนวเส้นทางรถไฟสายใต้ บริเวณตำบลบางจาก เข้าสู่สถานีเพชรบุรี ที่ตำบลธงชัย หลังจากนั้น ได้มีการปรับแนวเส้นทางจากเดิมในช่วงบริเวณตำบลธงชัย (กม.150 000) ที่ใช้แนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ไปใช้พื้นที่ว่างด้านฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษมแทน แล้วเข้าสู่แนวเส้นทางรถไฟสายใต้อีกครั้ง บริเวณสถานีหนองไม้เหลือง (กม.168-500) เป็นระยะทางที่ปรับแนวเส้นทางประมาณ 18 กิโลเมตร จากนั้นมุ่งลงใต้สู่อำเภอชะอำ และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 209 กิโลเมตร

ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – หัวหิน ในอนาคตจะมีการพัฒนาขยายแนวเส้นทางไปยังปาดังเบซาร์ ซึ่งหากโครงการพัฒนาแล้วเสร็จ ในปี 2572 คาดว่าน่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – หัวหิน – ปาดังเบซาร์ ถึง 15.19 ล้านคนคนปี ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถกว่า 18 ล้านบาทต่อปี

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นภสร แก้วคำ(2) / สวท.
ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/08/2017 9:38 pm    Post subject: Reply with quote

คนเมืองเพชรรุมซักสนข.เปลี่ยนแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หัวหิน ใจชื้นขึ้นเหตุยังไม่มีเอกชนสนใจลงทุน ชาวบ้านลาดหวั่นทำลายโบราณสถาน
สำนักข่าวชายขอบ 31 สิงหาคม, 2017 ในประเทศ

Click on the image for full size

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดเพชรบุรี กรณีมีการแก้ไขแนวเส้นทางที่จังหวัดเพชรบุรีตามโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน โดยมีนางวันเพ็ญ มังศรี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธาน และมีวิศวกรจากโครงการเข้าร่วมให้ข้อมูล ทั้งนี้ทาง สนข.ได้ใช้เวลาในการประชุมระหว่างเวลา 13.00-15.00 น. โดยมีชาวบ้านผู้อาจได้รับผลกระทบและผู้สนใจเข้าร่วมประชุมหลายร้อยคน ซึ่งผลัดกันตั้งคำถามต่อ สนข.ตลอดระยะเวลาการประชุมโดยเฉพาะเรื่องแนวเส้นทางที่แน่ชัด และความเป็นไปได้ของโครงการ

นางสุรินทร์ อิสมันยี นักร้องนักดนตรีชื่อดังวงคีตาญชลี ซึ่งอาศัยอยู่บ้านป่าตาล ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ที่อยู่ในแนวโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างคึกคัก ฝ่ายเจ้าหน้าที่ระบุว่า เพื่อพัฒนาโลจิสติก สร้างความเจริญ สร้างเศรษฐกิจ และส่งเสริมการท่องเที่ยว ขณะที่ชาวบ้านร่วมแสดงความเห็น แสดงข้อกังวลเต็มที่ โดยเฉพาะเรื่องการเวนคืนและการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ที่ถึงแม้สนข. จะมีแนวคิดมาตั้งแต่ปี 2556 แล้ว แต่ยังไม่มีการรายงานผลกระทบที่แน่ชัด ชาวบ้านจึงได้แย้งและส่วนมากตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ของโครงการ และความจำเป็นต่อการเลือกเส้นทางนี้ สุดท้ายทางวิศวกรระบุว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า หากจะลงโครงการสายกรุงเทพฯ-หัวหิน จำเป็นต้องใช้เส้นทางนี้เพราะว่าได้รับผลกระทบน้อยที่สุด แต่ขณะนี้โอกาสจะเกิดขึ้นยังยากเพราะรถไฟสายนี้ยังไม่มีเอกชนสนใจร่วมลงทุน ทำให้ตนและชาวบ้านโล่งอกระดับหนึ่ง

Click on the image for full size

“90% สบายใจขึ้น แต่ก็ยังต้องจับตาต่อไป ส่วนตัวดีใจมากเพราะบ้านหลวงใหม่ที่จะโดนเวนคืนเมื่อเริ่มโครงการเพิ่งสร้างได้ 5 ปี คงใจหายมากถ้าบ้านเสี่ยงแบบนั้น แต่วันนี้ เขายืนยันว่า สายอีสานสายตะวันออกเอกชนสนใจกว่า เลยโล่งใจ”

นางสุรินทร์ กล่าว นางสุรินทร์ กล่าวต่อว่า ชาวบ้านที่เข้าร่วมวันนี้มีทั้งกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ทั้งแนวเส้นทางเก่าและใหม่ ตามโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ในจำนวนนี้มีชาวบ้านอำเภอบ้านลาดมากที่สุด และตั้งข้อคำถามถึงผลกระทบที่อาจจะทำลายโบราณสถานที่บ้านลาดด้วย แม้ว่าเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าจะส่งผลกระทบน้อยที่สุดก็ตาม แต่ชาวบ้านไม่ยินยอม

อนึ่ง จากเอกสารของสนข. ระบุแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นโครงการจากสถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพฯ ใช้แนวเส้นทางของรถไฟสายใต้ผ่านสถานีนครปฐม สถานีราชบุรี แต่เมื่อเข้าสู่อำเภอเมืองเพชรบุรีแล้ว แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกจากแนวเส้นทางรถไฟสายใต้ บริเวณตำบลบางจาก เข้าสู่สถานีเพชรบุรีที่ตำบลธงชัย หลังจากนั้น ได้มีการปรับแนวเส้นทางจากเดิมในช่วงบริเวณ ตำบลธงชัย ที่ใช้แนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ไปใช้พื้นที่ว่างด้านฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษมแทน แล้วเข้าสู่แนวเส้นทางรถไฟสายใต้อีกครั้ง บริเวณสถานีหนองไม้เหลือง เป็นระยะทางที่ปรับแนวเส้นทางประมาณ 18 กิโลเมตร จากนั้นมุ่งลงใต้สู่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 209 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/08/2017 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. เดินหน้ารถไฟไร้รอยต่อ เชื่อม 3 สนามบินหลัก งบกว่า 2.8 แสนล้าน
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 31 ส.ค. 2560 20:49

การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินหน้าเปิดเวทีระดมความเห็นชาวชลบุรี ศึกษารถไฟไร้รอยต่อ เชื่อม 3 สนามบินหลัก งบ 2.8 แสนล้าน เติมเต็มโครงข่ายคมนาคมขนส่งครบวงจรรองรับ EEC พร้อมเปิดเอกชนลงทุนปี 2561 แล้วเสร็จปี 2566

นายภวัต เลิศมุกดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) งานศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสม ที่โรงแรมเอเชียพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการ แนวเส้นทางโครงการ รูปแบบการก่อสร้าง และประโยชน์ของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน เข้าร่วมการสัมมนากว่า 300 คน

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ เป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและโลจิสติกส์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ทั้งทางถนน ทางราง ทางอากาศ และทางน้ำ โดยในส่วนของระบบราง (Rail) ได้รับการบรรจุไว้ในแผนการดำเนิน ในปีงบประมาณ 2560-2561 จำนวน 5 แผน ได้แก่
1.โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม.
2.รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยานดอนเมือง-ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ระยะทาง 50.5 กม. และ
3.รถไฟรางคู่ช่วง ฉะเชิงเทรา-แก่งคอย และการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา

อย่างไรก็ตาม พบว่าหลายโครงการมีความซ้ำซ้อน และสามารถเชื่อมต่อเพื่อให้เข้าสู่ระบบเดียวกันได้ จึงได้นำโครงการที่เกี่ยวข้องมาผนวกรวมกัน พร้อมนำเสนอแผนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-พัทยา-มาบตาพุด รวมทั้งการปรับปรุงสถานีหลักที่มักกะสัน ให้กลายเป็น EEC Gateway ที่มีความสมบูรณ์พร้อมในทุกด้าน

สำหรับรูปแบบโครงสร้างของโครงการนั้นจะใช้รางของระบบ Airport Link เดิมบางส่วน ซึ่งมีขนาดความกว้างของรางที่ 1.435 เมตร (standard Gauge) 2 ช่วง คือ พญาไท-ดอนเมือง และลาดกระบัง-ระยอง ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้ เพียงแต่อาจใช้ความเร็วได้เฉลี่ย 160 กม./ชม. ก่อนต่อเชื่อมรางเพื่อให้ครบตามเส้นทางที่กำหนดที่จะทำให้รถมีความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ก่อนมีการเปิดใช้ต่อไป โดยการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง

นายจุลเทพ จิตสมบัติ วิศกรศูนย์ปรับปรุงทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อนั้น ได้มีการศึกษาและจัดทำรายงานไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคสังคม เพื่อนำมาบรรจุรวมในแผน ก่อนจะนำเสนอต่อคณะทำงานของ EEC ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อพิจารณาอนุมัติ ซึ่งคงจะสามารถนำเสนอได้ภายในช่วงเดือนกันยายนนี้ จากนั้นก็จะมีการเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน ในงบประมาณกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งตามแผนแล้วการดำเนินการโครงการดังกล่าว จะเริ่มการก่อสร้างในปี 2561 และจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างประมาณ 5 ปี โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2566.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2017 11:26 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คนเมืองเพชรรุมซักสนข.เปลี่ยนแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หัวหิน ใจชื้นขึ้นเหตุยังไม่มีเอกชนสนใจลงทุน ชาวบ้านลาดหวั่นทำลายโบราณสถาน
สำนักข่าวชายขอบ 31 สิงหาคม, 2017 ในประเทศ


ปรับแนวไฮสปีด กรุงเทพ-หัวหิน ช่วงเลี่ยงเมืองเพชรบุรี 18 กม.ลดผลกระทบ
ASTV
1 กันยายน 2560 09:32:00

สนข. จัดเวทีรับฟังความเห็น ปรับแนวเส้นทาง Hi-Speed สายใต้กรุงเทพฯ-หัวหิน ช่วงเลี่ยงเมืองเพชรบุรี เพื่อลดปัญหาการใช้เขตทางหลวง ประมาณ 18 กม.ชูขยายเส้นทาง กรุงเทพฯ–หัวหิน–ปาดังเบซาร์ ในปี2572 คาดผู้ใช้บริการถึง 15.19 ล้านคน/ปี เสริมศักยภาพการท่องเที่ยวและโลจิสติกส์ ของประเทศ



เมื่อวันที่ 31 ส.ค. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดเพชรบุรี (งานแก้ไขแนวเส้นทางที่จังหวัดเพชรบุรี) โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน เพื่อนำเสนอรายละเอียดการออกแบบงานแก้ไขแนวเส้นทาง ตลอดจนมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ประชาชน และสื่อมวลชนร่วมงานกว่า 200 คน

สำหรับโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน เป็นหนึ่งในเส้นทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบใหม่ของกระทรวงคมนาคม ที่ชี้นำการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคใต้ กระทรวงคมนาคม จึงมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินงานศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยจัดทำแล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2556 และล่าสุดได้มีการปรับแนวเส้นทางใหม่ช่วงเลี่ยงเมืองเพชรบุรี เพื่อลดปัญหาการใช้เขตทางหลวง และเกิดผลกระทบต่อระดับการให้บริการของโครงข่ายทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงเขาวังถึงห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี เพชรบุรี ระยะทางประมาณ 4.5 กม.
แนวเส้นทางใหม่จะใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก ยกเว้นบางช่วงจำเป็นต้องมีการปรับแนว เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้อย่างปลอดภัย โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการจากสถานีกลางบางซื่อ ใช้แนวเส้นทางของรถไฟสายใต้ผ่านสถานีนครปฐม สถานีราชบุรี แต่เมื่อเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีแล้ว แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกจากแนวเส้นทางรถไฟสายใต้ บริเวณตำบลบางจาก เข้าสู่สถานีเพชรบุรี ที่ตำบลธงชัย หลังจากนั้น ได้มีการปรับแนวเส้นทางจากเดิมในช่วงบริเวณตำบลธงชัย (กม.150+000) ที่ใช้แนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ไปใช้พื้นที่ว่างด้านฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษมแทน แล้วเข้าสู่แนวเส้นทางรถไฟสายใต้อีกครั้ง บริเวณสถานีหนองไม้เหลือง (กม.168-500) เป็นระยะทางที่ปรับแนวเส้นทางประมาณ 18 กม. จากนั้นมุ่งลงใต้สู่อำเภอชะอำ และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 209 กม.

นอกจากนี้ โครงการยังให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น การออกแบบให้มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียและของเสียจากผู้โดยสาย เพื่อป้องกันการปนเปื้อนน้ำเสียและของเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะแม่น้ำเพชรบุรี , การออกแบบโครงสร้างทางยกระดับให้มีความโปร่งบาง และลดการบดบังหรือคุณค่าของแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถานโดยรอบ , การจัดการจราจรในพื้นที่ช่วงที่มีการก่อสร้าง , การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ชดเชยให้ผู้เสียผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม เป็นต้น

ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – หัวหิน ในอนาคตจะมีการพัฒนาขยายแนวเส้นทางไปยังปาดังเบซาร์ ซึ่งหากโครงการพัฒนาแล้วเสร็จ ในปี 2572 คาดว่าน่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – หัวหิน – ปาดังเบซาร์ ถึง 15.19 ล้านคน/ปี ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถ ถึง18.223.11 ล้านบาท/ปี

นางวันเพ็ญ มังศรี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธาน กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของจังหวัดเพชรบุรีกำหนดไว้คือ “เมืองเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และเมืองน่าอยู่ น่ากิน น่าเที่ยวระดับประเทศ” และเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนแผนการพัฒนาจากภาครัฐนอกจากนี้ ยังต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ดังนั้น การสัมมนาในวันนี้ จึงเป็นโอกาสที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้รับทราบข้อมูล และได้แสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้ประกอบในผลการศึกษาให้โครงการ เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมได้อย่างสูงสุด

//------------

สนข.ปรับแนวไฮสปีดสายใต้ “กทม.-หัวหิน” 18 กม.เลี่ยงเมืองเพชรบุรี เร่งขยายไปปาดังเบซาร์

วันที่ 31 สิงหาคม 2560 - 23:08 น.

เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 60 ณ ห้องประชุมวิทยาภิรมย์ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดเพชรบุรี (งานแก้ไขแนวเส้นทางที่จังหวัดเพชรบุรี) โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน มีนางวันเพ็ญ มังศรี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธาน

เพื่อนำเสนอรายละเอียดการออกแบบงานแก้ไขแนวเส้นทาง ตลอดจนมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ประชาชน และสื่อมวลชนร่วมงานกว่า 200 คน


นางวันเพ็ญ มังศรี กล่าวว่า ในฐานะเจ้าบ้าน มีความรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเปิดงานในวันนี้ ด้วยวิสัยทัศน์ของจังหวัดเพชรบุรีกำหนดไว้ว่า “เมืองเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และเมืองน่าอยู่ น่ากิน น่าเที่ยวระดับประเทศ” และเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนแผนการพัฒนาจากภาครัฐนอกจากนี้ ยังต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ดังนั้น การสัมมนาในวันนี้ จึงเป็นโอกาสที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้รับทราบข้อมูล และได้แสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้ประกอบในผลการศึกษาให้โครงการ เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมได้อย่างสูงสุด

สำหรับโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน เป็นหนึ่งในเส้นทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบใหม่ของกระทรวงคมนาคม ที่ชี้นำการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคใต้ กระทรวงคมนาคม จึงมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินงานศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยจัดทำแล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2556

และล่าสุดได้มีการปรับแนวเส้นทางใหม่ช่วงเลี่ยงเมืองเพชรบุรี เพื่อลดปัญหาการใช้เขตทางหลวง และเกิดผลกระทบต่อระดับการให้บริการของโครงข่ายทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงเขาวังถึงห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี เพชรบุรี ระยะทางประมาณ 4.5 กม.

แนวเส้นทางใหม่จะใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก ยกเว้นบางช่วงจำเป็นต้องมีการปรับแนว เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้อย่างปลอดภัย โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการจากสถานีกลางบางซื่อ ใช้แนวเส้นทางของรถไฟสายใต้ผ่านสถานีนครปฐม สถานีราชบุรี

แต่เมื่อเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีแล้ว แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกจากแนวเส้นทางรถไฟสายใต้ บริเวณตำบลบางจาก เข้าสู่สถานีเพชรบุรี ที่ตำบลธงชัย หลังจากนั้น ได้มีการปรับแนวเส้นทางจากเดิมในช่วงบริเวณตำบลธงชัย (กม.150+000) ที่ใช้แนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม ไปใช้พื้นที่ว่างด้านฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษมแทน แล้วเข้าสู่แนวเส้นทางรถไฟสายใต้อีกครั้ง บริเวณสถานีหนองไม้เหลือง (กม.168-500) เป็นระยะทางที่ปรับแนวเส้นทางประมาณ 18 กม. จากนั้นมุ่งลงใต้สู่อำเภอชะอำ และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 209 กม.

นอกจากนี้ โครงการยังให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น การออกแบบให้มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียและของเสียจากผู้โดยสาย เพื่อป้องกันการปนเปื้อนน้ำเสียและของเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะแม่น้ำเพชรบุรี , การออกแบบโครงสร้างทางยกระดับให้มีความโปร่งบาง และลดการบดบังหรือคุณค่าของแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถานโดยรอบ , การจัดการจราจรในพื้นที่ช่วงที่มีการก่อสร้าง , การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ชดเชยให้ผู้เสียผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม เป็นต้น

ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – หัวหิน ในอนาคตจะมีการพัฒนาขยายแนวเส้นทางไปยังปาดังเบซาร์ ซึ่งหากโครงการพัฒนาแล้วเสร็จ ในปี 2572 คาดว่าน่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – หัวหิน – ปาดังเบซาร์ ถึง 15.19 ล้านคน/ปี ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถ ถึง 18.223.11 ล้านบาท/ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2017 1:01 pm    Post subject: Reply with quote

คุยจีนเปลี่ยนวัสดุก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
เดลินิวส์
พุธที่ 30 สิงหาคม 2560 เวลา 20.36 น.

1ก.ย.กรมทางหลวงหารือจีน เรื่องวัสดุก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ชี้ทางกรมฯพร้อมก่อสร้างมาเตรียมกำลังพล ลุยเฟสแรก เผยเครื่องจักรอาจไม่พอเล็งเช่าเอกชน

เมื่อวันที่30ส.ค.นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 179,412.21ล้านบาท (รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน) ซึ่งกรมทางหลวงได้รับมอบหมายให้ดำเนินการก่อสร้างเฟสแรก คือสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ว่าในวันที่1ก.ย. นี้กรมทางหลวงจะประชุมหารือกับทางจีนในการกำหนดวัสดุการก่อสร้าง วิธีการทดลอง เพราะหากกำหนดการก่อสร้างไม่ได้ ก็จะไม่สามารถคิดราคากลางได้ เนื่องจากวัสดุบางอย่างที่จีนทำมาไม่ได้มีในเมืองไทย ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนวัสดุที่สามารถใช้ของที่มีอยู่ในประเทศไทยได้ ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวจะมีการประชุมแบ่งเป็นทีมกลุ่มเพื่อพิจารณา ซึ่งคาดว่าอีกประมาณ2อาทิตย์จะได้ข้อสรุปเรื่องวัสดุในการก่อสร้างชัดเจนมากขึ้น

ทั้งนี้หลังจากกรมทางฯได้ข้อสรุปราคากลางจากทางจีนแล้ว ต่อไปกรมทางฯก็จะต้องไปเจรจากับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เพื่อนำไปบรรจุในทีโออาร์จัดซื้อจัดจ้างต่อไป นายธานินทร์กล่าวต่อว่าทั้งนี้ความพร้อมในการก่อสร้างนั้นขณะนี้กรมทางหลวงได้เตรียมความพร้อมไว้หมดแล้ว ทั้งด้านผู้จัดการโครงการ นายช่างโครงการ รวมถึงกำลังผลในการก่อสร้าง และหน่วยที่ดูแลเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ก็พร้อมหมดแล้ว

ส่วนเรื่องเครื่องจักรในการก่อสร้างนั้นหากใช้เครื่องจักรของกรมทางหลวงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ
เพราะขณะนี้กรมทางฯก็มีโครงการก่อสร้างรายอย่างดังนั้นอาจจะต้องเช่าเครื่องจักร ทั้งเครื่องจักรขนาดใหญ่และเล็กจากบริษัทเอกชนเป็นหลัก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/09/2017 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

ผลศึกษาไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น ลงทุน 2.3 แสนล้าน
NationTV22 Published on Sep 3, 2017

ญี่ปุ่นเตรียมสรุปผลศึกษารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ให้ไทยพิจารณากลางเดือนกันยายนนี้ คาดใช้วงเงิน 2.3 แสนล้านบาท


https://www.youtube.com/watch?v=dDtlR-oaFrs
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/09/2017 9:08 pm    Post subject: Reply with quote

ลุย! “ไฮสปีดเทรน กทม.-ระยอง” ดึงเอกชนร่วมลงทุน 3.02 แสนล้าน
ฐานเศรษฐกิจ 2 September 2017

Click on the image for full size

เปิดผลการศึกษาโครงการ “รถไฟความเร็วสูง” เชื่อม 3 สนามบิน มูลค่าลงทุน 3.02 แสนล้านบาท ให้เอกชนร่วมลงทุน ... รัฐอุดหนุนเงินระยะยาวผุด 10 สถานีรองรับ พร้อมศูนย์ซ่อมบำรุง 2 แห่ง ออกแบบให้รองรับระบบตั๋วร่วม คาดเปิดดำเนินการ ปี 2566 รับผู้โดยสาร 1.69 แสนคน/วัน

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,292 วันที่ 31 ส.ค. - 2 ก.ย. 2560 รายงานว่า จากมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 มอบให้กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นหน่วยงานหลัก เร่งศึกษาระบบรางรถไฟความเร็วสูง เชื่อมโยง 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ, ดอนเมือง และอู่ตะเภา ให้แล้วเสร็จ

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท. ได้รายงานผลการศึกษาให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่มี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน รับทราบแล้ว เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายฯ พิจารณารับทราบต่อไป

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สำหรับผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ สรุปได้ว่า จะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร เพิ่มเติม 2 ช่วง คือ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง และช่วงลาดกระบัง-ระยอง พร้อมทางรถไฟเชื่อมเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิและอู่ตะเภา รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 260 กิโลเมตร

โดยจะมีสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 10 สถานี ได้แก่ ดอนเมือง, บางซื่อ, มักกะสัน, สุวรรณภูมิ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ศรีราชา, พัทยา, อู่ตะเภา และระยอง ซึ่งการเดินรถในพื้นที่เขตเมือง ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง และเดินรถระหว่างเมือง ช่วงสุวรรณภูมิ-ระยอง ด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนใหญ่ก่อสร้างเป็นทางรถไฟยกระดับ 2 ทางวิ่ง

Click on the image for full size

ขณะที่ “ทางรถไฟ” ออกแบบให้รองรับน้ำหนักกดเพลาได้ 16 ตัน ทางรถไฟหลักจะใช้ทางรถไฟแบบพื้นคอนกรีต โดยจะมีศูนย์ซ่อมบำรุง 2 แห่ง คือ คลองตัน รองรับรถไฟ City Line และศูนย์ซ่อมบำรุงใหม่ที่ฉะเชิงเทรา พื้นที่ประมาณ 400 ไร่ รองรับรถไฟความเร็วสูง

ส่วนระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ ออกแบบให้รองรับระบบตั๋วร่วม (บัตรแมงมุม) ซึ่ง “ตู้รถไฟความเร็วสูง” เปิดให้ผู้ลงทุนเลือกระหว่างรถไฟลำตัวแคบและรถไฟลำตัวกว้าง แต่ต้องรองรับความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง จัดรูปขบวนได้แบบ 8 คัน/ขบวน มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 30 ปี

ทั้งนี้ ระยะเวลาการเดินทางจากดอนเมืองถึงระยอง กรณีหยุดทุกสถานีประมาณ 2 ชั่วโมง และกรณีด่วนพิเศษ ไม่จอดระหว่างทาง ประมาณ 1 ชั่วโมง มีอัตราค่าโดยสาร City Line 13 บาท (แรกเข้า) + 2.0 บาท/กิโลเมตร และค่าโดยสาร HSR 20 บาท (แรกเข้า) + 1.8 บาท/กิโลเมตร

นอกจากนี้ ในผลการศึกษายังระบุว่า ประมาณการผู้โดยสาร คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารเปิดให้บริการปี 2566 ที่จะเดินทางภายในกรุงเทพฯ ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ประมาณ 103,920 คน ต่อเที่ยว/วัน และที่เดินทางระหว่างจังหวัด ช่วงสุวรรณภูมิ-ระยอง ประมาณ 65,630 คน ต่อเที่ยว/วัน รวมทั้งสิ้น 169,550 คน ต่อเที่ยว/วัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 362,410 คน ต่อเที่ยว/วัน ในอนาคต

สำหรับเงินลงทุนโครงการ จะแบ่งเป็นส่วนรถไฟความเร็วสูง 220,608 ล้านบาท และส่วนการพัฒนาพื้นที่มักกะสันและการพัฒนาที่ดินรอบสถานี (TOD) 82,113 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นประมาณ 302,721 ล้านบาท การลงทุนจะเป็นรูปแบบ PPP1 Net Cost โดยเอกชนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถ ค่าจ้างที่ปรึกษา และการดำเนินงานและซ่อมบำรุง รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ โดยรัฐจะทยอยให้การอุดหนุนเงินดำเนินงานโครงการเป็นรายปีในระยะยาว ในอัตราที่สอดคล้องกับกำลังงบประมาณของรัฐ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/09/2017 10:35 pm    Post subject: Reply with quote

ผลศึกษาไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น ลงทุน 2.3 แสนล้าน
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV3 กันยายน 2560 13:31 น.

ญี่ปุ่นเตรียมสรุปผลศึกษารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ให้ไทยพิจารณากลางเดือนกันยายนนี้ คาดใช้วงเงิน 2.3 แสนล้านบาท

ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรหรือ สนข.ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ระบุกลางเดือน ก.ย.นี้ ญี่ปุ่นจะส่งผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตรฉบับสุดท้ายให้ฝ่ายไทยพิจารณา

หลังจากนั้น สนข.จะส่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทยหรือ ร.ฟ.ท.และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือ สศช.พิจารณาก่อนส่งข้อมูลกลับไปให้ญี่ปุ่นจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ภายในปีนี้

ส่วนผลการศึกษาล่าสุด ระบุว่า รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะใช้ระบบชินกันเซ็ง มีทั้งหมด 6 สถานี ใช้วงเงินลงทุน 2.2-2.3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างงานโยธา 70% ค่าติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและการจัดหาขบวนรถ 30%

ผลศึกษาเสนอว่าภาครัฐควรลงทุนรถไฟความเร็วสูง 100% โดยในส่วนของการเดินรถให้เอกชนเป็นผู้บริหาร โดยให้อายุสัมปทาน 30 ปี แต่ขณะนี้ยังไม่ได้สรุปว่าการลงทุนควรเป็นรูปแบบใด โดยไทยมีแนวคิดว่าจะชวนญี่ปุ่นร่วมหุ้นแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี

สำหรับอัตราค่าโดยสารแรกเข้าอยู่ที่ 50-80 บาทต่อเที่ยว จากนั้นเพิ่มขึ้นกิโลเมตรละ 1.50 บาท หรือตลอดเส้นทางอยู่ที่ 500-600 บาทต่อเที่ยว ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.3 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 228, 229, 230 ... 548, 549, 550  Next
Page 229 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©