Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311322
ทั่วไป:13283952
ทั้งหมด:13595274
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 229, 230, 231 ... 548, 549, 550  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42784
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2017 10:20 am    Post subject: Reply with quote

ไทย-จีน ชื่นมื่นในซัมมิต BRICS เตรียมลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูง โรดแมปความสัมพันธ์ 5 ปี และเอ็มโอยูพัฒนาเส้นทางสายไหมร่วมกับจีน
เผยแพร่: 3 กันยายน 2560 14:47:00 ปรับปรุง: 3 กันยายน 2560 16:37:00

MGRONLINE/ซย่าเหมิน -- จีนเปิดการประชุมสุดยอดกลุ่มเศรษฐกิจ BRICS ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 3-5 ก.ย. ณ นครซย่าเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน พร้อมผลักดันการขยายวงความร่วมมือ BRICS PLUS โดยเชิญ 5 ชาติ ได้แก่ ไทย อียิปต์ กินี เม็กซิโก และทาจิกิสถาน เข้าร่วมการประชุมฯร่วมกับกลุ่มสมาชิก BRICS ภายใต้หัวข้อ การเจรจากลุ่มตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และยังนับเป็นปีแรกของการประชุม BRICS ที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานการประชุมฯ

ทั้งนี้ กลุ่มเศรษฐกิจ BRICS ประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ คือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ กลุ่มสมาชิก BRICS มีประชากรรวมกัน คิดเป็นสัดส่วนถึง 44 เปอร์เซ็นต์ของโลก และขนาดการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) คิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ สูงจากระดับ 12 เปอร์เซ็นต์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การเติบโตเศรษฐกิจการค้าของ 5 ประเทศสมาชิก BRICS ได้ช่วยกระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจโลกถึงกึ่งหนึ่ง ปริมาณการค้าและการลงทุนในต่างแดนของทั้งห้าชาติ คิดเป็นสัดส่วน 16 เปอร์เซนต์ และ 12 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สูงจากระดับการเติบโตในปี 2006 ซึ่งอยู่ที่ 11 เปอร์เซ็นต์ และ 7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

เอกอัคราชทูตไทยประเทศกรุงปักกิ่ง นาย พิริยะ เข็มพล เผยถึงบทบาทของไทยในซัมมิต BRICS ครั้งนี้ โดยระบุว่าจีนมีความคิดขยายกลุ่ม BRICS PLUS โดยเชิญประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆมาประชุมพูดคุยกับประเทศสมาชิกBRICS เพื่อสร้างเวทีขยายวงความร่วมมือสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในซีกโลกใต้ (South-South Cooperation) กลุ่มประเทศที่จีนได้เชิญมาร่วมวงเจรจา BRICS PLUS ได้แก่ ไทย อียิปต์ กินี เม็กซิโก และทาจิกิสถาน ซึ่งจะประชุมความร่วมมือกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ และและประเทศกำลังพัฒนา ในวันที่ 5 ก.ย.นี้

สำหรับสมาชิกใน BRICS PLUS อาจหมุนเวียน ขึ้นอยู่กับความเห็นพ้องของประเทศสมาชิก เป็นการขยายกลุ่มความร่วมมือในลักษณะเดียวกับ ASEAN+3 สำหรับปีนี้ เป็นกลุ่ม 5 ประเทศ ปีหน้าอาจเชิญประเทศอื่นๆมาร่วมประชุมฯ ในอนาคตอาจขยายวงความร่วมมือสู่กลุ่มประเทศโลกใต้ ทำนองเดียวกับที่มีความร่วมมือในกลุ่มประเทศซีกโลกเหนือ อย่าง กลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ G7 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มั่งคั่ง ส่วนกลุ่มประเทศทางใต้ (ใต้เส้นศูนย์สูตร) เป็นกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา

นอกจากนี้ นาย พิริยะ ยังได้เปิดเผยว่าระหว่างซัมมิต ไทยและจีนจะลงนามร่วมกันในเอกสาร 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับแรก คือ แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทยจีน ระหว่าง 5 ปีข้างหน้า (2560-64) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ดอน ปรมัตถ์วินัย และรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศจีน หวัง อี้ จะลงนาม โดยมีประธานาธิบดี สี จิ้นผิง และนายกรัฐมนตรีไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นสักขีพยานการลงนามฯ ซึ่งจะเป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan) สำหรับความสัมพันธ์ไทย-จีน เป็นการวางกรอบความร่วมมือกันระหว่าง 5 ปีข้างหน้า ครอบคลุม 20 สาขา เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ความร่วมมือด้านภูมิภาค พหุภาคี ซึ่งสอดคล้องกับแผนกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ของไทย และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของจีนฉบับที่ 13

สัญญาฉบับที่สอง คือ การลงนามสัญญาการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย คือสัญญาการออกแบบและการควบคุมงาน เส้นทางรถไฟความเร็วสูงนี้ เป็นเส้นทางรถไฟผู้โดยสาร จะเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ และมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2021

ในอนาคต เส้นทางรถไฟกรุเทพฯ-หนองคาย จะไปเชื่อมกับเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ที่เชื่อมเส้นทางจากคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนัน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มายังกรุงเวียงจันทน์ เป็นยุทธศาสตร์สำคัญมากที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง มาเป็นสักขีพยานในการลงนามฯ รถไฟความเร็วสูงสายนี้เป็นสัญลักษณ์ความคืบหน้าของนโยบายหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ร่วมกับไทยในการสร้างความเชื่อมโยง (connectivity) จีนต้องการให้มีการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค เอเชีย ยุโรป แต่ไม่มีเส้นทางไหนที่สร้างเป็นรูปธรรมเท่ากับเส้นทางนี้ ที่จะเชื่อมโยงกรุงเทพฯ หนองคาย ลาว คุนหมิง เส้นทางนี้เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงขนส่งผู้โดยสารเส้นแรก ส่วนเส้นทางรถไฟสายๆอื่น ที่เชื่อมจีนกับเอเชีย ไปถึงยุโรปนั้น ล้วนเป็นเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้า จีนจึงให้ความสำคัญมาก เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จีนจะยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง

ฉบับที่สามคือ การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมทางบก และเส้นทางสายไหมทางทะเล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เป็นผู้ลงนาม

"ฝ่ายจีนต้องการบันทึกความเข้าใจระหว่างสองประเทศ เพื่อสร้างความชัดเจนว่าความร่วมมือในนโยบาย หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง จะมีอะไรบ้าง และสร้างความชัดเจนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาที่ยั่งยืน การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เอ็มโอยูฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับไทย เนื่องจากทางไทยมีโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) อยู่แล้ว และการเชื่อมโยงกับจีน ทำให้เกิดความชัดเจนขึ้น สร้างความเชื่อมั่นในการร่วมมือพัฒนา

“ถ้าไม่มีเอ็มโอยู ก็จะเป็นแค่คำพูด เป็นยุทธศาสตร์ของฝ่ายเราด้วยว่า ระเบียงเศรษฐกิจและโครงการพัฒนาต่างๆของไทย เป็นส่วนหนึ่งที่จะดึงดูดความสนใจนักธุรกิจ นักลงทุนจากจีน เนื่องจากมีสัญญากันในเชิงนโยบาย เมื่อมีเอ็มโอยู หลายๆโครงการของเราได้รับการยอมรับเข้าไปอยู่ในกรอบของ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” นาย พิริยะ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2017 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊กตู่บินลงนามรถไฟเร็วสูงจีน 5 ก.ย.นี้
โพสต์ทูเดย์ 04 กันยายน 2560 เวลา 07:33 น.

"พล.อ.ประยุทธ์" บินลงนามโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 สัญญาแรก ณ เมืองเซียะเหมิน มณฑลฝูเจี้ยนของจีน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะเข้าหารือทวิภาคีกับนายสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนในวันที่ 5 ก.ย.นี้ ระหว่างร่วมประชุมผู้นำประเทศกำลังพัฒนากับประเทศตลาดเกิดใหม่ณ ประเทศจีน

พร้อมกันนี้จะลงนามในแผนปฏิบัติการความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน และบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 ระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย โดยผู้นำทั้งสองจะเป็นสักขีพยาน

สำหรับการลงนามร่างสัญญา 2 ฉบับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ประกอบด้วย 2.1 ร่างสัญญาสำรวจและการออกแบบรายละเอียด มูลค่าสัญญาค่าจ้าง 1,706.7 ล้านบาทและ 2.2 ร่างสัญญาที่ปรึกษาคุมงานการก่อสร้าง 3,500 ล้านบาท

ทั้งนี้ ร่างสัญญาทั้งสองฉบับนี้จีนรับผิดชอบ 43,748.69 ล้านบาท ประกอบด้วย 2.1 การควบคุมการก่อสร้างร่างสัญญาที่ 2.2 ที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง และ 2.3 งานวางรางงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถและฝึกอบรมบุคลากร 38,558.38 ล้านบาทส่วนสัญญาที่ 1 ฝ่ายไทยรับผิดชอบ 117,914.08 ล้านบาท ได้แก่ งานวิศวกรรมโยธา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2017 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ หารือ ปธน.จีน ย้ำเดินหน้ารถไฟไทย-จีน
TNN 24 Published on Sep 4, 2017
นายกฯร่วมหารือทวิภาคีประธานาธิบดีจีน ย้ำเดินหน้าโครงการรถไฟไทย-จีนและการเมือง เศรษฐกิจ 2 ประเทศ

TNN24 ออกอากาศทางทีวีช่อง 16


https://www.youtube.com/watch?v=RZcDFm0dbxQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2017 8:40 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)
Pasd Putthapipat Published on Aug 31, 2017


https://www.youtube.com/watch?v=GWu4b29aEZg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2017 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ 4/9/60 : นายกฯเยือนแดนมังกร ลงนามรถไฟไทย-จีน (2/4)
ฐานเศรษฐกิจ เผยแพร่เมื่อ 4 ก.ย. 2017

รายการ ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2560 เวลา 16.05-17.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณบากบั่น บุญเลิศ และคุณวิลาสินี แวน ฮาเรน สร้างโอกาสทางธุรกิจกับฐานเศรษฐกิจ เจาะลึกประเด็น นายกฯเยือนแดนมังกร ลงนามรถไฟไทย-จีน รายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากรายการ (ชมคลิป)


https://www.youtube.com/watch?v=7xUk7vMP6_w
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2017 8:59 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับแนวหลบถนนเพชรเกษม ไฮสปีดกรุงเทพ-ปาดังฯ
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 4 กันยายน 2560 เวลา 17.03 น.

สนข. ซาวด์เสียงชาวเพชรบุรี รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ ปรับแนวหลบถนนเพชรเกษม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนจังหวัดเพชรบุรี  โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) สายกรุงเทพฯ-หัวหิน (งานแก้ไขแนวเส้นทางที่จังหวัดเพชรบุรี)  ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคใต้ ผลการศึกษาและออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จตั้งแต่เดือน ธ.ค.56 ล่าสุดปรับแนวเส้นทางใหม่ช่วงเลี่ยงเมืองเพชรบุรี เพื่อลดผลกระทบในการใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ช่วงเขาวังถึงห้างบิ๊กซี เพชรบุรี ระยะทาง 4.5 กม.  
 
สำหรับแนวเส้นทางใหม่จะใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิมเป็นหลักยกเว้นบางช่วงจำเป็นต้องปรับแนวให้รถไฟทำความเร็วได้อย่างปลอดภัย มีจุดเริ่มต้นโครงการจากสถานีกลางบางซื่อใช้แนวเส้นทางรถไฟสายใต้ผ่านสถานีนครปฐม สถานีราชบุรี แต่เมื่อเข้าสู่ อ.เมือง จ.เพชรบุรี แล้วแนวเส้นทางจะเบี่ยงออกจากแนวเส้นทางรถไฟสายใต้ บริเวณ ต.บางจากเข้าสู่สถานีเพชรบุรี ที่ ต.ธงชัย จากนั้น ปรับแนวเส้นทางจากเดิมช่วงต.ธงชัย(กม.150+000) ที่ใช้แนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม  ไปใช้พื้นที่ว่างฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษมแทนแล้วเข้าสู่แนวเส้นทางรถไฟสายใต้อีกครั้ง บริเวณสถานีหนองไม้เหลือง (กม.168-500) ปรับแนวเส้นทางประมาณ18 กม. จากนั้นมุ่งลงใต้สู่อ.ชะอำ และอ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 209 กม.

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมเช่น ออกแบบให้มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียและของเสียจากผู้โดยสารป้องกันของเสียลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี ออกแบบโครงสร้างทางยกระดับให้โปร่งบางลดการบดบังแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถานโดยรอบ อนาคตจะขยายแนวเส้นทางไปปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซีย คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 72 จะมีผู้ใช้บริการ สายกรุงเทพฯ – หัวหิน – ปาดังเบซาร์ ถึง 15.19 ล้านคน/ปี ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถถึง18.223.11 ล้านบาท/ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2017 9:48 pm    Post subject: Reply with quote

มึน!ไฮสปีดเทรนใช้เหล็กจีน ทล.ยันต้องเป็นวัสดุของไทย UNIQคว้าลพบุรี-ปากน้ำโพ
ไทยโพสต์ Tuesday, September 5, 2017 - 00:00

"กรมทางหลวง" มึน หลังวัสดุก่อสร้างยกคันดินนำร่องสร้างรถไฟไทย-จีน เฟสแรก 3.5 กม. พบวัสดุหลายอย่างเป็นของจีน ทั้งเหล็ก ตัวระบายน้ำใต้คันทาง บล็อกระบายน้ำทางลอด ลุยตั้งคณะทำงานต่อรองใช้วัสดุในไทยทั้งหมด UNIQ ซิวงานสัญญา 2 ทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เฟสแรก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ว่า ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาคุณภาพและสเปกของวัสดุ พบว่า วัสดุบางอย่างกำหนดให้ใช้วัสดุจากจีน เช่น เหล็ก ต้องเป็นเหล็กที่เป็นสเปกของจีน ตัวระบายน้ำใต้คันทาง ตัวกันไหล่ไม่ให้กัดเซาะ บล็อกระบายน้ำทางลอด

ดังนั้น จึงต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยเชิญตัวแทนจากจีนเข้าร่วมประชุม เพื่อหาข้อสรุปว่าวัสดุที่ใช้นั้นควรที่จะเป็นของจากประเทศไทยหรือจีน และเพื่อไม่ให้โครงการมีความล่าช้า จึงได้ตั้งคณะทำงานในลักษณะคู่ขนานก่อนที่จะลงนามในบันทึกข้อตกลง หรือ MOU เพื่อที่จะให้ได้ข้อสรุปว่าวัสดุไหนบ้างที่จะใช้ในไทย ซึ่งในเบื้องต้นได้รายงานกับ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ว่า กรมจะมีการต่อรองใช้วัสดุในไทยทั้งหมด

นายธานินทร์กล่าวว่า กรมทางหลวงจะใช้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในช่วงนี้จะเป็นต้นแบบในการดำเนินการในการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟความเร็วสูงทั้งเส้นทางดังกล่าวและเส้นทางอื่นๆ และที่สำคัญจะเป็นมาตรฐานกำหนดราคาที่ช่วยประหยัดงบประมาณสำหรับงานก่อสร้างอย่างชัดเจน งานต้องออกมาดี, รวดเร็ว, มีคุณภาพและประหยัด ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างภายใต้เป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปร่วมประชุมความร่วมมือกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (บริคส์) ที่มณฑลเซี่ยเหมิน ประเทศจีน ในวันที่ 4-5 ก.ย.60 นี้พร้อมทั้งจะลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบ (2.1) วงเงิน 1,706.771 ล้านบาท และที่ปรึกษาควบคุมก่อสร้าง (2.2 ) คาดว่าจะตอกเข็มโครงการตอนแรก ระยะทาง 3.5 กม. (กลางดง-ปางอโศก) ในเดือน ต.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย.2560 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เปิดเคาะราคารถไฟทางคู่เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ สัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ ระยะทาง 116 กิโลเมตร วงเงิน 8,813 ล้านบาท โดยผู้ชนะการประกวดราคา คือ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด วงเงิน 8,649 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 164 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 5 ก.ย.นี้ จะเปิดซองทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย ราคากลาง 6,579.91 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร ราคากลาง 6,071.50 ล้านบาท โดยงานทั้ง 2 สัญญาได้เลื่อนการประมูลมาจากวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2017 1:16 pm    Post subject: Reply with quote

ดัน”มักกะสัน”จุดเชื่อม 3 สนามบินอีอีซี-พัทยาเสริมโมโนเรล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 5 กันยายน 2560 - 10:30 น.

ปรับแผนใหม่ - คมนาคมเตรียมเสนอบอร์ดอีอีซีขอให้เดินหน้ารถไฟเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ใช้สถานีมักกะสันหรือลาดกระบังเป็นจุดเชื่อมต่อ
หวั่นโครงการล่าช้า “อาคม” เสนอทางเลือกบอร์ดอีอีซี เดินหน้าลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ไม่ต้องเดินรถแบบไร้รอยต่อ ใช้สถานี “มักกะสัน-ลาดกระบัง” เป็นจุดต่อเชื่อม เทงบฯ 102 ล้านให้เทศบาลเมืองพัทยาศึกษาสร้างโมโนเรลเสริมแกร่งท่องเที่ยว แก้รถติด

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการระบบการคมนาคมขนส่งจะลงทุนในเมืองพัทยา จ.ชลบุรี นอกจากอุโมงค์ทางลอดพัทยากลางแล้ว จะมีมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ที่สร้างคู่ขนานกับถนนสุขุมวิท รวมถึงยังมีโครงการบรรจุไว้ในแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่รัฐบาลกำหนดให้ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นพื้นที่พัฒนาโครงการ จะครอบคลุมถึงพื้นที่ อ.เมืองพัทยา ด้วย

“การพัฒนาอีอีซี นอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรม การบิน ศูนย์ซ่อมอากาศยานแล้ว ยังมีเรื่องของการท่องเที่ยวด้วยที่รัฐบาลต้องการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศให้เป็นศูนย์กลางภูมิภาค”


นายอาคมกล่าวว่า สำหรับโครงการที่จะเข้ามายังเมืองพัทยา มีรถไฟทางคู่สายตะวันออกฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193 กม. เงินลงทุนกว่า 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งทางคณะกรรมการอีอีซีมีนโยบายให้เป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อมการเดินทาง 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ รองรับนักท่องเที่ยวจากดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ที่ถูกยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติอย่างเต็มรูปแบบ รองรับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคน 30 ล้านคน และ 60 ล้านคน ในอนาคต

“เมืองพัทยาเป็นจุดหนึ่งที่มีสถานีรถไฟความเร็วสูงจอดให้บริการ จะทำให้เกิดความสะดวกสบายต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติจากกรุงเทพฯที่ต้องการเดินทางไปฉะเชิงเทรา พัทยา ระยอง และจันทบุรี”

นายอาคมกล่าวว่า ล่าสุดได้หารือร่วมกับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอีอีซี ถึงแนวทางการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลังจากมีนโยบายให้รวมโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย พญาไท-สุวรรณภูมิ และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นโครงการเดียวกัน เพื่อให้การเดินทางแบบไร้รอยต่อ โดยมีผู้เดินรถรายเดียว ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ทั้งเงินลงทุนและรูปแบบการให้เอกชนเข้าร่วมโครงการ ในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้เนื่องจากโครงการมีการออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนการก่อสร้างไปยังสนามบินอู่ตะเภาและเชื่อมกับสนามบินสุวรรณภูมิ จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติม โดยเตรียมจะเสนอรายงานอีไอเอภายในเดือน ต.ค.นี้ อาจจะใช้เวลาสักระยะหนึ่งกว่าจะได้รับการอนุมัติ ดังนั้นเพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าได้เร็ว และไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่ม

ล่าสุดกระทรวงจะเสนอแนวคิดให้เร่งรัดก่อสร้างโครงการตามความพร้อมเป็นรายโครงการ คือ เริ่มจากแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยายก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างการรออนุมัติอีไอเอ เช่นเดียวกับรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง ที่รออีไอเอ หากผ่านก็ดำเนินการต่อไป ปัจจุบันเดินหน้าโครงการแบบคู่ขนาน โดยเสนอโครงการไปยังคณะกรรมการ PPP เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“จริง ๆ 3 สนามบินนั้น สนามบินที่จะต้องพึ่งกันคือ สุวรรณภูมิกับดอนเมือง เพราะมีการคอนเน็กต์ไฟล์กันอยู่ แต่ถ้าอู่ตะเภาพัฒนาเป็น 30 ล้านคน 60 ล้านคน ในอนาคตจะใหญ่กว่าดอนเมือง เพราะฉะนั้นอู่ตะเภาจะเป็นเรื่องของบินในประเทศและต่างประเทศ ฉะนั้นในเรื่องของการเชื่อมต่อตรงนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเชื่อมแบบไร้รอยต่อ แต่ว่ามีการต่อเชื่อมกันที่สถานีใดสถานีหนึ่งก็อาจจะทำได้ ไม่ว่ามักกะสันหรือลาดกระบัง แล้วเชื่อมเข้าสุวรรณภูมิ กำลังหารือกับฝ่ายเลขานุการอีอีซี ส่วนเงินลงทุนก็เท่าเดิมถ้าทำตามแนวคิดนี้ ทั้ง 2 โครงการก็เกือบ 2 แสนล้านบาท”

ด้าน พล.ต.ต.อนันต์ เจริญชาศรี นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า ได้งบประมาณปี 2560 จำนวน 102 ล้านบาท จากคณะกรรมการอีอีซี เพื่อศึกษาความเหมาะสมโครงการลงทุนระบบรถไฟรางเดี่ยวหรือโมโนเรลในเมืองพัทยา เพื่อแก้ปัญหารถติดและรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอีอีซีด้วย จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี จากนั้นถึงจะสรุปรูปแบบ วงเงิน และการลงทุนโครงการได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2017 7:04 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 7 ปีที่รอคอย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 05 กันยายน 2560

Click on the image for full size

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เริ่มเปิดหวูด เตรียมติดสปีดแล้ว หลังรอคอยมานาน 7 ปี "ประยุทธ์" นำทีมเซ็นสัญญาจีนรับงานแรก 2 สัญญา ไทยลงทุนเอง 1.7 แสนล้านบาท

การไปเยือนประเทศจีนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 4-5 ก.ย.2560 นับเป็นการเยือนจีนอย่างน้อยครั้งที่ 4 แล้วนับตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีกว่า 3 ปี หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557

ครั้งแรกที่พล.อ.ประยุทธ์ไปเยือนจีน คือ เมื่อวันที่ 22-23 ธ.ค.2557 ที่ครั้งนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมการบริหารรถไฟแห่งชาติจีน ที่สถานีรถไฟตอนใต้ของกรุงปักกิ่ง และยังได้ดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงของจีนด้วย

ครั้งนี้ในโอกาสเดินทางเข้าร่วมการประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ที่เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคี กับ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน

ไทยย้ำความร่วมมือหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ สนับสนุนยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) และ Made in China 2025 ให้ประเทศและประชาชน ตามแนวเส้นทางสายไหมได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง
t2
นอกจากการลงนามร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน (พ.ศ. 2560-2564) และลงนามร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 แล้ว ยังมีการลงนามสัญญา 2 เกี่ยวกับโครงการถไฟความเร็วสูงกทม.-นครราชสีมา ระยะที่ 1 คือสัญญาจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา 3,500 ล้านบาท และงานออกแบบรายละเอียด จ้าง China Railway International Co.Ltd. และ China Railway Design Corporation วงเงินค่าจ้าง 1,706.8 ล้านบาท

นับเป็นการออกสตาร์ทโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ไทยร่วมมือกับจีนอย่างเป็นทางการ หลังจากมีความพยายามมานานประมาณ 7 ปี นับตั้งแต่ยุคสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี 2553 โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบความร่วมมือ ในส่วนของบทบาทการให้จีนลงทุนและสิทธิการใช้ประโยชน์จากที่ดินข้างทางรถไฟ มาจนถึงยุครัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีการปรับรูปแบบให้จีนร่วมทุนประมาณ 60% แต่ข้อตกลงไม่ลงตัว

จนในที่สุด ก็ได้ข้อสรุปว่ารัฐบาลจะลงทุนก่อสร้างโครงการนี้เองด้วยงบ 1.79 แสนล้านบาท โดยนำงบประมาณเพื่อใช้เวนคืนที่ดิน และงบก่อสร้างจะมีการกู้เงินลงทุน และมีคำชี้แจงของกระทรวงคมนาคมในการดำเนินการอื่น ๆ คือ
1.ไทยเป็นผู้พัฒนาเชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟและพื้นที่ด้านข้าง เพื่อให้มีรายได้กลับมายังภาครัฐ ซึ่งเบื้องวางแผนจะพัฒนาปากช่องเป็นพื้นที่นำร่อง
2.การก่อสร้างโยธาต้องเป็นของผู้รับเหมาไทย
3.วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างต้องใช้ภายในประเทศให้ได้มากที่สุด
4.ต้องไม่มีการนำแรงงานก่อสร้างเข้ามาจากจีน ยกเว้นผู้เชี่ยวชาญที่เป็นวิศวกรและสถาปนิก และ 5.ผู้ที่ขับรถไฟความเร็วสูงเป็นบุคลากรไทยนับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ

ส่วนเรื่องการหาผู้รับเหมาก่อสร้าง และระบบการเดินรถ จะมีการประมูลจัดหาต่อไป

เส้นทางนี้มีระยะทาง 253 กม. คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2564 ความเร็วในการเดินรถ 250 กม.ต่อชม.ใช้เวลาเดินทาง 1 ชม. 17 นาที ค่าโดยสาร 80-535 บาท โดยคิดเพิ่ม 1.8 บาทต่อกม.

คาดว่าปี 2564 มีผู้โดยสาร 5,300 คนต่อวัน และอีก 30 ปี หรือปี 2594 มีผู้โดยสาร 26,800 คนต่อวัน

http://videolink.nationchannel.com/data/4/2017/09/05/7dbkkh56b9abk588gb6ib.mp4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44777
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2017 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย-จีน"ต้ังเป้าเชื่อมความเร็วสูงไทย-ลาว ปี 64
คมชัดลึก 5 ก.ย. 60

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ที่ผ่านมา นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมลงนามสัญญาภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญา 2.1 การออกแบบรายละเอียด (Detailed Design Services Agreement) และสัญญา 2.2 ที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง (Construction Supervision Consultant Services Agreement)

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเฟส 1 ทั้ง 2 ฉบับแล้ว ฝ่ายไทยจะเร่งรัดให้เริ่มสำรวจออกแบบเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 647 กิโลเมตรทันที เพราะขั้นตอนสำรวจออกแบบต้องใช้เวลาพอสมควร

การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะง่ายกว่าเฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร เพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น ก็มีการเตรียมพื้นที่ไว้ให้ส่วนหนึ่งแล้ว

“ต้องการให้รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย เสร็จพร้อมกับรถไฟความเร็วสูงจากลาว และเชื่อมต่อกันได้ในปี 2564-2565 โดยลาวจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี ส่วนไทยคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันและจีนก็เห็นด้วย ถ้าทำแล้วเชื่อมทะลุ กรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุณหมิง ก็ถือว่าประสบความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง (One Belt,One Road)” นายอาคมกล่าว

----

ไทยจับมือจีน ลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูง เชื่อมโยงกรุงเทพฯ-หนองคาย
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 5 ก.ย. 2560 18:58

รัฐบาลไทยร่วมกับรัฐบาลจีน ลงนามสัญญาภายใต้โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย พร้อมสร้างรถไฟความเร็วสูงจากลาวเชื่อมต่อในปี 2564 คาดใช้เวลา 4 ปี ในการก่อสร้าง

วันที่ 5 ก.ย.60 ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า เมื่อวานนี้ (4 ก.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมลงนามสัญญาภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญา 2.1 การออกแบบรายละเอียด (Detailed Design Services Agreement) และสัญญา 2.2 ที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง (Construction Supervision Consultant Services Agreement)

ทั้งนี้ ภายหลังจากลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเฟส 1 ทั้ง 2 ฉบับแล้ว ฝ่ายไทยจะเร่งรัดให้เริ่มสำรวจออกแบบเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 647 กิโลเมตรทันที เพราะขั้นตอนสำรวจออกแบบต้องใช้เวลาพอสมควร อย่างไรก็ตามการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะง่ายกว่าเฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร เพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น ก็มีการเตรียมพื้นที่ไว้ให้ส่วนหนึ่งแล้ว

อย่างไรก็ตาม ต้องการให้รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย เสร็จพร้อมกับรถไฟความเร็วสูงจากลาว และเชื่อมต่อกันได้ในปี 2564-2565 โดยลาวจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี ส่วนไทยคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันและจีนก็เห็นด้วย ถ้าทำแล้วเชื่อมทะลุ กรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุณหมิง ก็ถือว่าประสบความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง (One Belt, One Road).
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 229, 230, 231 ... 548, 549, 550  Next
Page 230 of 550

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©