Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180297
ทั้งหมด:13491531
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟไทยใช้รางขนาด 1 เมตร เชื่อมอาเซียน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟไทยใช้รางขนาด 1 เมตร เชื่อมอาเซียน

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2018 5:58 pm    Post subject: รถไฟไทยใช้รางขนาด 1 เมตร เชื่อมอาเซียน Reply with quote

รฟท.แจงรถไฟไทยใช้รางขนาด 1 เมตร เชื่อมอาเซียน
สำนักข่าวไทย เศรษฐกิจ 26 ก.พ. 2018 17:16:26

กรุงเทพฯ 26 ก.พ. – รฟท.แจงรถไฟไทยใช้รางขนาด 1 เมตร เชื่อมอาเซียน หากรื้อใหม่ทั้งระบบต้องใช้งบประมาณมหาศาล

นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การใช้รางขนาด 1 เมตรกับรถไฟที่วิ่งให้บริการปัจจุบัน กับที่จะสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศโดยไม่ได้ใช้รางขนาด 1.435 เมตรนั้น เนื่องจากที่ผ่านมาโดยเฉพาะเมื่อปี 2551 ผู้ว่าการ รฟท.ทุกประเทศในอาเซียนได้มีการประชุมอาเซียนเกรทร่วมกันที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ และร่วมลงนามถึงการใช้รางรถไฟขนาด 1 เมตร เพื่อให้การเดินทางระหว่างกันโดยรถไฟ การขนคน สินค้า เชื่อมต่อกันได้ในอาเซียน

นอกจากนี้ ได้มีการระบุว่าหากการให้บริการทางรางรถไฟที่มีความเร็วไม่เกิน 200 กม./ชม. ให้ใช้รางขนาด 1 เมตร หากมีการใช้ความเร็วในการเดินทางมากกว่า 200 กม./ชม ให้ใช้รางขนาด 1.435 เมตร ซึ่งรางขนาด 1.435 เมตร ส่วนมากจะรองรับรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันดังกล่าวเนื่องจากมองว่าหากการขนส่งคนและสินค้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความเร็วมาก เพราะหากอยากได้ปริมาณมากก็เพิ่มตู้ขบวนได้ตามต้องการ และที่ผ่านมา รฟท.มีการปรับปรุงมาตรฐานทั้งระบบอาณัติสัญญาณ ขนาดราง การรองรับน้ำหนักทาง รถพ่วง หัวรถจักรแล้วและปัจจุบันรถไฟไทยมีรางรถไฟทั่วประเทศกว่า 4,000 กม. และหากต้องรื้อระบบรางจาก 1เมตร เป็น 1.435 มตรก็ต้องรื้อใหม่ทั้งระบบ ซึ่งต้องใช้งบประมาณมหาศาลมาก
“รางรถไฟนอกจากไทยใช้ 1 เมตรแล้วรอบ ๆ บ้านไม่ว่าลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ก็ใช้รางขนาด 1 เมตร ซึ่งรางขนาด 1 เมตรสามารถรองรับความเร็วของรถไฟได้ถึง 160-170 กม./ชม.ในการขนคน และสินค้า และในปะเทศมาเลเซียก็มีการพัฒนารถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตร ให้รองรับระบบรถไฟฟ้าได้ โดยระบบรางที่รองรับรถไฟฟ้าต้องใช้งบประมาณกว่า 300 ล้านบาท/กม.” นายทนงศักดิ์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2018 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

"อาคม" ย้ำ "มีการศึกษา" รางรถไฟ1.435 เมตร - ยัน "โครงสร้างพื้นฐาน" ต้องเหมาะสมกับประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ 26 February 2018

รมว.คมนาคม ยืนยันข้อเสนอการก่อสร้างทางรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร ทางด่วนพิเศษระหว่างเมืองมีการศึกษา ขณะที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมต้องเหมาะสมกับประเทศ

26 ก.พ.61- นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวถึงข้อคัดค้านการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร และสนับสนุนให้มีการก่อสร้างทางด่วนพิเศษระหว่างเมือง(ออโต้บาห์น )ว่า ยืนยันว่าข้อเสนอเหล่านี้ได้ถูกหยิบยกมาเป็นเวลาหลายสิบปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเคยพิจารณาประเด็นแง่มุมต่าง ๆ ของโครงการ โดยประเด็นทางรถไฟขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร ชัดเจนว่ารถไฟขนาด 1 เมตรจะเหมาะกับการใช้งานระบบรถไฟที่ไม่ต้องใช้ความเร็วมาก ขณะที่รถไฟความเร็วสูงที่ใช้ความเร็วมากกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเหมาะกับการใช้ขนาดราง 1.435 เมตร ซึ่งประเทศไทยเดินตามรูปแบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว

นายอาคม กล่าวว่า ส่วนออโต้บาห์นนั้น เป็นทางด่วนระบบปิดจำกัดทางเข้าของประชาชนที่อยู่ 2 ข้างทาง โดยทางจะมีจุดเข้าออกของถนนน้อยมากจนเป็นที่ตั้งข้อสังเกตว่าจะเหมาะหรือไม่ หากพัฒนาทางลักษณะดังกล่าวทำให้ประชาชน 2 ข้างทางไม่สามารถใช้ได้สะดวก ภาพรวมทั้งหมดการพัฒนาโครงการไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดก็ต้องเหมาะกับบริบทของประเทศและประชาชนผู้ใช้บริการเกิดความปลอดภัยและได้รับความสะดวกมากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/02/2018 9:09 pm    Post subject: Reply with quote

ไขปมขนาดรางรถไฟ 1 เมตร และ 1.435 เมตร
TNN 24 Published on Feb 26, 2018

คำถามสำคัญที่หลายคนอยากรู้ก็คือรางรถไฟขนาดรางกว้าง 1 เมตรที่พลตำรวจเอกสล้างไม่เห็นด้วย กับรางรถไฟขนาดกว้าง 1.435 เมตร ซึ่งเป็นแนวคิดที่พลตำรวจเอกสล้างเห็นด้วยนั้นจะมีความต่างกันอย่างไร ทีมข่าวลงพื้นที่ รวมถึงติดตามข้อเท็จจริงในเรื่องของประสิทธิภาพการใช้รางรถไฟตามขนาดต่างๆ รายละเอียดจากรายงานของคุณอัครพงษ ์นครแก้ว


https://www.youtube.com/watch?v=ocNvuMV5lMM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2018 9:56 am    Post subject: Reply with quote

ชูวิทย์มีเรื่องเล่า คุยปมการเสียชีวิต 'พล.ต.อ.สล้าง' เทียบข้อมูลรถไฟรางคู่ หลังถูกเขียนใน จม.ลาตาย
เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร Published on Feb 26, 2018

ชูวิทย์มีเรื่องเล่า กับชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ คุยปมการเสียชีวิตของพลตำรวจเอกสล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ หลังเสียชีวิตจากการพลัดตกจากชั้น 7 กลางห้างสรรพสินค้าชื่อดังย่านแจ้งวัฒนะ โดยทางครอบครัวจัดพิธีศพ พลตำรวจเอกสล้าง ณ ศาลากลางน้ำ วัดเทพศิรินทราวาส

ทั้งนี้ทางลูกชายและผู้ใกล้ชิดเผยที่ผ่านมา พล.ต.อ.สล้าง ใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน ในการผลักดันให้เกิดระบบขนส่งรถไฟรางคู่ที่ได้มาตรฐาน เพราะจากนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา ที่จะให้สร้างในขนาด ราง 1 เมตร แต่พลตำรวจเอกสล้างไม่เห็นด้วย และอยากให้สร้างขนาด 1.4 เมตร เนื่องจากปัจจุบันต่างชาติและประเทศเพื่อนบ้านที่พัฒนาแล้วก็สร้างขนาดเท่านี้

พร้อมเปิด จม. อีกฉบับที่พลตำรวจเอกสล้าง เขียนไว้ว่า "กราบถวายบังคมลา เพื่อทรงกรุณาทราบว่าการพัฒนาด้านการเดินทางขนส่งสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่เสียหายมาก..." ขณะที่ญาติระบุเคยป่วยโรคซึมเศร้าแต่หายแล้ว

นอกจากนี้ยังเจาะข้อมูลระบบรางรถไฟทั่วโลก (Track gauge) ที่แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ เกจแคบ ที่เน้นประหยัด สร้างได้รวดเร็ว / เกจมาตรฐาน ที่ทำความเร็วได้สูง เชื่อมต่อได้หลายประเภทแต่ลงทุนสูง / เกจกว้าง ทำความเร็วได้สูงแต่ไม่นิยมใช้เพราะใช้เงินลงทุนสูง


https://www.youtube.com/watch?v=SF40DuAp78M
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2018 11:50 am    Post subject: Re: รถไฟไทยใช้รางขนาด 1 เมตร เชื่อมอาเซียน Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.แจงรถไฟไทยใช้รางขนาด 1 เมตร เชื่อมอาเซียน
สำนักข่าวไทย เศรษฐกิจ 26 ก.พ. 2018 17:16:26


รฟท. แจงจดหมายลาตาย "สล้าง" ค้านทางคู่ 1 เมตร
อาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 18.00 น.

รฟท. แจงจดหมายลาตาย ”สล้าง” ค้านทางคู่ 1 เมตร รถไฟฟ้ายกระดับ ไม่กระทบการก่อสร้าง ทำตามนโยบายรัฐบาลพัฒนาประเทศ


นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยกรณี พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อายุ 81 ปี เสียชีวิตจาการพลัดตกจากที่สูง ภายในห้างสรรพสินค้าชื่อดังย่าน แจ้งวัฒนะ และพบกระดาษเขียนด้วยลายมือ กรณีให้ประชาชนช่วยกันคัดค้านโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาด 1 เมตรว่า ไม่มีผลกระทบต่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่เนื่องจากเป็นการก่อสร้างตามนโยบายรัฐบาล ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 58-65 แผนงานที่ 1 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง หรือการพัฒนาระบบรถไฟทางเดี่ยวเป็นทางคู่ เพื่อเปลี่ยนโหมดคมนาคมขนส่งครั้งใหญ่จากจากบกเป็นทางราง

เนื่องจากระบบรางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบันรวม 4,100 กม. เป็นรางเดี่ยวขนาด 1 เมตร จำเป็นต้องสร้างรางคู่หรือทางคู่ขนาด1 เมตรเพิ่ม เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมาก็มีขนาดราง 1 เมตรเหมือนกัน ส่วนกรณีรถไฟฟ้ายกระดับก็มีความจำเป็น แต่รฟท.ไม่ได้รับผิดชอบ อย่างไรก็ตามขอไปตีความกับผู้บริหาร รฟท. ถึงเจตนารมณ์ของจดหมายว่าต้องการสื่อความประสงค์อย่างไร



นายอานนท์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน รฟท. มีแผนผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ขนาด 1 เมตร  รวม 16  เส้นทาง แบ่งเป็นระยะแรก 7 เส้นทาง ได้แก่ 1.รถไฟทางคู่ ช่วง ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย  ระยะทาง 106 กม และ 2.ช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น  187 กม . อยู่ระหว่างก่อสร้าง  ขณะที่เมื่อปลายปี 60 ที่ผ่านมา ได้ลงนามสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้างอีก 5 เส้นทาง   รวม   702  กม.  ได้แก่ 1. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 136 กม. 2.ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 168 กม. 3.ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. 4.ช่วงลพบุรี- ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. และ5. ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง

นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างทางคู่ระยะ (เฟส) ที่ 2 อีก 9 เส้นทาง รวมระยะทาง2,174 กม. ประกอบด้วย 1.ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 326 กม. งบประมาณ 85,345 ล้านบาท 2.ช่วงบ้านไผ่-นครพนม 355กม. 67,965 ล้านบาท 3.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 167 กม. 24,294 ล้านบาท 4.ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา  324 กม. 57,375 ล้านบาท  5.ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์  45 กม. 8,120 ล้านบาท 6.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย  285 กม. 62,883 ล้านบาท 7.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ 189 กม. 56,837 ล้านบาท 8.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 174 กม. 26,663 ล้านบาท  และ 9.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 309 กม. 37,527 ล้านบาท



ผู้สื่อข่ารายงานว่า ส่วนกรณีการก่อสร้างรถไฟยกระดับนั้น   ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม มีแผนเร่งรัดผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลากสีในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  10 สายทางระยะทาง 464 กม. อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 8สายทาง ประกอบด้วย สายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต สายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ สายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีเหลืง ลาดพร้าว-สำโรง และสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ปี 6

ส่วนอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน และ สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ อยู่ระหว่างดำเนินการ นอกจากนี้ยังสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)   22 กม. ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังศึกษาความเหมาะสมและเตรียมบรรจุในแผนแม่บทรถไฟฟ้าในระยะแรก เพิ่มอีก 1 สาย รวมเป็น 11 สาย  ระยะทาง 486 กม. จะทำให้กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นมหานครระบบราง ในอนาคตจะช่วยแก้ปัญหารถติดเนื่องจากคาดว่าจะมีผู้ใช้รถไฟฟ้าวันละกว่า 5 ล้านคนจากปัจจุบันเส้นทางไม่คลองคลุมเพียง 100 กว่า กม. ผู้ใช้บริการทั้งระบบประมาณล้านกว่าคนจะช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวลง และแก้ไขปัญหารถติดที่กรุงเทพฯ ติดอันดับโลก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2018 11:54 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
"อาคม" ย้ำ "มีการศึกษา" รางรถไฟ1.435 เมตร - ยัน "โครงสร้างพื้นฐาน" ต้องเหมาะสมกับประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ 26 February 2018


คมนาคมยันทุกโครงการผ่านการศึกษา
จันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 17.51 น.

กระทรวงคมนาคม พร้อมรับฟังทุกข้อเสนอ ยันทุกโครงการผ่านการศึกษา รับฟังความคิดเห็น รวมทั้งปรับให้เหมาะกับบริบทของไทยแล้ว ชี้ราง 1 เมตร เป็นข้อตกลงร่วมกันในอาเซียน ชี้หากต้องรื้อเป็น 1.435 เมตรทั้ง 4 พัน กม. ต้องใช้เงินมหาศาล

เมื่อวันที่ 26 ก.พ. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ กระโดดจากชั้น 7 ของห้างสรรพสินค้า พร้อมทิ้งจดหมายค้านรถไฟรางคู่ขนาด 1 เมตร ,รถไฟฟ้ายกระดับ และผลักดันให้สร้างถนนออโต้บาห์น ว่า เรื่องการก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้าระดับนั้น ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการศึกษาความเหมาะสม การรับฟังความคิดเห็น และขออนุมัติเห็นชอบก่อนดำเนินโครงการ โดยเฉพาะเรื่องของรถไฟทางคู่ 1 เมตร ได้มีการหารือกันมาหลาย 10 ปีแล้ว รถไฟในไทย และอาเซียนก็ใช้ขนาด 1 เมตร วัตถุประสงค์ก็เพื่อขนส่งสินค้า และขนคนด้วย ซึ่งสาเหตุที่ต้องทำเป็นทางคู่ เพื่อให้รถไฟวิ่งสวนทางกันได้ จากปัจจุบันเป็นทางเดี่ยววิ่งสวนทางกันไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความรวดเร็วในการเดินทางมากขึ้น

นายอาคม กล่าวต่อว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมรับฟังทุกข้อเสนอ แต่ต้องนำมาศึกษาวิเคราะห์ให้ดีก่อน เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของไทย ส่วนข้อเสนอการทำถนนแบบออโตบาห์น ซึ่งเป็นถนนในประเทศเยอรมนีนั้น จะเป็นถนนทางยาวที่ เป็นระบบปิด ไม่มีทางเข้าออกระหว่างทาง รถยนต์สามารถวิ่งได้ถึง 200 กม./ชม. ในขณะที่ประเทศไทยจะสร้างแบบนั้นคงลำบาก เพราะต้องมีพื้นที่ว่างเป็นจำนวนมาก และคำนึงถึงความปลอดภัย จึงไม่สามารถนำระบบปิดมาใช้ได้ อีกทั้งเมื่อก่อสร้างถนนก็จะเกิดชุมชนระหว่างทางที่ถนนผ่าน จึงต้องมีทางเข้าออกระหว่างทาง อย่างไรก็ตามถนนออโตบาร์นจะเหมาะสมก็ต่อเมื่อมีการสร้างเมืองใหม่ ที่ต้องการให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ตรงนั้น เพราะรถยนต์สามารถวิ่งตรงไปโดยไม่มีทางเข้าออกระหว่างทาง ซึ่งตนมองว่าเป็นเรื่องดีที่จะนำระบบของต่างประเทศมาใช้ แต่ก็ต้องดูให้เหมาะสมกับประเทศไทยด้วย

ด้านนายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กล่าวถึงการใช้รางขนาด 1 เมตรว่า เมื่อปี 2551 ผู้ว่าการ รฟท.ทุกประเทศในอาเซียน ได้มีการประชุม อาเซียนเกรท ร่วมกันที่ เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา และได้ร่วมลงนามร่วมกันถึงการใช้รางรถไฟขนาด 1 เมตร เพื่อให้การเดินทางระหว่างกันโดยรถไฟการขนคน สินค้า เชื่อมต่อกันได้ในอาเซียน ซึ่งสามารถรองรับความเร็วของรถไฟได้ถึง 160-170 กม./ชม. นอกจากนี้ได้มีการระบุว่า หากการให้บริการทางรางรถไฟที่มีความเร็วไม่เกิน 200กม./ชม. ให้ใช้รางขนาด 1 เมตร หากมีการใช้ความเร็วในการเดินทางมากกว่า 200 กม./ชม ให้ใช้รางขนาด 1.435 เมตร ซึ่งรางขนาด 1.435 เมตร ส่วนมากจะรองรับรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น อย่างไรก็ตามการร่วมมือดังกล่าว มองว่าการขนส่งคน และ สินค้า ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วมาก เพราะหากอยากได้ปริมาณมากก็เพิ่มตู้ขบวนได้ตามต้องการ

“ที่ผ่านมา รฟท.ได้ปรับปรุงมาตรฐานทั้งระบบอาณัติสัญญาณ ขนาดราง การรองรับน้ำหนักทาง รถพ่วง หัวรถจักรแล้ว และในปัจจุบันรถไฟไทยมีรางรถไฟทั่วประเทศกว่า 4,000 กม. หากต้องรื้อระบบรางจาก 1เมตร เป็น 1.435 เมตรก็ต้องรื้อใหม่ทั้งระบบ ซึ่งต้องใช้งบประมาณมหาศาลมาก” นายทะนงศักดิ์ กล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/02/2018 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

ลูกชายรับศพ"สล้าง" เผยพ่อเครียด"ราง-รถไฟฟ้า"
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 27 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 01:26:

ผู้จัดการรายวัน360-บุตรชายรับศพ "พล.ต.อ.สล้าง" ที่สถาบันนิติเวชวิทยา กลับไปบำเพ็ญกุศลที่วัดเทพศิรินทร์ ยันพ่อไม่ได้ป่วยซึมเศร้า และไม่ติดใจสาเหตุการเสียชีวิต แต่รับอาจจะเครียดจากการคัดค้านรถไฟรางคู่ขนาด 1 เมตร และรถไฟฟ้าต่างระดับ ด้านเพจโลจิสติกส์ อธิบายอีกมุม หวั่นสังคมตีความจดหมายสั่งเสียผิด



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (26 ก.พ.) ที่สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ นายวันจักร บุนนาค และพ.ต.ท.เหมจักร บุนนาค บุตรชายของ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อายุ 81 ปี อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เดินทางมาเพื่อมารับศพบิดา พร้อมให้ข้อมูลว่าจะนำศพบิดากลับไปบำเพ็ญกุศลที่วัดเทพศิรินทร์ ศาลากลางน้ำ และจะสวดพระอภิธรรม จนถึงวันที่ 5 มี.ค.2561 เว้นวันที่ 1 มี.ค.นี้ ซึ่งเป็นวันมาฆะบูชา และจะเก็บศพไว้ 100 วัน

นายวันจักรกล่าวว่า บิดาของตนเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.ตำรวจมา 2-3 ปีแล้ว แต่ยืนยันว่าไม่ได้มีอาการป่วยถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า คิดว่าเป็นโรคคนแก่มากกว่า ปกติบิดาจะมีคนดูแลอยู่ตลอด แต่วันเกิดเหตุคนที่ดูแลบิดาไปทำธุระ และบิดาออกไปเดินห้างสรรพสินค้าเพียงลำพัง ครอบครัวมาทราบช่วงเวลาประมาณ 12.00 น. วันที่ 25 ก.พ. ว่าบิดาเสียชีวิตแล้ว ส่วนตัวไม่ติดใจสาเหตุการเสียชีวิต รวมถึงกรณีที่ทางพนักงานห้างสรรพสินค้ารีบเคลื่อนย้ายศพบิดาออกจากที่เกิดเหตุด้วย

“เรื่องระบบขนส่งมวลชน เป็นเจตนารมณ์ที่คุณพ่อมีความตั้งใจและทุ่มเทมาตลอดชีวิต โดยมองว่าพื้นฐานที่ดีจะส่งผลให้ประเทศชาติ ลูกหลานได้สบาย แต่ถ้าทำอะไรที่ผิดตั้งแต่ต้นก็จะผิดตลอดไป เรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องที่คุณพ่อต้องการจะสื่อสารออกไป ท่านทุ่มเทเรื่องนี้มาตั้งแต่รับราชการและหลังเกษียณอายุราชการ มากว่า 20 ปี เพราะขณะที่คุณพ่อรับราชการมีโอกาสได้รับผิดชอบงานด้านจราจร และศึกษาดูงานมาตลอด รวมทั้งคัดค้านรถไฟรางคู่ขนาน 1 เมตร และรถไฟฟ้าต่างระดับ เพราะเป็นสิ่งที่ประเทศชาติไม่ควรได้รับ ประเทศควรได้ใช้ของที่ดี มีระบบที่ดี” นายวันจักรกล่าว

ด้าน พ.ต.ท.เหมจักรกล่าวว่า ในเรื่องของผลชันสูตรทางครอบครัวขออนุญาตไม่เปิดเผย ซึ่งไม่ได้ติดใจสาเหตุการเสียชีวิตแต่อย่างใด สำหรับเอกสารที่เป็นคำสั่งเสียของบิดา ขอเวลา 2 วันในการรวบรวมเอกสาร และจะแจกให้สื่อมวลชนที่วัดเทพศิรินทราวาส เพื่อเผยแพร่ ตามประสงค์ที่ระบุไว้ในจดหมาย

ส่วนกรณีที่บิดาเขียนระบุเรื่องการคัดค้านการสร้างรางรางรถไฟขนาด 1.000 เมตร และเกี่ยวกับระบบการขนส่งมวลชนนั้น บิดาได้เดินหน้าคัดค้านมากว่า 40 ปี และเมื่อมีอายุมากขึ้น ก็มักจะมีโรคประจำตัว ความเครียดและซึมเศร้าเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ

วันเดียวกันนี้ เพจเฟซบุ๊ก Logistics & Deveropment Thailand Forum ได้โพสต์อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาในจดหมายสั่งเสียของพล.ต.อ.สล้าง เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด โดยมีเนื้อหาโดยสรุปว่า ราง 1 เมตร ทำให้ไทยเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านได้ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นราง 1.435 เมตร จะทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อและขนส่งผู้โดยสารได้ ส่วนราง 1.435 เมตร รัฐบาลได้มีการพัฒนาอยู่แล้ว เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง (250 กม.ต่อชม.) ไม่จำเป็นต้องไปยุ่งกับราง 1 เมตรเดิม เพราะสามารถพัฒนาราง 1 เมตรได้ และใช้ราง 1.435 เมตร ในการสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ ส่วนการคัดค้านรถไฟฟ้ายกระดับ หากลงดิน มีราคาสูงกว่าลอยฟ้า 3 เท่า และการสร้างใต้ดินในเขตเมือง และยกระดับชานเมือง ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด อย่าเข้าใจผิด เพราะหากล่าช้า จะทำให้การจราจรในกรุงเทพฯ วิกฤต ขณะที่การสร้างถนนออโตบาห์น หรือซูเปอร์ไฮเวย์ เห็นว่าเกินความจำเป็นสำหรับประเทศไทย เพราะรถยนต์บนถนนของไทยส่วนใหญ่เป็นรถกะบะ และ SUV การมีถนนที่วิ่งได้เร็วสูง จึงเกินความจำเป็น ก่อนสรุปว่า จดหมายของท่านทำให้เราได้ทราบว่า ท่านมีอุดมการณ์ในการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย แต่แนวคิดหลายๆ เรื่องของท่าน ก็อาจนำความเข้าใจผิดด้านระบบขนส่งหลายๆ เรื่อง ไปสู่คนไทยเช่นกัน และหวังว่า ในอนาคตถึงแม้แนวทางการพัฒนาอาจจะไม่ตรงกับที่ท่านหวังไว้ แต่ทุกโครงการ จะนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนของคนไทยแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2018 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

มองต่างมุม “รางรถไฟไทย” เมื่อ “สล้าง” ทิ้งปมให้ขบคิด
โดย: ทีมข่าวการเมือง - ป้อมพระสุเมรุ
เผยแพร่: 3 มีนาคม 2561 04:22:
ปรับปรุง: 3 มีนาคม 2561 04:23:



การตัดสินใจปลิดชีวิตตัวเองของ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีต รองอธิบดีกรมตำรวจ อาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง และเป็น“โศกนาฏกรรม” ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สร้างความเศร้าโศกกับลูกหลานและครอบครัว

หากแต่ “เจตจำนงค์” ของผู้ตายที่หวังใช้ “วาระสุดท้าย” สร้างกระแสให้เกิดการถกเถียงในเชิงความคิดเกี่ยวกับ “โครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งของไทย” ในวงกว้าง ก็ถือว่าได้ผลพอสมควร ตลอดจนมีการยืนยันว่า เจ้าตัวให้ความสนใจประเด็นนี้เป็นพิเศษมาตลอด และความคิดความฝันจนลมหายใจสุดท้าย ที่ยังมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน ทำให้เกิดแรงกระเพื่อม ด้วยหวังจะมีผู้สืบสานต่อยอดความคิดให้เป็นจริง

โดยพื้นเพของ พล.ต.อ.สล้าง ได้สืบทอดองค์ความรู้จาก “บรรพบุรุษตระกูลบุนนาค” ที่ได้รับใช้แผ่นดินในงานด้านคมนาคม มาตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ต้องการสร้างความร่วมมือให้เกิดการผลักดันแก้ไข “ข้อผิดพลาด” ในเรื่องระบบการขนส่งของประเทศ เพื่อความมั่นคั่งของชาติ และผลประโยชน์ของคนไทยทุกคน

แม้ชื่อของ พล.ต.อ.สล้าง จะมีภาพความโดดเด่นในฐานะ “ตำรวจใหญ่” ที่เข้าไปมีบทบาทในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์หลายครั้งในอดีต หากแต่ความเป็นจริงนอกเหนือความภาคภูมิ ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ที่ช่วยผลักดันจนประเทศไทยเป็นชาติแรกในภูมิภาคเอเชีย และเป็นประเทศที่ 6 ของโลก ที่ใช้รางรถไฟมาตรฐาน (Standard Gauge) ขนาด 1.435 เมตร และมีระบบการขนส่งแผนพัฒนาเส้นทางตรงตามแบบอย่างของประเทศเยอรมัน หรือที่เรียกันว่าทางหลวงพิเศษ ออโต้บาห์น (Auto Bahn)

นอกจากนั้น พล.ต.อ.สล้าง ยังเคยได้ทุนจาก องค์การบริหารวิเทศกิจสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (USOM) เพื่อไปดูงานการแก้ไขปัญหาจราจรและระบบขนส่งมวลชนในต่างประเทศหลายครั้ง ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2515 เป็นต้นมา

หลายวาระตั้งแต่ที่อยูในราชการ จนเกษียณ พล.ต.อ.สล้าง ได้พยายามนำเสนอโครงการจัดการแก้ไขปัญหาจราจร และการพัฒนาควบคู่กันไป ทั้งเมืองบริวาร ทางรถไฟ และถนน ที่ไทยได้มีแบบแผนเป็นสากลตามมาตรฐานของประเทศเยอรมัน ในฐานะที่ประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งที่เป็น “ศูนย์กลาง” ของภูมิภาค ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

หลักคิดส่วนตัวของ พล.ต.อ.สล้าง ได้เสนอให้มีการสร้างแบบแปลน (Master Plan) ที่มีเป้าประสงค์ชัดเจน เพื่อไม่ให้แปรเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของผู้มีอำนาจ หรือรัฐบาล โดยให้มีองค์กรบริหารองค์กรเดียวในการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน เพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องกัน นำไปสู่การจัดการบริการขนส่งมวลชนสาธารณะที่เป็นสากล เน้นการขนส่งระบบรางที่ถูกแช่แข็งมานานจากความเห็นแก่ตัวของนายทุนที่ทุ่มเทสร้างถนน เพื่อรองรับการค้ารถยนต์ ซึ่งพุ่งสูงในยุคหลังสงครามเย็น

โดยมีหลักใหญ่ใจความอยู่ 2 ประเด็น คือ 1. การเปลี่ยนขนาดรางรถไฟทั่วประเทศจากรางแคบขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) ให้เป็นขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร

ด้วยว่า รางขนาด 1 เมตร เป็นรางแคบล้าสมัย ด้อยเสถียรภาพและความปลอดภัย ปัจจุบันรางขนาดนี้เลิกใช้และเลิกผลิตแล้วในหลายประเทศ การจัดซื้อรถไฟเพื่อใช้กับรางขนาดนี้ก็ยากลำบาก เพราะต้องผลิตตามคำสั่งค่าใช้จ่ายสูงเกินความจำเป็น การยังคงใช้รางแคบนี้จะทำให้ประเทศเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ อีกทั้งยังขัดแย้งกับพันธกรณีที่ไทยได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2551 ในการร่วมมือของรัฐบาลรวม 28 ประเทศ ในเอเชียและยุโรป ที่จะสร้างเครือข่ายทางรถไฟสาย Trans Asian ของสหประชาชาติ ระยะทาง 111,000 กิโลเมตร ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างราง 1.435 เมตร เพื่อรองรับรถไฟสาย คุนหมิง-สิงคโปร์ สายกลางผ่านทางลาว สายใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ One Belt One Railway ที่พูดถึงในปัจุบัน การคงไว้ซึ่งการสร้างรางแคบจะเป็นการสูญเปล่าอย่างน่าเสียดายยิ่ง

ประเด็นที่ 2 คือการระงับโครงการรถไฟฟ้ายกระดับในเขตเมืองทุกสาย ที่ทั้งบดบังทัศนียภาพ และเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของผู้คน สร้างผลกระทบทางอากาศ สร้างมลภาวะทางสายตา ซ้ำยังเสียช่องทางจราจร และเป็นการฝ่าฝืนมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 พ.ค.39 ที่กำหนดให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่ชั้นในรัศมี 25 ตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) และพื้นที่ชั้นนอกรัศมี 87 ตร.กม.

ดังนั้น รถไฟฟ้าในเขตเมือง จึง “ต้องลงใต้ดิน” เท่านั้น

“การดึงดันที่จะสร้างรถไฟฟ้ายกระดับ BTS ครั้งแรกเกิดขึ้นด้วยอภิสิทธ์ทุกประการของกลุ่มอภิสิทธ์ชน คนดี บริษัทธนายงใช้ปรมาจารย์ด้านวิศวกรรม แถลงข่าวว่ากรุงเทพฯ เป็นที่ลุ่ม ไม่เหมาะสมที่จะสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน และจะต้องใช้งบประมาณสูงมาก แพงกว่ารถไฟยกระดับถึง 3 เท่า ทั้งๆ ที่ความจริงสภาพดินของ กทม.ขุดเจาะทำได้ง่าย ค่าก่อสร้างใกล้เคียงกับการสร้างรถไฟยกระดับ และในที่สุดบริษัท ธนายงก็ได้รับสัมปทานไป แม้จะเป็นระยะทางเพียง 24 กิโลเมตร เท่านั้น แต่เป็นไข่แดงอยู่กลางเมือง ได้ประโยชน์จาก 4 เส้นทางหลัก ทั้งเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ช่วงต่อขยายนี้จะกลายเป็น Feeder ที่จะขนผู้โดยสารมาป้อนให้ทั้งเข้าและออก โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม” พล.ต.อ.สล้าง เคยว่าไว้

ผู้ใกล้ชิด พล.ต.อ.สล้าง ยืนยันตรงกันว่า อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจมีความวิตกกังวลกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่ “ผิดทิศผิดทาง” ทำให้ไม่สามารถขจัดปัญหาจราจรได้ และใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่า มี “นัยซ่อนเร้น” ในการจัดทำแผนงานที่ทำไปเพื่อผลประโยชน์ของ “นายทุน” โดยมองว่าการเลือกสร้างศูนย์กลางระบบขนส่งที่ “บางซื่อ” เป็นการผิดหลักสากล ตลอดการสร้างถนนบนไหล่ทางรถไฟ จะเป็นการทำลายกิจการรถไฟอย่างถอนรากถอนโคน ทั้งหมดก็เพื่อความมั่นคั่งให้แก่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นายทุน ที่แบ่งสรรปันส่วนอย่างไร้จิตสำนึกเท่านั้น

เบื้องต้นหลักคิดของ พล.ต.อ.สล้าง ซึ่งกำลังจะมีการตีพิมพ์ออกมาอย่างเป็นทางการในอนาคตอันใกล้นี้ ได้เริ่มมีการ “วิพากษ์” ในวงกว้าง ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดของ พล.ต.อ.สล้าง ขัดหรือแย้งกับชุดความคิดอื่นอย่างไร

ดังที่ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ที่ระบุว่า ได้ศึกษาในประเด็นที่ พล.ต.อ.สล้าง เสนอมาตลอด แต่การดำเนินการต้องเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย หรือ ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม ที่ระบุว่า ทางหลวงพิเศษออโต้บาห์น (Auto Bahn) ไม่เหมาะกับประเทศไทย ดังนั้นถ้าผู้ขับขี่ไม่มีความชำนาญ หรือ รถไม่มีประสิทธิภาพ จะไม่สามารถใช้ถนนดังกล่าวได้

เช่นเดียวกับใน "สังคมออนไลน์" ที่มีการนำเสนอ “ชุดความคิด” เกี่ยวกับเรื่องขนาดความกว้างของรางรถไฟ 1 เมตร หรือ 1.435 เมตร รวมไปถึงขนาดอื่นๆ อย่างหลากหลาย อาทิ “เพจโลจิสติกส์” ที่มองว่าความเข้าใจของ พล.ต.อ.สล้าง ค่อนข้าง “คลาดเคลื่อน” ในหลายประเด็น ทั้งเรื่องรางขนาด 1.435 เมตร ที่เรียกกันว่า Standard Gauge เป็นเพียงชื่อสั้นๆ ของคำว่า European standard gauge เท่านั้น หรืออาจจะพูดได้ว่า รางขนาด 1.435 เมตร เป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมในแถบยุโรปตะวันตก อีกทั้งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย ต่างก็ใช้รางขนาด 1.000 เมตร ทั้งหมด ดังนั้นประเทศไทยเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากทุกประเทศรอบประเทศไทยนั้นใช้ราง 1 เมตรเหมือนกันทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ขนาดรางมาตรฐานสากลนั้น มีความแตกต่างกันมากมาย รางขนาด 1.676 เมตร หรือ Broad gauge ที่ใช้กันในแถบเอเชียใต้ หรือประเทศญี่ปุ่น เจ้าแห่งรถไฟความเร็วสูง ก็ใช้ขนาด 1.067 เมตร หรือ Three foot six inch gauge เช่นเดียวกับไต้หวัน

นอกจากนี้ ยังมีการยืนยันด้วยว่า ขบวนรถไฟและอุปกรณ์แทบทุกอย่าง สำหรับราง 1 เมตรยังมีการผลิตขึ้นในสายการผลิตต่างๆ ทั่วโลก อีกทั้งการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตร ที่รองรับรถไฟความเร็วสูงนั้น ทางรัฐบาลก็ดำเนินการอยู่แล้ว

ส่วนประเด็นการคัดค้านการสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนยกระดับ นั้นก็มีเหตุผลในเรื่องค่าใช้จ่ายในการสร้างรถไฟใต้ดินนั้นที่เฉลี่ยแล้วสูงกว่าสร้างลอยฟ้าถึง 3 เท่า ขณะที่การก่อสร้างถนนออโตบาห์น หรือซูเปอร์ไฮเวย์คุณภาพสูง ก็ดูจะเกินความจำเป็น ด้วยประเทศไทยยังมีปัญหาในเรื่องประสิทธิภาพของรถยนต์ รวมทั้งข้อกฎหมายอยู่มากมาย

สะท้อนว่า ทุกแนวคิดมีเหตุและผลในตัว แต่อย่างน้อยปณิธานของ พล.ต.อ.สล้าง ก็เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ สมดังความปรารถนาดี และความมุ่งมั่นของเจ้าของสมญา "เสือใต้แห่งกรมตำรวจ" ต่อระบบคมนาคมขนส่งของไทย.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©