Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311279
ทั่วไป:13261255
ทั้งหมด:13572534
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง
Goto page 1, 2, 3 ... 18, 19, 20  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/10/2018 8:47 am    Post subject: ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สายชุมพร-ระนอง Reply with quote

รฟท.ดันสร้างรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง 4 หมื่นล้าน
ไทยโพสต์ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 07:30 น.

รฟท.รับลูกรัฐบาลดันรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง 4 หมื่นล้านฝันปลุกเศรษฐกิจ SECพร้อมจี้พัฒนาพื้นที่ตามแนวรถไฟทางคู่ มั่นใจเดินหน้าศึกษาก่อนเปิดประมูล

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยถีงแผนพัฒนารถไฟทางคู่เพิ่มอีก 1 เส้นทางคือ รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-ระนอง เพื่อส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor) หรือ SEC ตลอดจนเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างสองฝั่งมหาสมุทรด้วระบบราง (Land-bridge) ระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ว่าขณะนี้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)อยู่ระหว่างเสนอผลศึกษาโครงการดังกล่าวให้กับรฟท.ไปดำเนินการศึกษารายละเอียดการก่อสร้างและถอดแบบราคาก่อนเปิดประมูลโครงการต่อไป

อย่างไรก็ตามคาดว่าจะใช้เวลาราว 4-6เดือนนับจากนี้ในการดำเนินการตามแผนดังกล่าว ดังนั้นจึงมั่นใจว่ารฟท.จะสามารถสองนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์รองนายกรัฐมนตรีได้แน่นอน

ด้านนางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่าโครงการรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เป็นรถไฟรางเดี่ยว มีระยะทาง 108 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท กำหนดเป้าหมายเปิดให้บริการปี 2568 มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 12.20% โดยคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการในปีแรกอยู่ที่ 5,724 คนต่อปี และจะเพิ่มเป็นจำนวน 11,710 คนต่อปี ภายในระยะเวลา 30 ปีหลังจากเปิดให้บริการ คิดเป็นปริมาณการเติบโตราว 100% หรือคิดเป็น 28% ต่อระยะเวลา 10 ปี ด้านปริมาณการขนส่งสินค้านั้น ในปีแรกที่เปิดบริการจะมีปริมาณสินค้านำเข้า-ส่งออกราว 33,116 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี และจะเพิ่มเป็น 85,502 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี คิดเป็นปริมาณการเติบโตเฉลี่ย 158% หรือคิดเป็น 53% ต่อระยะเวลา 10 ปี แบ่งเป็นสินค้านำเข้าทั่วไป อาทิ เหล็ก สินค้าเกษตร สินค้าบริโภค สินค้ากลุ่มก่อสร้างและสินค้าอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นโครงการดังกล่าวกำหนดไว้ 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยกเข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 5 กม.

รายงานข่าวแจ้งว่าก่อนหน้านี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายต้องการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ไปดำเนินการบรรจุแผนพัฒนารถไฟทางคู่เพิ่มอีก 1 เส้นทางคือ รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-ระนอง เพื่อส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor) หรือ SEC ตลอดจนเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างสองฝั่งมหาสมุทรด้วระบบราง (Land-bridge) ระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ซึ่งฝั่งท่าเรือระนองสามารถเชื่อมต่อการขนส่งสินค้ากับกลุ่มประเทศอ่าวเบงกอล ดังนั้นจึงต้องพัฒนาเส้นทางสายดังกล่าวเกิดขึ้นให้ได้เพราะจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนในพื้นที่

ทั้งนี้ให้โจทย์ว่าโครงการนี้ในปีหน้าต้องมีความชัดเจนให้ได้ทั้งการเปิดประมูลและการก่อสร้าง นอกจากนี้ตนยังมองว่าเส้นทางดังกล่าวยังสามารถเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่างอีอีซีกับมหาสมุทรอินเดียได้อีกด้วย

นอกจากนี้ได้เร่งรัดให้ รฟท.ต้องเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 วงเงิน 4 แสนล้านบาทให้เป็นไปตามกำหนดการที่ตั้งไว้ ควบคู่ไปกับการเดินหน้าเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรโดยการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เนื่องจากรฟท.มีทรัพย์สินจำนวนมากทั่วประเทศจึงต้องทำหน้าที่เป็นนักพัฒนาพื้นที่ ตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ เพราะรฟท.มีประสบการด้านการเดินรถและเชี่ยวชาญการตั้งสถานีเพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ นอกจากนี้รฟท.ต้องให้ความสำคัญกับการเชื่อมเส้นทางรถไฟไปยังเมืองรองเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย


Last edited by Mongwin on 09/10/2023 6:11 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2018 11:17 am    Post subject: Reply with quote

ขอทบทวนความจำกัดกันหน่อยครับ:
Wisarut wrote:
เห็นชอบผลศึกษาเส้นทางรถไฟ ชุมพร–ท่าเรือน้ำลึกระนอง
สำนักข่าวไทย
25 มิถุนายน 2560 เวลา 11:29:19


เอกสาร การประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เส้นทางชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง

//---------------------------------

รถไฟสายใหม่จากชุมพร-ระนอง125กม.
อังคารที่ 27 มิถุนายน 2560 เวลา 19.13 น.


//-----------------
ผู้ว่าชุมพร เปิดประชุมปฐมนิเทศเดินหน้ารถไฟสายใหม่ เชื่อมทะเลอ่าวไทย จ.ชุมพร กับ ทะเลอันดามัน จ.ระนอง (มีคลิป)
13 กรกฎาคม 2560 16:20:12

http://www.janghetchumphon.com/2183

//---------------------
ระนอง!! สนง.นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จัดประชุมปฐมนิเทศ โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม (มีคลิป)
14 กรกฎาคม 2560 17:12:25

//-----------------

4 แนวรถไฟสายใหม่ ชุมพร - ระนอง - 11 ต.ค. เคาะเส้นทางที่เหมาะสม สำหรับโครงการทางรถไฟ ชุมพร - ระนอง ระยะทาง 125 กิโลเมตร

แนวทางที่ 1: แยกจากสถานีชุมพร (กม. 468.53) ทางด้านใต้ประมาณ 3.2 กิโลเมตร (บริเวณหัวประแจ ด้านเหนือ สถานีแสงแดด กม. 472.54) - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 102.50 กิโลเมตร มี 9 สถานีได้แก่
1. สถานีแสงแดด ต. ตากแดด อ. เมือง จ. ชุมพร
2. สถานีขุนกระทิง ต. ขุนกระทิง อ. เมือง จ. ชุมพร
3. สถานีบ้านนา อ. เมือง จ. ชุมพร
4. สถานีวังใหม่ ต. วังใหม่ อ. เมือง จ. ชุมพร
5. สถานีปากจั่น ต. ปากจั่น อ. กระบุรี จ. ระนอง
6. สถานีกระบุรี ต. ตากแดด อ. กระบุรี จ. ระนอง
7. สถานีบางใหญ่ ต. บางใหญ่ อ. กระบุรี จ. ระนอง
8. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
9. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 2: แยกจากสถานีวิสัย (กม. 489.97) ทางด้านใต้ประมาณ 0.4 กิโลเมตร - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 74.154 กิโลเมตร มี 5 สถานีได้แก่
1. สถานีครน ต. ครน อ. สวี จ. ชุมพร
2. สถานีทุ่งระยะ อ. สวี จ. ชุมพร
3. สถานีเขาทะลุ ต. เขาทะลุ อ. สวี จ. ชุมพร
4. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
5. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 3: แยกจากสถานีเขาสวนทุเรียน (กม. 508.51) ทางด้านใต้ประมาณ 1.5 กิโลเมตร - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 74.706 กิโลเมตร มี 6 สถานีได้แก่
1. สถานีเขาสวนทุเรียน ต. นาโพธิ์ อ. สวี จ. ชุมพร
2. สถานีนาสัก ต. นาสัก อ. สวี จ. ชุมพร
3. สถานีเขาค่าย ต. เขาค่าย อ. สวี จ. ชุมพร
4. สถานีละอุ่นใต้ ต. ละอุ่นใต้ อ. ละอุ่น จ. ระนอง
5. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
6. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 4: แยกจากสถานีควนหินมุ้ย (กม. 526.08) - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 108.982 กิโลเมตร มี 6 สถานีได้แก่
1. สถานีควนหินมุ้ย ต. นาขา อ. หลังสวน จ. ชุมพร
2. สถานีหาดยาย ต. หาดยาย อ. หลังสวน จ. ชุมพร
3. สถานีพะโต๊ะ อ. พะโต๊ะ จ. ชุมพร
4. สถานีสนามบินระนอง อ. เมือง จ. ระนอง
5. สถานีระนอง อ. เมือง จ. ระนอง
6. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง

จะเลือกเส้นทาง 1 เส้น เมื่อ 11 ตุลาคม 2560 และจะศึกษาให้เสร็จ กุมภาพันธ์ 2561
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2006182609395794&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2006182739395781&set=p.2006182739395781&type=3&theater

เพจโครงการทางรถไฟชุมพร - ระนองดูที่นี่
http://chumphon-ranongrailway.com/

ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่พอใจกะทางเลือก 1 (สถานีแสงแดด - ท่าเรือระนอง) กะ ทางเลือกที่ 2 (สถานีวิสัย - ท่าเรือระนอง) มากกว่าทางเลือกที่เหลือ
http://chumphon-ranongrailway.com/PDF/Sum_M1.pdf


ดูจากการศึกษาล่าสุดคราาวนี้ทางเลือกที่หนึ่ง เข้าวินแฮะแถมต้องทำทางแยกไปตัวเมืองระนองตามเสียงเรียกร้องของประชาชนด้วย

Mongwin wrote:
สนข. ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 9 พ.ย. 2560

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมนานาบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) ได้จัดการประชุมเพื่อแนะนำโครงการและระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยนายชัยสิทธิ์ พานิชพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วยนายวิจิตต์ นิมิตวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. และมีผู้แทนจากหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทาง ทางเลือก รูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมกับโครงการ รวมทั้งกำหนดรูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของทางรถไฟ รูปแบบสถานีผู้โดยสาร แนวคิดทางสถาปัตยกรรมอาคารของสถานี และการออกแบบแนวคิดจุดตัดทางรถไฟ พร้อมทั้งแนวทางเบื้องต้นในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ให้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุดและมีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงานศึกษาให้มีความสมบูรณ์ต่อไป

นายวิจิตต์ นิมิตวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน จากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ในการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับทะเลฝั่งอันดามันจากจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง สำหรับการคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเล รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึก จังหวัดระนอง เพื่อรองรับการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC ในอนาคตกระทรวงคมนาคม จึงมอบหมายให้ สนข. ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะเวลาดำเนินการศึกษา 10 เดือน (เดือนพฤษภาคม 2560 ถึงกุมภาพันธ์ 2561)

และจากการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์เพื่อประเมินและคัดเลือกแนวเส้นทาง โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พบว่า แนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ แนวเส้นทางที่ 1 มีจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรและอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด โดยแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกและขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง จนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง รวมระยะทาง 102.5 กิโลเมตร โดยตำแหน่งสถานีเบื้องต้น 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยก (Spur Line) เข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร


ดูจากการศึกษาล่าสุดคราาวนี้ทางเลือกที่หนึ่ง เข้าวินแฮะแถมต้องทำทางแยกไปตัวเมืองระนองตามเสียงเรียกร้องของประชาชนด้วย ตามข่าวนี้

ระนองระดมความคิดเห็นเส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 15:35:00 โดย: MGR Online
ระนอง - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง

สนข.ฟังความเห็น “รถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง” เคาะแนวทางที่ 1 มี 9 สถานี 102.5 กม.
โดย: MGR Online
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16:14:00
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16:50:00

Mongwin wrote:
สนข. ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 9 พ.ย. 2560

ฟังเสียงชาวใต้ 2 จังหวัดต่อโครงการรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.39 น.

ชาวบ้านหนุนรถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง
เดลินิวส์ อังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 11.38 น.

ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เตรียมผลักดันโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟชุมพร-ระนอง เป็นวาระเร่งด่วน เข้าสู่วาระการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ในระหว่างวันที่ 17-19 พ.ย. นี้
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 17 พ.ย. 2560
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2018 3:22 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ดันทางคู่‘ชุมพร-ระนอง’ 4.5 หมื่นล้าน/หลัง‘สมคิด’สั่งลุย

วันพุธ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)อยู่ระหว่างเสนอผลศึกษาโครงการแผนพัฒนารถไฟทางคู่เส้นทาง ช่วงชุมพร-ระนอง เพื่อส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor:SEC) และเพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าด้วยระบบราง (Land-bridge) ระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน และให้ทาง การรถไฟฯไปดำเนินการศึกษารายละเอียดการก่อสร้างและถอดแบบราคาก่อนเปิดประมูลโครงการต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน นับจากนี้ในการดำเนินการตามแผนดังกล่าว



ด้าน นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่าโครงการรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เป็นรถไฟรางเดี่ยว มีระยะทาง 108 กิโลเมตร วงเงิน 45,000 ล้านบาท โดยมีกำหนดเปิดให้บริการปี 2568 รวมถึงคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารที่จะใช้บริการในปีแรกอยู่ที่ 5,724 คนต่อปี และจะเพิ่มเป็นจำนวน 11,710 คนต่อปี ภายในระยะเวลา 30 ปี หลังจากเปิดให้บริการ ซึ่งคิดเป็นปริมาณการเติบโตประมาณ 28% ต่อระยะเวลา 10 ปี ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าในปีแรกคาดว่าจะมีปริมาณสินค้านำเข้า-ส่งออกประมาณ 33,116 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี และจะเพิ่มเป็น 85,502 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี เฉลี่ยเติบโต 53% ต่อระยะเวลา 10 ปี

นางวิไลรัตน์กล่าวว่า ในเบื้องต้นโครงการดังกล่าวกำหนดไว้ 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยกเข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง

สำหรับแผนการพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-ระนอง เพื่อส่งเสริม SEC และเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าด้วยระบบรางระหว่างทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการผลักดันพัฒนาเส้นทางสายดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อดึงดูดให้มีการลงทุนในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งโครงการดังกล่าวในปีหน้าต้องมีความชัดเจนให้ได้ทั้งการเปิดประมูลและการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าระหว่าง EEC กับมหาสมุทรอินเดีย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2018 11:46 am    Post subject: Reply with quote

ชง "ท่าเรือระนอง-รถไฟทางคู่" เข้า ครม. เชื่อม 'อีอีซี' สู่ประตูการค้าโลก

พฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน 2561



นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "จากอีอีซีสู่เศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ" ในงานสัมมนา Next Step Thailand : EEC ยุทธศาสตร์ไทยเชื่อมโลก จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่า ภายในเดือน พ.ย. นี้ หรือช้าสุดไม่เกินต้นเดือน ธ.ค. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะนำโครงการก่อสร้างท่าเรือระนอง โครงการรถไฟทางคู่ และโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ SEC ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง และนครศรีธรรมราช เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ หลังจากที่ สศช. ได้จัดทำรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้ว



โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย การก่อสร้างท่าเรือระนองใหม่ เงินลงทุนราว 1 หมื่นล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง ราว 1 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นงบก่อสร้างถนนเชื่อมฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน รวมถึงการจัดทำโครงการอื่น ๆ เช่น การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน การพัฒนาประมงชายฝั่ง การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและปาล์มน้ำมัน การพัฒนาท่าเรือระนอง การสร้างรถไฟรางคู่ชุมพร-ระนอง




ทั้งนี้ หากผ่านความเห็นชอบจาก ครม. ได้ จะเริ่มทำการศึกษาในรายละเอียดของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2562 และจะเริ่มดำเนินกิจกรรมพัฒนาพื้นที่ที่เป็นสีเขียวก่อน เช่น การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนก่อน การพัฒนาประมงชายฝั่ง การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและปาล์มน้ำมัน เนื่องจากเป็นโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชน ใช้งบไม่มาก เพราะเป็นการลงทุนเพื่อปรับปรุงของที่มีอยู่เดิม

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญและได้ลงสำรวจดูพื้นที่แล้ว เนื่องจากจะเป็นโครงการที่มาเชื่อมกับโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่จะใช้รถไฟทางคู่และท่าเรือระนองในการส่งออกสินค้าไปฝั่งอันดามัน เป็นการลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าให้สั้นลง และจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคนี้ได้ สอดรับกับการลงทุนใน 5 โครงการสำคัญในอีอีซี เช่น การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก, โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3, โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3, โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา และโครงการถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน




"โครงการอีอีซีเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และถือเป็นการพัฒนานำร่องก่อนที่จะขยายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ"

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กล่าวว่า หากประเทศไทยไม่มีโครงการอีอีซีในอีก 5 ปี การพัฒนาประเทศจะล้าหลังกว่าประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการลงทุนในอีอีซี จะไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเงินลงทุนเป็นสำคัญ แต่จะเน้นเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากกว่า เพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ๆ และเป็นการสร้างฐานกำลังคนในประเทศได้




อย่างกรณีโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) เป็น 1 ใน 9 แห่ง ที่เป็นเป้าหมายการลงทุนของแอร์บัส ซึ่งจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานขนาดใหญ่ที่มีความทันสมัยล่าสุด เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีเครื่องบินของแอร์บัสทำการบินอยู่ราว 7 พันลำ ซึ่งถือเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศไทยที่จะเป็นศูนย์กลางในการซ่อมบำรุงในภูมิภาคนี้ได้

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำผังเมืองพื้นที่อีอีซี ว่า สำหรับร่างผังเมืองรวมในอีอีซี คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยภายในกลางเดือน ธ.ค. นี้ และหลังจากนั้นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การจัดทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่ ตามการใช้ประโยชน์ในที่ดิน คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ราวกลางปี 2562 ซึ่งถือว่ามีความรวดเร็วกว่าปกติ ที่ขั้นตอนการจัดทำผังเมืองเฉพาะจะต้องใช้เวลาดำเนินการราว 2 ปีครึ่ง

โดยผังเมืองใหม่ของพื้นที่อีอีซี จะทำให้มีพื้นที่ลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมายราว 3 แสนไร่ คิดเป็น 3-4% ของพื้นที่อีอีซีทั้งหมด ซึ่งจะเพียงพอที่จะรองรับการลงทุน โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรม และสามารถรองรับประชากรราว 6-7 ล้านคน ที่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าตัวได้

//------------------------------------------------

จ่อชง ครม.ไฟเขียว "เอสอีซี" พ.ย.นี้ ชูท่องเที่ยวอีอีซีลดเหลื่อมล้ำสังคม
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08:01 น.

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษ “จากอีอีซี สู่เศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศไทย” ในงานสัมมนา Next Step Thailand : EEC ยุทธศาสตร์ไทยเชื่อมโลกว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำรายละเอียดโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) เสร็จแล้ว เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเดือน พ.ย.นี้ หรือไม่เกินต้นเดือน ธ.ค. ครอบ คลุม 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จากนั้นจะทำการศึกษาโครงการ คาดจะแล้วเสร็จกลางปี 62

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในเอสอีซี คือ การพัฒนาท่าเรือระนอง วงเงิน 10,000 ล้านบาท และโครงการรถไฟทางคู่ชุมพร-ระนอง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ที่จะเชื่อมระบบโลจิสติกส์ของฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย หรือจากอ่าวไทยไปอันดามัน โดยมีไทยเป็นจุดศูนย์กลาง ขณะที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญมาก หากนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ขอให้ดำเนินการอะไร นายกรัฐมนตรีจะให้หมด เรียกได้ว่าเป็นลูกรัก

ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซีกล่าวว่า วันที่ 16 พ.ย.นี้จะปิดขายซองเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 โครงการ โครงสร้างพื้นฐานของอีอีซี และในเดือน พ.ย.นี้จะขายซองทีโออาร์ครบทั้ง 5 โครงการ คาดจะได้ผู้ชนะการประมูลเดือน ก.พ.62 และใน 5 ปี หรือในปี 66 โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และ สนามบินอู่ตะเภาจะแล้วเสร็จ ขณะที่นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวเมืองใหม่อีอีซี” ว่า อีอีซีจะทำให้การเดินทาง ทั้งผ่านทางรถไฟความเร็วสูง และเครื่องบินมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา ช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้นมหาศาล ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากการท่องเที่ยว และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่ขอเสนอให้ทำเส้นทางจักรยานจากสนามบินอู่ตะเภา เลียบสวนยางพารา เพราะราคายางไม่ดี ก็ให้ตัดหญ้าปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนและหากผลักดันให้มีกองถ่ายทำภาพยนตร์ มาถ่ายทำในพื้นที่มากขึ้น จะช่วยทำให้เกิดการกระจายรายได้ และกระจายเรื่องราวดีๆเชื่อมโยงอีอีซีออกไปได้.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/03/2020 1:57 pm    Post subject: Reply with quote

เวลคัม!รถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

109กม.3หมื่นล.เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน รฟท.ลุยออกแบบ9สถานีชมวิวทะเลสวย

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)แจ้งความคืบหน้าโครงการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ ช่วงชุมพร-ระนอง ว่า กำลังเร่งรัดดำเนินโครงการตามนโยบายพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้รื้อฟื้นโครงการอีกครั้งหลังจากก่อนหน้านี้ถูกชะลอไป โดยอยู่ระหว่างเสนอขอใช้งบประมาณกลางปี 63 วงเงิน 90 ล้านบาท เพื่อศึกษาออกแบบรายละเอียดต่อยอดจากผลการศึกษาความเหมาะสมของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่จัดทำแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 61 รวมถึงการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ทั้งนี้คาดว่าเดือน มิ.ย.นี้ จะเริ่มศึกษาและใช้เวลาประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งต่อว่า โครงการดังกล่าวมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยเป็นครั้งแรก ระหว่าง จ.ชุมพร และ จ.ระนอง นอกจากจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ประชาชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้วยังเชื่อมการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือระนองซึ่งเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามันเชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่ม BIMSTEC ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย เมียนมา ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และไทย

นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามริมทะเลโดยจะขนานไปกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขต ต.ขุนกระทิง ต.บ้านนา ต.วังใหม่ อ.เมือง จ.ชุมพร และผ่าน ต.จ.ป.ร. ต.ปากจั่นอ.กระบุรี จ.ระนอง

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่า เบื้องต้นวงเงินก่อสร้างประมาณ 3 หมื่นล้านบาท การก่อสร้างเป็นทางรถไฟทางเดี่ยว กว้าง 1 เมตร ระยะทางรวมประมาณ 109 กิโลเมตร (กม.) แบ่งเป็นชุมพร-ท่าเรือระนอง 103 กม. และเส้นทางแยกเข้าสู่เมืองระนอง 6 กม. มีอุโมงค์รถไฟ 7 แห่ง มี 9 สถานี เป็นสถานีโดยสาร 8 สถานี ได้แก่ สถานีระนอง, สถานีขุนกระทิง, สถานีบ้านนา 1, สถานีบ้านนา 2, สถานีปากจั่น, สถานีกระบุรี, สถานีบางใหญ่ และสถานีละอุ่นและสถานีสำหรับขนส่งสินค้า 1 สถานี คือ สถานีท่าเรือระนอง ทั้งนี้ในปีแรกที่เปิดให้บริการคาดว่าปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 5,724 คนต่อวัน และปริมาณขนส่งสินค้า 33,116 ตันต่อวัน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2020 9:57 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เวลคัม!รถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563


ดูออนไลน์ก็ได้ครับ
เวลคัมมม.....รถไฟสายใหม่ "ชุมพร-ระนอง"
*109กม.3หมื่นล.เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน
*รฟท.ลุยออกแบบ9สถานีชมวิวทะเลสวย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2549810695240433
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2020 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลปักธง! ท่าเรือระนองศูนย์กลาง” BIMSTEC”
*การท่าเรือฯเร่งสปีดปรับปรุงโครงสร้างรองรับ
*เชื่อมทุกโหมด”บกน้ำราง” อันดามัน-อ่าวไทย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2657195961168572


กทท.ทุ่มงบ 41.8 ลบ. ปรับโครงสร้าง “ท่าเรือระนอง” เชื่อมกลุ่ม BIMSTEC
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 - 14:16 น.


กทท. เดินหน้ายกระดับการให้บริการท่าเรือระนอง (ทรน.) เร่งปรับปรุงโครงสร้างต่อเนื่อง หวังเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC เตรียมจ้างที่ปรึกษาออกแบบเพิ่มตู้สินค้า คาดแล้วเสร็จปี 2564


เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า กทท. เร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการของท่าเรือระนอง (ทรน.) ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT ทั้ง 2 ท่าเทียบเรือ เป็นการยกระดับการให้บริการตามนโยบายของรัฐบาล ในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำ ถนน และรางระหว่างฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทยจาก ทรน. กับท่าเรือชุมพร และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าของประเทศพัฒนา ให้ ทรน. เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าฝั่งทะเลอันดามันเชื่อมโยงไปยังประเทศในกลุ่ม BIMSTEC ได้แก่ บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย เมียนมา เนปาล ภูฏาน และไทย การพัฒนาศักยภาพ ทรน. ในวงเงินรวม 41.8 ล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือ 1 และ 2 ให้มีความปลอดภัย และให้ท่าเทียบเรือที่ 1 สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้เท่ากับท่าเทียบเรือที่ 2

สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างบริเวณท่าเรือระนองนั้น แบ่งออกเป็นงานปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 1 ความยาวหน้าท่า 130 เมตร พร้อมติดตั้งยางรองรับแรงกระแทกท่าเทียบเรือที่ 1 ขนาด 800H-2500L (Arch Fender) จำนวน 35 ชุด ให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT งานปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 2 ความยาวหน้าท่าเทียบเรือ 150 เมตร และซ่อมแซมยางรองรับการกระแทกท่าเทียบเรือที่ 2 จำนวน 2 ชุด รองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT รองรับการใช้งานเครนขนาด 65.3 ตัน สะพานทางเข้าท่าเทียบเรือที่ 1 และ 2 สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกกึ่งพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ได้

นอกจากนี้ กทท. กำลังดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบ (Detail Design) และศึกษาผลกระทบในการทำพื้นที่วางตู้สินค้าเพิ่ม คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564

ทุ่มยกระดับ “ท่าเรือระนอง” บูมภาคใต้ฮับขนส่งกลุ่มประเทศ BIMSTEC
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 - 11:47 น.

เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า การท่าเรือฯกำลังเร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการของท่าเรือระนองให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT ทั้ง 2 ท่าเทียบเรือ เป็นการยกระดับการให้บริการตามนโยบายของรัฐบาล ในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำ ถนน และรางระหว่างฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทยจากท่าเรือระนองกับท่าเรือชุมพร และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.)

เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าของประเทศพัฒนา ให้ท่าเรือระนองเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าฝั่งทะเลอันดามันเชื่อมโยงไปยังประเทศในกลุ่ม BIMSTEC ได้แก่ บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย เมียนมา เนปาล ภูฏาน และไทย



โดยการพัฒนาศักยภาพท่าเรือระนองในวงเงินรวม 41.8 ล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือ 1 และ 2 ให้มีความปลอดภัย และให้ท่าเทียบเรือที่ 1 สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้เท่ากับท่าเทียบเรือที่ 2


สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าว แบ่งออกเป็นงานปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 1 ความยาวหน้าท่า 130 เมตร พร้อมติดตั้งยางรองรับแรงกระแทกท่าเทียบเรือที่ 1 ขนาด 800H-2500L (Arch Fender) จำนวน 35 ชุด ให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT

งานปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 2 ความยาวหน้าท่าเทียบเรือ 150 เมตร และซ่อมแซมยางรองรับการกระแทกท่าเทียบเรือที่ 2 จำนวน 2 ชุด รองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT รองรับการใช้งานเครนขนาด 65.3 ตัน สะพานทางเข้าท่าเทียบเรือที่ 1 และ 2 สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกกึ่งพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ได้

นอกจากนี้กำลังดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบ (Detail Design) และศึกษาผลกระทบในการทำพื้นที่วางตู้สินค้าเพิ่ม คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 08/09/2020 3:25 pm    Post subject: Reply with quote

เวลคัมมม.....รถไฟสายใหม่ "ชุมพร-ระนอง"
*109กม.3หมื่นล.เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน
*รฟท.ลุยออกแบบ9สถานีชมวิวทะเลสวย

รออีไอเอปีหน้า
รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งอีกว่า เบื้องต้นวงเงินก่อสร้างประมาณ 3 หมื่นล้านบาท การก่อสร้างเป็นทางรถไฟทางเดี่ยว กว้าง 1 เมตร ระยะทางรวมประมาณ 109 กิโลเมตร(กม.) แบ่งเป็น ชุมพร-ท่าเรือระนอง 103 กม. และเส้นทางแยกเข้าสู่เมืองระนอง 6 กม. มีอุโมงค์รถไฟ 7 แห่ง มี 9 สถานี
เป็นสถานีโดยสาร 8 สถานี ได้แก่ สถานีระนอง, สถานีขุนกระทิง, สถานีบ้านนา1, สถานีบ้านนา2, สถานีปากจั่น, สถานีกระบุรี, สถานีบางใหญ่ และสถานีละอุ่น และสถานีสาหรับขนส่งสินค้า 1 สถานี คือ สถานีท่าเรือระนอง ทั้งนี้ในปีแรกที่เปิดให้บริการคาดว่าปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 5,724 คนต่อวัน และปริมาณขนส่งสินค้า 33,116 ตันต่อวัน.
https://www.facebook.com/sasaki.anchalee.1/posts/396557461314340
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2020 10:46 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯฟื้นแลนด์บริดจ์ โปรเจคใหม่ต่อยอด“อีอีซี”
9 กันยายน 2563
Click on the image for full size
นายกฯ สั่งฟื้นโครงการแลนด์บริดจ์ภาคใต้ สั่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษา ระบุเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย หลัง “อีอีซี” เดินหน้าตามแผน ชี้อีก 5 ปีต้องมีโครงการใหญ่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิขของประเทศไทยมาก เพราะเศรษฐกิจของเราพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมาก ดังนั้นเราต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่และพัฒนาให้เกิดการลงทุนใหม่ในประเทศ

รวมทั้งพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างผลักดัน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) แต่ในอนาคตเราก็ต้องหาโครงการขนาดใหญ่ในการที่จะลงทุนตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ทั้งนี้ นโยบายอีอีซีใช้เวลาในการลงทุนและก่อสร้างโครงการต่างๆ ซึ่งก็เริ่ม 5 ปีแล้ว ซึ่งในอีกระยะหนึ่งเมื่อโครงการอีอีซีสำเร็จก็ต้องหาโครงการใหม่ เช่น โครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ (แลนด์บริดจ์) ที่จะเชื่อมระหว่างทะเลภาคตะวันตกและภาคตะวันออก ระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทยในพื้นที่ภาคใต้ โครงการนี้กำลังพิจารณาว่าควรจะมีหรือไม่ ก็ให้ไปศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้

“ทุกอย่างใช้เวลาในการก่อสร้างอีอีซีเริ่มมาห้าปีแล้ว ก็ไปได้ระยะหนึ่ง ก็ต้องหาโครงการใหม่เรากำลังดูว่าจะเชื่อมตะวันตกตะวันออกได้อย่างไร ควรจะมีไหมเรื่องของแลนด์บริดจ์กำลังให้แนวทางไปศึกษากันอยู่ ผมคิดว่าก็จะช่วยเศรษฐกิจในระยะยาวได้ในต่อไป การขนส่งข้ามตะวันตกและตะวันออก อ่าวไทยกับอันดามัน ท่าเรือต่างๆ ต้องพัฒนาทั้งหมด อยู่ในยุทธศาสตร์ชาติต้องเดินต่อไป ขั้นตอนการศึกษา ขั้นตอนการลงทุน เหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาวได้” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว




นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการใน ครม.ว่าให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาในเรื่องโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งให้ดำเนินการลักษณะเดียวกับโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ต่างๆ

ทั้งนี้ ต้องคิดแผนรองรับทั้งหมดเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล ซึ่งต้องดูในส่วนของพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้ก็ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาให้ครบทุกด้านทั้งในเรื่องของการพัฒนาท่าเรือ โลจิสติกส์และระบบรางที่จะเชื่อมโยงทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก หรือโครงการที่เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่อื่นให้ไปศึกษาแล้วนำกลับมารายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบอีกครั้ง

รายงานข่าวระบุว่า โครงการแลนด์บริดจ์ภาคใต้ของไทยเป็นโครงการที่มีการผลักดันมาหลายรัฐบาล โดยความคืบหน้าล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ โดยได้งบประมาณในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งแยกเป็น 3 ส่วน คือ 1.การพัฒนาท่าเรือนำลึก 2 ฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยพัมนาท่าเรือน้ำลึกระนอง และพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพร

2.การพัฒนาทางหลวงและมอเตอร์เวย์เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร 3.การพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร ระยะทาง 120 กิโลเมตร โดยกระทรวงคมนาคมได้รับงบประมาณในการศึกษาแล้ว โดยมีการคาดหวังว่าโครงการนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่อง ทั้งธุรกิจโลจิสติกส์ และธุรกิจต่อเนื่องอีกมากมาย

ก่อนหน้านี้ นายศักดิ์สยาม ระบุว่า การขนส่งทางเรือระหว่างประเทศมีเส้นทางจากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ผ่านตอนใต้ของเวียดนาม จากนั้นเดินทางขนส่งผ่านช่องแคบมะละกาไปเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป โดยหากใช้เส้นทางตอนใต้ของเวียดนามเป็นตัวตั้งจะมีเส้นทางขนส่งทางเรือตัดตรงเข้ามา จ.ชุมพร ของไทย ซึ่งการพัฒนาแลนด์บริดจ์เชื่อม จ.ชุมพร ไปยัง จ.ระนอง เพื่อขนส่งสินค้าออกไปทางทะเลอันดามันจะลดระยะเวลาขนส่งได้ 2 วันครึ่ง

ในขณะที่แนวทางการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพรและท่าเรือน้ำลึกระนองจะพัฒนาเป็นสมาร์ทพอร์ต โดยจะมีการนำระบบออโตเมชันมาใช้ในการบริหารจัดการท่าเรือ ซึ่งจะทำให้ท่าเรือมีศักยภาพในการรองรับการขนส่งสินค้าได้มาก

ยาตัวนี้จะทำให้ฟันคุณขาวขึ้นยิ่งกว่าหิมะ! สุดยอดวิธี!
Denta Clean
หญิงสาวจาก พัทยา กลายเป็นมหาเศรษฐีโดยใช้วิธีนี้
IronTrade
โรคเบาหวานไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป! ดูนี่
Diaprin
หากการเพิ่มน้ำหนักเป็นปัญหาสำหรับคุณ อ่านทางนี้
MultiVit Plus
ส่อง ‘ราคาประเมินที่ดิน’ กรุงเทพฯ สูงสุดตารางวาละล้าน!
'พยากรณ์อากาศ' วันนี้ ‘กรมอุตุนิยมวิทยา’ เตือน ไทยยังเจอฝนฟ้าคะนอง กทม. เจอฝน 60%
เตรียมเปิดสัญญาจ้าง 'พนักงานราชการ' เกือบแสนอัตรา
ส่วนโครงการแลนบริดจ์ที่เคยสำรวจไว้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร คาดว่าจะใช้การลงทุน 1.5 ล้านล้านบาท โดยจะเป็นการเชื่อมทะเลทั้ง 2 ฝั่งเข้า ด้วยกันด้วยเส้นทางรถไฟ ถนนมอเตอร์เวย์ ท่อส่งน้ำมัน และท่อก๊าซ โดยพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อในฝั่งอันดามัน คือ พื้นที่ใกล้กับท่าเรือปากบารา จ.สตูล ส่วนฝั่งอ่าวไทยอยู่ที่บริเวณ ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา

รวมทั้งมีการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมต่อพื้นที่อื่นและมีพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน เหล็ก จะอยู่ในฝั่งอ่าวไทย ส่วนอุตสาหกรรมเบาอาจอยู่ฝั่งอันดามัน ซึ่งการพัฒนาระบบขนส่ง ทั้งทางถนน ทางรถไฟ และทางท่อ ซึ่งจะมีการลงทุนอุตสาหกรรมต่อเนื่องปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2551 ครม.เคยเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงคมนาคมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ความร่วมมือเบื้องต้นกับ กลุ่มดูไบเวิลด์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายแบบให้เปล่าแก่รัฐบาลไทยในการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์เชื่อมโยงระหว่างฝั่งทะเลอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน

รายละเอียดเอ็มโอยูดังกล่าว ดูไบเวิลด์ จะคัดเลือกที่ปรึกษาจากต่างประเทศที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับที่ปรึกษาที่ทางการไทยคัดเลือก โดยคาดว่าจะสามารถสรุปผลการศึกษาภายใน 1 ปีหลังจากลงนามเอ็มโอยู โดยพิจารณาแนวเส้นทางเดิม คือ ท่าเรือปากบารา จ.สตูล มาที่ท่าเรือน้ำลึก จ.สงขลา และ ท่าเรือทับละมุ จ.พังงา-อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช หรือ จ.กระบี่-อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช

'สศช.-คมนาคม' ลุยแลนด์บริดจ์ภาคใต้เล็งเปิด PPP แสนล้าน
10 กันยายน 2563

สศช.-คมนาคม รับลูกนายกฯ ศึกษาเมกะโปรเจค แลนด์บริดจ์-คลองไทย คาดใช้เวลาศึกษา 1 ปี “ศักดิ์สยาม” เล็งเปิดพีพีพี 1 แสนล้านบาท ดึงเอกชนลงทุน 3 โครงการย่อย ท่าเรือ รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์เชื่อมทะเล 2 ฝั่ง ระนอง-ชุมพร

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ (แลนด์บริดจ์) และคลองไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องการผลักดันโครงการขนาดใหญ่เป็นจุดขายดึงการลงทุนต่อยอดจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวะนออก (อีอีซี) ที่ดำเนินการมา 5 ปี แล้ว

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า โครงการนี้อยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ และโครงการการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี) เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยศักยภาพของพื้นที่ภาคใต้ในอนาคต รวมทั้งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย

โครงการแลนด์บริดจ์ที่รัฐบาลจะพัฒนา คือ โครงการเชื่อมการขนส่งจากฝั่งอันดามันมาฟังอ่าวไทย โดยใช้การขนส่งทางรางบริเวณ จ.ชุมพร และ จ.ระนอง เป็นโครงการรถไฟทางคู่เพื่อเชื่อมการขนส่งทั้ง 2 ฝั่งทะเล

นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สศช.กล่าวว่า สศช.จะลงพื้นที่ศึกษาและรับฟังความเห็นประชาชนในภาคใต้เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการใหญ่ 2 โครงการ คือ

1.โครงการแลนด์บริดจ์


2.โครงการคลองไทย ซึ่งเป็นข้อเสนอจากพื้นที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้รับงบประมาณในปี 2564 เพื่อศึกษาและทั้ง 2 โครงการมีขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาศึกษา 1 ปี

นายดนุชา กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์ตามแผนใหม่จะอยู่บริเวณ จ.ชุมพร-จ.ระนอง ซึ่งเน้นการขนส่งและโลจิสติกส์มากกว่าอุตสาหกรรม ซึ่งจะอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่มีในพื้นที่ คือ ท่าเรือ จ.ระนอง และสร้างท่าเรือใหม่ที่ จ.ชุมพร แล้วเชื่อมท่าเรือทั้ง 2 แห่งด้วยรถไฟทางคู่

ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟทางคู่เส้นทางนี้กระทรวงคมนาคมเคยศึกษาแล้ว มีระยะทาง 108 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 45,844 ล้านบาท โดยเริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมพรมุ่งด้านทิศตะวันตกและไปสิ้นสุดโครงการบริเวณท่าเรือนํ้าลึกระนอง และมี 9 สถานี ได้แก่ ขุนกระทิง บ้านนา วังใหม่ ปากจั่น กระบุรี บางใหญ่ ละอุ่น สถานีท่าเรือนํ้าลึกระนอง และสถานีระนอง

ส่วนท่าเรือระนองปัจจุบันจะพัฒนาเป็นท่าเรือเชิงพาณิชย์ได้ แต่ข้อจำกัด คือ พื้นที่หลังท่าไม่กว้างนัก ส่วนร่องน้ำกรณีรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่อาจต้องขุดร่องน้ำใหม่หรือมีรูปแบบอื่นในการรับสินค้าจากเรือเข้ามาที่ท่าเรือ

ขณะเดียวกันก็พยายามดูแผนเรื่องของการพัฒนาท่าเรือเพื่อรองรับการท่องเที่ยวด้วย เช่น ให้มีที่จอดท่องเที่ยวได้ช่วยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวควบคู่กันไปด้วย ซึ่งในระยะต่อไปหากมีการพัฒนาโครงการถนนเรียบชายฝั่งทะเลหรือโครงการไทยแลนด์ริเวร่าก็จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่มากขึ้นได้


ยืนยันฟังความเห็นคนพื้นที่

นายดนุชา กล่าวว่า โครงการแลนด์บริดจ์จะเกิดหรือไม่ต้องพิจารณาต้นทุนการขนส่งเป็นสำคัญ เพราะหากมีท่าเรือรองรับ 2 ฝั่ง จะทำให้การขนส่งสินค้าจากฝั่งตะวันตกไม่ต้องอ้อมช่องแคบมะละกา ซึ่งจะประหยัดเวลา 3 วัน และเรือที่จะผ่านต้องดูว่าต้นทุนแบบไหนประหยัดกว่า ส่วนโครงการที่พัฒนาจะมีอุตสาหกรรมด้วยหรือไม่ต้องรับฟังความเห็นคนในพื้นที่เป็นหลัก โดยโครงการที่ สศช.เสนอในแผนเอสอีซีไม่ได้เน้นอุตสาหกรรมแบบอีอีซีแต่เน้นในเรื่องของโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าเป็นสำคัญ

“โครงการแลนด์บริดจ์มีการศึกษามาหลายครั้ง ครั้งล่าสุดที่มีการศึกษาที่ท่าเรือปากบารา แต่คนในพื้นที่เขาไม่เอาเพราะกลัวว่าจะกระทบกับการท่องเที่ยวก็ต้องฟังเสียงของคนในพื้นที่ แต่แลนด์บริดจ์ในแผนใหม่เป็นแลนด์บริดจ์ที่อยู่ภาคใต้ตอนบน และเน้นในเรื่องโลจิสติกส์ ไม่ได้เน้นในเรื่องของอุตสาหกรรมแบบอีอีซี”นายดนุชา กล่าว

คาดเลือกลงทุน1โปรเจค

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า ทั้ง 2 โครงการเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งในที่สุดรัฐบาลจะต้องเลือกลงทุนโครงการใดโครงการหนึ่ง เพราะใช้งบประมาณมากจึงลงทุนพร้อมกันทั้ง 2 โครงการไม่ได้ รวมทั้ง 2 โครงการดังกล่าวมีจุดขายที่การลดเวลาขนส่งสินค้าจากมหาสมุทรอินเดียในฝั่งทะเลอันดามันมาอ่าวไทย ดังนั้นหากผลการศึกษาออกมาว่าโครงการใดเหมาะสมกว่ารัฐบาลจะเลือกลงทุนโครงการนั้น

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ สั่งการให้ สศช.ศึกษาโครงการคลองไทยตั้งแต่ปลายปี 2562 แต่ถูกตัดงบประมาณส่วนนี้ในปี 2563 วงเงิน 10 ล้านบาท โดย สศช.ได้รับงบประมาณส่วนนี้ในปี 2564 ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในการเร่งศึกษาเพราะปัจจุบันเศรษฐกิจในภาคใต้ได้รับผลกระทบมากในช่วงโควิด-19 ที่ทำให้การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมาก ดังนั้นหากมีโครงการใหม่เกิดขึ้นก็จะเป็นความหวังทางเศรษฐกิจภาคใต้ในอนาคต

แหล่งข่าว กล่าวว่า เส้นทางโครงการคลองไทยที่ สศช.มีแผนลงไปศึกษาความเป็นไปได้ คือ บริเวณแนวเส้นทาง 9A ระยะทาง 135 กิโลเมตรผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ 1.ตรัง ในพื้นที่ อ.สิเกา อ.วิงวิเศษ อ.ห้วยยอด อ.รัษฎา 2.นครศรีธรรมราช พื้นที่ อ.ทุ่งสง อ.หัวไทร และ 3.สงขลา ในพื้นที่ อ.ระโนด
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/09/2020 10:54 pm    Post subject: Reply with quote

ทุ่มงบปลุกผีแลนด์บริดจ์ชุมพร
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563

สั่งคมนาคมเร่งศึกษา/เปิดTORสัปดาห์นี้

ไทยโพสต์ * "คมนาคม" เทงบ 68 ล้าน ฟื้นแลนด์บริดจ์ชุมพรท่าเรือน้ำลึกระนอง เร่งจ้างบริษัทศึกษาความเหมาะสม จ่อประกาศ TOR ภายในสัปดาห์นี้ คาดสรุปผลภายใน 8-12 เดือน ย้ำชัดช่วยลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์-กระตุ้นภาคอุตสาหกรรม ลั่นคำนึงถึงประชา ชนในพื้นที่เป็นหลัก

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมโครงการเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะทาง 120 กิโลเมตร (กม.) ว่า ขณะนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง วงเงิน 68 ล้านบาท เพื่อนำมาศึกษาความเหมาะสมของโครงการดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 8-12 เดือน ตอนนี้อยู่ระหว่างกระบวนการประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง (TOR) เพื่อจ้างบริษัทมาศึกษาโครงการ เตรียมประกาศภายในสัปดาห์นี้ โดยจะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP)

ทั้งนี้ จากการพิจารณาด้านกายภาพของเส้นทาง เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวนั้น เบื้องต้นอาจต้องมีการเจาะอุโมงค์ แต่จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ผล กระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพื่อหามาตรการที่เหมาะสมอีกครั้ง เนื่องจากก่อนหน้านี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เคยมีการศึกษามาแล้วในอดีต แต่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมชุมพร-ระนองเท่านั้น โดยไม่ได้เน้นเรื่องอุตสาหกรรมด้านโลจิสติกส์เข้าไปด้วย

"เมื่อทำการศึกษาใหม่ กระ ทรวงต้องการให้ท่าเรือทั้งสองฝั่ง เป็นแลนด์บริดจ์ เพื่อให้เรือมา ขึ้นที่ชุมพร โดยนำเอาตู้คอนเทน เนอร์ขนส่งทางรถไฟมาที่ระนอง จากนั้นนำขึ้นเรือ ก่อนส่งออกไปยังกลุ่ม 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย เมียนมา เนปาล และภูฏาน" แหล่งข่าวจาก สนข.กล่าว

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.กระทรวงคมนาคม กล่าวในการบรรยายพิเศษในงานเสวนา "ลงทุน 2020 ฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างชาติ สร้างงาน" เมื่อวันที่ 23 ก.ค.2563 ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติงบประมาณให้กระทรวงคมนาคม เพื่อศึกษาจุดก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 ฝั่งทะเลแล้ว พร้อมทั้งอนุมัติงบประมาณเพื่อศึกษาก่อสร้างรถไฟทางคู่เชื่อมระหว่างชุมพร-ระนอง และหากโครงการเกิดขึ้นจะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่อง ทั้งธุรกิจโลจิสติกส์และธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ

จากข้อมูลที่กรมเจ้าท่า เสนอมายังรัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงคมนาคมนั้น เรือที่ขนส่งสินค้าจากจีน เกาหลีใต้ เวียดนาม และญี่ปุ่น จะต้องผ่านแหลมญวน แล้วไปช่องแคบมะละกา ก่อนจะ ไปยังอินเดีย บังกลาเทศ แอฟริกา และยุโรป แต่หากใช้แหลมญวนเป็นตัวตั้งให้เรือตัดตรงเข้ามาจัง หวัดภาคใต้ของไทยบริเวณจังหวัดชุมพร แล้วสร้างโครงการสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) เชื่อมไปยังจังหวัดระนอง แล้วขนส่งสินค้าออกทางทะเลอันดามัน จะลดระยะเวลาในการเดินทางได้ 2 วันครึ่ง

"ถ้าเราสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ชุมพร และที่ระนอง ซึ่งมีระบบขนถ่ายสินค้าที่เป็นระบบออโตเมชั่น แล้วใช้แลนด์บริดจ์ โดยทำรถไฟทางคู่ มีมอเตอร์เวย์อยู่ด้านข้าง และอาจจะทำถนนโลคัลโรดอยู่ข้างๆ มอเตอร์เวย์ เชื่อมท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย ซึ่งมีระยะทาง 120 กม. รถไฟจะใช้เวลาวิ่งไม่เกิน 2 ชั่วโมง เชื่อว่าเราจะไปตัดเวลาขนส่งลงได้ 2 วันครึ่ง" นายศักดิ์สยามกล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3 ... 18, 19, 20  Next
Page 1 of 20

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©