Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180245
ทั้งหมด:13491479
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/11/2018 3:29 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
26ต.ค.61 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) เห็นชอบโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) 3 เส้นทาง ได้แก่
ตลิ่งชัน-ศาลายา,
ตลิ่งชัน-ศิริราช และ
รังสิต- ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ก่อนกระทรวงคมนาคมประมวลเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้อนุมัติโครงการต่อไป
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/1998328880214047

บอร์ดสภาพัฒน์อนุมัติรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง 2.4 หมื่นล้าน
เผยแพร่ 5 พ.ย. 2561,10:42น.
ปรับปรุงล่าสุด 5 พ.ย. 2561,12:39น.

บอร์ดสภาพัฒน์ อนุมัติรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง วงเงินกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท การรถไฟฯเร่งชงครม. ดันเปิดประมูลในเดือนมีนาคมปีหน้า

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ บอร์ด สศช. ได้มีมติเห็นชอบโครงการระบบรถไฟชานเมือง หรือ รถไฟฟ้าสายสีแดง 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.9 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท และสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 6 กม. ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 19.7 กม. วงเงิน 17,671.61 ล้านบาท แล้ว โดยขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนที่กระทรวงคมนาคมประมวลเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติโครงการ ซึ่งตามแผนงาน คาดว่าจะเปิดประมูลได้ราวเดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2562

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย3 เส้นทาง นั้นจะเป็นการลงทุนก่อสร้างงานโยธา งานวางรางและระบบ ส่วนขบวนรถไฟฟ้านั้น จะมีการจัดหารถไฟฟ้าเพิ่มจำนวน 4 ขบวน (ขบวนละ 4 ตู้ รวม 16 ตู้) เพื่อให้บริการในช่วง ตลิ่งชัน - ศิริราช ขณะที่ ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จะใช้รถไฟฟ้าร่วมกับในส่วนของสัญญา 3 สายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ซึ่งมีจำนวน 130 ตู้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2019 8:26 am    Post subject: Reply with quote

อนุมัติต่อขยายรถไฟสายสีแดงมูลค่า 1.67 หมื่นล.
เผยแพร่: 27 ก.พ. 2562 05:32 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ผู้จัดการรายวัน360- ครม.อนุมัติรถไฟสีแดงต่อขยาย 2 สาย เชื่อมตลิ่งชัน-ศาลายา และรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ "อาคม"สั่งเร่งประมูลใน 2 เดือน พร้อมสีแดง Missing Link ระดมตอกเข็มปี 62 เปิดเดินรถปี 65 เล็งชงครม.ในมี.ค. เคาะ PPP ร่วมทุนก่อสร้างและเดินรถสายสีส้มกว่าแสนล้าน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วานนี้ (26 ก.พ.) มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ส่วนต่อขยาย จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. กรอบวงเงิน 6,570.40ล้านบาท และสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. กรอบวงเงิน 10,202.18ล้านบาท โดยรฟท.จะเร่งจัดทำTOR ภายใน 1-2 เดือน คาดว่าจะเปิดประมูล e-bidding หาผู้รับจ้างและเริ่มก่อสร้างในปี 2562แล้วเสร็จในปี 2565

โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงการ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบรายปี หรือกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ให้ตามความเหมาะสม ซึ่งสายสีแดงช่วง รังสิต-มธ.รังสิต มี 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง, สถานีเชียงราก สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร 28,150 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มเป็น 64,080 คน/วัน ภายใน 20 ปี

สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีศาลายา, สถานีศาลาธรรมสพน์, สถานีกาญจนาภิเษก, สถานีบ้านฉิมพลี, และสถานีเพิ่มเติม ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน คือ สถานีพระราม6 สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร 47,570 คน-เที่ยว/วัน

ส่วน สายสีแดงอ่อน ช่วง ตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 7,469.43ล้านบาท จะเสนอครม.พิจารณาในสัปดาห์หน้า เนื่องจากต้องปรับลดกรอบวงเงินตามความเห็นของ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) ในส่วนของการปรับปรุงโรงซ่อมรถจักรสถานีธนบุรี วงเงิน 824.4ล้านบาท โดยเหลือกรอบวงเงินที่ 6,645.03 ล้านบาท ตั้งเป้าเปิดประมูลและก่อสร้างในปี 2562 เปิดเดินรถในปี 2565คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร 55,200 คน-เที่ยว/วัน

สำหรับสายสีแดง (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. ซึ่งครม.อนุมัติตั้งแต่ปี 2559 แต่เนื่องจากมีการปรับรูปแบบและรถความชัดเจนของการก่อสร้างช่วงสถานีจิตรลดา-พญาไท ที่จะต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งปัจจุบันรวมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในรูปแบบของคลองแห้ง (Open Cut) ซึ่งรฟท.จะรายงานครม.ในการปรับกรอบเวลาในการก่อสร้างใหม่ โดยยังคงใช้กรอบวงเงินเดิม ที่ประมาณ 44,000 ล้านบาท ซึ่งตั้งเป้าให้เปิดประมูลและก่อสร้างในปี 2562 แล้วเสร็จในปี 2565

ทั้งนี้จะทำให้โครงการรถไฟสายสีแดง แนวเหนือ-ใต้ ออก-ตก ครบ ยกเว้นส่วนใต้ที่ต่อจากหัวลำโพง-มหาชัยที่อยู่ระหว่างปรับแบบและสำรวจเส้นทางใหม่ในช่วงที่ประชาชนต่อต้าน

ส่วน ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 16.4 กม. ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ที่เห็นชอบแล้ว คาดว่าจะเสนอครม.ได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ มีวงเงินลงทุน 109,342 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการในส่วนตะวันออกได้ในปี 2566 และทั้งเส้นภายในปี 2568
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2019 11:06 am    Post subject: Reply with quote

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงฯ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 14.00 น. ณ ห้องราชดำเนิน กระทรวงคมนาคม โดย ครม. ได้พิจารณาอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) จำนวน 2 โครงการ ดังนี้

1. โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี ได้แก่ สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย – การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และสถานีบ้านฉิมพลี ในกรอบวงเงิน 10,202.18 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจากช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน ไปถึงอำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม ระยะทางรวม 14.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนมิถุนายน 2562 แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2565
2. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในกรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจากช่วงบางซื่อ – รังสิต ไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทางรวม 8.84 กิโลเมตร ประกอบด้วย 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง สถานีเชียงราก สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฯ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนสิงหาคม 2562 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2565
3. กระทรวงคมนาคมได้เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลองครักษ์ ตำบลศีรษะกระบือ ตำบลบางลูกเสือ ตำบลพระอาจารย์ ตำบลบางสมบูรณ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และตำบลดอนเกาะกา ตำบลสิงโตทอง ตำบลหมอนทอง ตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อดำเนินโครงการขยายทางหลวงชนบท นย.3001

สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร
3 สถานี วงเงินลงทุน 6,645.03 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับลดวงเงินลงทุนตามข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยจะเสนอ ครม. พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป และสายสีแดงเข้มจากสถานีหัวลำโพง – มหาชัย อยู่ระหว่างการปรับแบบ สำรวจเส้นทางใหม่ ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา และโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต รฟท. จะดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ภายใน 2 เดือน และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปีนี้
Cr : ข่าวและภาพกิจกรรมกระทรวงคมนาคม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2179310742115859&set=a.1969348579778744&type=3&theater


ขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง1.6หมื่นล้าน บูมทำเล’มธ.รังสิต-ศาลายา’
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:47 น.


ไฟเขียวขยายรถไฟฟ้าสีแดง 1.6 หมื่นล้าน เชื่อมนครปฐม-ปทุมธานี ยึด “ตลิ่งชัน-ศาลายา” และ “รังสิต-มธ.” เพิ่ม 4 สถานี “พระราม 6-บางกรวย-ฉิมพลี-ม.กรุงเทพ” ตอกเข็ม ส.ค. เปิดหวูดปี’65 ตลิ่งชัน-ศิริราช เคาะ 5 มี.ค.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยายสายสีแดง 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 16,772.58 ล้านบาท แยกเป็น สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท มี 4 สถานี สถานีคลองหนึ่ง สถานีเชียงรากน้อย สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่สร้างเพิ่มใหม่ และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผุดสถานีใหม่เพิ่ม

และสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท โดยเงินลงทุนดังกล่าวรวมงานก่อสร้างสถานีอีก 3 สถานี ได้แก่ 1.สถานีพระราม 6 บริเวณเชิงสะพานพระราม 6 2.สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ บริเวณเชิงสะพานพระราม 7 ของเส้นทางช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่สร้างเสร็จไปเมื่อปี 2555 จากเดิมมี 3 สถานี คือ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน และ 3.สถานีบ้านฉิมพลี ของช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ที่สร้างเพิ่ม 1 สถานี เป็น 4 สถานี ได้แก่ สถานีฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา จะทำให้การเดินทางครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้น

ขั้นตอนต่อจากนี้ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะดำเนินการเปิดประมูลก่อสร้าง โดยประกวดราคาแบบ e-Bidding ภายใน 1-2 เดือนจะออกประกาศทีโออาร์ คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาและเริ่มก่อสร้างได้ในเดือน ส.ค. 2562 ใช้เวลาสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการในปี 2565 ในปีแรกจะมีผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 75,720 เที่ยวคนต่อวัน แยกเป็น ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 28,150 เที่ยวคนต่อวัน และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 47,570 เที่ยวคนต่อวัน

“สายสีแดงส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วงนี้จะมาเติมเต็มโครงข่ายของสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งจะเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2564 ทำให้การเดินทางเชื่อมต่อในกลางกรุงเทพฯกับชานเมืองด้านทิศเหนือ ไปยังพื้นที่ จ.ปทุมธานี และตะวันตกไปยัง จ.นครปฐม สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีสถานีกลางบางซื่อเป็นจุดเชื่อมต่อของการเดินทางด้านระบบรางทั้งหมด” นายอาคมกล่าวและว่า


5 มี.ค.เคาะตลิ่งชัน-ศิริราช

สำหรับสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท คาดว่าจะเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติวันที่ 5 มี.ค.นี้ เนื่องจากมีการปรับวงเงินลงทุนใหม่ โดยตัดการก่อสร้างโรงซ่อมหัวรถจักร ทดแทนโรงรถจักรธนบุรีเดิม วงเงิน 824.4 ล้านบาท ออกจากโครงการ ทำให้เงินลงทุนของสายสีแดงช่วงนี้เหลืออยู่ที่ 5,821 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดประมูลก่อสร้างภายในปีนี้และสร้างเสร็จในปี 2565 มีผู้โดยสารอยู่ที่ 55,200 เที่ยวคนต่อวัน

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า สำหรับสายสีแดงตลิ่งชัน-ศิริราช มี 3 สถานี ได้แก่ 1.สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน อยู่บริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนฉิมพลี 2.สถานีจรัญสนิทวงศ์ อยู่บริเวณสวนบางขุนนนท์ และ 3.สถานีธนบุรี-ศิริราช อยู่หลังโรงพยาบาลศิริราช ใกล้กับอาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ห่างจากสถานีจรัญสนิทวงศ์ 1.3 กม.

เมื่อแล้วเสร็จจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช และพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ย่านวังหลังถนนอรุณอมรินทร์ จรัญสนิทวงศ์ บางขุนนนท์ ตลาดน้ำตลิ่งชัน และบรมราชชนนี อนาคตจะเชื่อมสายสีส้มตะวันตก(ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) ที่สถานีบางขุนนนท์ อีกทั้งยังเชื่อมต่อ 3 ศูนย์การศึกษาด้านการแพทย์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ใช้งบประมาณ-เงินกู้สร้าง

ด้าน พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติให้ ร.ฟ.ท.ก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย 2 โครงการ 16,772.58 ล้านบาท โดยระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศ ได้แก่ 1.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี ระยะทาง 14.8 กม. 10,202.18 ล้านบาท

2.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. 6,570.40 ล้านบาท จะมีเวนคืนที่ดินเพิ่ม 14 ไร่ ในท้องที่ ต.บ้านปทุม อ.สามโคกต.บางพูด ต.สวนพริกไทย อ.เมืองปทุมธานี และ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อสร้างทางเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท อย.5042 กับสถานีรถไฟ และย่านสถานีรถไฟ

ทั้ง 2 โครงการจะเป็นรถไฟฟ้าวิ่งบนรางขนาด 1 เมตร เดินรถด้วยระบบไฟฟ้าที่จ่ายเหนือหัว วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารสายสีแดงทั้งระบบเพิ่มขึ้น

คลิก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/03/2019 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมตีปี๊บ 21 โปรเจ็กต์ 1.29 ล้านล้าน โหมประมูลส่งท้ายรัฐบาล คสช.
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 March 2019 - 17:35 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมดำเนินการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) นำมาสู่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมไทยระยะ 20 ปี ล้อไปกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และกระทรวงได้ทำแผนในเชิงปฏิบัติที่เรียกว่าแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (2558-2665) หรือแผน 8 ปี เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตามนโยบายของรัฐบาล โดยในแต่ละปีก็จะมีแผนดำเนินการโครงการต่างๆ หรือ Action Plan ออกมาให้ทราบกัน

โดยแผนงาน 8 ปี จะเน้นด้านการลงทุนในโครงการต่างๆ เป็นหลัก โดยดำเนินการภายใต้ 4 เป้าหมายหลัก ได้แก่ การสร้างโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่ง, การเชื่อมต่อการเดินทางบก-น้ำ-อากาศ-รางแบบไร้รอยต่อ, เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ที่สำคัญทุกคนต้องสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้ ทั้งผู้สูงอายุ เด็กและคนพิการต้องใช้ได้ เป็น Transport for all

@ดัน 21 โครงการ 1.29 ล้านล้าน

ในเดือน มี.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดเดินหน้าโครงการสำคัญจำนวน 21 โครงการ รวมเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.29 ล้านล้านบาท โดยมีทั้งโครงการต่อเนื่องที่ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว และโครงการที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการชุดต่างๆ ครบทุกโหมดทั้งบก ราง น้ำ และอากาศ



@แดงศิริราช-ทางคู่บ้านไผ่ จ่อ ครม. มี.ค.

สำหรับโครงการที่มีความพร้อมจะเสนอ ครม.ในช่วงนี้ มี 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงบ้านไผ่ – มุกดาหาร – นครพนม ระยะทาง 355 กม. เงินลงทุน 67,965.33 ล้านบาท และ 2.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. เงินลงทุน 7,469 ล้านบาท เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายละเอียดทุกอย่างครบถ้วนแล้ว อยู่ระหว่างบรรจุในวาระพิจารณา

@อาคมยอมรับไม่ทันทั้งหมด

ส่วนสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กม.เงินลงทุน 120,459 ล้านบาท ขณะนี้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ด PPP) ได้เห็นชอบโครงการแล้ว รอเสนอให้ ครม.พิจารณาเช่นกัน ทั้งนี้ นายอาคมยอมรับว่า ทั้ง 21 โครงการ ไม่สามารถผลักดันได้ทันเดือo มี.ค.นี้ทั้งหมด

สำหรับทั้ง 21 โครงการ วงเงินลงทุน 1.29 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรถไฟทางคู่ 8 โครงการ ประกอบด้วย ช่วงชุมทางจิระ – อุบลราชธานี เงินลงทุน 37,523.61 ล้านบาท, ช่วงขอนแก่น – หนองคาย เงินลงทุน 26,654 ล้านบาท, ช่วงบ้านไผ่ – นครพนม เงินลงทุน 67,965.33 ล้านบาท, ช่วงปากน้ำโพ – เด่นชัย เงินลงทุน 62,848.74 ล้านบาท, ช่วงเด่นชัย – เชียงใหม่ เงินลงทุน 56,826.78 ล้านบาท, ช่วงชุมพร – สุราษฎร์ธานี เงินลงทุน 24,287.36 ล้านบาท, ช่วงสุราษฎร์ธานี – สงขลา เงินลงทุน 57,368.43 ล้านบาท และช่วงหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ 6,657.37 ล้านบาท

รถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา เงินลงทุน 179,412 ล้านบาท, รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท และรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ – หัวหิน เงินลทุน 77,906 ล้านบาท

รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ 4 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ เงินลงทุน 120,459 ล้านบาท, สายสีแดงเข้มช่วงรังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ เงินลงทุน 6,570.40 ล้านบาท, สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา เงินลงทุน 10,202 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา เงินลงทุน 7,469 ล้านบาท

ทางถนน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการทางพิเศษ พระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอก เงินลงทุน 31,244 ล้านบาท

ทางน้ำ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เงินลงทุน 84,000 ล้านบาท, โครงการปรับปรุงท่าเรือคลองเตย เงินลงทุน 23,000 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงท่าเรือระนอง เงินลทุน 5,000 ล้านบาท

และทางอากาศ 4 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดหาฝูงบินใหม่ 38 ลำของ บมจ.การบินไทย เงินลงทุน 200,000 ล้านบาท ล้านบาท, โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) เงินลงทุน 4,294 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างอาคาร Satellite ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ เงินลงทุน 16,000 ล้านบาท และโครงการขยายสนามบินเชียงใหม่ เงินลงทุน 14,473.31 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2019 12:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคมตีปี๊บ 21 โปรเจ็กต์ 1.29 ล้านล้าน โหมประมูลส่งท้ายรัฐบาล คสช.
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 March 2019 - 17:35 น.

5มี.ค.62 สรุปข้อมูลโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน- ศิริราช
ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นดิน (At Grade) 4.3 กิโลเมตร (เป็นชนิดหินโรยทาง) และยกระดับ (Elevated) 1.4 กิโลเมตร บริเวณสถานีจรัญสนิทวงศ์ เพื่อแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนนจรัญสนิทวงศ์ โดยเป็นทางรถไฟยกระดับเป็นคานคอนกรีตช่วงเดียวรูปกล่องชนิดหล่อจากโรงงาน (Precast Gider) รองรับรถไฟ 2 ทาง ตั้งอยู่บนโครงสร้างเสาเดี่ยวยาวช่วงละ 20 เมตร โดยระบบรางบนโครงสร้างสะพานเป็นชนิดแบบไม่ใช้หินโรยทาง)
...ประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่ สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน (ระดับพื้น) สถานีจรัญสนิทวงศ์ (ยกระดับ) และสถานีธนบุรี-ศิริราช (ระดับพื้น) โดยแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นบริเวณสถานีธนบุรี-ศิริราชวิ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปสิ้นสุดที่สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน ซึ่งเป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ 2 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม โดยจัดวางทางรถไฟใหม่อยู่ทางด้านเหนือของทางรถไฟเดิม รวมถึงการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนนตลอดแนวเส้นทางโครงการ วงเงินโครงการ 6,645.03 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 และปรับลดวงเงินค่าก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงใหม่เพื่อทดแทนโรงซ่อมบำรุงที่สถานีรถไฟธนบุรี วงเงินประมาณ 824.40 ล้านบาท) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น

...ระบบปฏิบัติการเดินรถสอดคล้องกับแผนการเดินรถในโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าที่จ่ายแบบเหนือหัว (OCS) โดยใช้กำลังไฟฟ้าที่แรงดันไฟฟ้า AC 25 KV สำหรับการเดินรถไฟช่วงศาลายา-ตลิ่งชัน-ศิริราช แบบไป-กลับจะใช้รถไฟฟ้าแบบ EMU โดยความเร็วในการเดินรถจากสถานีธนบุรี-ศิริราช จนถึงสถานีตลิ่งชัน วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด120 กม./ชม. และเมื่อออกจากสถานีตลิ่งชัน-ศาลายา มีความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. โดยระบบรางช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ใช้ระบบทางกว้าง 1.00 เมตร ใช้รางชนิด UIC 54
...รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทางคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 พร้อมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคาแล้วเสร็จ โดยจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2189599451086988

ลุ้นเปิดหวูดปี 65 "รถไฟฟ้าสายสีแดง" 3 เส้นทางใหม่ "ศาลายา-ตลิ่งชัน-ศิริราช" และ "รังสิต-ธรรมศาสตร์"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 5 มีนาคม 2562 เวลา 16:01


ในรอบ 2 สัปดาห์ ครม. อนุมัติโครงการรถไฟชานเมือง หรือรถไฟฟ้าสายสีแดงไปแล้ว 3 เส้นทาง ตามแผงานของคมนาคมคาด ปี 2565 เปิดให้บริการ รอการรถไฟฯ เปิดประมูลและเริ่มต้นก่อสร้าง



ในขณะที่โครงการระบบรถไฟชานเมือง หรือรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง ตลิ่งชัน-บางซื่อ และ บางซื่อ-รังสิต จะให้บริการพร้อมกับสถานีกลางบางซื่อในเดือนมกราคม 2564

ปรากฎว่าในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองส่วนต่อขยายเพิ่ม รวม 3 สาย ได้แก่

สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร มีสถานีบ้านฉิมพลี, สถานีกาญจนาภิเษก, สถานีศาลาธรรมสพณ์ เป็นสถานีระดับดิน และสถานีศาลายา เป็นสถานียกระดับ รองรับรถไฟทางไกล

นอกจากนี้ ยังก่อสร้างสถานีเพิ่มตามแนวรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ได้แก่ สถานีพระราม 6 และสถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

กรอบวงเงิน 10,202.18 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนมิถุนายน 2562 แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2565 โดยคาดว่า ในช่วงปีแรกจะมีผู้โดยสารประมาณ 47,570 คนต่อวัน

เส้นทางดังกล่าวจะเชื่อมไปยังพื้นที่ศาลายา ซึ่งเป็นทำเลโครงการที่อยู่อาศัย ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาชั้นนำอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนชั้นนำต่างๆ

สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร มีสถานีคลองหนึ่ง, สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สถานีเชียงราก และสถานีธรรมศาสตร์รังสิต เป็นสถานีระดับดินทั้งหมด

กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนสิงหาคม 2562 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2565

เส้นทางดังกล่าวจะผ่านมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งมีนักศึกษาและบุคลากรกว่า 2 หมื่นคน เชื่อมไปยังพื้นที่คลองหลวง ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่มีบุคลากรกว่า 6 พันคน และนักศึกษาเกือบ 7 พันคน

นอกจากนี้ ยังอยู่ใกล้กับย่านนวนคร มีจำนวนโรงงานกว่า 200 แห่ง ที่อยู่อาศัยกว่า 5 พันครัวเรือน มีผู้คนหมุนเวียนตลอดกว่า 2 แสนคน และยังเป็นทำเลอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต

สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.70 กิโลเมตร มีสถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน เป็นสถานีระดับดิน, สถานีจรัลสนิทวงศ์ เป็นสถานียกระดับ และสถานีธนบุรี-ศิริราช เป็นสถานีระดับดิน

กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี กระทรวงคมนาคมยืนยันในที่ประชุม ครม. ว่า จะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2565

เส้นทางดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีบุคลากรกว่า 1.3 หมื่นคน ผู้ป่วยนอกมาใช้บริการราว 3 ล้านคนต่อปี และมีผู้ป่วยในประมาณ 8.7 หมื่นคน

นอกจากนี้ ยังเชื่อมต่อกับเรือด่วนเจ้าพระยา นนทบุรี-วัดราชสิงขร และปากเกร็ด-สาทร ที่ท่าเรือรถไฟ ใช้เวลาเดินเท้าไปยังตัวสถานีไม่นานนัก และเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่สถานีแยกไฟฉาย

แม้ตามแผนงานของกระทรวงคมนาคม ทั้ง 3 โครงการจะเปิดให้บริการในปี 2565 แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าการรถไฟฯ จะดำเนินการประกวดราคาและเริ่มก่อสร้างได้เมื่อไหร่ ถึงตอนนั้นจะได้ใช้บริการอีกไม่นานเกินรอ


Last edited by Wisarut on 05/03/2019 6:13 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2019 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.เคาะส่วนต่อรถไฟสายสีแดง”ตลิ่งชัน-ศิริราช” 6.6 พันล.เร่งเปิดปี 65
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 5 มีนาคม 2562 เวลา 17:24
ปรับปรุง: 5 มีนาคม 2562 เวลา 17:45

Click on the image for full size


ครม.อนุมัติ รถไฟสายสีแดงต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6.6 พันล. เติมเต็มโครงข่ายรถไฟชานเมืองเชื่อมเดินทางเข้าสถานีกลางบางซื่อ “คมนาคม”เร่งประมูลก่อสร้างเปิดปี 65

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (5 มี.ค.) มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ในกรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) ประกอบด้วย ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดการประกวดราคา จำนวน 10 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง จำนวน 177.73 ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ (ICE) จำนวน 40.24 ล้านบาท, ค่างานโยธาและระบบราง จำนวน 2,706.56 ล้านบาท, งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จำนวน 1,997.33 ล้านบาท และงานจัดหาตู้รถไฟฟ้า จำนวน 1,713.17 ล้านบาท

ใช้ ระยะเวลาก่อสร้างรวม 5 ปี โดยกระทรวงคมนาคมยืนยันว่าจะสามารถเปิดให้บริการในปี 65

โดย รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. ประกอบด้วย 3 สถานี คือ 1. สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน 2.สถานีบางขุนนนท์ และ 3.สถานีธนบุรี-ศิริราช ซึ่งสถานีนี้จะเชื่อมต่อกับอาคารของ รพ.ศิริราช ทำให้ประชาชนผู้เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลจะได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางมากยิ่งขึ้น

โดยเป็นเส้นทาง ส่วนต่อขยายของรถไฟชานเมืองสายสีแดงทางฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานครที่จะเชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีตลิ่งชันไปยังบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเส้นทางรถไฟของช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่สถานีจรัญสนิทวงศ์ และเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ที่สถานีศิริราช ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางเข้าออกพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

สายสีแดงอ่อน จะเป็นรถไฟชานเมือง เป็นรถไฟฟ้าที่มีค่าก่อสร้างถูกกว่ารถไฟฟ้าในเมือง หรือ BTS จุดเด่นคือ รางสามารถใช้ร่วมกับรถไฟธรรมดาได้ มีระยะทาง 4.3 กม. รางขนาด 1 เมตร เป็นระบบทางคู่ ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. แต่วิ่งจริง 120 กม./ชม. คาดเปิดให้บริการได้ในปี 65 ไม่ต้องเวนคืนที่ดิน เพราะอยู่ในเขตของการรถไฟทั้งหมด" นายณัฐพร กล่าว

สำหรับแหล่งเงินค่าก่อสร้างนั้น ให้ รฟท. กู้เงินเพื่อดำเนินโครงการตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 39 (4) เพื่อเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ค่าจ้างที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ (ICE) ค่างานโยธาและระบบราง งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล งานจัดหาตู้รถไฟฟ้าและค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายในกรอบวงเงิน 6,635.03 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ในประเทศที่เหมาะสม วิธีการให้กู้ต่อ และค้ำประกันเงินกู้ หรือให้กู้ตามแผนการดำเนินงาน และแผนการใช้จ่ายเงิน

พร้อมกันนี้ ให้ รฟท. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นงบชำระหนี้รายปีเฉพาะในส่วนค่าโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลรับภาระ ได้แก่ ค่างานโยธาและระบบราง ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ค่าจ้างที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ (ICE) และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 2,924.53 ล้านบาท ส่วนค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล และงานจัดหาตู้รถไฟฟ้า จำนวน 3,710.50 ล้านบาท เห็นควรให้ รฟท.เป็นผู้รับภาระ

ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการรับภาระค่าใช้จ่ายของโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 ก.ค.59 ส่วนค่าจ้างที่ปรึกษาจัดการประกวดราคา จำนวน 10 ล้านบาท ให้ รฟท. ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงการดังกล่าวยังมิได้รับการบรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ดังนั้น จึงเห็นสมควรให้ รฟท.ดำเนินการขอบรรจุแผนการกู้เงินไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามนัย พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549 ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2561 และการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดสัดส่วนต่าง ๆ เพื่อเป็นกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 อย่างเคร่งครัดด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

นายณัฐพร กล่าวด้วยว่า กระทรวงการคลังได้มีข้อสังเกตไปถึง รฟท.ในการจัดซื้อตู้รถไฟฟ้าอีก 4 ขบวน วงเงิน 1,713 ล้านบาทว่า ขอให้ รฟท.ไปพิจารณาว่า ในเมื่อรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายจากเส้นทางรถไฟสายสีแดงอ่อน และมีการเดินรถที่ต่อเนื่องกันอยู่แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องจัดซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 4 ขบวน ซึ่งจะสามารถลดงบประมาณในโครงการลงได้กว่า 1,700 ล้านบาท


ครม. อนุมัติ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน ไปศิริราช - มีเป้าหมายได้ผู้โดยสาร 55200 คนต่อวันและ EIRR ที่ 17.85%
https://www.thebangkokinsight.com/112636/

ครม.ไฟเขียวสร้างรถไฟสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-ศิริราช
วันที่ 05 มีนาคม 2562 เวลา 15:40

ครม.ไฟเขียวโครงการรถไฟชานเมืองตลิ่งชัน-ศิริราช คาดเปิดใช้ปี65
วันที่ 05 มีนาคม 2562 เวลา 14:39 น.


ครม.มีมติอนุมัติดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช คาดเปิดให้บริการปี65

วันนี้ (5มี.ค.62) นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ในกรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) ตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมจะกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี แต่กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าจะสามารถเปิดให้บริการในปี 2565



ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นส่วนต่อขยายของรถไฟชานเมืองสายสีแดงทางฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานครที่จะเชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีตลิ่งชันไปยังบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเส้นทางรถไฟของช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระที่สถานีจรัญสนิทวงศ์ และเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ที่สถานีศิริราช ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางเข้าออกพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น



มาตามนัด! ครม.บิ๊กตู่อนุมัติ6.6พันล้าน สร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง “ตลิ่งชัน-ศิริราช”เชื่อมต่อสายสีน้ำเงินและสีส้ม
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 5 มีนาคม 2562 - 14:30 น.

วันที่ 5 มีนาคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุม​คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช ในกรอบวงเงิน 6,645.93 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายปี และหรือกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศให้ตามความเหมาะสม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการ

​ทั้งนี้โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช เป็นโครงการตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศภายใต้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยในระยะยาว พ.ศ. 2558-2565



โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนต่อขยายของรถไฟชานเมืองสายสีแดงทางฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานครที่จะเชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีตลิ่งชันไปยังบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเส้นทางรถไฟของช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ที่สถานีจรัญสนิทวงศ์ และเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตกที่สถานีศิริราช ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถในการเดินทางเข้าออกพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

​โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช มีระยะทาง 5.70กิโลเมตร ประกอบด้วย ทางระดับพื้น ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร ทางรถไฟยกระดับ ระยะทาง 1.4 กิโลเมตร (บริเวณสถานีจรัญสนิทวงศ์) ก่อสร้างสถานี จำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน (ระดับพื้น) สถานีจรัญสนิทวงศ์ (ยกระดับ)สถานีธนบุรี – ศิริราช (ระดับพื้น)

โดยแนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นบริเวณสถานีธนบุรี – ศิริราช วิ่งไปทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปสิ้นสุดที่สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน ซึ่งในการออกแบบทางรถไฟในโครงการเป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 2 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม (At Grade) และทางยกระดับ (Elevated)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/03/2019 4:49 am    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติรถไฟชานเมืองตลิ่งชัน-ศิริราช
INNNEWS Published on Mar 5, 2019


https://www.youtube.com/watch?v=bSUU0jXROhc
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2019 4:39 pm    Post subject: Reply with quote

ในที่สุดก็อนุมัติแล้วสำหรับโครงการรถไฟฟ้า
ส่วนต่อขยายสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-บางซื่อ),(ตลิ่งชัน - ศิริราช)
และสายสีแดงเข้ม (รังสิต-บางซื่อ)

ชาวรังสิต กฟผ. ศาลายา ทนรออีก 3 ปี
ไปมหาลัยทั้งทีไม่ต้องต่อรถเเล้ว
.
เด็ก มธ. ม.กรุงเทพ ไม่ต้องกลัวเช็คชื่อทันชัวร์ไม่ต้องต่อเเถวคิวรถตู้ยาวๆ จนหน้าเยิ้มจะไปหาสาวมหิดลก็ไม่ต้องทนรถติด
.
อดใจรออีก 3 ปี เริ่มต้นอนุมัติโครงการก่อสร้างส่วนขยายภายในปีนี้ คาดว่าเสร็จสิ้นภายในปี 65
https://www.facebook.com/infographic.thailand/posts/2187380671305226

รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน

เอาล่ะครับ ตอนนี้ มาพูดถึงสายสีแดงอีกส่วน คือช่วง ศิริราช-ตลิ่งชัน ซึ่ง ครม พึ่งอนุมัติไปเมื่อวาน วันที่ 5 มีนาคม 62 นี่เอง

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟชานเมืองสายสีแดง ซึ่ง สายนี้อยู่ในสายตะวันตก เป็นสายแยกจากสายหลัก บางซื่อ-ตลิ่งชัน-ศาลายา

โดยสายนี้พัฒนาจากสายใต้เดิมที่มีสถานีธนบุรีเป็นสถานีต้นทางรถไฟทางไกลสายใต้ มาถึงชุมทางตลิ่งชัน เชื่อมต่อกับรถไฟสายสีแดงเดิมและมีการเปลี่ยนรถที่นี่ เพื่อจะต่อกับสายสีแดงหลัก

การปรับปรุงเส้นทาง
มีการสร้างทางใหม่เป็นทางคู่ใหม่ข้างทางเดิม พร้อมระบบจ่ายไฟฟ้า

ปัญหาจุดตัดถนนเดิม
สายนี้มีจุดตัดที่มีปัญหาอยู่ 2 จุด คือ
1.จุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งโครงการ ทำสถานียกระดับ ข้ามถนน พร้อมสถานีจรัญสนิทวงศ์
2.จุดตัดถนนฉิมพลี ซึ่งตรงนี้อาจจะมีปัญหากับครท้องที่ ซึ่งต้องเพิ่มระยะเดินทาง เพราะต้องไปกลับรถเพื่อข้ามทางรถไฟ

สถานีในระบบมีดังนี้
1. สถานี ศิริราชเป็นสถานีระดับดิน จะอยู่จะตั้งอยู่บริเวณติดกับอาคารศิริราชปิยมหาราชการุณ บริเวณลานจอดรถที่จอดกันเละเทะอยู่ ตอนนี้ ซึ่งตรงนี้หลายๆคนก็คงสงสัยว่าทำไมตรงถึงเป็นดินอยู่ เพราะสงวนไว้ให้รถไฟฟ้าสายนี้แหละครับ และสถานีนี้ก็เป็นจุดเชื่อมต่อสายสีส้ม สถานีศิริราช เช่นกัน

2. สถานี จรัญสนิทวงศ์เป็นสถานียกระดับ ซึ่งจะตั้งอยู่บริเวณจุดตัดทางรถไฟ กับถนนจรัญสนิทวงศ์ และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีบางขุนนนท์ และสถานีสายสีน้ำเงินสถานีบางขุนนนท์ ซึ่งสถานีนี้เป็นสถานีปลายทาง ขอสายสีส้มตะวันตก ซึ่งจะอนุมัติในเร็วๆนี้ครับ

3. สถานี ตลาดน้ำตลิ่งชันเป็นสถานีระดับดิน อยู่บริเวณที่หยุดรถบางระมาดเดิม อยู่ติดกับสำนักงานเขตตลิ่งชัน และตลาดน้ำตลิ่งชันซึ่งบริเวณนี้ จะมีปัญหากับถนนฉิมพลีเดิม ซึ่งจะทำทางกลับรถที่ บริเวณหัวท้ายสถานี

ซึ่งโครงการนี้จะเป็นส่วนต่อขยายเดียวที่มีรถมาเพิ่ม ตามแผนจะเป็น 4 ขบวน - 4 ตู้ ทั้งหมด 16 ตู้

แต่สายนี้มีการยกเลิกอู่ซ่อมบำรุง โดยให้ใช้อู่ซ่อมบำรุงจากส่วนกลาง บางซื่อ ไปก่อนครับ

https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/626617247776758

ครม.ทุ่ม6.6พันล้าน อนุมัติรถไฟสายสีแดงอ่อน‘ตลิ่งชัน-ศิริราช’

วันพุธ ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 ได้มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช แล้วในกรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายปี และหรือกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศให้ตามความเหมาะสม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการ



สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เป็นโครงการตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศภายใต้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยในระยะยาว พ.ศ.2558-2565โดยโครงการดังกล่าวเป็นส่วนต่อขยายของรถไฟชานเมืองสายสีแดงทางฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ที่จะเชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีตลิ่งชัน ไปยังบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเส้นทางรถไฟของช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่สถานีจรัญสนิทวงศ์ และเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตกที่สถานีศิริราช ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถในการเดินทางเข้า-ออกพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช มีระยะทาง 5.70 กิโลเมตร ประกอบด้วย ทางระดับพื้นระยะทาง 4.3 กิโลเมตร ทางรถไฟยกระดับ ระยะทาง 1.4 กิโลเมตร (บริเวณสถานีจรัญสนิทวงศ์)

ขณะที่มีจำนวน 3 สถานี ได้แก่ 1.สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน (ระดับพื้น)2.สถานีจรัญสนิทวงศ์ (ยกระดับ)3.สถานีธนบุรี-ศิริราช (ระดับพื้น) โดยแนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นบริเวณสถานีธนบุรี-ศิริราช วิ่งไปทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปสิ้นสุดที่สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน ซึ่งในการออกแบบทางรถไฟในโครงการเป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 3 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม (At Grade) และทางยกระดับ (Elevated)

ด้าน นายวรวุฒิ มาลา รักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า เดิมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีกำหนดแจ้งให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (กลุ่มซีพี)และพันธมิตร ทราบในวันที่ 5มีนาคมนี้ ว่า คณะกรรมการ ที่ไม่ยอมรับเงื่อนไขของกลุ่มซีพี 12 ข้อ เนื่องจากเป็นข้อเสนอที่ขัดต่อมติครม.และร่างเงื่อนไขการประกวดราคา ทางกลุ่มซีพีจึงขอเลื่อนการเจรจาไปเป็นวันที่ 13 มีนาคมนี้ เพื่อหารือกลุ่มพันธมิตรก่อน จึงจะเข้าเจรจากับคณะกรรมการฯอีกครั้ง

สำหรับการเจรจาระหว่าง คณะกรรมการ กับกลุ่มซีพี เมื่อเริ่มไปแล้ว แต่การเจรจายังไม่ถึงที่สุด ก็จำเป็นที่จะต้องให้ทั้ง 2 ฝ่าย เจรจาให้ได้ข้อยุติ เพราะหากเป็นการยกเลิกการเจรจาฝ่ายเดียวอาจทำให้เกิดปัญหามีการฟ้องร้องตามมาได้

ส่วนจะประสานกลุ่มบีทีเอส (ผู้เสนอราคาต่ำอันดับสอง) มาเจรจาหรือไม่ นายวรวุฒิกล่าวว่า ยังไม่มีการประสานกับกลุ่มอื่นแต่อย่างใด โดยจะรอให้การเจรจากับกลุ่มซีพีได้ข้อยุติชัดเจนก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2019 2:10 pm    Post subject: Reply with quote

“ศิริราช” ทุ่ม 2 พันล้าน ผุดตึกผู้ป่วยนอกสูง 15 ชั้นบนสถานีรถไฟฟ้าสีแดง-สีส้ม สร้าง 3 ปีเสร็จ
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2562 เวลา 14:04 น.


เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2562 เวลา 10.00 น. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราชและอาคารรักษาพยาบาล

นาอาคมเปิดเผยว่า การลงนามครั้งนี้เป็นการลงนามร่วมกัน 3 ฝ่าย ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เพื่อร่วมกันออกแบบก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าและอาคารรักษาผู้ป่วยร่วมกัน

แบ่งเป็นฝั่งของกระทรวงคมนาคม มี 2 โครงการที่จะต้องมาร่วมกันออกแบบ คือ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. เงินลงทุน 6,645 ล้านบาท และสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – บางขุนนนท์ ซึ่งทั้งสองเส้นทางจะมีสถานีร่วมกันอยู่ที่บริเวณโรงพยาบาลศิริราช ประกอบกับทางโรงพยาบาลก็มีแผนจะก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกหลังใหม่ จึงมีความเห็นร่วมกันที่จะออกแบบสถานีและอาคารร่วมกัน



“สัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ร.ฟ.ท.และ รฟม.ออกแบบและลงทุนในส่วนของสถานีที่จะเชื่อมกับโรงพยาบาล ส่วนโรงพยาบาลศิริราชจะลงทุนก่อสร้างตึก 15 ชั้นทั้งหมดเอง”

สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2566 ส่วนสีส้มตะวันตกจะก่อสร้างแล้วปี 2569 นอกจากนี้ในอนาคตจะมีแผนให้เกิดการเชื่อมต่อกับท่าเรือในอนาคต เพื่อการเดินทางไร้รอยต่อ

ด้าน ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลประสบปัญหาต้องรองรับผู้ป่วยนอกวันละ 8,000 – 10,000 คน/วัน ซึ่งโครงการก่อสร้างอาคารดังกล่าวจะตอบโจทย์ปัญหาได้ถึง 3 ข้อ คือ ลดเวลาเดินทาง เพราะปัจจุบันรอบโรงพยาบาลประสบปัญหาจราจรติดขัด จนทำให้ผู้ป่วยมาไม่ทันตามนัดหลายราย ต้องเสียเวลานัดใหม่



แต่หากมีโครงการนี้แล้วคาดว่าจะช่วยให้ปัญหาดังกล่าวบรรเทาขึ้น, เมื่อสามารถมาถึงในเวลาได้ การให้บริการก็จะดีขึ้น และจะทำให้ลดปริมาณผู้ป่วยแออัดภายในโรงพยาบาลได้ โดยตึกนี้จะรองรับผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัดและผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ความแออัดภายในโรงพยาบาลจึงน่าจะลดลงได้ ส่วนปัญหาคลื่นสัญญาณแม่เหล็กจากรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายรบกวนอุปกรณ์ทางการแพทย์นั้น ยืนยันว่าจะไม่มีปัญหาดังกล่าวแน่นอน

ปัจจุบันอาคาร 15 ชั้น ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว งบประมาณก่อสร้างขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท ชั้น 1-2 จะเป็นพื้นที่ส่วนของสถานีในรูปแบบคองคอร์ดเชื่อมสถานีกับอาคาร ส่วนชั้นที่ 3-15 จะเป็นส่วนของโรงพยาบาลทั้งหมด สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 10,000 ราย/วัน



ขั้นตอนต่อไปจะเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนของการประกวดราคาแบบ e-bidding แต่จะต้องรอให้รายงาน EIA ผ่านการพิจารณาก่อน จึงจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาและก่อสร้างตมลำดับ คาดว่าใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี

นอกจากนี้โรงพยาบาลมีแผนทำทางเชื่อม (Sky Walk) จะเป็นเนื้องานที่แยกออกจากแผนนี้ ระยะทางประมาณ 100 เมตร เชื่อมระหว่างโรงพยาบาลฝั่ง ถ.อรุณอัมรืนทร์เข้ามาภายในของพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช

//-----------------------

สถานีรถไฟฟ้า”ศิริราช”โมเดลแก้จราจร ออกแบบร่วมเชื่อมสายสีแดง-สีส้มเข้าโรงพยาบาล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 2 พ.ค. 2562 16:02



“คมนาคม”MOU ร่วม”ศิริราช” ออกแบบสถานีรถไฟสายสีแดงและสีส้ม เชื่อมอาคาร 15 ชั้น เผยสายสีแดงประมูลปีนี้เริ่มก่อสร้างต้นปี 63 ส่วนสีส้มเตรียมเสนอครม.เคาะเปิด PPP ก่อสร้าง5 ปี ด้าน ศิริราช เตรียมยื่นอนุมัติ EIA คาดก่อสร้าง 3 ปี เพิ่มพื้นที่รับผู้ป่วยอีกกว่า 10,000 คน/วัน



วันที่ 2 พ.ค. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราชและอาคารรักษาพยาบาล ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

นายอาคม กล่าวว่า สถานีศิริราช จะเป็นพื้นที่สำคัญ เพราะมีโรงพยาบาลศิริราช และรถไฟฟ้า 2 สายผ่าน คือ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ของรฟท.และ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของรฟม. ขณะที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจำเป็นต้องขยายพื้นที่เพื่อรองรับการให้บริการด้านรักษาพยาบาลเพิ่ม แต่มีข้อจำกัด จึงต้องมีการวางแผนการพัฒนาและออกแบบร่วมกัน เพื่อทำประชาชนและผู้ป่วยมีความสะดวกมากที่สุด

ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานได้บูรณาการการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณสถานีศิริราชของของรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีส้ม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงจะมีการพัฒนาการเดินทางต่อต่อเชื่อมระบบขนส่งสาธารณะอื่น ทั้ง ถนนและทางน้ำอีกด้วย ด้านข้างสถานีรถไฟฟ้า จะมีท่าเรือเพิ่มเติม เชื่อมการเดินเรือในคลองบางกอกน้อย และอนาคตจะมีการส่งต่อผู้ป่วยทางเรืออีกด้วย

“ การออกแบบร่วมกันและค่าใช้จ่ายในแต่ละส่วนสรุปแล้ว โดยรพ.ศิริราชรับผิดชอบก่อสร้างอาคาร 15 ชั้น รฟท.ก่อสร้างสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2562 จะเปิดประมูลในปีนี้ ก่อสร้างเสร็จเปิดให้บริการในปี 2566 ส่วน รฟม.ก่อสร้างสายสีส้ม อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการฯ เปิดให้บริการปี 2569”

สำหรับรถไฟสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.7 กม. มี 3 สถานี วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม 13.4 กม. มูลค่า 96,012 ล้านบาท

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบัน พื้นที่ให้บริการของรพ.ศิริราชน้อยกว่าความต้องการ โดยมีผู้ป่วยนอกมาใช้บริการ 8,000-10,000 คน/วัน ขณะที่ไม่สามารถขยายพื้นที่เดิมได้ ดังนั้นความร่วมมือกับรฟม.และรฟท. ในการก่อสร้างอาคารจะทำให้รองรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เฉพาะผู้ป่วยผ่าตัด จะรับได้อย่างน้อย 10,000 ราย/ปี และอนาคตจะพัฒนาระบบขนส่งทางเรือเชื่อมเข้ามายังโรงพยาบาลด้วย นอกจากนี้ จะทำทางเดินเชื่อม (Sky Walk) จากอาคารใหม่เชื่อมไปยังอาคารศิริราชเดิม และเชื่อมไปถึงถนนอรุณอัมรินทร์ ระยะทางกว่า 100 เมตร ด้วยเพื่อให้ผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกที่สุด

สำหรับการก่อสร้างอาคารรพ.ศิริราช สูง 15 ชั้น โดยชั้น 1 และ 2 จะเป็นโถง สำหรับให้ประชาชนใช้ประโยชน์และเดินเชื่อมไปยังสถานีรถไฟใต้ดินสายสีส้มและสถานีรถไฟของสายสีแดงได้ ส่วน ชั้น 3- ชั้น 15 เป็นส่วนการรักษาพยาบาล และห้องพักผู้ป่วย พื้นที่คลินิก โดยประเมินค่าก่อสร้างอาคารประมาณ 2,000 ล้านบาท ขณะนี้ออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติ EIA โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี

“ปัจจุบันการเดินทางมายังรพ.ศิริราชมีปัญหาจราจร ผู้ป่วยและญาติใช้เวลานาน ความร่วมมือด้านคมนาคมที่มีระบบรถไฟฟ้าและการเข้าสู่อาคารที่สะดวกในเวลาที่ควบคุมได้ ซึ่งอาคารหลังนี้จะเน้นสำหรับผู้ป่วยด้อยโอกาส ระบบการรักษาที่ตรวจหรือการผ่าตัดที่สามารถมาเช้าและกลับเย็น ภายในวันเดียวจะเกิดประโยชน์มากกับผู้ป่วย และเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับการรักษาได้อีกด้วย”

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตําแหน่งผู้ว่าฯรฟท.กล่าวว่า จะมีการบูรณาการใช้ที่ดินรถไฟ ต่อเชื่อมสถานีรถไฟกับอาคารโรงพยาบาล รวมถึงทางอพยพกรณีฉุกเฉิน ลิฟต์บริการผู้พิการและโครงสร้างอื่นที่เกี่ยวเนื่อง พร้อมกับให้การรถไฟฯ สามารถใช้ประโยชน์อาคารรักษาพยาบาลก่อสร้างเป็นสถานีในการให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน บริเวณชั้น 1 และชั้น 2 ของอาคาร และรฟท. จะก่อสร้างงานโครงสร้างทางวิ่งรถไฟ โครงสร้างชานชาลา ระบบรางและระบบรถไฟ โดยจัดแผนการก่อสร้างให้สอดคล้องกับการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม

สำหรับรถไฟสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. มี 3 สถานี วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท รฟท.อยู่ระหว่างจัดทำร่างทีโออาร์ ประกวดราคา โดยยังเหลือการปรับแบบที่สถานีบางขุนนนท์ ซึ่งเป็นจุดที่รถไฟฟ้าสายสีแดง เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ของรฟม. ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า 2 สายได้สะดวกมากที่สุด โดยจะเปิดประมูลได้ภายในปีนี้และเริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 2563

ส่วนรถไฟฟ้า สายสีส้ม ส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 13.4 กม. มูลค่า 96,012 ล้านบาท ซึ่งรฟม.ดำเนินโครงการในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ งานก่อสร้างโยธาและระบบการเดินรถไฟฟ้า โดยคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้เห็นชอบโครงการและอยู่ระหว่างนำเสนอครม. ภายในเดือนพ.ค. 2562 นี้ คาดว่าจะก้อสร้างได้ในต้นปี 2563 ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี เปิดให้บริการในเดือนก.ย. 2568
https://www.youtube.com/watch?v=7OeYv224yFU
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2019 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศิริราช” ทุ่ม 2 พันล้าน ผุดตึกผู้ป่วยนอกสูง 15 ชั้นบนสถานีรถไฟฟ้าสีแดง-สีส้ม สร้าง 3 ปีเสร็จ
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2562 เวลา 14:04 น.



เปิดโมเดล'สถานีศิริราช' นั่งรถไฟฟ้า...ไปหาหมอ
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”... อ่านต่อที่ :
อังคารที่ 7 พฤษภาคม 2562 เวลา 08.00 น.
สัปดาห์นี้พาส่องโมเดล “สถานีศิริราช” พลิกโฉมระบบรางใช้เดินทางไปหาหมอแห่งแรก คนไข้และญาติได้ประโยชน์ไม่พลาดนัด ยกระดับความสุขทางใจในเดินทางไม่เจอรถติด



ในปี 65 นอกจากรถไฟฟ้าหลากสี 10 สาย จะทยอยเปิดบริการเพิ่มโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะทางรวมกว่า 400 กม. แล้ว จะเป็นครั้งแรกที่ประชาชนจะได้นั่งรถไฟฟ้าไปรพ.ศิริราชด้วย เพราะจะมีสถานีรถไฟฟ้ากลางรพ.ศิริราช อำนวยความสะดวกประชาชน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราชและอาคารรักษาพยาบาลระหว่าง นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นการบูรณาการการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณสถานีศิริราชของโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช (ระดับพื้นดิน) ของรฟท. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (ระดับใต้ดิน) ของรฟม. ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประชาชนสะดวกสบายจากการเดินทางในระบบขนส่งสาธารณะ และได้รับการบริการด้านสาธารณสุขที่ดียิ่งขึ้น

“สถานีศิริราช ถือเป็นสถานีแรก และเป็นสถานีประวัติศาสตร์ของไทย จะเป็นสถานีร่วมในการใช้ประโยชน์ในการเดินทาง และการรักษาพยาบาล เพิ่มความสะดวกสบายให้ประชาชนเดินทางเชื่อมตะวันออก และตะวันตกของกรุงเทพฯ รวมทั้งเชื่อมต่อกับรถไฟไปชานเมือง และลดปัญหาการจราจรติดขัด จะเป็นสถานีโมเดล (ต้นแบบ) ของสถานีอื่น ๆ ต่อไป” รมว. คมนาคม กล่าวถึงการลงนามครั้งนี้



ในการออกแบบสถานีได้ร่วมกัน 3 ฝ่าย ส่วนค่าใช้จ่ายก่อสร้าง แบ่งกันรับผิดชอบ สายสีส้ม รฟม. สายสีแดงอ่อน รฟท. และตัวอาคารรพ.ศิริราช คาดว่าสายสีส้มก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการปี 69 ส่วนสีแดงอ่อนปี 66 ขณะที่ตัวอาคารกำลังศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) หากผ่านคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างประมาณปี 63 เวลาก่อสร้าง 3 ปี นั่นหมายความว่า สถานีต้นแบบแห่งนี้น่าจะเสร็จเปิดบริการพร้อมรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนประมาณปี 66 ในปีแรกที่เปิดบริการจะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 55,200 คน-เที่ยวต่อวัน

ถอดโมเดลสถานีศิริราช และอาคารรักษาพยาบาลทิศเหนือ อยู่ติดคลองบางกอกน้อยฝั่งใต้, ทิศใต้ ติดคลองมอญฝั่งเหนือ ข้างวิหารหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม, ทิศตะวันออกติดแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก, ทิศตะวันตกติดถนนอรุณอมรินทร์ฝั่งตะวันตก และคลองบ้านขมิ้นฝั่งตะวันออก ตัวอาคารพยาบาลสูง 15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น มีพื้นที่ 48,191 ตารางเมตร (ตร.ม.) ชั้น B1 และ B2 เป็นที่จอดรถใต้ดิน ชั้น 1-2 เป็นพื้นที่โถงสถานีเชื่อมต่อกับสถานีของรถไฟฟ้า 2 สาย มีร้านค้า ร้านอาหารตั้งอยู่ภายใน ประชาชนจะได้นั่งรถไฟฟ้ามาที่รพ.ศิริราช แต่รถไฟฟ้าไม่ได้วิ่งเข้ามาใต้อาคาร ผู้โดยสารต้องเดินเชื่อมเข้ามาในตัวอาคาร ส่วนชั้น 3-15 เป็นส่วนงานบริการของโรงพยาบาล

ปัจจุบันมีผู้ป่วยนอกมาใช้บริการ รพ.ศิริราช 8,000-10,000 คนต่อวัน หรือประมาณ 3.4 ล้านคนต่อปี แนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาคารแห่งนี้จะรองรับผู้ป่วยนอกได้เพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 10,000 คนต่อวัน มีสกายวอล์กเดินเชื่อมเข้ารพ.ศิริราช ยาวประมาณ 100 เมตร ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยไม่ต้องกังวลว่าต้องเดินตากแดดตากฝนอีกต่อไป



ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ ให้ข้อมูลด้วยว่า อาคารแห่งนี้ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 2,000 ล้านบาท เน้นบริการผู้ป่วยด้อยโอกาส การมีรถไฟฟ้าเข้าถึงโรงพยาบาลจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยเดินทางมาโรงพยาบาลได้ตรงตามเวลาที่แพทย์นัด โดยเฉพาะการนัดหมายรักษาด้วยการผ่าตัด ไม่ต้องเจอปัญหารถติดจนต้องเลื่อนเวลา และช่วยยกระดับความสุขทางใจของผู้ป่วย และญาติผู้ป่วยด้วย ขณะเดียวกันยังช่วยสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่ เป็นการผ่าตัดแบบเช้าไปเย็น-กลับ (One Day Surgery) ตั้งเป้าเปิดให้บริการปลายปี 62 ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ยืนยันว่าการมีรถไฟฟ้าจะไม่มีปัญหาคลื่นแม่เหล็กที่ส่งผลกระทบต่อการรักษา

นอกจากสถานีศิริราชแล้ว กระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนเชื่อมต่อการเดินทางของผู้โดยสารบริเวณสถานีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วกับที่กำลังทยอยก่อสร้าง 10 สาย ทำให้มีสถานีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 300 กว่าสถานี ในจำนวนนี้เป็นจุดเชื่อมต่อหรือสถานีร่วมระหว่างรถไฟฟ้าถึง 53 สถานี จึงออกแบบสถานีให้เชื่อมต่อกันได้ ไม่ต้องเดินลงบันได แล้วลากกระเป๋าไปขึ้นรถไฟฟ้าอีกสาย หากไม่เชื่อมกันจะพิจารณาสร้างสกายวอล์กมีหลังคาคลุม รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางของทุกกลุ่มวัย ทั้งผู้พิการและผู้สูงอายุ

พลิกโฉมการเดินทางของประชาชนสู่ระบบราง เชื่อมโยงการเดินทางแบบไร้รอยต่อด้วยความสะดวกสบายและรวดเร็ว แม้แต่การเดินทางไปหาหมอก็มีรถไฟฟ้าผ่ากลางโรงพยาบาล.
...............................
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 6, 7, 8 ... 12, 13, 14  Next
Page 7 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©