RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179620
ทั้งหมด:13490852
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 30, 31, 32  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2018 11:25 am    Post subject: Reply with quote

ปรับโฉมขนส่งเชื่อมชีบีดี ผุดระบบรางขนาดเล็กในกทม.1.4หมื่นล้าน
ออนไลน์เมื่อ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ใน หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่38ฉบับที่ 3,409 วันที่ 14 - 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561


สภากรุงเทพมหานครบรรลุข้อตกลงพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองด้วยระบบแทรม (Tram) ระยะแรกเชื่อม 5 ศูนย์เศรษฐกิจใจกลางกรุงเทพฯ คาดร่วมลงทุนพีพีพีกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท มีลุ้นเสนอประมูลปีหน้าและเริ่มก่อสร้างปี 63 ก่อนเปิดใช้บริการปี 65

พล.ต.ต.ประสพโชค พร้อมมูล สมาชิกสภากรุงเทพ มหานคร (สภากทม.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า อยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลนำเสนอโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ(ย่านซีบีดี)ของกทม.เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาจราจร โดยได้ร่วมหารือกับนายฐาปนา บุณยประวิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) ถึงแนวทาง รูปแบบวิธีการและรูปแบบการร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้เพราะสภากทม.เห็นว่าอยากเข้าไปมีส่วนร่วมในการเร่งขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาสภาพจราจรที่ต้องมีความรวดเร็วและเห็นผลชัดเจน เนื่องจากก่อปัญหารุนแรงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาบูรณาการร่วมกันโดยสภากทม.จะเป็นตัวกลางช่วยขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว เบื้องต้นนั้นจะนำร่องใน 2 เส้นทางก่อนที่จะขยายไปสู่เส้นทางอื่นๆในระยะต่อไป




“ระบบแทรม (Tram) วิ่งบนรางสมควรจะนำมาใช้บริการในถนนเส้นทางต่างๆ ของกทม. เนื่องจากระบบสมาร์ทบัสเต็มพิกัดแล้ว อยากให้ทุกฝ่ายมาร่วมช่วยแก้ไขปัญหาจราจรให้ภาพรวมดีขึ้น โดยจะต้องหารือถึงแนวทางแก้ปัญหาสัญญาณไฟ จุดคอขวดต่างๆ จุดตัดต่างๆจัดเชื่อมรถ เรือ ราง ให้สอดคล้องกัน ซึ่งเส้นทางนำร่องเห็นว่าเป็นจุดที่น่าจะทำได้ดีแล้วจึงค่อยขยายไปสู่จุดอื่นๆ โดยเฉพาะย่านธุรกิจขนาดใหญ่ จุดท่องเที่ยว และจุดเชื่อมต่อสำคัญ ๆ โดยจะดึงสำนักการโยธาและอีกหลายฝ่ายเข้ามาร่วมกันผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป”

ด้านนายฐาปนา บุณยประวิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) กล่าวว่าได้ประชุมหารือกับคณะสมาชิกสภากรุงเทพมหานครนำโดย พล.ต.ต. ประสพโชค พร้อมมูล ได้ข้อสรุปร่วมกันในการวางแผนและออกแบบระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder System) เชื่อมต่อศูนย์เศรษฐกิจสำคัญจำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่
1.ศูนย์ประตูนํ้าราชปรารถ
2. ศูนย์ราชประสงค์
3. ศูนย์สีลม
4. ศูนย์สีลมสารสิน และ
5. ศูนย์สยามเซ็นเตอร์

โดยการวางโครงข่ายรถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็ก (Tram) ซึ่งวางรางบนผิวถนนแบ่งเป็น 2 เส้นทาง ได้แก่

1. เส้นทางแรก สายสีชมพู เชื่อมต่อศูนย์สีลมผ่านถนนพระราม 4 ผ่านจามจุรีสแคว์ สยามสแควร์วัน สะพานหัวช้าง ถนนเพชรบุรี ผ่านศูนย์การค้าแพลททินั่ม เลี้ยวขวาเข้าถนนราชดำริ ผ่านย่านราชประสงค์และมุ่งตรงสู่ย่านสีลม

2. เส้นทางที่ 2 สายสีเหลือง เชื่อมต่อศูนย์ราชประสงค์กับย่านสีลม ย่านลุมพินี ถนนสารสิน ถนนหลังสวน ผ่านย่านชิดลม ตรงเข้าซอยเพชรบุรี 31 เลี้ยวซ้ายเข้าย่านราชปรารถประตูนํ้า เข้ามายังย่านราชประสงค์โดยกำหนดให้ย่านราชประสงค์และถนนราชดำริเป็นพื้นที่การเชื่อมต่อ multimodal streets ซึ่งมีสายสีชมพูและสีเหลืองซ้อนทับกัน

“เบื้องต้นจะเสนอให้กรุงเทพมหานครลงทุนโครงข่ายรางและป้ายจอดรถแบบยกระดับทางลาดตามการออกแบบถนนสมบูรณ์ (Complete Streets) ส่วนผู้ประกอบการเดินรถจะลงทุนตัวรถ ระบบควบคุม และระบบบัตรโดยสาร คาดว่าจะใช้งบประมาณลงทุนในระยะแรกรวม 2 เส้นทางประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นงานก่อสร้างรางและป้าย 4 พันล้านบาทที่เหลือเป็นการลงทุนตัวรถ ระบบควบคุม บัตรโดยสารและศูนย์ซ่อมบำรุง โดยกำหนดความถี่การออกรถต่อคันที่ 5 นาที”




นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครออกข้อกำหนด road pricing เพื่อจำกัดปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคล และข้อกำหนดลดพื้นที่จอดรถในอาคารตามแผน parking require ment เพื่อสนับสนุนการเพิ่มจำนวนคนเดินเท้าระหว่างอาคารจอดรถแล้วจรกับศูนย์การค้า พร้อมข้อกำหนดรูปแบบควบคุมสภาพด้านหน้าอาคาร (facade) และกิจกรรมชั้น 1 และ 2 ของพื้นที่ 2ข้างทางของ tram (shopfront control) ให้สนับสนุนการพัฒนาย่านการค้าปลีก (retail neighborhood) และย่านเศรษฐกิจ 2 ข้างทางย่อย (sub economic corridor)

“กำหนดการของโครงการคาดว่าจะสามารถขออนุมัติโครงการได้ภายในเดือนมีนาคม 2563 ใช้เวลาออกแบบรายละเอียดพร้อมการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) อีก 12 เดือนหรือในต้นปี 2564 โดยการก่อสร้างโครงข่ายรางจะเสร็จสิ้นในช่วงปลายปี 2564 ดังนั้นต้นปี 2565 จะสามารถเปิดให้บริการได้”

นายฐาปนากล่าวอีกว่า ทั้งนี้ จากการประมาณการจะมีผู้ใช้บริการทั้ง 2 เส้นทางในปีแรกจำนวน 3 หมื่นคน และมีอัตราเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 15% ต่อปี โดยโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนรองระยะแรกจะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ศูนย์เศรษฐกิจทั้ง 5 รวมทั้งพื้นที่ 2 ข้างทางไม่น้อยกว่าปีละ 2,000 ล้านบาท โดยสามารถเพิ่มปริมาณผู้เดินทางเชื่อมต่อระหว่างศูนย์กับโครงข่ายขนส่งมวลชนหลักได้แก่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของ รฟม.(MRT) รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ (ARL) ได้ไม่น้อยกว่า 20% ต่อปี

ส่วนข้อกังวลประเด็นปัญหาติดขัดการจราจรในเวลาเร่งด่วน เนื่องจากการใช้ทางร่วมกันของ Tram กับรถขนส่งสาธารณะอื่นๆ และรถยนต์ส่วนบุคคลนั้น นายฐาปนากล่าวว่า อาจแบ่งช่วงเวลาบริหารจัดการพื้นที่ออกเป็น 3 ช่วง โดยช่วง 6 เดือนแรกของการเปิดบริการ จะเป็นช่วงวิกฤติการจราจร เนื่องจากเป็นช่วงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางการทดสอบระบบสัญลักษณ์จราจรและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านการตลาด

“เงื่อนไขเดียวกับที่ กทม.ให้บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) จ้าง BTS ส่วนศูนย์ซ่อมอาจขอใช้ที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่มักกะสัน ช่วงนี้กรุงเทพมหานครกับผู้ประกอบการจะต้องทำความเข้าใจกับรถขนส่งสาธารณะและรถยนต์ส่วนบุคคลที่ใช้ทางร่วมกัน เพื่อจำแนกทางวิ่งในช่วงเวลาเร่งรัด และการบริหารจัดการ road pricing ซึ่งระยะการมาถึงต่อคัน (headway) ของรถอาจจะไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด แต่จะไม่เกิน 7 นาทีต่อคัน”

ส่วนในช่วงที่ 2 หรือช่วง 6 เดือนต่อมา ประชาชนผู้สัญจรผ่านพื้นที่ประมาณ 30% จะหันมาใช้ tram ส่วนผู้สัญจรที่เหลือจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถนนร่วมกับ tram ได้มากขึ้น ผู้ประกอบการ 2 ข้างทางจะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารเป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2018 10:08 am    Post subject: Reply with quote

สภากทม.เคาะ2เส้นทางลงทุนระบบฟีดเดอร์1.5หมื่นล้าน
อังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2561



คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการเเนวทางด้วยระบบล้อ ราง เรือ และการเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมและการท่องเที่ยว สภากรุงเทพมหานคร หารือ RTC พัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง 2 เส้นทาง ลงทุน 1.5 หมื่นล้าน เร่งสรุปข้อมูลเสร็จภายใน 3 เดือนก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีเร่งสั่งการ ด้านเคที.จ่อบริหารจัดการโครงข่ายทั่วกทม.

พล.ต.ต.ประสพโชค พร้อมมูล ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางระบบล้อ ราง เรือ และการเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมและการท่องเที่ยว สภากรุงเทพมหานคร เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าการประชุมครั้งที่ 4 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนสำหรับการเร่งขับเคลื่อนระบบขนส่งมวลชนรองของกรุงเทพมหานครที่จะเป็นระบบฟีดเดอร์ป้อนสู่ระบบขนส่งมวลชนหลัก ซึ่งวันอังคารครั้งต่อไปจะนำเข้าสู่การประชุมของคณะกรรมการอีกครั้งก่อนที่จะรวบรวมให้แล้วเสร็จพร้อมเสนอพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเร่งสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ




ทั้งนี้ได้มีการนำเสนอให้ดำเนินการ 2 เส้นทางนำร่อง ในพื้นที่โซนราชประสงค์ ถนนวิทยุ ส่วนเส้นทางที่ 2 จะครอบคลุมพื้นที่มักกะสันและถนนเพชรบุรี พระราม 9 รูปแบบรถแทรม(TRAM) วิ่งบนรางฝั่งซ้ายของถนนซึ่งรถประเภทอื่นสามารถร่วมใช้เส้นทางได้เป็นบางช่วง ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นจะมีการนำเสนอในคราวประชุมครั้งต่อไป

“ยังจะขับเคลื่อนในภาพรวมด้วย 6 มาตรการ นั่นก็คือ 1.การควบคุมและสั่งการสัญญาณไฟจราจรด้วยศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร กองบังคับการตำรวจจราจร(บก.จร.) เป็นแห่งเดียวจากปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 505 จุดจากการเฝ้าสังเกตุการณ์ของ 88 สถานีตำรวจ 2.การแก้ไขปัญหาคอขวด จุดตัด สะพาน และอุโมงค์ต่างๆ 3.การเชื่อมระบบ ล้อ ราง เรือ ให้เป็นระบบฟีดเดอร์ 4.การจัดสร้างที่จอดรถ(พาร์คแอนด์ไรท์) ให้เพียงพอ 5.การสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ประชาชน รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน และ 6.การสร้างวินัยจราจรและบังคับการใช้กฎหมาย คาดว่าจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นภายใน 3 เดือนนี้ ก่อนจะเร่งเสนอนายกรัฐมนตรีเห็นชอบและสั่งการหน่วยเกี่ยวข้องรับไปดำเนินการเบื้องต้นนั้นจะให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการดังกล่าวทั่วกรุงเทพมหานคร”


เพิ่มเพื่อน



ด้านนายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย และในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางด้วยระบบล้อ ราง เรือ และการเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมและการท่องเที่ยว สภากรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายมารุต ศิริโก รองประธานกรรมการบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) ได้ร่วมกันชี้แจงแนวทางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่เขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร

โดยชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ด้านต่างๆ ที่ได้จากการวางระบบขนส่งมวลชนรอง เช่น การเพิ่มโอกาสให้ผู้ทำงาน อยู่อาศัย และผู้ติดต่อธุรกิจบริเวณถนนสายรองในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชน ซึ่งจะทำให้ลดความจำเป็นในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สำหรับกรุงเทพมหานครจะได้รับประโยชน์ทางตรงในการจัดการระบบการเดินทางได้ง่ายขึ้น ลดการแออัดด้านการจราจร สร้างสภาพแวดล้อมเมืองแห่งการเดินได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ประกอบการรถไฟฟ้าสายหลัก เช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรียลลิ้งค์ รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีจะมีพื้นที่บริการเพิ่มมากขึ้นโดยสามารถใช้พื้นที่พาดผ่านของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนรองเป็นพื้นที่บริการได้ด้วย

นอกจากนั้น โครงข่ายขนส่งหลักจะมีปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากการประมาณการระบบขนส่งมวลชนรอง 1 เส้นทางที่ออกแบบตามเกณฑ์ ซึ่งมีพื้นที่บริการนับจากสถานี 3.2 กิโลเมตรพบว่า จะสามารถเพิ่มปริมาณผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 1,500 คนต่อชั่วโมง กรณีพื้นที่บริการมีความหนาแน่นของอาคารสำนักงาน โรงแรมและศูนย์การค้า และ 500 คนต่อชั่วโมงในย่านผสมผสานที่อยู่อาศัยกับพาณิชยกรรม ซึ่งจากการคาดการณ์เชื่อว่าปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลในพื้นที่บริการขนส่งมวลชนรองจะลดลงไม่น้อยกว่า 20% ในช่วงปีแรกของการดำเนินการ และ 35% ในช่วงปีที่สอง

“สำหรับระบบขนส่งมวลชนรองที่จะพัฒนาในย่านชั้นในศูนย์เศรษฐกิจใจกลางกรุงเทพมหานครนั้น เป็นการพัฒนาระบบรองเชื่อมต่อศูนย์เศรษฐกิจตามแนวรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรียลลิ้งค์ บีทีเอส และรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที โดยการวางโครงข่ายครอบคลุมย่านเศรษฐกิจสองข้างทางบริเวณถนนราชปรารถ ราชดำริ พญาไท สุขุมวิท นานา วิทยุ เพชรบุรี และถนนสายรองอื่นๆ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการในการวางแผนดำเนินการศึกษา และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนจริงในอนาคต ส่วนงบประมาณการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็กหรือ tram ระดับดินนั้นเฉพาะ 2 เส้นทางในย่านราชประสงค์คาดว่าจะใช้งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท หากได้รับอนุญาตจะสามารถเริ่มก่อสร้างและลงทุนได้ทันที”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2018 10:20 am    Post subject: Reply with quote

ผุดรถไฟฟ้ารางเบา 10 สาย แสนล้าน! นำร่อง "ราชประสงค์-จุฬาฯ" เชื่อม กทม.ชั้นใน
ออนไลน์เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,417
วันที่ 11 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 หน้า 01-02


กทม. ให้บริษัทลูก 'กรุงเทพธนาคม' ลุยโครงการรถไฟฟ้ารางเบา เชื่อมพื้นที่เศรษฐกิจกรุงเทพฯชั้นใน 10 เส้นทาง 1.2 แสนล้านบาท ใช้ระบบสัมปทาน นำร่อง 2 เส้น "ราชประสงค์-จุฬาฯ" ยกให้ "อาร์ทีซี บัส" ดำเนินการ

ปัญหาวิกฤติจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ทำให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแนวคิดพัฒนาขนส่งมวลชนระบบรอง นอกจากบรรเทาการจราจรบนเส้นทางหลักแล้ว เพื่อให้การลงทุนรถไฟฟ้าของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการดึงคนที่อยู่ในเส้นทางซึ่งรถไฟฟ้าสายหลักเข้าไม่ถึง ให้เข้าสู่ตัวสถานีใหญ่ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยไม่เสียเวลาต่อโดยสารรถประจำทาง จักรยานยนต์รับจ้าง ลดการเดินทาง ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว จึงสรุปว่า การเชื่อมต่อโดยระบบรางเหมาะสมที่สุด จึงทำให้เกิดโครงการลงทุนรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Tram ในเขตกรุงเทพมหานคร


นำร่อง 2 เส้นทาง
นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC BUS) สมาคมฯ และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัทลูกของ กทม. ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้ารางเบา หรือ แทรม วางเป้า 10 เส้นทาง มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ใช้รูปแบบเดียวกับการลงทุนรถไฟฟ้าบีทีเอส โดย กทม. เป็นเจ้าของสัมปทาน

เบื้องต้น นำร่องลงทุน 2 เส้นทาง วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ได้แก่ เส้นราชประสงค์และจุฬาฯ พระราม 4 ระยะทางเส้นละประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร รูปแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเบา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าบีทีเอสประมาณครึ่งเมตร ขนาดความกว้างของรางมาตรฐานเหมือนต่างประเทศ 1.435 เมตร ความจุผู้โดยสารรวมนั่ง-ยืน จำนวน 98-100 คน ต่อ 1 คัน (3 ตู้) 2 เส้นทาง จำนวน 10 คัน จัดทำระบบรางบนถนน พร้อมป้ายสถานี ภายในรถจะเป็นดิจิตอล มีไวไฟ และระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ ฯลฯ เหมือนบีทีเอส


ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ส่งเสริมการเดินทางสีเขียว หรือ กรีน ทรานสปอร์ตเตชั่น ส่งเสริมเชื่อมไปจุดเล็กจุดน้อยได้ ลงบีอาร์ที ขึ้น 'แทรม' เข้าสถานทูตสหรัฐฯ เพื่อทำวีซ่า เป็นต้น จากที่ผ่านมา รถไฟฟ้าหลักเข้าไม่ถึง แต่กลับมีสถานทูต โรงแรม ในย่านนั้นค่อนข้างมาก มหานครใหญ่ของโลกหลายประเทศใช้ระบบรางรูปแบบนี้ กทม. ก็เช่นกัน


กทม. เตรียมให้สัมปทาน
สำหรับขั้นตอน รอจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ แต่จะหารือ กทม. ขอเข้าโครงการเร่งด่วน หรือ ฟาสต์แทร็ก ขณะเดียวกัน กทม. อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดการออกใบอนุญาตสัมปทานเดินรถให้กับ RTC Bus ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่เสนอตัวเข้ารับสัมปทานและเป็นเอกชนรายเดียวกับลงทุนสมาร์ทบัสที่วิ่งให้บริการปัจจุบันที่ จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้ โครงสร้างรางจะก่อสร้างบนผิวถนนบริเวณกึ่งกลาง เมื่อรถไฟฟ้าวิ่งผ่านแล้ว รถยนต์สามารถวิ่งทับเส้นทางได้ ประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 สามารถลงมือก่อสร้างระบบรางได้ โดยใช้ระยะเวลา 18 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดเดินรถได้อย่างเร็วปลายปี 2563 อย่างช้าต้นปี 2564 สำหรับ 2 เส้นแรก


ทะลวงเส้นทางผ่านตึกสูง
ลักษณะเส้นทางสายราชประสงค์ จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณแยกราชประสงค์ ผ่านเพชรบุรี จากนั้นไปจุฬาฯ สาเหตุที่เลือกย่านนี้ เพราะมีคนเข้ามาชุมนุมค่อนข้างมาก ซึ่งรถไฟฟ้ารางเบาจะช่วยส่งคน ส่วนเส้นทางฝั่งพญาไท ผ่านมาบุญครอง จุฬาฯ โรงแรมเอเชีย และย่านพาณิชยกรรมโดยรอบโรงแรมเอเชีย เซ็นทรัลชิดลม ออกพระราม 4 และวันแบงค็อก ฯลฯ

ขณะที่ เส้นราชดำริ จุดเริ่มต้นวิ่งไปทางประตูน้ำ อ้อมเมือง ผ่านย่านมักกะสัน เข้าซอยนานา จากนั้นวิ่งยาวไปตามถนนสุขุมวิท เมื่อถึงสี่แยกสีลมเลี้ยวขวา วิ่งลงไปถนนราชดำริ ซึ่งจะวิ่งเป็นวงรอบ โดยสายนี้จะมีสถานีอยู่หน้าศูนย์การค้าเกษร ย่านนั้นมีเซ็นทรัล บิ๊กซี ส่วนถนนเพชรบุรี จะมีพันธุ์ทิพย์ แพลทินัม (สาขาแรก) ย่านการค้าปลีกประตูน้ำ วิ่งวนมายังราชปรารภ เข้าราชประสงค์


สำหรับจำนวนรถจะใช้ 4 คัน ต่อ 1 เส้นทาง ส่วนอีก 2 คัน รอเสริม รวม 10 คัน ส่วนระยะเวลารถไฟฟ้าวิ่งมาถึงสถานีประมาณ 15 นาที ต่อ 1 คัน ระยะแรกจะทดสอบไปก่อน แต่หากรถติดมากจะเพิ่มจำนวนรถ เพื่อรักษาระยะเวลาไม่ให้เกิน 15 นาที และจะลดลงให้เหลือระยะเวลาที่ผู้โดยสารรอรถเพียง 10-12 นาที (ตามลำดับ) แต่หากเทียบกับรถไฟฟ้าเส้นหลัก ระยะเวลาการรอ 7 นาที

สำหรับเส้นราชประสงค์มีความแออัดมาก กทม. จึงขอให้เอกชนนำรถสมาร์ทบัสมาวิ่งทดแทนรถไฟฟ้าก่อนกลางปีหน้า ระหว่างรอก่อสร้างราง

นอกจากนี้ ทั้ง 2 เส้นทาง ยังเชื่อมแอร์พอร์ตลิงค์ เชื่อมไปสุวรรณภูมิ ขึ้นเครื่องบินต่อไปต่างประเทศได้สะดวก เรียกว่า สามารถเชื่อมโลกรวมถึงเชื่อม 3 สนามบิน เลี่ยงขวาไปอีอีซี เชื่อมสนามบินอู่ตะเภา หากเลี้ยวขวาไปดอนเมืองขึ้นเครื่องได้เช่นกัน


คิวต่อไปอนุสาวรีย์-ราชวิถี
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ระบุว่า รถไฟฟ้าทั้งบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที และแอร์พอร์ตลิงค์ และอีก 12 สายใหม่ เป็นเส้นทางผ่าเมืองและเป็นรูปแบบดาวกระจาย แต่พื้นที่ด้านในต้องใช้รถไฟฟ้ารางวิ่งวนเป็นวงรอบในพื้นที่ระยะทางแต่ละเส้นไม่เกิน 10 กิโลเมตร เคลื่อนรับส่งคนแต่ละจุด เน้นชุมชนใหญ่ เพื่อป้อนสถานีหลักของรถไฟฟ้าบีทีเอส-เอ็มอาร์ที

นอกจาก 2 เส้นทาง ในเขตกรุงเทพฯชั้นในแล้ว เส้นในอนาคตที่มองกันอยู่และยังเดินทางลำบาก แม้จะอยู่ในกลางเมือง คือ เส้นสุขุมวิท วนรอบย่านอโศก วิ่งไปแอร์พอร์ตลิงค์ ไปราชปรารภ และเชื่อมที่เพชรบุรี ทะลุประตูน้ำ เพราะทำเลนี้ยังไม่มีรถไฟผ่าน ทำให้พื้นที่เงียบเหงา และคนต้องรอรถโดยสารเป็นเวลานาน จึงต้องพึ่งพาจักรยานยนต์รับจ้าง แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ

อีกทำเลที่น่าสนใจ ที่อนาคตต้องเดินหน้าต่อ ได้แก่ ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ วิ่งวนเป็นวงรอบไปยังถนนราชวิถี และวนกลับมาที่อนุสาวรีย์ชัยฯ อีกครั้ง เป็นวงรอบ กวาดคนเข้ามาเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสเพื่อเดินทางต่อ

อย่างไรก็ดี ในฐานะที่ร่วมเสนอโครงการดังกล่าวไป ต้องดูว่าต้องประมูลหรือไม่ แต่หากผ่าน กทม. แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และสามารถก่อสร้างได้เลย


กทม. หนุนเต็มสูบ
นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธุ์ รองผู้ว่า กทม. ระบุว่า โครงการรถไฟฟ้ามวลเบา หรือ ไวร์เลสแทรม รุ่นเก่า ประเทศในแถบยุโรปใช้จะเป็นรุ่นแตะสายไฟ แต่รุ่นที่จะนำมาใช้ในเขตกรุงเทพมหานครจะเป็นรุ่นใหม่เหมือนรถวิ่งตามสนามบินเป็นล้อเหล็ก แต่วิ่งบนรางแทน มีความทันสมัยเหมือนรถไฟฟ้าโมโนเรล และสามารถวิ่งเข้าสถานีชาร์จใช้เวลาเพียง 13-14 วินาที ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นระบบขนส่งรองเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายหลัก บริเวณสถานีสำคัญ ๆ ซึ่งที่ผ่านมา ทางบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กทม. ร่วมกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเอกชนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 10:40 am    Post subject: Reply with quote

“ไอคอนสยาม”ทุ่มเชื่อมรถ-ราง-เรือ 3 พันล. บูมเมืองใหม่ฝั่งธนเร่งเปิดรถไฟฟ้าสายสีทอง

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 13:13 น.

“ไอคอนสยาม” ทุ่มกว่า 3 พันล้านบูรณาการโครงข่ายคมนาคม “รถ-ราง-เรือ” เชื่อมโครงการ บูมเมืองใหม่ฝั่งธนบุรี รับมือปัญหา จราจร กทม.เร่งสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองเฟสแรก ระยะทาง 1.7 กม. จากบีทีเอสกรุงธนบุรี-คลองสาน เปิดหวูดปลายปี”62 ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย ส่วนเฟส 2 คลองสาน-ประชาธิปก ยังไม่มีผู้ลงทุน รอความชัดเจนสายสีแดงและสีม่วงใต้ กรมเจ้าท่าเท 40 ล้าน ปรับโฉม 8 ท่าเรือหนุนอีกแรง


นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวในงานสัมมนา “Thailand 2019” ตอนหนึ่งว่า การพัฒนาโครงการไอคอนสยาม ที่ร่วมกับบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด และเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) โครงการมิกซ์ยูส มูลค่า 54,000 ล้านบาท บนพื้นที่ 50 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เท่ากับเป็นการพัฒนาเมืองใหม่ที่ฝั่งธนบุรี ท่ามกลาง 13 ชุมชนเดิมที่อยู่โดยรอบ ดังนั้น จึงต้องคิดถึงผลกระทบ การเปลี่ยนแปลง การจราจรที่จะเกิดขึ้น

ทุ่มเชื่อมรถ-ราง-เรือ
โดยใช้เงินลงทุนมากกว่า 3,000 ล้านบาท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง “รถ-ราง-เรือ” เชื่อมเข้ากับโครงการ อาทิ ลงทุน 2,000 ล้านบาท สร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีทอง พัฒนาท่าเรือ 4 ท่า วงเงิน 500 ล้านบาท ที่ทุกคนสามารถใช้จอดได้ เพื่อสร้างความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางมายังไอคอนสยาม และบรรเทาปัญหารถติดบนถนนเจริญนคร

“ขอบคุณคุณคีรี กาญจนพาสน์ ที่เสนอแนะให้สร้างรถไฟฟ้าสายทอง เพื่อทำเป็นระบบฟีดเดอร์ไลน์ เชื่อมรถไฟฟ้า 3 สาย คือ สายสีเขียว (บีทีเอส) สายสีแดง และสายสีม่วงใต้ในอนาคต ซึ่งได้ขอกู้แบงก์เพิ่มเพื่อลงทุนฟีดเดอร์ไลน์ โดยเราให้เงินทุนสนับสนุน กทม. ดำเนินการผ่านกรุงเทพธนาคม จริง ๆ สายสีทองจะต้องสร้างเสร็จก่อนที่ไอคอนสยามจะเปิด ถึงจะใช้เวลานานแต่เราก็ภูมิใจ และอนาคตแนวเส้นทางจะไปถึงประชาธิปก เชื่อมกับสายสีม่วงใต้” นางชฎาทิพกล่าวและว่า



กัน 5 ไร่ปอดคนกรุง
“การมาของไอคอนสยาม คือ การเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมาพักผ่อน มาใช้บริการ ซึ่งเราได้กันพื้นที่ประมาณ 10,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 5-6 ไร่ จัดเป็นพื้นที่สาธารณะริมแม่น้ำ”

นอกจากนี้ ยังสร้างจุดเชื่อมต่อการคมนาคมทางน้ำเพื่อบรรเทาการจราจรทางน้ำ โดยร่วมกับผู้ประกอบการท่าเรือ 73 แห่ง ในระยะทาง 10 กม. ปรับปรุงท่าเรือใหม่ให้สวยงามและปลอดภัย โดยไอคอนสยามได้จ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษารายละเอียดโครงการ และทำงานร่วมกับกรมเจ้าท่า (จท.)มา 2 ปี พร้อมกับส่งมอบผลศึกษาให้กรมเจ้าท่า เพื่อใช้เป็นแผนพัฒนาท่าเรือต่าง ๆ และกรมเจ้าท่าได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2562 ปรับปรุงแล้ว

ไอคอนสยาม

รถไฟฟ้าสายสีทองคืบ 10.54%
นายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) วิสาหกิจกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การเปิดบริการไอคอนสยาม เมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ต้องเร่งรัดผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองระยะแรก 1.7 กม. จากบีทีเอสกรุงธนบุรี-คลองสานให้เสร็จโดยเร็ว มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสกรุงธนบุรี วิ่งไปตามถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวเข้าถนนเจริญนคร ผ่านวัดสุวรรณ จากนั้นแนวเส้นทางเกาะไปตามถนนเจริญนคร ถนนเจริญรัถ จนถึงแยกคลองสาน และสิ้นสุดบริเวณหน้าโรงพยาบาลตากสิน

โดยมี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง และมี บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เป็นผู้ติดตั้งและจัดหาระบบพร้อมรับจ้างเดินรถให้เป็นระยะเวลา 20 ปี โดยบีทีเอสเสนอใช้ระบบอาณัติสัญญาณ และรถไฟฟ้าของบอมบาร์ดิเอร์ รุ่นอินโนวา 300 จำนวน 2 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ รวม 6 ตู้ เป็นระบบขนส่งมวลชนนำทางอัตโนมัติ (AGT) ระบบล้อยาง ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบไร้คนขับ ซึ่งรถ 1 ตู้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 80-100 คน และต่อพ่วงได้ถึง 6 ตู้ วิ่งด้วยความเร็ว 3 นาทีต่อขบวน

ปัจจุบันภาพรวมงานก่อสร้างโครงการอยู่ที่ 10.54% มีผลงานก่อสร้างงานโยธา 4.99% และงานระบบเดินรถ 18.28% ตามแผนจะสร้างเสร็จพร้อมเปิดบริการปลายปี 2562 จะเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย มี 3 สถานี ได้แก่ 1.สถานีกรุงธนบุรี เชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส 2.สถานีเจริญนคร (ไอคอนสยาม) อยู่บริเวณเจริญนคร 6 บริเวณสะพานข้ามคลองวัดทองเพลง และ 3.สถานีคลองสาน อยู่เยื้องกับโรงพยาบาลตากสิน มีทางเดิน หรือ sky walk เดินทางเข้าสู่โรงพยาบาลตากสินได้ และจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (หัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย) ในอนาคต

เร่งสร้างเสร็จเร็วขึ้น
“จะให้นักศึกษาด้านระบบรางของมหาวิทยาลัยนวมินทร์สังกัด กทม. มาช่วยอิตาเลียนไทยและบีทีเอสดูเรื่องการก่อสร้างและงานระบบต่าง ๆ เพื่อให้งานสามารถเดินหน้าได้เร็วขึ้น”

นายมานิตกล่าวอีกว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทองระยะแรก ทางไอคอนสยามเป็นผู้สนับสนุนวงเงินลงทุนโครงการ 2,080 ล้านบาท ด้วยการซื้อพื้นที่โฆษณาภายในสถานีเป็นระยะเวลา 30 ปี มีสถานีอยู่หน้าไอคอนสยาม โดยสร้างสกายวอล์กเชื่อมเข้าโครงการ รวมถึงโครงการหอชมเมืองที่อยู่ติดกันอีกด้วย

เฟส 2 รอสายสีแดง-สีม่วงใต้
ส่วนการสร้างระยะที่ 2 เป็นส่วนต่อขยายเริ่มจากโรงพยาบาลตากสิน-วัดอนงคารามวรวิหาร ระยะทาง 0.9 กม. มี 1 สถานี ได้แก่ สถานีประชาธิปก อยู่บริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 8 อนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ตามแผนจะดำเนินการระยะถัดไป ใช้เงินลงทุน 1,333 ล้านบาท ขณะนี้ยังไม่มีกำหนดการก่อสร้าง และผู้ที่จะลงทุนก่อสร้างโครงการ เนื่องจากไอคอนสยามร่วมกับ กทม.แค่ระยะแรก อีกทั้งยังไม่ได้ออกแบบรายละเอียดและต้องรอความชัดเจนของสายสีแดงและสีม่วงใต้ที่จะสร้างไปเชื่อมต่อด้วย

ทุ่ม 40 ล้านปรับโฉมท่าเรือรับ
นายสมศักดิ์ ห่มม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยว่า กรมได้รับแผนพัฒนาท่าเรือจากไอคอนสยามแล้ว ซึ่งทางไอคอนสยามได้ปรับปรุงท่าเรือทั้งหมด 5 ท่า แยกเป็นท่าเก่า 2 ท่า และท่าสร้างใหม่ 3 ท่า บริเวณหน้าโครงการ ทั้งนี้ ไอคอนสยามเสนอจะปรับปรุงท่าเรือสาทร ท่าดินแดง และท่าราชวงศ์ใหม่ โดยจะออกเงินให้ที่ท่าสาทร เช่น สร้างโป๊ะ และศาลาที่พักผู้โดยสารใหม่ ขนาด 72 ตารางเมตร

ส่วนที่เหลือกรมจะเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในปี 2562 กรมได้รับงบประมาณจำนวน 40 ล้านบาท ปรับปรุงพัฒนา 8 ท่า ได้แก่ ท่าสาทร ท่าดินแดง ท่าราชวงศ์ ท่าโอเรียนเต็ล ท่าราชินี ท่าสี่พระยา ท่าเทเวศร์ และท่าน้ำนนท์ เช่น ปรับปรุงพื้นที่ท่าเทียบเรือให้เป็นทางเรียบและที่พักผู้โดยสารใหม่ โดยใช้แบบที่ไอคอนสยามเป็นผู้ออกแบบไว้ให้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2018 1:56 pm    Post subject: Reply with quote

26ธ.ค.61 รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองระยะทาง 2.7 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกจากสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี – สำนักงานเขตคลองสาน ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 6% เนื่องจากมีความล่าช้าในการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยคาดว่าหลังปี 2562 จะเร่งก่อสร้างในช่วง 4-5 เดือนแรก พร้อมทั้งเตรียมประสานกรมศิลปากรเข้ามาตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้าง หลังพบซากโบราณซึ่งคาดว่าเป็นกำแพงเมืองเข้ามาตรวจสอบด้วย โดยจะทำงานควบคู่กัน

สำหรับแผนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีทองคาดว่าจะให้บริการได้ภายในเดือนตุลาคม 2563

https://www.sanook.com/money/622115/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 28/02/2019 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

สจล. ร่วม BTS ศึกษาแนวทางปั้นรถไฟรางเดี่ยวสายใหม่ ให้บริการนักศึกษา และประชาชน
KMITL
28 กุมภาพันธ์ 2562

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ให้การต้อนรับ และร่วมหารือกับนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย ที่ได้นำทีมผู้บริหาร ทีมสถาปนิก และวิศวกรเข้าพบ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เรื่องการทำรถไฟ monorail เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ลาดกระบัง สจล. และชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่การให้บริการ และเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางให้กับผู้ใช้บริการในพื้นที่ นักศึกษา ลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งนำมาซึ่งปัญหาการจราจร และมลพิษ โดยจะมีระยะทางประมาณ 4 กม. มี 3 สถานี สถานีแอร์พอร์ตลิ้งก์ลาดกระบัง สถานีพระจอมเกล้าและสถานีหัวตะเข้ ส่วนเส้นทางที่ 2 วิ่งรอบภายในพื้นที่ของ สจล.และเชื่อมรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์แต่ต้องศึกษาในรายละเอียดรวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป

//----------------
อดเป็นห่วงว่าจะทับซ่อนกับ รถไฟฟ้าสายสีแดงต่อขยายจากหัวหมาก ไป ฉะเชิงเทราจริงๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 11/07/2019 11:22 am    Post subject: Reply with quote

สายสีทองคืบ 27% ช้าย้ายท่อประปา
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
พฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2562 เวลา 09:50 น.



เคทีเผยระบบรถไฟฟ้าไร้คนขับ-4 สถานีเก็บ 16 บ. ตลอดสาย


เมื่อวันที่ 10 ก.ค. นายกิติศักดิ์ อร่ามเรือง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือเคที เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทองว่า ขณะนี้งานด้านโยธามีความคืบหน้ากว่าร้อยละ 26 งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญามีความคืบหน้ากว่าร้อยละ 29 โดยภาพรวมโครงการมีความคืบหน้าร้อยละ 27 ล่าช้ากว่าแผนงานประมาณร้อยละ 3-4 ส่วนหนึ่งเกิดจากการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างและการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่างๆ โดยเฉพาะแนวท่อประปาขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2563

ขณะที่การจัดหาขบวนรถไฟฟ้ามาให้บริการ เคทีได้ว่าจ้าง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอส เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งการจัดหารถไฟฟ้ามาให้บริการนั้น อยู่ในสัญญาจ้างเดินรถเป็นเวลา 30 ปี โดยรถไฟฟ้าที่จะนำมาให้บริการในสายสีทองเป็นรถไฟฟ้าชนิดล้อยาง ระบบ AGT หรือระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ จำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ จุผู้โดยสารได้ตู้ละ 137 คน

ปัจจุบันบีทีเอสอยู่ระหว่างการจัดหารถไฟฟ้าชนิดล้อยาง ระบบ AGT ซึ่งจะใช้รถไฟฟ้าของบอมบาร์ดิเอร์ รุ่นอินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 ทั้งนี้ รถไฟฟ้าระบบ AGT จะขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีคนขับ แต่จะมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ภายในห้องควบคุมระบบ ส่วนอัตราค่าโดยสารเบื้องต้นกำหนดไว้ที่ 16 บาทตลอดสาย และจะพิจารณาปรับค่าโดยสารทุกๆ 3 ปี แต่ช่วงทดลองเดินรถอาจจะยังไม่คิดค่าบริการ และจากผลการศึกษาคาดว่าในปี 2563 จะมีผู้ใช้บริการประมาณ 42,000 เที่ยวคนต่อวัน

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีทองมีระยะทาง 2.8 กิโลเมตร มี 4 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนคร สถานีคลองสาน และสถานีประชาธิปก.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2019 8:50 pm    Post subject: Reply with quote

มาแล้ว... รถไฟฟ้าสายสีเทา ^^
................
โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) #สายสีเทา
โดยสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร

#ช่วงที่ 1 #เส้นทางวัชรพล-ทองหล่อ

เริ่มต้นที่วัชรพลตรงจุดตัดกับถนนรามอินทรา มุ่งหน้าลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูญธรรม ผ่านซอยนวลจันทร์
ข้ามสะพานเกษตรนวมินทร์ สิ้นสุดที่จุดตัดกับถนนลาดพร้าว จากนั้นมุ่งหน้าสู่ถนนพระรามเก้า แล้วเชื่อมต่อกับสายสีส้มที่ถนนประชาอุทิศ ออกสู่ถนนเพชรบุรี เข้าสู่ถนนทองหล่อ เพื่อมาตัดกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีทองหล่อ

(รายชื่อสถานี้ 1. วัชรพล / 2.นวลจันทร์ / 3.เกษตร-นวมินทร์ / 4. คลองลำเจียก / 5.โยธินพัฒนา / 6. ลาดพร้าว 87
7.สังคมสงเคราะห์ / 8.ฉลองรัช / 9.ศรีวรา / 10 ประชาอุทิศ / 11. พระราม 9 / 12. เพชรบุรี-ทองหล่อ / 13.แจ่มจันทร์
14.ทองหล่อ 10 / 15. ทองหล่อ)

ข้อมูลจาก : http://www.realist.co.th/
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2360533407336490&id=295308417192343&__tn__=C-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2019 11:07 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้ Living Pop ขอพาทุกคนไปรู้จักกับรถไฟฟ้าสายที่เป็นที่สุดในหลายๆ อย่าง ทั้ง...

“ระยะทางสั้นที่สุด”
“มีสถานีน้อยที่สุด”
“ขนาดรถเล็กที่สุด”
“บรรจุคนได้น้อยที่สุด”
“อู่ซ่อมบำรุงเล็กที่สุด”

แถมยังเป็น "รถไฟฟ้าที่ใช้ล้อยาง แถมยังไม่ได้วิ่งบนรางเหล็ก" อีกต่างหาก


ใช่ครับ เรากำลังพูดถึง #รถไฟฟ้าสายสีทอง เส้นทางสายน้องใหม่ที่กำลังสร้างอยู่แถวๆ กรุงธนบุรี-เจริญนคร ใกล้ๆ กับห้าง ICONSIAM นั่นเอง


รถไฟฟ้าสายนี้เป็นอะไรที่แปลกใหม่และมีความพิเศษในหลายๆ อย่างเลยครับ พวกเราเลยไปซุ่มค้นคว้ารวบรวมข้อมูลมาเขียนลงเว็บให้อ่านกัน ตามไปดูกันเลยที่ www.livingpop.com/what-is-gold-line จ้า

บทความนี้จะตอบคำถามให้กับคนที่ยังคาใจกับสายสีทองในหลายๆ เรื่องเลยครับ เช่น..

Q: ห้างไอคอนสยามจ่ายเงินสร้างให้จริงหรือเปล่า ❓
A: แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีทอง มีการศึกษาเบื้องต้นเอาไว้ตั้งแต่ปี 2552 แต่ กทม. ไม่ได้สานต่อ - จนไอคอนสยามต้องการให้มีรถไฟฟ้าเชื่อมเข้าสู่โครงการ ไอคอนสยามจึงให้เงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท กับ กทม. เพื่อปัดฝุ่นโครงการนี้ รถไฟฟ้าขนาดเล็กเส้นทางนี้ไม่ใช่โมโนเรลแบบที่หลายๆ คนเรียกผิด แต่เป็นรถไฟฟ้าระบบล้อยาง ไร้คนขับ ที่นิยมใช้กันตามสนามบินในต่างประเทศ แลกกับสัมปทานโฆษณา 30 ปี

Q: จะสร้างเสร็จปีไหน ❓ ค่าโดยสารเท่าไหร่ ❓
A: สำหรับค่าโดยสารของสายนี้ จะอยู่ที่ 15 บาทตลอดสาย ไม่ว่าจะขึ้นใกล้ขึ้นไกลแค่ไหน ซึ่งโดยลักษณะของสถานีกรุงธนบุรีของสายสีทองนั้น ไม่ได้มีพื้นที่ชำระเงิน (Paid Area) ที่เชื่อมต่อกับสถานีของ BTS จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าค่าโดยสารของสายสีทองและ BTS จะ “แยกกันต่างหาก” ไม่ได้คิดราคารวมกันครับ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของ กทม. และ BTS อีกทีนึงว่าจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

แต่ทั้งนี้หากรถไฟฟ้าสายสีทองแยกเก็บเงินกับรถไฟฟ้าบีทีเอสในเส้นทางปัจจุบัน หลายๆ คนที่นั่งรถไฟฟ้าบีทีเอสมาไอคอนสยาม ก็มีตัวเลือกอื่นในการไปไอคอนสยามแทนการขึ้นรถไฟฟ้าสายสีทองเช่น อาจจะลงที่สถานีสะพานตากสินแทน แล้วไปลงเรือเพื่อไปไอคอนสยาม ซึ่งเรือเส้นทางนี้ให้บริการฟรีครับ

เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะสงสัยกันว่ารถไฟฟ้าเส้นทางนี้จะเปิดให้ใช้บริการเมื่อไหร่กัน ตัวผมเองก็งงเช่นกันครับ เพราะทาง กทม. บอกว่าจะเปิดให้ใช้บริการช่วงปลายปี 2563 แต่ไอคอนสยามบอกว่าจะเปิดให้ใช้บริการในช่วงปลายปี 2562 นี้ ตอนนี้ก็เดือนกรกฎาคมแล้ว เท่าที่ผมได้เห็นความคืบหน้า สงสัยว่า กทม. น่าจะได้บอกได้ตรงกับความเป็นจริงกว่าที่ไอคอนสยามบอกนะครับ..

Q: ทั้งที่อยู่ในตัวเมืองกรุงเทพชั้นใน ทำไมถึงไม่ทำเป็นใต้ดิน ❓
A: ทำไมอยู่ใจกลางเมืองแต่ไม่ต้องสร้างลงใต้ดิน ?
จากมติคณะรัฐมนตรีในปี 2537 ที่ให้การก่อสร้างรถไฟฟ้าในย่านเกาะรัตนโกสินทร์และพื้นที่อื่นๆ ใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งรวมไปถึงย่านคลองสาน ต้องเป็นระบบใต้ดินเท่านั้น แต่เนื่องด้วยรถไฟฟ้าเส้นทางนี้เป็นรถไฟฟ้าขนาดเล็ก ประกอบการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงหัวลำโพง – วงเวียนใหญ่ ที่มีจุดตัดกับรถไฟฟ้าสายสีทองบริเวณคลองสานมีแนวโน้มจะเป็นระบบใต้ดิน หากสายสีทองเป็นระบบใต้ดิน จะต้องอยู่ลึกลงไปมากๆ เพื่อหลบให้กับสายสีแดงเข้ม การก่อสร้างเป็นระบบใต้ดินจึงไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่ต้องเสียไป

ในปี 2560 ทางกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของ กทม. จึงได้ขอคณะรัฐมนตรีให้ยกเว้นข้อกำหนดของคณะรัฐมนตรีในปี 2537 เพื่อให้รถไฟฟ้าสายสีทองสามารถก่อสร้างเป็นระบบลอยฟ้าได้

Q: สถานีอยู่ตรงไหนบ้าง ❓ มีกี่สถานี ❓
A: 4 สถานี ตลอดเส้นทาง 2.72 กิโลเมตร

- เฟสที่ 1 ที่กำลังก่อสร้างตอนนี้ ระยะทาง 1.77 กิโลเมตร จากสถานีกรุงธนบุรี ผ่านไอคอนสยาม สิ้นสุดที่สถานีคลองสาน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มในอนาคต ในเฟสนี้ ไอคอนสยามออกเงินทุนในการก่อสร้างให้ กทม. และกรุงเทพธนาคม
1. สถานีกรุงธนบุรี - สถานีนี้อยู่ร่วมกับศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าเส้นทางนี้ อยู่เหนือถนนกรุงธนบุรีฝั่งมุ่งหน้าขึ้นสะพานตากสิน และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม (สีเขียวเข้ม) ที่สถานีกรุงธนบุรี ที่ชั้นชานชะลามีความยาว 48.5 เมตร กว้าง 17 เมตร

โดยทั่วไปเรามักจะพบเห็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าเป็นอาคารที่อยู่แยกจากเส้นทางของรถไฟฟ้าออกไป แต่ศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้าสายนี้สามารถตั้งอยู่เหนือถนนและสร้างร่วมกับสถานีรถไฟฟ้าเลย เนื่องจากระบบรถไฟฟ้าของเส้นทางนี้มีขนาดที่เล็ก ใช้พื้นที่น้อยสำหรับการซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า

2. สถานีเจริญนคร ถัดจากสถานีแรกไปประมาณ 1.16 กิโลเมตร สถานีที่สองของรถไฟฟ้าเส้นทางนี้ อยู่เหนือถนนเจริญนคร เชื่อมต่อกับศูนย์การค้าไอคอนสยามทั้งชั้น M และชั้น UG อีกทั้งยังเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อไอคอนสยามทั้งเฟสเก่าและเฟสใหม่เข้าด้วยกัน ที่ชั้นชานชาลามีความยาว 42 เมตร กว้าง 22 เมตร

ซึ่งไอคอนสยามเฟสสองนั้น อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับเฟสเก่าที่อยู่อีกฝั่งของถนนเจริญนคร โดยในเฟสนี้ คาดว่าแล้วเสร็จในปี 2564 ซึ่งเฟสใหม่นี้ จะมีทั้งร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ และโรงแรมฮิลตัน การ์เดน อินน์ กรุงเทพฯ โรงแรมฮิลตันสาขาที่สองของฝั่งธนบุรี ซึ่งสาขาแรกก็อยู่ไม่ไกลไปจากสาขาที่สอง เพราะสาขาแรกก็อยู่ติดกับไอคอนสยามเฟสแรกนี่เอง

3. สถานีคลองสาน
หลังจากผ่านสถานีเจริญนครไปประมาณ 0.53 กิโลเมตร เส้นทางจะเลี้ยวเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ถึงแม้ว่าถนนเส้นนี้จะมีลักษณะที่แคบและไม่มีเกาะกลางถนน แต่ถนนเส้นนี้ก็ติดอยู่กับคลองที่ชื่อว่า “คลองสาน” พอดี มีเพียงทางเท้าที่คั่นกลางระหว่างถนนกับคลอง ทำให้สถานีนี้ต้องปักตอหม้อลงบนทางเท้าดังกล่าว และตัวสถานีคร่อมอยู่เหนือทั้งถนนและคลอง ที่ชั้นชานชะลามีความยาว 42 เมตร กว้าง 20 เมตร

สถานีนี้จะมีสกายวอล์กเชื่อมเข้าสู่โรงพยาบาลตากสินซึ่งเป็นโรงพยาบาลในสังกัดของ กทม. เอง และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม สถานีคลองสาน ซึ่งเป็นเส้นทางที่ต่อมาจากช่วงบางซื่อ – รังสิต และจะขยายเส้นทางลงมาทางหัวลำโพง คลองสาน วงเวียนใหญ่ และไปสิ้นสุดที่มหาชัย จ.สมุทรสาคร ในอนาคต ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มในช่วงหัวลำโพง – ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา – คลองสาน – วงเวียนใหญ่ จะเป็นระบบใต้ดิน

ถึงแม้ว่ารถไฟฟ้าสายสีทองจะอยู่ลอยฟ้า ไม่ต้องไปหลบพื้นที่ให้กับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มที่อยู่ชั้นใต้ดิน แต่สถานีเจริญนครก็ดันไปตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานลาดหญ้า – มหาพฤฒาราม โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาของ กทม. ทำให้สถานีนี้มีระดับที่อยู่สูงกว่าสถานีอื่นประมาณ 3 – 4 เมตร



- เฟสที่ 2 ขยายไปอีก 1 สถานี ระยะทาง 0.95 กิโลเมตร จากสถานีคลองสานในเฟสเดิม มาสิ้นสุดที่สถานีประชาธิปก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงในอนาคต ในเฟสนี้ กทม. เป็นผู้ออกเงินทุนในการก่อสร้างเอง ซึ่งยังไม่มีแผนที่จะก่อสร้างในเร็วๆ นี้

4. สถานีประชาธิปก (สถานีในอนาคต)
สถานีสุดท้ายของรถไฟฟ้าสายสีทองในแผนปัจจุบัน อยู่ถัดจากสถานีก่อนหน้าประมาณ 950 เมตร ตั้งอยู่ปากซอยสมเด็จเจ้าพระยา 3 ซึ่งเป็นทางเข้าของอุทยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าศรีนครินทราบรมราชชนนี ถึงแม้ว่าจะเป็นสถานีสุดท้าย แต่ในอนาคต กทม. อาจมีแผนขยายเส้นทางออกไปอีก ทำให้สถานีนี้มีการก่อสร้างไว้ 2 ชานชะลาแบบสถานีอื่นๆ ของรถไฟฟ้าสายสีทอง แต่จะมีชานชะลาฝั่งหนึ่งที่ปิดการใช้งานชั่วคราว และปูพื้นคลุมบนรางของรถไฟฟ้า เพื่อให้พื้นที่บนพื้นชานชะลาในการเดินเข้าออกของผู้โดยสารมีพื้นที่ที่กว้างยิ่งขึ้น เมื่อมีแผนจะสร้างเส้นทางต่อ ก็สามารถรื้อชานชะลานี้เพื่อให้รางรถไฟฟ้าได้เลย ซึ่งชั้นชานชะลานี้มีความยาว 42 เมตร กว้าง 20 เมตร

สถานีนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีสะพานพุทธ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ต่อมาจากช่วงเตาปูน – คลองบางไผ่ (บางใหญ่ จ.นนทบุรี) และจะขยายเส้นทางลงมาสามเสน เกาะรัตนโกสินทร์ วงเวียนใหญ่ บางปะกอก พระประแดง และมาสิ้นสุดที่ครุใน จ.สมุทรปราการ ซึ่งสถานีของรถไฟฟ้าทั้งสองสาย มีระยะห่างกันประมาณ 350 เมตร

ตามแผนของ กทม. นั้น สถานีประชาธิปก กทม. ต้องการให้เป็นเพียงแค่สถานีชั่วคราวในเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงเท่านั้น เพราะในอนาคต กทม. มีแผนขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทองเข้าถนนประชาธิปกและถนนอิสรภาพ ซึ่งระหว่างทางจะมีสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีสะพานพุทธ ที่มีระยะทางเดินในการเชื่อมต่อกับสายสีทองประมาณ 100 เมตรเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ากับการที่เชื่อมต่อกับสถานีประชาธิปกของสายสีทอง ที่ต้องเดินเท้าเป็นระยะทางประมาณ 350 เมตร

บีทีเอสเดินรถตลอด 30 ปี
ทางกรุงเทพธนาคม ได้มอบหมายให้บีทีเอสเป็นผู้รับสัมปทานในการเดินรถเส้นทางนี้ เป็นเวลา 30 ปี วงเงินจ้างเดินรถประมาณ 13,000 ล้านบาท ซึ่งบีทีเอสจะต้องเป็นผู้จัดหาขบวนรถมาให้บริการด้วย โดยบีทีเอสได้เลือกใช้รถจาก Bombardier รุ่น Innovia APM 300 ซึ่งเป็นซีรีส์เดียวกับรุ่น Innovia Monorail 300 ที่บีทีเอสได้เลือกมาใช้ในโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพูและสีเหลืองที่บีทีเอสได้สัมปทานเช่นเดียวกัน

ตัวรถ Bombardier รุ่น Innovia APM 300 บีทีเอสได้สั่งนำเข้าเพื่อมาให้บริการจำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ หนึ่งตู้สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 103 คนต่อตู้ ให้บริการด้วยความเร็วเฉลี่ยประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ตามสเป็กสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อคิดจากจำนวนขบวน จำนวนตู้ ระยะทาง และความเร็วแล้ว รถไฟฟ้าเส้นทางนี้สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 4,000 – 12,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ความถี่ประมาณ 3-5 นาทีเลยทีเดียว
https://www.facebook.com/livingpopTH/posts/649752005538474
https://www.livingpop.com/what-is-gold-line/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2019 3:19 am    Post subject: Reply with quote

กทม.เตรียมปัดฝุ่นโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา คาดเริ่มก่อสร้างได้ปี 64
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 11 กันยายน 2562 เวลา 19:28

นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงการปัดฝุ่นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่กรุงเทพมหานครเคยมีแผนจะก่อสร้างเมื่อหลายปีที่แล้ว ว่า การหารือเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา จะแบ่งเป็น 3 ระยะทาง คือ

ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ
ระยะที่ 2 ช่วงพระโขนง-พระราม 3 และ
ระยะที่ 3 ช่วงพระราม 3-ท่าพระ

ขณะนี้กำลังศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่จะล่าช้าในระยะที่ 2 เล็กน้อย เนื่องจากมีบ้านเรือนประชาชนที่ต้องเวนคืนที่จำนวนมาก จึงต้องใช้ระยะเวลาพูดคุยและเร่งทำ EIA

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 เห็นด้วยกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทา เพราะจะทำให้เกิดความเจริญและได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าหมายว่า ระยะที่ 1 และระยะที่ 3 จะสามารถก่อสร้างได้ในปี 2564

Note: กทม. คิด ฟื้นโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเทา โดยแปลงรถ BRT ให้เป็น Monorail ก็นับว่าไม่เลว - ยังมีโจทย์ ที่ต้องแก้ไขด่วน คือ ทางช่วง วัชรพล เลียบด่วน - ทองหล่อ จะเชื่อมต่อกะ ทางช่วงพระโขนง ไปท่าพระอย่างไรดีหละหวา เพราะ มีคนโห่ฮาป่า ว่า ให้ไปเชื่อมต่อระหว่างทองหล่อ กะ พระโขนง โดยนั่งรถไฟฟ้าบีทีเอสอีกต่อ นั้นเป็นเรื่องไม่เข้าท่าอย่างยิ่ง
https://www.facebook.com/landometer/posts/519061542181870

https://www.facebook.com/landometer/photos/a.359518074802885/519059298848761/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 14, 15, 16 ... 30, 31, 32  Next
Page 15 of 32

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©