Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180411
ทั้งหมด:13491645
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนทางคู่ 4 เส้นทาง และรถจักร EV
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าบนทางคู่ 4 เส้นทาง และรถจักร EV
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 10, 11, 12  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2019 7:05 pm    Post subject: Reply with quote

^^^

ป่วนงานสัมมนาไอซีดี "ฉะเชิงเทรา"
จันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 18.16 น.

สนข. เปิดซาวด์เสียงรอบสุดท้ายไอซีดีฉะเชิงเทรา 760 ไร่ วงเงินลงทุน 14,506 ล้านบาท โดนชุมชน ต.หนองตีนนกยกพวกป่วนงานสัมมนาล้มไม่เป็นท่า ต้านไม่เอาไอซีดี-ไม่เอาอีอีซี ชี้ทำลายที่ทำมาหากิน

เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่โรงแรมซันธารา เวลเนส รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมเปิดงานสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์รองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือไอซีดีฉะเชิงเทรา โดยมีนายประสงค์ คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานเปิดงาน

นางวิไลรัตน์ เปิดเผยว่า ผลการศึกษาพบว่า ไอซีดีฉะเชิงเทรา มีทั้งหมด 760 ไร่ ตั้งอยู่ ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ห่างสถานรถไฟดอนสีนนท์ 1 กม. สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายกับทางหลวงหมายเลข 315 และทางหลวงชนบทหมายเลข 3122 ได้ โครงการดังกล่าวใช้วงเงินลงทุนรวม 14,506 ล้านบาท แบ่งดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก จะสร้างพื้นที่ส่วนกลาง อาทิ อาคารสำนักงานกลาง โรงอาหาร อาคารพักสินค้าตกค้าง อาคารตรวจสอบเอ็กซ์เรย์ จุดพัก ปั๊มน้ำมันและปั๊มแก๊ส ลานจอดพักรถเทรลเลอร์ และร้านค้าต่างๆ รวมทั้งพื้นที่สถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ อาทิ ลานกองตู้คอนเทนเนอร์ โรงซ่อม ลานทำความสะอาดตู้ โรงอาหาร อาคารปฏิบัติการ อาคารสำนักงาน จุดคัดแยกและบรรจุสินค้ารวมทั้งโรงพักสินค้า



นางวิไลรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะมีโครงข่ายถนนเชื่อมต่อเข้า-ออกโครงการ และถนนบริการ อาทิ ทางแยกต่างระดับขนาด 2 ช่องจราจรเชื่อมโครงการกับทางหลวง 315, ถนนขนาด 6 ช่อง บริเวณภายในและเข้าออกโครงการ, ถนนบริการ 2 ช่องสำหรับอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่รอบๆ โครงการ และทางรถไฟเชื่อมต่อเข้าพื้นที่โครงการและพื้นที่สถานีรถไฟ อาทิ อาคารสถานีรถไฟดอนสีนนท์และหอสูงตรวจการณ์ พร้อมอาคารสำนักงาน โดยโครงการก่อสร้างทางเชื่อมรางรถไฟเข้ามาในพื้นที่ไอซีดี เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการขนถ่ายสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั้งขาขึ้นและขาล่อง ส่วนระยะที่ 2 จะเพิ่มพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า และเครนยกสินค้า หลังจากนี้จะสรุปผลการศึกษาสมบูรณ์ให้แล้วจะเสนอเข้ากระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือคณะกรรมการอีอีซีต่อไป

ด้าน ดร.ชุมโชค นันทวิชิต รองผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า สำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 469 ล้านบาท ตอนนี้พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่ประชาชนเช่าทำบ่อเลี้ยงปลาส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับโครงการ ขณะที่เจ้าของที่ดินที่มีทั้งในพื้นที่ฉะเชิงเทราและนอกพื้นที่ไม่ได้มีปัญหา ทั้งนี้ในผลการศึกษาได้มีมาตรการลดผลกระทบและอยู่ร่วมกับชุมได้ อาทิ ออกแบบเน้นลดปัญหากระทบกับสิ่งแวดล้อม จัดการสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน มาตรการชดเชย เยียวยาให้เจ้าของที่ดิน และผู้เช่าทำการเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยรอบเช่นพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพไม่มีรายได้ ส่งเสริมการจ้างงานประชาชนในพื้นที่ จัดทำและดำเนินโครงการแผนงานความรับผิดชอบต่อสังคมโดยอาศัยแนวคิดอุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้โครงการสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืนรวมทั้งตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามคาดว่าจะดำเนินการได้ ในปี 63-64 ขออนุมัติโครงการจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จากนั้นคัดเลือกเอกชน และจัดกรรมสิทธิที่ดิน เริ่มก่อสร้างปี 65 และเปิดให้บริการปี 67 ส่วนระยะที่ 2 คาดว่าเปิดใช้ปี 77



ผู้สื่อข่าวรายว่า ระหว่างที่งานสัมมนากำลังเริ่มนั้นได้มีกลุ่มชาวบ้านชุมชน ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ ประมาณ 50 กว่าคน มาเรียกร้องคัดค้านโครงการดังกล่าว เพราะโดนผลกระทบจากโครงการดังกล่าว เนื่องจากชาวบ้านกลุ่มนี้ได้เช่าพื้นที่ที่ตั้งไอซีดีทำบ่อเลี้ยงปลาและเลี้ยงกุ้ง หากมีไอซีดีทำให้ไม่มีที่อยู่อาศัยและหมดที่ทำมาหากิน จนกระทั่งมาถึงเวลาเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น กลุ่มผู้คัดค้านได้ขอแสดงความคิดเห็น แต่เหมือนจะไม่จบง่ายและเพิ่มระดับความรุ่นแรงมากขึ้น จนผู้จัดงาน โดยนางวิไลรัตน์ต้องกล่าวปิดงานสัมมนากะทันหัน เนื่องจากกลัวจะเกิดเหตุจะบานปลายขึ้น ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาบางคนถึงกับเซ็งเพราะตั้งใจมาฟังและแสดงความคิดเห็นเต็มที่ แต่ต้องกลับบ้านก่อนกำหนดงานสัมมนาจะเลิก ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าไปไกล่เกลี่ยกับกลุ่มผู้คัดค้านจนสลายตัวไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2019 10:25 am    Post subject: Reply with quote

ทุ่มแสนล้านปฎิวัติเดินรถไฟไทย จากระบบ “ดีเซล” สู่ “ไฟฟ้า”

พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 06:46 น.

Click on the image for full size
แผนฟื้นฟูกิจการล้างหนี้เฉียด 2 แสนล้านบาทของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อายุ 129 ปี นอกจากจะเร่งแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่ที่ปูพรมเฟสแรก 1,681 กม. ครอบคลุมเหนือจดใต้ให้เสร็จปี 2562-2566 ดันรถไฟชานเมืองสายสีแดงเปิดบริการในเดือน ม.ค. 2564 เปิดกรุที่ดินเปิดประมูล PPP พัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้เข้าองค์กรในระยะยาว

หนึ่งในนั้นมีแผนจะเปลี่ยนการเดินรถไฟ จากปัจจุบันขับเคลื่อนด้วย “ระบบดีเซล” เป็น “ระบบไฟฟ้า” หวังลดการซ่อมบำรุงและมลพิษในอนาคต

“วรวุฒิ มาลา” รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯ ฉายภาพให้ฟังว่า ทั่วโลกจะเลิกใช้ดีเซลแล้ว การรถไฟฯต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ โดยมีแผนจะเปลี่ยนการเดินรถรถไฟทาง 1 เมตร จากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากระบบไฟฟ้าจะมีต้นทุนถูกกว่าดีเซล 25-30% และลดค่าซ่อมบำรุงรางประมาณ 2-5%

ที่ผ่านมาศึกษาไว้ 4 เส้นทาง ใช้เงินลงทุนรวม 100,907 ล้านบาท ได้แก่ ชุมทางบางซื่อ-บ้านภาชี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 252 กม. วงเงิน 28,720.24 ล้านบาท, ชุมทางบางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย-จิระ

ระยะทาง 243 กม. วงเงิน 23,682.12 ล้านบาท, ชุมทางบางซื่อ-หนองปลาดุก-หัวหิน ระยะทาง 209 กม. วงเงิน 33,572.42 ล้านบาท และชุมทางบางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา ระยะทาง 160 กม. วงเงิน 10,127.29 ล้านบาท

“แนวคิดการพัฒนาจะขีดรัศมีไว้รอบกรุงเทพฯ ระยะแรก 100 กม. เป็นแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟสายสีแดง จากบางซื่อไปนครปฐม พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา จะเร่งให้เสร็จในปี 2563-2564 เป็นแนวเส้นทางเดียวกับสายสีแดงก่อน คือบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ที่จะมีทั้งระบบรถไฟฟ้าและดีเซลวิ่งเข้าที่สถานีกลางบางซื่อ จะต้องทยอยลดดีเซลที่จะวิ่งเข้ามาในเมืองและบทบาทของสถานีหัวลำโพง ที่ยกเลิกการใช้งานในอนาคต โดยจะเร่งจัดซื้อรถจักรไฟฟ้าและรถชุดไฟฟ้า EMU”

ส่วนระยะที่ 2 รัศมี 250 กม. ไปหัวหิน ปากน้ำโพ ชุมทางจิระ และระยะที่ 3 รัศมี 500 กม. ครอบคลุมถึงพิษณุโลก ชุมพร ขอนแก่น

นายวรวุฒิกล่าวย้ำว่า การเปลี่ยนเดินรถเป็นระบบไฟฟ้า จะทำให้สามารถแข่งขันด้านความเร็วได้ เนื่องจากสามารถทำให้การเดินรถวิ่งได้เร็วขึ้น เช่น ไปพิษณุโลก ใช้เวลาต่ำกว่า 3 ชั่วโมง เป็นต้น จะทำให้คนหันมาใช้บริการรถไฟมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ฝ่ายการตลาดจะต้องหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เจาะกำลังซื้อในช่วงสถานีปลายทาง จะต่อยอดการเดินทางของผู้โดยสารให้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ยังไง ซึ่งตลาดในอนาคตของรถไฟจะอยู่ช่วงตรงกลาง คือ รัศมี 250 กม. จากกรุงเทพฯ

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รถไฟ เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2562 ที่ผ่านมารับทราบแผนจากนี้จะต้องจ้างที่ปรึกษาจัดทำรายละเอียด และจัดลำดับความสำคัญของ 4 เส้นทางใหม่ให้สอดรับกับสภาพปัจจุบัน จากเดิมผลการศึกษาจะเริ่มจากเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากบางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย-จิระก่อนเป็นลำดับแรก แต่เมื่อบริบทเปลี่ยนต้องกลับมาพิจารณาแผนแม่บทที่ทำใหม่ โดยจะเริ่มเส้นทางรถไฟทางไกลช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชันก่อน โดยติดสายไฟฟ้าวงเงิน 1,700 ล้านบาท เพื่อให้โครงการเกิดได้เร็ว รับเปิดสถานีกลางบางซื่อในปี 2564

ขณะที่แผนโดยภาพรวมจะเร่งศึกษารายละเอียดให้เสร็จปี 2563 ประมูลปี 2564 และเดินรถปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2019 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้เรามาพูดถึงเรื่องแผนการเดินรถไฟ ด้วยไฟฟ้า ของการรถไฟ ซึ่งแบ่งได้ 3 ช่วง คือ
1.รถไฟชานเมืองสายสีแดง คือระยะไม่เกิน 100 กม จากบางซื่อ ได้แก่
- บางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี
- บางซื่อ-นครปฐม
- บางซื่อ-ฉะเชิงเทรา

2.รถไฟทางไกลช่วงที่ 1 ระยะ 250 กม จาก กทม. ครับได้แก่ปลายทาง
- นครสวรรค์
- โคราช
- หัวหิน
- พัทยา
มูลค่าการลงทุน ในช่วงนี้ อยู่ที่ 106,000 ล้านบาน ซึ่งรวมค่ารถจักรไฟฟ้าใหม่ครับ

3.รถไฟทางไกลช่วงที่ 2 ระยะ 500 กม จาก กทม. ได้แก่ปลายทาง
- พิษณุโลก
- ขอนแก่น
- ชุมพร
มูลค่าการลงทุน ในช่วงที่ 2 นี้ รวมกันระยะยาวทั่วประเทศ อยู่ที่ 160,000 ล้านบาท ซึ่งรวมรถจักรเช่นกันครับ

สำหรับโครงการ นี้แนะนำไปหาเสียง นโยบายรถไฟฟ้าทั่วประเทศ จริงๆอยากให้พรรคการเมืองไหนก็ได้เอาไปเป็นนโยบายเลยครับ

เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคได้ครับ

ดูรายละเอียดจากในรูปครับ

รายละเอียดเก่าที่เคยนำเสนอข้อมูลไว้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/609857459452737?sfns=mo
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/619278628510620
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2019 7:19 pm    Post subject: Reply with quote

Railway Electrification

เวลามีใครพูดถึงเทคโนโลยีระบบราง ที่กระโดดข้ามไปไกลๆ ผมมักตามไม่ทัน ผมคิดช้าครับ เพราะเวลามองคนรอบๆตัวในประเทศเราแล้ว มองย้อนกลับไปที่ ความพร้อมอะไรหลายๆอย่างก็อดคิดไม่ได้ว่า รีบไปไหม ผมไม่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ High Speed Rail และก็ไม่เคยไปอบรมที่จีน อะไรแบบที่เขาไปกันหลายๆวัน เพราะรู้สึกว่าถ้าไปแค่ดูแล้ว ยังทำเองหรือดำเนินการเองไม่ได้ มันน่าเสียดายเวลามากกว่า

ยิ่งตอนนี้กระแสอะไรที่มันเรียกว่า Loop Loop ผมยิ่งไม่สนใจเพราะยังไม่เห็นว่าจะสร้างได้จริงหรือไม่ และเป็นอะไรที่พื้นฐานด้านวิศวกรรมคนของเรายังได้เพียงเท่านี้ ยิ่งความเอาใจใส่ต่อการพัฒนาช่างเทคนิคเก่งๆ แล้วน่าหนักใจ แต่ผมกลับสนใจ สิ่งใกล้ตัวที่ทำให้ ทุกคนสัมผัสได้ และน่าจะเป็นจริงมากที่สุด

ผมอยากเห็นการพัฒนาระบบรถไฟฟ้า บนพื้นฐานโครงสร้าง ขนาดความกว้างราง 1.00 เมตร ที่จะมาทดแทนระบบรถดีเซลที่วิ่งอยู่ทุกวันนี้ ช่วงเวลาการการเปลี่ยนผ่าน มันควรจะค่อยเป็นค่อยไป อย่าให้โดดข้ามแบบในปัจจุบัน เปรียบเสมือนคนที่หุงข้าวด้วยเตาถ่าน มีไม้ขัดหม้อข้าว แต่เพียงชั่วข้ามคืนตื่นมา มีเตาไมโครเวฟ มาวางไว้ในครัว แล้วคนซื้อมาให้บอกว่าเพียงคุณใส่อาหารไปในตู้ตั้งเวลา 3 นาทีมันก็จะสุกแล้วได้กิน แต่ลืมบอกไปว่าภาชนะที่ใส่อาหารเข้าไปไม่ควรเป็นโลหะเพราะมันจะระเบิดในเตาได้

ปัญหาของสภาพรถไฟที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นตัวต้นกำลัง กำลังจะถูกเทคโนโลยีใหม่มาทดแทน แต่ในสภาพความเป็นจริงการก้าวข้ามไปสู่ระบบที่คนฐานะทั่วไปๆเข้าถึงยาก หนทางมันก็ไม่ต่างจากลิงแก้แห คือไม่ตอบโจทย์ สภาพจริงๆ เราพยามผลักดัน ให้รถโครงข่าย ของ รฟท.เพื่อเปลี่ยนระบบไปสู่ระบบรถไฟฟ้าที่ผ่านมา วันนี้ย่างเข้าเป็นปี ที่ 5แล้ว

ประเด็นมันอยู่ที่ว่าต้นทุนต่างๆที่เกิดขึ้นมันผูกโยงต่อจากการใช้เครื่องยนต์ดีเซลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง 2,700 ล้านบาทต่อปี ยังไม่รวมค่าซ่อมบำรุงรายปี และค่าใช้จ่ายในการจัดหาอะไหล่ซ่อม แรงงานอีกมากมาย

การพัฒนาหรือเปลี่ยนถ่าย บางคนไม่เข้าใจ บอกควรทำระบบไฟฟ้าทั้งเส้นผมบอกเสมอว่า ไม่ควรเอาความรู้สึกมาคุยแต่ควรเป็นข้อมูลเชิงสถิติและความเป็นไปได้มากกว่า ญี่ปุ่นเองมีระบบไฟฟ้าทั้ง AC และ DC เพียง 55.5 % ในเส้นทาง Conventional Lines ของ JRs และส่วนมากติดตั้งบนทางคู่ ในขณะที่บนเส้นทางรางเดี่ยวหรือความหนาแน่นของผู้โดยสารน้อย ก็ยังคงใช้รถดีเซลรางวิ่งอยู่เพราะยังไม่จำเป็น ผมยังคงเดินต่อในระบบ Meter Gauge ครับ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10210914274007380&set=a.1226096467069&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2019 7:52 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ผุดรถไฟติดแอร์สู้ศึกโลว์คอสต์
ไทยโพสต์ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 07:30 น.

13 มิ.ย. 2562 นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่าในอนาคต รฟท.ตั้งเป้าพลิกโฉมรถไฟโดยสารให้ก้าวไปสู่ระบบไฟฟ้าที่มีการเดินรถไฟปรับอากาศ ขณะนี้ได้เริ่มต้นดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต เป็นรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการในปี 2564 จากนั้นรฟท.มีแผนต่อขยายสายสีแดงไปทุกมุมปริมณฑล ด้านทิศเหนือ ช่วงบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และเชื่อมต่อไปถึงสถานีบ้านภาชี จังหวัดอยุธยา ด้านทิศตะวันตก ช่วงบางซื่อ-ศาลายา-นครปฐม และทิศใต้ช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง-มหาชัย

อย่างไรก็ตามตอนนี้ครม.ได้อนุมัติการก่อสร้างโครงการช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายาและช่วงตลิ่งชัน-ศิริราข จะทยอยออกTOR และเปิดประมูลต่อไป

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าสำหรับแผนพัฒนาระบบไฟฟ้าในการเดินรถขั้นต่อไปนั้นวางแผนไว้ 2 ระยะ เริ่มจากเฟส 1 รัศมี 300 กม. สายเหนือ ช่วงกรุงเทพ-นครสวรรค์ สายใต้ช่วงกรุงเทพ-หัวหิน และสายอีสานช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ส่วนเฟส 2 รัศมีมากกว่า 500 กม. แบ่งเป็น ช่วงนครสวรรค์-พิษณุโลก, ช่วงหัวหิน-สุราษฎร์ธานีและช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น

อย่างไรก็ตามรถไฟที่นำมาจะเป็นรถรุ่นใหม่ที่มีการใช้ระบบปรับอากาศ ขณะที่รถไฟดีเซลแบบเก่านั้นจะนำไปวิ่งในเส้นทางไกลแทน

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่าแผนการตลาดของรฟท.ในอนาคตต้องปรับตัวเพื่อแข่งขันกับธุรกิจการบินต้นทุนต่ำ(Low Cost Airline) จึงต้องช่วงชิงสัดส่วนผู้โดยสารมาในระบบราง ดังนั้นจึงมองว่าจุดยุทธศาสตร์เฟส 1 ใน หัวหิน, นครราชสีมาและนครสวรรค์ เป็นจุดที่แข่งขันทางการตลาดได้ มีศักยภาพด้านการเดินทางและนักท่องเที่ยว

ด้านนายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเจรจาภาระหนี้ที่ค่าชดเชยโครงการโฮปเวลล์นั้นสำหรับเงินต้นยังไม่รวมดอกเบี้ยที่รัฐบาลต้องชำระให้เอกชนจำนวน 11,888 ล้านบาทนั้น รฟท. อยู่ระหว่างตรวจสอบรายละเอียดค่าเสียหายของภาระหนี้วงเงิน 9,000 ล้านบาทให้ชัดเจนก่อนโดยจะเชิญโฮปเวลล์เข้ามาหารือในสัปดาห์หน้า

“ ซึ่งวงเงินดังกล่าวได้มาตามที่อนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ โดยวงเงิน 1.4 หมื่นล้านเป็นค่าก่อสร้างแต่ถูกตัดในชั้นศาลแล้วเหลือ 9,000 ล้านบาทและเอาไปรวมกับในงบ 2,850 ล้านบาทค่าใช้ประโยชน์ที่ดิน และค่าธรรมการดำเนินการอีก 38 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวน 9,000 ล้านบาทจะขอดูรายละเอียดเพิ่มเติม โดย 1-2 วันนี้จะเร่งรวบรวมประเด็นคำถามต่างๆให้ครอบคลุมเพื่อส่งให้โฮปเวลล์ต่อไป”นายเอกกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2019 4:06 pm    Post subject: Reply with quote

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ประชุมหารือแผนเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้า

วันที่ 6 สิงหาคม 2562 เวลา 13.30 น. นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ประชุมหารือแผนเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้า โดยมี ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วมการหารือ ณ ห้องประชุม 4 กระทรวงคมนาคม เพื่อขับเคลื่อนการเดินรถไฟทางไกลจากรถจักรดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า ซึ่งปลัดกระทรวงคมนาคม ได้แนะนำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดทำ Roadmap พร้อมผลการศึกษาที่ชัดเจนในการเปลี่ยนระบบจากรถจักรดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า เช่น ความเหมาะสม ความคุ้มทุน การลดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรองรับเทคโนโลยีของรถไฟที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2446025745444356&set=a.1969348579778744&type=3&theater



คมนาคมมอบรถไฟศึกษาเปลี่ยนหัวจักรเป็นไฟฟ้า
วันอังคาร ที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 17.01 น.




นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ประชุมหารือแผนเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้า โดยมี ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เข้าร่วมการหารือ เพื่อขับเคลื่อนการเดินรถไฟทางไกลจากรถจักรดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า ซึ่งได้มอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดทำ Roadmap พร้อมผลการศึกษาที่ชัดเจนในการเปลี่ยนระบบจากรถจักรดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า เช่น ความเหมาะสม ความคุ้มทุน การลดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรองรับเทคโนโลยีของรถไฟที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น


“สำหรับรายละเอียดผลการศึกษาโครงการดังกล่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย มีผลการศึกษาอยู่แล้ว ซึ่งการเปลี่ยนการใช้แบบรถไฟฟ้านั้นนอกจากผู้โดยสารจะได้ประโยชน์ สิ่งแวดล้อมก็จะได้ดีด้วย นอกจากนี้ สนข.มีแผนแม่บทที่ได้ดำเนินการศึกษาการใช้ประโยชน์ ในปี 2560-2564 จะต้องมีโรดแมปในการเปลี่ยนระบบรถดีเซลให้เป็นระบบรถไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้การรถไฟอยู่ระหว่างจัดทำทีโออาร์ เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ในทีโออาร์ต้องระบุเรื่องของเทคโนโลยีรถไฟฟ้าด้วย โดยจะต้องเป็นระบบที่สามารถรองรับได้ในอนาคตด้วย 5-10 ปีข้างเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ สำหรับการจ้างที่ปรึกษานั้น คาดว่าจะได้ที่ปรึกษาอีก 2 เดือน และภายในเดือนมีนาคม 2563 จะศึกษาเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นจะต้องทำโครงการเสนอเพื่อพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ในที่ประชุมเสนอให้กำหนดเปลี่ยนหัวลากรถจักรโดยกำหนดไว้เบื้องต้น 2 จุด ประกอบด้วย สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี และสถานีรถไฟนครปฐม อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษารายละเอียดด้านกายภาพและรายละเอียดก่อนว่าจุดใดมีการให้บริการของขบวนรถไฟจำนวนมาก”นายชัยวัฒน์ กล่าว


นอกจากนี้ นายชัยวัฒน์ ยังได้เป็นประธานการประชุมพิจารณาข้อเสนอการเพิ่มพันธกิจให้กับบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) เพื่อให้เป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ประกอบด้วย 1. รฟท. ได้จัดทำแผนบริหารความเสียง ซึ่งหาก รฟฟท. ไม่สามารถดำเนินการตามแผนหรือตัวชี้วัด ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ภายใน 5 ปี รฟท. จะพิจารณาให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน /2. จัดทำแผนถ่ายโอนพนักงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ / 3.จัดทำแผนการดำเนินการเพื่อจัดหารายได้เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น /4.ปรับการประมาณการค่าใช้จ่ายในช่วง 5 ปีแรกให้น้อยลง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานจริง / 5.ปรับลดวงเงินในการจัดหาอะไหล่เริ่มต้น /6.ปรับความรับผิดชอบในการรับภาระดอกเบี้ยเงินทุนเริ่มต้นให้สอดคล้องกับรูปแบบการลงทุน จากการวางแผนทางการเงิน


สำหรับการอนุมัติกรอบวงเงินการบริการจัดการเดินรถจะอยู่ที่ 3,300 ล้านบาท โดยเป็นการบริหารจัดการระยะเวลา 5 ปี ซึ่งในปีแรกจะอนุมัติให้วงเงิน 989 ล้านบาท เป็นการลงทุนค่าอะไหล่ และการชดเชยการขาดทุน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบเรื่องของอัตรากำลังจำนวน 806 คน อย่างไรก็ตาม หากจำนวนบุคลากรไม่เพียงก็สามารถดำเนินการในลักษณะอัตราจ้างชั่วคราวแทน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2019 10:33 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

คมนาคมมอบรถไฟศึกษาเปลี่ยนหัวจักรเป็นไฟฟ้า
วันอังคาร ที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 17.01 น.


แผนไม่ชัด! เปลี่ยนเดินรถ “ดีเซล” สู่ “ไฟฟ้า” เร่งศึกษาทำ Roadmap
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 20:10
ปรับปรุง: วัน พุธ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08:59




คมนาคมสั่ง ร.ฟ.ท.เร่งศึกษา Roadmap เปลี่ยนหัวจักรเป็นไฟฟ้า หวั่นเปิดสถานีบางซื่อเกิดปัญหา วาง บ้านภาชีจุดเปลี่ยนหัวลากเข้าบางซื่อ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมแผนเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าเพื่อ ขับเคลื่อนการเดินรถไฟทางไกลจากรถจักรดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า โดยมีผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วม โดยให้ ร.ฟ.ท.จัดทำ Roadmap พร้อมผลการศึกษาที่ชัดเจนในการเปลี่ยนระบบจากรถจักรดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า เช่น ความเหมาะสม ความคุ้มทุน การลดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรองรับเทคโนโลยีของรถไฟที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น ซึ่ง ร.ฟ.ท.แจ้งว่าขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำ TOR เพื่อจ้างที่ปรึกษาจัดทำ Roadmap โดยจะจัดจ้างได้ภายใน 2 เดือนนี้ และใช้เวลาศึกษา 4-5 เดือน คาดว่าจะสรุปผลได้ในเดือน มี.ค. 2563

นอกจากนี้ ยังให้เร่งวางแผนเพื่อรองรับการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อในเดือน ม.ค. 2564 เนื่องจาก สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีปิด การใช้หัวรถจักรลดมลภาวะจากควันรถจักรดีเซล โดยเห็นว่าการเปลี่ยนเดินรถเป็นระบบไฟฟ้าจะทำให้สามารถแข่งขันด้านความเร็วได้ และจะต้องมีการลงทุนหัวจักรไฟฟ้า รถไฟต้องคำนวณเรื่องความคุ้มทุนด้วย ดังนั้นจะต้องเป็นเส้นทางที่มีปริมาณการเดินรถไม่ต่ำกว่า 80 ขบวนต่อวันจึงจะคุ้มค่า

ทั้งนี้ เห็นว่าหากไม่สามารถลงทุนได้ในคราวเดียว ช่วงแรกจะเริ่มจากการใช้ชุมทางบ้านภาชี ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเส้นทางสายเหนือและสายอีสาน เป็นจุดเปลี่ยนหัวลากจากดีเซลเป็นไฟฟ้าเพื่อเข้าสู่บางซื่อส่วนสายใต้ใช้นครปฐมเป็นจุดเปลี่ยน โดย ร.ฟ.ท.จะต้องศึกษาแผนนำเสนอต่อไป

“ตามการศึกษาแผนแม่บทระบบรางของ สนข. นอกจากเพิ่มโครงข่ายรถไฟทางคู่แล้ว จะต้องเปลี่ยนหัวจักรดีเซลเป็นระบบไฟฟ้าในปี 2560-2564 ซึ่งวันนี้ ร.ฟ.ท.เสนอแผนการเดินรถจักรไฟฟ้าเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่ง สศช.ต้องการให้เห็นภาพรวมก่อนขออนุมัติ จึงต้องมี Roadmap ก่อน” นายชัยวัฒน์กล่าว

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องบุคลากรสำหรับรองรับการเปลี่ยนการเดินรถจากดีเซลเป็นระบบไฟฟ้าให้ทันเวลาด้วย


คมนาคมสั่ง'การรถไฟฯ-รฟฟท.'เร่งหารือบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์'สถานีดอนเมือง'
วันอังคาร ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 18.23 น.


นอกจากนี้ มอบให้การรถไฟฯ จัดทำแผยการดำเนินการและจัดทำผลการศึกษาที่ชัดเจนในการเปลี่ยนระบบจากรถจักรดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า เช่น ความเหมาะสม ความคุ้มทุน การลดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรองรับเทคโนโลยีของรถไฟที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น โดยได้มีการกำหนดเปลี่ยนหัวลากรถจักร โดยกำหนดไว้เบื้องต้น 2 จุด ได้แก่ สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี และสถานีรถไฟนครปฐม ที่ถือเป็นจุดที่รถไฟจะกระจายไปยังเส้นทางเหนือ อีสาน และใต้ ซึ่งต้องศึกษารายละเอียดด้านกายภาพและรายละเอียดก่อนว่าจุดใดมีการให้บริการของขบวนรถไฟจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ทาง สนข.มีแผนแม่บทที่ได้ดำเนินการศึกษาการใช้ประโยชน์ในปี 2560 - 2564 ในการเปลี่ยนระบบรถดีเซลให้เป็นระบบรถไฟฟ้าที่ขณะนี้การรถไฟอยู่ระหว่างจัดทำร่างTOR เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษา และในร่าง TOR นั้นจะต้องมีการระบุเกี่ยวกับเทคโนโลยีรถไฟฟ้าและจะต้องสามารถรองรับได้ในอนาคต 5 - 10 ปีข้างหน้าด้วย ส่วนการจ้างที่ปรึกษานั้นก็คาดว่าจะได้ที่ปรึกษาอีก 2 เดือน และภายในเดือน มี.ค.2563 จะศึกษาเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นจะต้องทำโครงการเสนอเพื่อพิจารณาต่อไป

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมระบุว่า สำหรับข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ประกอบด้วย
1.การรถไฟฯได้จัดทำแผนบริหารความเสียง ซึ่งหาก รฟฟท.ไม่สามารถดำเนินการตามแผนหรือตัวชี้วัด ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ภายใน 5 ปี การรถไฟฯจะพิจารณาให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน
2. จัดทำแผนถ่ายโอนพนักงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
3.จัดทำแผนการดำเนินการเพื่อจัดหารายได้เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น
4.ปรับการประมาณการค่าใช้จ่ายในช่วง 5 ปีแรกให้น้อยลง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานจริง
5.ปรับลดวงเงินในการจัดหาอะไหล่เริ่มต้น
6.ปรับความรับผิดชอบในการรับภาระดอกเบี้ยเงินทุนเริ่มต้นให้สอดคล้องกับรูปแบบการลงทุนจากการวางแผนทางการเงิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2019 6:08 am    Post subject: Reply with quote

การขึงสายส่งไฟฟ้า (OCS) รถไฟฟ้าสายสีแดง

วันนี้ขอเข้าภาคทฤษฎี ของระบบรถไฟฟ้า หน่อยนะครับ อาจจะเบื่อหน่อน และผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอะไรมาก ถ้าผิดตรงไหน แย้งได้เลยนะครับ

ก่อนอื่น ขออ้างอิง เอกสารคำอธิบายระบบจายไฟของระบบรถไฟฟ้า ของ อ.มงคล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี

พอดีหาเจอทางอินเตอร์เน็ต แต่เป็นข้อมูลที่ดีมาก ตามลิ้งค์นี้เลยครับ: RAILWAY ELECTRIFICATION AND RAILWAY TRACTION SYSTEMS

เรามาทำความรู้จักกับระบบจ่ายไฟฟ้า ของรถไฟฟ้าสายสีแดง กันก่อน

————————————

ระบบนี้เรียกว่า Overhead Catenary System หรือ OCS

ซึ่งรูปแบบเดียวกับ รถไฟฟ้า Airport Link

ข้อดีของมันคือ สามารถ ทำความเร็วสูงมากกว่า 80 กม/ชม ได้โดยไม่มีการสึกหรอมากแบบ 3rd Rail ของ BTS และ MRT

ในระบบของรถไฟฟ้า สายสีแดง

ในเส้นทางหลัก จะใช้รูปแบบ 2 X 25 KV AC ซึ่งเป็นการทำสายส่งไฟฟ้า ขนาด 25 KV ขนานไปกับสายจ่ายลงตัวรถไฟฟ้า เพื่อจ่ายกับระบบ Auto Transformers จ่ายเข้าสายส่งเป็นช่วงๆ

ในโรงซ่อมบำรุง และย่านจอดรถจักร จะใช้ 1 X 25 KV AC (แบบ ARL)

————————————

รูปแบบการขึงสาย

ในเส้นทางหลัก จะใช้การขึงสายแบบ TGV Atlantic

ภายในโรงซ่อมบำรุง ใช้การจ่ายผ่านรางยึดตรึง กับตัวจับ สามารถพับได้ เพื่อทำการซ่อมบำรุง บนหลังคารถไฟฟ้า โดยสามารถ ปลดไฟฟ้า ออกจากสายส่งไฟฟ้าได้

ในย่านจอดรถจักร จะใช้การขึงสายแบบ Trolley

———————————

ใครอยากเพิ่มเติมข้อมูลอะไรก็มาคอมเมนท์ได้เลยครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/768898753548606
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2020 9:57 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.วัดใจสศช.ให้ผ่าน 3 สาย
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563


ลุยศึกษาทางคู่”ศรีราชา-ระยอง”อีก2ปีประมูล
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563



ร.ฟ.ท.เร่งเดินหน้ารถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-ระยอง -จันทบุรี -ตราด (คลองใหญ่) หลังรับฟังความเห็นประชาชน หนุนเส้นทางอีอีซี ขณะที่รถไฟทางคู่เฟส 2 เตรียมเสนอของบ สภาพัฒน์ฯ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย เชื่อมทางคู่จิระ - แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด รวมถึงรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร - สุราษฎร์ฯ คาดประมูลปลายปี 65

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงศรีราชา-ระยอง จันทบุรี ตราด(คลองใหญ่) ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้ศึกษาความเหมาะสม และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปอยู่ระหว่างขออนุมัติงบประมาณเพื่อออกแบบโครงการ ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ช่วงระยอง จันทบุรี ตราด ยังอยู่ระหว่างการศึกษา

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ได้ศึกษาความเหมาะสมของรถไฟทางคู่ ช่วงระยอง จันทบุรี ตราด แล้วเสร็จ เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา มีระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งเป็นรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1 เมตร โดยประเมินงบประมาณลงทุนราว 5-6 หมื่นล้านบาท โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าในกลุ่มผลไม้ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของภาคตะวันออก และมีการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศจำนวนมาก "รถไฟทางคู่เส้นใหม่ ระยอง จันทบุรี ตราดนี้ จะเป็นเส้นทางรถไฟสายหลักที่สนับสนุนการขนส่งสินค้าและขนส่งผลไม้ และกระจายการกระจุกตัวของภาคการท่องเที่ยวไปยังทะเลตราด โดยขั้นตอนหลังจากศึกษาเสร็จ การรถไฟฯ ตั้งเป้าจะของบประมาณประจำปี 2564 เพื่อออกแบบ โดยใช้เวลาออกแบบราว 1 ปี หลังจากนั้นจะเสนอขออนุมัติจากสภาพัฒน์ฯ กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมกับออก พรฎ.เวนคืนที่ดิน หากไม่ติดปัญหาก็คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลงานก่อสร้างได้ปลายปี 2565 ซึ่งจากการรับฟังความเห็น ประชาชนและเอกชนให้การตอบรับดี ดีมานด์ความต้องการใช้มีสูง" ขณะที่โครงการไฮสปีดเทรน ช่วงระยอง จันทบุรี ตราด ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ ร.ฟ.ท.ศึกษาเพื่อขยายแนวเส้นทางต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยแนวเส้นทางจะคู่ขนานไปกับรถไฟทางคู่ แต่สาเหตุที่ ร.ฟ.ท.เริ่มศึกษา เพราะต้องการทราบถึงดีมานด์การเดินทางและสนับสนุนการขยายเมืองให้มากขึ้น เบื้องต้นได้ประเมินว่าไฮสปีดเทรนอาจจะยังไม่ได้พัฒนาในเร็วๆ นี้ หากเทียบกับความคุ้มค่าของรถไฟทางคู่ที่มีมากกว่า หากจันทบุรี และตราด มีความต้องการเดินทางสูง ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวอีกว่า ปัจจุบันโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ที่ ร.ฟ.ท.ศึกษาแล้วเสร็จไปก่อนหน้านี้ อยู่ระหว่างการเสนอข้อมูลเพิ่มเติมให้กับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. เบื้องต้น คาดว่า สศช.อาจจะไม่อนุมัติให้พัฒนาทุกโครงการที่ยังค้างอยู่รวม 7 เส้นทาง เนื่องจากต้องจัดสรรงบประมาณการลงทุน จึงคาดว่าโครงการที่มีความเหมาะสม และอาจได้รับการอนุมัติให้พัฒนาก่อน อาทิ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางเชื่อมกับทางคู่จิระ - แก่งคอย และเชื่อมต่อถึงท่าเรือมาบตาพุด รวมถึงรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร - สุราษฎร์ฯ เนื่องจากปัจจุบันรถไฟทางคู่มีการพัฒนาไปถึงช่วงชุมพร และต่อจากนั้นยังเป็นระบบรถไฟทางเดี่ยว ส่งผลให้มีปัญหาคอขวด ในช่วงชุมพร - สุราษฎร์ฯ หากได้รับการอนุมัติให้พัฒนา ก็จะช่วยลดปัญหา เช่นเดียวกับช่วงจิระ - อุบลราชธานี ถือเป็นอีกแนวเส้นทางที่จะสนับสนุนการเดินทางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีปริมาณความต้องการเดินทางสูงอย่างต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2020 11:13 pm    Post subject: Reply with quote

แผนติดระบบรถไฟฟ้า ทั้งในทางสายประธานและย่านสถานี
Series แผนการทำทางคู่ติดระบบไฟฟ้า (Railway Electrification) EP.1 พื้นที่ และเส้นทาง

วันนี้ขอเปิด Series ใหม่อีก 1 เรื่อง คือแผนการทำทางคู่ติดระบบไฟฟ้า (Railway Electrification) ตามแผน กันยายน 59

แต่ขอแบ่งเป็นตอนๆ เพราะรายละเอียดเยอะและน่าสนใจมาก ทำโพสต์เดียวคงไม่หมด และไม่หนำใจเพื่อนๆ

วันนี้ขอเปิด EP.1 ด้วยเส้นทางโครงการ และ งานเส้นทางที่ต้องปรับปรุง เพื่อให้รองรับการเดินรถไฟด้วยไฟฟ้า รวมถึงการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot)

เรามารู้จักคำว่าทางคู่ติดระบบไฟฟ้า (Railway Electrification) ก่อนครับ

*** เป็นการปรับรูปแบบแหล่งพลังงานของรถไฟ ***

จากการใช้น้ำมันดีเซล มาปั่นไฟ และจ่ายลงมอเตอร์ไฟฟ้า ของหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน เกือบทุกรุ่น

มาเป็นการรับไฟฟ้าจากจากสายส่งไฟฟ้าเหนือหัว (OCS) หรือจากราง 3 (3rd Rail) ที่มีแรงดันไฟฟ้าต่างๆ เช่น 25 K VAC ของรถไฟฟ้าสายสีแดง หรือ 750 VDC ของรถไฟฟ้าในเมือง เช่น BTS และ MRT

ซึ่งจะจ่ายไฟฟ้ามาที่หัวรถจักร(EL) หรือขบวนรถไฟฟ้า ชุด (EMU) ซึ่งทั้ง 2 อย่างที่ว่ามา ก็จะมีแบบที่ใช้ แหล่งพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว หรือแบบที่ใช้แหล่งพลังงานได้ท้ง 2 แบบ คือไฟฟ้า และ ดีเซล ที่หลายคนเรียกว่า Bi-Mode นั่นแหละครับ

เส้นทางที่มีการศึกษาติดตั้งระบไฟฟ้าบนทางคู่ คือระยะ 250 กิโลเมตร จากกรุงเทพ

ตามเส้นทางคู่ใหม่ 4 สาย ได้แก่

- สายเหนือสิ้นสุดที่ สถานีปากน้ำโพ (นครสวรรค์)
- สายใต้สิ้นสุดที่ สถานีหัวหิน
- สายอิสานสิ้นสุดที่ สถานีนครราชสีมา
- สายตะวันออกสิ้นสุดที่ สถานีพัทยา

ในโครงการได้ทำการศึกษาและรวมรวมโครงการที่จะพัฒนาในเส้นโครงการหลายๆโครงการเพื่อจะรวบรวม ส่วนที่ขาดมาใส่ในโครงการนี้

ซึ่งในพื้นที่ชั้นใน และปริมณฑล จะทับซ้อนกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้งโครงการ ตั้งแต่ นครปฐม - บางซื่อ- ฉะเชิงเทรา และ บ้านภาชี - อยุธยา - บางซื่อ - กรุงเทพ (หัวลำโพง)

ส่วนพื้นที่เลยไป จะแบ่งเป็น 4 สายทางคือ
- สายเหนือ

ช่วง บ้านภาชี-ลพบุรี จะทับซ้อนกับ เส้นทางคู่เดิม (ต้องปรับปรุงเส้นทางและอาณัติสัญญาณให้สอดคล้องกับมาตรฐาน)

ช่วง ลพบุรี-ปากน้ำโพ จะทับกับทางคู่ใหม่ (กำลังก่อสร้าง) ซึ่งออกแบบให้รองรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าอยู่แล้ว

- สายใต้

ช่วง นครปฐม-หัวหิน จะทับกับทางคู่ใหม่ (กำลังก่อสร้าง) ซึ่งออกแบบให้รองรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าอยู่แล้ว

- สายอิสาน

ช่วง บ้านภาชี-มาบกะเบา จะทับซ้อนกับ เส้นทางคู่เดิม (ต้องปรับปรุงเส้นทางและอาณัติสัญญาณให้สอดคล้องกับมาตรฐาน)

ช่วง มาบกะเบา-นครราชสีมา จะทับกับทางคู่ใหม่ (กำลังก่อสร้าง) ซึ่งออกแบบให้รองรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าอยู่แล้ว

แต่ในช่วง คลองขนาดจิตร-ชุมทางถนนจิระ ยังติดขัดกับปัญหาทางยกระดับกลางเมืองโคราช ซึ่งทางคนโคราชต้องการให้ยกระดับ เลยต้องมีการแก้ไขแบบใหม่ทั้งหมด อาจจะเริ่มงานช้าไปอีก 1-2 ปี

- สายตะวันออก

ช่วงฉะเชิงเทรา-พัฒนา จะทับกับโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ เส้นทาง (อยู่ในช่วงออกแบบ และของบประมาณ) ซึ่งออกแบบให้รองรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าอยู่แล้ว

————————
ซึ่งการติดตั้งระบบไฟฟ้าในทางคู่ จะมีความต้องการพื้นที่ในการติดตั้งระบบต่างๆ เพิ่มขึ้นจากเดิม

เนื่องจากจะต้องมีการติดตั้งระบบส่งไฟฟ้าไฟฟ้าเหนือหัว (OCS) รวมถึงการปรับปรุงอาณัติสัญญาณ และทำให้ทางรถไฟเป็นระบบปิด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและเพิ่มความเร็วในการเดินรถ

พื้นที่ปลอดภัยใหม่ของทางรถไฟมีรายละเอียดตามนี้

- ด้านความสูง ต้องมีอย่างน้อย 5.9 เมตร
- ด้านกว้าง ต้องมีอย่างน้อย 3.7 เมตร

โดยการทำทางรถไฟระบบปิด ปลอดจุดตัดรถไฟ และทางลักผ่าน 100%

ซึ่งในโครงการทำการสำรวจเส้นทางเพื่อรองรับการติดตั้งระบบไฟฟ้า

พบว่ามีโครงสร้างที่ไม่เหมาะสมในการติดตั้งระบบไฟฟ้าหลายจุด เช่น
- หลังคาสถานี
- สะพานข้ามถนน ซึ่งมีความสูงไม่เพียงพอ
- สายไฟต่างๆที่ข้ามทางรถไฟ

ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ในโครงการ

ในโครงการจะมีรูปแบบ ของศูนย์ซ่อมบำรุง เป็น 4 แบบ คือ

1. โรงซ่อมบำรุงหลัก จะอยู่ที่สถานีพระแก้ว
2. โรงตรวจไฟฟ้า อยู่ที่สถานีโคกกระเทียม, นครสวรรค์, ชุมทางถนนจิระ, ดอนสีนนท์, พัทยา และ ห้วยทรายใต้
3. ย่านจอดรถไฟฟ้า อยู่ที่สถานีเชียงราก, โคกกระเทียม, ชุมทางฉะเชิงเทรา, ชุมทางศรีราชาและ ต้นสำโรง
4. อาคารซ่อมบำรุงทาง อยู่ที่สถานีนครสวรรค์, ชุมทางถนนจิระ, พัทยา และห้วยทรายใต้

ซึ่งจุดสำคัญที่สุดในโครงการ คือ โรงซ่อมบำรุงหลัก ที่สถานีพระแก้ว

- เพื่อจะรองรับหัวรถจักรไฟฟ้า (EL) 40 คันในปีแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 168 คัน ในอีก 25 ปี
- ขบวนรถไฟฟ้าชุด (EMU) 79 คัน (26 - 27 ชุดรถ) ในปีแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 99 คัน (33 ชุดรถ) ในอีก 25 ปี

ซึ่งจะมีรายละเอียดการซ่อมบำรุงได้ตามในรูปครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/948704922234654
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 10, 11, 12  Next
Page 2 of 12

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©