RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180618
ทั้งหมด:13491853
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 200, 201, 202 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2019 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ลดค่าตั๋วรถไฟฟ้ามาแน่ นำร่อง"สีม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์" ปลุกเรือขนรถบรรทุกข้ามอ่าวไทย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 30 กรกฎาคม 2562 เวลา 01:31


เป็นไปได้ “ศักดิ์สยาม” แย้มลดค่าโดยสารรถไฟฟ้านำร่อง”สีม่วง-แอร์พอร์ตลิงก์”เร่งหาแนวทางลดสายสีน้ำเงิน-บีทีเอส
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 29 กรกฎาคม 2562 เวลา 13:40 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นโยบายการปรับลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกระบบ ยังต้องศึกษารูปแบบของแต่ละเส้นทางแต่ละระบบ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงก่อนถึงจะสรุปว่าเป็นกี่บาทได้


“หากเป็นโครงการที่รัฐเป็นเจ้าของ ก็จะมีต้นแบบที่สามารถดูแลประชาชนได้ดี แต่หากโครงการไหนที่เป็นการร่วมทุนกับเอกชน ก็ต้องกลับมาตรวจสอบเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้ คาดว่าภายใน 1 เดือนนี้น่าจะมีแนวทางที่จะเดินหน้าได้”



ทั้งนี้ยอมรับว่าอาจมีบางโครงการที่จะลดราคาได้มาก และมีบางโครงการที่สามารถลดราคาได้น้อย อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะสามารถพูดคุยกับทุกฝ่ายทั้งที่เป็นภาครัฐและเอกชนได้ โดยคาดว่าอัตราค่าโดยสารที่จะได้รับการปรับลดลงมาจะได้เห็นในปีนี้แน่นอน อาจจะเป็นสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ และแอร์พอร์ตเรลลิงก์

“ผมว่าบางเส้นทางสามารถดำเนินการได้เลย แต่ต้องขอกลับไปดูข้อมูลก่อน แต่ยืนยันว่าจะไม่ใช้หลักการรัฐเข้าไปอุดหนุนแน่นอน เพราะเป็นการเอาภาษีของประชาชนทั้งประเทศมาใช้ที่กรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียว ถ้าทำ อาจจะต้องตอบคำถามประชาชนที่เสียภาษีทั่วประเทศด้วย ส่วนจะเชิญชวนเอกชนที่รับสัมปทานมาทำโปรโมชั่นหรือไม่นั้น ก็ต้องขอคุยกันก่อน รวมถึงรถไฟฟ้าบีทีเอสที่อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานครด้วย” นายศักดิ์สยามกล่าวย้ำ

รมว.คค.ยันไม่ใช้เงินภาษีอุ้มค่าโดยสารรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสาย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 29 กรกฎาคม 2562 เวลา 18:37

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายในปีนี้กระทรวงคมนาคมเตรียมพิจารณาปรับลดค่าโดยสาร โดยเฉพาะรถไฟฟ้าตามนโยบาย 15 บาทตลอดสาย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน เบื้องต้นจะนำร่อง 2 โครงการที่รัฐลงทุนเอง 100% ได้แก่



1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

2.โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สายพญาไท-สุวรรณภูมิของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

นายศักดิ์สยาม ยืนยันว่า จะไม่ใช้หลักการที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปอุดหนุนงบประมาณ เพื่อไม่ให้กระทบกับภาษีของประชาชนและงบประมาณของประเทศ


Last edited by Wisarut on 30/07/2019 8:17 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2019 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘สามารถ’ชี้ไม่ควรแตะสัมปทาน 15บาทตลอดสายที่รัฐลงทุนเอง
ออนไลน์เมื่อ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,490
วันที่ 25 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562


คำแนะนำจากอาจารย์สามารถ

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ wrote:
เปิดสูตร “หั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้า”
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวเกรียวกราวที่ทำให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้ายินดีปรีดากันทั่วหน้า นั่นคือมีการเสนอข่าวว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 15 บาทตลอดสาย แต่ข้อเท็จจริงที่ รมว.คมนาคมให้สัมภาษณ์และที่จะดำเนินการต่อไปนั้นจะเป็นอย่างไร จะต้องติดตามกันต่อไปว่าจะลดเหลือ 15 บาทหรือไม่ และจะลดตลอดสายหรือไม่

หากย้อนอดีตดูความต้องการที่จะลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าของรัฐบาลที่ผ่านมาด้วยความหวังดีที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้โดยสารรถไฟฟ้า พบว่า ในปี พ.ศ.2548 รัฐบาลภายใต้การนำของนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมีความประสงค์ที่จะลดค่าโดยสารลดไฟฟ้าเหลือ 15 บาทตลอดสาย ด้วยการใช้วิธีการซื้อสัมปทานคืนจากบริษัทผู้รับสัมปทานซึ่งมีอยู่ 2 ราย ประกอบด้วย (1) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ซึ่งรับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ระยะทางรวม 23.5 กิโลเมตร และ (2) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ซึ่งรับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร

หากรัฐบาลทักษิณสามารถซื้อสัมปทานคืนได้สำเร็จ จะทำให้โครงข่ายรถไฟฟ้าในขณะนั้นซึ่งมีระยะทางรวม 43.5 กิโลเมตร เป็นของรัฐบาล การกำหนดอัตราค่าโดยสารให้เหมาะสมหรือไม่แพงก็จะสามารถทำได้โดยง่าย แต่สุดท้ายรัฐบาลทักษิณก็ไม่สามารถซื้อสัมปทานคืนได้ จึงไม่สามารถลดค่าโดยสารให้เหลือ 15 บาทตลอดสายได้

ต่อมาในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งขณะนั้นมีรถไฟฟ้าให้บริการเป็นระยะทางรวมประมาณ 80 กิโลเมตร พรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ติดป้ายหาเสียงทั่วกรุงเทพฯ คุยว่าจะเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยไม่ได้บอกว่าจะต้องรอให้ก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายเสร็จก่อน ประชาชนคนทั่วไปต่างตั้งความหวังว่าจะสามารถใช้รถไฟฟ้าด้วยราคา 20 บาทตลอดสายได้ทันทีหลังจากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล แต่หลังจากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลแล้ว กลับบอกว่าจะลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทตลอดสายได้ก็ต่อเมื่อสร้างรถไฟฟ้าเสร็จครบ 10 สาย ทำให้ประชาชนคนกรุงเทพฯ ต้องพบกับความผิดหวังอีกเป็นครั้งที่ 2 ที่จะใช้รถไฟฟ้าในราคาไม่แพง

มาถึงรัฐบาลปัจจุบันภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้มีรถไฟฟ้าให้บริการเป็นระยะทางรวมประมาณ 130 กิโลเมตร หากหวังที่จะลดค่าโดยสารเหลือ 15 บาทตลอดสาย คงเป็นไปได้ยาก เพราะจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้ผู้รับสัมปทานซึ่งจะต้องสูญเสียรายได้เป็นเงินจำนวนมากจากการลดค่าโดยสาร เช่นบีทีเอสซึ่งมีผู้โดยสารประมาณวันละ 8 แสนคน มีค่าโดยสารเฉลี่ยคนละ 28 บาท หากลดค่าโดยสารเหลือ 15 บาทตลอดสาย รัฐบาลจะต้องชดเชยเงินให้บีทีเอส 13 บาทต่อผู้โดยสาร 1 คน (28-15) คิดเป็นเงินชดเชยวันละประมาณ 10.4 ล้านบาท (13 x 800,000) หรือปีละเกือบ 4 พันล้านบาท ยังไม่รวมเงินชดเชยที่จะต้องจ่ายให้กับบีอีเอ็มผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ หากท่านนายกฯประยุทธ์ ต้องการที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้โดยสารรถไฟฟ้าและต้องการที่จะทำให้มีผู้โดยสารรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นผลสำเร็จ ผมขอเสนอให้ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 15 บาทตลอดสาย เฉพาะเส้นทางที่รัฐบาลลงทุนเองทั้งหมด 100% ตามที่ผมได้เคยเสนอให้เป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งที่มีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่ (บางใหญ่)-เตาปูน ปัจจุบันค่าโดยสารอยู่ระหว่าง 14-42 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง เช่น เดินทางจากคลองบางไผ่ถึงเตาปูนจะต้องเสียค่าโดยสาร 42 บาท หากต้องการเดินทางต่อไปถึงหัวลำโพงจะต้องเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินโดยต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มอีก 28 บาท รวมค่าโดยสารทั้งหมด 70 บาท (42+28) แต่ถ้าลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหลือ 15 บาทตลอดสาย จะทำให้ค่าโดยสารจากคลองบางไผ่ถึงหัวลำโพงลดลงเหลือ 43 บาท (15+28)

2. รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายเหนือ ช่วงหมอชิต-คูคต หากต้องการเดินทางจากคูคตถึงสยาม ตามอัตราค่าโดยสารในปัจจุบันจะต้องเสียค่าโดยสาร 105 บาท แต่ถ้าลดค่าโดยสารช่วงคูคต-หมอชิต เหลือ 15 บาทตลอดสาย จะทำให้ค่าโดยสารลดลงเหลือ 59 บาท (15+44)

3. รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายใต้ ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ หากต้องการเดินทางจากเคหะฯถึงสยาม ตามอัตราค่าโดยสารในปัจจุบันจะต้องเสียค่าโดยสาร 99 บาท แต่ถ้าลดค่าโดยสารช่วงเคหะฯ-อ่อนนุช เหลือ 15 บาทตลอดสาย จะทำให้ค่าโดยสารลดลงเหลือ 59 บาท (15+44)

อนึ่ง รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้งเหนือและใต้นั้น รัฐบาลต้องการให้บีทีเอสลงทุนค่าขบวนรถไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร และระบบตั๋ว เป็นเงินประมาณ 21,000 ล้านบาท ซึ่งผมเห็นว่ารัฐบาลควรลงทุนเองทั้งหมด จะทำให้สามารถลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายเหลือ 15 บาทตลอดสายได้

การลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 15 บาทตลอดสาย จะต้องทำเฉพาะเส้นทางที่รัฐบาลลงทุนเองทั้งหมด 100 % ซึ่งส่วนใหญ่อยู่แถบชานเมืองหรือพื้นที่ที่เป็น “ไข่ขาว” และจะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับเส้นทางที่ให้สัมปทานแก่เอกชนไปแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหรือพื้นที่ที่เป็น “ไข่แดง” เนื่องจากจะต้องเสียเงินชดเชยให้เอกชนจำนวนมาก

หากรัฐบาลสามารถทำได้ตามข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้น จะทำให้พี่น้องประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น เป็นการใช้รถไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ปล่อยให้รถไฟฟ้าชานเมืองโหรงเหรง ไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุน

หากมีผู้โดยสารถไฟฟ้ามากขึ้น จะส่งผลต่อการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ประหยัดเวลาการเดินทาง ลดอุบัติเหตุจราจร ลดมลพิษ รวมทั้งยังสามารถลดฝุ่น PM 2.5 ได้อีกด้วย พูดได้ว่าเกิดประโยชน์ทั้งผู้โดยสารรถไฟฟ้า ผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป ตลอดจนถึงสิ่งแวดล้อมและประเทศชาติโดยรวม

หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลประยุทธ์ จะสามารถลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าได้สำเร็จ ไม่ทำให้พี่น้องประชาชนคนใช้รถไฟฟ้าต้องผิดหวังเป็นครั้งที่ 3 นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2019 7:24 pm    Post subject: Reply with quote

ลดค่ารถไฟฟ้าเจอตอ ‘รฟม.-แอร์พอร์ตลิ้งค์’ขอชดเชยปีละ700ล.
วันจันทร์ ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการให้ลดค่ารถไฟฟ้าเป็น 15 บาทตลอดสาย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ว่า จะต้องรอความชัดเจนของนโยบายจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในเบื้องต้นมองว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-บางใหญ่ และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ มีความพร้อมที่จะดำเนินการก่อน เนื่องจากเป็นรถไฟฟ้าที่ดำเนินการและเก็บรายได้โดยรัฐบาลที่ไม่มีการผูกพันสัญญากับเอกชน จึงไม่ยุ่งยากมากนักในการบังคับใช้ราคาใหม่



ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้น หากดำเนินการปรับอัตราค่าโดยสารจริงก็จะต้องมีการของบอุดหนุนบริกาสาธารณะ (PSO) เพิ่มเพื่อแบกภาระค่าโดยสารดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นปีละ 200-300 ล้านบาท จากปัจจุบันรับเงินอุดหนุนด้านต้นทุนปีละ 1,000 ล้านบาท สำหรับราคาค่าโดยสารสายสีม่วงปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 14-42 บาท



ด้านนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือแอร์พอร์ตลิ้งค์กล่าวว่า การให้ลดค่ารถไฟฟ้าเป็น 15 บาทตลอดสาย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนนั้น ในส่วนของแอร์พอร์ตลิ้งค์จะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เพราะแอร์พอร์ทลิ้งค์เป็นผู้รับจ้างขับรถไฟฟ้าและจัดเก็บรายได้ส่งการรถไฟฯเท่านั้น โดยในปีที่ผ่านมารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์มีรายได้ประมาณ 730 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายประมาณ 700 ล้านบาท แบ่งเป็นต้นทุนเดินรถประมาณ 300 ล้านบาท และค่าต้นทุนอื่นๆ เช่น ค่าซ่อมบำรุงประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งหากมีการลดราคาค่าโดยสารเป็น 15 บาทตลอดสาย จะทำให้รายได้ลดลง 50% หรือลดลงปีละ 300-400 ล้านบาท คำนวณจากค่าโดยสารเฉลี่ยที่ประมาณ 31 บาทต่อคน จากค่าโดยสารปกติ 15-45 บาท จึงต้องขออุดหนุนเงินเพิ่มในส่วนรายได้ที่ขาดหายไป

ทั้งนี้ หากเป็นนโยบายของทางกระทรวงคมนาคม การรถไฟฯคงไม่ขัดข้อง และจากประเด็นดังกล่าวมองว่า สามารถนำมาใช้กับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่จะเปิดบริการในปี 2564 ได้ด้วยแต่จะต้องขอเงินอุดหนุนต้นทุนส่วนต่างจากภาครัฐคล้ายกับกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วงของ รฟม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2019 8:28 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้นลดค่ารถไฟฟ้าปีนี้ ‘ศักดิ์สยาม’นำร่อง‘สายสีม่วง’ก่อน
วันอังคาร ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการทดลองให้บริการ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค เป็นวันแรก โดยมี นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม พร้อมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เข้าร่วม



พร้อมกันนี้นายศักดิ์สยามได้โดยสารรถไฟฟ้าจากสถานีสนามไชย ไปยังสถานีท่าพระ และได้กดปุ่มเปิดประตูรถไฟฟ้าเที่ยวแรกเพื่อเป็นสัญลักษณ์การเปิดทดลองให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง – บางแค พร้อมทั้งได้ทักทายประชาชนกลุ่มแรกที่มารอขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีท่าพระ โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก



สำหรับการเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการวันแรกเป็นส่วนต่อขยาย จากสถานีวัดมังกร – สถานีท่าพระ รวมจำนวน 5 สถานี (ได้แก่ สถานีวัดมังกร สถานีสามยอด สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ และสถานีท่าพระ) โดยไม่คิดค่าโดยสาร ไปจนถึงวันที่ 28 กันยายนนี้ ซึ่งรถไฟฟ้า 3 ขบวน ให้บริการแบบวิ่งไป-กลับ จากสถานีหัวลำโพง ถึงสถานีท่าพระ ระยะห่างระหว่างขบวนประมาณ 8 นาที และผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสายสีน้ำเงิน (สถานีเตาปูน – สถานีหัวลำโพง) จะต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าที่สถานีหัวลำโพง เพื่อเดินทางไปยังสถานีในสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (สถานีวัดมังกร – สถานีท่าพระ)

ส่วนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง - บางแค อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบและจัดเก็บค่าโดยสารตามปกติจากสถานีหัวลำโพง - สถานีหลักสอง จะเริ่มในวันที่ 29 กันยายนนี้ เป็นต้นไป และในต้นปี 2563 จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน - ท่าพระ ด้วย

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะมีการพิจารณาปรับลดค่าโดยสารภายในปี 2562 นี้ โดยเฉพาะรถไฟฟ้า โดยเบื้องต้นจะมีการนำร่อง 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน ของรฟม. และ 2.โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งยืนยันว่าจะไม่ใช้หลักการที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปอุดหนุนงบประมาณเพื่อไม่ให้กระทบกับภาษีของประชาชนและงบประมาณของประเทศ ขณะที่แนวทางการดำเนินการจะมีการปรับลดราคาเหลือเท่าไหร่นั้นจะต้องมาศึกษารายละเอียดอีกครั้ง โดยจะมีการมอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมในวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 นี้ จะกำหนดกรอบเวลา 1 เดือน

ทั้งนี้สำหรับการเปิดการทดลองให้บริการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรที่ติดขัด และจากข้อมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้นพบว่าสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 800,000 คน ต่อวัน และได้เน้นย้ำถึงระบบความปลอดภัย หากมีเหตุการณ์กรณีที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น เนื่องจากเส้นทางนี้บางช่วงจะเป็นอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2019 9:52 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่” เบรกลดราคารถไฟฟ้า
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
พฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2562 เวลา 08:52 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการพิจารณาลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้กับประชาชน ว่า ต้องไปดูว่าค่ารถไฟฟ้าเกิดมาด้วยเหตุผลอะไร มีการทำสัญญาผูกพันอยู่แล้ว ต้องมีการพิจารณาจำนวนคนขึ้น-ลง การลงทุนต้นทางมีจำนวนเท่าใด และข้อสำคัญเป็นเรื่องของสัญญาที่ทำกันไว้ ถ้าเราไปแก้ไขผิดวิธีก็จะเกิดเหตุการณ์อย่างที่เคยเกิดคือเสียค่าโง่ จึงต้องหาวิธีว่า หากลดควรลดเท่าใด หรือลดส่วนใด ถ้าบอกว่าลดตลอดทั้งสายแล้ว จะเอารายได้ที่ใดมาบริหารจัดการ เพราะในอนาคตเมื่อใช้ไปนานๆ ก็มีเรื่องการเสียหายและชำรุด ทั้งหมดจึงต้องดูความเหมาะสม ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ลด แต่ทุกอย่างต้องดูหลักการและเหตุผลว่าเป็นไปได้หรือไม่

“เหมือนการลงทุน เมื่อลงทุนไปแล้วและคาดว่าธุรกิจจะเลี้ยงตนเองได้ พอถึงเวลาก็บอกให้ลดราคาลง ในข้อเท็จจริงราคาของในตลาด จะลดลงทีเดียวทั้งหมดไม่ได้ ขอให้ใจเย็นๆ จะลดราคาหรือไม่ลดราคาคน ก็มีทางเลือกเดินทางทั้งรถยนต์ ทั้งทางเรือ เพราะไม่ใช่ทุกคนขึ้นรถไฟฟ้าทั้งหมด”



นายกฯ แจงลดราคารถไฟฟ้าต้องดูสัญญาเดี๋ยวมีค่าโง่ เชื่อปมถวายสัตย์จะเรียบร้อย ไม่มีเจตนทำผิด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 7 สิงหาคม 2562 เวลา 14:57
ปรับปรุง: 7 สิงหาคม 2562 เวลา 16:05




“ประยุทธ์” แจงลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าต้องดูสัญญา ทำผิดวิธีเดี๋ยวเกิดค่าโง่เพิ่ม ต้องดูความเหมาะสม เหตุและผล ขอใจเย็นๆ ตัดสินใจด้วยตนเองไม่ได้ มีคณะกรรมการดูอยู่ ส่วนปมถวายสัตย์ฯ คงเรียบร้อย ไม่มีเจตนาทำผิด

วันนี้ (7 ส.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่ อ.เมืองฯ จ.ยะลา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้กับคนกรุงเทพฯ ว่า เรื่องนี้ต้องไปดูว่าค่ารถไฟฟ้าเกิดมาด้วยเหตุผลอะไร มีการทำสัญญาผูกพันมันมีอยู่แล้ว ต้องมีการพิจารณาคนขึ้น-ลง การลงทุนต้นทางมีจำนวนเท่าไหร่ และข้อสำคัญเป็นเรื่องของสัญญา โดยเฉพาะการลงทุนของเอกชน ถ้าเราแก้ไขผิดวิธีก็จะเกิดเหตุการณ์อย่างที่เคยเกิดคือเสียค่าโง่ ดังนั้น เรื่องนี้ต้องหาวิธีการแก้ หากจะลดก็ต้องมาดูว่าลดไหร่ท่าไหร่ และลดในส่วนไหน ถ้าบอกว่าลดตลอดทั้งสายแล้วต้นทางก็ลดลงอีก แล้วจะเอารายได้ที่ไหนมาบริหารจัดการ แล้วจะวิ่งได้อย่างไร เพราะอนาคตเมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะมีเรื่องการเสียและชำรุด ทั้งหมดจึงต้องดูความเหมาะสมไม่ได้หมายความว่าจะไม่ลด แต่ทุกอย่างต้องดูหลักการและเหตุผลว่าเป็นไปได้หรือไม่

“เหมือนการลงทุนอะไรสักอย่าง เมื่อลงทุนไปแล้วและคาดการณ์ว่าธุรกิจจะสามารถเลี้ยงตนเองได้ขนาดนี้ พอถึงเวลาก็บอกให้ลดราคาลงทั้งหมด ในข้อเท็จจริงราคาของในตลาดจะลงทีเดียวทั้งหมดไม่ได้ เรื่องนี้ก็ต้องหารือกันก่อนขอให้ใจเย็นๆ วันนี้เขามีทางเลือกไว้ให้ จะลดราคาหรือไม่ลดราคาก็มีทางเลือกในการเดินทางทั้งรถ ทั้งเรือ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะขึ้นรถไฟฟ้าทั้งหมด ก็สามารถใช้ตามกำลังที่มีไปก่อน วันนี้อะไรลดได้เราก็ลด วันข้างหน้าหากมีกำไรมากขึ้นก็ค่อยลดลง ทั้งถนน ค่าทางด่วนอะไรต่างๆ ต้องพิจารณากันทั้งหมดโดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบ วันนี้เราจะตัดสินด้วยตนเองไม่ได้ ผมไปประกาศเองก็ไม่ได้”

พล.อ.ประยุทธ์ยังให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการถวายสัตย์ปฏิญานตนที่ระบุว่ากำลังหาทางแก้ไขปัญหาอยู่ โดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า “เดี๋ยวคงเรียบร้อยนะ เพราะผมไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้ผิด เขาดูกันที่เจตนา”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2019 11:38 am    Post subject: Reply with quote

ข้อคิดจาก Pat Hemasuk เรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้า
Pat Hemasuk wrote:
การลดราคาค่ารถไฟฟ้านั้นไม่ใช่ใครจะตั้งนโยบายแล้วเป็นรัฐบาลก็จะทำได้ เพราะผู้รับสัมปทานที่ทำสัญญากับรัฐนั้นไม่ลดให้หรอกครับ นักการเมืองเป็นรัฐมนตรีมาแล้วก็ไป แต่ผู้รับสัมปทานยังอยู่อีกหลายสิบปี ถ้าสายไหนเป็นของรัฐลงทุนเองถ้าลดราคาจนต่ำกว่าทุนบวกดอกเบี้ยเงินกู้ ก็จะเจ๊งเป็นซอมบี้เหมือนรถเมล์รถไฟที่ให้บริการต่ำกว่าทุนหรือราคาที่ควรจะเป็นอย่างที่เห็นกัน


ส่วนเรื่องที่ดราม่ากันเอาค่ารถไฟฟ้าไปผูกค่าแรงขั้นต่ำ เหมือนดราม่ากาแฟสตาร์บัคกับเงินขั้นต่ำรายวันที่มากันบ่อยๆ ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นตรรกะสุดโต่งที่ไม่น่าจะมีจริงพอกัน ค่าแรง 300 บาท นั่งรถไฟฟ้า 65 บาท ไปกลับ 130 บาท ปัญหาอยู่ที่คนนั้นทำงานอะไร คุ้มค่าหรือไม่ที่ไปทำงานไกลบ้านขนาดนั้น เพราะเหลือวันละ 170 บาท ถ้าเป็นใครไปสัมภาษณ์งานแล้วรู้ว่าต้องทำงานไกลขนาดนั้น คิดว่าจะมีคนตกลงทำงานนั้นหรือไม่ เพราะนั่นคือราคานั่งยาวไปได้สุดสาย 67 กิโลเมตร ไปกลับ 134 กิโลเมตรเลยทีเดียว

ถ้าสมมุติว่าต้องการทำงานนั้นก็ยังมีทางเลือกเป็นรถเมล์ รถตู้ ที่ราคาถูกกว่า ไม่ใช่ต้องนั่งรถไฟฟ้า แต่รถเมล์รถตู้ที่ต้องนั่งไกลขนาดนั้นคงไม่มีใครสติดีทำงานวันละ 300 บาทแล้วต้องเดินทางไกลขนาดนั้นทุกวันแน่ และคนที่ต้องทำงานวันละ 300 บาทนั้นมีสักกี่คนที่มีบ้านเป็นของตัวเองที่ย้ายไปอยู่ใกล้ที่ทำงานไม่ได้ แต่ถ้าเช่าบ้านเขาอยู่แล้วต้องเดินทางสุดสายแบบนี้ ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่ค่ารถไฟฟ้าแพงเกินไปแต่ปัญหาอยู่ที่การวางแผนชีวิตของคนนั้นมากกว่า

และอีกอย่างคืองานค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทนั้นมีอยู่ทุกปากซอยเลยก็ว่าได้ถ้าไม่เกี่ยงงาน ร้านค้ามากมายที่ขาดคนช่วยงานร้าน ปั้มน้ำมันเกือบทุกปั้มต้องจ้างพม่าเข้ามาผสมในราคาไม่ต่ำกว่า 350 - 380 บาทต่อกะ ไม่จำเป็นเลยที่ต้องนั่งรถไฟฟ้าเกือบสุดสายเพื่อเงินวันละ 300 บาท ทำงานร้าน 7-11 ปากซอยยังคุ้มค่าได้เงินมากกว่าเลย และอีกอย่างคือสมมุติว่าชีวิตสุดโต่งจริงๆ ก็ยังมีบัตรเดือนที่ราคาต่อเที่ยวถูกกว่าให้ใช้ด้วยแต่ไม่พูดถึงกัน


บางครั้งตรรกะป่วยๆ แบบนี้ไม่น่าเอามาคิดหรือพูดให้คนฟังเขาดูถูกสติปัญญาเอาได้

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2585970621446533&set=a.112655038778116&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/08/2019 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

โครงข่ายและปีเปิดให้บริการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมลฑล ระยะ 20 ปี (2553 - 2572) By กรมการขนส่งทางราง (Version 1)

สามารถดาวน์โหลดรูปใหญ่ได้ที่: https://drive.google.com/drive/folders/1kkvT-6df6nkOaNmxVIR7_znJJIVm0_H2

หรือที่นี่ครับ
Arrow http://www.songkhlastation.com/image/20yearsDRT.jpg

Arrow http://www.songkhlastation.com/image/openDRT.jpg

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2019 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

27 ปี รฟม. ไม่หยุดขยายโครงข่ายรถไฟฟ้า ยกระดับการเดินทางของคนกรุงและภูมิภาค
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2562 เวลา14:00 น.
รฟม.’ ฉลองครบรอบ 27 ปี ลุยผลักดัน รถไฟฟ้า กรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด 12 สาย -
The Bangkok Insight
วันที่ 22 สิงหาคม 2562

วันที่ 21 สิงหาคม 2562 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นวันคล้ายวันก่อตั้ง รฟม. ครบรอบ 27 ปี โดยมี นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร รฟม. ร่วมให้การต้อนรับผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่มาแสดงความยินดีและมอบเงินบริจาคเพื่อร่วมสมทบทุนใน “มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี”



ทั้งนี้ รฟม. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2535 มีภารกิจในการสร้างโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ และช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอดจนจังหวัดใหญ่ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน


ในการก้าวเข้าสู่ปีที่ 27 นี้ มีรถไฟฟ้าสายใหม่เปิดบริการ มีสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค ที่มีกำหนดจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในวันที่ 29 กันยายน 2562 ปัจจุบันอยู่ในช่วงเปิดทดลองใช้บริการฟรี และจะเปิดให้บริการต่อเนื่องสำหรับช่วงเตาปูน – ท่าพระ ภายในเดือนมีนาคม 2563

ทั้งสองช่วงนี้จะช่วยเติมเต็มเส้นทางให้บริการเดิมของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) ช่วงหัวลำโพง – เตาปูน เป็นแบบวงกลม (Circle Line) รองรับการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในได้โดยสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย อีกทั้งผู้โดยสารยังสามารถใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ช่วงคลองบางไผ่ – เตาปูน เพื่อเดินทางเชื่อมต่อไปยังปริมณฑล จ.นนทบุรี ได้อีกด้วย

รฟม.ยังได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ให้เป็นผู้กำกับการดำเนินงานก่อสร้างโรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ (งานโยธาแล้วเสร็จ ปี 2559) และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต (งานโยธาแล้วเสร็จ ปี 2562) ปัจจุบัน รฟม.ได้ส่งมอบให้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้ว เพื่อต่อขยายเส้นทางให้บริการเดิมของรถไฟฟ้า BTS ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น



ขณะเดียวกัน รฟม.ยังได้เร่งรัดการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในความรับผิดชอบสายๆ อื่น เพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน ทั้งในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จะเปิดให้บริการปี 2566, รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี เปิดให้บริการปี 2564 พร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง

สำหรับโครงการที่เตรียมจะเสนอขออนุมัติก่อสร้างหรืออยู่ระหว่างศึกษาออกแบบ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก), รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, รถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี, รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม)

ในปี 2562 นี้ รฟม.ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทางรางของประเทศไทยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยผลักดันงานศึกษาความเหมาะสมและออกแบบโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในเขตภูมิภาค อีก 4 จังหวัด

ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ (สายสีแดง) ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว) ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก (สายสีแดง) ช่วง ม.พิษณุโลก – ห้างเซ็นทรัลฯ พิษณุโลก

ทั้งหมดเป็นภารกิจที่สำคัญของ รฟม. ที่จะต้องเร่งรัดดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ สร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าที่ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการเดินทางที่สามารถกำหนดเวลาได้ ช่วยเพิ่มความสะดวกและปลอดภัย รวมทั้งช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนได้ทางหนึ่ง ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/08/2019 7:35 am    Post subject: Reply with quote

ระบบรางไทยโตก้าวกระโดด
เดลินิวส์ Monday, August 26, 2019 05:17

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพงถึงบางแค เพิ่งเปิดให้ประชาชนทดลองใช้โดยไม่คิดค่าโดยสารเพิ่มอีก 2 สถานี จากสถานีวัดมังกรถึงบางหว้า รถไฟฟ้าสายนี้ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร ช่วงหัวลำโพงถึงท่าพระเป็นทางวิ่งใต้ดิน ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนไต่ระดับขึ้นเป็นทางวิ่งยกระดับ มีสถานีใต้ดิน 4 สถานี ได้แก่ สถานีวัดมังกร สามยอด สนามไชย และอิสรภาพ แต่ละสถานีถูกออกแบบให้เข้ากับทำเลแต่ละพื้นที่

ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดทดลองใช้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิตถึงสะพานใหม่-คูคต จากสถานีหมอชิตถึงห้าแยกลาดพร้าว อำนวยความสะดวกประชาชน บรรเทาปัญหาจราจรติดขัดบนถนนพหลโยธิน และวิภาวดีรังสิต เดือนธันวาคมเปิดอีก 4 สถานี ถึงสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามแผน เปิดตลอดเส้นทางเดือนธันวาคม 2563 ค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาท

โครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลตอนนี้เปิดใช้แล้ว 5 เส้นทาง 123.8 กิโลเมตร สิ้นปีนี้เปิดใช้เพิ่มเป็น 141.8 กิโลเมตร สิ้นปี 2563 เป็น 170.38 กิโลเมตร ตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ.2562 ตั้งเป้าปี 2570-2572 ขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้รวม 557.56 กิโลเมตร ขณะที่การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่ ที่เชียงใหม่ พิษณุโลก อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ตและอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีทั้งรถไฟฟ้ารางเบาและรถโดยสารไฟฟ้า นอกจากนี้ยังสร้างรถไฟสายใหม่ ขยายรถไฟรางคู่ และรถไฟฟ้าความเร็วสูงอีกรวมแล้วนับพันกิโลเมตร โดยเฉพาะรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ หากเสร็จตามแผน ไทยจะขยับขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ของทวีปที่มีระยะทางรวมรถไฟฟ้ามากที่สุด

การพัฒนาระบบรางของไทยตามแผน เป็นการพัฒนาที่ต้องเรียกว่าโตแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียว ทำให้ศักยภาพประเทศมากขึ้น พื้นที่ที่อยู่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และรถไฟก็จะเปลี่ยน หน้าตาของเมืองก็เปลี่ยน เห็นได้ชัดเลยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ตอนนี้ แน่นอนวิถีชีวิตของคนเมืองจะเปลี่ยนตามไปด้วย คนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ต้องวางแผนชีวิตเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้.

--เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 ส.ค. 2562 (กรอบบ่าย)--
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2019 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

นับถอยหลังปี 2566 ก้าวสู่... มหานครระบบราง

ออนไลน์เมื่อ 24 สิงหาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3498 ระหว่างวันที่ 22 - 24 สิงหาคม 2562

มีการคาดการณ์กันว่าในปี 2566 หรืออีกประมาณกว่า 4 ปีนับจากนี้ เมื่อการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระยะที่ 1 (M-Map1) สำเร็จ จะส่งผลให้เส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความยาวรวมถึง 464 กม. โดยพร้อมก้าวสู่การเป็นมหานครระบบรางที่มีโครงข่ายรถไฟฟ้ายาวเป็นอันดับ 3 ของโลก หลังมีเพียงรถไฟฟ้าบีทีเอส และ ใต้ดิน สายสีนํ้าเงินเอ็มอาร์ที ก่อนจะเอาจริงเอาจัง เดินหน้าก่อสร้างส่วนต่อขยายและเส้นทางใหม่ๆ กระจายทั่วกทม.และปริมณฑลแบบไร้รอยต่อ

ล่าสุดไปสำรวจเส้นทางพร้อมๆ กันว่า นับตั้งแต่ปี 2562 ไปจนถึงปี 2566 จะมีรถไฟฟ้าเส้นไหนเปิดให้บริการ

เริ่มจากส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ “ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต หลังคิกออฟสถานีห้าแยกลาดพร้าว ก็จะทยอยเปิดให้บริการสถานีอื่นตามมา

เช่นเดียวกับส่วนต่อขยายสายสีนํ้าเงิน” ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่คาดกันว่าจะเป็นแกนเชื่อมระหว่างใจกลางเมืองไปสู่ฝั่งธนฯ โดยเฉพาะในมิติของการท่องเที่ยวของต่างชาติ

ขณะเส้นที่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง “สายสีชมพู ช่วงแคราย- มีนบุรี วิ่งจากถนนรัตนาธิเบศร์ด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ไปสิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้าบริเวณซอยรามคำแหง 192 ที่พร้อมให้บริการในปี 2564 สามารถเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารได้ 4 จุด คือ
สายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต
สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต และ
สายสีส้มตะวันออก
ถือเป็นอีกหนึ่งโครงข่ายที่จะเชื่อมการเดินทางจากนนทบุรีเข้าสู่ กทม.ได้อย่างฉับไว

เช่นเดียวกับ “สายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง จุดเชื่อมต่อกับสายสีนํ้าเงิน สถานีลาดพร้าว วิ่งตามแนวถนนลาดพร้าวไปสิ้นสุดที่แยกเทพารักษ์หรือสถานีสำโรง มีจุดเชื่อมต่อสายสีส้มที่สถานีลำสาลี เชื่อมต่อกับสถานีหัวหมากของแอร์พอร์ตลิงค์, สายสีแดงอ่อน และสายสีเขียวใต้ ในสถานีปลายทาง

ด้าน “สายสีแดงเข้ม” ช่วงบางซื่อ-รังสิต พร้อมเชื่อมโยงไปยังจังหวัดต่างๆ อาทิ ปทุมธานี อยุธยา มีจุดเริ่มต้นที่สถานีกลางบางซื่อ

อีกเส้นทางที่น่าสนใจ คือสายสีทอง กรุงธนบุรี-คลองสาน-ประชาธิปก โมโนเรลระยะสั้นสร้างเชื่อม “ไอคอนสยาม” และการเดินทางบนถนนเจริญนคร ไปจนถึง ถนนสมเด็จ เจ้าพระยาเชื่อมต่อกับ บีทีเอสสายสีเขียว ส่วนต่อขยายจากสถานีกรุงธนบุรี คาดว่าแล้วเสร็จในเฟสที่ 1 (กรุงธนบุรี-คลองสาน) ในปี 2563 นี้

“สายสีส้มตะวันออก” ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี เชื่อมต่อกับสายสีนํ้าเงินและสายสีชมพู รวมถึงสถานีลำสาลี เชื่อมต่อกับสายสีเหลือง ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางเข้าเมืองง่ายขึ้นจากการพูดคุยกับ นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า เส้นทางหลักจะแล้วเสร็จไม่เกินปี 2570 และวางแผนแม่บทฉบับที่ 2 พัฒนาเส้นทางรองเพื่อให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้นกล่าวโดยสรุปกทม.จะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของอาเซียนรวมทั้งเป็นมหานครระบบรางในอนาคตอันใกล้นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 200, 201, 202 ... 277, 278, 279  Next
Page 201 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©