Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181795
ทั้งหมด:13493034
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 333, 334, 335 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2019 9:20 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐมีหน้าที่จัดหาพื้นที่ก่อสร้าง ไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน
ออนไไลน์เมื่อ 11 กันยายน 2562
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3504 วันที่ 12-14 กันยายน 2562



คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติและเห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี และเชื่อมโยงกับกรุงเทพมหานคร

โครงการรถไฟความเร็วสูง ประกอบด้วยโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์เดิม ช่วงพญาไทย ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ส่วนต่อขยายช่วงท่าอากาศยานดอนเมืองถึงพญาไท จำนวน 10 สถานี และโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯถึงสนามบินอู่ตะเภา จำนวน 5 สถานี รวมระยะทาง 220 กิโลเมตร

นอกจากนี้ โครงการยังประกอบไปด้วย การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสารบริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน พื้นที่รวมประมาณ 140 ไร่ เป็นสถานีศูนย์กลางการเดินทาง และพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนการบริการรถไฟและบริการผู้โดยสารบริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา พื้นที่ขนาด 25 ไร่

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับภาครัฐและประหยัดงบประมาณ จึงเป็นการร่วมทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) และเอกชน กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัดหรือซีพี และพันธมิตร หรือกลุ่ม CPH ชนะการประมูลด้วยการเสนอมูลค่าเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการในช่วง 10 ปี หลังจากเริ่มให้บริการโครงการที่เกี่ยวกับรถไฟเท่ากันทุกปี จำนวน 14,965 ล้านบาทต่อปี รวมเป็นเงิน 149,650 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันจะอยู่ที่ 117,226.87 ล้านบาท ใช้อัตราคิดลด 2.375%

ในร่างสัญญาระบุไว้ว่า หน้าที่และความรับผิดชอบของรฟท. จะต้องจัดหาและส่งมอบพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ จัดหาและให้เงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน มอบสิทธิโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงค์ให้เอกชนร่วมลงทุน โดยจะให้สิทธิเอกชนเริ่มดำเนินโครงการ เมื่อเอกชนชำระค่าสิทธิภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาร่วมทุน และระยะเวลาการมอบสิทธิในโครงการและพัฒนาพื้นที่สนับสนุนโครงการ จะต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาของโครงการ 50 ปี

ขณะที่ความรับผิดชอบของเอกชนนั้น มีหน้าที่ในการดำเนินโครงการฯ และดำเนินกิจการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสาร และมีหน้าที่ในการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ในสถานีของโครงการรวมทั้งนำส่งผลประโยชน์ตอบแทนให้รฟท.และหน้าที่อื่นๆ ที่กำหนดไว้ในร่างสัญญาร่วมลงทุน เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2019 9:22 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล(12)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 8 กันยายน 2562
ตีพืมพ์ใน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3503 หน้า 6
ระหว่างวันที่ 8-11 กันยายน 2562


สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (13)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 11 กันยายน 2562
ตีพืมพ์ใน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3504 หน้า 6
ระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2562


+++

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’

ประวัติศาสตร์การประมูล (13)



โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด บัดนี้เป็นเวลากว่า 7-8 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน

อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไมยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้

สัญญาที่ติดขัดตรงไหน ตอนที่แล้วเป็นสัญญาว่าด้วยเรื่องมาตรการทางการเงิน ตอนนี้ผมพามาติดตามร่างสัญญาตอนที่ 13 ซึ่งว่าด้วยข้อ

12. ว่าด้วยเรื่อง ภาษีอากรและค่าธรรมเนียม ความในสัญญาดังนี้

12.1 เว้นแต่จะได้รับสิทธิยกเว้นหรือสิทธิในการลดหย่อนภาษีใดๆ ตามกฎหมายไทย เอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้รับผิดชอบชำระบรรดาภาษี อากร ค่าใบอนุญาตค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายใดๆ ที่หน่วยงานของรัฐเรียกเก็บตามกฎหมายไทย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องตามสัญญาร่วมลงทุน

อย่างไรก็ตาม หากเอกชนคู่สัญญาให้ผู้อื่นเช่าเช่าช่วง และ/หรือใช้ประโยชน์ ในพื้นที่ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และ/หรือ สิ่งปลูกสร้างบนพื้นที่ดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบชำระภาษีอากร ค่าใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายใดๆ ที่หน่วยงานของรัฐเรียกเก็บทั้งสิ้น

12.2 ในกรณีที่เอกชนคู่สัญญามิได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายไทยกำหนด และเป็นเหตุให้ รฟท.ต้องชำระภาษีดังกล่าวไปก่อนหรือต้องเสียค่าปรับ และ/หรือเงินเพิ่มตามกฎหมายไทยและค่าใช้จ่ายต่างๆ (ถ้ามี) เอกชนคู่สัญญาจะต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่ รฟท. รวมทั้งดอกเบี้ย (ถ้ามี) จนกว่า รฟท. จะได้รับชำระคืนทั้งหมด

13. การให้ความยินยอมในการก่อภาระผูกพัน กำหนดดังนี้...เว้นแต่เป็นการก่อภาระผูกพัน เพื่อเป็นหลักประกันต่อผู้สนับสนุนทางการเงินตามสัญญาจัดหาเงินสนับสนุน เอกชนคู่สัญญาจะไม่ก่อภาระผูกพันใดๆ เหนือสิทธิและหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาภายใต้สัญญาร่วมลงทุน ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญ และทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ โดยไม่ได้รับการอนุมัติจาก รฟท.

ทั้งนี้ กรณีที่จะมีการบังคับหลักประกันเหนือทรัพย์สินที่มีการก่อภาระผูกพัน คู่สัญญาตกลงว่าเอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการบังคับหลักประกันเหนือทรัพย์สินที่มีการก่อภาระผูกพัน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการสาธารณะของโครงการฯ หรือสิทธิ รฟท. ภายใต้สัญญาร่วมลงทุน หรือการดำเนินโครงการฯของบุคคลอื่นใดที่จะเข้ามารับโอนสิทธิและ/หรือหน้าที่ใดๆ ของเอกชนคู่สัญญาภายใต้สัญญาร่วมลงทุน

14. ที่ปรึกษา กำหนดไว้ในข้อ 14.1 ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง (1) รฟท. และ/หรือ สำนักงาน จะว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง โดย รฟท. และ/หรือ สำนักงานจะแต่งตั้งที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมลงทุน โดยที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างจะต้องมีคุณสมบัติและความเชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับในมาตรฐานระดับสากลในสาขาที่ว่าจ้างนั้น และในการดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างนั้นจะดำเนินการร่วมกันระหว่าง รฟท. และสำนักงาน โดยปฏิบัติตามกฎหมายไทยและหลักเกณฑ์ที่ รฟท. และสำนักงานร่วมกันกำหนด

ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง ตามสัญญาร่วมลงทุน โดย รฟท. และ/หรือ สำนักงานมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกำหนดค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างและการอนุมัติให้ชำระค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด หาก รฟท. และ/หรือ สำนักงานได้ชำระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างดังกล่าวไปก่อน เอกชนคู่สัญญาตกลงชำระเงินค่าใช้จ่ายนั้นคืนแก่ รฟท. และ/หรือ สำนักงานภายในสิบห้า (15) วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามจาก รฟท. และ/ หรือ สำนักงาน

(2) ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานโยธาของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน โดยหากเป็นกรณีที่มีนัยสำคัญและกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของ รฟท. ตามสัญญาร่วมลงทุน การปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง จะต้องได้รับอนุมัติเป็นหนังสือจาก รฟท. ก่อน นอกจากนี้ หากเป็นกรณีที่ รฟท. กำหนด ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างอาจใช้สิทธิต่างๆ แทนและในนามของ รฟท. ได้ โดย รฟท. จะมีหนังสือแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาทราบถึงการดำเนินการดังกล่าว

14.2 ที่ปรึกษาตรวจสอบ กำหนดดังนี้ (1) ในการดำเนินโครงการฯ รฟท. และ/หรือ สำนักงานจะว่าจ้างที่ปรึกษาตรวจสอบ โดย รฟท. และ/หรือ สำนักงานจะแต่งตั้งที่ปรึกษาตรวจสอบเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟและการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมลงทุน และเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและทดสอบ (Testing) ตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รวมถึงการทดสอบแต่ละระบบ (Individual Testing) การทดสอบระบบโดยรวม (Integrated System Testing) การทดลองเดินรถ (Trial Run) โดยที่ปรึกษาตรวจสอบ จะต้องมีคุณสมบัติและความเชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับในมาตรฐานระดับสากลในสาขาที่ว่าจ้างนั้น และในการดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งที่ปรึกษาตรวจสอบนั้นจะดำเนินการร่วมกันระหว่าง รฟท. และสำนักงาน โดยปฏิบัติตามกฎหมายไทยและหลักเกณฑ์ที่ รฟท. และสำนักงานร่วมกันกำหนด

ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งที่ปรึกษาตรวจสอบโดย รฟท. และ/หรือ สำนักงานมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกำหนดค่าจ้างที่ปรึกษาตรวจสอบและการอนุมัติให้ชำระค่าจ้างที่ปรึกษาตรวจสอบทั้งหมด หาก รฟท. และ/หรือ สำนักงานได้ชำระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าวไปก่อน เอกชนคู่สัญญาตกลงชำระเงินค่าใช้จ่ายนั้นคืนแก่ รฟท. และ/หรือ สำนักงานภายในสิบห้า (15) วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามจาก รฟท. และ/หรือ สำนักงาน

(2) ที่ปรึกษาตรวจสอบมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟและงานโยธาของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน โดยหากเป็นกรณีที่นัยสำคัญและกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของ รฟท. ตามสัญญาร่วมลงทุน การปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษาตรวจสอบ จะต้องได้รับอนุมัติจาก รฟท. ก่อน นอกจากนี้หากเป็นกรณีที่ รฟท. กำหนด ที่ปรึกษาตรวจสอบอาจใช้สิทธิต่างๆ แทนและในนามของ รฟท. ได้ โดย รฟท. จะต้องมีหนังสือแจ้งใหเอกชนคู่สัญญาทราบถึงการดำเนินการดังกล่าว

(3) เว้นแต่กรณีที่ปรึกษาตรวจสอบใช้สิทธิต่างๆ แทนและในนามของ รฟท. ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 14.2(2) คู่สัญญาตกลงยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่าง รฟท. และที่ปรึกษาตรวจสอบไม่ได้อยู่ในลักษณะความสัมพันธ์ตัวการและตัวแทนตามกฎหมายไทย

14.3 เอกชนคู่สัญญา จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างตามข้อ 14.1 และที่ปรึกษาตรวจสอบตามข้อ 14.2 ซึ่งมีจำนวนไม่เกินสี่พันสี่ร้อยยี่สิบเก้าล้านแปดแสนสี่หมื่น (4,429,840,000) บาท และอัตราค่าจ้างและการชำระค่าจ้างสำหรับที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างและที่ปรึกษาตรวจสอบจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับการจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างและที่ปรึกษาตรวจสอบ และ รฟท. และ/หรือ สำนักงาน จะนำส่งสำเนาสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาให้แก่เอกชนคู่สัญญาในระยะเวลาอันเหมาะสมหลังจากมีการว่าจ้างที่ปรึกษานั้น

อ่านแล้วเป็นอย่างไรครับ สัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ผมขอบอกว่าเนื้อหาในสัญญายิ่งมายิ่งเข้มข้น!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2019 5:08 am    Post subject: Reply with quote

'ร.ฟ.ท.' รอกลุ่ม CP อีก 7 วัน ก่อนนัดเซ็นรถไฟ 3 สนามบิน
Source - ข่าวหุ้น
Thursday, September 12, 2019 04:07

“ร.ฟ.ท.” สรุปแผนส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง รอกลุ่ม CP ตัดสินใจรอบสุดท้าย และตอบกลับภายใน 7 วัน พร้อมกำหนดวันลงนามสัญญา

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่ากลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร (กม.) มูลค่าการลงทุน 224,544.36 ล้านบาท เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ วานนี้ (11 ก.ย.) ได้มีการหารือความคืบหน้าเรื่องการเจรจากับผู้รับงาน คือ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร โดยเฉพาะเรื่องรื้อย้ายและส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับงานรวมทั้งการเจรจารายละเอียดถ้อยคำที่จะระบุไว้ในแนบท้ายสัญญา

ทั้งนี้ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งฯ ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (CP), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD, China Railway Construction Corporation Limited หรือ CRCC จากจีน , บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ผู้รับงานกังวล เช่น การเริ่มนับเวลาก่อสร้าง 5 ปี ซึ่งเอกชนเข้าใจว่าเริ่มนับตั้งแต่วันลงนามในสัญญา และหวั่นว่าหากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้าจะทำให้ก่อสร้างเสร็จล่าช้าไปด้วย โดย ร.ฟ.ท.ได้ชี้แจงให้รับทราบแล้วว่าจะเริ่มนับสัญญาตั้งแต่วันเริ่มส่งมอบพื้นที่ รวมถึงกรณีพื้นที่เวนคืน ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้แจ้งให้เอกชนเตรียมตัวไว้ก่อนว่า มักจะต้องเจอกับปัญหาการคัดค้านและไม่ยอมย้ายออก

ส่วนพื้นที่ใต้ดินที่ต้องรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6 หน่วยงานนั้น จะต้องมีการประสานการทำงานร่วมกัน เพราะหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคจะต้องเป็นผู้ทำการรื้อย้ายเอง โดยจะต้องรอการออกแบบแนวเส้นทางที่ชัดเจน เพื่อย้ายสาธารณูปโภคหลบเส้นทางให้ถูกต้อง

สำหรับโครงสร้างโฮปเวลล์นั้น ทางผู้รับงานคือ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งฯ จะต้องทำการรื้อถอนเอง เพราะค่ารื้อถอนนั้นรวมอยู่ในค่าก่อสร้างที่ฝ่ายรัฐจะต้องจ่ายอุดหนุนให้ตามสัญญาแล้ว และร.ฟ.ท.จะทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างได้ทั้งหมดภายใน 2 ปีนับจากวันลงนามในสัญญา

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ให้เวลาผู้รับงานอีก 7 วันไปพิจารณาแนวทางเรื่องพื้นที่ก่อสร้างตามรายละเอียดดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการตกลงแผนการทำงานขั้นสุดท้ายและคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว หากผู้รับงานยอมรับได้ก็ให้ทำหนังสือตอบกลับมา พร้อมทั้งระบุวันที่จะลงนามในสัญญามาให้ชัดเจนด้วย ซึ่งเบื้องต้นทางคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้แจ้งแก่ผู้รับงานไปด้วยว่าฝั่งรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะลงนามให้ได้ภายในเดือนกันยายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2019 10:27 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'ร.ฟ.ท.' รอกลุ่ม CP อีก 7 วัน ก่อนนัดเซ็นรถไฟ 3 สนามบิน
Source - ข่าวหุ้น
12 กันยายน 2562 - 04:07



รฟท.ขีดเส้นซีพีเซ็นสัญญาก่อนสิ้นเดือนก.ย.
11 กันยายน 2562

Click on the image for full size
ไทม์ไลน์ไฮสปีด 3 สนามบิน เป็นอย่างไรมาดูกัน



รถไฟลุ้นหนัก! รอ “ซี.พี.” เคาะวันเซ็นไฮสปีดส่อไม่ทันเดดไลน์ก.ย.นี้
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ เผยแพร่: 11 กันยายน 2562 - 20:24 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการณ์ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท เปิดเผยว่า คณะกรรมการคัดเลือกโครงการหารือกันใน 2 ประเด็นคือ การส่งมอบพื้นที่และการกำหนดตัวชี้วัดโครงการ (KPI)

โดยมีมติเห็นชอบให้มีการลงนามในสัญญาก่อนที่จะส่งมอบหนังสือให้เริ่มต้นงาน (Notice to Proceed: NTP) เพื่อให้มีเวลาสำหรับดำเนินการเรื่องพื้นที่อุปสรรคทั้งหมดและทำให้ยังไม่ต้องนับระยะเวลาก่อสร้างที่กำหนดไว้ 5 ปีด้วย ซึ่งตาม RFP (ทีโออาร์)สามารถยืดเวลาการส่งหนังสือ NTP ได้ 1 ปีนับแต่วันที่มีการลงนาม และขอขยายเวลาได้ตามความเหมาะสม โดยทั้งสองฝ่ายต้องคุยกันก่อน

จะส่งรายละเอียดของสัญญาในส่วนเอกสารแนบท้ายที่มีรายละเอียดของการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ในฐานะเอกชนที่ได้รับคัดเลือกภายในสัปดาห์นี้ จะให้เวลาทำหนังสือตอบกลับภายในสัปดาห์หน้า พร้อมกับให้กำหนดวันที่จะลงนามในสัญญาแนบมาด้วย

โดยกำชับกับกลุ่ม CPH ไปแล้วว่านโยบายของรัฐบาลให้ลงนามในเดือนก.ย.นี้ แต่ถ้ามีเหตุผลที่ต้องเลื่อนลงนามออกไปก็ให้แจ้งมา ส่วนร.ฟ.ท.จะทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบความคืบหน้าของโครงการต่อไป ส่วนจะลงนามได้เมื่อไหร่ ต้องรอความชัดเจนในสัปดาห์หน้า

“ที่ใช้เวลาพิจารณานาน เพราะเอกสารแนบท้ายสัญญาจะเป็นส่วนกำหนดรายละเอียดการส่งมอบพื้นที่ทุกอย่าง จึงต้องมีความละเอียดรอบคอบ อีกทั้งมีการปรับแก้ถ้อยคำพวก “และ/หรือ” บางจุด รวมถึงปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการอื่น เช่น คลองแห้ง, ตอม่อโฮปเวลล์ และช่วงบางซื่อ – ดอนเมืองด้วย”

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่า การรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค มี 6 หน่วยงาน และมีสัญญาเช่าที่เกี่ยวข้องรวมกว่า 300 สัญญา โดยระบบสาธารณูปโภคเจ้าของหน่วยต้องเป็นผู้ดำเนินการเองเรื่องค่าใช้จ่าย โดยร.ฟ.ท.กับกลุ่ม CPH จะทำแผนส่งมอบพื้นที่ให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงแจ้งกับหน่วยงานเจ้าของระบบสาธารณูปโภคต่างๆว่า ต้องรื้อย้ายจุดใดบ้าง

ในส่วนของปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ช่วงคลองแห้งที่ทับซ้อนกับสายสีแดง และช่วงบางซื่อ – ดอนเมืองที่ทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ตามทีโออาร์ให้CPHดำเนินก่อน ยังมีเวลาที่จะพิจารณาเรื่องนี้ เพราะถ้ารถไฟไทย-จีนพร้อมก็สร้างไปก่อน

กรณีเสาตอม่อโฮปเวลล์นั้น งบดำเนินการบางส่วนจะอยู่ในส่วนเงินที่รัฐอุดหนุนซึ่งกลุ่ม CPH เสนอที่ 117,227 ล้านบาท โดยกลุ่ม CPH ต้องเป็นผู้ดำเนินการ

ขณะที่การจ่ายค่าสิทธิ์การใช้แอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ มูลค่า 10,671 ล้านบาท มีกำหนดใน RFP ว่า การชำระเงินต้องทำภายใน 2 ปีนับจากวันลงนามในสัญญาซึ่งCPHจะจ่ายเดือนสุดท้ายก็ได้
รฟท.ตกลง”ซีพี”เข็นเซ็นสัญญา”ไฮสปีด” เปิดเวลาอีก 1 ปีเคลียร์พท.ก่อสร้าง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 11 กันยายน 2562 - 20:31

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคัดเลือก โครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544 ล้านบาท ว่า คณะทำงานฯได้รายงานผลการเจรจาต่อรอง กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ผู้ชนะการประมูลถึงรายละเอียดข้อความในร่างสัญญา รวมถึงส่วนแนบท้ายสัญญา ที่มีรายละเอียด 2 ประเด็นที่พิจารณาคือ เรื่องการส่งมอบพื้นที่และ KPI โดยมีข้อสรุปเบื้องต้นแล้ว และได้ให้ทางกลุ่ม CPH. ตอบยืนยันรอบสุดท้าย มายังรฟท.ภายใน7 วัน (นับจากวันได้รับหนังสือจากรฟท. ) ให้ตอบยืนยัน พร้อมกำหนดวันที่พร้อมจะลงนามสัญญาแนบมาด้วย

ส่วนรฟท.จะเร่งประมวลเรื่องรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อทราบ ในเรื่อง EIA และผลการเจรจาที่สมบูรณ์ รวมถึงวันที่จะลงนามสัญญา ภายในดือนก.ย. ตามนโยบายของรัฐบาล แต่หากซีพี มีปัญหาอย่างไรให้ชี้แจงเหตุผลเข้ามา

โดยในสัญญาแนบท้ายจะต้องตรวจสอบรายละเอียดข้อความ ต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ลดความเสี่ยงทั้ง2ฝ่าย เนื่องจากการส่งมอบพื้นที่ และ มีประเด็นที่อาจจะมองไม่เห็น เช่น การรื้อย้ายสาธารณูปโภคใต้ดิน ของหน่วยงานต่างๆ ถึง 6 หน่วยงาน ทั้งที่อยู่ใต้ดิน และบนพื้นดิน อาทิ ท่อน้ำมัน,ท่อแก้ส ,ท่อประปา ที่อยู่ใต้ดิน การรื้อย้ายเป็นหน้าที่ของหน่วยงานเจ้าของระบบสาธารณูปโภคนั้นๆ ซึ่งเป็นสัญญาเช่าพื้นที่รถไฟปกติ แต่ก็ต้องมีแผนให้ชัดเจนว่า จะย้ายออกไปอยู่ตรงไหน และต้องเริ่มย้ายเมื่อใด ซึ่งรฟท.และซีพี ต้องทำงานร่วมกัน

ส่วนพื้นที่สัญญาเช่า กว่า 300 สัญญา ,การย้ายผู้บุกรุก ,การเวนคืนพื้นที่ แม้ รฟท.มีแผนงานแล้ว แต่อาจต้องใช้เวลา เพราะอาจะจะมีปัญหาเรื่องต่อต้านเกิดขึ้นได้ สำหรับกรณีการก่อสร้างในพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก บริเวณโครงสร้างอุโมงค์ร่วมที่จิตรลดา ที่เป็นคลองแห้ง ,โครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วง บางซื่อ-ดอนเมือง และการ ทุบเสาตอม่อโฮปเวลล์ มีรายละเอียดในเอกสาร แนบท้าย โดยค่าใช้จ่ายในการทุบตอม่อโฮปเวลล์นั้น ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐจะอุดหนุน ซึ่งมีกรอบที่ 119,425 ล้านบาท แต่ซีพี ประมูลขอรับอุดหนุนจากรัฐบาลเหลือ 117,227 ล้านบาท

โดย คณะกรรมการคัดเลือกฯเห็นด้วย ในหลักการ ว่า จะกำหนดวันลงนามสัญญา และลงนามร่วมกันก่อน ส่วนวันก่อสร้าง จะเริ่มต้นเมื่อรฟท. ได้ส่งหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ก่อน ซึ่งขั้นแรกกำหนดระยะเวลาในการวางแผนเรื่องส่งมอบพื้นที่ร่วมกัน ภายใน1 ปี นับจากลงนามสัญญา แต่หากยังไม่เรียบร้อย ทั้ง 2 ฝ่ายสามารเจรจากัน และอาจจะขยายการ ออก NTP ออกไปได้ อีก ซึ่งหลักการจะเหมือนกับการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง

ส่วนระยะเวลาเวลาก่อสร้าง 5 ปี โดยจะเริ่มนับหลังจากรฟท.ออกหนังสือ NTP ให้ซีพี.
สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรงลิงก์นั้น. จะแยกอีกส่วน โดยตามเงื่อนไข ซีพี จะต้องรับมอบโครงการ หลังลงนามสัญญา ภายใน2 ปี พร้อมกับชำระเงินค่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จำนวน 10,671,090,000 บาท ตามเงื่อนไข

“เรื่องหลักการไม่เปลี่ยน แต่ที่ช้า ทำให้เสียเวลา เพราะต้องรอบคอบ และต้องยืนยันในแต่ละข้อความต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เรื่องความรับผิดชอบต่างๆ ต้องชัดเจน ค่าใช้จ่ายต่างๆ มีอยู่ตรงไหน เช่น ค่ารื้อย้ายตอม่อโฮปเวลล์ ก็อยู่ในเงินอุดหนุนที่รัฐบาลต้องจ่าย เป็นต้น”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2019 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

“ศุภชัย” ลั่นเซ็นสัญญาไฮสปีด อุทธรณ์”อู่ตะเภา”

12 กันยายน 2562

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ยืนยันว่า ลงนามในสัญญา โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อม3สนามบินแน่ เพราะ มีความตั้งใจที่จะดำเนินการ มาหลายปี แต่ ล่าสุด ยังไม่ทราบรายละเอียดจากคณะทำงานฯ ไฮสปีด

“ต้องขอพิจารณารายละเอียดก่อน ยังไม่สามารถตอบอะไรได้มากนัก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เรามีความตั้งใจอย่างเต็มที่และททำมาหลายปี”

นอกจากนี้ นายศุภชัย ยืนยันว่า จะยื่นอุทธรณ์ ศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอความเป็นธรรมกรณี ประมูลสนามบินอู่ตะเภา และหวังว่าจะได้รับความเมตตา

“น่าจะได้ไปถึงขั้นตอนการเปิดซองประมูลก่อน ซึ่งแพ้ชนะไม่เป็นไร เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ โดยคาดว่าการอุทธรณ์น่าจะเป็นผลที่ดี เพราะเราตั้งใจ”

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2562 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวกรวม 4 คน (กลุ่มซีพี)ฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกกับพวก กรณีมีมติไม่รับซองข้อเสนอบางรายการ เนื่องจากยื่นเกินเวลาไป 9 นาที


'ศุภชัย' ลั่น 'ซีพี' พร้อมเซ็นสัญญาไฮสปีด
12 กันยายน 2562

“ศุภชัย” ยืนยัน ซีพีเซ็นโปรเจครถไฟความเร็วสูง ชี้มูลค่าโครงการสูงขอหารือทุกฝ่าย มั่นใจพันธมิตรพร้อมลุยลงทุน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวหลังเข้าร่วมพิธีส่งมอบหารังเทียมภายใต้ความร่วมมือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและฟื้นฟูการประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน จ.สงขลา วันนี้ (12 ก.ย.) ว่า หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำหนดให้เครือซีพีให้คำตอบการลงนามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ภายใน 7 วันนั้น เครือซีพีจะหารือกับพันธมิตรและจะลงนามโครงการนี้แน่นอน

“โครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนจำนวนมาก จำเป็นต้องได้รับการตัดสินใจจากทุกฝ่าย แต่เมื่อทุกฝ่ายมีความตั้งใจตรงกันแล้วคาดว่าจะไม่มีปัญหา” นายศุภชัย กล่าว


ทั้งนี้ เครือซีพีเข้าร่วมการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในนามกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร โดยชนะการประมูลด้วยข้อเสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐต่ำที่สุดในวงเงิน 117,227 ล้านบาท ในขณะที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดวงเงินร่วมลงทุนไว้ไม่เกิน 119,425 ล้านบาท และ ครม.เห็นชอบให้กิจการร่วมค้าดังกล่าวเป็นผู้ชนะการประมูลเมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา


Last edited by Wisarut on 13/09/2019 1:10 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2019 10:17 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ขีดเส้นซี.พี.7วันลุ้นลงนามไฮสปีดเทรน(คลิป)
พุธที่ 11 กันยายน 2562 เวลา 19.38 น.


บอร์ดคณะกรรมการคัดเลือกฯไฮสปีดเทรนไฟเขียวร่างสัญญาร่วมทุนซีพีสร้างไฮสปรีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินให้เวลาตอบกลับภายใน 7 หากไม่มีปัญหาคาดเซ็นสัญญาได้ในเดือนก.ย.นี้

นายวรวุฒิ มาลา ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาว่า ที่ประชุมได้นำเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมทุน (PPP) และผลการเจรจากับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เมื่อวันที่ 9 ก.ย.ที่ผ่านมาเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ แผนการส่งมอบพื้นที่ และเกณฑ์การวัดผลเอกชน (KPI) ซึ่งเบื้องต้นคณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว แต่เอกสารบางส่วนยังเขียนไม่ครอบคลุมว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบส่วนไหน ดังนั้นอัยการสูงสุดจึงแก้ไขรายละเอียดบางส่วนเพิ่มเติม เช่น การอ้างอิงข้อมูล คำเชื่อมประเภทและ/หรือ รวมถึงระบุผู้รับผิดชอบในส่วนต่างๆ ให้ชัดเจนอีกครั้ง

ทั้งนี้รฟท.จะส่งรายละเอียดที่แก้ไขกลับไปให้ CPH พิจารณาและตอบกลับภายใน 7 วัน ถ้าหากกลุ่ม CPH พอใจร่างสัญญา เอกสารแนบท้าย และข้อมูลทั้งหมดแล้ว ก็ขอให้กลุ่ม CPH กำหนดวันลงนามสัญญา ส่วนการรถไฟฯ ก็จะดำเนินกระบวนการภายในเพื่อกำหนดวันลงนามสัญญาเช่นกัน หลังจากนั้นจะเสนอเรื่องให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เพื่อรายงาน ครม. และรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะลงนามได้ภายในเดือน ก.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม ภายในระยะเวลา 1 ปีหลังจากที่ลงนามร่วมทุนในสัญญาให้รฟท.เคลียร์ระบบสาธารณูปโภค 300 สัญญา เวนคืนที่ดิน พื้นที่บุรุกให้แล้วเสร็จ เพื่อเตรียมที่ดินในการก่อสร้างโครงการ หลังจากนั้นก็ส่งมอบพื้นที่ซี.พี.อย่างเป็นทางการ โดยซี.พี.จะต้องก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 5 ปี ส่วนการส่งมอบโครงการแอร์พอรตลิ้งให้กับกลุ่มซีพีนั้น จะสามารถดำเนินการส่งมอบได้หลังจากที่ รฟท. ลงนามกับซีพีภายใน2 ปี รวมถึงการจ่ายเงินค่าบริหารสิทธิ์แอร์พอรตลิ้งให้กับ รฟท. ด้วย

“ การส่งมอบพื้นที่ หลายฝ่ายเป็นห่วง เพราะเป็นประเด็นที่อาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ หรือเกิดการฟ้องร้องขึ้นในอนาคต ดังนั้น การรถไฟฯ และ CPH จึงตกลงกันว่า เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายลงนามสัญญาแล้ว ก็จะต้องส่งหนังสือให้เอกชนเข้าพื้นที่เพื่อเริ่มก่อสร้าง (Notice to Proceed : NTP) ภายใน 1 ปี แต่ถ้าหากเกิดปัญหา ก็สามารถขยายวันเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างออกไปได้อีก ซึ่งโมเดลนี้เหมือนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง”

ส่วนกรณีที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะต้องรื้อย้ายเสาโฮปเวลล์ออกจากแนวก่อสร้าง รวมถึงก่อสร้างคลองแห้งในโครงการงระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (Missing Link) สีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ที่ทับซ้อนกันอยู่นั้น เอกสารเสนอโครงการ (RFP) ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ได้บรรจุวงเงินทั้ง 3 ก้อนไว้ให้กับเอกชนเรียบร้อยแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=psAqYC85Y1Q
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2019 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

สภาฯ ไม่ตั้ง กมธ.ศึกษารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
การเมือง
-สำนักข่าวไทย
13 กันยายน 2562 เวลา 13:47:35

รัฐสภา 13 ก.ย.-ที่ประชุมสภาฯ มีมติไม่ตั้ง กมธ.ศึกษาและตรวจสอบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และ EEC

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (13 ก.ย.) มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาญัตติด่วนเรื่องขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา ตรวจสอบการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นผู้เสนอ

ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าวนี้ อภิปรายสนับสนุน ว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์กับรัฐ เป็นประโยชน์กับประชาชน ดังนั้นการตั้งคณะกรรมาธิการถือว่าเหมาะสม เพื่อศึกษาไม่ให้มีผลกระทบต่อประชาชน เพราะเป็นโครงการแรกที่รัฐเป็นผู้ลงทุน และให้เอกชนแสวงหาผลประโยชน์ได้ต่ออีกในระยะยาว อาจทำให้รัฐเสียประโยชน์ รวมทั้งขอให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้วย

ขณะเดียวกัน ยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางส่วนตั้งข้อสังเกต อาทิ นายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่เห็นด้วยที่จะให้คนต่างชาติเข้ามาทำการวิจัย รวมถึงการออกกฎหมายให้อำนาจกรรมการมากเกินไปจะไม่เป็นที่ยอมรับ จึงขอให้ศึกษาโดยระเอียด เพราะหากจะเดินหน้าโครงการนี้ คุณภาพชีวิตของคน เศรษฐกิจในพื้นที่ต้องดีขึ้น

ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติไม่ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา ตรวจสอบการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ด้วยคะแนน 223 ต่อ 231 เสียง.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2019 5:10 pm    Post subject: Reply with quote

งานนี้ ได้ลงนามรถไฟความไวสูงเชื่อมสามสนามบินแน่ๆ
https://www.thebangkokinsight.com/205036/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2019 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

‘รถไฟ-ซีพี’ เห็นชอบร่วมกันแล้ว แผนส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน
วันที่ 9 กันยายน 2562 - 21:43 น.
‘รถไฟ-ซีพี’ เห็นชอบร่วมกันแล้ว แผนส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ชงคณะกรรมการคัดเลือกเคาะ 11 ก.ย. นี้

‘รถไฟ-ซีพี’ เห็นชอบร่วมกันแล้ว – นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงผลการประชุมชุดย่อยระหว่าง รฟท. กับกิจการร่วมค้าบริษัทกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เกี่ยวกับการจัดทำแผนการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 2.2 แสนล้านบาท ว่า รฟท. ได้การหารือเพื่อปรับจูนความเข้าใจให้ตรงกับ CPH ได้แล้ว เกี่ยวกับแผนการส่งมอบพื้นที่ ว่าจะดำเนินการอย่างไร รูปแบบไหน โดยจะนำผลสรุปแผนการส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกฯพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 11 ก.ย. นี้ หากคณะกรรมการเห็นชอบตามข้อเสนอขั้นตอนต่อไปคือการนัดวันเพื่อลงนามในสัญญากับกลุ่ม CPH ต่อไป แต่หากคณะกรรมการคัดเลือก ไม่เห็นชอบตามที่เสนอก็ยังไม่สามารถลงนามได้

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ รฟท. และกลุ่ม CPH ยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับแผนการส่งมอบพื้นที่เนื่องจากติดปัญหาเรื่องของการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคของหน่วยงานต่างๆ อาทิ ท่อน้ำมัน, ท่อแก๊ส, ท่อประปา ที่จะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการรื้อย้าย


รถไฟ ส่งร่างสัญญาสุดท้ายร่วมทุนไฮสปีด 3 สนามบิน ให้ซีพีพิจารณาตอบกลับภายใน 7 วัน
วันที่ 11 กันยายน 2562 - 23:15 น.


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกวันนี้ ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างสัญญาร่วมทุนฯ ตามที่ รฟท.เสนอ แต่มีการแก้ไขข้อความบางส่วนให้สมบูรณ์มากขึ้น โดยไม่ได้กระทบต่อสาระสำคัญของสัญญา โดยคณะกรรมการฯ เตรียมส่งร่างสัญญาฯ ดังกล่าว ไปให้กิจการร่วมค้าบริษัทกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) พิจารณา โดยกำหนดให้ต้องตอบกลับมาภายใน 7 วัน โดยหากเห็นชอบตามร่างสัญญาฯ ที่เสนอไป ให้ CPH นำเสนอวันลงนามมาด้วย

“มั่นใจว่าไม่มีประเด็นปัญหาอะไรแล้วเรื่องประเด็นการส่งมอบพื้นที่ ส่วนข้อความที่คณะกรรมการคัดเลือกแก้ไขบางส่วนวันนี้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะเราชี้แจงเหตุผลการเปลี่ยนแปลงข้อความไปด้วย ข้อความที่แก้ไขส่วนใหญ่ เช่น และ หรือ หากซีพีตอบกลับมาว่าเห็นชอบตามร่างที่เสนอไป ก็ต้องมาตกลงวันที่จะลงนามร่วมกันว่าจะวันไหน จากนั้นต้องนำเสนอให้กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ เพื่อดำเนินการลงนามในสัญญาต่อไป คาดว่าจะลงนามได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด คือในเดือนก.ย.นี้”

นายวรวุฒิ กล่าวถึงการส่งมอบพื้นที่ ว่า หลังลงนามในสัญญารถไฟ จะต้องส่งมอบพื้นที่ให้ CPH ภายใน 1 ปีและสามารถขยายเวลาได้ถ้ามีปัญหา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/09/2019 11:00 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย: รถไฟเชื่อม 3 สนามบินช้าไปอีก 2 ปี
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

"ลม เปลี่ยนทิศ"

ในที่สุด โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ก็ต้อง ล่าช้าออกไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี จากปัญหาที่ผมเขียนติงไปเมื่อต้นเดือน โดยเฉพาะ การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างตลอดเส้นทาง 220 กม. ตั้งแต่ อู่ตะเภา ไปจนถึง ดอนเมืองผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพฯ ทุกพื้นที่มีการบุกรุกที่ดิน ที่เช่า และมีสิ่งก่อสร้างเดิม รวมทั้งสาธารณูปโภคของรัฐที่ต้องย้ายออกไป

แต่งานนี้ ยักษ์ใหญ่ซีพี ฮึดสู้ไม่ถอย คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์เปิดเผยว่า กลุ่มซีพีกับพันธมิตรพร้อมจะลงทุนและตั้งใจเต็มที่ แสดงว่างานนี้ กลุ่มซีพี ของ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ พร้อมสู้เต็มที่ แม้จะรู้ว่าเป็นงานสุดหินและผลสรุปของโครงการอาจจะขาดทุนก็ตาม

โครงการรถไฟความเร็วสูง 220 กม. เชื่อม 3 สนามบิน วงเงินลงทุนเบื้องต้น 224,544 ล้านบาท ถือเป็น โครงการแรก ใน เฟสแรกของ ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (EEC) จากทั้งหมด 5 โครงการอีก 4 โครงการคือ สนามบินอู่ตะเภาเมืองการบินภาคตะวันออกท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด ถ้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินสามารถสร้างเสร็จตามกำหนดภายใน 5 ปี ก็ถือว่า สิ้นสุดแผนอีอีซีระยะที่ 1 อีก 5-10 จะเป็นการพัฒนา เมืองการบิน หรือมหานครการบิน เป็นระยะต่อไป

เห็นไหมครับว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินสำคัญขนาดไหน

ถ้า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไม่เกิด หรือไม่เสร็จสนามบินอู่ตะเภาจะเป็นสนามเดี่ยวเหมือนเดิม หรืออาจกลายเป็น สนามบินโลว์คอสต์ รองรับนักท่องเที่ยวในภาคตะวันออก ไม่เชื่อมโยงกับสนามบินสุวรรณภูมิ และ ดอนเมือง ที่สำคัญ เมืองมหานครการบินก็ไม่เกิด ส่งผลกระทบไปถึง ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี เพราะระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ล้าสมัยต้องพึ่ง ระบบถนนที่ติดขัด และ รถไฟรางคู่ที่มีอยู่แบบฉึกกะฉักถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างเหมือนเดิม

ผมจึงได้ชี้ให้เห็นถึง ปัญหาที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข เพราะสุดท้ายแล้ว ผลประโยชน์จะตกแก่ประเทศชาติและประชาชน ไม่ใช่เอกชนผู้สัมปทานเพียงรายเดียว

ล่าสุดปลายสัปดาห์ที่แล้ว คุณวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯ ให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ เห็นชอบให้มีการ "เซ็นสัญญาก่อน" แล้วให้ การรถไฟฯ จะออก "หนังสือให้เริ่มงานก่อสร้าง (Notice to Process-NTP)" คือ ให้มีการเซ็นสัญญาการประมูลไว้ก่อน ส่วนการเริ่มต้นนับสัญญาโครงการ 5 ปี ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่การรถไฟฯออกหนังสือ NTP ให้กับกลุ่มซีพี เพราะ การรถไฟฯ มีปัญหาในการส่งมอบที่ดินก่อสร้างไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ 100% ได้ตามเงื่อนไขสัญญา

เงื่อนไขใหม่ คุณวรวุฒิ เปิดเผยว่า การเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างการรถไฟฯมีทั้ง การเวนคืนที่ดิน การย้ายผู้บุกรุก การคืนพื้นที่ 300 สัญญาเช่า และ ประสานกับ 6 หน่วยงานรัฐเจ้าของระบบสาธารณูปโภคที่ต้องรื้อย้าย โดยให้เจ้าของสาธารณูปโภคเป็นผู้รื้อย้ายเอง ส่วนกลุ่มซีพี จะรับผิดชอบรื้อสิ่งกีดขวางในแนวเส้นทาง เช่น ตอม่อโฮปเวลล์ โครงสร้างส่วนที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟไทยจีนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง และ รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงจิตรลดา เป็นต้น สมมติว่าลงตามเดือนตุลาคม จะต้องเคลียร์ปัญหาต่างๆภายในหนึ่งปีหากใช้เวลาเกินหนึ่งปีสามารถหารือร่วมกันขอขยายเวลาได้ เพื่อลดความเสี่ยงสองฝ่าย การรถไฟฯคาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ได้ทั้งหมด ภายใน 2 ปี เป็นโมเดลเดียวกับ สัญญารถไฟฟ้าสีชมพูและสีเหลือง

ถ้าทุกอย่างราบรื่นตามที่ คุณวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯ แถลง รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จะล่าช้าจากกำหนดอีก 2 ปี ถ้าเซ็นสัญญาปีนี้การก่อสร้างจะไปเริ่มปลายปี 2564 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ก็จะไปเสร็จเอาปลายปี 2569 เฟสแรกอีอีซีจึงจะเสร็จ แต่การทำงานจริงผมเชื่อว่าการส่งมอบพื้นที่อาจล่าช้ากว่า 2 ปี ดูรถไฟสายสีแดงเป็นตัวอย่าง

ปล.ขอแก้ข่าวครับ บทความเสาร์ที่ 14 กันยายน เรื่อง เงินบริจาคให้ มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก โรงพยาบาลราชวิถี ยอดเงินบริจาคที่ถูกต้องตามต้นฉบับคือ 800,000 บาท (แปดแสนบาท) ครับไม่ใช่ 8,000,000 บาท (แปดล้านบาท) โปรดเข้าใจตามนี้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 333, 334, 335 ... 542, 543, 544  Next
Page 334 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©