Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179871
ทั้งหมด:13491103
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 75, 76, 77 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2019 2:33 pm    Post subject: Reply with quote

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (S.R.T. Electrified Train Company Limited) เปิดเพจเพื่อรับมือกะสายสีแดงแล้ว
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%97-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94-SRT-Electrified-Train-Company-Limited/142527305871745
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2020 11:53 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยึดมติ คนร.ตั้ง บ.ลูกสายสีแดง เร่งชี้แจงคมนาคมยันเดินรถเอง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 2 มกราคม 2563 เวลา 09:33
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 2 มกราคม 2563 เวลา 09:36



รฟท.ยึดมติ คนร.บริหารสายสีแดง โดยอัพเกรด บ.แอร์พอร์ตลิงก์ ชี้มีผลศึกษาครบถ้วน หาก ครม.เห็นชอบจัดตั้งได้ทันที เร่งชี้แจงคมนาคมในต้น ม.ค.63 พิสูจน์ผลประกอบการ 5 ปี ส่วน PPP เป็นแนวคิดแต่ยังไม่มีการศึกษารายละเอียด

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทลูกเดินรถสายสีแดงว่า จากที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้ศึกษาเปรียบเทียบ รูปแบบการบริหารการเดินรถไฟสายสีแดง ระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริหารเอง กับ การให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) เพื่อให้การบริหารโครงการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งอยู่ระหว่างรอให้รฟท.ส่งข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามา จากนั้นจะเร่งสรุปเพื่อรายงานต่อรมว.คมนาคม ในเดือน ม.ค. 2563

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า รฟท. อยู่ระหว่างทำข้อมูลเพิ่มเติม ให้กระทรวงคมนาคม โดยยังยืนยันรูปแบบการจัดตั้งบริษัทเดินรถสายสีแดง ด้วยการเพิ่มพันธกิจให้แก่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ที่ปัจจุบัน การบริหารโครงการ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ตามมติ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ได้มีการศึกษารายละเอียดไว้แล้ว และหาก คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบจะสามารถดำเนินการได้ทันที

“ภายในต้นเดือนม.ค.63 จะส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้ทางกระทรวงคมนาคมได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีข้อมูลอยู่แล้ว ทั้งแผนการเกลี่ยอัตรพนักงาน การโอนย้าย ขณะนี้ ทาง แอร์พอร์ตลิงก์ได้มีการทยอยส่งพนักงานไปอบรมเพื่อดำเนินการบริหารรถไฟสายสีแดงแล้ว ส่วนรูปแบบ PPP เป็นแนวคิดหนึ่งที่กระทรวงนำมาพิจารณาปรียบเทียบ และยังไม่ได้มีการศึกษารายละเอียด”

สำหรับความคืบหน้าการโอน โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ ให้กับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) ตามเงื่อนไข โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) นั้น นายวรวุฒิกล่าวว่า กลุ่มซีพีจะต้องรับมอบโครงการหลังลงนามสัญญาภายใน 2 ปี พร้อมกับชำระเงิน จำนวน 10,671,090,000 บาทให้ครบ ซึ่งขณะนี้ ทางซีพียังไม่ได้ส่งแผนทำดิวดิลิเจนซ์ (due diligence)

ส่วนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น ขณะนี้พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) การกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ออกมาแล้ว คาดว่า ภายในเดือนม.ค. 2563 ฝ่ายออกแบบจะเริ่มหารือกัน

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2562 คนร.มีมติเห็นชอบ การเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟสายสีแดง โดยการเพิ่มพันธกิจให้แก่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและบุคลากรของ รฟฟท. ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า โดยให้ปรับปรุงแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาในการหารายได้และทำกำไร

โดยบริษัทลูกสายสีแดง จะบริหารแบบ Net Cost รับความเสี่ยงในการบริหารโครงการเอง โดยเงินทุนบริษัทใน 5 ปี วงเงิน 3,300 ล้านบาท โดยปีแรก (2564 ) จะจัดสรรให้ 989 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าจัดหาอะไหล่เริ่มต้นประมาณ 680 ล้านบาท และสำหรับชดเชยการขาดทุนประมาณ 300 ล้านบาท เนื่องจาก ประเมินปีแรกจะมีผู้โดยสารประมาณ 5 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 8 หมื่นคนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/01/2020 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม 2563” มือเติบกำงบฯ 2 แสนล้าน เทกระจาดลงทุน กู้เศรษฐกิจปีชวด
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 30 ธันวาคม 2562 - 14:50 น.

ได้ฤกษ์ประมูลสายสีแดง

ด้านการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หลังรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางผ่าน ครม.เมื่อต้นปี 2562 ได้แก่ ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202.18 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6,645.03 ล้านบาท อยู่ระหว่างเตรียมประมูลพร้อมกันทั้ง 3 เส้นทาง คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาก่อสร้างในเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2563

ส่วนสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก (Missing Link) และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง รวมระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท หลังจากได้ขยายเวลาก่อสร้างจาก 36 เดือน เป็น 54 เดือน เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา อยู่ระหว่างทบทวนแนวเส้นทางที่ทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2020 6:16 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นทรัล”รังสิต”ลุยซื้อ761ไร่ ลุ้นสีผังเมืองผุดบิ๊กโปรเจ็กต์ รับทำเลโซนเหนือ
แนะนำข่าว อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 9 มกราคม 2563 - 19:12 น.

เซ็นทรัล”รังสิต”ลุยซื้อ761ไร่ ลุ้นสีผังเมืองผุดบิ๊กโปรเจ็กต์ รับทำเลโซนเหนือ
“เซ็นทรัล” ทุ่ม 1,500 ล้าน ซื้อที่ดินไทยเมล่อนจาก บสก.เพิ่ม 145 ไร่ ดอดโอนส่งท้ายปี รวมแปลงใหญ่ถึง 761 ไร่ ผุดมิกซ์ยูสรับทำเลโซนเหนือ สร้างทางเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดง “บางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์” และโทลล์เวย์ส่วนต่อขยาย “บางปะอิน” เชื่อมมอเตอร์เวย์สายอีสาน ขอ 3 ปีค่อยลงทุน ลุ้นผังเมืองปลดล็อกจากสีม่วงเป็นสีแดง เปิดทางพัฒนาเต็มรูปแบบ

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า หลัง บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ซื้อที่ดิน 616 ไร่ย่านรังสิต เป็นที่ดินโรงงานไทยเมล่อนโปลีเอสเตอร์เดิม ติดถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงกษาปณ์ วงเงิน 4,000 ล้านบาทเมื่อปี 2554 ต่อจากนายธรรมนัส พรหมเผ่า ที่ซื้อจากบรรษัทพัฒนาบริหารสินทรัพย์ (บสท.) 3,205 ล้านบาทเมื่อ 31 พ.ค. 2554 ถึงขณะนี้เซ็นทรัลยังไม่ได้พัฒนาโครงการ จากเดิมปี 2555 มีแผนจะลงทุน13,700 ล้านบาท ขึ้นศูนย์การค้า “เดอะ เอ็ม โปรเจ็กต์” รองรับตลาดโซนรังสิต และรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ด้านหลังโครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างสถานีรังสิตกับสถานีคลองหนึ่ง


เซ็นทรัลตุนที่รังสิต
ล่าสุด แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าเซ็นทรัลเป็นผู้ชนะประมูลที่ 145 ไร่เศษ ของไทยเมล่อนเดิม จาก บมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) โดยเสนอราคา 1,500 ล้านบาท สูงกว่าราคาตั้งต้น1,500 ล้านบาทเล็กน้อย และโอนกรรมสิทธิ์เมื่อ ธ.ค. 2562

“ที่ 145 ไร่ เป็นแปลงที่ 2 ของไทยเมล่อนที่ออกมาประมูล อยู่ถัดจากที่ 616 ไร่ที่เซ็นทรัลซื้อก่อนหน้านี้ เท่ากับเซ็นทรัลมีที่ผืนใหญ่ 761 ไร่ติดพหลโยธิน ซึ่งปัจจุบันมีไทวัสดุในเครือเซ็นทรัลสร้างอยู่ตรงกลาง”


จากข้อมูลของ BAM ระบุว่า แถบนี้เป็นที่ดินเปล่า 3 แปลง ติดกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดถนนพหลโยธิน ฝั่งขาออกกม.35+200 หน้ากว้าง 192 เมตร ยาว 1,056 เมตร ตั้งราคาประมูล 1,500 ล้านบาทหรือเฉลี่ย 25,770 บาทต่อตารางวาต่ำกว่าราคาตลาดที่กำหนดตารางวาละ 30,000-60,000 บาท สภาพที่ส่วนใหญ่ถมแล้ว ซึ่งการใช้ประโยชน์ตามผังเมืองรวม จังหวัดปทุมธานี กำหนดเป็นพื้นที่สีม่วงประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า ซึ่งตั้งอยู่ถนนสายหลัก ใกล้รถไฟฟ้าชานเมืองและอยู่ในย่านพาณิชยกรรม เหมาะพัฒนาเป็นโครงการจัดสรร โรงงาน คลังสินค้า และโลจิสติกส์



รอจังหวะลงทุน
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ดินที่บริษัทซื้อเพิ่ม เมื่อรวมของเดิมเป็น 761 ไร่นั้น มีแผนพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ (big project) แต่ยังไม่มีกำหนดการแน่ชัด และยังไม่อยู่ในไปป์ไลน์การลงทุนช่วง 3 ปีนี้ เพราะเซ็นทรัลมีที่ดินอีกหลายแปลงที่รอการพัฒนา

“รูปแบบพัฒนาจะเป็นมิกซ์ยูส เพราะขนาดเป็นที่แปลงใหญ่ มีหน้ากว้าง1 กม.ยาวตลอดถนนพหลโยธิน ส่วนศูนย์การค้าคงพัฒนาใหญ่กว่าเซ็นทรัลเวสต์เกต ก่อนหน้านี้เราเคยมีโครงการเดอะ เอ็ม ก็ยังคงคอนเซ็ปต์อยู่ แต่อาจรีวิวให้เข้ากับขนาดพื้นที่และสถานการณ์ปัจจุบัน”

การซื้อที่ดินไทยเมล่อนของกลุ่มจิราธิวัฒน์ 616 ไร่ก่อนหน้านี้ เพื่อพัฒนาค้าปลีกขนาดใหญ่ รับการขยายตัวของกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นที่เปิดเผยในวงการค้าปลีกตั้งแต่ปี 2555 เนื่องจากเป็นทำเลมีศักยภาพ ถือเป็นทำเลยุทธศาสตร์ที่ต้องการปักธงสาขาให้ครอบคลุม 4 มุมเมืองคือ เซ็นทรัลบางนา,เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, เซ็นทรัลเวสต์เกต เดิมตั้งเป้าเปิดปี 2560 แต่ติดปัญหาผังเมือง จึงลงทุนแค่ร้านไทวัสดุไปก่อน โดยเซ็นทรัลแบ่งที่ให้ไทวัสดุเช่าเปิดสาขาที่ 41 เมื่อปี 2558

“ซุปเปอร์เซฟ” พ่ายศึกค้าปลีก สี TOA ถอดใจยกธงขาว-แจ้งเลิกกิจการ
เซ็นทรัลมั่นใจตรุษจีนสะพัด 1.3 หมื่นล. ผนึก 9 ธุรกิจระเบิดแคมเปญใหญ่ตั้งแต่ต้นปี
ทั้งนี้ ทิศทางการพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกช่วงรอยต่อกรุงเทพฯกับปริมณฑล จำเป็นต้องใช้ที่แปลงใหญ่ เพื่อสร้างความผสมผสานและสร้างแรงดึงดูด เห็นได้จากเมกาบางนาที่ประสบความสำเร็จสูงมาก ซึ่งพื้นที่กรุงเทพฯตอนเหนือในปัจจุบันฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เป็นผู้นำตลาด ด้วยพื้นที่กว่า 5 แสน ตร.ม. มีผู้ใช้บริการนับแสนคนในแต่ละวัน

นอกจากเซ็นทรัลได้เตรียมที่ดินไว้แล้วนั้น ย่านดังกล่าวยังมี บมจ.สยามฟิวเจอร์ฯและอิคาโน่ (อิเกีย) ผู้พัฒนาเมกาบางนาได้กว้านซื้อที่ดินแปลงใหญ่กว่าพันไร่ บริเวณจุดตัดรังสิต-นครนายก กับวงแหวนรอบนอกก่อนหน้านี้ และมีแผนพัฒนาโครงการค้าปลีกเช่นกัน

เซ็นทรัล”รังสิต”ลุยซื้อ761ไร่ ลุ้นสีผังเมืองผุดบิ๊กโปรเจ็กต์ รับทำเลโซนเหนือ

ปรับสีผังเมือง
แหล่งข่าวจากโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างปรับปรุงใหม่ผังเมืองรวมท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต เป็นการปรับปรุงครั้งที่ 2 หลังประกาศใช้เมื่อปี 2552 มีพื้นที่ 216 ตางรางกิโลเมตร ครอบคลุมเทศบาลเมืองท่าโขลง เทศบาลเมืองคลองหลวง อ.คลองหลวง และเทศบาลนครรังสิต อ.ธัญบุรี คาดว่าภายใน 2563 จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งปลายเดือน ม.ค. 2563 จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะเสนอให้คณะกรรมการผังเมืองรวมจังหวัดพิจารณาอนุมัติ เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง โดยรัฐได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมทั้งรถไฟฟ้า มอเตอร์เวย์ และโทลล์เวย์

“ผังเมืองใหม่มีหลายพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตรงโรงแรมแมนฮัตตันซอยวัดคุณหญิงส้มจีน และที่ดินอีก 100 ไร่ เดิมเป็นสีม่วง รวมถึงที่ไทยเมล่อน 616 ไร่ ที่เซ็นทรัลซื้อไปปี 2557 บริษัทยื่นเสนอขอปรับสีผังเมืองจากสีม่วงเป็นสีแดง พัฒนาพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากได้ เพื่อขึ้นศูนย์การค้าและบิ๊กโปรเจ็กต์”

ทั้งนี้ เป็นการรองรับรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ เนื่องจากสถานีจะอยู่ด้านหลังพอดี ตามแบบจะมีทางเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้า ด้านหน้าเชื่อมโทลล์เวย์ส่วนต่อขยายจากรังสิต-บางปะอิน ที่ต่อเชื่อมจากมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราชของกรมทางหลวง โดยมีด่านเก็บค่าผ่านทางของโทลล์เวย์อยู่ด้านหน้าโครงการ

เซ็นทรัล”รังสิต”ลุยซื้อ761ไร่ ลุ้นสีผังเมืองผุดบิ๊กโปรเจ็กต์ รับทำเลโซนเหนือ

เร่งสายสีแดง-โทลล์เวย์
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่าในเดือน ม.ค. 2564 จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตอย่างเป็นทางการ คาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 80,000-100,000 เที่ยวคนต่อวัน ทั้งนี้จะทดลองการเดินรถฟรีในปีหน้าช่วงไตรมาส 4 ของปี 2563 ส่วนต่อขยายสายสีแดงช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเมื่อปี 2562 ล่าสุดร.ฟ.ท.เตรียมเปิดประมูลในปีนี้ จะใช้เวลาสร้าง 3 ปี แล้วเสร็จปี 2565

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ภายในปี 2563 กรมจะเร่งรัดโครงการส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงรังสิต-บางปะอิน 18 กม. วงเงิน 29,400 ล้านบาทให้เปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุน PPP ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบที่เหมาะสม ตามแผนจะสร้างในปี 2564 ใช้เวลา 4 ปี แล็วเสร็จเปิดใช้ในปี 2568
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2020 10:47 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. ได้ทดลองนำขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง จำนวน 6 ตู้ เดินรถทดสอบ เพื่อตรวจสอบตัวรถและชานชาลาของแต่ละสถานี ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นำเอาขบวนรถจริงขึ้นวิ่งทดสอบ เบื้องต้นนำรถทดสอบในช่วง สถานีวัดเสมียนนารี ถึง สถานีดอนเมือง รวม 6 สถานี ซึ่งเป็นสถานีที่มีการปล่อยระบบไฟได้แล้วแต่ยังไม่เต็มระบบ การทดลองวิ่งในครั้งแรกนี้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีปัญหาอะไร การเดินรถ ยังใช้ความเร็วที่ต่ำมากประมาณ 10 กม/ชม. จากปกติจะใช้ความเร็วที่ 120-140 กม/ชม. หลังจากนี้จะหยุดทดสอบไปสักระยะ เพื่อทดสอบในระบบอื่นๆ ต่อไป ส่วนขบวนอื่นก็ยังอยู่ในขั้นตอนของการทดสอบ ระบบอื่นๆ เมื่อพร้อมก็จะนำขึ้นมาทดลองวิ่ง ก่อนจะทดสอบแบบเต็มรูปแบบ โดย ขบวนรถที่ส่งมาจะเก็บไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพฯ แต่ละขบวนจะถูกตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ของรถไฟฟ้า และทดสอบระบบตัวรถแบบจอดอยู่กับที่ จากนั้นจึงจะทดสอบแบบเคลื่อนที่ ตรวจสอบระบบต่างๆ ขณะรถวิ่งต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ประมาณกลางปี 63
ก่อนที่จะเปิดทดลองเดินรถเสมือนจริงประมาณไตรมาส 4 ปี 63 หรือเดือน ต.ค.63 ซึ่งในช่วงนี้ก็มีโอกาสที่จะเปิดให้ประชาชนได้ทดลองนั่งฟรีด้วย ก่อนที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการต้นปี 64
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2495988867289283
https://www.facebook.com/anwar.deae/posts/3404321696250700
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2020 12:27 pm    Post subject: Reply with quote

จิราธิวัฒน์-โอสถานุเคราะห์ พลิกที่ดินผืนยักษ์ผุดมิกซ์ยูส บูมรังสิต-คลองหลวง รับรถไฟฟ้าสีแดง
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 14 มกราคม 2563 - 09:00 น.

จิราธิวัฒน์-โอสถานุเคราะห์ พลิกที่ดินผืนยักษ์ผุดมิกซ์ยูส บูมรังสิต-คลองหลวง รับรถไฟฟ้าสีแดง
หลังมีความชัดเจนการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา ในปี 2563 สายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จะเปิดใช้ในเดือน ม.ค. 2564 และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังเปิดประมูลก่อสร้างส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ และกรมทางหลวงเตรียมจะดึงเอกชนร่วมลงทุนโทลล์เวย์ต่อขยายรังสิต-บางปะอินภายในปีนี้

ตระกูลดังพลิกที่ดินรับรถไฟฟ้า

ขณะนี้เริ่มมีความเคลื่อนไหวจากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีแลนด์แบงก์ในย่านจังหวัดปทุมธานี เริ่มเตรียมจะนำที่ดินมาพัฒนาโครงการใหม่ ไม่ว่า “ตระกูลจิราธิวัฒน์” เจ้าของศูนย์การค้าเซ็นทรัลที่ซื้อที่ดินไทยเมล่อน 761 ไร่ และที่ดินแปลงใหญ่บริเวณจุดตัดถนนรังสิต-องครักษ์ กับวงแหวนตะวันออก รอขึ้นบิ๊กโปรเจ็กต์

ยังมี “ตระกูลโอสถานุเคราะห์” เจ้าของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีแผนจะพลิกที่ดินมหา’ลัย เป็นพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย รวมถึงผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ เช่น บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ได้เข้าไปลงทุนซื้อที่ดินติดถนนพหลโยธินหลายแปลง พัฒนาโครงการพลัม คอนโด ที่พหลโยธิน 89 และรังสิต ใกล้กับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

จิราธิวัฒน์-โอสถานุเคราะห์ พลิกที่ดินผืนยักษ์ผุดมิกซ์ยูส บูมรังสิต-คลองหลวง รับรถไฟฟ้าสีแดง

เขย่าผังเมืองปทุมธานีใหม่


แหล่งข่าวจากโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปทุมธานีเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงร่างผังเมืองรวม 3 แห่ง ได้แก่ ผังเมืองรวมจังหวัด ผังเมืองรวมท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต และผังเมืองรวมลำลูกกา-บึงยี่โถ โดยท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำ คาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จภายในปี 2563-2564

“การวางคอนเซ็ปต์คร่าว ๆ คือ พื้นที่ช่วงระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดงถึงวงแหวนรอบนอกตะวันออก จะเป็นพื้นที่แกนกลางเมือง การพัฒนาจะเป็นเนื้อเดียวกับกรุงเทพฯ ส่วนพื้นที่อำเภอเมือง การพัฒนาจะเกี่ยวเนื่องกับจังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้ ในผังเมืองใหม่อยากจะเปิดพื้นที่ใหม่ ๆ เช่น การย้ายนิคมอุตสาหกรรมไปอยู่ในอำเภอลาดหลุมแก้วกับอำเภอบางกระดี่ที่จะเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนพื้นที่สีม่วงบางพื้นที่อาจจะต้องปรับใหม่เป็นพาณิชยกรรมรับกับการพัฒนาและศักยภาพของพื้นที่”

อสังหาฯซื้อที่ใน MMC

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับความเคลื่อนไหวการขอปรับสีผังเมืองก็มีหลายรายที่ยื่นเรื่องเข้ามา ที่ได้รับอนุมัติแล้ว มีที่ดินของโครงการ MMC แฟคตอรี่ นวนคร ประมาณ 1,300 ไร่ ก่อนถึงนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ขอปรับจากสีม่วง (อุตสาหกรรมและคลังสินค้า) เป็นสีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยบางส่วน แต่ได้รับอนุมัติให้เป็นสีส้ม (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) ก็สามารถพัฒนาพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยได้ แต่สร้างอาคารขนาดใหญ่ไม่ได้ และคงพื้นที่สีม่วงเป็นอุตสาหกรรมเดิมบางส่วนไว้

“ที่ดินแปลงนี้เข้าใจว่าเจ้าของขายให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ จึงขอปรับผังใหม่เพื่อพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย”

ไทยเมล่อนจากสีม่วงเป็นสีแดง

ส่วนที่ยื่นขอปรับปรุงและอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา เช่น ที่ดินไทยเมล่อนเดิม 616 ไร่ ที่ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนาได้ซื้อไป และเมื่อปี 2556 ยื่นขอปรับปรุงผังเมืองจากสีม่วงเป็นสีแดง (พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินในการพัฒนาพาณิชยกรรม ในรูปแบบลักษณะคอมมิวนิตี้มอลล์ มีทางเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงและโทลล์เวย์ส่วนต่อขยายจากรังสิตไปบางปะอิน

“ที่ดินตรงไทยเมล่อน ทางเซ็นทรัลขอปรับเป็นสีแดง แต่ยังมีข้าง ๆ ที่เป็นสีม่วง ก็กำลังพิจารณาว่าจะต้องยกเลิกหรือไม่ ห้างกับโรงงานจะอยู่ร่วมกันได้ไหม และดูผลกระทบต่อการจราจรบนถนนพหลโยธินด้วย เพราะดูแล้วน่าจะเป็นการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่” แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ม.กรุงเทพผุดมิกซ์ยูส

นอกจากนี้ยังมีที่ดินตรงมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เจ้าของที่ดิน คือ ตระกูลโอสถานุเคราะห์ เมื่อกลางเดือน ส.ค. 2562 ที่ผ่านมา ได้ยื่นคำขอปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่จำนวน 2 บริเวณ ซึ่งบริเวณแรกอยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยติดถนนพหลโยธิน เนื้อที่กว่า 4 ไร่ ขอปรับจากสีส้มเป็นสีแดง และที่ดินด้านหลังติดกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง จำนวนกว่า 125 ไร่ จะขอปรับจากสีเขียวมะกอก กำหนดเป็นที่ดินเพื่อสถาบันการศึกษา เป็นสีแดง ให้พัฒนาโครงการขนาดใหญ่ได้มากขึ้น

“ทั้ง 2 แปลงทางเจ้าของที่ดินแจ้งว่า ต้องการจะพัฒนาเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสาน หรือมิกซ์ยูส ประกอบด้วย พื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ เช่น คอนโดมิเนียม หอพัก บ้านเดี่ยว และอื่น ๆ และพื้นที่พาณิชยกรรมในลักษณะศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ประเภทคอมมิวนิตี้มอลล์ อาคารพาณิชย์ อาคารค้าปลีกค้าส่ง และอาคารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวนหลายอาคาร”

โดยมีเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม เพื่อให้รวบรวมสินค้าและบริการเพื่อการอุปโภคและบริโภคครบวงจร สำหรับผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยวในบริเวณอำเภอคลองหลวง อาทิ ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงภาพยนตร์ ฟิตเนส ร้านค้าแฟชั่น ศูนย์การศึกษา ศูนย์อาหาร ศูย์เภสัชกรรมและธนาคาร เป็นต้น รองรับธุรกิจการศึกษา ส่วนที่ดินของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการจัดทำผังเฉพาะพัฒนาเอง จะรับกับรถไฟฟ้าสายสีแดงที่สถานีธรรมศาสตร์

อิเกีย-ตลาดไทร่วมแจม

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในพื้นที่อื่น ๆ มีที่ดินของ “อิเกียและเซ็นทรัลอีกแปลง” ที่ยื่นขอปรับสีในผังเมืองรวมลำลูกกา-บึงยี่โถ ตรงจุดตัดวงแหวนตะวันออกกับถนนรังสิต-องครักษ์ จากพื้นที่สีเขียวเป็นสีแดงเพื่อพัฒนาพาณิชยกรรม

ยังมีที่ดินตลาดไทที่ขอปรับที่ดินบางส่วนอยู่ด้านหลังที่ปัจจุบันเป็นสีเหลือง ประมาณ 246 ไร่ เป็นพื้นที่สีแดง เพื่อทำห้องเย็น ขณะที่ตลาดสี่มุมเมืองก็ขอปรับสีผังเมืองตรงที่ดินอยู่ด้านหลังเป็นสีแดง เพื่อพัฒนาพาณิชยกรรมเช่นกัน และมีที่ดินตรงทางเข้าโรงแรมแมนฮัตตัน (ซอยวัดคุณหญิงส้มจีน) มีที่ดินด้านหลังประมาณ 1,000 ไร่ เป็นพื้นที่สีม่วง ปัจจุบันทำอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ ผสมผสานกับการสร้างที่อยู่อาศัย ทางเจ้าของที่ดินจะขอปรับเป็นสีเหลือง เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2020 10:10 am    Post subject: Reply with quote

Test run of Hitachi EMU for red line commuter at 10 kph - taken from Donmueang Tollway. Full speed and the test run with loaded passengers will start in October 2020 though.
https://www.facebook.com/watch/?v=1243162819406653

ส. ปลื้มเล่าเรื่อง
Pleum Patthong wrote:
ประวัติศาสตร์อีก 1 หน้า ของ รฟท.วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2563 เวลา 09.39 น.โดยขบวนรถไฟฟ้าสีแดง ขบวนที่ 1 จำนวน 6 คัน ซึ่งเป็นขบวนแรกได้เดินขบวนขึ้นไปบนทางยกระดับ ที่เสมียนนารี เพื่อทดสอบระบบที่เกี่ยวข้อง จนถึง สถานีรถไฟฟ้าสีแดงยกระดับ ดอนเมือง จอดค้างคืน วันที่ 14 มกราคม 2563 ทำการทดสอบระบบที่เกี่ยวข้อง และลงกลับมาที่ Depot ซ่อมบำรุง ถึงเวลา 17.49 น.

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2675790025843536&id=100002376940735
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2020 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีแดงประเดิมความเร็วจาก10อัพสปีด140
*อวดโชว์”ไจก้า”จากบางซื่อ-รังสิต25นาที
*ผลทดสอบวิ่งเทียบเข้าสถานีตรงพิกัดเป๊ะ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2498232807064889
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2020 1:27 pm    Post subject: Reply with quote



ทดสอบการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง ใน Youtube
https://www.youtube.com/watch?v=aTSE1m-2OuQ


Last edited by Wisarut on 17/01/2020 10:55 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2020 10:06 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. ของบสร้าง ‘รถไฟฟ้าสายสีแดง’ เพิ่มหมื่นล้าน หวั่นไม่เหลือเงินจ่ายผู้รับเหมา
โดย NOPPHAWHAN TECHASANEE
The Bangkok Insight
วันที่ 16 มกราคม 2563 เวลา 16:29:44

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันที่ 16 ม.ค.ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เห็นชอบให้การรถไฟฯ เสนอขอขยายกรอบวงเงินลงทุน โครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เพิ่มเติมอีก 10,000 ล้านบาท ส่งผลให้กรอบวงเงินลงทุนโครงการฯ ทั้งหมดรวมเป็น 1.1 แสนล้านบาท

สาเหตุที่ต้องเสนอรัฐบาลให้ขยายกรอบวงเงินลงทุนครั้งนี้ เนื่องจากการรถไฟฯ ต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง หรืองานที่ไม่ได้ออกแบบไว้ตั้งแต่ต้น ส่งผลให้วงเงินที่ได้รับอนุมัติในครั้งแรกไม่เพียงพอและการรถไฟฯ ต้องขอขยายกรอบวงเงินอีกหลายครั้ง รวมถึงในครั้งนี้ด้วย

แจกแจงค่าใช้จ่าย

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า เมื่อต้นปี 2562 บอร์ดได้มีมติเห็นชอบให้การรถไฟฯ เสนอขอขยายกรอบวงเงินลงทุน โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มเติมเป็นครั้งสุดจำนวน 9,000 ล้านบาท และเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว แต่กระทรวงคมนาคมส่งเรื่องกลับมาให้การรถไฟฯ ปรับปรุงข้อมูลและรายละเอียดอีกครั้ง จนเป็นที่มาของมติบอร์ดให้ขอขยายกรอบวงเงินลงทุนเพิ่มเติม 10,000 ล้านบาทในวันนี้ ซึ่งหลังจากนี้ก็ต้องเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตามขั้นตอน

สำหรับการขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มเติมดังกล่าว การรถไฟฯ จะนำไปใช้ในงานต่างๆ ซึ่งอยู่นอกเหนือจากแผน หรือเกิดจากการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง ได้แก่

สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล ที่มีกิจการร่วมค้า US ซึ่งประกอบด้วยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECและบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอน์ด คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ เป็นผู้รับเหมา ต้องขยายกรอบวงเงินเพิ่มเติมประมาณ 4,000 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางรถไฟบางซื่อ-รังสิต ที่มีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือITD เป็นผู้รับเหมา ต้องขยายกรอบวงเงินเพิ่มเติมในหลัก 100 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นค่าชดเชยในกรณีที่การรถไฟฯ ส่งมอบให้พื้นที่ก่อสร้างให้ ITD ล่าช้า

สัญญาที่3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟ สำหรับช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่มีกิจการร่วมค้า MHSC Consortium ซึ่งประกอบด้วยบริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial, บริษัท Hitachi และบริษัท Sumitomo Corporation เป็นผู้รับเหมา ต้องขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มเติมอีกประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายภาษีอุปกรณ์และขบวนรถ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขอขยายวงเงินในด้านอื่นๆ ที่จำเป็น อีกประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษา เป็นต้น

ต้องการเงินด่วน! กลัวไม่เหลือจ่ายผู้รับเหมา

รายงานข่าวกล่าวต่อว่า ปัจจุบันการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อมีความคืบหน้าไปมากแล้ว และไม่น่าเป็นห่วงเรื่องความสำเร็จของงาน แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การเบิกจ่ายเงินให้ผู้รับเหมา เพราะวงเงินในสัญญาที่ 1 เหลือจ่ายให้ผู้รับเหมาถึงเดือนมีนาคมนี้เท่านั้น ส่วนสัญญาที่เหลืออีก 2 ฉบับไม่น่าเป็นห่วง เพราะสัญญาที่ 2 เป็นเพียงการเจรจาจ่ายค่าชดเชย และสัญญาที่ 3 ยังเหลือวงเงินมากพอที่จะทยอยจ่ายให้ผู้รับเหมา

โดยตามปกติผู้รับเหมาจะเบิกเงินตามหลังความก้าวหน้าของงานก่อสร้างประมาณ 10% หรือมากกว่านั้น เช่น การก่อสร้างสัญญาที่ 1 มีความคืบหน้ากว่า 90% เพราะฉะนั้นผู้รับเหมาก็เบิกเงินไปแล้วประมาณ 70-80% และเหลือเงินอีก 20-30% ซึ่งการรถไฟฯ ต้องจ่ายเมื่องานแล้วเสร็จ

“สำนักบริหารนี้สาธารณะเข้าใจเรื่องนี้และพยายามช่วยผลักดัน โดยการรถไฟฯ ต้องการเงินก้อนนี้ด่วนที่สุด เพราะอีก 1-2 เดือนก็จะไม่มีเงินจ่ายผู้รับเหมา ถ้าถึงเดือนมีนาคมแล้ว ผลงานคืบหน้าตามเป้าหมาย แล้วการรถไฟฯ ไม่มีเงินจ่ายก็เกิดปัญหา โดยตอนนี้ก็เหลือเงินอีก 3,000-4,000 ล้านบาทที่ต้องขอเพิ่มเติมเพื่อจ่ายให้ผู้รับเหมาสัญญาที่ 1” แหล่งข่าวกล่าว

รอเคาะผลประมูล ‘ไฮสปีดไทย-จีน’ 7 ฉบับรวดเดียว

รายงานข่าวเปิดเผยต่อว่า วันนี้การรถไฟฯ ยังได้เสนอผลการประมูลงานโยธา โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จำนวน 3 สัญญาให้ที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบ แต่บอร์ดยังไม่ได้พิจารณา เนื่องจากต้องการเห็นความคืบหหน้าของโครงการในภาพรวมก่อน

ประกอบกับการรถไฟฯ รายงานว่า จะเสนอผลการประมูลงานโยธาโครงการรถไฟไทย-จีนอีก 4 สัญญาให้บอร์ดพิจารณาในการประชุมครั้งหน้า และถึงบอร์ดเห็นชอบผลการประมูลในตอนนี้ ก็ยังไม่สามารถลงนามสัญญากับเอกชนได้ เพราะต้องรอให้การปรับปรุงรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วเสร็จก่อน วันนี้บอร์ดจึงขอให้การรถไฟฯ รวบรวมผลการประมูลงานโยธาทั้ง 7 สัญญา เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาพร้อมกันทั้งหมดในครั้งหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 75, 76, 77 ... 147, 148, 149  Next
Page 76 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©