RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181675
ทั้งหมด:13492913
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวความคืบหน้าโครงการทางรถไฟสายนครพนม
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 43, 44, 45  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/04/2020 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊กโปรเจ็กต์แสนล้านสะดุดคมนาคม หั่นงบ 10% ทางคู่บ้านไผ่ - นครพนมเลื่อนยาว
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563

เมกะโปรเจ็กต์สะดุดราวเกือบ 100 โครงการ หลัง คมนาคม สั่งหั่น 10% กู้วิกฤติโควิด ทล.คาดสะดุด 20 โครงการ ด้าน ทช.โอด จ่อยื่นอุทธรณ์โครงการงบปี 2563 เชื่อโดนหั่นระนาวกว่า 20 โปรเจ็กต์เช่นกัน ทางคู่ บ้านไผ่-มุกดาหารฯ รฟท. ยันเซ็นสัญญาไม่ทัน พฤษภาคม 2563 แทรม 3 สายรฟม. ส่อดีเลย์

คำสั่งให้แต่ละหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ตัดงบประมาณปี 2563 ลง 10% เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 นั้น เป็นเรื่องที่ดี แต่กลับกันอาจส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนเม็ดเงินลงสู่ระบบฐานรากได้น้อยลงภายในปีนี้

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิ" ว่า ทล.อยู่ระหว่างปรับลดงบประมาณโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นงบรายการใหม่ ราว 5% รวมถึงโครงการดำเนินการปีเดียว ที่คาดว่าเซ็นสัญญาไม่ทันภายใน 31 พฤษภาคม 2563 จำนวน 20 โครงการ จากโครงการทั้งหมดจำนวน 4,000 โครงการ

แม้ว่ากระทรวงคมนาคมสั่งตัดงบประมาณปี 2563 ราว 10% ซึ่งอาจจะกระทบโครงการของปีงบ 2564 บ้าง เนื่องจากทล.จะมีการปรับงบประมาณปี 2564 แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่

"ขณะนี้เรายังให้ข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะเป็นโครงการใดบ้างที่ถูกปรับลดในปีงบ 2563 ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานกับสำนักงบประมาณ ว่าจะตัดบางโครงการออกหรือปรับลดงบประมาณโครงการที่ผูกพัน แต่เราก็ยืนยันไม่อยากตัดโครงการใดออกเช่นกัน ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมตั้งเป้าเบิกจ่ายงบปี 2563 ได้เต็ม 100% ซึ่งขณะนี้ยังมีระยะเวลาราว 6 เดือน เราจะพยายามเต็มที่เพื่อเบิกจ่ายงบปี 2563 ได้เต็ม 100%"

รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) สะท้อนว่า ในส่วนของทล.เป็นการปรับลดวงเงินของโครงการขนาดใหญ่ ราว 5% ของแต่ละโครงการ แต่ไม่ได้ตัดโครงการดังกล่าวออก แต่จะตัดโครงการปีเดียวบางโครงการที่ประกวดราคาไม่ทันในวันที่ 7 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานบูรณาการและงานซ่อมบำรุง เช่น โครงการพัฒนาทางหลวง หมายเลข 227 ตอนกาฬสินธุ์แยกดงแหลม จังหวัดกาฬสินธุ์วงเงิน 25 ล้านบาท โครงการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรและขนส่ง ทางหลวง หมายเลข 2350 ตอนหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี วงเงิน 25 ล้านบาท

นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า ทช.อยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงบประมาณ เพื่อยื่นอุทธรณ์โครงการงบปี 2563 ของ ทช. ในหลักการเบื้องต้นสำนักงบประมาณปรับลดงบประมาณปีแรก จำนวน 5% แต่จะไม่ตัดงบผูกพัน ขณะเดียวกันโครงการที่ถูกปรับลด 5% ยังสามารถดำเนินการต่อได้

ทช.มีหลายโครงการที่ชะลอมากกว่า 20 โครงการ โดยส่วนใหญ่แต่ละโครงการของ เราเป็นงานบำรุง จำนวน 9-10 ล้านบาท"

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า สำหรับโครงการของ รฟท. ที่อาจลงนามเซ็นสัญญาไม่ทันกลางปีนี้ คือ โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางบ้านไผ่มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 66,848 ล้านบาท เนื่องจากยังไม่ได้ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อเวนคืนที่ดิน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า โครงการที่อาจได้รับผลกระทบคือ โครงการรถ ไฟฟ้าในต่างจังหวัดซึ่งอยู่ ในขั้นตอนการขออนุมัติ เพื่อเปิดประมูลในปี 2563 และ 2564 ได้แก่ รถไฟฟ้ารางเบา (Tram) จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท, รถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท และรถไฟฟ้ารางเบา จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 8,000 ล้านบาท

จะตัดโครงการปีเดียวบางโครงการที่ประกวดราคาไม่ทันในวันที่ 7 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2020 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บิ๊กโปรเจ็กต์แสนล้านสะดุดคมนาคม หั่นงบ 10% ทางคู่บ้านไผ่ - นครพนมเลื่อนยาว
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563


ปลุกสถานีกลางบางซื่อ แปลง A หมื่นล้าน เปิดฟังความเห็น พ.ค.นี้
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563

ปัจจุบันมีหลายโครงการที่กระทรวงคมนาคม เร่งเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายระบบราง โดยเฉพาะรถไฟทางคู่ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญ ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคมนาคมขนส่งได้อย่างต่อเนื่องนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้ดำเนินการประกวดราคางานก่อสร้างของโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ นั้น ขณะนี้ รฟท.อยู่ระหว่างทำสัญญาจัดจ้างที่ปรึกษาเวนคืนที่ดิน เพื่อเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาเห็นชอบคาดว่าจะเริ่มลงนามสัญญาได้ภายในกลางปี 2563 เนื่องจากคาดว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน (พ.ร.ฎ. เวนคืน) จะออกประกาศภายในกลางปี 2563 หลังจากนั้นจะใช้ระยะเวลาดำเนินการเวนคืนที่ดินราว 1 ปี โดยภายในปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564 เตรียมดำเนินการจ้างผู้รับเหมาเพื่อดำเนินการก่อสร้างได้ทันที

ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม อาจลงนามเซ็นสัญญาไม่ทันกลางปีนี้ เนื่องจากปัจจุบันทาง รฟท.ยังไม่ได้ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อเวนคืนที่ดิน ซึ่งจะต้องรอคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 25/04/2020 11:28 pm    Post subject: Reply with quote

เอาล่ะมาเริ่มกันที่รายละเอียด โครงการ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม กันครับ

{เรื่องนี้ยาว ให้มือถืออ่านให้ฟังนะครับ}

ก่อนอื่นต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า เส้นทางนี้อยู่ในแผน E-W Economic Corridor เชื่อม ตะวันออก-ตะวันตก ของประเทศ และเชี่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย

ซึ่งเค้ามีทางเลือกหลายเส้นทางตามรูป แต่ทางที่เลือกในโครงการล่าสุดคือ

แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์-ชัยภูมิ-บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม

ซึ่งสายที่ศึกษาและพร้อมทำก่อนคือ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม นี่เราพูดถึงกันอยู่นี่

————————
โครงการ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ครม. อนุมัติ มาตั้งแต่ ช่วงพฤษภาคม 62

ซึ่งตอนนี้ รฟท ก็เดินหน้าประเมินราคาที่ดินเพื่อเตรียมเวนคืน ซึ่งคาดว่าจะออกประมูลได้ในปีหน้า ตามสายเชียงราย ที่ตอนนี้เตรียมประมูลแล้ว

ใครยังไม่ได้ดูคลิปเส้นทางโครงการดูได้จากโพสต์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/671824959922653/

ภาพรวมรายละเอียดโครงการ
- ระยะทางโครงการทั้งหมด 354 กิโลเมตร
- มีสถานีรถไฟและป้ายหยุดรถไฟทั้งหมด 31 สถานี
- ความเร็วรถไฟสูงสุดในการออกแบบในทางประธาน 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- เป็นทางรถไฟขนาด 1 เมตร เท่ากับรถไฟทางคู่ของการรถไฟ
- ความสูงชานชลา เป็นชานชลาสูง (เหมือนทางคู่ ขอนแก่น) สูง 1.1 เมตร
- มาตรฐาน โครงสร้างทางรถไฟ
รางรถไฟเป็นมาตรฐาน UIC 60
เป็นแบบหินโรยทาง บนทางระดับดิน
เป็นแบบไม่ใช้หินโรยทาง เป็นหมอนเหล็ก บนทางยกระดับหรือสะพาน

- ออกแบบรองรับรถไฟน้ำหนักสูงสุด 20 ตัน/เพลา (รับรถจักร CSR ซึ่งใหญ่สุดของการรถไฟได้)
- ใช้อาณัติสัญญาณ แบบ ETCS Level 1 ซึ่งเป็นระบบเดียวกับ รถไฟฟ้าสายสีแดง. และรถไฟทางคู่สายใหม่ทั้งหมดทุกสายทาง

{ใครอยากอ่านเส้นทางและตำแหน่งสถานี อยู่ล่างสุดเลยครับ}
——————————
*แนวคิดในการออกแบบ และสิ่งอำนวยความสะดวกภายสถานี*

1. พื้นที่เพื่อระบบการเดินรถ
2. พื้นที่อาคารสถานีและอาคารประกอบ
3. พื้นที่ลานสถานีและท่ีจอดรถ
4. พื้นที่เพื่อการขยายตัวในอนาคตสําหรับเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่นๆ (ITF-Inter modalTransfer Facilities)
5. พื้นที่เพื่อการพักอาศัยสําหรับการสร้างที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่และคนงาน
6. พื้นท่ีเพื่อการขยายตัวในอนาคต เพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในย่าน
7. พื้นท่ีโล่งเพื่อสันทนาการและชุมชน
8. เป็นพื้นท่ีว่างเอนกประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวของย่านสถานี

*รูปแบบสถานี แบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ*

- สถานีขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นสถานีระดับจังหวัด ขนาดย่านสถานีขนาดใหญ่ ในการเวนคืน ขนาด 180X1000 เมตร ซึ่งยังไม่รวมลานเก็บคอนเทนเนอร์ที่บางสถานีมีด้วย มีทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่
สถานีมหาสารคาม - ที่ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บริเวณชานเมืองติดทางหลวงท้องถิ่น 2040 ที่ กม. 69 + 117 พร้อมสร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 6000 ตารางเมตรที่นี่

สถานีร้อยเอ็ด - ที่ตำบลยางใหญ่ อำเภอจังหาร จังหวัด ร้อยเอ็ด อยู่ตรงแถวถนนวงแหวน ตัดกะถนน ไปจังหาร ที่ กม. 104 + 897 สร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 25000 ตารางเมตร ที่นี่ เพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตร เช่นข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว มันสำปะหลัง น้ำตาลที่นี่

สถานีมุกดาหาร - ที่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร กม. 247 + 176 และ
สถานีนครพนม - ที่ ตำบลนาทราย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครพนมไป 4 กิโลเมตร กม. 343 + 461

การออกแบบจะให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ในท้องถิ่น เช่น เช่นการตกแต่งเอาศิลปะในพื้นที่มาใส่ (แต่จริงๆผมว่าทำได้ดีกว่านี้ครับ แบบสายระยอง-ตราด)


- สถานีขนาดกลาง เป็นสถานีสำหรับอำเภอขนาดใหญ่ ซึ่งมีปริมาณผู้โดยสารมาก ขนาดย่านสถานีขนาดกลาง ในการเวนคืน ขนาด 150X700 เมตร มีทั้งหมด 5 สถานี ได้แก่
สถานีบรบือ - ที่ ตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัด มหาสารคาม ที่ กม. 45 + 812
สถานีโพนทอง - ที่ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 150 + 478 - สร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 6000 ตารางเมตร ที่นี่
สถานีเลิงนกทา - ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ห่างจากศาลาว่าการอำเภอเลิงนกทา 6 กิโลเมตร ใกล้ทางหลวง 212 (ถนนชยางกูร) - ไปอำนาจเจริญได้ที่นี่ กม. 209 + 666
สถานีธาตุพนม - ที่ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กม. 291 + 276 และ
สถานีสะพานมิตรภาพ 3 - ที่ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ใกล้ตีนสะพานมิตรภาพ กม. 354 + 292 ปลายรางจริงที่ กม. 354 + 783 - สร้างลานคอนเทนเนอร์ พื้นที่ 15000 ตารางเมตร เป็น ที่ทำการรับส่งสินค้าเชิงสะพานมิตรภาพ

- สถานีขนาดเล็กเป็นสถานีที่มีปริมาณผู้โดยสารน้อย และเป็นอำเภอหรือเมืองขนาดเล็ก ขนาดย่านสถานีขนาดเล็ก ในการเวนคืน ขนาด 130X500 เมตร มีทั้งหมด 9 สถานี ได้แก่
สถานีภูเหล็ก ที่ตำบลภูเหล็ก อำเภอบ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น - ที่ กม. 10 + 072 สร้างลานคอนเทนเนอร์ (CY) พื้นที่ 6000 ตารางเมตร ที่นี่
สถานีกุดรัง ที่ตำบลกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัด มหาสารคาม ที่ กม. 30 + 441
สถานีเชียงขวัญ ที่ตำบลพระธาตุ อำเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด กม. 117+700
สถานีโพธิ์ชัย ที่ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัด ร้อยเอ็ด กม. 129 + 093
สถานีหนองพอก ที่ตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 175 + 945
สถานีนิคมคำสร้อย ที่ ตำบลนากอก อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 223 + 100
สถานีสะพานมิตรภาพ 2 ที่ ตำบลบางไทรใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 254 + 700 - พอยกให้เป็นชุมทางไปต่อกะทางรถไฟสายสุวรรณเขต - ลาวบาว ได้ - สร้างลานคอนเทนเนอร์(CY) พื้นที่ 15000 ตารางเมตร ที่นี่
สถานีหว้านใหญ่ ที่ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร กม. 267 + 899
สถานีเรณูนคร ที่ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม กม. 303 + 948



- ป้ายหยุดรถไฟ มีทั้งหมด 12 ป้าย ขนาดพื้นที่ป้ายหยุดรถไฟ ในการเวนคืน ขนาด 100X300 เมตร เป็นแค่ชานชลา ไม่มีตัวอาคารสถานีขายตั๋ว มีผู้โดยสารน้อย รองรับแค่รถไฟท้องถิ่น ได้แก่
ป้ายหยุดรถไฟนาโพธิ์ ที่ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัด มหาสารคาม - ที่ กม. 20 + 982
ป้ายหยุดรถไฟ หนองโน - ที่ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่ กม. 59 + 310
ป้ายหยุดรถไฟ เขวา - ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามที่ กม. 78 + 420
ป้ายหยุดรถไฟศรีสมเด็จ - ที่ ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัด ร้อยเอ็ด - กม. 85 + 429
ป้ายหยุดรถไฟสีแก้ว - ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัด ร้อยเอ็ด ที่ กม. 93 + 992
ป้ายหยุดรถไฟเมยวดี - ที่ตำบลกกโพธิ์ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 159 + 956 -
ป้ายหยุดรถไฟโคกสว่าง - ที่ตำบลโคกสว่าง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด กม. 183 + 285
ป้ายหยุดรถไฟห้องแซง - ที่ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร กม. 197 + 765
ป้ายหยุดไฟบ้านป่งแดง ที่ ตำบลหนองแวง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 228 + 100
ป้ายหยุดรถไฟบ้านดานคำ ที่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ที่ กม. 250 + 475 -
ป้ายหยุดไฟรถนาถ่อน - ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กม. 315 + 426 และ
ป้ายหยุดรถไฟบ้านกลาง - ตำบลบ้านกลาง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กม. 320 + 022



————————
*ลานกองเก็บตู้สินค้า / Container Yard (CY)*

นอกจากรถไฟสายนี้จะใช้ขนส่งคนแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของเส้นทางสายนี้คือการขนส่งสินค้า เพื่อที่จะส่งจากแหล่งผลิตไปโรงงานอุตสาหกรรม หรือท่าเรือ และส่งสินค้าขายประเทศเพื่อนบ้าน

ดังนั้นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างระบบถนนและระบบรางในเส้นทางก็เป็นส่วนที่สำคัญมาก

จึงมีการก่อสร้างลานกองเก็บตู้สินค้า (CY) ในเส้นทางไว้ถึง 6 จุด แบ่งเป็น 2 ระดับ ขึ้นกับความต้องการของผู้ประกอบการคือ

- ย่านกองเก็บตู้สินค้า / Container Yard ซึ่งมีขนาดใหญ่ 15,000-25,000 ตารางเมตร เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายขนาดใหญ่ ได้แก่ สถานีร้อยเอ็ด,
สะพานมิตรภาพ 2 และ
สะพานมิตรภาพ 3
- ลานกองเก็บตู้สินค้า จะมีขนาดย่อมลงมา ประมาณ 6,000 ตารางเมตร ได้แก่
สถานี ภูเหล็ก,
มหาสารคาม และโพนทอง

—————————
ขบวนรถไฟที่ให้บริการในเส้นทาง

ในโครงการ จะมีรถไฟโดยสารให้บริการจากการศึกษา 4 รูปแบบ คือ

1. รถด่วน กรุงเทพ-สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) จอดในพื้นที่โครงการ 8 สถานี ได้แก่ บ้านไผ่, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, เลิงนกทา, มุกดาหาร, ธาตุพนม, นครพนม และ สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม)

ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) ประมาณ 3:30 ชั่วโมง

ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)

2. รถเร็ว กรุงเทพ-สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) จอดในพื้นที่โครงการ 16 สถานี ซึ่งสถานีที่จอดมากกว่ารถด่วน ได้แก่ กุดรัง, บรบือ, เชียงขวัญ, โพนทอง, สถานี นิคมคําสร้อย, สถานีสะพานมิตรภาพ 2, สถานีหว้านใหญ่ และสถานีเรณูนคร

ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) ประมาณ 4:30 ชั่วโมง

ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)

3. รถเร็ว กรุงเทพ-ร้อยเอ็ด จอดในพื้นที่โครงการ 5 สถานี ซึ่งสถานีที่จอดมากกว่ารถด่วน ได้แก่ กุดรัง, บรบือ

ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง ร้อยเอ็ด ประมาณ 1:20 ชั่วโมง

ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)

4. รถท้องถิ่น บ้านไผ่-สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) เป็นรถจอดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ

ใช้เวลาในการเดินทาง จากบ้านไผ่ ถึง สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) ประมาณ 5:10 ชั่วโมง

ในปีที่เปิดมี 2 ขบวน (4 เที่ยว)

รูปแบบขบวนรถไฟสินค้า

แบ่งรูปแบบการเดินรถไฟเป็น 4 แบบคือ

- รถสินค้าด่วนเข้า-ออก CY ร้อยเอ็ด
- รถสินค้าด่วนสะพานมิตรภาพ 3
- รถสินค้าสะพานมิตรภาพ 2 และ 3
- รถสินค้า จอดระหว่างทาง โพนทอง-ร้อยเอ็ด-มหาสารคาม-ภูเหล็ก

ซึ่งการจัดขบวนรถไฟขึ้นกับความต้องการของภาคขนส่งเอกชนอีกทีครับ

โครงการต้องใช้รถไฟทั้งหมด 18 ขบวน คือ
ขบวนรถด่วน 4 ขบวน
ขบวนรถเร็ว 4 ขบวน
ขบวนรถเร็ว (ร้อยเอ็ด) 2 ขบวน
ขบวนรถท้องถิ่น 2 ขบวน
ขบวนรถสินค้าทั่วไป 4 ขบวน
ขบวนรถซิเมนต์ 2 ขบวน

————————
พูดมาซะยาวเรามาดูเรื่องการเงินของโครงการบ้างครับ

โครงการมีการลงทุน ทั้งหมดไม่รวมค่าขบวนรถไฟ 61,682 ล้านบาท

มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(EIRR) ในระยะ 30 ปีที่ให้บริการ 13.60%

มีผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR) ในระยะ 30 ปีที่ให้บริการ -4.77%

ซึ่งรูปแบบการลงทุนในการศึกษา ให้รัฐบาลลงทุนทางรถไฟพร้อมงานระบบทั้งหมด (เหมือนทางคู่ขอนแก่น) และให้การรถไฟเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุงเส้นทาง

ซึ่งรูปแบบนี้มีผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR) สูงถึง 8.86% ซึ่งทำให้โครงการมีกำไรได้
————————

จากที่เราดูรายละเอียดของโครงการ EIRR และ FIRR แค่ส่วนเดินรถและบำรุงรักษา สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ดังนั้น ควรเร่งทำให้เร็วที่สุดครับ

สายนี้ต้องวุ่นเรื่อง EIA เรื่องน้ำท่วม และเรื่องที่การวางตำแหน่งสถานี ที่เรื่องมากจริงๆ ใกล้ตัวเมืองก็เรียกค่าชดเชยแพง พอสร้างที่ชานเมืองนอกเขตเทศบาลเมืองก็โวยวายว่าไกลไป จะเอาอะไรกันนักกันหนา ไม่มีสำนึกเลย เลือกนักมักได้แร่ และเป็นเหตุผลที่ทำให้โครงการล่าช้าออกไป
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/915612495543897
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/04/2020 9:10 am    Post subject: Reply with quote

บิ๊กโปรเจ็กต์แสนล้านสะดุด คมนาคม หั่นงบ 10% ทางคู่บ้านไผ่ - นครพนมเลื่อนยาว
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
ออนไลน์เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 07:00 น.
หน้า 5 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,568
วันที่ 23 - 25 เมษายน พ.ศ. 2563

เมกะโปรเจ็กต์สะดุดราวเกือบ 100 โครงการ หลัง คมนาคม สั่งหั่น 10% กู้วิกฤติโควิด ทล.คาดสะดุด 20 โครงการ ด้าน ทช.โอด จ่อยื่นอุทธรณ์โครงการงบปี 2563 เชื่อโดนหั่นระนาวกว่า 20 โปรเจ็กต์เช่นกัน ทางคู่ บ้านไผ่-มุกดาหารฯ รฟท. ยันเซ็นสัญญาไม่ทัน พฤษภาคม 2563 แทรม 3 สายรฟม. ส่อดีเลย์คำสั่งให้แต่ละหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ตัดงบประมาณปี 2563 ลง 10% เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 นั้น เป็นเรื่องที่ดี แต่กลับกันอาจส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนเม็ดเงินลงสู่ระบบฐานรากได้น้อยลงภายในปีนี้นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทล.อยู่ระหว่างปรับลดงบประมาณโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นงบรายการใหม่ ราว 5% รวมถึงโครงการดำเนินการปีเดียว ที่คาดว่าเซ็นสัญญาไม่ทันภายใน 31 พฤษภาคม 2563 จำนวน 20 โครงการ จากโครงการทั้งหมดจำนวน 4,000 โครงการ


แม้ว่ากระทรวงคมนาคมสั่งตัดงบประมาณปี 2563 ราว 10% ซึ่งอาจจะกระทบโครงการของปีงบ 2564 บ้าง เนื่องจากทล.จะมีการปรับงบประมาณปี 2564 แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ “ขณะนี้เรายังให้ข้อสรุปไม่ได้ ว่าจะเป็นโครงการใดบ้างที่ถูกปรับลดในปีงบ 2563 ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานกับสำนักงบประมาณ ว่าจะตัดบางโครงการออกหรือปรับลดงบประมาณโครงการที่ผูกพัน แต่เราก็ยืนยันไม่อยากตัดโครงการใดออกเช่นกัน ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมตั้งเป้าเบิกจ่ายงบปี 2563 ได้เต็ม 100% ซึ่งขณะนี้ยังมีระยะเวลาราว 6 เดือน เราจะพยายามเต็มที่เพื่อเบิกจ่ายงบปี 2563 ได้เต็ม 100%” รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) สะท้อนว่า ในส่วนของทล.เป็นการปรับลดวงเงินของโครงการขนาดใหญ่ ราว 5% ของแต่ละโครงการ แต่ไม่ได้ตัดโครงการดังกล่าวออก แต่จะตัดโครงการปีเดียวบางโครงการที่ประกวดราคาไม่ทันในวันที่ 7 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานบูรณาการและงานซ่อมบำรุง เช่น โครงการพัฒนาทางหลวง หมายเลข 227 ตอนกาฬสินธุ์-แยกดงแหลม จังหวัดกาฬสินธุ์ วงเงิน 25 ล้านบาท โครงการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรและขนส่ง ทางหลวง หมายเลข 2350 ตอนหนองหาน-กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี วงเงิน 25 ล้านบาท

นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า ทช.อยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงบประมาณ เพื่อยื่นอุทธรณ์โครงการงบปี 2563 ของ ทช. ในหลักการเบื้องต้นสำนักงบประมาณปรับลดงบประมาณปีแรก จำนวน 5% แต่จะไม่ตัดงบผูกพัน ขณะเดียวกันโครงการที่ถูกปรับลด 5% ยังสามารถดำเนินการต่อได้ ทช.มีหลายโครงการที่ชะลอมากกว่า 20 โครงการ โดยส่วนใหญ่แต่ละโครงการของ เราเป็นงานบำรุง จำนวน 9-10 ล้านบาท”

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า สำหรับโครงการของ รฟท. ที่อาจลงนามเซ็นสัญญาไม่ทันกลางปีนี้ คือ โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 66,848 ล้านบาท เนื่องจากยังไม่ได้ดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อเวนคืนที่ดิน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า โครงการที่อาจได้รับผลกระทบคือ โครงการรถ ไฟฟ้าในต่างจังหวัดซึ่งอยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติเพื่อเปิดประมูลในปี 2563 และ 2564 ได้แก่ รถไฟฟ้ารางเบา (Tram) จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท, รถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท และรถไฟฟ้ารางเบา จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 8,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/04/2020 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

พล.อ.ประวิตรผลักดันรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม เดินหน้าหารือ EIA
ข่าวการเมือง ไทยรัฐออนไลน์ 30 เม.ย. 2563 12:01 น.

"บิ๊กป้อม" ถกคอนเฟอเรนซ์คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม 3 โครงการ กระตุ้นเศรษฐกิจ เน้นอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 3/2563 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล ผ่านระบบ VDO Conference โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองประธาน นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการและเลขานุการ ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ พร้อมด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA และ EHIA) โครงการด้านคมนาคม เหมืองแร่ และพัฒนาแหล่งน้ำ รวมจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งไปยัง สปป.ลาว อีก 2 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการด้านเหมืองแร่เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง จำนวน 2 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และสระบุรี ทั้งนี้ เจ้าของโครงการ ต้องดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดในรายงานอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการ และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุม ได้ให้หารือเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ได้แก่ ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการอนุรักษ์ คุ้มครองและใช้ประโยชน์ถิ่นอาศัยของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่ถูกคุกคาม และขั้นตอนการเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำเข้าร่วมเป็นพื้นที่เครือข่ายนกอพยพในโครงการความร่วมมือพันธมิตรสำหรับการอนุรักษ์นกอพยพและการใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพอย่างยั่งยืนในเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก–ออสเตรเลีย เพื่อให้การดำเนินงานมีความชัดเจน และสามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างแรงจูงใจ และส่งเสริมให้หน่วยงานและประชาชนมีความเข้าใจและตื่นตัวในด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/05/2020 7:33 am    Post subject: Reply with quote

ไฟเขียว EIA รถไฟทางคู่ “บ้านไผ่-นครพนม” เตรียมประมูลก่อสร้างกว่า 5 หมื่นล.
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2563 18:19 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สผ.อนุมัติ EIA รถไฟทางคู่ สายใหม่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม แล้ว เตรียมเดินหน้าประมูลก่อสร้าง วงเงินกว่า 5 หมื่นล. เพิ่มโครงข่ายระบบราง East-West Economic Corridor หนุนขนส่ง การค้าเชื่อม สปป.ลาว

วันนี้(30 เม.ย.) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 ผ่านระบบ VDO conference โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ( EIA ) จำนวน3โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งไปยัง สปป.ลาว

สำหรับ โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ - มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเวนคืน 10,255.33 ล้านบาท (พื้นที่ 7,100 แปลง) ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี โดยคาดว่าจะเปิดประมูลและเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี2564 คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร 3,835,260 คน ในปี 2569 ซึ่งจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.37% ต่อปี และมีปริมาณการขนส่งสินค้า 748,453 ตัน ในปี 2569 ซึ่งจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.19% ต่อปี มีผลตอบแทนทางการเงิน 0.42% และผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ที่ 13.49%

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบ EIA โครงการเหมืองแร่เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง จำนวน 2 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ของ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด และจังหวัดนครราชสีมา ของ นายประสาน ยุวานนท์ ทั้งนี้ ให้เจ้าของโครงการ ต้องดำเนินการตามมาตรการฯ ที่กำหนดในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการ และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามขั้นตอนต่อไป

และเห็นชอบกับการดำเนินการด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ได้แก่ ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการอนุรักษ์ คุ้มครองและใช้ประโยชน์ถิ่นอาศัยของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่ถูกคุมคาม และขั้นตอนการเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำเข้าร่วมเป็นพื้นที่เครือข่ายนกอพยพในโครงการความร่วมมือพันธมิตรสำหรับการอนุรักษ์นกอพยพและการใช้ประโยชน์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพอย่างยั่งยืนในเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก – ออสเตรเลีย เพื่อให้การดำเนินงานมีความชัดเจน และสามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างแรงจูงใจ และส่งเสริมให้หน่วยงานและประชาชนมีความเข้าใจและตื่นตัวในด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2020 10:09 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เร่งทีโออาร์ทางคู่ 2 สายใหม่กว่าแสนล้าน คาด ต.ค.ประมูลรวมแพกงานโยธา-อาณัติฯ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2563 เวลา 07:11
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2563 เวลา 08:11


ร.ฟ.ท.เร่งทีโออาร์เปิดประมูลรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 สาย “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” และ “บ้านไผ่-นครพนม” กว่า 1.2 แสนล้าน ใน ต.ค.นี้ รวมงานโยธาและระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมเร่งเวนคืนงบ 2 หมื่นล ้านส่งมอบรับเหมาตอกเข็มปี 64 เปิดเดินรถปี 68

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ภายในปี 2564 นี้คาดว่า จะสามารถประกาศประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท โดยล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมาได้อนุมัติจัดจ้างที่ปรึกษา สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์เพื่อเวนคืน โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของแล้ว

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.แจ้งว่า โครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของนั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติโครงการและหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนของโครงการเพื่อสร้างทางรถไฟ สะพานข้ามทางรถไฟในเส้นทาง 4 จังหวัด คือ แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2561 โดยรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว

เบื้องต้นค่าก่อสร้างงานโยธาอยู่ที่ 72,921 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม.วงเงิน 26,704 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. วงเงิน 28,735 ล้านบาท
สัญญาที่ 3 ช่วง เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 17,482 ล้านบาท
ค่าเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ 10,660 ล้านบาท และ
ค่าจ้างที่ปรึกษา 1,764 ล้านบาท
โดยรัฐรับภาระค่าดำเนินการทั้งโครงการ โดยสำนักงบประมาณจัดสรรงบรายปีหรือกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ค้ำประกันตามความเหมาะสม มีแผนเปิดเดินรถปี 2568

ส่วนสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนมนั้น ครม.อนุมัติเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2562 มีวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธาประมาณ 5 หมื่นล้านบาท แบ่งงานออกเป็น 2 สัญญา
มีค่าเวนคืน 10,255.33 ล้านบาท (พื้นที่ 7,100 แปลง) แผนกำหนดเปิดเดินรถในปี 2568 ขณะที่รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้รับการอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2563

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.แจ้งว่า ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างร่างทีโออาร์ทั้ง 2 โครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดประมูลได้ในเดือน ต.ค. และได้ตัวผู้รับจ้างภายในปี 2563 นี้ โดยผู้รับจ้างในแต่ละสัญญาจะต้องรับผิดชอบก่อสร้างงานโยธาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการก่อสร้าง ต่างจากรูปแบบการประมูลรถไฟทางคู่ระยะแรก จำนวน 5 เส้นทาง ที่มี 9 สัญญา แต่แยกประมูลงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งพบว่างานมีความล่าช้ามากกว่าการรวมงานโยธาและงานอาณัติสัญญาณไว้ด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม รถไฟทางคู่ 2 เส้นทางนี้เป็นทางสายใหม่ที่จะต้องมีการเวนคืนพื้นที่ และส่งมอบให้ผู้รับจ้างก่อสร้าง ดังนั้นตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลต่อการก่อสร้างได้ตามแผนและกรอบเวลาที่กำหนดไว้เดิม หรือคือการส่งมอบพื้นที่ ดังนั้น ในทางคู่ขนาน ร.ฟ.ท.จะเร่งเวนคืนพื้นที่ให้เร็วที่สุด เพื่อส่งมอบและเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2564 โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 36 เดือน ส่วนช่วงที่มีอุโมงค์จะใช้เวลาประมาณ 48 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/07/2020 5:18 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.” ลุยงานด่วนประมูลทางคู่ 9 สาย 4 แสนล้าน-ลั่นสู้คดี “ค่าโง่โฮปเวลล์” ลุ้นศาลชี้ปมจดทะเบียน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 18:58
ปรับปรุง: วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 11:47

รฟท.ลุยประมูลทางคู่เฟส2 ลั่นสู้ตายคดีค่าโง่โฮปเวลล์
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ผู้จัดการรายวัน360 - "นิรุฒ" ลุยงานด่วน ดันประมูลรถไฟทางคู่เฟส 2 และสายใหม่ 9 เส้นทางกว่า 4 แสนล.ในปีนี้ ลั่นเดินหน้าสู้ "คดีค่าโง่โฮปเวลล์" จนถึงที่สุด เผยฟ้องศาลปกครองรอวินิจฉัยประเด็นจดทะเบียนไม่ถูกต้อง ขณะที่เลื่อนเปิดเดินรถสายสีแดง รอ 2 ด.สรุปผลศึกษาทางเลือกเปรียบเทียบ PPP หรือตั้ง บ.ลูก

วานนี้ (2 ก.ค.) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า การการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า นโยบายและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน ร.ฟ.ท. จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางราง ทำแผนเพิ่มรายได้และการลดค่าใช้จ่าย และขับเคลื่อนและการยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของการรถไฟฯ ในการ "เป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียนในปี 2570"

ทั้งนี้ โครงการรถไฟทางคู่ เป็นโอกาสในการเพิ่มรายได้ เนื่องจากสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการเดินรถทั้งโดยสารและสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีสัดส่วนของกำไรค่อนข้างมาก ซึ่งเป้าหมายจะเพิ่มปริมาณการขนส่งจากปัจจุบัน 11 ล้านตัน/ปี เป็น 38 ล้านตัน/ปี ในปี 2570 หรือมีสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง จาก 2% เป็น 5% ของปริมาณการขนส่งทั้งหมด ส่วนผู้โดยสาร ปัจจุบัน มีจำนวน 35 ล้านคน/ ปี แต่เป็นบริการเชิงสังคม (PSO) ซึ่งกำหนดค่าโดยสารต่ำ 20 ล้านคน/ปี ส่วนผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ มี เพียง 10 ล้านคน/ปี แต่มีสัดส่วนรายได้ถึง 90%

ซึ่งขณะนี้ โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมกว่า 2.73 แสนล้านบาท อยู่ระหว่างการชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม ต่อสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แก่ ปากน้ำโพ-เด่นชัย, เด่นชัย-เชียงใหม่, ขอนแก่น-หนองคาย, ชุมทางถนนจิระอุบลราชธานี, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานีชุมทางหาดใหญ่-สงขลา และชุมทางหาดใหญ่ปาดังเบซาร์ โดยคาดว่าจะได้รับการอนุมัติเพื่อเปิดประกวดราคาให้ได้ภายในปี 2563

สำหรับรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติแล้วนั้น ได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท ร.ฟ.ท.จะต้องเสนอ ครม.อีกครั้งเพื่อยืนยันการแบ่งประมูลจำนวน 3 สัญญา ตามที่ ครม.เคยมีมติไว้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (ซูเปอร์บอร์ด) เคยมีความเห็นว่าอาจจะแบ่งมากกว่า 3 สัญญาได้

ส่วน สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ดมุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาทนั้น อยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาร่าง TOR โดยคาดว่าทั้ง 2 โครงการจะเปิดประมูลได้ภายในปีนี้

เลื่อนเปิดสายสีแดง ศึกษาทางเลือก PPP

ส่วนโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) นั้น เบื้องต้นจะต้องเลื่อนเปิดเดินรถจากเดือน ม.ค. 2564 ออกไป เนื่องจากสัญญา งานสัญญา 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้า) มีความล่าช้า และอยู่ระหว่างพิจารณาขยายเวลาก่อสร้าง โดยเอกชนเสนอขยาย 512 วัน โดยเบื้องต้น ได้อนุมัติไปแล้ว 87 วัน ที่เหลืออยู่ระหว่างพิจารณาเหตุผล

ส่วนการเดินรถสายสีแดง คณะทำงานอยู่ระหว่างศึกษา แนวทางการดำเนินการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) เปรียบเทียบกับ รูปแบบเดิม คือจัดตั้งบริษัทลูก เพื่อเลือกรูปแบบที่มีความเหมาะสม เป็นประโยชน์สูงสุด ร.ฟ.ท.และประชาชน โดยจะศึกษาเรื่องการบริหารจัดการสถานีกลางบางซื่อเข้าไปด้วย ซึ่งใน 2 เดือน จะมีคำตอบที่ชัดเจน

ลั่นสู้ "คดีค่าโง่โฮปเวลล์" จนถึงที่สุด

สำหรับกรณีสัญญาสัมปทานรถไฟยกระดับ (โฮปเวลล์) หรือคดีค่าโง่โฮปเวลล์ นั้น นายนิรุฒกล่าวว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อให้วินิจฉัยแล้ว โดยรอศาลนัดไต่สวน ซึ่งยืนยันว่า ร.ฟ.ท.จะต่อสู้ถึงที่สุด แม้ว่า ก่อนหน้านี้ทางกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า การจดทะเบียนบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นไปอย่างถูกต้องก็ตาม
"ร.ฟ.ท.ต้องสู้ตามขั้นตอน รอคำสั่งศาลมีการวินิจฉัยอย่างไร ส่วนการต่อสู้ในประเด็นอื่นๆ ร.ฟ.ท.ได้หารือกับทางสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อหาแนวทาง"

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพเชียงใหม่ ที่จะเริ่มดำเนินการระยะที่ 1 กรุงเทพพิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. วงเงินลงทุน 212,892 ล้านบาท นั้น นายนิรุฒกล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเชียงใหม่ยังไม่มีแผนยกเลิก แต่ไม่ใช่เรื่องด่วนในขณะนี้ ส่วนจะเดินหน้าไปอย่างไร เมื่อใด จะต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ซึ่งเห็นว่า ควรจะต้องรอดูความคืบหน้าโครงการ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพนครราชสีมา ให้เดินหน้าไปได้ในระดับหนึ่งก่อน

ทั้งนี้ การบริหารที่ดินทั่วประเทศกว่า 240,000 ไร่ ซึ่งมีทั้งเขตทาง ย่านสถานี ให้เกิดประสิทธิภาพในการเดินรถและการหารายได้ โดยปัจจุบันมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ประมาณ 20,000 ไร่ มีรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาท/ปี จะหาแนวทางในการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทในปัจจุบันและอนาคต.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/08/2020 3:59 pm    Post subject: Reply with quote

ชงรถไฟทางคู่เข้าครม.เด่นชัย-เชียงของส.ค.นี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตั้งเป้าชงรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และ บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เข้าครม.เดือนนี้
INN News 3 สิงหาคม 2020 - 15:34

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร และ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร ว่า คาดว่าภายในเดือนสิงหาคมนี้จะเสนอทั้ง 2 โครงการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาขออนุมัติโครงการเพื่ออก พรฎ.เวนคืนที่ดิน และเริ่มก่อสร้าง

ขณะที่ความคืบหน้า โครงการถไฟทางคู่ ระยะ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ฯ ซึ่งขอข้อมูลนำไปวิเคราะห์พิจารณาความคุ้มค่าของโครงการ โดยจะลำดับความสำคัญแต่ละโครงการซึ่งการดำเนินการโครงการรถไฟทางคู่ระยะ 2 ให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 โดยกระทรวงคมนาคมกำลังข้อมูลสนับสนุนให้กับสภาพัฒน์ฯ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2020 1:02 pm    Post subject: Reply with quote

‘ศักดิ์สยาม’ คาดรถไฟทางคู่ 2 เส้นทาง เข้าครม.ภายใน ส.ค.นี้
ข่าวเศรษฐกิจ

วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563 11:24


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร มูลค่าลงทุนราว 8.5 หมื่นล้านบาท และ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 6.8 หมื่นล้านบาท คาดจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้ในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อขออนุมัติโครงการและออกพรฎ.เวนคืนด้วย โดยทั้งสองเส้นทางนี้เป็นโครงการเส้นทางใหม่
ส่วนความคืบหน้าการดำเนินการโครงการถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ได้ให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และคณะกรรมการ รฟท. จะมีการดำเนินการได้ตามแผนได้หรือไม่ที่จะมีการเดินรถเสมือนจริง มี.ค.64 และเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ พ.ย.64 เนื่องจากได้รับแจ้งว่า โครงการนี้มีงานเพิ่มขึ้นมา ซึ่งทำให้งบดำเนินการเพิ่มอีก 10,345 ล้านบาท จากก่อนหน้าได้ปรับเพิ่มวงเงินโครงการตั้งแต่ 5.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มเป็น 9.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า) ซึ่งคาดว่าใน 2 สัปดาห์นี้จะได้ข้อสรุป



รมว.คมนาคม ยังกล่าวว่า โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงยังต้องใช้งบประมาณลงทุนในส่วนต่อขยายอีก 4 ช่วง และส่วนที่เพิ่มของช่วงบางซื่อ-รังสิต หรือส่วนที่ 5 ทำให้รัฐต้องลงทุนรวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท ขณะที่งบประมาณแผ่นดินมีอยู่จำกัด จึงเห็นว่าควรให้มีการลงทุนในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนภาครัฐ (PPP) โดยรัฐจะให้สัมปทานการเดินรถ 30 ปี พร้อมให้ลงทุนงานโยธา

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการถไฟทางคู่ ระยะ 2 จำนวน 7 เส้นทาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ซึ่งขอข้อมูลนำไปวิเคราะห์พิจารณาความคุ้มค่าของโครงการ โดยจะลำดับความสำคัญแต่ละโครงการซึ่งการดำเนินการโครงการรถไฟทางคู่ระยะ 2 ให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 โดยขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังข้อมูลสนับสนุนให้กับสภาพัฒน์

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (03 ส.ค. 63)
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 43, 44, 45  Next
Page 24 of 45

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©