Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262789
ทั้งหมด:13574069
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 369, 370, 371 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2020 9:08 pm    Post subject: Reply with quote

“อิตาเลียนไทย” หั่นพันล้านซิวสร้าง “เดโป้” รถไฟไทย-จีน 6,514 ล้าน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 - 15:31 น.

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท) เปิดเผย ”ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2563 ได้เปิดยื่นซองประมูล e-bidding โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา งานสัญญาที่ 4-4 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 7,664.629 ล้านบาท โดยมีผู้ยื่นซองประมูล 7 ราย จากที่ซื้อซองทั้งหมด 16 ราย โดย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 6,514.4 ต่ำกว่าราคากลางประมาณ 15% หรือลดลงไป 1,149.6 ล้านบาท

โดยขอบเขตงานก่อสร้าง ประกอบด้วย
1.ทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์บำรุง
2.งานอาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุง รวมถนนต่อเชื่อม ได้แก่ อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร และ
3.งานก่อสร้างถนน งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และงานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ

ซึ่งอิตาเลียนไทยฯ ได้งานก่อสร้างรถไฟไทย-จีน สัญญานี้เป็นสัญญาที่ 2 โดยสัญญาแรกเป็นงานก่อสร้างสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. ของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ วงเงิน 9,913 ล้านบาท รวมทั้ง 2 สัญญา เป็นวงเงิน 16,427 ล้านบาท

ทั้งนี้รถไฟไทย-จีนแบ่งสร้างทั้งหมด 14 สัญญา ขณะนี้ประมูลได้ผู้รับเหมาแล้ว 13 สัญญา ยังเหลือ 1 สัญญา งานก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท ที่รอปรับแบบร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่กลุ่ม ซี.พี.เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงการ
https://www.facebook.com/Thfutu/photos/a.105677750798573/260046558695024/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2020 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

เบี่ยงแนว "ไฮสปีด" 70 กม. หลบท่อนํ้ามัน แทปไลน์ "สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา"
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
ออนไลน์เมื่อ จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 เวลา 09:55 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 8
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,573
วันที่ 10-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

รฟท. เบี่ยงแนวไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา หลบท่อน้ำมัน แทปไลน์ ปักเพิ่มตอม่อ 76 ต้น ยาว 70 กม. หากรื้อย้ายไม่ทัน ส่งมอบต้นปีหน้า

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแผนส่งมอบพื้นที่ ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่า 2.2 แสนล้าน ระยะทาง 220 กิโลเมตร เฟสแรกช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ภายในวันที่ 1 มกราคม 2564 ให้กับ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก เชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) หรือกลุ่ม CPHทั้งนี้ นอกจากผู้บุกรุกและผู้ถูกกระทบจากการเวนคืนแล้วยังมีผลกระทบการรื้อย้ายท่อส่งน้ำมันขนาดใหญ่ ของบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (แทปไลน์) ในฐานะผู้เช่าที่ดินรฟท. ที่อยู่ในแนวเขตทางก่อสร้าง ไฮสปีดฯ ประมาณ 70 กิโลเมตร หากต้องรื้อย้าย หาพื้นที่วางท่อใหม่ เกรงว่าไม่ทันแผนส่งมอบพื้นที่ ทางออกต้องออกแบบเบี่ยงแนว หลบท่อส่งน้ำมัน เพิ่มต่อม่อ 76 ต้น โดยกลุ่มซีพีเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ประมาณ 200-300 ล้านบาท




ขณะเฟส 2 ช่วง พญาไท-ดอนเมือง ส่งมอบพื้นที่ วันที่ 1 มกราคม 2565 มีท่อส่งน้ำมันบริษัท ขนส่งนํ้ามันทางท่อ จำกัด (เอฟพีที) ต้องย้ายไปยังฝั่งตรงข้าม ค่าใช้จ่ายกว่า 100 ล้านบาท ส่วน ที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ ส่งมอบพื้นที่ได้พร้อมกับเฟสแรก ภายในวันที่ 1 มกราคม 2564สำหรับการบังคับใช้ พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืน พื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ - สนามบินอู่ตะเภา มีผลบังคับใช้ถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบ 5 เดือน นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม 2562ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ขณะนี้อยู่ระหว่างปิดประกาศให้ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ และสำรวจโฉนดที่ดินเพื่อชดเชยกรรมสิทธิ์แหล่งข่าวจากรฟท.ยืนยันว่า การรื้อย้ายสาธารณูปโภค ไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด ที่น่าเป็นห่วงคือการเวนคืนหากยืดเยื้อมีการร้องศาลไม่ออกจากพื้นที่ เกรงว่าแผนส่งมอบพื้นที่อาจล่าช้าออกไปนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในส่วนการส่งมอบพื้นที่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน นั้น ขณะนี้ติดสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินการล่าช้า เบื้องต้นอยู่ระหว่างการรอคณะกรรมการกฤษฎีกาตั้งคณะกรรมการเพื่อสรุปการเบิกจ่ายเงินของโครงการดังกล่าวเนื่องจากมีการแก้ไขข้อมูลในระเบียบเพิ่มเติมให้อำนาจ รฟท.เป็นประธาน ตั้งคณะกรรมการส่งแผนทรัพย์สิน จากเดิมในระเบียบข้อกฎหมายระบุว่า การตั้งคณะกรรมการในการส่งแผนทรัพย์สินให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) เป็นประธาน ทั้งนี้ รฟท.ได้พิจารณาการจ่ายค่าชดเชยสำหรับผู้บุกรุกพื้นที่ในโครงการฯ แล้ว ราว 200 ล้านบาท


ปัจจุบันมีการสำรวจพื้นที่เวนคืนแล้ว โดยมีพื้นที่เวนคืน ราว 931 แปลง คาดว่าจะเริ่มกระบวนการเวนคืนที่ดินภายในกลางปี 2563 หลังจากนั้นจะเริ่มจ่ายเงินชดเชยสำหรับการเวนคืนที่ดินภายในปลายปี 2563ส่วนพื้นที่ที่กลุ่มซีพีมีการขอขยายเขตทางเวนคืนเพิ่ม 5 จุด นั้น ขณะนี้รฟท.ยังไม่ได้พิจารณาการให้เวนคืนที่ดินเพิ่มเติม เนื่องจากกระบวนการการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมใช้ระยะเวลานาน ทั้งนี้เราจะดำเนินการตามกระบวนการเวนคืนที่ดินตามแผนก่อน คาดว่าสามารถส่งมอบโครงการดังกล่าวให้กลุ่มซีพีได้ภายใน 2 ปี นับจากวันที่เซ็นสัญญา”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2020 7:09 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติ 4,103 ล้านบาท รื้อย้ายสาธารณูปโภครองรับไฮสปีด 3 สนามบิน
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 13 พฤษภาคม 2563 เวลา 15:54 น.

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถของไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างส่วนต่อขยาย 2 ช่วง คือ สถานีพญาไท-สนามบินดอนเมือง และสถานีลาดกระบัง -สนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมทางเข้าออกสนามบิน รวมระยะทางทั้งโครงการ 220 กิโลเมตร เป็นระยะทางที่ก่อสร้างใหม่ 191 กิโลเมตร ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ช่วงสถานีสุวรรณภูมิ-สถานีอู่ตะเภา) และความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ช่วงสถานีดอนเมือง-สถานีสุวรรณภูมิ) มีด้วยกัน 9 สถานี ได้แก่ ดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา เพื่อเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและกระจายรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ เกิดการจ้างงานในช่วงก่อสร้าง 16,000 อัตรา และจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 100,000 อัตรา ในอีก 5 ปีข้างหน้า


“โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 พ.ค.63 ได้อนุมัติแผนงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคและก่อสร้างทดแทนในพื้นที่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน กรอบวงเงิน 4,103.608 ล้านบาท (เฉพาะหน่วยงานรัฐเจ้าของสาธารณูปโภค) โดยให้กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ และหน่วยงานภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ (ค่ายลูกเสือวชิราวุธ) ดำเนินการรื้อย้ายและสร้างทดแทน รวมทั้งสิ้น 349 จุด ส่วน ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และภาคเอกชนอื่นๆ จะดำเนินการรื้อย้ายและสร้างทดแทน โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง”

ทั้งนี้ ครม.ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการบริหารความเสี่ยงในขั้นตอนดำเนินงาน มีการกำกับติดตามการดำเนินงานและการใช้จ่ายงายประมาณให้เป็นไปตามแผน รวมถึงต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนทั้งในด้านความเป็นอยู่และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากการดำเนินโครงการด้วย

ครม. รับทราบแผนรื้อย้ายสาธารณูปโภคพื้นที่โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เวลา 19:39 น.

โฆษกรัฐบาล เผย ครม. รับทราบมติ กพอ. เห็นชอบแผนงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค และก่อสร้างทดแทนในพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พร้อมกรอบวงเงิน 4,100 ล้าน


นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ อีกทั้งให้ สกพอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงบประมาณ (สงป.) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค และก่อสร้างทดแทนในพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ท่าอากาศยานดอนเมือง – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – ท่าอากาศยานอู่ตะเภา) และกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการดังกล่าว จำนวน 4,103.608 ล้านบาท เฉพาะส่วนที่หน่วยงานของรัฐเจ้าของสาธารณูปโภคต้องดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วย หน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการประปาส่วนภูมิภาค) จำนวน 4,069.408 ล้านบาท หน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม (กิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ) จำนวน 31.2 ล้านบาท และหน่วยงานภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ (ค่ายลูกเสือวชิราวุธ) จำนวน 3 ล้านบาท

สำหรับส่วนแผนงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคและก่อสร้างทดแทนสาธารณูปโภคที่กีดขวางการก่อสร้างโครงการฯ ของหน่วยงานภายใต้กระทรวงพลังงาน (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) และของเอกชนอื่นๆ นั้น หน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคและเอกชนเจ้าของสาธารณูปโภคจะดำเนินการรื้อย้ายและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง และเมื่อดำเนินการรื้อย้าย และ/หรือก่อสร้างทดแทนสาธารณูปโภคในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่จะทยอยส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญา เพื่อเข้าดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป.

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3041098519270406&set=p.3041098519270406&type=3&theater

ไฟเขียวงบ 4.1 พันล้าน! รื้อย้ายสาธารณูปโภคแนว ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’
เขียนโดยisranews
เขียนวันที่วันอังคาร ที่ 12 พฤษภาคม 2563 เวลา 19:26 น.

ครม.รับทราบมติกพอ. ไฟเขียวสำนักงบฯตั้งงบประมาณปี 64 กว่า 4.1 พันล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายรื้อย้าย-สร้างสาธารณูปโภคทดแทน ตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

trisuree 12 05 20

เมื่อวันที่ 12 พ.ค. น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ซึ่งที่ประชุมกพอ.มีมติเห็นชอบแผนงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค และก่อสร้างทดแทนในพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ท่าอากาศยานดอนเมือง-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานอู่ตะเภา) กรอบวงเงินดำเนินการ 4,103 ล้านบาท

ทั้งนี้ สำนักงบประมาณจะดำเนินการตั้งงบรื้อย้ายฯดังกล่าว ในงบประมาณปี 64 ประกอบด้วย งบรื้อย้ายภายใต้กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการประปาส่วนภูมิภาค) จำนวน 4,069 ล้านบาท หน่วยงานภายใต้กระทรวงกลาโหม (กิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ) 31.2 ล้านบาท และหน่วยงานภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ (ค่ายลูกเสือวชิราวุธ) 3 ล้านบาท

ส่วนแผนงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคและก่อสร้างทดแทนสาธารณูปโภคที่กีดขวางการก่อสร้างโครงการฯของหน่วยงานภายใต้กระทรวงพลังงาน (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) และของเอกชนอื่นๆ นั้น ให้หน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคและเอกชนเจ้าของสาธารณูปโภคจะดำเนินการรื้อย้ายและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง

อย่างไรก็ดี เมื่อการดำเนินการรื้อย้ายและก่อสร้างทดแทนสาธารณูปโภคในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่จะทยอยส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญา เพื่อเข้าดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป

รายงานข่าวระบุว่า สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้เห็นเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรื้อย้ายฯ ควรมีมาตรการบริหารความเสี่ยงในขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการดำเนินโครงการ ควรกำกับและติดตามการดำเนินงาน และการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน

นอกจากนี้ ในระหว่างขั้นตอนการรื้อย้าย และก่อสร้างสาธารณูปโภคทดแทนกลับ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนทั้งในด้านความเป็นอยู่และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากการดำเนินงานในบริเวณพื้นที่ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2020 11:25 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”ดันเจรจารถไฟ”ไทย-จีน” ตั้งเป้าเซ็นซื้อระบบไฮสปีด 5หมื่นล. ใน ต.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เวลา 19:25

โควิดซา “ไทย-จีน” เจรจาปิดดีล 5 หมื่นล้านซื้อระบบไฮสปีด 25 พ.ค.นี้
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
เผยแพร่: วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เวลา 19:50 น.



“ศักดิ์สยาม”เคาะเปิดเจรจารถไฟไทย-จีน ครั้งที่28 ตกลงเงื่อนไขซื้อระบบไฮสปีด สัญญา2.3 วงเงิน 5.06 หมื่นล. 25 พ.ค. นี้ คาดเสนอครม. ลงนามในต.ค. ยันไทยไม่เสียเปรียบชำระสกุลดอลล่าร์ 80% เผยความคืบหน้างานก่อสร้างเฟส 1 “กทม.-โคราช” 1 แสนล้านครบ 14 สัญญา

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่1/2563 ซึ่งได้ติดตามความก้าวหน้า โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย) ระยะที่1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ในส่วนของำสัญญาจ้างงาน ระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดอบรมบุคลากร (สัญญา2.3) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ซึ่งได้ประสานกับทางจีนเพื่อจัดประชุม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 ในวันที่ 25 พ.ค.63

และ กำหนดไทม์ไลน์ในเดือนมิ.ย. จะรายงานผลการดำเนินงานกต่อนายกรัฐมนตรี ช่วงกลางเดือนมิ.ย.การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ส่งร่างสัญญา ต่อกระทรวงคมนาคมเพื่อส่งต่ออัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา คาดว่าจะสรุปร่างสัญญาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติกรอบวงเงินและเงื่อนไข ภายในเดือนส.ค.และคาดว่าจะสรุปรายละเอียดสามารถลงนามในสัญญาได้ในเดือนต.ค. 2563

ทั้งนี้ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด - 19 ตั้งแต่ต้นปี2563 ทำให้ไม่สามารถจัดประชุมคณะกรรมการร่วม ไทย-จีน ได้ ซึ่งล่าสุดจากการปะสานกับจีน ตกลงจัดการประชุม VDO Conference โดยจะมีการประชุมเพื่อตกลงในเงื่อนไขสัญญา 2.3 ในเรื่องสกุลเงิน ซึ่งมีวงเงิน 50,633.50 ล้านบาท โดยชำระเป็นเงินสกุลดอลล่าร์ 80% จำนวน1,313,895,273 ดอลล่าร์ (40,506.8 ล้านบาท) เป็นสกุลบาท20% หรือ 10,126.5 ล้านบาท

โดยกระทรวงคมนาคมได้เจรจาต่อรองกับจีนของคงสัดส่วน ไว้ แม้อัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจากค่าเงินบาทขณะนี้อ่อนตัว ลงจากช่วงก่อนหน้าที่จะเกิดสถานการณ์โควิด-19 คือจาก อัตรา30.82 บาทต่อดอลล่าร์ เป็น 32 บาทต่อดอลล่าร์ โดยเชื่อว่า หลังสถานการณ์โควิด-19ยุติ. เศรษฐกิจของประเทศไทยจะพลิกฟื้นกลับมาและค่าเงินบาทจะแข็งค่าเหมือนเดิม ซึ่งจะส่งผลให้วงเงินสัญญา2.3 จะอยู่ในกรอบงบประมาณ เนื่องจากรัฐบาลพยายามควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ในระดับที่ดี

“การเจรจาเงื่อนไขในโครงการรถไฟไทย-จีน ไทยไม่เสียเปรียบและไม่ได้เอาเปรียบจีน เป็นความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบรางซึ่งมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่ำ โดยเส้นทางที่เชื่อมจากหนองคาย-โคราช-กรุงเทพ เป็นรถไฟสายหลักที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านระบบรางของอาเซียน”

สำหรับการก่อสร้างงานโยธา 14 สัญญา วงเงิน 100,241.62 ล้านบาท อยู่ระหว่างเร่งรัด โดยลงนามสัญญาแล้ว 2 สัญญา ที่เหลือ อยู่ระหว่าง การพิจารณารายงาน EIA โดยคณะกรรมการ EIA จะประชุมในวันที่ 29 พ.ค. นี้ จากนั้นจะเร่งดำเนินการก่อสร้างได้ตามกรอบ โดยจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 64 เดือน หรือประมาณ 5ปีเศษ โดย แต่ละสัญญามีความคืบหน้า ได้แก่

สัญญาที่ 1-1 ช่วงกลางดง – ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 362.52 ล้านบาท มีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ดำเนินการ มีความคืบหน้า 83.81% ล่าช้ากว่าแผน 4.19%

สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท มีบจ.ซีวิลเอ็นจิเนียริง เป็นผู้ก่อสร้าง มีความคืบหน้ารวม 23.29% ล่าช้ากว่าแผน 12.54% ปัญหาอุปสรรคส่วนใหญ่มาจากการเข้าพื้นที่ ซึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งรัดดำเนินการและปรับแผนให้เป็นไปตามที่วางไว้

สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย – กลางดง และ ปางอโศก – บันไดม้า ระยะทางรวม 30.21 กม. วงเงิน 9,330 ล้านบาท มี บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด อยู่ระหว่างการชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมกับคณะอนุกรรมการ Executive Committee (EXCOM) ซึ่งเกี่ยวกับรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จะมีการประชุมกัน‪ในวันที่ 29 พ.ค.‬นี้

สัญญา 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279.33 ล้านบาท มีบมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด คบร.ได้อนุมัติสัญญาจ้างแล้วเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา และ รอลงนามสัญญา โดย ชี้แจงรายงาน EIA

สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า – ลำตะคอง ระยะทาง 21.6 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท มีบจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด คบร.ได้อนุมัติสั่งจ้างไปเมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา และ รอลงนามสัญญา โดย ชี้แจงรายงาน EIA

สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง – สีคิ้ว และช่วงกุดจิก – โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท มี บจ.บีพีเอ็นพีเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด และ รอลงนามสัญญา โดย ชี้แจงรายงาน EIA

สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด – นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 ก. วงเงิน 7,750 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด อยู่ระหว่างรออนุมัติสั่งจ้าง

สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการการวางแผนดำเนินการควบคู่ไปกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากแนวเส้นทางทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน โดยกำลังรอข้อมูลจากอีอีซี เพื่อทยอยส่งเพิ่มไปในรายงาน EIA

สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง – นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 8,626.8 ล้านบาท มีมีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ซิโนไฮโดร จำกัด, บจ. สหการวิศวกรและบจ. ทิพากร เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด และ กำลังรอลงนามสัญญา โดย ชี้แจงรายงาน EIA

สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร – บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525.36 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ) และบจ. เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดและ อยู่ระหว่าง รอลงนามสัญญา โดย ชี้แจงรายงาน EIA

สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 7,664.63 ล้านบาท อยู่ระหว่างขายซอง TOR และกำหนดยื่นซองไปเมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา
สัสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท มีบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ได้สั่งจ้างเอกชนไปเมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา

สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว – สระบุรี ระยะทาง 31.6 กม. วงเงิน 9,429 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด กำลังรอลงนามในสัญญาจ้าง และ
สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี – แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท มีบจ.ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด กำลังรอลงนามในสัญญาจ้าง ซึ่งทั้ง 14 สัญญาจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 64 เดือน จึงแล้วเสร็จ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2020 10:28 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดไทย-จีนรอEIA “ศักดิ์สยาม” ลุ้นดีลซื้อระบบ5หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เวลา 06:21

รถไฟไทย-จีน ลุ้น สผ.เคาะรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม( EIA) ปลายพ.ค.นี้ เตรียมเซ็นรับเหมาลุยก่อสร้างเกือบแสนล้าน บอร์ดรฟท. สั่งเร่งเช็กคุณสมบัติ 3 สัญญา "ศักดิ์สยาม" นัดประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ปิดดีลเซ็นซื้อระบบไฮสปีด 5 หมื่นล้าน ต.ค.นี้


นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่าในการประชุมบอร์ดรฟท.เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้พิจารณาผลการประมูลโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพ -นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ซึ่งรฟท.ได้เสนอไป 2 สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และ ปางอโศก-บันไดม้า และ
สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด

โดยบอร์ดยังไม่อนุมัติผลประมูลของทั้ง 2 สัญญา เนื่องจากสัญญา 3-1 ยังมีประเด็นคุณสมบัติของผู้เสนอราคาต่ำสุด จึงให้คณะกรรมการจัดจ้างเสนอให้ฝ่ายกฎหมายรฟท. ตรวจสอบให้รอบคอบ ซึ่งบริษัทดังกล่าว ได้ยื่นประมูลสัญญาที่ 3-4 ด้วย แม้จะไม่ใช่ผู้เสนอต่ำสุดในสัญญานี้ แต่ทำให้ยังไม่สามารถอนุมัติผลประมูลของสัญญา 3-4 ได้เช่นกัน

โดยขณะนี้งานโยธารถไฟไทย-จีน จำนวน 14 สัญญา กรอบวงเงิน 117,914.08 ล้านบาท นั้นอยู่ระหว่างก่อสร้าง 2สัญญา ประมูลและบอร์ดรฟท.อนุมัติแล้ว 7 สัญญา อยู่ระหว่างตรวจสอบคุณสมบัติ 3 สัญญาอยู่ระหว่างประมูล 1 สัญญาและรอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 1 สัญญา โดยคาดว่าจะประมูลแล้วเสร็จทั้งหมดในปีนี้

ส่วนการลงนามสัญญากับผู้รับเหมา ต้องรอให้รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)ผ่านการอนุมัติก่อน อย่างไรก็ตามรฟท.ได้สรุปรายงานเพิ่มเติมเสนอแล้ว หากได้รับการอนุมัติจะสามารถลงนามทุกสัญญาได้พร้อมกัน เพื่อเริ่มงานก่อสร้าง

รายงานข่าวแจ้งว่า
สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. เป็นงานระดับดิน 10.18 กม. และยกระดับ 20.03 กม. วงเงิน11,064 ล้านบาท มี บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เสนอราคา 9,330 ล้านบาท

สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด 37.45 กม. เป็นงานระดับดิน 14.12 กม. และยกระดับ 23.33 กม. วงเงิน 11,656 ล้านบาท มี บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) เสนอราคา 9,788 ล้านบาท

"ศักดิ์สยาม"คาดปิดดีลเซ็นซื้อระบบต.ค.นี้
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่าได้กำหนดประชุมคณะกรรมการร่วม เพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC)ครั้งที่ 28 ในวันที่ 25 พ.ค.นี้ โดยจัดการประชุม VDO Conferenceเพื่อเจรจาสรุปสัญญาจ้างงาน ระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และจัดอบรมบุคลากร (สัญญา2.3) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท

ทั้งนี้ จะมีการตกลงในเงื่อนไขสัญญา 2.3 ในเรื่องสกุลเงิน ซึ่งมีวงเงิน 50,633.50 ล้านบาท โดยชำระเป็นเงินสกุลดอลล่าร์ 80% จำนวน1,313,895,273 ดอลล่าร์ (40,506.8 ล้านบาท) เป็นสกุลบาท 20% หรือ 10,126.5 ล้านบาท

โดยจะรายงานผลการดำเนินงาน ต่อนายกรัฐมนตรีได้ในเดือนมิ.ย. จากนั้นจะส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจ คาดว่าจะสรุปร่างสัญญาเสนอต่อครม. พิจารณาอนุมัติกรอบวงเงินและเงื่อนไข ภายในเดือนส.ค. และสามารถลงนามในสัญญา 2.3 ได้ในเดือนต.ค.63

นอกจากนี้ จะเร่งรัดการก่อสร้างงานโยธา 14 สัญญา ซึ่งคณะกรรมการสผ. จะมีการประชุมในวันที่ 29 พ.ค.นี้ เพื่อพิจารณารายงาน EIA รฟท.จะลงนามสัญญากับผู้รับจ้างได้ โดยจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 64 เดือน หรือประมาณ 5 ปีเศษ

"การเจรจาเงื่อนไขในโครงการรถไฟไทย-จีนนั้น ไทยไม่เสียเปรียบและไม่ได้เอาเปรียบจีน เป็นความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบราง ซึ่งมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่ำ โดยเส้นทางที่เชื่อมจาก หนองคาย-โคราช-กรุงเทพ เป็นรถไฟสายหลักที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านระบบรางของอาเซียน" นายศักดิ์สยาม กล่าว

คมนาคมเร่งรถไฟไทย-จีน หลังสะดุดจากพิษโควิด-19

16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:01 น. เ



19 พ.ค.63-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 1/2563 ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา ได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธารวม 14 สัญญา วงเงินรวม 100,241.62 ล้านบาท โดยจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 64 เดือนหรือ5ปี

ทั้งนี้ในที่ประชุมได้ติดตามงานที่จะต้องร่วมกับทางรัฐบาลจีน ในการดำเนิน สัญญาที่
2-3 (งานวางราง ระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ เป็นการควบคุมระบบรถไฟและการดำเนินในส่วนของวางสถานี)ที่เกี่ยวข้องไปยังจังหวัดหนองคายจากเดิมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันกำหนดจะสามารถลงนามกับรัฐบาลจีนได้ต้นปีที่ผ่านมาแต่เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมาเริ่มมาจากประเทศจีนได้ปิดการจราจรทางอากาศจึงทำให้การประสานงานในการจัดการประชุมเพื่อที่จะมีการลงนามของสัญญาไม่สามารถที่จะดำเนินการได้

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า กรมขนส่งทางราง(ขน.)ได้ประสานงานกับรัฐบาลจีนเพื่อที่จะขอให้มีการจัดการประชุมระหว่างคณะกรรมการรวมแห่งราชอาณาจักรไทยและจีน ประชุมในลักษณะประชุมผ่านวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ ขณะนี้ทางรัฐบาลจีนได้ตอบตกลงโดยจะมีการประชุมในวันที่ 25 พ.ค.นี้ โดยกรอบสาระสำคัญในการประชุมจะเป็นเรื่องของจะดำเนินการในข้อตกลงเรื่องของสกุลเงินที่จะใช้ในการชำระค่าก่อสร้างตามสัญญาที่ 2-3 ตามข้อเสนอของฝ่ายจีนยินยอมให้ใช้ สกุลดอลลาร์ 80% และเงินบาท20% คิดเป็นมูลค่า 50,633,500 ล้านบาท

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่ากระทรวงคมนาคมได้เจรจาโดยนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อที่ต้องการให้เป็นโครงการสายหลักในการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในเรื่องทางราง ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรางของกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนเงินค่าก่อสร้างไม่ได้ชำระครั้งเดียวได้ทำสัญญากับทางรัฐบาลจีนเป็นระยะเวลา 64 เดือนจะมีการแบ่งชำระเป็นงวดโดยเชื่อว่าหลังสถานการณ์โค-วิดผ่านพ้นไปประเทศไทยจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจและทำให้ ค่าเงินบาทกลับมาแข็งแค่ได้และจะทำให้มูลค่าในการก่อสร้างรถไฟไทยจีนสามารถที่จะอยู่ในงบประมาณที่จะดำเนินการ

สำหรับการดำเนินการเรื่องนี้กระทรวงคมนาคมโดยกรมรางได้วางทำร้ายในการลงนามสัญญา 2.3 โดยจะดำเนินการเริ่มต้นในเดือนพ.ค.นี้จะมีการจัดประชุมคณะกรรมการรถไฟไทยจีนในวันที่ 25 พ.ค.นี้และในเดือนมิ.ย.นี้จะรายงานผลการประชุมให้ ครม.ได้รับทราบ หลังจากนั้นช่วงกลางเดือน มิ.ย. รฟท.จะเสนอร่างสัญญามาที่กระทรวงคมนาคม เพื่อให้ความเห็นชอบในการที่จะเสนอไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาต่อไป โดยภายในเดือนมิ.ย.-ก.ค.นี้ อัยการสูงสุดจะพิจารณาตรวจร่างสัญญาว่ามีความถูกต้องและเป็นไปตามกรอบของกฎหมายไทยหรือไม่ รวมถึงกรอบกฎหมายระหว่างประเทศว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นเรื่องใครได้เปรียบและเสียเปรียบ เดือน ส.ค. หลังจากอัยการสูงสุดพิจารณาตรวจร่างสัญญาเสร็จกระทรวงคมนาคมจะเสนอร่างสัญญาไปยัง ครม.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินตามสัญญา2.3 และเงื่อนไขต่างๆเพื่อที่จะขออนุมัติให้ รฟท.ลงนามกับจีนและในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.63 เมื่อ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบจะเป็นกระบวนการในเรื่องธุรการการประสานงานกับรัฐบาลจีนเพื่อกำหนดวันลงนาม สัญญาคาดว่าจะลงนามในเดือนต.ค.63 นี้

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่าได้มอบหมายให้ดระทรวงคมนาคมและทีมกฎหมายได้พิจารณาร่างสัญญาทั้งหมดไม่ให้เราเสียเปรียบแต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เอาเปรียบทางประเทศจีนเนื่องจากการดำเนินการอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นการร่วมมือในระหว่างรัฐบาลเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จะดำเนินการความร่วมมือในอนาคตต่อไปเพราะฉะนั้นการเดินไปด้วยกันภายใต้หลักพื้นฐานที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายจะเป็นหลักที่จะใช้เยอะในการดำเนินการพิจารณาร่างสัญญาในเรื่องของการลงนามโครงการรถไฟไทย-จีน โดยได้มีการตั้งคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 18 คนที่มีหน้าที่ในเกี่ยว เพื่อที่จะทำให้การประชุมครั้งนี้เป็นไปด้วยความรอบคอบถูกต้องตามกฏหมายโดยมีตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะในการประชุมกับรัฐบาลจีน

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมพยายามเร่งรัดงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางบก น้ำ อากาศและราง ซึ่งครบสี่มิติมองว่าประเทศไทยจะสามารถที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางของการเดินทางและระบบโลจิสติกส์ทางด้านการโดยสารและขนส่งสินค้าและเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยพลิกฟื้นขึ้นมา จากเดิมประเทศไทยในอดีตเคยถูกขนานนามว่าเป็นเสือตัวที่ห้าของทวีปเอเชียขณะนี้เรากำลังจะกลับมา

สำหรับ14 สัญญาประกอบด้วย
สัญญา ที่1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กโลเมตร(กม.) ก้าวหน้า83.81% ช้ากว่าแผน 4.19% ,
สัญญา2-1 ช่วงอ.สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง11 กม. ก้าวหน้า 23.29% ช้ากว่าแผน 12.54% เนื่องจากมีปัญหาการเข้าพื้นที่ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ก็ได้เร่งรัดให้ผู้รับเหมาปรับแผนก่อสร้างให้ทันตามที่กำหนดไว้,
สัญญา3-1 ช่วงอ.แก่งคอย-อ.กลางดง และช่วงปางอโศก-เขาบันไดม้า ระยะทาง30.21กม.อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) คาดว่าจะพิจารณาเห็นชอบในการประชุมวันที่29พ.ค.นี้ ,
สัญญาที่4 (3-2) งานก่อสร้างอุโมงค์ช่วงมวกเหล็ก และลำตะคลอง ระยะทาง12.23กม. ได้รับการอนุมัติจ้างแล้วเมื่อวันที่1เม.ย.63 น่าจะดำเนินการได้ตามแผนทั้งหมด

สัญญาที่5(3-3)ช่วงเขาบันไดม้า- อ.ลำตะคลอง ได้รับอนุมัติการจ้างไปแล้วเมื่อวันที่16เม.ย.63,
สัญญาที่6(3-4) ช่วงละตะคลอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โครกกรวด อยู่ระหว่างการชี้แจงข้อมูลให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาตรวจสอบอีไอเอ ,
สัญญาที่7(3-5) ช่วงโครกกรวด อยู่ระหว่างเสนออนุมัติสั่งจ้าง ,
สัญญาที่8(4-1)ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่ไปกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) อยู่ระหว่างที่คณะกรรมการอีอีซีเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้พิจารณาอีไอเอ

สัญญาที่9(4-2) ช่วงดอนเมือง-นวนคร ได้ผู้รับจ้างแล้วรอลงนามในสัญญาจ้าง ,
สัญญาที่10(4-3) ช่วงนวนคร-บ้านโพธิ์ ได้ผู้รับจ้างแล้วรอลงนามในสัญญาจ้าง ,
สัญญาที่11(4-4) สร้างศูนย์บำรุงเชียงรากน้อย อยู่ระหว่างการขายเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์) ,
สัญญาที่12(4-5) งานโยธิก่อสร้างช่วงบางโพธิ์-พระแก้ว ได้อนุมัติสั่งจ้างแล้วเมื่อวันที่16เม.ย.ที่ผ่านมา ,
สัญญาที่13(4-6)ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ได้ผู้รับจ้างแล้วรอลงนามในสัญญาจ้าง และ
สัญญาที่14(4-7) ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ได้ผู้รับจ้างแล้วรอลงนามในสัญญาจ้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2020 10:31 pm    Post subject: Reply with quote

กลุ่มซีพี เดินหน้ารถไฟไฮสปีด ผนึกวิศวะมหิดล วิจัยแผนพัฒนาระบบ
หน้าอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เวลา 14:22 น.

กลุ่มซีพี ไม่รอวิกฤติโควิด-19 สงบ เดินหน้าเมกะโปรเจ๊กต์รถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน จับมือวิศวะมหิดล วิจัยแผนงานพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงและการจ้างงานบัณฑิต
กลุ่มบริษัทซีพี เดินหน้าเมกะโปรเจ๊กต์รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยนายลีโอ มัก เส็คแมน (Leo Mak Sek Man) ผู้จัดการโครงการ และ ดร. อนพัทย์ มโนวชิรสรรค์ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เดินทางเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทั้งหารือถึงแผนพัฒนา 3 ขั้นตอนในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในอนาคต ความร่วมมือในการวิจัยพัฒนาในภาครถไฟและการจ้างงานบัณฑิต



รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำเสนอผลงานวิจัยพัฒนาด้านระบบขนส่งทางรางที่ผ่านมา ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประเทศในหลายโครงการ ในโอกาสนี้ผู้บริหารกลุ่ม บริษัท ซีพี ได้หารือความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดลในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งมีแผนงานพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ระยะที่ 1 จะเป็นการปรับปรุงรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการและบำรุงรักษาภายในเดือนตุลาคม 2564 ระยะที่ 2 จะเป็นก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC และในระยะที่ 3 จะเป็นการต่อขยายทางรถไฟ เพื่อเชื่อมกับท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ



ผศ.ดร.วเรศรา วีระวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มบริษัทซีพี ได้แสดงความสนใจต่อหลักสูตรวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางระดับบัณฑิตศึกษา(ปริญญาโท) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในแนวทางการสนับสนุนงานวิจัยด้านระบบรางและการรับบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าทำงาน นับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับอนาคตของการพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรคนไทยในอุตสาหกรรมขนส่งระบบรางและการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งจะสร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันและโอกาสใหม่ๆทางเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยในด้านการพัฒนากำลังคนป้อนสู่ระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาระบบขนส่งทางราง (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตรระยะ 2 ปี จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละแขนง และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ หลักสูตรฯ มุ่งเน้นทักษะความเชี่ยวชาญในการวางแผน การดำเนินงาน และการบริหารจัดการ พร้อมทั้งรายวิชาระบบรางที่สร้างเสริมศักยภาพและองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบขนส่งทางรางด้านต่างๆ ได้แก่ วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมอุตสาหการและวัสดุ

“มหิดล” ผนึกกลุ่ม CP ร่วมวิจัยไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน
วันที่ 19 พฤษภาคม 2563

วิศวะ ม.มหิดล ผนึกความร่วมมือกลุ่ม CP งานวิจัยแผนพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เผยกลุ่มCP กำหนดแผนพัฒนา 3 ขั้นตอนระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในอนาคต และความร่วมมือในการวิจัยพัฒนาในภาครถไฟและการจ้างงานบัณฑิตภาคปฏิบัติการต่างๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2020 9:01 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ (22 พ.ค. 63) เวลา 10.00 น. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมหารือ เรื่องการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รวมถึงการอนุรักษ์อาคารสถานีและโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ของโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี - นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมีนายกำพล บุญชม รองวิศวกรใหญ่ด้านโครงการพิเศษ รฟท. นายวสันต์ ปั้นสังข์ วิศวกร8 ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟท. และ นายทศวรรณ นิจพาณิชย์ ผู้จัดการโครงการ นายอชิระ วังไธสง นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ของบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ เข้าร่วมประชุมด้วย

โดยที่ประชุมได้มีข้อสรุปร่วมกัน คือจะมีการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงาน EIA ของโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี - นครราชสีมา) จากการก่อสร้างอุโมงค์คู่ทางเดี่ยวเป็นอุโมงค์เดี่ยวทางคู่ และการอนุรักษ์อาคารสถานีและโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ซึ่งที่ประชุมได้กำชับให้บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ เร่งดำเนินการสำรวจสถานีรถไฟที่ต้องอนุรักษ์ เพื่อที่จะได้กำหนดแนวทางในการอนุรักษ์ การบำรุงรักษาที่ชัดเจนต่อไป ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางราง รฟท. และ บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ จะได้ปรับปรุงรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดฯ เพื่อนำเสนอต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/686909902085957

22 พ.ค.63 ช่วงสายเข้าร่วมประชุมหารือ การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รวมถึงการอนุรักษ์อาคารสถานีและโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ของโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี - นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับรฟท. และบริษัทที่ปรึกษา โดยที่ประชุมได้มีข้อสรุปร่วมกัน คือจะมีการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงาน EIA ของโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี - นครราชสีมา) จากการก่อสร้างอุโมงค์คู่ทางเดี่ยวเป็นอุโมงค์เดี่ยวทางคู่ และการอนุรักษ์อาคารสถานีและโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ซึ่งที่ประชุมได้กำชับให้บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ เร่งดำเนินการสำรวจสถานีรถไฟที่ต้องอนุรักษ์ เพื่อที่จะได้กำหนดแนวทางในการอนุรักษ์ การบำรุงรักษาที่ชัดเจนต่อไป ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางราง รฟท. และ บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ จะได้ปรับปรุงรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดฯ เพื่อนำเสนอต่อไป

ป.ล. เตรียมรายงานฉบับเปลี่ยนแปลงรายละเอียดEIA โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา ให้ สผ. ภายในสิ้น พ.ค.63

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3066314533415471&set=a.2789611361085791&type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2020 7:13 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” จ่อเซ็นสัญญารถไฟไทย-จีน ไม่เกิน ต.ค. นี้
หน้าแรก / เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project /

25 พฤษภาคม 2563 เวลา 17:31 น.

“คมนาคม” ปิดดีลเจรจาร่างสัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีน มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท เตรียมชง ครม.ไฟเขียว คาดเซ็นสัญญาไม่เกิน ต.ค.นี้ สั่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องชำระค่างวดงานช่วงค่าเงินบาทแข็ง หวังเดินหน้าโครงการฯ ต่อเนื่อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 28 ผ่านระบบ Video Conference กับนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายจีน พร้อมคณะ โดยมี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง และหัวหน้าสำนักงานบริหารโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนด้านการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ พร้อมผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม นายศักดิ์สยาม เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เจรจาในส่วนของร่างสัญญา 2.3 (สัญญาการวางระบบราง ไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมจัดหาขบวนรถและฝึกอบรมบุคลากร) มูลค่างาน 50,633 ล้านบาท โดยทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันว่า สกุลเงินที่ใช้ในการชำระค่างานจะเป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐ(ดอลลาร์) ร้อยละ80 ประมาณ 40,506 ล้านบาท หรือ 1,313 ล้านดอลลาร์ และที่เหลืออีกร้อยละ20 ชำระเป็นเงินสกุลบาทไทย ประมาณ 10,126 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2020 9:28 am    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟไทย-จีน บรรลุข้อตกลงร่างสัญญา 2.3 คาดลงนามร่วมกัน ต.ค.63
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
25 พฤษภาคม 2563 เวลา 20:24 น.
รถไฟไทย-จีน บรรลุข้อตกลง สัญญา 2.3 เร่งลงนามซื้อระบบ 5.06 หมื่นล้านใน ส.ค.-ก.ย.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา 18:42

รมว.คมนาคม “ศักดิ์สยาม”ประชุม “รถไฟไทย-จีน”บรรลุข้อตกลงสัญญา 2.3 เงื่อนไขซื้อระบบรถไฟความเร็วสูงจีน วงเงิน 5.06 หมื่นล. เร่งชง ครม.เชิญ”นายกฯ”ประธานนัดเซ็นสัญญา ใน ส.ค.-ก.ย. แต่่ไม่เกินตุลาคมศกนี้ ยันจ่ายเป็นดอลลาร์ 80% หรือ 4.05 หมื่นล.ยึดเรท 30.8 บาทต่อ 1 เหรียญทยอยจ่ายเป็นงวด โดยจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 5 ปี ตั้งแต่ปี 63-68 ส่วนเฟส 2 เชื่อมหนองคาย คาดเสร็จปี 68


เมื่อวันที่ 25 พ.ค.63 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา-หนองคาย) (JC ครั้งที่ 28) ว่า ที่ประชุมทั้ง 2 ฝ่าย เห็นชอบและบรรลุข้อตกลงร่วมกันในร่างสัญญา 2.3 งานวางราง ระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ เป็นการควบคุมระบบรถไฟและการดำเนินในส่วนของวางสถานี ในกรอบวงเงิน งบประมาณ 50,633.500 ล้านบาท (ต่อรองราคา ลดลง 3,000 ล้านบาท) โดยเห็นชอบที่จะให้ชำระเป็นเงินดอลลาร์ 80% เป็นจำนวน 1,313,885,237 เหรียญสหรัฐ และชำระเป็นเงินบาท 20% เป็นจำนวน 10,126.7 ล้านบาท ในอัตราแลกเปลี่ยน 30.82955 บาท ต่อ เหรียญสหรัฐ (ตามอัตราเฉลี่ยธนาคารแห่งประเทศไทย ช่วง ระหว่าง 25 เมษายน 62-30 พฤศจิกายน 62)


รมว.คมนาคม กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นยังได้กำหนดการลงนามร่วมกันในสัญญา ระหว่างไทย-จีนไม่เกิน เดือนตุลาคม 63 นี้หรืออาจจะเร็วกว่า ถ้ากระบวนการทางด้านเอกสาร และการขออนุมัติเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทำได้ก่อน ตุลาคม 63 นี้ ทั้งนี้ระยะเวลาในการดำเนินการในโครงการจะใช้เวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 63-68



นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า ในส่วนของฝ่ายรัฐบาลไทยได้แจ้ง ให้ทางฝ่ายจีนรับทราบว่าจะ มีการเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานใน พิธีลงนาม ที่ทำเนียบรัฐบาล ประเทศไทย ซึ่งทางฝ่ายรัฐบาลจีนได้รับทราบ และจะนำเสนอ รัฐบาลจีนเพื่อกำหนด ตัวบุคคลจากรัฐบาลจีนมาร่วมเป็น ประธาน สักขีพยานฝ่ายจีนต่อไป.

สำหรับโครงการ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย) ระยะที่1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท เริ่มการก่อสร้างงานโยธาเมื่อปี 2561 แล้วเสร็จในปี 2566 (ดำเนินการ 5 ปี)

ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 211,757 ล้านบาท เริ่มดำเนินการในปี 2563 -2568 (ระยะเวลา 5ปี) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะทำให้การเชื่อมต่อขนส่งทางราง จากกทม.-หนองคาย และเชื่อมไปยัง สปป.ลาวและประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งมีประชากรรวมกัน หลายร้อยล้านคน มีความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งสินค้าและการเดินทาง ด้วยค่าบริการที่ต่ำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2020 10:18 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
โครงการรถไฟไทย-จีน บรรลุข้อตกลงร่างสัญญา 2.3 คาดลงนามร่วมกัน ต.ค.63
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
25 พฤษภาคม 2563 เวลา 20:24 น.
รถไฟไทย-จีน บรรลุข้อตกลง สัญญา 2.3 เร่งลงนามซื้อระบบ 5.06 หมื่นล้านใน ส.ค.-ก.ย.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา 18:42



“คมนาคม” เตรียม เซ็นสัญญา "รถไฟไทย-จีน" ไม่เกิน ต.ค. นี้
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
เผยแพร่: 25 พฤษภาคม 2563 เวลา 17:31 น.

“คมนาคม” ปิดดีลเจรจาร่างสัญญา 2.3 "รถไฟไทย-จีน" มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท เตรียมชงครม.ไฟเขียว คาดเซ็นสัญญาไม่เกิน ต.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้าน "รถไฟระหว่างไทย – จีน" ครั้งที่ 28 ผ่านระบบ Video Conference กับนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายจีน พร้อมคณะ โดยมี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง และหัวหน้าสำนักงานบริหารโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนด้านการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ พร้อมผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม นายศักดิ์สยาม เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เจรจาในส่วนของร่างสัญญา 2.3 (สัญญาการวางระบบราง ไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมจัดหาขบวนรถและฝึกอบรมบุคลากร) มูลค่างาน 50,633 ล้านบาท โดยทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันว่า สกุลเงินที่ใช้ในการชำระค่างานจะเป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐ(ดอลลาร์) ร้อยละ80 ประมาณ 40,506 ล้านบาท หรือ 1,313 ล้านดอลลาร์ และที่เหลืออีกร้อยละ20 ชำระเป็นเงินสกุลบาทไทย ประมาณ 10,126 ล้านบาท อ่านข่าว อัพเดตรถไฟไทย-จีนอ่านข่าว เคาะกู้เป็นดอลลาร์ ลุยรถไฟไทย-จีน



ทั้งนี้จะใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดในช่วงระหว่างวันที่ 25เม.ย.-30พ.ย. 62 ในอัตรา 30.82955 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์ โดยชำระแบ่งเป็นงวดๆ ของสัญญาที่มีระยะเวลา 5 ปี(63-68) จึงไม่ต้องกังวลเงินค่าเงินบาทอ่อน แม้เวลานี้เงินดอลลาร์อาจแข็งค่าแต่เชื่อมั่นว่าหลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19คลี่ลาย จะทำให้เงินบาทไทยกลับมาแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ได้กำชับเจ้าหน้าที่ว่าในการกำหนดชำระค่างวดงานให้กำหนดในช่วงเงินบาทแข็งค่าด้วย เพราะจะทำให้ไทยดำเนินโครงการนี้อยู่ภายใต้งบประมาณที่กำหนดได้ นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า หลังจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการกำหนดวันลงนามในสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยกับจีน โดยตนจะนำผลการประชุมครั้งนี้รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) และส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดได้ตรวจสอบ พร้อมขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ3เดือน แต่เบื้องต้นได้แจ้งทางผู้แทนจีนไปว่าการลงนามจะมีขึ้นไม่เกินเดือนต.ค.63 แน่นอนในประเทศไทย โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน



อย่างไรก็ตามหากสามารถเร่งรัดได้เร็วกว่านั้นจะรีบดำเนินการทันที เนื่องจากโครงการรถไฟไทย-จีน ค่อนข้างล่าช้า เพราะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ขอให้มั่นใจว่าโครงการฯ จะมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า เพื่อในอนาคตไทยจะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนในการรับสินค้าจากจีน และลาว ส่งต่อผ่านไทยไปตอนใต้ยังประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า และกัมพูชา ทั้งนี้ได้พูดคุยกับผู้แทนจีนด้วยว่าขอให้ช่วยพิจารณานำบุคลากรที่จะจัดส่งมาไทยไปตรวจสุขภาพก่อน เพราะเวลานี้สถานการณ์ในไทยอยู่ในมาตรฐานสูงมาก และมีผู้ติดเชื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญจนแทบไม่มีแล้ว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการที่จะไม่เกิดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 369, 370, 371 ... 545, 546, 547  Next
Page 370 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©