RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180088
ทั้งหมด:13491320
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 378, 379, 380 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/08/2020 1:41 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณครับ

-------------

“ซีพี” ตั้ง 7 ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมพัฒนารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 สิงหาคม 2563 - 11:12 น.

“ซีพี” ตั้ง 7 ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ย้ำขับเคลื่อนธุรกิจคู่ความยั่งยืน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เปิดเผยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศไทย จึงตั้งใจคิดให้ครบทุกมิติ และให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ และต่อคนในพื้นที่

โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา เข้าร่วมเป็น “คณะที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน” โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ประกอบด้วยผู้ทรงวุฒิ 7 ท่าน

ได้แก่ 1.ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2.ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง 3.ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

4.ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5.ผศ.ดร.อนุรัตน์ อนันทนาธร อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 6.นายธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี และ 7.นายต่อพงศ์ เสลานนท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย

นายศุภชัยกล่าวว่า การพัฒนาด้านความยั่งยืนของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จะมุ่งเน้น 2 ประเด็น คือ 1.การพัฒนาความยั่งยืนด้านสังคม 2.การพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

“โครงการนี้ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานแรกของภูมิภาคอาเซียน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมประเทศเพื่อนบ้านในแถบ CLMV ให้เติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน” นายศุภชัยกล่าว

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินไม่ใช่แค่โครงสร้างพื้นฐาน แต่คือเส้นทางสายโอกาส และสัญลักษณ์ความภูมิใจของประเทศไทย ตลอดเส้นทาง 220 กิโลเมตรจะสร้างโอกาส สร้างงาน และถือเป็นอีกหนึ่งโครงการระดับชาติที่จะทำให้การเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศไทย เหมือนโครงการระดับโลกในอดีต เช่น เขื่อนฮูเวอร์ในสหรัฐอเมริกา หรือรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่น

ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า โครงการนี้ถือเป็นความภูมิใจของประเทศไทยหรือ Pride of Thailand และในด้านความยั่งยืนต้องคำนึง 4 ด้าน ได้แก่ 1.Environmental friendly 2.Circular economy 3.Inclusive economy 4.Glass roots development
และมั่นใจว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินจะเป็นเครื่องมือสร้างความเจริญให้แก่คนในพื้นที่และทำให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้า

ขณะที่ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นของคนไทยทุกคน จะต้องสร้างให้เกิดพฤติกรรมการเดินทางรถไฟ ด้วยการส่งเสริมแนวคิด เดินทางโดยรถไฟช่วยลดมลพิษ และเป็นการลดใช้พลังงาน นอกจากนี้ต้องพัฒนาคนและพัฒนาชุมชนในพื้นที่ให้แข็งแรง รักษาวัฒนธรรมและอาชีพของท้องถิ่นไว้ให้ได้ตลอดจนรักษาเงื่อนไขระดับนิเวศของสังคมและสิ่งแวดล้อมไว้ให้ได้

สำหรับ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินจะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยดำเนินการในรูปแบบ “แพลตฟอร์มแห่งปัญญา” ด้วยการจัดทำผังภูมิศาสตร์เชื่อมโยง 5 จังหวัดที่รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินผ่าน คือ กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และ ระยอง

โดยวางรูปแบบการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1.การพัฒนาอย่างชาญฉลาด โดยใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นนวัตกรรมหรือเครื่องมือในการเชื่อมต่อพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อกระจายความเจริญ 2.การพัฒนาคุณภาพชีวิต คือการคิดให้ครบทุกด้าน ให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียม และ 3.สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ต้องคำนึงถึงการปกป้องธรรมชาติ รักษาสมดุลของระบบนิเวศน์

ขณะที่มุมมองนักวิชาการในพื้นที่ภาคตะวันออก ผศ.ดร.อนุรัตน์ อนันทนาธร อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องเน้นการน้อมนำศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตอบโจทย์ 4 ประเด็นคือ ประโยชน์จากรถไฟฟ้า ประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงการเตรียมการเพื่อลดผลกระทบ ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาใน 4 มิติ คือ พัฒนาโครงการ พัฒนาบุคลากร พัฒนาชุมชน และพัฒนาประเทศ

นายธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล ประธานหอการค้าจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า โครงการรถจะต้องเชื่อมโยงกับชุมชน ส่งเสริมสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจทั้งในระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ ทั้งยังสนับสนุนเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs เพื่อกระจายรายได้อย่างทั่วถึงไม่เพียงแค่พื้นที่ตามสถานี แต่ขยายไปยังพื้นที่รอบจังหวัดด้วย

นายต่อพงศ์ เสลานนท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการนี้ ต้องตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เข้าใจทุกการใช้ชีวิต และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมระยะยาวได้ แต่ต้องวางกรอบแนวคิดใหม่เพื่อให้เกิด “For Living Together” เพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายคือรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินจะต้องสร้างประสบการณ์การเดินทางที่ดีขึ้นกับทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/08/2020 1:46 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นชาวตราด สรุปผลการศึกษา ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2
04 ส.ค. 2563

Click on the image for full size

(4 ส.ค. 63) ว่าที่ร้อยตรี พิเชียน ลิมป์หวังอยู่ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานเปิดเวทีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง –จันทบุรี – ตราด (การประชุมใหญ่ระดับจังหวัด) งานจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์ และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม โดยมี นายมาโนช จันทร์สมัคร ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวรายการผลการดำเนินงาน มีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจภาคเอกชน และประชาชนผู้สนใจจำนวนมากเข้าร่วมเวทีการประชุม ที่ห้องประชุมโรงแรมเอวาด้า อำเภอเมืองตราด

ทั้งนี้ ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ให้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง –จันทบุรี – ตราด ซึ่งกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้จัดทำร่างผลการศึกษาด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน มาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเสร็จแล้ว จึงได้จัดเวทีครั้งนี้ขึ้น สำหรับโครงการดังกล่าวมีแนวเส้นทางโครงการศึกษาครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ระยอง จันทบุรี และตราด ซึ่งประกอบด้วยสถานีรถไฟ 4 สถานี ได้แก่ สถานีระยอง สถานีแกลง สถานีจันทบุรี และสถานีตราด มีระยะทางรวมประมาณ 190 กิโลเมตร โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นระบบปิด ปราศจากจุดตัดระดับเดียวกันกับระบบขนส่งทางถนนและระบบอื่น ๆ โดยมีการก่อสร้างรั้วกั้นตลอดแนวเส้นทางรถไฟ โดยคาดว่าโครงการจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2571 โดยรถไฟความเร็วสูง สามารถช่วยประหยัดระยะเวลาการเดินทาง จากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดตราด ประมาณ 2.15 ชั่วโมง กรณีจอดเฉพาะสถานีหลัก ซึ่งหากสามารถดำเนินโครงการนี้ได้จะสามารถรองรับการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2020 4:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นชาวตราด สรุปผลการศึกษา ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2
4 สิงหาคม 2563

ส่อแววพับ! โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินระยะ 2 ระยอง-จันทบุรี-ตราด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา15:09



ตราด - ส่อแววพับ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินระยะ 2 ส่วนต่อขยาย ระยอง-จันทบุรี-ตราด หลังผลศึกษาไม่คุ้มค่าการลงทุน ด้านประชาชนพื้นที่เสียดายไม่มีทางเลือกเดินทาง

วันนี้ (4 ส.ค.) ว่าที่ ร.ต.วิเชียน ลิมป์หวังอยู่ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานรับฟังความคิดเห็นผลสรุปการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยาย ระยอง-จันทบุรี-ตราด ที่ห้องประชุมโรงแรมเอวาด้า ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด โดยมี นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัทที่ปรึกษาเข้าร่วม พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชนและประชาชนกว่า 300 คน

โดย นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เผยถึงการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ที่จะต่อยอดโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะแรกเชื่อม 3 สนามบิน ว่า ขณะนี้ได้ผู้รับเหมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ในปี 2571 โดยเฉพาะส่วนเชื่อมจากสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ที่คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จก่อนจึงจะเริ่มการพัฒนาในส่วนเชื่อมต่อระยะที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา มายังสถานีจอดที่ อ.บ้านฉาง เมืองระยอง สถานีแกลง สถานี จ.จันทบุรี และสถานีจอดใน จ.ตราด ได้



ผลศึกษาพบไม่คุ้มค่าลงทุน

แต่อย่างไรก็ดี จากการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ พบว่า มีค่าเพียง 5.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถือว่าไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และหากจะให้เข้าเกณฑ์ต้องมีค่าตัวเลขที่ 12% ซึ่งหากจะเดินหน้าผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นจริงจะต้องมีการผลักดันจากภาคการเมืองและจะต้องมีภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับรัฐบาล

เนื่องจากโครงการฯ มีระยะทางทั้งสิ้น 190 กิโลเมตร (แบ่งเป็นทางยกระดับ 164 กิโลเมตร ทางระดับดิน 26 กิโลเมตร) ผ่าน 3 จังหวัดคือ ระยอง จันทบุรี และตราด

โดยจะมีสถานีจอดใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย สถานีจอดใน จ.ระยอง 2 แห่งคือ บริเวณวัดน้ำคอกเก่า ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ห่างจากเมืองระยองประมาณ 5 กิโลเมตร และจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ (Depot) อยู่ในบริเวณเดียวกัน และสถานีแกลง บริเวณแยกหมอ เปลี่ยนห่างจากเมืองแกลงประมาณ 2 กิโลเมตร

สถานีใน จ.จันทบุรี ที่บริเวณใกล้แยกเขาไร่ยา จุดตัดถนนสุขุมวิท เพื่อเชื่อมถนน 316 เข้าสู่ใจกลางเมืองจันทบุรี

และสถานีจอดใน จ.ตราด จะอยู่ใกล้กับสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตราด ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร

ภายใต้ระยะเวลาการเดินทางจากสนามบินอู่ตะเภา มายัง จ.ตราด ประมาณ 64 นาที ส่วนการเดินทางจากสนามบินดอนเมือง มายังสถานีจอดใน จ.ตราด จะใช้เวลาประมาณ 110 นาที ด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง



ทั้งนี้ ผลการศึกษาโครงการเต็มแผนในปีแรกยังคาดว่าจะมีผู้โดยสารเข้าใช้บริการประมาณ 7,429 คนต่อวัน และภายในระยะเวลา 30 ปี จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 19,575 คนต่อวัน

ขณะที่เม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 101,000 ล้านบาท และยังมีค่าบริหารโครงการตลอด 30 ปี อีกจำนวน 57,383 ล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้นจึงไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ แต่หากลงทุนในระยะที่ 2 ถึงสถานีแกลง ผลการศึกษามีความคาดหวังว่าอาจจะคุ้มทุนมากขึ้น

โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กระทรวงคมนาคม ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ให้ศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้น โดยมีระยะเวลาดำเนินงานโครงการเชื่อมต่อฯ ระยะที่ 2 จำนวน 240 วัน

ด้าน ว่าที่ ร.ต.พิเชียน กล่าวว่าหากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง –จันทบุรี – ตราด ก่อสร้างได้สำเร็จจะทำให้ จ.ตราด ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวสวยงามและยังมีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนไทย-กัมพูชา สามารถยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้อีกมาก

ที่สำคัญในวันนี้ จ.ตราด มีเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สามารถรองรับความเจริญเติบโตในอนาคต ซึ่งการจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในวันนี้จะทำให้การพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ สมบูรณ์มากขึ้น



ชาวตราดเสียดายหากไม่เกิดทางเลือกการเดินทาง

ขณะที่ความคิดเห็นของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมส่วนใหญ่เห็นว่า ร.ฟ.ท.และบริษัทที่ปรึกษาควรคำนึงถึงผลได้และผลเสียในการเวนคืนที่ดินบริเวณแนวเส้นทางที่รถไฟความเร็วสูงจะผ่านว่าจะเกิดประโยชน์และสร้างความคุ้มค่าให้เกิดขึ้นในพื้นที่ได้หรือไม่

นอกจากนั้น หลายคนยังผิดหวังที่ในอนาคตอาจไม่สามารถดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงมายัง จ.ตราด ได้ด้วยข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว จ.ตราด มีศักยภาพทางธุรกิจการท่องเที่ยวและยังเป็นเมืองชายแดน ที่น่าจะมีรถไฟความเร็วสูงเป็นทางเลือกให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวในการเดินทาง
‘คนตราด’ส่อแห้ว! ประเมินไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินไม่คุ้มลงทุน
โลกธุรกิจ

‘คนตราด’ส่อแห้ว! ประเมินไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินไม่คุ้มลงทุน
วันอังคาร ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13.32 น.

ชาวตราดกว่า 300 คน แห่ร่วมเวทีสรุปผลการศึกษา “โครงการไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” ระยะ 2 ส่วนต่อขยายระยอง-จันทบุรี-ตราด ส่อแห้วหลังพบไม่คุ้มการลงทุน ด้านผู้ว่าฯย้ำมีศักยภาพสูง

4 สิงหาคม 2563 ที่ห้องประชุมโรงแรมเอวาด้า ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด ว่าที่ ร.ต.พิเชียน ลิมป์หวังอยู่ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด (ผวจ.ตราด) เป็นประธานรับฟังความคิดเห็นประชาชนต่อผลสรุปผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด โดยมีนายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทที่ปรึกษา พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนชาวตราดร่วมประชุมรับฟังกว่า 300 คน

ว่าที่ร.ต.พิเชียน กล่าวว่า จ.ตราด มีศักยภาพมาก เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงาม มีพื้นที่ติดต่อกับชายแดนไทยกัมพูชา 3 จังหวัด หากสามารถก่อสร้างได้จะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของ จ.ตราด มากขึ้น ซึ่งวันนี้ จ.ตราด มีเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สามารถรอบรับความเจริญเติบโตในอนาคต โดยที่ผ่านมาทางจังหวัดรับทราบความคืบหน้ามาระยะหนึ่งแล้ว เวทีวันนี้จึงจะทำให้การพิจารณาสมบูรณ์มากขึ้น


ส่วนนายสุชีพ กล่าวว่า โครงการนี้จะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ที่จะต่อยอดรถไฟความเร็วสูงระยะ 1 ที่เชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งขณะนี้ได้ผู้รับเหมาแล้ว จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2571 โดยเฉพาะในส่วนเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินอู่ตะเภา คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อน จากนั้นในส่วนเชื่อมระยะที่ 2 จะดำเนินการตั้งแต่อู่ตะเภา , มีสถานี อ.บ้านฉาง , สถานี จ.ระยอง , สถานีแกลง , สถานี จ.จันทบุรี และสถานี จ.ตราด ที่จะมีสถานีอยู่ด้านหน้าการไฟฟ้าภูมิภาคตราด



“จากการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจแล้ว พบว่า มีค่าเพียง 5.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หากจะให้เข้าเกณฑ์จะต้องเป็นตัวเลข 12% ดั้งนั้นหากจะมีการผลักดันในการก่อสร้างให้ได้ต้องมีการผลักดันจากภาคการเมืองโดยตรง โครงการนี้จะมีภาคเอกชนเข้ามาลงทุนร่วมกับรัฐบาลด้วย” นายสุชีพ กล่าว

ทางด้านที่ประชุมได้เสนอความต้องการต่างๆให้คณะจาก รฟท.และบริษัทที่ปรึกษา ทราบถึงความต้องการ และผลได้ผลเสียในการเวนคืนที่ดินที่แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่าน และหลายคนผิดหวังที่ไม่สามารถสร้างรถไฟความเร็วสูงมายัง จ.ตราด ด้วยข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ ทั้งที่ จ.ตราด มีศักยภาพทางธุรกิจการท่องเที่ยว และการเป็นเมืองชายแดน จึงควรจะมีรถไฟความเร็วสูง เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ตัดสินใจและมีทางเลือกในการเดินทางมายัง จ.ตราด

สำหรับโครงการมีระยะทางทั้งหมด 190 กิโลเมตร (มีทางยกระดับ 164 กิโลเมตร , ทางระดับดิน 26 กิโลเมตร) โดยผ่าน 3 จังหวัดคือ ระยอง จันทบุรี ตราด มีทั้งหมด 3 สถานี คือ จ.ระยอง อยู่บริเวณวัดน้ำคอกเก่า ห่างจากเมืองระยองประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ (Depot) อยู่ในบริเวณเดียวกัน , สถานีแกลง อยู่บริเวณแยกหมอเปลี่ยน ห่างจากเมืองแกลงประมาณ 2 กิโลเมตร , สถานี จ.จันทบุรี อยู่บริเวณใกล้กับแยกเขาไร่ยา จุดตัดกับถนนสุขุมวิท เพื่อต่อกับถนน 316 เพื่อเข้ากลางเมืองจันทบุรี ห่างจากเมืองจันทบุรีประมาณ 8 กิโลเมตร และตรา ดอยู่บริเวณใกล้กับสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตราด บนถนนสุขุมวิท ห่างจากเมืองตราด 2 กิโลเมตร

ทั้งนี้ ระยะเวลาการเดินทาง จากอู่ตะเภา-ตราด 64 นาที , จากดอนเมือง-ตราด 110 นาที , ความเร็วสูงสุดในการให้บริการ 250 กม./ชม. จากการศึกษาโครงการเต็มแผน ในปีแรก โครงการจะมีผู้โดยสาร 7,429 คน/วัน ในอีก 30 ปีจะขึ้นไปที่ 19,575 คน/วัน มีการลงทุนรวม 101,000 ล้านบาท ค่าบริหารโครงการตลอด 30 ปี 57,383 ล้านบาท ซึ่งไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ แต่หากลงทุนในระยะที่ 2 มาถึงสถานีแกลง จะคุ้มทุนมากกว่า คือ ช่วง อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง เป็นช่วงแรกของส่วนต่อขยาย ซึ่งจะมีความคุ้มค่าทางการเงิน สูงสุด คือ -1.12% ซึ่งจะมีปริมาณผู้โดยสารก้าวกระโดดจากระยอง เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4000 คน จาก 2,874 เป็น 6,447 คน/วัน เพราะทางที่ปรึกษาประเมินว่าจะมีผู้โดยสารมาจากจันทบุรีมาขึ้นที่สถานีแกลง แต่เมื่อขยายไปจันทบุรีก็จะได้ลูกค้ากลุ่มเดิม แต่ต้องลงทุนเพิ่มถึง 30,000 ล้านบาท

สำหรับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ให้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง –จันทบุรี – ตราด โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 240 วัน

// ---------------------------------------

4 ส.ค.63 เวลา09.00 น. ว่าที่ร้อยตรี พิเชียน ลิมป์หวังอยู่ ผู้ว่าราชการ จังหวัดตราด เป็นประธานเปิดกานสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน(สรุปผลโครงการ) โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ที่โรงแรม AVADA

ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนอยากให้มีรถไฟความเร็วสูงมายังจ.ตราด แต่ขอให้ทบทวนตำแหน่งสถานีรถไฟความเร็วสูงตราดให้มีความเหมาะสมควรอยู่ที่เดียวกะบสถานีรถไฟทางคู่และมีการเชื่อมต่อระบบขนส่งรูปแบบอื่น ทั้งรถโดยสารสาธารณะ การเชื่อมต่อไปยังท่าเรือที่จะไปเกาะช้างและหมู่เกาะต่างๆ เพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยไม่ควรพิจารณาเฉพาะจำนวนประชากร จ.ตราดที่มีอยู่ประมาณ2.3 แสนคนและมีอัตราการเติบโตน้อยแต่ควรพิจารณาถึงนักท่องเที่ยวและประชากรในพื้นที่ 3 จังหวัดของกัมพูชาที่อยู่ติดพรมแดนจังหวัดด้วย ซึ่งมีประมาณ2-3 ล้านคน/ปี

ป.ล. สถานีรถไฟทางคู่ไปสิ้นสุดที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
https://facebook.com/photo.php?fbid=3260981697282086&set=a.2081528948560706&type=3&theater


Last edited by Wisarut on 06/08/2020 10:17 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2020 4:22 pm    Post subject: Reply with quote

ประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชี่อม 3 สนามบิน ส่วนต่อขยาย ระยอง-จันทบุรี-ตราด พื้นที่จันทบุรี วันที่ 5 สิงหาคม 63 8:30-12:00 น. ที่โรงแรมเคพีแกรนด์ จังหวัดจันทบุรี
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 4 สิงหาคม 2563


วันนี้มีข่าวฝากประชาสัมพันธ์ให้กับพี่น้องชาวเมืองจันท์ และแกลง ซึ่งจะเป็นตำแหน่งก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง และพี่น้องตลอดรายทาง ใครว่างและสนใจในรายละเอียดของโครงการรถไฟความเร็วสูง ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี

พรุ่งนี้อย่าลืมไปแสดงความคิดเห็น สำหรับการพัฒนาโครงการที่จะพัฒนาเมืองจันทบุรีและแกลงในอนาคต

ซึ่งจากโพสต์เก่าที่เคยพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด จากข้อมูลในงาน Market Soundings ตามลิ้งค์นี้

https://www.facebook.com/491766874595130/posts/981717285600084/?d=n

———————————
ตำแหน่งสถานี

- สถานีรถไฟความเร็วสูงจันทบุรี

อยู่บริเวณใกล้กับแยกเขาไร่ยา จุดตัดกับถนนสุขุมวิท เพื่อต่อกับถนน 316 เพื่อเข้ากลางเมืองจันทบุรี ห่างจากเมืองจันทบุรีประมาณ 8 กิโลเมตร

- สถานีรถไฟความเร็วสูงแกลง

อยู่บริเวณแยกหมอเปลี่ยน ห่างจากเมืองแกลงประมาณ 2 กิโลเมตร

จากการศึกษาการเปิดเป็นช่วงๆ ซึ่งแบ่งเป็นทั้งหมด
4 แผน คือ

- อู่ตะเภา-ระยอง
- อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง
- อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง-จันทบุรี
- อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง-จันทบุรี-ตราด (เต็มแผนตามแบบแรก)

ซึ่งจากข้อมูลสรุปความน่าสนใจของโครงการจะเป็น

ช่วง อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง เป็นช่วงแรกของส่วนต่อขยาย
ซึ่งจะมีความคุ้มค่าทางการเงิน สูงสุด คือ -1.12%

มีปริมาณผู้โดยสารก้าวกระโดดจากระยอง เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4000 คน จาก 2,874 เป็น 6,447 คน/วัน เพราะทางที่ปรึกษาประเมินว่า จะมีผู้โดยสารมาจากจันทบุรีมาขึ้นที่สถานีแกลง

แต่เมื่อขยายไปจันทบุรีก็จะได้ลูกค้ากลุ่มเดิม แต่ต้องลงทุนเพิ่มถึง 30,000 ล้านบาท

โดยช่วง อู่ตะเภา-ระยอง-แกลง มีความคุ้มค่าของโครงการคือ

- มีการลงทุนรวม 40,951 ล้านบาท
- ค่าบริหารโครงการตลอด 30 ปี 30,498 ล้านบาท
- EIRR 7.25%
- FIRR -1.12%
- NPV -39,487 ล้านบาท
- B/C 0.25

——————————
แต่ในพื้นที่ระยอง-จันทบุรี-ตราด ก็ยังมีแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่อีกสายซึ่งคู่ขนานกันไป และเป็น Feeder ซึ่งกันและกัน โครงการนี้มาแน่ไม่น่าห่วง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2020 4:27 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:

“ซีพี” ตั้ง 7 ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมพัฒนารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 สิงหาคม 2563 - 11:12 น.


“ซีพี” ตั้ง 7 ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมพัฒนารถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11:12 น.
'ซีพี'ระดมสมองวางแผนสร้างความเชื่อมั่นไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน

วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11:21 น.
“ซีพี” ดึง 7 กูรูเสริมทัพสร้างความเชื่อมั่นโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง
วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11:19 น.
ลุยตั้งคณะทำงาน ดัน "ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน"
วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13:35 น.


Last edited by Wisarut on 05/08/2020 12:42 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/08/2020 11:00 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ลุยมาร์เก็ตซาวดิ้ง ดันลงทุนต่อขยายไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 5 สิงหาคม 2563

ร.ฟ.ท.เดินหน้าฟังเสียงชาวเมืองตราด ดันสร้างส่วนต่อขยายไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ชี้เป็นส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวภาคตะวันออก ตั้งเป้าประมูลปี 2565

ว่าที่ร้อยตรีพิเชียน ลิมป์หวังอยู่ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด โดยพบว่าความเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนสนับสนุนการพัฒนาโครงการแม้ว่าผลการศึกษาโครงการในเบื้องต้น จะแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) เพียง 5% โดยหากคุ้มค่าจะต้องมี EIRR สูงถึง 12% แต่หากมองภาพรวมผลบวก ไฮสปีดสายดังกล่าวจะเข้ามาสนับสนุนการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวในพื้นที่

สำหรับโครงการไฮสปีดสายดังกล่าว มีแนวเส้นทางโครงการที่ศึกษาครอบคลุมพื้นที่ 11 อำเภอ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ประกอบด้วย สถานีรถไฟ จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีระยอง สถานีแกลง สถานีจันทบุรี และสถานีตราด และมีศูนย์ซ่อมบำรุงจำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ซ่อมบำรุงจังหวัดระยอง มีระยะทางรวมประมาณ 190 กิโลเมตร (กม.)

ส่วนจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 ฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยองรูปแบบแนวคิดการออกแบบสถานี ร.ฟ.ท.ได้คำนึงถึงความสะดวกสบายในการใช้บริการ รวมทั้งได้ออกแบบให้มีการผสมผสานแสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วยการนำรูปทรงผลไม้ที่โดดเด่นในแต่ละพื้นที่ มาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตย์ ส่งเสริมนโยบายการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก

ทั้งนี้คาดว่าจะศึกษาโครงการแล้วเสร็จ ส.ค.2563 หลังจากนั้นจะเสนอขออนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปี 2564 ก่อนจัดทำเอกสารร่วมทุน ในลักษณะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) ควบคู่ไปกับการจัดทำผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม แล้วเสร็จในปี 2565 ได้ตัวผู้ลงทุน เดินหน้าออกแบบและก่อสร้าง ในปี 2567 ทดสอบระบบ และเปิดให้บริการในปี 2571
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2020 10:47 am    Post subject: Reply with quote

Update รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา สัญญา 2 @ 1/8/2563AlbumsUpdate รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา สัญญา 2 @ 1/8/2563
ข่าวรถไฟฟ้า
5 สิงหาคม 2563
Update รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา สัญญา 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. เป็นทางยกระดับประมาณ 4 กม. และระดับดินประมาณ 7 กม. @ 1/8/2563
https://www.facebook.com/pg/ThaiRailNews/photos/?tab=album&album_id=3151192858296018&__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2020 2:50 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง'ไฮสปีดเทรน' เชื่อม3สนามบินระยะที่2 คาดเปิดใช้ปี2571
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 14.20 น.

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 เมื่อเวลา 10.00 น. ที่โรงแรมโกลเด้นซิตี้ ระยอง อ.เมืองระยอง จ.ระยอง นายมนตรี ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ที่ปรึกษานายก อบจ.ระยอง เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายสถานีจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน นำมาประกอบผลการศึกษาโครงการ เสนอ รฟท.เร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการ



ทั้งนี้สำหรับแนวเส้นทางโครงการที่ศึกษาจะครอบคลุมพื้นที่ 11 อำเภอ 3 จังหวัด ได้แก่ สถานีระยอง สถานีแกลง สถานีจันทบุรี และสถานีตราด และมีศูนย์ซ่อมบำรุง จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ศูนย์ซ่อมบำรุงจังหวัดระยอง มีระยะทางรวมประมาณ 190 กิโลเมตร โดยจุดเริ่มต้นของโครงการเชื่อมต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 1 ฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาดังกล่าว จะผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 3574 (ระยอง-บ้านค่าย)ห่างสี่แยกเกาะกลอย ประมาณ 3 กิโลเมตร




จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าสู่ อ.แกลง เข้าสู่สถานีแกลง ซึ่งตั้งอยู่บนทางหบวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง)ห่างจากสามแยกแกลง ประมาณ 2 กิโลเมตร วิ่งตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่บางช่วงผ่าน อ.นายาอาม อ.ท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแยกเขาไร่ยา ผ่าน อ.เมืองจันทบุรี อ.มะขาม อ.ขลุง เข้าสู่ อ.เขาสมิง และมาสิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บนทางหลวงหมายเลข 3(ถนนสุขุมวิท) ห่างจากสามแยกตราด ประมาณ 2 กิโลเมตร

โดยออกแบบขนาดราง 1.435 เมตร มีจุดตัดทางรถไฟ 303 แห่ง ทั้งนี้คาดว่า โครงการจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ปี 2571จะช่วยประหยัดระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดตราด ประมาณ 2 ชั่วโมง 15 นาที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2020 4:48 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เวนคืน 3,000 หลัง ลากไฮสปีด 'อู่ตะเภา-แกลง'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563


ดูได้ที่นี่ครับ
เวนคืน 3,000หลัง ลากไฮสปีด ‘อู่ตะเภา-แกลง’
หน้า อสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 06:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,597 วันที่ 2 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563
https://www.thansettakij.com/content/property/444029
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2020 5:32 pm    Post subject: Reply with quote

แผนที่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงดอนเมือง อู่ตะเภา ระยอง จันทบุรี ตราด
https://www.google.com/maps/d/viewer?mid=1Rn3edZkrx0HqZ7UHLV1u_w7YevI37Cp6&hl=en&ll=12.729723554579525%2C101.88053868174642&z=12
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 378, 379, 380 ... 542, 543, 544  Next
Page 379 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©