RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311279
ทั่วไป:13261179
ทั้งหมด:13572458
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 32, 33, 34 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2020 12:34 pm    Post subject: Reply with quote

“คลัง” ออกกรีนบอนด์ 3 หมื่นล้าน เยียวยาโควิด-ปล่อยกู้รถไฟฟ้าสายสีส้ม
หุ้น-การเงิน
วันที่ 24 กรกฎาคม 2563 - 16:51 น.


“กระทรวงคลัง” ออกกรีนบอนด์ 3 หมื่นล้านบาท ช่วง ส.ค.นี้ หนุนเยียวยาผลกระทบโควิดวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และปล่อยกู้ รฟม.สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มอีก 1 หมื่นล้านบาท คาดจัดสรรช่วง 13 ส.ค.ก่อนส่งมอบ 19 ส.ค. “ธ.ก.ส.” นำร่องออกกรีนบอนด์ชุดแรก 6 พันล้านบาท พัฒนาผืนป่า หนุนสร้างงาน 1.55 แสนคน “การเคหะ” ออกกรีนบอนด์ ก.ย.นี้วงเงิน 6.8 พันล้านบาท ระดมทุนพัฒนาโครงการเช่าซื้อสำหรับประชาชนรายได้น้อย-รีไฟแนนซลงทุนประเภทเช่าหรือซื้อ-ชำระหนี้ที่เกิดจากการเช่าซื้อ
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า เป็นครั้งแรกของรัฐบาลไทยที่จะมีการออกและเสนอขายพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พันธบัตรเพื่อสังคม และพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน หรือกรีนบอนด์ (Green Bond) อายุ 15 ปี มูลค่าไม่เกิน 3 หมื่นล้านบาท โดยกำหนดการเสนอขายในช่วงเดือน ส.ค.2563 แบ่งเป็นการออกพันธบัตรเพื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม วงเงินไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการขนส่งที่สะอาด ช่วยลดมลภาวะทางอากาศและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะมีการออกพันธบัตรภายใต้ พ.ร.ก.แก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ได้รับผลกระทบในสังคม อีกวงเงินไม่เกิน 20,000 ล้านบาท

โดยการเสนอขายพันธบัตรกรีนบอนด์ครั้งนี้ เป็นการออกพันธบัตรรัฐบาลไทยที่กระทรวงการคลังเป็นผู้กู้ โดยส่วนหนึ่งนำไปปรับโครงสร้างหนี้โดยให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กู้ต่อ 10,000 ล้านบาท และวงเงินอีก 20,000 ล้านบาทจะเข้า พ.ร.ก.เยียวยาผลกระทบโควิด โดยจะเปิดขายเฉพาะนักลงทุนสถาบัน ฉะนั้นอาจจะมีดีมานด์และซัพพลายไม่เหมือนการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ดังนั้นคาดว่าน่าจะเริ่มสำรวจความต้องการซื้อและจัดสรร (Book building) ได้ในวันที่ 13 ส.ค.63 และส่งมอบพันธบัตรได้วันที่ 19 ส.ค.63

“สบน.ยังมีแผนที่จะออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนสำหรับโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตามแผนพัฒนาตลาดพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนให้มีสภาพคล่องสูงและสอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน โดยหนุนรัฐวิสาหกิจดำเนินออกพันธบัตรดังกล่าว ซึ่งปีนี้นำร่องคือ ธ.ก.ส.และการเคหะแห่งชาติ” นางแพตริเซียกล่าว



โดยการจัดจำหน่ายครั้งนี้จะมีทั้งหมด 3 ธนาคารหลักคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารสแตนดาร์ด

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กล่าวว่า กรีนบอนด์วงเงิน 10,000 ล้านบาท รัฐบาลรับภาระหนี้ทั้งหมด ซึ่งรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มปัจจุบันมีระยะทาง 22 กิโลเมตร โดยมีความคืบหน้าการก่อสร้าง 65% และคาดว่จะเสร็จให้บริการได้ช่วงปี 2565

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธนาคารต้องการเป็นส่วนหนึ่งช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อน การบุกรุกทำลายป่า รวมถึงการกัดเซาะและทำลายหน้าดิน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงอนุมัติให้ ธ.ก.ส.ออกกรีนบอนด์จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ โดยชุดแรกที่จะออกในปีนี้มูลค่า 6,000 ล้านบาท ขายเฉพาะนักลงทุนสถาบัน เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ในโครงการสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อที่สนับสุนให้เกิดปลูกป่าสร้างรายได้ รวมถึงปลูกป่าเศรษฐกิจ และการให้สินเชื่อตลอดห่วงโซ่มูลค่า

โดยคาดว่ากรีนบอนด์ชุดแรกที่จะสามารถเพิ่มผืนป่าให้ประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 5 แสนไร่ มีจำนวนต้นไม้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 100 ล้านต้น คิดเป็นมูลค่าของต้นไม้ไม่ต่ำ 4 แสนล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน ธ.ก.ส.ก็รับไม้มีค่าเหล่านี้เป็นหลักประกันสินเชื่อด้วย และคาดการณืจะเก็บก๊าชคาร์บอนได้ออกไซด์ได้มากกว่า 9.5 แสนตันต่อปี และจัดการคาร์บอนเครดิตให้กับชุมชนได้ไม่ต่ำกว่า 95 ล้านบาท ยังไม่รวมถึงรายได้ที่ชุมชนจะใช้ประโยชน์จากป่าไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี โดยคาดว่าเกษตรกรที่จะได้ประโยชน์จากโครงการนี้จะมีไม่ต่ำกว่า 38,000 ครัวเรือน จะมีการจ้างงานในพื้นที่ช่วงแรกของการเข้าไปปลูกป่าไม่ต่ำกว่า 1.55 แสนคน

นายวิญญา สิงห์อินทร รองผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี การเคหะฯ มีแผนที่จะสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงที่อยู่อาศัย 2.7 ล้านครัวเรือน จึงตั้งเป้าในปี 2563 จะออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสังคม วงเงิน 6.8 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะออกมาได้ช่วงเดือน ก.ย. เพื่อระดมทุนไปใช้พัฒนาโครงการเช่าซื้อสำหรับประชาชนที่มีรายได้น้อยและปากลาง และโครงการรีไฟแนนซ์การลงทุนประเภทเช่าหรือซื้อ รวมถึงภาระหนี้ที่เกิดจากการเช่าซื้ออย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 2516 จนถึงปัจจุบัน การเคหะฯ ได้พัฒนาที่อยู่อาศัยให้ประชาชนเข้าถึงได้กว่า 7 แสนหน่วย และได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อของสถาบันการเงินกว่า 3.5 แสนหน่วยแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2020 9:53 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.นัดเอกชน10 รายชี้แจงการคัดเลือกร่วมลงทุนประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มบางขุนนนท์ – มีนบุรี กำหนดยื่นซอง ก.ย.

30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:27 น.
นัด 10 เอกชน จ่อยื่นข้อเสนอ ชิงสัมปทาน “สายสีส้ม” ก.ย. นี้
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16:50 น.
รฟม.ชี้แจง 10 บริษัทเปิดยื่นข้อเสนอชิงสัมปทานรถไฟฟ้าสีส้ม ก.ย. 63
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 18:28

30 ก.ค.2563 นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธานในการประชุมชี้แจงการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงรายละเอียด แก่เอกชนผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ ถึงประเด็นที่ควรทราบเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการหรืองานในสัญญา รวมถึงรายละเอียดการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการฯ


ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำเอกสารข้อเสนอฯ สำหรับการร่วมลงทุนก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุงรักษา ต่อไป โดยที่ผ่านมา รฟม. ได้เปิดจำหน่ายเอกสารประกอบการจัดทำข้อเสนอฯ ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม ถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 และมีบริษัทเอกชนสนใจซื้อเอกสารข้อเสนอฯ สายสีส้มฯ รวมจำนวนทั้งสิ้น 10 ราย ได้แก่

1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และ
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นโครงการในรูปแบบ PPP Net Cost ในลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย รฟม. ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการฯ รวมทั้งดำเนินการก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันออก (สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – สถานีสุวินทวงศ์) และผู้ร่วมลงทุนเป็นผู้ลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์ - สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) รวมถึงงานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดทั้งเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

สำหรับโครงการดังกล่าวมีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

อย่างไรก็ตามขั้นตอนต่อไป รฟม. มีกำหนดการให้เอกชนยื่นข้อเสนอภายในเดือนกันยายน 2563 โดยคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในเดือนธันวาคม 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2020 2:15 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เผยการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม คืบหน้า64.21%พร้อมเปิดให้บริการปี67

30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10:15 น.

30 ก.ค.63-นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมด้วย คณะกรรมการตรวจการจ้าง รฟม. ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุง สถานีหัวหมาก สถานีคลองบ้านม้า บริเวณทางวิ่งใต้ดินสู่ทางวิ่งยกระดับ (Transition Structures) และสถานีน้อมเกล้า

อย่างไรก็ตามปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 คิดเป็น 64.21% มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567


ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทเอกชนสนใจซื้อเอกสารข้อเสนอฯ สายสีส้มฯ มีทั้งสิ้น 10 ราย ได้แก่

1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และ
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นโครงการในรูปแบบ PPP Net Cost ในลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย รฟม. ลงทุนด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งโครงการฯ รวมทั้งดำเนินการก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันออก (สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – สถานีสุวินทวงศ์) และผู้ร่วมลงทุนเป็นผู้ลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์ - สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) รวมถึงงานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดทั้งเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

รายงานข่าวแจ้งว่าโครงการดังกล่าวมีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2020 9:24 pm    Post subject: Reply with quote

บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (สัญญาที่ 3) จัดพิธี TBM Breakthrough ที่สถานีบูรพา ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (สัญญาที่ 3) ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า ซึ่งเป็นการขุดเจาะอุโมงค์ที่ 2 ที่ได้เริ่มขุดเจาะมาจากสถานีคองบ้านม้า เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2563 และได้ขุดเจาะมาถึงสถานีศรีบูรพา ในวันนี้ รวมเป็นระยะทางที่ขุดเจาะได้แล้ว 945 เมตร โดยก่อนหน้านี้ทีมงานขุดเจาะอุโมงค์ได้ทำสถิติ Best Record ไว้ที่ 33 Rings หรือ 46.2 เมตรต่อวัน (24 ชั่วโมง)

(23 กรกฏาคม 2563)
https://www.facebook.com/itdho/posts/2831951893576986
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2020 5:09 pm    Post subject: Reply with quote

Transition Structure
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
4 สิงหาคม 2563
#เก็บภาพนะคะ งานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าบริเวณ Transition Structure จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีคลองบ้านม้า ไต่ระดับจากใต้ดินขึ้นสู่บนดิน ไปยังสถานีสัมมากร ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินงานติดตั้งแผ่น Metal Sheet หลังคา Roof Slab ดำเนินการ โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า 3-8-63
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/912952025850816?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2020 10:38 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เร่งพ.ร.ฎ.เวนคืน”สีส้ม”คาดต้นปี64เซ็นPPP ส่งมอบพท.ใน6 ด.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 5 สิงหาคม 2563 เวลา 07:20



รฟม.คาดปลายปีปิดดีลประมูลสายสีส้ม ชงครม. เซ็นสัญญาต้นปี 64 เร่งพ.ร.ฎ.เวนคืนคู่ขนาน เตรียมพื้นที่ส่งมอบใน 6 ด. จ่อรื้อ ผลศึกษารถไฟฟ้าภูมิภาค พิษโควิดกระทบยอดผู้โดยสาร ปลายส.ค. ลงพื้นที่ทดสอบนักลงทุนชี้ชะตา”แทรมป์ภูเก็ต”

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากที่รฟม.ได้เปิดขายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งมีเอกชน 10 รายซื้อเอกสาร ซึ่ง รฟม.ได้จัดประชุมชี้แจงการคัดเลือกแก่เอกชนไปแล้ว และกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 23 ก.ย. 2563 โดยให้ยื่นเอกสารข้อเสนอ 3 ซอง คือ 1. คุณสมบัติเบื้องต้น 2. ข้อเสนอทางเทคนิค 3. ข้อเสนอด้านราคา โดยจะต้องผ่านการพิจารณาซอง ที่ 1 และ2 ก่อน จึงจะได้รับสิทธ์เปิดซองราคา

โดยคุณสมบัติเบื้องต้น จะเน้นประสบการณ์ของผู้รับจ้าง โดยเฉพาะการก่อสร้างงานใต้ดิน เพราะโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มด้านตะวันตก เป็นระบบใต้ดินค่อนข้างมาก ส่วนข้อเสนอทางเทคนิค จะใช้เกณฑ์ ผ่านหรือไม่ผ่าน จากนั้นจะเปิดข้อเสนอด้านราคา ซึ่งจะเป็นการเปรียบเทียบข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละราย ที่เป็นประโยชน์กับรัฐมากที่สุด ซึ่งเป็นรูปแบบคล้ายกับ การประมูลของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและเมืองการบินอู่ตะเภา

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีค่างานโยธาประมาณ 96,000 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้าประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยผู้ที่ขอให้รัฐอุดหนุนการลงทุนน้อยที่สุด จะเป็นผู้ได้รับคัดเลือก ส่วนจะใช้เวลาในการพิจารณาผลประมูลนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ยื่นประมูล โดยคาดว่าจะสรุปผลและได้ตัวผู้ชนะประมูล ปลายปี 2563 จากนั้นเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พร้อมร่างสัญญา และคาดว่าจะลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในไตรมาส1/2564

นอกจากนี้ รฟม.จะต้องเร่งวางแผนในการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนหลังลงนามสัญญาด้วย ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กม. คู่ขนาน หาก สามารถออกร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนฯได้ ภายใน 2-3 เดือนนี้ รฟม.จะเริ่มดำเนินการเวนคืนทันที ซึ่งตามปกติต้องใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 6 เดือน หรือ180 วัน โดยจุดใหญ่ที่จะมีการเวนคืน คือ บริเวณชุมชนห้วยขวาง

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ลงทุน PPP Net Cost ก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดสายจากมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 35.9 กม. ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวม 128,128 ล้านบาท โดยรัฐจ่ายค่าเวนคืน14,611 ล้านบาท มีพื้นที่รวม 505 แปลง หรือ41 ไร่ 1 งาน 96 ตร.ว. รวม 331 หลัง และสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

@ จ่อรื้อ ผลศึกษารถไฟฟ้าภูมิภาค พิษโควิดกระทบยอดผู้โดยสาร

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาค จังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และนครราชสีมานั้น ผู้ว่ารฟม.กล่าวว่า การศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการ มีการล่าช้าจากแผนงาน เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายแล้ว จะมีการลงพื้นที่เพื่ออีกครั้ง เริ่มที่ จ.ภูเก็ต ช่วงปลายเดือนส.ค.นี้ เพื่อจัดประชุมทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) อีกครั้ง และในเดือนก.ย.จะทำ Market Sounding โครงการรถไฟฟ้า จังหวัดเชียงใหม่ และต่อด้วยจังหวัดนครราชสีมา

ทั้งนี้ ประเมินผลกระทบจากการเกิดโรคโควิด-19 จะส่งผลต่อตัวเลขผลตอบแทนที่ออกมาจะไม่คุ้มค่าในการลงทุนแน่นอน เพราะการเดินทางและท่องเที่ยวไม่มี และสภาพเศรษฐกิจซบเซา ดังนั้นจะต้องศึกษา เพื่อประเมินหลังจากโควิด-19 ยุติ ว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร หากคาดว่าจะกลับมาเหมือนเดิม โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน สามารถใช้ผลการศึกษาเดิมดำเนินโครงการต่อ แต่หากประเมินแล้วการเดินทาง การท่องเที่ยวจะลดลง และใช้เวลานานหลายปี จะต้องทบทวนการศึกษาใหม่

“ โครงการรถไฟฟ้าภูมิภาคทุกแห่ง ต้องปรับแผนงานตารางโครงการออกไปประมาณ 3-6เดือน ต้องศึกษาผลกระทบ เช่นปริมาณผู้โดยสาร เพื่อให้การลงทุนมีความคุ้มค่ามากที่สุด ดังนั้นตอนนี้ยังตอบไม่ได้ว่าต้องชะลอหรือเลื่อนโครงการออกไปมากน้อยแค่ไหน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2020 6:00 pm    Post subject: Reply with quote

TBM #Moveon ไว้เจอกันที่สถานีลำสาลี
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
พุธที่ 19 สิงหาคม 2563

เก็บภาพมาฝากจ๊า Tunnel boring machine (TBM) สำหรับงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟาใต้ดินสายสีส้ม ของสัญญาที่ 3 : ITD ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า โดยทางทีมงานกำลังดำเนินงานเคลื่อนหัวเจาะอุโมงค์ (TBM) และระบบสนับสนุน (BackUp Units) ไปอีกฝั่งของตัวสถานีศรีบูรพา (OR21) เพื่อ #เตรียมความพร้อมก่อนจะเริ่มงานขุดเจาะอุโมงค์ต่อไปยังปล่องระบายอากาศ ที่ 16 (บริเวณหน้าวัดศรีบุญเรือง) และสถานีลำสาลี (OR20) ซึ่งมีแผนจะเริ่มงานขุดเจาะอุโมงค์ต่อในต้นเดือนกันยายน 2563 นี้ #ขอขอบคุณภาพจากทีมงาน ITD

เก็บภาพมาฝากจ๊า #สถานีรามคำแหง (OR17)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
จันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2563

งานก่อสร้างสถานีใต้ดิน Station Boxes และงานก่อสร้างบันได โดย กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ผู้รับจ้างก่อสร้าง งานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก -- สิงหาคม 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2020 10:42 am    Post subject: Reply with quote

จับพิรุธ ! เปลี่ยนเงื่อนไข “TOR” ประมูล รถไฟฟ้า สายสีส้ม
หน้าเศรษฐกิจมหภาค
พฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 19:27 น.


พรุ่งนี้ จับพิรุธ! บอร์ด มาตรา 36 พ.ร.บ.ร่วมทุน รฟม. ประชุมด่วน ส่อ เปลี่ยน เงื่อนไข ทีโออาร์ รถไฟฟ้าสายสีส้ม หลัง บริษัทยักษ์รับเหมา ร้อง ผ่านสคร. ให้ยึด ประโยชน์ สูงสุดช่วยรัฐประสบความสำเร็จ ไม่ใช่แค่ทางการเงินเท่านั้น

แหล่งข่าวจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า วันที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 9.00 น.รฟม.นัดประชุมด่วนคณะกรรมการ คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน มาตรา 39 แห่งพระราชบัญบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุนฯ 2562 เพื่อตอบคำถามกรณี บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ซื้อซองประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม( บางขุนนนท์-มีนบุรี ) มูลค่า 1.4แสนล้านบาท รูปแบบ PPP Net Cost (งานโยธาและงานระบบ รวมสัญญา 30 ปี) หลังจากมีหนังสือร้องผ่านไปที่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ว่า “การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้างแบบปกติ แต่เป็นการคัดเลือก เอกชนร่วมลงทุนรัฐ ซึ่งมูลค่า ที่เอกชนจะขอสนับสนุน ส่วนงาน และ แบ่งผลประโยชน์ให้รัฐจะต้องมีความสัมพันธ์กับวิธีการ แผนงาน คุณภาพ และ ประสิทธิภาพ ของงานที่เอกชนจะดำเนินการให้แก่รัฐ ดังนั้น รัฐไม่ควร พิจารณา ให้ผู้ชนะการคัดเลือก เป็นผู้ที่เสนอผลประโยชน์ ทางการเงินสูง สุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุด แก่รัฐในภาพร่วมที่จะทำให้โครงการ ของรัฐประสบความสำเร็จ ได้ โดยพิจารณาถึงปัจจัยผลประโยชน์ ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง “

อย่างไรก็ตามโดยสรุป บมจ.อิตาเลียน ไทย ต้องการให้ รฟม. นำซองเทคนิกกับราคา รวมอยู่ในซองเดียวกัน โดยไม่ควรตัดสินที่ ราคาเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ก่อนหน้านี้ ได้เคยมี ข้อเสนอ ในลักษณะนี้ แต่ รฟม.มองว่า ผิดหลักการและเงื่อนไข ที่เคย ดำเนินโครงการมา

ด้านแหล่งข่าวจาก วงการรับเหมา ยืนยันว่า อาจมีการ ฮั้ว การเปลี่ยนเงื่อนไขทีโออาร์ จริง เนื่องจาก คณะกรรมการ คัดเลือก ฯตามมาตรา 36 เสียงส่วนใหญ่ มีการเอนเอียงไปตามข้อเรียกร้องของ บมจ.อิตาเลียนไทย

ทั้งนี้ นาย ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ยืนยันว่า เป็นการประชุม ตอบคำถาม ของภาคเอกชน ที่ร้องเรียนมา แต่ เงื่อนไขทีโออาร์ ยังคงเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง สำหรับเอกชน ที่สนใจซื้อ ซอง ประกวดราคา

สำหรับเอกชนที่สนใจซื้อเอกชน (Request for Proposal Documents : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซี่งประกอบด้วย ส่วนงานโยธา ช่วงตะวันตก และส่วนงานเดินรถ ทั้งระบบ สายสีส้ม ระหว่างวันที่ 10 -24กรกฎาคม มีจำนวน 10 รายได้แก่

1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด

“อิตาเลี่ยนไทย” ทำพิลึก ประมูล รถไฟฟ้า สายสีส้ม เลิกเน้นราคา
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
พฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 20:47 น.

" อิตาเลียนไทย" ทำพิลึก ร่อนหนังสือ ถึง สคร. ยัน รถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.4แสนล้านไม่ใช่ งานจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป เลิกยึด ราคาเป็นเกณฑ์ ตัดสิน จับตา บอร์ด คัดเลือก มาตรา36 รฟม. วันที่21 สิงหาคม เปลี่ยนเงื่อนไขทีโออาร์ ตามหรือไม่

กลายเป็นประเด็นร้อน สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์ –มีนบุรี ) ระยะทางรวม 35.9กิโลเมตร ซึ่ง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลขนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost โดยเอกชนรายเดียว อายุสัญญา 30ปี มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท แยกเป็น งานโยธาส่วน สายสีส้มตะวันตก ( บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม ) ระยะทาง 13กิโลเมตร และ งานระบบเดินรถ สายสีส้มทั้งระบบ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา นายประดิน อรุโณทอง ตัวแทนผู้มีอํานาจ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) ส่งหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ สคร. ส่ง เรื่อง ถึงรฟม . และ นัดประชุม คณะกรรมการ คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนรัฐ ตามมาตรา 36 (แห่งพระราชบัญญัติ ร่วมทุน ปี 62 ) โดยระบุว่า “การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการนี้ไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้างที่ดําเนินการตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ปกติ แต่เป็นการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนกับรัฐ ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 มูลค่าของการลงทุนงานโยธาที่เอกชนจะขอสนับสนุน และผลประโยชน์ที่เอกชนต้องแบ่งให้รัฐ จากการให้บริการเดินรถ จะมีความสัมพันธ์กับ วิธีการ แผนงาน คุณภาพและประสิทธิภาพของงานที่เอกชนจะ ดําเนินการให้แก่รัฐ


ดังนั้นจึงไม่ควรพิจารณาให้ผู้ชนะการคัดเลือกเป็นผู้ที่เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวมที่จะทําให้โครงการประสบความสําเร็จได้ โดยพิจารณา ถึงปัจจัยและผลประโยชน์ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อเสนอด้านเทคนิคการดําเนินงาน ความน่าเชื่อถือ ศักยภาพและ ความสามารถของผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกเอกชนตามประกาศ คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสาร สําหรับการคัดเลือกเอกชนและสาระสําคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 ข้อ 4 (8) ที่กําหนดให้ ระบุหลักเกณฑ์ และวิธีการในการตัดสินให้ชัดเจนเป็นคะแนนในด้านต่างๆ โดยข้อเสนอผลประโยชน์ที่รัฐ จะได้รับและ การขอสนับสนุนทางการเงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะต้องระบุให้ชัดเจนเป็นคะแนน รายละเอียดตามที่อ้างถึง 2)

ทั้งนี้ เพื่อให้การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เป็นประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ สามารถ ประสบความสําเร็จเปิดให้บริการแก่สาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การคัดเลือก ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 บริษัทฯใคร่ ขอให้สํานักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะหน่วยงานที่มีอํานาจดูแลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2552 ได้โปรดมอบหมายให้คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนพิจารณา ปรับปรุงการประเมินข้อเสนอเพื่อหาผู้ชนะการคัดเลือกให้มีความเหมาะสม ชัดเจน ครบถ้วน และถูกต้องตาม กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดําเนินการ และแจ้งผลให้บริษัทฯทราบด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

“ITD” อ้าง รถไฟฟ้า“สายสีส้ม” ลอดใต้ " เกาะรัตนโกสินทร์" ใช้เทคนิคชั้นสูง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
พฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา21:18 น.


"อิตาเลียนไทย" อ้าง งานโยธา รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ต้องขุดเจาะอุโมงค์ -สร้างสถานีในพื้นที่ชุมชน กทม. ผ่านพื้นที่ เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน พื้นที่อนุรักษ์ที่มีโบราณสถาน สถานที่สําคัญหลายแห่ง รวมทั้งต้อง ขุดอุโมงค์ลอดเจ้าพระยา จะต้องใช้เทคนิคชั้นสูง

บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) (ITD) มอบ นายประดิน อรุโณทอง ตัวแทนผู้มีอํานาจ บริษัท ฯยื่นหนังสือถึง ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) วันที่ 7 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา กรณี การประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อ้างถึง ประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง รายละเอียดของร่างประกาศ เชิญชวน ร่างเอกสารสําหรับการคัดเลือกเอกชนและสาระสําคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 โดย อิตาเลียนไทย เสนอแนะว่า ในข้อแนะนํา ผู้ยื่นข้อเสนอ ข้อ 33 การประเมินและการเปรียบเทียบข้อเสนอ ระบุให้ ผู้ยื่นข้อเสนอที่มี NPV ของ”ผลประโยชน์สุทธิ สูงที่สุดจะได้รับการประเมินให้เป็นผู้ชนะ”

ควร พิจารณา องค์ประกอบอื่นเช่นความชำนาญ ด้านก่อสร้างเป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เป็นโครงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ระหว่างรัฐและเอกชนที่เอกชน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ลงทุนจัดหาระบบรถไฟฟ้า และให้บริการรถไฟฟ้า แก่สาธารณชนเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี และเป็นโครงการที่มีความเสี่ยงสูงมาก ในการก่อสร้างงานโยธาฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งสายที่ต้องขุดเจาะอุโมงค์ และสถานีในพื้นที่ชุมชนของกรุงเทพมหานคร ผ่านพื้นที่ เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีโบราณสถาน และสถานที่สําคัญหลายแห่ง และขุดเจาะอุโมงค์ลอด แม่น้ําเจ้าพระยา จะต้องใช้เทคนิคการออกแบบทางวิศวกรรมและวิธีการก่อสร้างชั้นสูงเพื่อลดผลกระทบ ที่มีต่อประชาชนในด้านต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม จราจร ชีวอนามัย และที่สําคัญคือไม่ทําให้เกิดอันตรายต่อประชาชน และพื้นที่ข้างเคียง และในการให้บริการเดินรถ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินเกือบทั้งสาย จะต้องมีการจัดหาระบบรถไฟฟ้า ที่มีคุณภาพสูง และบริหารจัดการเดินรถด้วยเทคนิคชั้นสูงตามมาตรฐานสากล เพื่อทําให้การบริการรถไฟฟ้า แก่สาธารณชนมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูงสุด เพราะหากเกิดอุบัติเหตุ หรือปัญหาระหว่างการเดินรถ จะมีผลกระทบและเป็นอันตรายต่อประชาชนอย่างมาก นอกจากนี้ทรัพย์สินที่เอกชนลงทุนจัดหาทั้งในส่วนงานโยธา และระบบรถไฟฟ้า จะต้องส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐด้วย

อย่างไรก็ตาม ในแวดวงผู้รับเหมา มองว่า ข้อเสนอดังกล่าว ต้องการ เปลี่ยนเงื่อนไขทีโออาร์ เพื่อ กลุ่มตนเองหรือไม่ ที่ถนัดงานใต้ดิน และ ที่ผ่านมา รฟม.ได้ กำหนดเงื่อนไข ชัดเจน
1.ซองคุณสมบัติ
2.ซองเทคนิก
3. ซองราคา
4. ข้อเสนอพิเศษ

หากใครให้ข้อเสนอผลตอบแทนรัฐดีที่สุด เอกชนรายนั้นได้ไป แต่ทั้งนี้ต้องจับตาวันที่ 21 สิงหาคม ว่าผลการประชุมคณะกรรมการ คัดเลือก ตามมาตรา36 ของรฟม. จะออกมาอย่างไร


Last edited by Wisarut on 22/08/2020 12:47 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2020 12:37 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.แก้ทีโออาร์”สายสีส้ม” เปลี่ยนใช้รวมคะแนน”เทคนิค-การเงิน”ตัดสิน เพื่อประโยชน์สูงสุด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 18:29

รฟม.แก้ทีโออาร์ ปรับเงื่อนไข คัดเลือกเอกชน PPP รถไฟฟ้าสายสีส้ม วงเงิน 1.2 แสนล. ผูกซองเทคนิค-การเงิน รวมคะแนนสัดส่วน 30-70 พร้อมเลื่อนยื่นซองออกไปอีก 45 วัน เป็นวันที่ 6 พ.ย. 63 “ภคพงศ์”ยืนยันเป็นไปตามประกาศคณะกก.PPP ที่สงวนสิทธิ์ให้ปรับได้ และไม่ทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์และเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทาง บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท วันนี้(21 ส.ค.) ได้สรุปว่า จะปรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกใหม่ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาโดยรวมคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค (สัดส่วน 30 คะแนน) และข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการเงิน (สัดส่วน 70 คะแนน)

และจะมีการขยายเวลายื่นเอกสารประกวดราคาจาก 60 วัน เพิ่มอีก 45 วันหรือจากกำหนดให้ยื่นเอกสารประกวดราคาในวันที่ 23 ก.ย. 2563 เป็นวันที่ 6 พ.ย. 2563 เพื่อให้เอกชนมีเวลาในการปรับปรุงข้อเสนอใหม่ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใหม่ ซึ่งจะทำให้การเซ็นสัญญา จะล่าช้าไปประมาณ 1 เดือนครึ่ง โดย ภายในสัปดาห์หน้า รฟม.จะออกเอกสารแจ้งเพิ่มเติมให้เอกชนผู้ซื้อเอกสารประกวดราคารับทราบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกที่ปรับใหม่

ซึ่งสาเหตุที่ต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาใหม่ เพื่อให้ตรงกับประกาศคณะกรรมการนโยบายการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ที่กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีดำเนินการต่าง ๆ ในโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่ง รฟม.ยืนยันว่า การพิจารณา โดยนำข้อเสนด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคา ให้คะแนนประกอบการคัดเลือก จะเป็นประโยชน์กับโครงการมากที่สุด

“การปรับเกณฑ์พิจารณา เพื่อให้ตรงกับประกาศของคณะกรรมการนโยบาย PPP เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2563 เพราะคณะกรรมการมาตรา 36 ได้สรุปเงื่อนไขทีโออาร์ไปตั้งแต่เดือนพ.ค. ก่อนที่มีประกาศดังกล่าว แต่ยอมรับว่าก่อนจะเสนอร่างประกาศ ออกเชิญชวน รฟม.อาจจะยังไม่ได้ตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้ง ทำให้คิดไม่ครบถ้วน แต่มีการสงวนสิทธิ์ให้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขหรือยกเลิกได้ แม้ว่าจะเปิดขายทีโออาร์ไปแล้ว”

ซึ่งบมจ.อิตาเลียนไทยฯ ได่มีหนังสือร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เมื่อวันที่ 6 ส.ค. ถึงการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ ว่าไม่ควรพิจารณาข้อเสนอการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวมที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ทางคณะกรรมการฯได้นำมาพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีและเป็นประโยชน์กับรัฐมากสุด

ส่วนกรณีที่บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ยื่นหนังสือถึงรฟม.กรณีปรับเกณฑ์การพิจารณาขัดต่อพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯนั้น ผู้ว่าฯรฟม. ยืนยันไม่ขัด พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ เนื่องจากในพ.ร.บ.จัดซื้อฯ ได้ระบุถึงวิธีการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อน และต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ให้สามารถนำข้อเสนอด้านเทคนิคมาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินได้ ซึ่ง ที่ผ่านมาในการจัดจ้าง วิศวกรที่ปรึกษา รฟม.ได้เกณฑ์ข้อเสนอทางเทคนิค รวมกับข้อเสนอด้านการเงินและประเมินผล (Price & Performance) มาก่อนแล้ว

”คณะกรรมการมาตรา 36 ได้หารือถึงประเด็นถึงความได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งยืนยันว่าไม่มี และเป็นวิธีที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบใดๆ มีประเด็นเรื่องเวลาในการทำข้อเสนอ จึงได้ขยายให้อีก 45 วัน จากกำหนดเดิม หรือนับจากนี้ไป เอกชนจะมีเวลาอีก 70 วัน ในการปรับปรุงข้อเสนอใหม่ ซึ่งน่าจะเพียงพอ”

นายภคพงศ์กล่าวว่า ข้อเสนอยังคงเป็น 4 ซองเหมือนเดิม คือ

1.ซองทั่วไป เดิมเกณฑ์พิจารณาผ่าน/ไม่ผ่าน ซึ่งยังใช้เหมือนเดิม

2. ซองข้อเสนอด้านเทคนิค เดิมกำหนดคะแนนขั้นต่ำและประเมินผ่าน/ไม่ผ่าน หากผ่านก็ทิ้งคะแนนส่วนนี้ไป ส่วนเกณฑ์ใหม่ จะไม่ทิ้งคะแนน เพราะมีประเด็นว่า หากเกณฑ์เทคนิคกำหนดคะแนนผ่านที่ 80 คะแนน มีรายที่ได้ 86 คะแนนกับอีกรายได้ 99 คะแนน ภาพรวมถือว่าผ่านเทคนิคเหมือนกัน แล้วมาตัดสินที่ราคา แต่หากพิจารณารายที่ได้คะแนนเทคนิค 99 กับ 86 คุณภาพงานน่าจะต่างกันพอสมควร

3 . ซองข้อเสนอทางการเงิน

4. ซองข้อเสนอพิเศษ

สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นโครงการร่วมลงทุน PPP Net Cost ในลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย เอกชนลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์ - สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ) รวมถึงงานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดทั้งเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี โดยรัฐสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี

แนวเส้นทาง แบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ– มีนบุรี) ระยะทาง 22.5 กม.จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และ สถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

โดยมีเอกชนสนใจซื้อเอกสารข้อเสนอฯ สายสีส้มฯ รวมทั้งสิ้น 10 ราย ได้แก่

1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC
3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS
4. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC
5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD
6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH
7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK
8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42696
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2020 12:53 am    Post subject: Reply with quote

“บีทีเอส” ดับเครื่องชน รถไฟฟ้าสายสีส้ม
หน้าเศรษฐกิจมหภาค
ศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 12:48 น.

“บีทีเอส” ดับเครื่อง "รฟม." - บอร์ดคัดเลือก มาตรา 36 - “ITD” เปลี่ยนเงื่อนไข ทีโออาร์ ประมูลรถไฟฟ้า สะกัดผูกขาด หลัง ร่อนหนังสือ ร้อนถึง รฟม.คณะกรรมการ ตามมาตรา 36

การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี)รูปแบบ พีพีพีเน็ตคอสลงทุนงานโยธาและระบบรถไฟฟ้า เริ่มไม่ชอบมาพากล เมื่อบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด(มหาชน) หนึ่งในเอกชนซื้อ เอกสารร่วม ประกวดราคา สายสีส้ม ได้ยื่นหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ขอเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ โดย ยึด ผลประโยชน์สูงสุดในภาพรวม ศักยภาพ บริษัท วิธีการทำงาน ความชำนาญการ เพื่อ ให้ ได้โครงการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แก่รัฐ ประเทศชาติ ประชาชนผู้ใช้ทาง และคำนึงถึงความปลอดภัย มากกว่า ผลตอบแทนสูงสุดด้านราคาเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้ สคร. ส่งหนังสือ ไปยังรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.) ชี้ขาด โดยคณะ กรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 (พรบ. ร่วมทุนปี 2562 ) ได้ประชุมด่วนเพื่อ ตอบคำถามดังกล่าวของบมจ.อิตาเลียนไทย เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 21 สิงหาคม นั้นซึ่งเอกชนผู้ร่วมประมูล มีความกังวล อาจก่อให้เกิดการลอบบี้ เปลี่ยนหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทีโออาร์ ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ กับเอกชนบางกลุ่มที่อาจไม่มีความชำนาญ ด้านการขุดเจาะอุโมงค์ เพราะในเมืองไทยมีผู้รับเหมาเชี่ยวชาญด้านอุโมงค์ เพียง2รายเท่านั้น ซึ่ง มองว่า อาจ เกิดการผูกขาด สมยอมได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563 นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ BTS C.MRTA. P0000.0001.08.2020 ถึง ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ คณะกรรมการ คัดเลือกตามมาตรา 36 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ –มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่มี นายกิตติกร ตันเปาว์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม. และรักาการรองผู้ว่าการรฟม. ในฐานะประธาน โดยระบุว่า ได้ทราบข่าวว่ามีผู้ซื้อเอกสาร ข้อเสนอการร่วมลงทุน

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม รายหนึ่งได้ทำหนังสือ เพื่อให้มีการพิจารณา ปรับเปลี่ยนการประเมิน และเปรียบเทียบข้อเสนอ เกี่ยวกับผู้ที่ จะได้รับการประเมิน ให้เป็นผู้ชนะการคัดเลือก โดยเสนอว่า ไม่ควรพิจารณาให้ผู้ที่เสนอ ผลประโยชน์ ทางการเงิน สูงสุด เป็นผู้ชนะการคัดเลือก แต่ควรพิจารณา ปัจจัยและผลประโยชน์อื่นๆเช่น ข้อเสนอด้านเทคนิค ร่วด้วย จึงใคร่ขอเรียนถาม รฟม. ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เนื่องจาก หากเป็นความจริง บริษัทเห็นว่า หากมีการ พิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการ ประเมินข้อเสนอดังกล่าว จะถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่เป็นสาระสำคัญ และไม่เคยมีการดำเนินการในลักษณะนี้ กับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ขนาดใหญ่ ที่เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาก่อน

นอกจากนั้นบริษัทเห็นว่า ผู้ที่เข้ามายื่นข้อเสนอ ในโครงการนี้ได้ จะต้องผ่านเกณฑ์ด้านต่างๆ ของรฟม.ซึ่งจะต้องเป็นบริษัท หรือกลุ่มบริษัท ที่มีศักยภาพ และความเป็นไปได้ในการดำเนินงานสูง ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่บริษัท ที่ผ่านเกณฑ์จะไม่ทำตามข้อเสนอที่ได้ยื่นต่อรฟม. อีกทั้งบริษัท ที่ยื่นข้อเสนอ ยังต้องมีภาระรับผิดชอบค้ำประกันต่อ รฟม. ด้วยที่สำคัญ การพิจารณาผู้ชนะการคัดเลือก โดยใช้ข้อเสนอทางเทคนิค ทั้งๆที่ ได้มีการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา ผู้ชนะ การคัดเลือกมาแล้ว จะเป็นช่องทาง ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม หรืออาจเอื้อประโยชน์ ต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ได้

การพิจารณา ผู้เสนอ ผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดให้กับรัฐให้เป็นผู้ชนะการประมูล จึงจะเป็นการก่อให้เกิด ประโยชน์สุงสุดแก่รัฐโดยแท้ และมีควมโปร่งใสเป็นธรรมมากที่สุด บริษัทฯ จึงเห็นว่าเป็นการไม่สมควร หากจะมีการปรับแก้ วิธีการประเมินข้อเสนอ ดังกล่าว นอกจากนี้บริษัทเห็นว่า แม้การร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งนี้จะไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้าง กับหน่วยงานภาครัฐ แต่การยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ ในข้อเท็จจริงข้างต้น เทียบเคียงได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ ซึ่งแม้ว่าไม่มีกำหนด ไว้ในกฎหมายร่วมทุนด้วยก็ตาม คณะกรรมการคัดเลือก ควรนำกฎกระทรวงการคลัง กำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง กับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิ์อุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ.2560 ลงวันที่ 23สิงหาคม 2560(2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม และถือเป็นการอุทธรณ์ที่ไม่สามารถกระทำได้


รถไฟฟ้าสายสีส้ม: BTS งัดข้อ อิตาเลียนไทย ค้านใช้คะแนนเทคนิคตัดสินประมูล
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 13:34 น.




ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มเดือด BTS งัดข้อ อิตาเลียนไทย ค้านนำคะแนนเทคนิคชี้ชะตาผู้ชนะ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเกิดกรณี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ ส่งหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ให้พิจารณาปรับปรุงการประเมินข้อเสนอเพื่อหาผู้ชนะการคัดเลือกของโครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มบางขุนนนท์-มีนบุรี ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้เอกชนร่วมลวทุน PPP net cost 30 ปี ก่อสร้างช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม และรับสัมปทานเดินรถตลอดสาย วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท จะเปิดให้ยื่นข้อเสนอวันที่ 23 ก.ย.นี้

โดยให้พิจารณาถึงปัจจัยและผลประโยชน์ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อเสนอด้านเทคนิคการดําเนินงาน ความน่าเชื่อถือ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ยื่นข้อเสนอ ไม่ใช่ข้อเสนอทางการเงินเพียงอย่างเดียว และขอให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนรัฐตามมาตรา 36 ด้วย

เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 นายสุรพงษ์ เลาหัอัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ได้ออกจดหมายด่วนถึงนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

โดยใจความระบุว่า จากการที่มีผู้ซื้อเอกสารทีโออาร์รายหนึ่งต้องการให้ปรับเปลี่ยนการประเมินข้อเสนอเกี่ยวกับผู้ที่ชนะการคัดเลือก โดยเสนอว่า ไม่ควรเอาข้อเสนอทางการเงินเป็นเกณฑ์ตัดสินใจเพียงอย่างเดียว แต่ควรเอาข้อเสนอทางเทคนิคร่วมพิจารณาด้วย



ทาง BTSC จึงมีข้อสอบถามข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เนื่องจากหากเป็นความจริง ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสาระสำคัญเลย และไม่เคยมีการดำเนินการในลักษณะนี้กับโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) มาก่อน

นอกจากนั้น บริษัทเห็นว่าผู้ที่ยื่นข้อเสนอในโครงการนี้จะต้องผ่านเกณฑ์ต่างๆ ของ รฟม.ซึ่งจะต้องเป็นบริษัทหรือกลุ่มบริษัทที่มีศักยภาพและความเป็นไปได้ในการดำเนินการสูง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่บริษัทที่ผ่านเกณฑ์จะไม่ทำตามข้อเสนอที่ได้ยื่นต่อ รฟม. อีกทั้งบริษัทที่ยื่นข้อเสนอยังต้องมีภาระรับผิดชอบค้ำประกันต่อ รฟม. ด้วย

ที่สำคัญการพิจารณาผู้ชนะการคัดเลือกโดยใช้ข้อเสนอทางเทคนิค ทั้งๆ ที่ได้มีการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ชนะการคัดเลือกมาแล้ว จะเป็นช่องทางที่ส่อไปในทางทุจริต ไม่เป็นธรรม และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้

การพิจารณาผู้เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดให้กับรัฐให้เป็นผู้ชนาการประมูล จึงจะเป็นการก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐโดยแท้และมีความโปร่งใสเป็นธรรมมากที่สุด

บริษัทจึงเห็นว่าเป็นการไม่สมควรถ้าจะมีการปรับแก้วิธีประเมินข้อเสนอดังกล่าว

นอกจากนี้ บริษัทเห็นว่าแม้การร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในครั้งนี้ จะไม่ใช่การจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานภาครัฐ แต่การยื่นต่อคณะกรรมการในข้อเท็จจริงข้างต้นเทียบเคียงได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ ซึ่งแม้ไม่ได้มีกำหนดไว้ในกฎหมายร่วมลงทุนก็ตาม คณะกรรมการคัดเลือกควรต้องนำกฏกระทรวงการคลังกำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานภาครัฐที่ใช้สิทธิ์อุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ.2560 (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลมและถือเป็นการอุทธรณ์ที่ไม่สามารถกระทำได้


Last edited by Wisarut on 23/08/2020 5:26 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 32, 33, 34 ... 89, 90, 91  Next
Page 33 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©