RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180190
ทั้งหมด:13491424
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องน่ารู้ : โรงงานมักกะสัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องน่ารู้ : โรงงานมักกะสัน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 8, 9, 10 ... 13, 14, 15  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2020 9:29 am    Post subject: Reply with quote

เครือซีพีผนึกกำลัง "แบ่งกันปันอิ่ม" 6 ชุมชนมักกะสัน ก้าวข้ามโควิด

หน้าสังคมธุรกิจ
พุธที่ 20 พฤษภาคม 2563 เวลา 13:28 น.

“เครือซีพี” ร่วมใจผ่านโครงการ “ซีพีแบ่งกัน ปันอิ่ม” ส่งความห่วงใยสู้ภัยโควิด มอบอาหารน้ำดื่มแก่พี่น้อง 6 ชุมชนมักกะสัน ก้าวข้ามวิกฤติโควิดไปด้วยกัน
รายงานข่าวจากบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด(ซีพี)เผยว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เครือฯได้ร่วมกับ บริษัท ซีพีแรม จำกัด บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ผนึกกำลังดำเนินโครงการ “ซีพีแบ่งกัน ปันอิ่ม” ร่วมกันส่งมอบอาหาร น้ำดื่มและข้าวสาร ให้แก่พี่น้อง 6 ชุมชนย่านมักกะสัน ได้แก่ ชุมชนริมคลองสามเสน,ชุมชนโรงเจมักกะสัน, ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน, ชุมชนหลังวัดมักกะสัน, ชุมชนบ้านพักนิคมรถไฟมักกะสัน และ ชุมชนริมบึงมักกะสันซอยรัชฎภัณฑ์ เพื่อแบ่งเบาภาระและความเดือดร้อนของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน และเป็นการต่อยอดโครงการ “ซีพีแบ่งกัน ปันอิ่ม” ที่เครือซีพีและบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมกันจัดกิจกรรมแจกอาหารมื้อเย็นฟรีพร้อมน้ำดื่มให้แก่ประชาชนในพื้นที่บริเวณรอบอาคารทรู ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก ตลอดเดือนพฤษภาคม 2563 ในการนี้ ผู้บริหารเครือซีพีและบริษัทในเครือ รวมทั้ง บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน ตระหนักถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น โดยมีผู้บริหารนำโดย ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ผู้ช่วยบริหาร สำนักประธานคณะผู้บริหาร เครือซีพี นางวรณัน สุทธิโรจน์พัฒนา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านธุรการ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด และนางสาวชัญญรัช พีราวัชร ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บริษัท ซีพีแรม จำกัด พร้อมตัวแทนพนักงานร่วมใจกันส่งมอบความห่วงใยให้ชาวชุมชนมักกะสัน โดยมีนายสมบุญ แดงอร่าม ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย และตัวแทนสหภาพฯร่วมกิจกรรมด้วย ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความอบอุ่น และมีการกำหนดมาตรการความปลอดภัย จัดระยะห่างในการต่อคิวรับอาหาร และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล ณ จุดตรวจคัดกรอง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ชาวชุมชนทุกคนที่มารับอาหารต้องสวมหน้ากากอนามัย เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19



สำหรับโครงการ “ซีพีแบ่งกัน ปันอิ่ม” เพื่อชาวชุมชนมักกะสันครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-23 พฤษภาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 16.00 – 17.30 น.โดยมอบอาหารกล่อง ขนม และน้ำดื่มสำหรับเป็นอาหารมื้อเย็น พร้อมด้วยข้าวสาร จำนวน 300 ชุด ต่อวันต่อชุมชน โดยบริษัท ซีพี แรม จำกัด ให้การสนับสนุนอาหารกล่อง อาทิ เมนูปลาดุกผัดพริกขิง ผัดเปรี้ยวหวานหมู ผัดกระเพราหมู ไก่ผัดขิง ไก่เทอริยากิ คั่วกลิ้งหมู ปลาผัดพริกสด เป็นต้น พร้อมน้ำดื่ม, ขนมปัง ซาลาเปา, บริษัท ซีพี อินเตอร์เทรด จำกัด สนับสนุนข้าวตราฉัตร และ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด สนับสนุนน้ำดื่ม แสดงถึงการรวมพลังเพื่อร่วมส่งมอบน้ำใจและพร้อมยืนเคียงข้างพี่น้องประชาชนก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน


นายสมบุญ แดงอร่าม ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยกล่าวว่า รู้สึกดีใจและซาบซึ้งใจแทนพี่น้องทั้ง 6 ชุมชนมักกะสัน ที่เครือซีพีและบริษัทในเครือ รวมทั้งบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน ให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้าน นายหงษ์ ตาทอง ประธานชุมชนโรงเจมักกะสันกล่าวว่า กล่าวว่า ขอขอบคุณโครงการดีๆ จากเครือซีพีและเครือข่าย ที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้าน เพราะผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถค้าขายได้ตามปกติ โดยเฉพาะช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา รายได้ลดลงมาก และกระทบต่อชีวิตประจำวัน รู้สึกดีใจที่มีคนมองเห็นความลำบากของพวกเราและเข้ามาช่วยเหลือยามวิกฤติ ไม่ทอดทิ้งพวกเรา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2020 12:56 am    Post subject: Reply with quote

"ทิ้งระเบิดโรงงานรถไฟมักกะสัน หัวลำโพง และบางซื่อ"
May 30 at 4:31 PM ·

ธรรมวัฒน์ รัชต์ รัตนวิจารณ์
พ.ศ. ๒๔๘๗ ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ขณะที่ประเทศไทยยังร่วมเป็น พันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น มีช่วงอยู่ระยะเวลาหนึ่งใกล้จะเสร็จสิ้นสงคราม ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๗ – ๒๔๘๘ เมื่อสัมพันธมิตรเริ่มครองความเป็นเจ้าเวหาเหนือภูมิภาคนี้ ประเทศไทยตกเป็นเป้าหมายในการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินของสัมพันธมิตร (ฝ่ายตะวันตก) ที่ใช้สนามบินดัม เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดียเป็นฐานบินส่งเครื่องบินขนาดต่างๆ มาทำการ ทิ้งระเบิดที่หมายในประเทศไทยทั้งเวลากลางวันและกลางคืนเพื่อมุ่งทำลาย ที่หมายต่างๆ ในกรุงเทพมหานครและธนบุรี ตลอดจนบางจังหวัดทาง ภาคเหนือของประเทศไทย เช่น ลำปางและเชียงใหม่ เป็นต้น โดยเฉพาะใน พระนครมุ่งทำลายสะพานพระราม ๖ สะพานพระพุทธยอดฟ้า โรงไฟฟ้าวัดเลียบและสามเสน ตลอดจนโรงงานรถไฟมักกะสัน เป็นต้น ในเวลากลางคืนเป็นหน้าที่ของเครื่องบินบี -๒๔ (Liberator) มาทำการทิ้งระเบิด ส่วนในเวลากลางวันเครื่องบินแบบบี-๑๗ และบี-๒๙ จะมาทิ้งระเบิด เครื่องบินแบบบี -๒๙ หรือที่เรียกกันว่า Supper Forterss เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ ไม่เคยนำไปใช้ที่ไหนมาก่อน เขาเตรียมจะใช้ไปโจมตีประเทศญี่ปุ่น เพราะมีรัศมีทำการบินไกลมาก ทั้งยังมีระวางบรรทุกมากอีกด้วย เขาจึงนำเครื่องบินแบบบี-๒๙ มาทดลองบินทิ้งระเบิดที่หมายต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานครได้ทำการทิ้งระเบิด สะพานพระราม ๖ ตอนวันแรกๆ ส่วนมากนักบินสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดพลาด ที่หมายเพราะบินในระยะสูง เลยไปทำลายเลือกสวน และบ้านคนบริเวณปากคลองบางเขนย่อยยับไป คราวหลังทิ้งถูกวัดน้อย และบริเวณใกล้เคียงทาง ทิศใต้ของสะพานพระราม ๖ ด้านฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาย่อยยับมากส่วนคอสะพานชำรุดไปบ้าง คราวหลังสุดเขาบินลงทิ้งในระยะต่ำ และเข้าทิ้ง ระเบิดเป็นระลอก ระลอกละ ๑๒ – ๑๔ เครื่อง จนทำให้สะพานพระราม ๖ ถูกทำลายยับเยินจนใช้การไม่ได้ตลอดจนกระทั่งสงครามสงบ เหตุที่เครื่องบินสัมพันธมิตรโหมเข้าโจมตีที่หมายต่างๆ ในประเทศไทยทั้งเวลากลางวันและกลางคืนตอนนั้นเพราะกำลังทางอากาศของทั้งญี่ปุ่นและไทยด้อยลงไปมาก ประกอบกับเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักของเขามีสมรรถนะและ มีการป้องกันตัวดีที่สุด คือมีปืนกลอากาศอยู่รอบตัว สามารถป้องกันตนเองจากเครื่องบินขับไล่ข้าศึกได้เป็นอย่างดี

๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗ เวลา ๒๑๑๐ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 จำนวน ๑๔ เครื่อง จาก กองบิน ๑๔ จากบันทึกของฝ่ายสหรัฐฯ กำหนดแผนเข้ามาทิ้งระเบิดย่านสถานีรถไฟบางซื่อ แต่ความเป็นจริงในวันดังกล่าว คาดว่าเนวิกเกเตอร์ เห็นย่านสถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นบางซื่อ จึงสับสนไปทิ้งระเบิดบริเวณสถานีหัวลำโพง ทำให้พื้นที่โดยรอบได้รับความเสียหาย ระเบิดตกลงบริเวณบางรัก ยานนาวา และสีลม ทำลายอาคารสถานทูตเยอรมนี และโรงพิมพ์ประมวญมารค ระเบิดลูกหนึ่งตกลงไปจมอยู่ใต้ดินบริเวณบันไดไปรษณีย์กลางบางรัก แต่ระเบิดด้าน ยังไม่สามารถกู้ขึ้นมาได้จนทุกวันนี้ นอกจากนี้ ระเบิดในวันนี้ ยังสร้างความเสียหายให้กับบริเวณหน้ามุข พระที่นั่งอนันตสมาคม อีกด้วย

๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 จำนวน ๑๖ เครื่อง จากกองบิน ๑๐ ทิ้งระเบิดถล่มย่านบางซื่อ และสนามบินดอนเมือง

๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ กองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 จำนวน ๘ เครื่อง จากกองบินที่ ๑๐ ทิ้งระเบิดกรุงเทพในเวลากลางคืน

๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ เวลา ๑๐๓๐ เป็นการทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ ในเวลากลางวันเป็นครั้งแรก เมื่อกองทัพอากาศสหรัฐฯ ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 จำนวน ๘ เครื่อง จากกองบินที่ ๑๔ ทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ ระเบิดตกลงสู่เป้าหมายและทำลายอาคารย่านเทเวศร์ชุมชนวัดเทวราชกุญชร และตลาดศรีย่าน มีประชาชนเสียชีวิต เป็นจำนวนมาก

๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๗ เวลา ๑๐๕๒ – ๑๒๐๐ สหรัฐฯปฏิบัติการด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิด B-29 พิสัยไกลเป็นครั้งแรกจากกองทัพอากาศที่ ๒๐ (กองบินทิ้งระเบิดที่ 462 Strategic Aerospace Wing, ประกอบด้วย ฝูงบินทิ้งระเบิดที่ 768th Bombardment Squadron, 769th Bombardment Squadron, 770th Bombardment Squadron, 771st Bombardment Squadron) จำนวน ๑๐๐ เครื่อง ขึ้นบินจากฐานทัพอากาศต่างๆ รวม ๔ แห่ง ซึ่งอยู่ในอินเดีย อาทิ Piardoba Air-Field โดยบรรทุกลูกระเบิดเพลิงเครื่องละ ๑๐,๐๐๐ ปอนด์ โดยมีแผนจะทำการทิ้งระเบิดที่โรงรถจักรมักกะสัน เมื่อถึงเป้าหมายมี เครื่องบิน ทิ้งระเบิด B- 29 จำนวน ๗๗ เครื่อง จากทั้งหมด ๙๘ เครื่อง บินเข้าทำการ ทิ้งระเบิดถล่มย่านรถไฟมักกะสัน เป็นครั้งแรก
เครื่องบินเหล่านี้ ได้รับการติดติดตั้งเรดาร์ช่วยนำร่องการทิ้งระเบิด (มีเครื่องบินทิ้งระเบิด ๔๘๗ เครื่อง ที่ได้รับการติดระบบนี้) แต่สาเหตุที่ต้องทิ้งระเบิดในเพดานบินสูง ๑๗,๐๐๐ – ๒๗,๐๐๐ ฟุตด้วยเรดาร์ เนื่องจาก มีเมฆปกคลุมกรุงเทพ ทำให้มีระเบิดตกกระจัดกระจายมีเพียง ๑๘ ลูก ที่ตกบริเวณโรงรถจักรไม่ได้สร้างความเสียหายใดๆ
นอกจากนี้ เครื่องบินทิ้งระเบิดยังทำการทิ้งระเบิดสถานีรถไฟ และย่านสินค้าบางซื่อ สะพานพุทธยอดฟ้า แต่ระเบิดไปโดนโรงพยาบาลญี่ปุ่น และหน่วยตำรวจลับญี่ปุ่นที่บ้านหม้อ รถรางได้รับความเสียหาย ชาวบ้านอพยพหนีภัยสงครามนอกพระนคร ทางราชการสั่งปิดโรงเรียน และมหาวิทยาลัยทั้งหมด ขณะเข้าทิ้งระเบิดนั้น กองทัพอากาศไทย ส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นสกัดกั้นร่วมกับญี่ปุ่น รวม ๙ เครื่อง โดยเป็นเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๓ ( ฮายาบูซ่า เดิมเรียกว่า บ.แบบ๑๔) ของฝูงบินรักษาพระนคร นำโดย พันจ่าอากาศเอก วิเชียร บูรณะเลข เป็นนักบินรวม ๓ เครื่องขึ้นสกัดกั้นโดยอเมริกันอ้างว่ายิง บ.ทั้งสามเครื่องได้ แต่ความจริง บ.ทั้งสามเครื่องไม่ได้รับความเสียหายใดๆ แต่มีเครื่องบิน บี ๒๙ อย่างน้อยหนึ่งเครื่องได้รับความเสียหายที่แพนหาง
ผลการรบเครื่องบิน บี-๒๙ ตกอย่างน้อย ๕ เครื่องด้วยอุบัติเหตุและเครื่องขัดข้อง ทั้งนี้หมู่บินดังกล่าว เผชิญกับพายุในอ่าวเบงกอล ทำให้เครื่องบิน ๔ เครื่องไม่มีเชื้อเพลิงพอในการบินเดินทาง ไป – กลับ ๒๒๖๑ ไมล์ ต้องลงนอกสนามบิน และลงในทะเล ๔ เครื่องขณะที่เครื่องบิน ๔๒ เครื่อง ต้องแยกย้ายกลับไปลงในสนามบินถึง ๑๐ แห่ง
๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ B-24 ประมาณ ๑๐ เครื่อง เข้าโจมตีทิ้งระเบิด บริเวณชุมทางบางซื่อ และโรงงานรถไฟ
๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗ ฝ่าย สัมพันธมิตรได้ส่งฝูงบิน ทิ้งระเบิด B-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ราว ๕๐ เครื่อง ทำการบิน ทิ้งระเบิดเหนือพระนครอีกครั้ง ในเวลากลางวัน เริ่ม ตั้งแต่ ๐๙๐๐ เป็น ๓ ระลอก ระลอกละ ๑๒ – ๑๔ เครื่อง โดยไม่มีเครื่องบินขับไล่ คุ้มครองเข้ามาด้วยเลย ในครั้งนี้ “ฝูงบินรักษาพระนคร” ได้ส่ง เครื่องบินขับไล่แบบ ฮายาบูซ่า จำนวน ๑ ฝูง จำนวน ๙ เครื่อง ซึ่งสามารถยิง B-29 ตก ๑ เครื่อง ที่ได้รับการยืนยัน โดย มี เรืออากาศเอก เทอดศักดิ์ (สังวาลย์) วรทรัพย์ เป็นผู้ยิงตก

เล่าเรื่องโดย..... รัชต์ รัตนวิจารณ์ 30 พฤษภาคม 2563 #หยุดเชื้อเพื่อชาติ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=166594904893171&set=a.110309507188378&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2020 10:37 pm    Post subject: Reply with quote

ประวัดโรงงานมักกะสัน
https://www.facebook.com/BackpackJournalistTPBS/videos/1963099180586694/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2020 1:46 pm    Post subject: Reply with quote

ส.ส.พปชร.ลงพื้นที่ หลังชาวบ้านร้องเวนคืนที่ พัฒนา "มักกะสันคอมเพล็กซ์"
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
จันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 13:11 น.

ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ ลุยชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน หลัง ปชช.ร้อง เดือดร้อนถูกเวนคืนที่ดิน สร้าง Hub เชื่อม 3 สนามบิน อีอีซี จ่อดันเข้า กมธ.สวัสดิการสังคมฯ หาทางออกร่วม ลั่น จะตามติดปัญหาช่วยชาวบ้านเต็มที่

วันที่ 24 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ พรรคพลังประชารัฐ นำโดย น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ น.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม.เขตพญาไท-ราชเทวี-จตุจักร น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ส.ส.กทม.เขตบางกะปิ-วังทองหลาง และนายศิริพงษ์ รัสมี ส.ส.กทม.เขตหนองจอก ลงพื้นที่ชุมชน "บุญร่มไทร" ซอยเพชรบุรี 7 เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน จากกรณี การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ขอเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้าง Hub รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โดยมีชุมชนได้รับผลกระทบ 26 ชุมชน แต่ได้รับผลกระทบแบบเร่งด่วน 12 ชุมชน จำนวน 2,366 ครัวเรือน

"องอาจ" ยัน ปากท้องปชช. สำคัญกว่า "เรือดำน้ำ" แนะอนุกมธ.ฯ พิจารณาใหม่
นายกฯ ห่วงใยผู้ประสบภัยน้ำท่วมหนักเหนือ-อีสาน สั่งระดมกำลังช่วยเต็มที่
"บิ๊กป้อม" กำชับ บจธ.เร่งช่วยจัดสรรที่ดินทำกิน ให้ชาวบ้าน จ.เชียงราย

โดยตัวแทนของชุมชนต้องการให้ รฟท.ชี้แจงความชัดเจนในเรื่องของระยะเวลาที่จะต้องย้ายออก และการเยียวยาที่จะได้รับ ให้หยุดดำเนินคดีกับชาวบ้านที่เดือดร้อนแล้วมาพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ รวมถึงขอแบ่งพื้นที่บางส่วนของ รฟท.ในจำนวน 500 ไร่ ให้ประชาชนได้อยู่อาศัย



น.ส.วทันยา กล่าวว่า จากการรับฟังปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของ รฟท.ซึ่งจะต้องส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนผู้ชนะการประมูลในการพัฒนา "มักกะสันคอมเพล็กซ์" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอีอีซี ในการเชื่อมโยง 3 สนามบิน โดยในปัจจุบันชาวบ้านเดือดร้อนจากปัญหาโควิด-19 และตอนนี้ยังจะต้องถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ จึงเดือดร้อนมาก ในขณะเดียวกันก็เข้าใจเรื่องการเดินหน้าโครงการ ดังนั้น ในฐานะ ส.ส.จึงจะนำปัญหาความเดือดร้อนนี้เข้าหารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการหาทางออกเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนที่ รฟท.จะต้องส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนตามกำหนด



ด้าน น.ส.ภาดาท์ กล่าวว่า ข้อเรียกร้องที่ชาวบ้านฝากมานั้น คือ ระยะเวลาที่ชัดเจนว่า รฟท.จะใช้พื้นที่เมื่อไร และเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะมีหน่วยงานเข้ามาดูแลจัดหาที่อยู่ใหม่ให้ รวมทั้งขอให้ยุติการฟ้องร้องและหาทางออกร่วมกัน ดังนั้นหลังจากนี้จะให้ชาวบ้านยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการ สวัสดิการสังคมฯ และดำเนินการต่อไป รวมทั้งจะนำไปหารือในที่ประชุมสภา และยื่นกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต่อไป เพราะ ส.ส.มีหน้าที่ในการประสานความทุกข์ร้อนของชาวบ้านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ เพราะไม่มีอำนาจ ดังนั้นสิ่งที่จะทำได้ดีที่สุดคือการติดตามปัญหาและทวงถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม.

ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ลงพื้นที่ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน หลัง ปชช. ร้องขอความเป็นธรรมถูกเวนคืนที่ดิน เตรียมเสนอ กมธ.สวัสดิการสังคม หาทางออกร่วม

...เมื่อวันที่ 24 ส.ค.63 ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นำโดย น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ น.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม.เขตพญาไท-ราชเทวี-จตุจักร น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ส.ส.กทม.เขตบางกะปิ-วังทองหลาง และนายศิริพงษ์ รัสมี ส.ส.กทม.เขตหนองจอก ลงพื้นที่ชุมชนบุญร่มไทร ซอยเพชรบุรี 7 เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน จากกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้าง Hub รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินเอนเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยมีชุมชนได้รับผลกระทบ 26 ชุมชน แต่ได้รับผลกระทบแบบเร่งด่วน 12 ชุมชน จำนวน 2,366 ครัวเรือน โดยตัวแทนของชุมชนต้องการให้ รฟท.ชี้แจง ความชัดเจนในเรื่องของระยะเวลาที่จะต้องย้ายออกและการเยียวยาที่จะได้รับ ให้หยุดดำเนินคดีกับชาวบ้านที่เดือดร้อนแล้วมาพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ รวมถึงขอแบ่งพื้นที่บางส่วนของ รฟท.ในจำนวน 500 ไร่ให้ประชาชนได้อยู่อาศัย

น.ส.วทันยา กล่าวว่า จากการรับฟังปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของ รฟท.ซึ่งจะต้องส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนผู้ชนะการประมูลในการพัฒนามักกะสันคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอีอีซี ในการเชื่อมโยง 3 สนามบิน โดยในปัจจุบันชาวบ้านเดือดร้อนจากปัญหาโควิด-19 และตอนนี้ยังจะต้องถูกขับไล่ออกจากพื้นที่จึงเดือดร้อนมาก ในขณะเดียวกันก็เข้าใจเรื่องการเดินหน้าโครงการ ดังนั้นในฐานะ ส.ส.จึงจะนำปัญหาความเดือดร้อนนี้เข้าหารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการหาทางออกเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนที่ รฟท.จะต้องส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนตามกำหนด

ด้าน น.ส.ภาดาท์ กล่าวว่า ข้อเรียกร้องที่ชาวบ้านฝากมานั้น คือ ระยะเวลาที่ชัดเจนว่า รฟท.จะใช้พื้นที่เมื่อไหร่ และเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีหน่วยงานเข้ามาดูแลจัดหาที่อยู่ใหม่ให้ รวมทั้งขอให้ยุติการฟ้องร้องและหาทางออกร่วมกัน ดังนั้นหลังจากนี้จะให้ชาวบ้านยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม และดำเนินการต่อไป รวมทั้งจะนำไปหารือในที่ประชุมสภาฯ และยื่นกระทู้ถาม รมว.คมนาคมต่อไป เพราะ ส.ส.มีหน้าที่ในการประสานความทุกข์ร้อนของชาวบ้านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ เพราะไม่มีอำนาจ ดังนั้นสิ่งที่จะทำได้ดีที่สุด คือการติดตามปัญหาและทวงถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3319517448095177&set=a.3033691060011152&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2020 10:39 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ส.ส.พปชร.ลงพื้นที่ หลังชาวบ้านร้องเวนคืนที่ พัฒนา "มักกะสันคอมเพล็กซ์"
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
จันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 13:11 น.

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3319517448095177&set=a.3033691060011152&type=3&theater



ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ลงพื้นที่ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน หลังปชช.เดือดร้อนถูกเวนคืนที่ดิน รฟท.
หน้าในประเทศ
วันจันทร์ ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13.52 น.


ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ ลุยลงพื้นที่ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน หลังปชช. ร้องขอความเป็นธรรม เดือดร้อนถูกเวนคืนที่ดินของ รฟท. สร้าง Hub เชื่อม 3 สนามบิน อีอีซี เตรียมดันเข้า กมธ.สวัสดิการสังคมฯ หาทางออกร่วม



วันที่ 24 สิงหาคม 2563 ที่ชุมชนบุญร่มไทร ซอยเพชรบุรี 7 ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ พรรคพลังประชารัฐ นำโดย น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ น.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม.เขตพญาไท-ราชเทวี-จตุจักร น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ส.ส.กทม.เขตบางกะปิ-วังทองหลาง และนายศิริพงษ์ รัสมี ส.ส.กทม.เขตหนองจอก ลงพื้นที่ชุมชนบุญร่มไทร ซอยเพชรบุรี 7 เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน จากกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.ขอเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้าง Hub รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินเอนเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โดยมีชุมชนได้รับผลกระทบ 26 ชุมชน แต่ได้รับผลกระทบแบบเร่งด่วน 12 ชุมชน จำนวน 2,366 ครัวเรือน

โดยตัวแทนของชุมชนต้องการให้ รฟท.ชี้แจง ความชัดเจนในเรื่องของระยะเวลาที่จะต้องย้ายออกและการเยียวยาที่จะได้รับ ให้หยุดดำเนินคดีกับชาวบ้านที่เดือดร้อนแล้วมาพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ รวมถึงขอแบ่งพื้นที่บางส่วนของ รฟท.ในจำนวน 500 ไร่ให้ประชาชนได้อยู่อาศัย




น.ส.วทันยา กล่าวว่า จากการรับฟังปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินของ รฟท.ซึ่งจะต้องส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนผู้ชนะการประมูลในการพัฒนามักกะสันคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอีอีซี ในการเชื่อมโยง 3 สนามบิน โดยในปัจจุบันชาวบ้านเดือดร้อนจากปัญหาโควิด-19 และตอนนี้ยังจะต้องถูกขับไล่ออกจากพื้นที่จึงเดือดร้อนมาก ในขณะเดียวกันก็เข้าใจเรื่องการเดินหน้าโครงการ ดังนั้นในฐานะ ส.ส.จึงจะนำปัญหาความเดือดร้อนนี้เข้าหารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการหาทางออกเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนที่ รฟท.จะต้องส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนตามกำหนด

ด้าน น.ส.ภาดาท์ กล่าวว่า ข้อเรียกร้องที่ชาวบ้านฝากมานั้น คือ ระยะเวลาที่ชัดเจนว่า รฟท.จะใช้พื้นที่เมื่อไหร่ และเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีหน่วยงานเข้ามาดูแลจัดหาที่อยู่ใหม่ให้ รวมทั้งขอให้ยุติการฟ้องร้องและหาทางออกร่วมกัน ดังนั้นหลังจากนี้จะให้ชาวบ้านยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคมฯ และดำเนินการต่อไป รวมทั้งจะนำไปหารือในที่ประชุมสภาฯและยื่นกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมต่อไป เพราะ ส.ส.มีหน้าที่ในการประสานความทุกข์ร้อนของชาวบ้านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ เพราะไม่มีอำนาจ ดังนั้นสิ่งที่จะทำได้ดีที่สุด คือการติดตามปัญหาและทวงถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2020 11:35 am    Post subject: Reply with quote

"ส.ส.ดาวฤกษ์"นำ ปชช.ร้อง กมธ.ปมรฟท.ขอเวนคืนที่
อังคารที่ 8 กันยายน 2563 เวลา 15.22 น.

"ส.ส.ดาวฤกษ์" พปชร. นำ ปชช.ร้อง กมธ.สวัสดิการสังคม สภาฯ กรณี รฟท.ขอเวนคืนที่ดินก่อสร้าง Hub รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน


เมื่อวันที่8 ส.ค. ที่รัฐสภา ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ พรรคพลังประชารัฐ นำโดย น.ส.ภาดาห์ วรกานนท์ ส.ส. กทม. พร้อมด้วย น.ส. ฐิติภัสร์  โชติเดชาชัยนันต์ ส.ส. กทม. นายศิริพงษ์ รัสมี ส.ส. กทม. น.ส.กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.กทม.นำประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากจากกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ขอเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้างฮับ(Hub) รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินเอนเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี)เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ที่มีน.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานกมธ.ซึ่งเป็นกรณีต่อเนื่องจากการที่ ส.ส.กลุ่มดาวฤกษ์ได้ลงพื้นที่เขตราชเทวี เพื่อรับฟังความเดือดร้อนของประชาชนเมื่อวันที่ 24ส.ค.ที่ผ่านมา

น.ส.ภาดาห์ กล่าวว่า วันนี้ประเด็นหลักที่ได้นำมายื่นต่อกรรมาธิการฯ คือประชาชนที่โดนไล่ที่ต้องการทราบเวลาที่แน่นอนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่าจะต้องย้ายออกจากพื้นที่เมื่อไหร่ และต้องการขอร้องว่าให้การรถไฟมีการประนีประนอมการฟ้องร้อง เพราะทุกคนได้รับความเดือดร้อนจริงๆ จึงต้องการให้มีการหันหน้ามาพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหา รวมถึงขอให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูแลเพื่อหาที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ให้ ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ วันนี้ได้เข้าไปในกมธ.สวัสดิการสังคมฯแล้ว เราได้คำตอบส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นคำตอบที่ดีมาก คำตอบที่1.คือทราบในเรื่องของระยะเวลาแน่นอนที่ประชาชนต้องย้ายออกจากพื้นที่ ข้อที่ 2.ทางการรถไฟฯได้รับปากว่าจะดูแลในเรื่องของการฟ้องร้อง ก่อนจะถึงวันที่ฟ้องร้อง โดยทางการรถไฟยินดีที่จะเจ้ามาพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาและหาทางออก แต่สำหรับข้อที่ 3.นั้นเป็นข้อที่ยากมาก คือต้องการให้การรถไฟและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวันนี้มีทั้งการเคหะฯ กรมพัฒนาสังคมฯ กรมธนารักษ์เข้ามารับฟัง ทุกหน่วยงานมีความพร้อมและยินดีที่จะเข้ามาช่วย




น.ส.ภาดาห์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตนเองและประชาชนต้องการฝากไปถึงหน่วยงานที่เดี่ยวข้อง คือทุกครั้งที่รัฐบาลมีโครงการขนาดใหญ่ในการพัฒนาที่ดิน แน่นอนว่าจะต้องมีผลกระทบกับประชาชนจำนวนมาก โดนเฉพาะในกรณีของการรถไฟที่มีผลกระทบต่อประชาชนใน กทม.เกือบ 3,000 ครัวเรือน จึงต้องการให้รัฐบาลพิจารณาว่าเวลาจะมีโครงการขนาดใหญ่ จะแก้ปัญหากับผู้ที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้อย่างไร เพราะกว่าจะอนุมัติใช้เวลานาน ดังนั้นในช่วงของการอนุมัติควรจะมีประเด็นการพิจารณาช่วยเหลือประชาชน จะได้ไม่ต้องมาถึงวันที่ประชาชนเดือดร้อนและต้องหาที่ทำกินอย่างเร่งด่วน กรรมาธิการฯได้รับปากที่จะช่วยสานต่อในการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลเยียวยาและจะทำหนังสือไปถึงรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ว่าจะช่วยพิจารณาเยียวและดูแลกรณีนี้ได้อย่างไรบ้าง

น.ส.ภาดาห์ กล่าวถึง พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะโครงการมักกะสันที่มีพื้นที่ 500 ไร่ เชื่อว่าไม่ได้มีการใช้พื้นที่ทั้งหมด ดังนั้นหากมีการกันพื้นที่บางส่วน 20-30 ไร่ เพื่อให้ประชาชนเข้าไปอยู่อาศัย โดยให้ทางการเคหะแห่งชาติ เข้าไปสร้างบ้านมั่นคง ซึ่งในกรรมาธิการฯทุกคนได้เห็นด้วย ดังนั้นต้องการให้การรถไฟคิดว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ของการรถไฟเพียงคนเดียว แต่เป็นที่ดินของประเทศชาติ วันนี้เมื่อมีคนเดือดร้อนการรถไฟฯก็ควรจะต้องคำนึงถึง โดยประเด็นนี้ทางการเคหะฯได้บอกว่ามีความพร้อมที่จะเข้าไปดำเนินการก่อสร้างที่พักหากทางการรถไฟให้ที่ดิน


ด้านน.ส.ฐิติภัสร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่มีการวางแผนในการพัฒนาเพื่อที่จะย้ายประชาชนออกจากพื้นที่ก่อน แต่กลับใช้วิธีการฟ้องร้องขับไล่ ซึ่งขณะนี้กำลังพยายามเปลี่ยนหลักคิดของการรถไฟฯว่า เป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้เงินภาษีจากประชาชน ควรจะต้องคำถึงถึงประเด็นนี้ด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2020 10:49 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"ส.ส.ดาวฤกษ์"นำ ปชช.ร้อง กมธ.ปมรฟท.ขอเวนคืนที่
อังคารที่ 8 กันยายน 2563 เวลา 15.22 น.


ดูข่าวนี้รู้สึกทุเรศอย่างไรก็ไม่รู้
https://www.facebook.com/OneOnePada/posts/871830163348521?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2020 11:25 am    Post subject: Reply with quote

โรงงานมักกะสัน โดย National Geographic
https://www.facebook.com/NationalGeographicThailand/posts/10164383701765038
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2020 2:01 am    Post subject: Reply with quote

โรงงานมักกะสัน
110 ปี แห่งตำนานรถไฟไทย
ที่ยังมีลมหายใจ และแข็งแกร่ง
พ่อจ๋าแม่จ๋าพาเที่ยว EP82

15 ตุลาคม 2563 เวลา 19.37 น.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=203219071183544&id=101871417984977
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2020 12:30 am    Post subject: Reply with quote

แบบจำลองทางพิเศษศรีรัช บริเวณแยกต่างระดับมักกะสัน | กรุงเทพฯ
• โครงการ : ทางด่วนขั้นที่ 2
• เจ้าของโครงการ : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ที่มาภาพ : นสพ.ผู้จัดการ ฉบับวันที่ 5 - 11 มิถุนายน 2533 (หน้า 52)
https://www.facebook.com/RetroCityStoryTelling/posts/184352866508214
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 8, 9, 10 ... 13, 14, 15  Next
Page 9 of 15

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©