RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179724
ทั้งหมด:13490956
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 34, 35, 36 ... 89, 90, 91  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2020 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี แจ่งข่าว:
3 กันยายน 2563 เวลา 16:14 น.

ประชาสัมพันธ์ #แจ้งเบี่ยงจราจรบนถนนรามคำแหง ฝั่งขาเข้า #บริเวณทางออกมหาวิทยาลัยรามคำแหง และฝั่งขาออก บริเวณซอยรามคำแหง 51/1 – 51/2 เพื่อดำเนินการก่อสร้างทางเชื่อม ทางขึ้น - ลง สถานีรามคำแหง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตั้งแต่วันที่ 8 – 30 กันยายน 2563 เวลา 22:30 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง โดย กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก
โดยแบ่งการจัดจราจรเป็น 2 ช่วงดังนี้

#จุดที่ 1 เบี่ยงจราจรบนถนนรามคำแหง ฝั่งขาเข้า บริเวณทางออกมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตั้งแต่วันที่ 8 – 30 กันยายน 2563 เวลา 22:30 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าและฝั่งขาออก เหลือฝั่งละ 2 ช่องทาง

#จุดที่ 2 ขยายเวลาเบี่ยงจราจรบนถนนรามคำแหง ฝั่งขาออก บริเวณซอยรามคำแหง 51/1 – 51/2 ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 กันยายน 2563 เวลา 22:30 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาออกและฝั่งขาเข้า เหลือฝั่งละ 2 ช่องทาง

ทั้งนี้ การเบี่ยงการจราจรในช่วงวันเวลาดังกล่าว อาจไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและอาจมีเสียงดังรบกวนในระหว่างดำเนินการ ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง และ ขออภัยมา ณ โอกาสนี้
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/936284936850858

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี แจ่งข่าว:
3 กันยายน 2563 เวลา 16:04 น.

ประชาสัมพันธ์ #ย้ายจากเกาะกลางไปทำงานฝั่งขาเข้า #แจ้งเบี่ยงจราจรบนถนนรามคำแหง ฝั่งขาเข้า #บริเวณคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่องานก่อสร้างปล่องระบายอากาศ (IVS12) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตั้งแต่วันที่ 7 – 30 กันยายน 2563 เวลา 22:00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง โดย กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12 – หัวหมาก มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 2 ช่องทาง และฝั่งขาออก เหลือ 3 ช่องทาง
ทั้งนี้ การเบี่ยงการจราจรในช่วงวันเวลาดังกล่าว อาจไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและอาจมีเสียงดังรบกวนในระหว่างดำเนินการ
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/936280233517995

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี แจ่งข่าว:
3 กันยายน 2563 เวลา 16:02 น.
ประชาสัมพันธ์ #แจ้งเบี่ยงจราจรบนถนนรามคำแหง ฝั่งขาเข้า #บริเวณซอยรามคำแหง12 เพื่อดำเนินงานขุดเจาะอุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้า (TBM 1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตั้งแต่วันที่ 5 - 30 กันยายน 2563 เป็นต้นไป เวลา 13:00 น. ตลอด 24 ชั่วโมง โดย กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 2 ช่วงรามคำแหง 12 - หัวหมาก มีผลให้ ช่องจราจร ขาเข้า บริเวณซอยรามคำแหง12 สัญจรได้ 2 ช่องจราจร และมีการจัดจราจร พื้นราบ บริเวณซอยรามคำแหง 12 แบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้
- ช่วงเวลา 05.30 -12.00 น. ของทุกวัน ขาเข้า สัญจรได้ 3 ช่องจราจร ขาออก สัญจรได้ 1 ช่องจราจร
- ช่วงเวลา 12.00 – 05.30 น. ของทุกวัน ขาเข้า สัญจรได้ 2 ช่องจราจร ขาออก สัญจรได้ 2 ช่องจราจร
ทั้งนี้ การเบี่ยงการจราจรในช่วงวันเวลาดังกล่าว อาจไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและอาจมีเสียงดังรบกวนในระหว่างดำเนินการ ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง และ รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/936278783518140

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี แจ่งข่าว:
2 กันยายน 2563 เวลา 09:14 น.

ประชาสัมพันธ์ #ปิดเบี่ยงจราจรบนถนนเทียมร่วมมิตร ฝั่งขาเข้า เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ระหว่างวันที่ 7 กันยายน - 15 ตุลาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 23.00 น. ตลอด 24 ชั่วโมง ช่องจราจรลดลง จาก 5 ช่องจราจร เหลือเพียง 3 ช่องจราจร เป็นระยะทางประมาณ 110 เมตร
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ผู้รับจ้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 1 ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - รามคำแหง 12 มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนเทียมร่วมมิตร ขาเข้า มุ่งหน้าถนนวัฒนธรรม 2 ช่องทาง ส่งผลให้ถนนเทียมร่วมมิตร บริเวณดังกล่าว ช่องจราจรลดลง จาก 5 ช่องจราจร เหลือเพียง 3 ช่องจราจร เป็นระยะทางประมาณ 110 เมตร เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินเชื่อมต่อสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และ สถานี รฟม. ระหว่างวันที่ 7 กันยายน - 15 ตุลาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 23.00 น. ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ การเบี่ยงจราจรเพื่อดำเนินงานก่อสร้าง อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและอาจมีเสียงดังรบกวนในวันเวลาดังกล่าว ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง และ รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/935252283620790
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2020 12:03 am    Post subject: Reply with quote

รื้อเกณฑ์ตัดสินประมูล ‘สายสีส้ม’ 1.4 แสนล. 'รฟม.' แหวก ‘กติกา’ รัฐร่วมทุนเอกชน
เขียนโดย isranews
วันเสาร์ ที่ 12 กันยายน 2563 เวลา 17:00 น.

“…การประเมินข้อเสนอจะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน และคะแนนข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน ทั้งนี้ รฟม.จะนำคะแนนซองที่ 2 และซองที่ 3 ของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายมารวมกัน และผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุด จะเป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินสูงสุด…”


สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 1.42 แสนล้านบาท เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่มี กิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นประธาน

ได้มีมติปรับเปลี่ยนประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน (RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายนี้ โดย ‘รื้อ’ หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ หลังจาก รฟม. ปิดการขายซองเอกสารประมูลไปแล้วเกือบ 1 เดือน หรือตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2563 (อ่านประกอบ : ‘BEM-BTSC-BTS-ซิโนไทย’ ตบเท้าซื้อซองรถไฟฟ้าสายสีส้ม ‘บางขุนนนท์-มีนบุรี’ 1.4 แสนล.)

หากไล่เลียงลำดับเหตุการณ์การปรับเปลี่ยน RFP โครงการนี้ พบว่าเมื่อวันที่ 7 ส.ค.2563 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ขอให้ทบทวน ‘วิธีการประเมินข้อเสนอ’ การร่วมทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยระบุตอนหนึ่งว่า

“...ไม่ควรให้พิจารณาให้ผู้ชนะการคัดเลือกเป็นผู้ที่เสนอผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดเท่านั้น แต่ควรพิจารณาผู้ที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่รัฐในภาพรวม ที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จได้ โดยพิจารณาถึงปัจจัยและผลประโยชน์ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อเสนอด้านเทคนิคการดำเนินงาน ความน่าเชื่อถือ ศักยภาพและความสามารถของผู้ยื่นข้อเสนอ...” (อ่านเอกสารประกอบ)

อย่างไรก็ดี หลังจากได้รับหนังสือเพียง 6 วัน ในวันที่ 13 ส.ค.2563 ประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สคร. แทงหนังสือหนังสือ ที่ กค 0820.1/4810 ถึงผู้ว่าการ รฟม. โดยมีเนื้อหาว่า ขอให้คณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ โครงการฯ นำข้อเสนอของบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป (อ่านเอกสารประกอบ)



ต่อมาคณะกรรมการตามมาตรา 36 ประชุมกันเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2563 และมีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยน ‘หลักเกณฑ์’ ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอฯ ก่อนที่ รฟม. จะทำการจัดส่งเอกสารประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน เพิ่มเติม ครั้งที่ 1 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (RFP Addendum 1) ให้ผู้ซื้อซองเอกสารประมูลทั้ง 10 ราย ในวันที่ 31 ส.ค.2563

สำหรับสาระสำคัญของ RFP โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งปรับเปลี่ยน ‘หลักเกณฑ์การพิจารณา’ มีสาระสำคัญ ดังนี้

เดิมระบุว่า “…(2) การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 รฟม.จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนด โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องผ่านการพิจารณาด้านคุณสมบัติตามที่เกณฑ์กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าผู้ยื่นข้อเสนอไม่ผ่านการพิจารณาข้อเสนอของที่ 1 และจะไม่เปิดข้อเสนอซองที่ 2 โดยจะส่งข้อเสนอซองที่ 2 ,3 และ 4 คืน

(3) การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และ 3 ผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 จะได้รับการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 โดย รฟม.จะกำหนดเกณฑ์ในการประเมินข้อเสนอ และผู้ยื่นข้อสนอที่เป็นประโยชน์ต่อ รฟม. สูงที่สุด จะเป็นผู้ผ่านการประเมินสูงสุด…

"ผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซอง 2 ประกอบกับ รฟม. ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า รายละเอียดข้อเสนอซองที่ 3 มีความน่าเชื่อถือตามเงื่อนไขข้างต้น จะได้รับการประเมินข้อเสนอซองที่ 3 โดยผู้ยื่นข้อเสนอที่มี NPV ของผลประโยชน์สุทธิ (เงินตอบแทนที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะให้แก่ รฟม.หักด้วยจำนวนเงินสนับสนุนที่ผู้ยื่นข้อสนอจะขอรับจาก รฟม.) สูงที่สุด จะเป็นผู้ที่ผ่านการประมินสูงสุด…” เอกสารประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน (RFP) โครงการฯ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2563 ระบุ

RFP orange line 2(ที่มา : เอกสารประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน (RFP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี)

ส่วนหลักเกณฑ์ใหม่ มีเนื้อหาที่แตกต่างออกไป คือ “…29.3 การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการตรวจสอบตามข้อ 29.2 แล้ว จะได้รับการพิจารณาข้อเสนอในซองที่ 1 ต่อไป ในการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในเอกสารข้อ 10. และสอดคล้องตามข้อกำหนดของข้อแนะนำการจัดทำข้อเสนอนี้ทุกประการ

การประเมินข้อเสนอด้านคุณสมบัติจะเป็นการประเมินแบบ ‘ผ่าน/ไม่ผ่าน’ ซึ่งต้องมีความครบถ้วนและความถูกต้องของเอกสารตามข้อ 19.1.2 (ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ) มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 และจะไม่เปิดข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 โดยจะส่งข้อเสนอซองที่ 2, 3 และ 4 คืน

29.4 การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค และข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน

ผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินข้อเสนอซองที่ 1 ตามข้อ 29.3 จะได้รับการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และซองที่ 3 ต่อไป

การประเมินข้อเสนอจะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค 30 คะแนน และคะแนนข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน

ทั้งนี้ รฟม.จะนำคะแนนซองที่ 2 และซองที่ 3 ของผู้ยื่นข้อเสนอแต่ละรายมารวมกัน และผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุด จะเป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมินสูงสุด…”

RFP orange line 1(ที่มา : เอกสารประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 (RFP Addendum 1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี เมื่อวันที่ 31 ส.ค.2563)

พร้อมกันนั้น คณะกรรมการตามมาตรา 36 ได้ขยายเวลาการยื่นเอกสารประมูลออกไป 45 วัน หรือจากเดิมที่กำหนดให้ยื่นเอกสารประมูลวันที่ 23 ก.ย.2563 ให้เลื่อนเป็นวันที่ 6 พ.ย.2563 เพื่อให้เอกชนที่ซื้อเอกสารประมูลทั้ง 10 ราย มีเวลาปรับปรุงข้อเสนอให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ใหม่

“การนำคะแนนข้อเสนอเทคนิคมาเป็นเกณฑ์ประเมินร่วมกับข้อเสนอด้านการเงินและผลตอบแทนในสัดส่วน 30:70 จากเดิมที่ รฟม.พิจารณาเฉพาะข้อเสนอด้านการเงินเป็นหลัก จะทำให้ได้ข้อเสนอที่ดีและรัฐได้ประโยชน์สูงสุด…อีกทั้งโครงการนี้เป็นการก่อสร้างที่ใช้เทคนิคขั้นสูง” ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่า รฟม.ให้สัมภาษณ์สื่อหลายสำนักเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2563

ส่วนสาเหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกหลังประกาศ RFP และปิดขายซองเอกสารไปแล้วเกือบ 1 เดือน ภคพงษ์ บอกว่า “..เดิมเราอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และมีการสงวนสิทธิ์ให้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขหรือยกเลิกได้ แม้ว่าจะเปิดขายซองทีโออาร์ไปแล้ว…”

อย่างไรก็ตาม บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้ทำหนังสืออย่างน้อย 3 ฉบับ สอบถามข้อเท็จจริงและทักท้วงเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอฯ ของ รฟม. ดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 ,26 และ 28 ส.ค.2563 แต่ปรากฎว่าจนถึงปัจจุบัน BTSC ยังไม่ได้รับคำตอบอย่างเป็นทางการจาก รฟม. แต่อย่างใด

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการปรับเปลี่ยน ‘หลักเกณฑ์’ การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอฯ โครงการไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) นั้น เรียกได้ว่ามีความ 'แตกต่าง' จากโครงการร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชนในอดีตพอสมควร

เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง สายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ,โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน , โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และโครงการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3

‘ผู้ชนะประมูล’ จะเป็นผู้เสนอให้ ‘ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุด’ และเสนอ ‘ใช้เงินลงทุนของภาครัฐน้อยที่สุด’ ในขณะที่กระบวนการพิจารณาและเปิด ‘ซองประมูล’ จะทำเป็นขั้นตอน คือ เมื่อเปิดซองที่ 1 หรือ ‘ซองคุณสมบัติ’ แล้วผ่าน ก็จะเปิดซองที่ 2 คือ ‘ซองเทคนิค’ และเมื่อซองเทคนิคผ่านแล้ว จึงจะเปิดซองที่ 3 ซึ่งเป็นซองข้อเสนอราคาและผลตอบแทน

ppp orange line pic

ในขณะที่ ภคพงศ์ ระบุว่า ไม่สามารถนำหลักเกณฑ์การเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนฯก่อนหน้านี้ มาใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เพราะโครงการนี้ รฟม. ต้องการคัดเลือก 'ผู้ที่มีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์กับรัฐมากที่สุด'

“คงไม่สามารถนำการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มเส้นนี้ไปเทียบกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่เสนอขอเงินอุดหนุนค่างานโยธาจากรัฐต่ำสุด และเสนอผลตอบแทนให้รัฐสูงสุด เป็นผู้ชนะประมูล เพราะโครงการนี้เน้นภาพรวม คือ ผู้ที่มีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์กับรัฐมากที่สุด’ ภคพงศ์ เผยกับสื่อเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2563

จากที่มาที่ไปข้างต้น แม้ว่าการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) จะมีเหตุผลและมีที่มาที่ไป แต่การที่ ผู้ว่ารฟม. ระบุว่า สาเหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาเพราะ 'อาจจะคิดไม่ครบถ้วน' นั้น ทำให้เอกชนตั้งข้อสงสัยว่ามี ‘ใบสั่ง’ หรือไม่

เพราะหลังจากบริษัท อิตาเลียนไทยฯ หนังสือถึง สคร. ขอให้ทบทวน ‘วิธีการประเมินข้อเสนอ’ ในวันที่ 7 ส.ค.2563 เพียง 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์ หรือในวันที่ 21 ส.ค.2563 คณะกรรมการตามมาตรา 36 ก็มีมติปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการฯ ตามมา

หากจำกันได้ในช่วงเดือนก.ย.2562 โครงการรถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เคยสร้าง ‘รอยร้าว’ ในพรรคร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาแล้ว หลัง อนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม สั่งการ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้แยกสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายนี้ เป็น 2 สัญญา จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า ‘เอื้อประโยชน์’ เอกชนบางรายหรือไม่

สุดท้ายต้องกลับมารวมเป็น ‘สัญญาเดียว’ เช่นเดิม หลังมีการทักท้วงจากกระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. (อ่านประกอบ : ปิดดีลรถไฟฟ้า ‘สีส้ม’ ตะวันตก ‘ศักดิ์สยาม’ ชงสัญญาเดียว รัฐอุ้ม 10 ปี 9.6 หมื่นล.)

มาคราวนี้ กระบวนการปรับเปลี่ยน RFP การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เกิดขึ้นในช่วง 'รอยต่อ' ของการเปลี่ยนผ่าน 'ทีมเศรษฐกิจ' ของรัฐบาลพอดี จึงต้องติดตามต่อไปว่าเอกชนรายใดจะคว้าโครงการนี้ไปได้

แต่เมื่อทุกอย่างเปิด ‘ทางโล่ง’ อะไรๆ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2020 11:34 am    Post subject: Reply with quote

เปิดโผผู้ชนะรถไฟฟ้าสีส้มตะวันตก“เงินถึงเก่งเทคนิค”
*รฟม.ส่งหนังสือแจ้ง10บิ๊กรับเหมาปรับเกณฑ์
*ยันคัดคะแนนข้อเสนอการเงิน-เทคนิค70/30
*โจทย์ยากสร้างอุโมงค์ลอดหลายพื้นที่สำคัญ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2708578856030282
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2020 7:48 pm    Post subject: Reply with quote

#ภาพเมื่อก่อนและภาพปัจจุบัน #TransitionStructure
งานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าบริเวณ Transition Structure โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีคลองบ้านม้า ไต่ระดับจากใต้ดินขึ้นสู่บนดิน ไปยังสถานีสัมมากร #ปัจจุบันได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมส่งมอบให้กับ ผู้รับจ้างงาน สัญญาที่ 6 โดยบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างงานออกแบบและงานก่อสร้างระบบราง ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – สุวินทวงศ์ เพื่อดำเนินงานวางรางรถไฟฟ้า
อดทนอีกนิด เพื่อการใช้ชีวิตที่ดีกว่า #งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม #ขออภัยในความไม่สะดวก #Orangeline#รฟม. #เรายกระดับชีวิตเมือง
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/944881745991177
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/09/2020 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า "สายสีส้ม" ดัน ‘รามคำแหง’ เรดโอเชี่ยน ซัพพลายใหม่ ทะลัก!
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563 15:10 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,610
วันที่ 17 - 19 กันยายน พ.ศ. 2563


รถไฟฟ้า 3 สาย จุดพลุรามคำแหง EBD ย่านธุรกิจต่อขยาย บิ๊กทุนพรึบ ซัพพลายใหม่ ทะลัก 6พันหน่วย ขึ้นแท่น เรดโอเชี่ยน หลัง “ริสแลนด์” ทุนยักษ์ฮ่องกง สวนโควิด ยึดสถานีลำสาลี ป้อนคอนโดฯใหม่เกือบ 2 พันหน่วย

# ทำเลรามคำแหง # เรดโอเชียน # จุดตัดรถไฟฟ้า แม้การเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ตลอดช่วงครึ่งปีแรก 2563 จำนวนลดลงหดตัวแรง 67% เนื่องด้วยผู้ประกอบการเกรงผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่อย่างไรก็ตาม หลังสถานการณ์ผ่านจุดต่ำสุด กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินเครื่องอีกครั้ง เริ่มเห็นการลงทุนใหม่ๆ เกิดขึ้น ด้วยหวังช่วงชิงโอกาสการขายในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ทั้งยังเปรียบเป็นจังหวะเปิดตัวที่ปังที่สุด ท่ามกลางรายอื่นๆ ยังเฝ้าระวัง ชะลอการตัดสินใจอยู่

ทำเลส่วนต่อขยายย่านธุรกิจหรือ EBD (Extension Business District)กลายเป็นศัพท์ใหม่ พื้นที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต่างยกให้เป็น Safe Zone ของการพัฒนาคอนโดฯยุคโควิด เพราะอย่างน้อยไม่ต้องกังวลกับซัพพลายค้างเก่าซึ่งเกิดขึ้นในหลายทำเลฮอต ขณะจุดตัดการคมนาคมต่างๆ โดยเฉพาะรถไฟฟ้า สร้างโอกาสการเติบโตให้กับพื้นที่สูง ทั้งการขยายของเมือง แหล่งงาน และความต้องการด้านที่อยู่อาศัย ที่จะหลั่งไหลเข้ามาไม่หยุดหย่อน

เช่นเดียวกับ ย่านรามคำแหง ทำเลกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกที่มีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวด เร็วจนกลายเป็น EBD โดยมีจุดที่น่าสนใจ คือส่วนต่อขยายการคมนาคมต่างๆ ทั้งรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี), รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ทำให้ทำเลย่านนี้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อทางราง ที่มีให้เลือกหลายเส้น โดยทั้ง 3 สาย มีจุดเชื่อมต่อที่ “สถานีลำสาลี” ซึ่งถือเป็นโซนที่ขยายตัวเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการลงทุนและเกิดการเติบโตของพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น

ความเชื่อมั่นดังกล่าว ทำให้ทำเลรามคำแหง กลายเป็นที่จับตามองของบริษัทผู้พัฒนาอสังหาฯยักษ์ใหญ่หลายค่าย โดยซัพพลายคอนโดฯเริ่มพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2560 นับตั้งแต่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเกิดขึ้น ซึ่งคาด ภายในสิ้นปี 2563 จะมีหน่วยใหม่เกิดขึ้นสูงถึง 6,000 หน่วย เช่น โครงการ นิช โมโน รามคำแหง จากค่าย บมจ.เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ 1,698 หน่วย และคอนโดฯ โมดิซ ไรห์ม รามคำแหง ของรายกลางอย่างบริษัท แอสเซทไวส์ บนพื้นที่ 2 ไร่ ใกล้สถานีรามคำแหง อีก 546 หน่วย เป็นต้น

ขณะล่าสุดทุนใหญ่ต่างชาติสัญชาติฮ่องกง อย่าง บริษัท ริสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยสโลแกนการลงทุน “เล็กๆไม่ ใหญ่ๆทำ” ก็ประกาศลุยปักหมุด โครงการขนาดยักษ์ “เดอะ ลิฟวิ่ง รามคำแหง” มูลค่าสูงถึง 4.9 พันล้านบาท ซึ่งเลื่อนการเปิดตัวมาจากช่วงปี 2562 บนเนื้อที่ 8 ไร่ บริเวณแยกลำสาลี อาคารสูง 42 ชั้น จำนวน 1,938 หน่วย โดยผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การตลาด และสื่อสารภาพลักษร์องค์กร ประจำภูมิภาคไทย บริษัท ริสแลนด์ นางสาว มณีกานต์ อิสรีย์โกศล เผยว่า บริษัทเชื่อมั่นต่อตลาดคอนโดฯในไทย เพราะพบยังมีกลุ่มคนที่มีกำลังซื้ออยู่ โดยเฉพาะสัญญาณบวก ย่านรามคำแหง โดยคาดราคาขายเปิดตัวที่ต่ำกว่าตลาด ประมาณ 7 หมื่นต่อตร.ม. จะดึงดูดทั้งกลุ่มคนซื้อเพื่ออยู่อาศัยและซื้อเพื่อลงทุนได้ จากอัตราการเติบโตของค่าเช่าราว 6-7%
“ภาพรวมตลาดไตรมาส 3 ทุกอย่างเริ่มฟื้นตัว พบหลายรายกลับมาเปิดโครงการใหม่โดยเฉพาะทำเลรอบนอก ขณะรามคำแหงนั้น ดีมานด์น่าจะกลับมาเป็นบวก หลายโครงการที่อั้นไว้คาดจะกลับมาเปิดตัว และทำการขายกันอย่างคึกคัก โดยมีริสแลนด์ เป็นผู้ทดลองตลาด เชื่อหากยอดขายเราไปได้ดี โครงการอื่นๆจะ Come Back กลับมาลงทุน”
นอกจากนี้ ยังระบุว่า แผนก่อสร้างทางเดินเท้าสกายวอล์คเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลของรัฐ จะเป็นอีกตัวผลักดันให้โครงการที่อยู่อาศัยโดยรอบมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งในอนาคต บริษัทเอง มีแผนก่อสร้างท่าเรือ ใกล้เคียงกับโครงการ
เช่นกัน เพื่อให้ตอบโจทย์การเดินทาง รถ ราง เรือ อย่างครบครัน คาดสร้างความคึกคักให้กับทำเลดังกล่าวไม่น้อย
ทั้งนี้ บริษัท ตั้งเป้ายอดขาย ณ สิ้นปี ที่ 1.6 พันล้านบาท หรือประมาณ 50% ของมูลค่าโครงการ หลังแนวโน้มลูกค้าตอบรับดี จาการเปิดขายอย่างไม่เป็นทางการในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ราว 400 หน่วย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าต่างชาติ จีน ฮ่องกง ซึ่งส่งสัญญาณว่าอสังหาฯไทยยังเป็นที่ต้องการของนักลงทุน


นางสาวพจมาน วรกิจโภคาทร ผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายงานบริหารงานขายและการตลาด บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด เผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เดิมทำเลรามคำแหง ยังเป็นตลาดบลูโอเชี่ยน จากการเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบการน้อยราย เช่น เสนาฯ, ศุภาลัย ซึ่งทั้ง 2 โครงการมียอดขายเกิดขึ้นดีตั้งแต่ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด และกลับมาคึกคักอีกครั้งหลังคลายมาตรการล็อกดาวน์ เนื่องจากเป็นทำเลส่วนต่อขยาย ที่ได้อานิสงส์ลูกค้าบางส่วนหลั่งไหลมาจากย่านรัชดา-พระราม 9 รวมถึงนักลงทุนชาวจีนก็ยังให้ความสนใจ ขายดีสุดในระดับราคา ช่วง 1 ล้านบาทปลายๆ-2 ล้านกว่า จากกลุ่มลูกค้าบ้านหลังแรก อย่างไรก็ตาม การเข้ามาปักหมุดลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของริสแลนด์ จะทำให้การแข่งขันในทำเลดังกล่าวร้อนแรงขึ้น แต่ไม่ได้กังวลถึงปัญหาโอเวอร์ซัพพลาย เนื่องจาก รามคำแหง เป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นติดอันดับต้นๆของกรุงเทพฯ อีกทั้งตลาดมีกลุ่มลูกค้าเช่าอพาร์ตเมนต์ ที่รอดูดซับโครงการแล้วเสร็จอีกจำนวนมากเฝ้าตัดสินใจอยู่ คาดจะเป็นอีกหนึ่งทำเล ที่มีความคึกคักด้านการขายอย่างต่อเนื่อง

“ริสแลนด์ เป็นอีกคีย์สำคัญ ว่าสามารถเปิดโครงการและทำยอดขายได้ดีหรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่าโครงการดังกล่าวไม่ได้เจาะแค่กลุ่มลูกค้าคนไทย ถ้าเปิดแล้วรอด ย่อมการันตรีว่าตลาดยังไปได้ อีกทั้ง รามคำแหง ยังมีตลาดกลุ่มลูกค้าเช่าอพาร์ตเมนต์จำนวนมาก ที่รอซื้อเมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ เนื่องด้วยไม่สามารถเช่าจ่าย 2 ทางได้ ลูกค้ากลุ่มนี้ เป็นความหวังของดีเวลลอปเปอร์จึงกล้าเสี่ยง”
ทั้งนี้ พบช่วงรามคำแหงตอนปลาย ใกล้มีนบุรี จุดตัดเชื่อมต่อของสายสีส้ม และสีชมพู ยังมีโครงการ ดิ ออริจิ้น ราม 209 อินเตอร์เชนจ์ ของ บมจ.ออริจิ้น มูลค่า 1,900 ล้านบาท อีก 1,007 หน่วย ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง ปัจจุบันพบมียอดขายแล้วประมาณ 80%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2020 10:53 am    Post subject: Reply with quote

ปรับเกณฑ์ประมูลสีส้มส่อวุ่น บีทีเอสจ่อฟ้องศาลปกครอง ร้องไม่เป็นธรรม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 16 กันยายน 2563 เวลา 16:40

BTS จ่อยื่นศาลปกครอง เหตุรฟม.แก้เงื่อนไขประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
หน้าอสังหาริมทรัพย์ /
พุธที่ 16 กันยายน 2563 เวลา 21:58 น.

“บีทีเอส” จ่อฟ้องศาลปกครองขอความเป็นธรรม ยัน รฟม.ปรับเกณฑ์คัดเลือกประมูล รถไฟฟ้าสีส้ม ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) เปิดเผยว่า ขณะนี้ บริษัทฯได้รับหนังสือแจ้งจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ และเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทางบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ได้ปรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกใหม่ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาโดยรวมคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค (สัดส่วน 30 คะแนน) และข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการเงิน (สัดส่วน 70 คะแนน) แล้ว ซึ่งบริษัทฯ ยืนยันไม่เห็นด้วยเนื่องจากเป็นการปรับเปลี่ยนหลังจากขายเอกสารประมูลแล้ว และเป็นการใช้ดุลพินิจในการตัดสินซึ่งทำให้มีความได้เปรียบเสียเปรียบ และไม่เป็นธรรมต่อผู้ยื่นประมูล

โดยก่อนหน้านี้ บริษัทฯ ได้ยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความเป็นธรรมไปแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณาในการยื่นต่อศาลปกครองต่อไปหากมีความจำเป็น

เนื่องจากการนำคะแนนด้านเทคนิคมารวมกับคะแนนด้านราคานั้น ที่ผ่านมาไม่เคยใช้รูปแบบนี้ ดังนั้นจะมีผลทำให้เกิดความได้เปรียบกันแน่นอนและยอมรับว่ามีความกังวล เพราะเกี่ยวกับความถนัดของแต่ละราย ขณะที่ไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนมาเพิ่มได้ เพราะผู้ร่วมยื่นประมูลจะต้องเป็นผู้ซื้อซอง ซึ่งขณะนี้ รฟม.ปิดขายซองไปแล้ว โดยมีผู้ซื้อเอกสารไปจำนวน10 ราย

สำหรับผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอร่วมลงทุน 10 บริษัท ได้แก่
1. บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
2. บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)
3. บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS)
4. บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC)

5. บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD)
6. บมจ.ราช กรุ๊ป (RATCH)
7. บมจ. ช.การช่าง (CK)
8. บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF)
9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด
10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด
https://www.thebangkokinsight.com/435351/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2020 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

BTS เตรียมยื่นศาลปกครอง ค้านแก้กติกาประมูลสายสีส้ม-ต่อเวลาสีม่วง 20 บาท
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
พฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563 เวลา 08:10 น.

เมื่อวันที่ 16 ก.ย. นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ บีทีเอสซี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้บริษัทได้รับหนังสือแจ้งจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รฟม. กรณีคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ และเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทางบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ได้ปรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกใหม่ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาโดยรวมคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค (สัดส่วน 30 คะแนน) และข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการเงิน (70 คะแนน) แล้ว บริษัทยืนยันไม่เห็นด้วย เนื่องจากเป็นการปรับเปลี่ยนหลังจากขายเอกสารประมูลแล้ว และเป็นการใช้ดุลพินิจในการตัดสิน ซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ และไม่เป็นธรรมต่อผู้ยื่นประมูล โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้ยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ คนร. สำนักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สคร. และบอร์ด รฟม.เพื่อขอความเป็นธรรมแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณายื่นต่อศาลปกครองต่อไป


วันเดียวกัน นายภคพงศ์ กันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟม. ว่า การประชุมวันนี้เป็นครั้งสุดท้ายของปีงบประมาณ 2563 โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้ขยายมาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท และจ่ายสูงสุด 20 บาทตลอดสาย จากอัตราปกติจ่ายสูงสุด42 บาท ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. ออกไปก่อนจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน เนื่องจากผลกระทบจากโรคโควิด-19 ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจไม่ดี มีภาวะคนว่างงาน การท่องเที่ยวและการบริการยังซบเซา


นายภคพงศ์กล่าวว่า มาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง รฟม.จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนต่างจำนวน 20 ล้านบาท/เดือน โดยใช้เงินสำรองที่ได้รับจากค่าสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้รับประมาณ 1 ล้านบาท/วัน มาจ่ายส่วนต่างดังกล่าว ซึ่งขณะนี้เงินสำรองคงเหลือประมาณ 160 ล้านบาท จากก่อนหน้าที่มีการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เงินสำรองมีประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งบอร์ดเป็นห่วงเรื่องสถานะการทางเงิน จึงได้มอบให้ รฟม.จัดเตรียมข้อมูลเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินชดเชยจากรัฐบาล เพื่อการรักษาสภาพคล่องทางการเงิน คาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบตามลำดับเร็วๆนี้ สำหรับปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วง ปัจจุบันมีประมาณ 40,000 เที่ยวคน/วัน จากเดิมก่อนการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 มีประมาณ 62,000 เที่ยวคน/วัน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีประมาณ 330,000 เที่ยวคน/วัน จากเดิมมีประมาณ 400,000 เที่ยวคน/วัน.


“บีทีเอส” จ่อฟ้องศาลปกครอง หลัง รฟม.ปรับเงื่อนไขประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
พฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2563 เวลา 08:02 น.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เปิดเผยว่า บริษัทได้ยื่นหนังสือร้องเรียนความไม่เป็นธรรมไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเตรียมฟ้องศาลปกครองเรียกร้องความเป็นธรรม กรณีที่ รฟม.ส่งหนังสือถึงเอกชน 10 รายที่ซื้อซองเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท แจ้งการขอปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน โดยนำคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคมาเป็นเกณฑ์ประเมินร่วมกับข้อเสนอด้านการเงิน และผลตอบแทนในสัดส่วน 30 : 70


โดยบริษัท มองว่า การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาภายหลังเปิดขายซอง หลังจากเจ้าของโครงการทราบแล้วว่ามีเอกชนรายใดซื้อซองแสดงความสนใจเข้าร่วมประมูล ถือว่าไม่เป็นธรรม อาจเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบได้ เนื่องจากได้ทราบคุณสมบัติของผู้สนใจแล้ว


“ระหว่างนี้ขอศึกษารายละเอียดก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะเรากังวลมาก และอยากให้ รฟม.กลับมาใช้หลักเกณฑ์เดิม ที่พิจารณาคัดเลือกจากซองราคา 100% เพราะหากนำคุณสมบัติทางเทคนิคมาพิจารณาด้วย อาจจะเป็นการใช้ดุลพินิจ แต่ยืนยันว่าบริษัทยังเข้าร่วมประมูลตามเดิม”

ส่วนความคืบหน้าการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบหลักการแล้ว อยู่ระหว่างขอความเห็นจาก รมว.คลังคนใหม่ ซึ่งจะเร่งกระบวนการปรับโครงสร้างราคาให้เป็นสูงสุดไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย แต่ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับการลงนามสัญญาสัมปทาน ส่วนการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงลาดพร้าว-คูคต ได้ภายในกลางเดือน ธ.ค.นี้

สำหรับภาพรวมรายได้ในปีนี้คาดลดลง 10% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น ยอดผู้ใช้บริการเริ่มกลับมาอยู่ที่ 80% หรือราว 7 แสนคน/วัน จากปกติมียอดผู้ใช้บริการ 8 แสนคน/วัน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2020 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

‘BTS’ ลุ้น ศาล สั่ง ล้มประมูล รถไฟฟ้า “สายสีส้ม”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 12:25 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ3611

ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มเดือด “บีทีเอส” ยื่นฟ้องศาลปกครอง แล้ว 17.ก.ย.หวังล้มกระดาน ยึดเกณฑ์ราคาเต็มร้อย รฟม.ยันเป็นสิทธิ บอร์ดสรรหาม.36-ไม่สนิทเอกชนรายใด

การปรับเกณฑ์ประมูลหรือเงื่อนไขทีโออาร์ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มูลค่า 1.4แสนล้านบาท ในส่วนการเดินรถทั้งระบบและงานโยธาช่วงสายสีส้มตะวันตกของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) หลังปิดขายเอกสารเอกชนร่วมลงทุน ส่งผลกระทบก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ การใช้ดุลยพินิจชี้ขาดให้กับรายใดรายหนึ่ง เนื่องจากทีโออาร์ใหม่ ระบุชัดว่า ผู้ที่ร่วมประมูลหลัก

ต้องมีคุณสมบัติ เคยผ่านการ ก่อสร้างระบบรางรถไฟแบบยึดพื้นผิว ไม่ใช่รางโรยกรวด และเคยก่อสร้างอุโมงค์ทั้งลอดแม่น้ำเจ้าพระยาและใต้ดินมาก่อน ซึ่งบีทีเอสกรุ๊ปและบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)ไม่เคยปรากฏว่ามีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน ต่างจากทีโออาร์เดิมที่ใช้ราคาเป็นเกณฑ์ หากชนะประมูลอาจหาพันธมิตรที่ชำนาญการมาร่วมงานได้ในภายหลัง เมื่อเป็นเช่นนี้ เท่ากับถูกปรับตกด้านเทคนิคตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 16 กันยายน บีทีเอส ได้ประกาศส่งทนายความยื่นฟ้องรฟม.ต่อศาลปกครอง เพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวและ หวังให้ศาลชี้ขาด ให้ใช้เกณฑ์ทีโออาร์เดิมแข่งขันประมูลสายสีส้มเพื่อความเป็นธรรม

แหล่งข่าวภายในสำนักงานศาลปกครอง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ช่วงเย็นของวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ทนายความ ของบีทีเอสได้ยื่นฟ้องศาล เพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยระบุสั้นๆว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจาก รฟม.แก้ไขเกณฑ์ทีโออาร์ใหม่ หลังจากปิดการขายซองส่อเจตนาใช้ดุลยพินิจและต้องการให้ศาลวินิจฉัยให้รฟม.ใช้หลักเกณฑ์ทีโออาร์เดิมคือ การใช้ราคาในการตัดสิน

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสซี) เปิดเผยว่า สำหรับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน(Request for Proposal Documents: RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) นั้น ขณะนี้รฟม.ได้ทำหนังสือแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์การ

พิจารณาฯไปยังผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอการเข้าร่วมลงทุนฯ ทั้ง 10 รายแล้ว โดยการปรับหลักเกณฑ์ในครั้งนี้จะนำคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิคมาเป็นเกณฑ์ประเมินร่วมกับข้อเสนอด้านการเงินและผลตอบแทนด้านเทคนิค 30% ด้านราคา 70% เบื้องต้นทาง บีทีเอส ได้ทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการการ (บอร์ด) รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แล้ว ทั้งนี้อยู่ระหว่างพิจารณายื่นร้องต่อศาลปกครอง ซึ่งต้องเดินหน้าไปตามขั้นตอน เรื่องกระบวนการศาลก็อยู่ในขั้นตอนพิจารณาเพื่อให้ยึดหลักเกณฑ์เดิมที่พิจารณาตัดสินด้านราคา 100%

“ในส่วนการปรับหลักเกณฑ์ในครั้งนี้เรามองว่าไม่เป็นธรรมเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เนื่องจากมีการประกาศขายซองประมูลแล้วแต่กลับมาเปลี่ยนหลักเกณฑ์ฯ หลังปิดการประกาศประกวดราคาที่ผ่านมาการประกวดราคาจะใช้หลักเกณฑ์เปิดซองทีละด้าน แต่ไม่ได้นำเรื่องราคาและเทคนิคมารวมกันแบบนี้ ส่วนการขยายเวลาออกไป 45 วัน เพื่อให้เอกชนทำข้อเสนอตามเงื่อนไขใหม่ เชื่อว่าสามารถดำเนินการได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้เรายืนยันจะเข้าร่วมประมูลโครงการฯเหมือนเดิม”

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการหาพันธมิตรเพื่อร่วมลงทุนโครงการฯ คงไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่อง จากมีการปิดการขายซองประมูลแล้ว เพราะขณะนี้ผู้ซื้อซองทั้ง 10 รายก็รู้แล้วและแต่ละรายก็มีความถนัดอย่างไร

รายงานข่าวจากรฟม.ย้ำว่า ปัจจุบันได้แจ้งผู้ซื้อเอกสารฯ มีเวลาทำข้อเสนอตามเงื่อนไขใหม่จึงขยายเวลาการยื่นซองออกไปจากเดิมอีก 45 วัน จากวันที่ 23 ก.ย. เป็นวันที่ 6 พ.ย. 63 ซึ่งการปรับปรุงหลักเกณฑ์ครั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 เพื่อให้ได้ผู้ร่วมลงทุนที่ดีที่สุด ทั้งนี้จากการตรวจสอบเบื้องต้นกับฝ่ายกฎหมายระบุว่าการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นสิทธิที่คณะกรรมการตามมาตรา 36 สามารถทำได้ตามกรอบอำนาจ ทั้งนี้หลังจากที่ รฟม. ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ซื้อเอกสารฯปรากฎว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ซื้อเอกสารฯ รายใดโต้แย้งเข้ามายัง รฟม.



ทั้งนี้กรณีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซีทำหนังสือคัดค้านการปรับปรุงหลักเกณฑ์มายัง รฟม.นั้น คณะกรรมการมาตรา 36กำลังหารือกับฝ่ายกฎหมายว่าตามระเบียบแล้วต้องทำหนังสือตอบกลับไปยังบีทีเอสซีอย่างเป็นทางการหรือไม่



อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาได้ชี้แจงอย่างไม่เป็นทางการกับบีทีเอสซีไปแล้วว่าการปรับปรุงเป็นไปตามระเบียบ และประกาศของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) รวมทั้งเป็นอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 36 ยืนยันว่าคณะกรรมการมาตรา36 และ รฟม. ไม่ได้สนิทและเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใดเป็นพิเศษและข้อเสนอด้านการเงินก็ยังคงเป็นตัวตัดสินหลัก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2020 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 13:44 น.
เก็บภาพมาฝากจ๊า #สถานีลำสาลี (OR20) งานเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นจำหน่ายตั๋ว (Concourse) โดยงานก่อสร้างสถานีลำสาลีนี้ มีความคืบหน้าไปแล้ว 57.21% สำหรับงานก่อสร้างสถานีลำสาลี มีความท้าทายในเชิงวิศวกรรม คือต้องก่อสร้างอยู่ใต้คลองโต๊ะยอ และสะพานยกระดับข้ามแยกลำสาลี ซึ่งปัจจุบันได้เปิดให้ใช้งานตามปกติในระหว่างที่มีการก่อสร้าง ดำเนินงานโดย สัญญาที่ 3 : ITD ช่วงหัวหมาก – คลองบ้านม้า ภาพและข้อมูลโดย ทีม ITD ณ เดือนกันยายน 2563
https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/950963885382963
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/09/2020 7:43 am    Post subject: Reply with quote

BEM มั่นใจคว้าสายสีส้ม 1.4 แสนล้าน
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

BEM มั่นใจคว้า สายสีส้ม 1.4แสนล้าน หลัง BTS ยื่นฟ้องศาล ปกครอง ขอคุ้มครองชั่วคราว ยันงานนี้ สู้หนักแน่

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ (รฟม.) กำหนดเกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนเทียน-มีนบุรี มูลค่า 1.4 แสนล้านระยะทาง 35.9กิโลเมตร ต้องนำเทคนิคพิจารณาร่วมกับราคา และขยับการยื่นซองร่วมลงทุนโครงการรัฐจากวันที่ 23 กันยายน เป็นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งการปรับปรุงหลักเกณฑ์ครั้งนี้ เป็นไปตามมติของคณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนพ.ศ.2562 ใช้เกณฑ์พิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค (สัดส่วน 30 คะแนน) และข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการเงิน (สัดส่วน 70 คะแนน) มาพิจารณารวมกัน

ล่าสุดได้ออกเอกสารแจ้งเพิ่มเติมให้เอกชนผู้ซื้อเอกสารประกวดราคาทั้ง 10 ราย รับทราบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกที่ปรับใหม่ ขณะบีทีเอสกรุ๊ป หนึ่งในผู้ยื่นประมูลได้ มอบทนาย ความยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อหวังให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว และยุติการประมูลเกณฑ์ใหม่หลังมองว่าไม่เป็นธรรมส่อไปในทางทุจริตและเอื้อต่อเอกชนรายใดรายหนึ่ง

ขณะคำชี้แจงของรฟม.ระบุชัดว่าสาเหตุที่ต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาใหม่ เพื่อให้ตรงกับประกาศคณะกรรมการนโยบายการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ที่กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์วิธีดำเนินการต่างๆ ในโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งจากที่ได้พิจารณาและตรวจสอบกับหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการ PPP ถึงหลักเกณฑ์การให้คะแนนซองข้อเสนอทางเทคนิครวมกับราคา แล้ว รฟม.ยืนยันว่า การพิจารณา โดยนำข้อเสนอด้านเทคนิคและราคาให้คะแนนประกอบการคัดเลือกจะเป็นประโยชน์กับโครงการมากที่สุดเนื่องจากรถไฟฟ้า สายสีส้มเป็นโครงการขนาดใหญ่โดยเฉพาะช่วงตะวันตกต้องขุดเจาะเป็นอุโมงค์ตลอดสายผ่านโบราณวัตถุโบราณสถานวัดวัง บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดจน ชุมชนใหญ่ จำเป็นต้อง ได้เอกชนที่มีความชำนาญสูง หากเอกชนรายใด ต้องการได้งาน ต้อง นำเทคนิคชั้นสูงที่ว่ามาสู้กัน

อย่างไรก็ตามการซื้อซอง ประมูลสายสีส้ม เป็นที่ทราบกันดีว่า คู่แข่งหลักในประเทศไทย มีเพียงเอกชน 2 รายเท่านั้นที่ให้บริการเดินระบบรถไฟฟ้า ได้แก่ บีทีเอสกรุ๊ป ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ของกรุงเทพมหานคร และบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงินของรฟม.ซึ่งมองว่า BEM มีความชำนาญมีประสบ การณ์งานอุโมงค์ใต้ดิน มาก่อน

ขณะเดียวกันยังมี บมจ. ช.การช่าง เป็นบริษัทแม่ เบอร์หนึ่งด้านการขุดเจาะอุโมงค์ มองว่า กลุ่มบริษัทนี้มีความมั่นใจสูง ที่จะคว้างาน หลังจากประกาศความมั่นใจ มาก่อนหน้านี้

ทั้งนี้แหล่งข่าวจาก BEM ยื่นยันว่าบริษัทเตรียมความพร้อม เพื่อยื่นซอง วันที่6 พฤศจิกายน โดยมั่นใจว่า จะคว้าประมูลสายสีส้ม ซึ่งประกอบด้วยงานโยธาช่วงสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) และ ระบบเดินรถ 30ปี ซึ่งสายสีส้ม เป็นเส้นทางใต้ดินเชื่อมต่อกับ MRT ใต้ดินสีน้ำเงิน บริเวณศูนย์วัฒนธรรม และ อีกหลายจุดสามารถส่งต่อ การเดินทางระหว่างกันได้สะดวก

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บีอีเอ็มระบุว่าบริษัทมีความพร้อมประมูลงานโยธาสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์วงเงิน กว่า 9 หมื่นล้านบาท และระบบเดินรถไฟฟ้า ตลอดสาย 30 ปี รูปแบบพีพีพี เน็ตคอสต์ โดยบริษัทหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารที่เจรจาไว้แล้ว ทั้งนี้หากชนะประมูล ต้องลงทุนก่อนและรัฐจ่ายคืนภายหลัง ซึ่ง BEM มั่นใจว่าน่าจะคว้าสัมปทานโครงการดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติม : คอลัมน์ข่าวห้ามเขียน : หน้า 20

------------

คอลัมน์ ห้ามเขียน: หมูจะหาม 'สายสีส้ม' ใครอย่าเอาคานมาสอด
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

พรานบุญ

กระจองงอง กระจองงอง เจ้าข้าเอ้ย!

22 กันยายน 2563 คดีใหญ่สะท้านปฐพีที่มีผลประโยชน์โพดผลเกิดขึ้นกับใครก็ไม่รู้ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท มีการยกขึ้นมาพิจารณาไต่สวนมูลฟ้องกันที่ศาลปกครอง

คดีนี้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ส่งทนายความมือดีจากบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่ ไปฟ้องศาลปกครองเรียกร้องความเป็นธรรม และฟ้องศาลขอคุ้มครองชั่วคราว กรณีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งเอกชน 10 รายที่ซื้อซองเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 1.4 แสนล้านบาทว่า ขอปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชนในทีโออาร์ โดยนำคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิค (ซอง 2) มาเป็นเกณฑ์ประเมินร่วมกับข้อเสนอด้านการเงิน และผลตอบแทน (ซอง3) ในสัดส่วน 30 : 70

BTSC ระบุว่า การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การพิจารณาภายหลังเปิดขายซอง หลังจากเจ้าของโครงการทราบแล้วว่า มีเอกชนรายใดซื้อซองแสดงความสนใจเข้าร่วมประมูล ถือว่า ไม่เป็นธรรม อาจเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบได้ เนื่องจากได้ทราบคุณสมบัติของผู้สนใจร่วมประมูลแล้ว

ปรากฏว่าทาง รฟม.แจ้งขอเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องออกไปก่อน โดยแจ้งต่อศาลปกครองว่า ยังได้รับเอกสารชี้แจงไม่ครบถ้วน
ศาลปกครองจึงเลื่อนการพิจารณาการไต่สวนมูลฟ้อง และพารพิจารณาตัดสินคุ้มครองชั่วคราวออกไปก่อน.แต่กระจิบกระจาบ พิราบตัวน้อย ส่งเสียงซุบซิบกันออกมาว่า ไม่ช้าไม่นานคดีนี้จบ..แต่จะออกหัวออกก้อยเท่านั้นแหละ

นกกระจิบซุบซิบว่า การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท ถือว่ามีความไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง เพราะดันมีมือที่มองไม่เห็นมาล้วงตับ หาเงินก้อนโตไปใช้ในทางการเมือง
อย่าให้แซ่ดเชียวพ่อพรานฯว่า จำนวนของผลประโยชน์โพดผลที่ตกหล่นรายทางจะก้อนโตสักเท่าใด.เพราะไม่มีใครจินตนาการได้ แต่ผู้รับเหมาเขาพูดกันว่าเป็นหมื่น

แต่หากพิจารณาร่องรอยจากการประชุมของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุนฯ 2562 รวม 8 คน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 เวลา 9.00 น.นั้นปรากฏให้เห็น "ร่องรอยประหลาดพิกล" ให้คนไทยได้ตาสว่างกันประเด็นแรก มติการปรับเปลี่ยนการพิจารณาคัดเลือกโดยนำซองเทคนิคมาให้คะแนน 30:70 นั้น "เป็นมติไม่เอกฉันท์"

ประเด็นที่สอง พิลึกพิลั่นกว่านั้น ในการประชุมวันนั้น ปรากฏว่า "ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ" ผู้ว่าการ รฟม.เข้าประชุมชี้แจงเหตุและผลที่ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการประมูลในโครงการนี้ด้วยตัวเอง และเป็นผู้นำการประชุมคณะกรรมการ มาตรา 36 แทนที่ "กิตติกร ตันเปาว์" ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม.(รักษาการ รองผู้ว่า รฟม.ด้านวิศวกรรมและการก่อสร้าง) ที่เป็นลูกน้องและเป็นประธานคณะกรรมการ มาตรา 36

นกกระจิบ นกกระจาบ บอกว่า การประชุมวันนั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการ ที่ตอนนี้ขยับจากรักษาการ ขึ้นมาเป็น "รองผู้ว่าการ" เรียบร้อยโรงเรียน รฟม. กะ "กาจผจญ อุดมธรรมภักดี" ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า รฟม.ที่เป็นกรรมการและเลขานุการ มิต้องเอ่ยปาก.555

ประเด็นต่อมา นานๆทีจะเกิดปรากฏการณ์แบบนี้คือ "กนกรัตน์ ขุนทอง" ผู้อำนวยการกองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 4 ที่เป็นผู้แทนสำนักงบประมาณ ในคณะกรรมการ มาตรา 36 คัดค้านในที่ประชุม ซึ่งปกติแล้วพอสำนักงบฯ คัดค้านเรื่องจะตกไปแต่ครานี้ไม่ตก.มีคนดันหลังให้เดินหน้า

ประเด็นต่อไป ตอนที่มีการทำมาร์เก็ต ซาวดิ้ง โครงการนี้ มีเอกชนเสนอให้นำข้อเสนอทางเทคนิคมาให้คะแนนแล้ว แต่ฝ่ายบริหารของ รฟม.ไม่นำมาเขียนไว้เป็นเงื่อนไขในทีโออาร์ แต่กลับมาปรับเปลี่ยนภายหลังได้รายชื่อเอกชนที่ซื้อซองประกวดราคาไป 10 ราย

ประเด็นประหลาดที่พิศดารพันลึกกว่านั้นคือ ในเงื่อนไขทีโอการ์รถไฟฟ้าสายสีส้มใหม่ มีการกำหนดสัดส่วนการให้คะแนนการปรกวดราคาซองที่ 2 และซองที่ 3 ในสัดส่วน 30:70 อันพิลึกกึกกือกว่าที่ใครจะคาดคิด แต่ว่าดันมี "อาจารย์ใหญ่"คิดออกได้.

กล่าวคือในซองราคาหรือข้อเสนอทางด้านการเงินและผลตอบแทนที่ให้คะแนนในสัดส่วน 70 นั้น ดั๊นมีการกำหนดแบบซ่อนเงื่อนไว้อีกว่า ให้แบ่งเป็น 60+10 มึนละซิพี่น้อง

มานี่พรานฯ จะพาไปดูวิธีอันพิศดารพันลึกที่อาจารย์ใหญ่คิดไว้.สัดส่วน 60 จะให้กับเอกชนผู้ประมูลที่ให้ราคากับรัฐที่ดีที่สุด หรือคิดจากรัฐต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาจากราคาปัจจุบัน หรือ NPV

อีก 10 ที่กันไว้เป็นสัดส่วนพิเศษนั้น จะพิจารณาจากความเหมาะสม ความสมเหตุ สมผลของราคา โดยอิงจากราคากลางที่เป็นผลการศึกษาด้านราคาของ รฟม..

แปลไทยเป็นเทศ เทศเป็นไทยว่า คนที่เสนอผลตอบแทนที่คิดจากรัฐดีที่สุด ต่ำที่สุด อาจไม่ได้รับการพิจารณาในสัดส่วนของคะแนน 10 คะแนนนี้ เพราะอาจมีคนอุตริใช้ดุลพินิจว่า ราคาที่เสนอผลตอบแทนให้รัฐดีที่สุด ขอเรียกเงินจากรัฐต่ำที่สุดนั้น "อาจเสี่ยงเกินไป" เมื่อพิจารณาจากความสมเหตุผลของราคา.555 พิลึกมั้ยขอรับนายท่าน

ปกติแล้วในการประมูลเพื่อหาเอกชนมาลงทุน PPP Net Cost และติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดสายนั้นเขาพิจารณากันเป็น "ปกติวิถี" แบบนี้ 1.พิจารณาซองคุณสมบัติ ที่ดูจากเงินทุน ประสบการณ์ของผู้ประมูล หากผ่านซองคุณสมบัติก็ไปดูซองทางเทคนิคที่ดูว่าแต่ละรายนั้นมีเทคนิกในการทำงานอย่างไร ผู้ที่ผ่านคุฯสมบัตินยี้จะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 75-80 คะแนนจึงผ่านได้ จากนั้นจึงไปเปิดซอง 3 ที่เป็นข้อเสนอทางราคา

การเปิดซองราคาจะดูกัน 2 ด้าน ด้านแรกคือ ผู้ประมูลเสนอขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ตั้งแต่ปี 1-30 ปี ด้านที่สองจะดูว่า ผู้ประมูลเสนอสัดส่วยการแบ่งรายได้ให้รัฐตั้งแต่ปี ที่1-30 ปี จำนวนเท่าไหร่ จากนั้นก็ทอนกลับมาเป็นการคิดราคา ณ ปัจจุบัน หรือ NPV แต่เงื่อนไขใหม่นี้จะมีกาเรปิดซอง 2-3 พร้อมกัน และสุ่มเสี่ยงในเรื่องการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการคัดเลือกอย่างมากๆเชียวแหละพี่น้องเอ๋ย

ประเด็นต่อมา ในการประมูลรอบนี้ มีผู้ประมูลที่เข้าข่ายผ่านคุณสมบัติทางเทคนิกในการก่อสร้างรถไฟฟ้า อุโมงค์ รถไฟใต้ดินจริงๆแค่ 3 รายเท่านั้น ส่วนที่เหลือคือพันธมิตรกัน ผู้ที่เข้าข่ายผ่านคุณสมบัติจริงๆคือ 1.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีการจับกลุ่มกันชัดเจนว่า ใครคู่กับใครอยู่แล้ว

ร้ายกว่านั้น แทบไม่น่าเชื่อ เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ตามมาตรา 36 ลงมติเสร็จว่าจะใช้วิธีนี้ในการประมูลโครงการสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.4 แสนล้านบาท ที่ผ่าใจกลางเมือง มีทั้งโครงสร้างใต้ดิน บนดิน ทางยกระดับ มีแนวเส้นทางเชื่อมการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ของกรุงเทพมหานคร ก็นำมตินี้ไปบรรจุในที่ประชุมคณะกรรมการของ รฟม.ที่มี สราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เป็นประธาน

แอ่นแอ๊น..คณะกรรมการหรือบอร์ด รฟม.ไม่รับพิจารณาในเรื่องนี้ โดยแจ้งว่า ไม่ใช่หน้าทีของบอร์ดในการกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขในทีโออาร์ของการประมูล.555

สนุกสนาน เบิกบานฤทัยขาใหญ่อย่างยิ่ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 34, 35, 36 ... 89, 90, 91  Next
Page 35 of 91

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©