RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181433
ทั้งหมด:13492671
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 222, 223, 224 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2020 1:57 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
“สุรเชษฐ์” ลุยแก้ปมร้อนถก ม.เกษตรฯ เคลียร์แบบ N1 - เร่งจัดทัพตั้ง 3 รองผู้ว่าฯ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 3 สิงหาคม 2563 - 14:07



ม.เกษตรฯ ไม่ตอบรับ “โดมครอบทางด่วน”-กทพ.เร่งผ่าทางตันด่วน N1 หวั่นกระทบ TFF
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หน้า คมนาคม-ขนส่ง
เผยแพร่: 7 กันยายน 2563 เวลา 07:26




“ด่วนขั้น 3” ส่อล่ม! ม.เกษตร กลับลำ เตะถ่วงเจรจา
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
10 Sep 2020 13:45 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า7
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3608


"ม.เกษตร "ส่อ กลับลำ ยืดเวลาสรุปแนวเส้น ทาง “ด่วนขั้น 3” หลัง" กทพ." ชงแนวคิดผุดโดมครอบอุโมงค์ ลั่นได้ข้อสรุปภาย 2-3 เดือน จ่อชงครม.ไฟเขียวช่วงทดแทน N2

การก่อสร้างโครงการ ทางพิเศษหรือทางด่วนขั้นที่3 สายเหนือ ตอนN1 อาจสะดุดลงได้ หาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่เห็นด้วยกับ แนวคิด ของ ทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) ลงทุนสร้างหลังคาโดมครอบทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ระบบป้องกันในการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ตามข้อ ตกลงที่ให้ไว้ระหว่างกัน เพื่อลดผลกระทบทางอากาศและเสียง หลังการประชุมล่าสุด มหาวิทยาลัยเกษตรขอนำข้อเสนอกลับไปพิจารณาอีกครั้ง

แหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เชิญมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ร่วมหารือหลังจากพบว่ามีความเห็นบางเรื่องที่ไม่ตรงกัน เบื้องต้นทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รับทราบข้อมูลถึงแนวทางที่กทพ.ได้ชี้แจงรายละเอียดในส่วนที่ม.เกษตรฯ มีความกังวลปัญหาในด้านมลพิษทางอากาศและทางเสียง รวมทั้งแนวคิดการสร้างหลังคาโดมครอบทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ทั้งนี้ม.เกษตรฯ ขอเวลาศึกษารวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน หลังจากนั้นจะแจ้งข้อมูลตอบกลับอย่างเป็นทางการกับกทพ.อีกครั้ง ซึ่งจะดำเนินการตอบกลับมาให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้คาดว่าการเจรจากับม.เกษตรฯ ถึงโครงการดังกล่าวจะได้ข้อสรุปภายใน 2-3 เดือน (กันยายน-พฤศจิกายน 2563) ส่วนแนวเส้นทางของโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วงทดแทน N 1 จะเป็นอย่างไรนั้น ทุกอย่างต้องรอข้อมูลจากม.เกษตรฯ แจ้งกลับมาอีกครั้ง หากโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วงทดแทน N1 ได้ข้อยุติ จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบดำเนินการก่อสร้างโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วงทดแทน N 2 เนื่องจากมีการออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้ว หลังจากนั้นจะดำเนินการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป


“แนวเส้นทางโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 นั้นจะใช้บริเวณใดบ้าง ยังตอบไม่ได้ เนื่องจากต้องรอความชัดเจนจากม.เกษตรศาสตร์ ก่อนว่าสามารถใช้เส้นทางไหนได้บ้าง หากโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วงทดแทน N1ได้ข้อสรุปจากม.เกษตรฯ เราจะเริ่มออกแบบรายละเอียด เบื้องต้นจะใช้แนวเส้นทางเดียวกันกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (ช่วงแคราย-ลำสาลี) คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างช่วงทดแทน N 1 ภายในต้นปี 2565
ส่วนการเปิดประมูลโครงการฯ ขึ้นอยู่กับการเจรจากับม.เกษตรฯ เช่นเดียวกัน เนื่องจากนโยบายคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ต้องการให้ดำเนินการโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วงทดแทน N1และN2 ก่อสร้างควบคู่กัน”



อย่างไรก็ตาม หากสามารถดำเนินการโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วงทดแทน N1 ได้ จะช่วยลดการจราจรติดขัด เนื่องจากทางด่วนเส้นทางนี้เป็นเส้นทางช่วง East-West Corridor ที่เชื่อมต่อทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอก หากเชื่อมต่อระหว่างกันได้ จะช่วยให้ประชาชนไม่จำเป็นต้องใช้ทางด่วนบริเวณหมอชิต-วิภาวดี ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการจราจรดีขึ้น ขณะเดียวกันประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเส้นทางสายเหนือสามารถเดินทางสะดวกมากขึ้น โดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางไม่ถึงชั่วโมง


สำหรับเงินลงทุนก่อสร้างทางด่วน 3 ช่วงทดแทน N2 ประมาณ 17,000 ล้านบาท ได้จากกองทุน คาดว่าปริมาณจราจรประมาณ 80,000 เที่ยวต่อวัน ส่วนค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ประมาณ 1,500 ล้านบาท ทั้งนี้ การเปิดประกวดราคาจะทำพร้อมกัน โดยแยกเนื้องาน 2 ส่วน กทพ.จะรับผิดชอบก่อสร้างฐานรากและเสาตอม่อรถไฟฟ้าเท่านั้น ที่เหลือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทสไทย (รฟม.) จะให้เอกชนดำเนินการในรูปแบบการลงทุน PPP

สำหรับโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ระยะทาง 11.3 กิโลเมตร เริ่มต้นโครงการบริเวณ กม.1+000 ของถนนประเสริฐมนูกิจ ยกระดับตามแนวตอม่อที่ก่อสร้างไว้แล้วบนเกาะกลางของถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านถนนประดิษฐ์มนูธรรม ทางพิเศษฉลองรัช ถนนนวมินทร์ ระยะทาง 8.1 กิโลเมตร จากนั้นจะเบี่ยงไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ จนไปสิ้นสุดโครงการ โดยเชื่อมต่อกับถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ระยะทาง 3.2 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2020 12:41 pm    Post subject: Reply with quote

หนุน 3 เทศบาลใน จ.ปทุมธานีบูรณาการร่วมรถไฟฟ้าเชื่อมรังสิต-คลอง 8
Thaimotnews
13 กันยายน 2563 เวลา 13:06 น.

“ปทุมธานี-รังสิต” เร่งเตรียมพร้อมรับเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง “สถานีรังสิต” เทศบาลนครรังสิตเร่งบูรณาการร่วมเชื่อมโครงการข่ายการเดินทางรับแผนพัฒนาเมือง ล่าสุดสั่งตั้งคณะกรรมการกฎบัตรรังสิตเดินหน้าขับเคลื่อนแผนปี 64-65 พร้อมได้แรงหนุนเดินหน้าแผนพัฒนาขนส่งระบบรางจากอนุกมธ.ระบบราง ส.ส. เร่งผลักดันให้มทร.ธัญบุรี ผลิตรถไฟฟ้าฝีมือคนไทยเชื่อมถึงรังสิต
นายธีรวุฒิ กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรีนครรังสิต จ.ปทุมธานี เปิดเผยว่า ได้ตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานขับเคลื่อนกฎบัตรนครรังสิตเพื่อกำหนดออกแบบทิศทางการพัฒนาเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี การท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐานให้เป็นระบบตั้งแต่กระบวนการระดมความคิดจนเป็นการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ตั้งแต่บัดนี้และปี 2564-2565
“ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงผังเมืองจ.ปทุมธานีควบคู่กับการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่รังสิตเฟสแรกต้องการให้เชื่อมจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงถึงฟิวเจอร์ปาร์ครังสิตก่อนขยายไปตามแนวถนนรังสิต-นครนายกต่อไป และทราบว่ามทร.ธัญบุรีอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันรถไฟฟ้าเชื่อมมาถึงสถานีรังสิตด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องบูรณาการรวมกับหน่วยงานเทศบาลตามแนวเส้นทางคือ เทศบาลนครนครรังสิต เทศบาลเมืองบึงยี่โถ และเทศบาลเมืองธัญบุรีเพื่อขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว”
นอกจากการพัฒนาระบบคมนาคมทางบกแล้วเทศบาลยังต้องสำรวจอีกว่ามีเรือประเภทใดอีกบ้างที่ให้บริการในคลองรังสิตเพื่อจะเร่งผลักดันส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงกันต่อไป พร้อมกับขออนุญาตใช้ที่ดินราชพัสดุซึ่งเป็นที่ทำการวิทยุการบินเดิมเพื่อสร้างศูนย์ไอซีที
“เคยมีการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) พัฒนาแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเสนอให้อบจ.จ.ปทุมธานีรับไปดำเนินการแต่ติดขั้นตอนตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯฉบับใหม่ยังไม่ประกาศใช้ ขณะนี้จะต้องใช้งบเพื่อการศึกษาออกแบบประมาณ 5 ล้านบาทโดยผ่านพื้นที่เอกชนของตระกูลหวั่งหลีและ 3 อปท. เชื่อมไปถึงมทร.ธัญบุรี คลอง 6 ที่สามารถใช้พื้นที่ตั้งสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุงได้ราว 400 ไร่อีกทั้งยังมีประกาศโปรดเกล้าฯตั้งสวนสัตว์ปทุมธานี แต่ยังต้องหารือร่วมกับกรมทางหลวงและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)ที่มีแผนพัฒนาถนนยกระดับสาย 305 (รังสิต-นครนายก) ต่อมามอบให้กทพ.พัฒนาเป็นทางด่วนแทนว่าประชาชนจะต้องการโครงการรูปแบบใดใช้พื้นที่ใด”
นายพฤทธิพงษ์ ธาราพิมาณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทางราง บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.ศูนย์รังสิต) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ตลอดจนมีผลงานการขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองที่จะนำมาเป็นต้นแบบการพัฒนาในอีกหลายเส้นทางได้นั้น
ทั้งนี้ได้เคยมีการสำรวจปริมาณการใช้รถใช้ถนนในเส้นทางที่เกี่ยวข้องเอาไว้แล้วโดยอ้างอิงกับรถไฟฟ้าสายสีแดง เคยมีแผนพัฒนาระบบรองในเส้นทางมธ.ศูนย์รังสิต ระยะทางประมาณ 2.5 กม. จากสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมกับต้องการสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ จึงต้องบูรณาการร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยมีทีมคณะกรรมการกฎบัตรแห่งชาติเป็นศูนย์กลาง
“ดังนั้นจากผลการศึกษาแผนการพัฒนาระบบรางในพื้นที่รังสิตพบว่าจะมีการขยายแนวเส้นทางโครงข่ายออกไปอีกหลายเส้นทาง โดยมีปริมาณรถยนต์ใช้เส้นทางในพื้นที่ประมาณ 6.5 หมื่นคันต่อวัน เมื่อเทียบกับพื้นที่มธ.ที่มีกว่า 4.8 หมื่นคันต่อวันจึงเหมาะที่จะพัฒนาระบบฟีดเดอร์เชื่อมโยงในพื้นที่ รูปแบบที่เหมาะสมคือระบบล้อยางเช่นเดียวกับสายสีทองที่เขตคลองสาน ของกรุงเทพมหานคร โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยมีส่วนร่วมการพัฒนาทั้งหมด นำร่องจากสถานีรถไฟสายสีแดงที่สถานีรังสิตมาถึงฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม”
ด้านนายประทวน สุทธิอำนวยเดช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เขต 1 ลพบุรี) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง ในคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวในโอกาสได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมงานด้านวิศวกรรมระบบรางของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(มทร.ธัญบุรี) ไปเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่าจะต้องเร่งสนับสนุนให้มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาบุคลากรเช่นเดียวกับการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม
ทั้งนี้จากการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแล้วเห็นว่าน่าจะสนับสนุนให้ มทร.ธัญบุรี บูรณาการร่วมกับเทศบาลนครรังสิต เทศบาลเมืองบึงยี่โถ และเทศบาลเมืองธัญบุรี ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต และผู้ประกอบการไทยผลิตรถไฟฟ้าเพื่อนำไปทดลองใช้ในเส้นทางรถไฟเชื่อมจากสถานีรังสิตของรถไฟฟ้าสายสีแดง ผ่านฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต วิ่งไปตามถนนรังสิต-นครนายก แล้วไปสิ้นสุดที่ มทร.ธัญบุรี คลอง 6 หรือคลอง 8 หรือสวนสัตว์ปทุมธานีซึ่งในอนาคตสามารถขยายแนวเส้นทางไปถึงจังหวัดนครนายกได้อีกด้วย
“จะเสนอให้รัฐบาลเห็นว่า มทร.ธัญบุรี ขอเชื่อมรถไฟฟ้าจากสถานีรังสิตไปยัง มทร.ธัญบุรี โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กับ มทร.ธัญบุรี ร่วมดำเนินการ พร้อมดึงภาคเอกชนที่มีความชำนาญเข้ามาบูรณาการร่วมกันกับ 3 เทศบาลตามแนวเส้นทางเนื่องจากต้องการให้มีการขับเคลื่อนระบบรางไม่ให้เสียดุลการค้าแก่ต่างประเทศ แม้จะเริ่มขับเคลื่อนโครงการมาตั้งแต่ปี 2558 แต่ยังล่าช้าแบบค่อยเป็นค่อยไป หลายเส้นทางมีการใช้รถไฟฟ้าแต่ไทยยังต้องซื้อมาจากต่างประเทศ จึงเห็นว่าไทยน่าจะสามารถผลิตอุปกรณ์บางชิ้นบางอันได้ หรือหากสามารถผลิตขบวนรถได้ ก็น่าจะเร่งดำเนินการ โดยรัฐควรให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ทั้งเงินทุน ดอกเบี้ย และอื่นๆที่สามารถช่วยเหลือได้ อาทิ สิทธิพิเศษต่างๆ เป็นต้น”
นอกจากนั้นการประชุมคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง ในคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและวิธีการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งระบบราง ให้เกิดความเป็นธรรม สนับสนุนการผลิตและแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนส่งระบบรางภายในประเทศ (Local Content)" เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 ณ อาคารรัฐสภา กรุงเทพฯ
มติที่ประชุมมอบหมายให้ทาง มทร.ธัญบุรี ดังนี้ 1.พิจารณาปรับปรุง/แก้ไข/เพิ่มเติม (ร่าง) รายงานในส่วนของรายละเอียด/การดำเนินการในส่วนการพัฒนาบุคลากรของประเทศ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง 2.การศึกษาความเป็นไปได้โครงการระบบราง APM สายเลียบคลองรังสิตกับ ส.ส.พิษณุ พลธี และนายก อบจ.ปทุมธานี 3.เตรียมการจัดเสวนาเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมระบบราง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) ร่วมกับกระทรวงคมนาคม สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย เป็นต้น
ด้าน ผศ.ดร.กุณฑล ทองศรี ที่ปรึกษาประจำคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมระบบราง ในคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฏร กล่าวว่าได้เคยมีการศึกษาโครงการการศึกษาความเป็นไปได้รถไฟฟ้าเลียบคลองรังสิต (เชื่อมต่อสายสีแดง-ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต-มทร.ธัญบุรี-เทคโนธานี-คลองแปด) แล้วพร้อมกับทราบว่ามีการศึกษาก่อสร้างทางยกระดับไปตามถนนรังสิต-นครนายก ของกรมทางหลวงไว้ด้วย ต่อมาทราบว่าได้โอนเรื่องให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการจึงน่าจะมีการร่วมบูรณาการขับเคลื่อนโครงการเหล่านี้เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน
“เทศบาลนครรังสิต นำร่องการศึกษาหลังจากนี้คงจะมีการบูรณาการร่วมเทศบาลเมืองบึงยี่โถ เทศบาลเมืองธัญบุรี และ มทร.ธัญบุรี ให้เกิดการพัฒนารถไฟฟ้าเลียบคลองรังสิตไปสิ้นสุดที่ราชมงคลคลอง 6 หรือคลอง 8 ตามผลการศึกษาไว้แล้วต่อไป”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2020 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

บูมกรุงเทพฯโซนเหนือปั้น “ศูนย์เศรษฐกิจรังสิต” เชื่อมรถ ราง เรือ
Thaimotnews
11 กันยายน 2563 เวลา 16:07 น.

วันนี้ (11 กันยายน 2563) ณ ห้องประชุมเทศบาลนครรังสิต จัดให้มีการประชุมเตรียมการดำเนินการกฎบัตรรังสิต โดยมีนายธีรวุฒิ กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรีนครรังสิต เป็นประธานโดยได้รับเกียรติจากนายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ รักษาการประธานกฎบัตรแห่งชาติ นายพฤทธิพงษ์ ธาราพิมาณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทางราง บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด นายสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ประธานสภาเทศบาลนครสวรรค์ และนายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย และกรรมการและเลขานุการกฎบัตรแห่งชาติ ร่วมเสวนาในวาระสำคัญเรื่องการอบรมยกระดับสมรรถนะตามมาตรฐานกฎบัตร เรื่องการพัฒนา “ย่านอัจฉริยะนครรังสิต” เรื่องการพัฒนาการเชื่อมต่อคมนาคมขนส่งนครรังสิต (ท่าเรือ-สถานีรถไฟสายสีแดง-ศูนย์การเดินรถเมล์-ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ปาร์ค) และเรื่องการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนเมือง-ที่อยู่อาศัย

โดยนายธีรวุฒิ กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรีนครรังสิต กล่าวว่า เคยมีการตรวจสอบช่วงวิกฤติโควิด-19 พบว่ามีผู้ประกอบการรถบริการสาธารณะ รถตู้ในพื้นที่กว่า 1,500 คัน อีกทั้งยังพบอีกว่าเคยมีการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ต่อการพัฒนาระบบรางของปทุมธานีสำหรับโซนรังสิตนี้โดยมีหลายเส้นทางนำเสนอ พร้อมกับนำเสนอให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) รับไปดำเนินการ แต่ขณะนั้นพบว่าพ.ร.บ.ร่วมลงทุนปี 2562 ยังไม่ประกาศใช้ ปัจจุบันพ.ร.บ.ร่วมลงทุนพีพีพีประกาศใช้แล้วจึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการนำมาพัฒนาโครงการดังกล่าว
โดยได้คัดเลือกมา 1 เส้นทางเป็นการนำร่องคือ สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต -ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ปาร์ค-มทร.ธัญบุรี ที่เห็นว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุด พบว่าผ่าน 3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ 1 เอกชนรายใหญ่ โดยต้องการให้เชื่อมไปถึงสวนสัตว์ปทุมธานี เพื่อศึกษาความเป็นไปได้โดยนำเสนอผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งทางราชการ ปัจจุบันจึงยังรอการขับเคลื่อนของผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่ เช่นเดียวกับเรื่องการเดินเรือในคลองรังสิต มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับวิธีการ ใช้เรือไม่เหมาะสมกับระดับน้ำในคลอง คลื่นแรงส่งผลกระทบกับเรือขนาดเล็กที่ใช้คลองร่วมกัน ท่าเรือจ้างไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมใช้ระบบขนส่งมวลชน จึงพบว่าท่าเรือยังไม่สามารถใช้ท่าเรือได้มาจนตราบทุกวันนี้ และกรณีดังกล่าวต้องได้รับการเห็นชอบจากกรมเจ้าท่าก่อน หากจะมีการเดินเรือเพื่อการพาณิชย์เกิดขึ้น ปัจจุบันเทศบาลนครรังสิตยังถูกบังคับให้รับท่าเรือดังกล่าวไว้ในการดูแล

“ดังนั้นหากจะขับเคลื่อนต่อไปจึงต้องบูรณาร่วมกัน ประการสำคัญผังเมืองนครรังสิตที่ไม่มีการปรับปรุงมานานถึง 15 ปีแล้วนั้นยังต้องปรับให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ดังนั้นกว่า 1 ปีที่ผ่านมาจึงอยู่ระหว่างการปรับปรุงผังเมืองเพื่อให้ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองด้านต่างๆได้อย่างไม่มีปัญหา โดยมองเห็นว่าแนวทางของกฎบัตรน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางออกต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆจึงขยายแนวคิดออกไปสู่ประชาชนในพื้นที่ให้เข้าใจเพื่อจะได้มาร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป”
นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย กล่าวว่า ศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางของรังสิตจะตั้งอยู่ที่ใดที่สามารถรองรับความเจริญของรถไฟฟ้าสายสีแดง ตัวชี้วัดอีกประการคือ ในบริเวณเมืองรังสิตจะมีงบประมาณภาษีกว่า 2,000 ล้านบาท อีกทั้งบริเวณโดยรอบมีมหาวิทยาลัยจำนวนหลายแห่งจึงอุดมไปด้วยองค์ความรู้มากมายน่าจะนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ จึงน่าจะใช้ประโยชน์จากระบบเชื่อมต่อให้เกิดประสิทธิภาพให้มากที่สุด ซึ่งแวดวงกฎบัตรแห่งชาติจะนำเรื่องเหล่านี้เข้ามาหารือร่วมกัน โดยปี 2564 จะเร่งขับเคลื่อนกฎบัตรคมนาคมขนส่งสีเขียวที่รังสิตต่อไป
นายพฤทธิพงษ์ ธาราพิมาณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทางราง บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า เน้นสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศโดยส่งเสริมผู้ประกอบการไทย ขณะนี้มีกลุ่มบริษัทสกุลฎ์ซีแสดงความสนใจเข้ามาร่วมพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าในนครรังสิตนี้ด้วย เช่นเดียวกับเส้นทางนครสวรรค์-สุพรรณบุรี หรือเส้นทางสุพรรณบุรี-หนองปลาดุก
“ระบบฟีดเดอร์ไลน์ขนาดเล็กเหมาะที่จะนำมานำร่องการพัฒนาเป็นเฟสต่อเนื่องกันไป ลงทุนน้อยแต่ประสิทธิภาพดีกว่า ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิตมีแผนการพัฒนารองรับไว้แล้วเพื่อเชื่อมสายสีแดง ณ สถานีม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กับพื้นที่สำคัญๆในพื้นที่ เช่นเดียวกับสายสีแดง ณ สถานีรังสิตเชื่อมมายังศูนย์การค้าฟิวเจอร์ปาร์ครังสิตที่น่าจะนำเทคโนโลยีรถไฟฟ้าสายสีทองมาประยุกต์ใช้ด้วยกันได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 16/09/2020 10:41 am    Post subject: Reply with quote

ย้ำก่อสร้างแนวรถไฟฟ้าไม่ให้น้ำท่วม/รถติด
วันพุธ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 06.00 น.





พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ได้สั่งการหน่วยงานเกี่ยวข้องดูแลแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง ทั้งเรื่องของการจราจรและปัญหาด้านการระบายน้ำ โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกหนักปริมาณมากจนบางจุดเกิดน้ำท่วมขังผิวการจราจร ไม่เฉพาะถนนแนวเส้นทางโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ ยังรวมไปถึงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่มากมายในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งได้กำชับทั้งสำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ และสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ให้ตรวจสอบจุดใดเกิดปัญหาให้เร่งประสานโครงการก่อสร้างแก้ไขเพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จากน้ำท่วมขังเมื่อฝนตกที่จะส่งผลกระทบการจราจรติดขัด

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่เปิดให้บริการถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ บริเวณวงเวียนหลักสี่นั้น การก่อสร้างโดยรวมน่าจะเสร็จแล้วอยู่ระหว่างจัดการระบบเดินรถ รวมถึงเรื่องค่าโดยสาร ซึ่งสถานีที่เหลือจะเปิดพร้อมกันทั้งหมดในปี 2563


ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างต่างๆในพื้นที่กรุงเทพฯ นอกจากรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีชมพู สายสีส้ม สายสีเหลือง สายสีแดง สายสีทอง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ ยังมีโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค โครงการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน โครงการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ โดยกรุงเทพมหานครมีคณะกรรมการร่วมหน่วยงานเกี่ยวข้องดูแลแก้ไขปัญหามีสำนักการโยธาเป็นหน่วยงานหลักในการประสานแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ทั้งกับหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอก อาทิ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ดูแลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีเขียว สายสีชมพู สายสีส้ม และสายสีเหลือง การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ดูแลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง กรุงเทพมหานครโดยบริษัทกรุงเทพธนาคม (เคที) ดูแลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายทอง กรมทางหลวงชนบทที่ดูแลถนนเชื่อมต่อกับพื้นที่กรุงเทพฯ การประปานครหลวง และการไฟฟ้านครหลวง ที่มีโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นต้น

สำนักการระบายน้ำรายงานว่า ที่ผ่านมาพบปัญหาระบบระบายน้ำในแนวเส้นทางโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสายในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งได้มีการแก้ไขไปแล้วบางจุด เช่น บริเวณแยกเกษตรแนวก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งนี้ ยังคงต้องเฝ้าระวังทุกแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าเพราะอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ โดยประสานหน่วยงานรับผิดชอบตลอดจนโครงการฯ คอยตรวจสอบดูแลไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 16/09/2020 11:54 am    Post subject: Reply with quote


มาอัพเดท! ความก้าวหน้าโครงการรถไฟฟ้าทั้งในกรุงเทพฯ และในระดับภูมิภาคของ รฟม.กันค่ะ
(ข้อมูล ณ มิถุนายน 2563)
https://www.youtube.com/watch?v=5CpGs6n5D7k
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2609135992636452
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 16/09/2020 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

เช็กที่นี่!!อัพเดทรถไฟฟ้า 5 สี กลาง ธ.ค.นี้ เปิดถึงคูคต
*”บีทีเอส”จ่อฟ้องศาลปกครองสีส้มไม่เป็นธรรม
*เลื่อนเปิดสีทองจาก ต.ค.เป็นสิ้นปีนี้ 3 สถานี
*ลุ้นเหลืองต่อขยายเคลียร์ไม่จบอาจไม่สร้าง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2710698882484946
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2020 5:49 pm    Post subject: Reply with quote

เทคโนลาดกระบังร่วมกับ BTSC ทำ Tram Bus ป้อนสถานีรถไฟฟ้า Airport Link ลาดกระบัง
https://www.facebook.com/metroreportint/photos/a.1465278137106001/2471488566484948/
https://www.railwaygazette.com/news/urban-transport-industry-news-round-up/57357.article
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2020 3:08 am    Post subject: Reply with quote

เลื่อนระนาว! รถไฟฟ้า สารพัดสี
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 13:04 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า7
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ3611


เลื่อนระนาว! รถไฟฟ้า สารพัดสี เปิดเดินรถ ล่าช้าจากแผน สายสีทอง จากตุลาคมไปธันวาคม สายสีเหลือง-ชมพู อีก2ปี สายสีแดง ระทึก ศาลคุ้มครองให้เดินรถหรือไม่ ขณะ สายสีส้มโกลาหล

คนกรุงรอเก้อ ! เมื่อรถไฟฟ้าสารพัดสีเส้นทางใหม่มีอันต้อง เลื่อนออกไป ทั้งที่เดิมทีมีแผนทยอยเปิดให้บริการในระยะเวลาอันใกล้ ล่าสุดรถไฟฟ้า สาย “สีทอง” วิ่งเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ไปตามถนนเจริญกรุง เขตคลองสาน ตลอดระยะทาง ใช้ระบบรางนำทาง ไร้คนขับ เส้นแรกของไทย ซึ่ง บีทีเอสกรุ๊ป ประกาศชัด เลื่อนเปิดเดินรถไปปลายปี หรือภายในเดือนธันวาคม จากแผนเดิมที่กรุงเทพ มหานคร กำหนดเปิดเดินรถภายในเดือนตุลาคม เนื่องจากระบบราง ไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ ยังไม่พร้อม การทดสอบเดินรถ มีเวลาสั้นเกินไป




ย้อนไปก่อนหน้านี้ สายสี เหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) รถไฟฟ้ารางเดี่ยว เส้นแรก ของไทย และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่บีทีเอส ได้รับสัมปทาน ตามแผนใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี ตามนโยบายรัฐบาลต้องการให้ ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเร็วขึ้น แต่ด้วยระยะทางยาวถึง 30 กิโลเมตร ขณะมาตรฐานการก่อสร้างรถไฟฟ้า ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี ต่อหนึ่งโครงการ เมื่อได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด การก่อสร้างหยุดชะงัก คนงานต่างด้าวกลับประเทศ การส่งมอบพื้นที่ล่าช้าจากหน่วยงานรัฐ และติดปัญหาเวนคืนต้องขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก1 ปี เป็นปี 6

สำหรับส่วนต่อขยายสายสีเหลือง ช่วงถนนรัชดาฯ-ลาดพร้าว ถึงรัชโยธิน ระยะทาง 2 กิโลเมตร การเจรจายังไม่ได้ข้อยุติ มองว่า ต้องใช้เวลา


ที่มีปัญหามากที่สุด และเห็นแววล่าช้า คือ สายสีส้ม(บางขุนนนท์-มีนบุรี) ช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม) มีการปรับเกณฑ์ประมูล นำซองเทคนิคพิจารณาร่วมกับราคา มองว่าเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบสำหรับ 10 ผู้รับเหมาที่ซื้อซอง ไม่มีโอกาสเตรียมความพร้อมสำหรับหลักเกณฑ์ใหม่ กระทั่งบีทีเอส ต้องยื่นเรื่องฟ้องศาลปกครอง หากศาลรับฟ้องทุกขั้นตอนต้องหยุดชะงัก

เช่นเดียวกับ สายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ช้ามา 10 ปี ล่าสุด ขอศาลคุ้มครองชั่วคราวเพื่อเปิดเดินรถ ช่วยประชนชนได้ใช้รถไฟฟ้าเส้นนี้เร็วขึ้น จากผลกระทบสัญญาที่ 1 การก่อสร้างงานโยธาสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุงช้ากว่าแผน กรณีรื้อย้ายสาธารณูปโภค ส่งผลให้สัญญาที่ 3 งานวางราง ระบบไฟฟ้าต้องกระทบตามไปด้วยต้องขยายเวลา ก่อสร้าง อีก 512 วัน กับปมที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอขยายวงเงินค่าก่อสร้างเพิ่ม (Variation Order : VO) 10,345 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกู้ภายในประเทศเนื่องจากแหล่งเงินกู้เดิม องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ปฏิเสธการกู้เพิ่ม จึงเป็นปัญหาที่รฟท. ต้องปฏิบัติตามระเบียบพัสดุการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ต้องประกวดราคางานเพิ่มเติมใหม่ ดังกล่าว

ยังมีอีกหลายเส้นทางที่อยู่ขั้นตอนดำเนินโครงการ อย่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-บึงกุ่ม พัฒนาคู่ขนานไปกับทางด่วนขั้นที่ 3 ตอนเหนือ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่ยังลูกผีลูกคน ว่าสร้างได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งสายสีน้ำตาล คาดว่าเริ่มดำเนินการได้ในปีหน้า เช่นเดียวกับสายสีม่วงใต้ ช่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ส่วนต่อขยายสายสีม่วงเหนือ ที่เตรียมความพร้อมเข้าพื้นที่เวนคืนที่ดิน และรถไฟฟ้าสายรองอย่างสายสีเทา ของกทม. ที่คาดว่าจะเริ่มสร้างในปี 2564 วิ่งผ่านเพชรบุรี-ทองหล่อ-พระราม 3 -เอกมัย-รามอินทรา คึกคัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับงบประมาณ สภาพเศรษฐกิจ หลังสถานการณ์โควิดมาเยือน

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ารถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการเมื่อใด ล่าช้าหรือไม่ แต่วันนี้ ภาพที่ปรากฏชัด นั่นคือ ความเจริญ มาปักหมุดรออยู่ก่อนแล้ว !
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2020 9:13 am    Post subject: Reply with quote

ศบศ.เร่งลงทุน1.2ล้านล้าน เมกะโปรเจคเสริมแกร่งหลังโควิด
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563
นครินทร์ ศรีเลิศ
กรุงเทพธุรกิจ

การกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นที่รัฐบาลนำมาใช้พยุงเศรษฐกิจช่วงโรคโควิดระบาดแล้ว ยังมีแผนการบริการเศรษฐกิจระยะ ปานกลาง-ยาว ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญคู่กับการบริหารเศรษฐกิจระยะสั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อโควิด-19 ชะลอการระบาด

รวมทั้งแผนการบริหารเศรษฐกิจระยะปานกลาง-ยาว จะช่วยให้การขยายตัวอยู่ในระดับที่เหมาะสม ช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจของ ประเทศมีความได้เปรียบในทางการแข่งขัน ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างแรงงานและใช้วัสดุอุปกรณ์ภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และเสนอมาตรการบริหารเศรษฐกิจในระยะปานกลางและ ระยะยาว ที่มีไพรินทร์ ชูโชติถาวร ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เสนอโครงการบริหารเศรษฐกิจระยะ ปานกลางและระยะยาวให้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ "ศบศ." ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งได้เสนอเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงินรวม 1.2 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย

การลงทุนโครงการและแผนงานที่มีความสำคัญต้องเร่งรัด ได้แก่ โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี วงเงินงบ 80,500 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คาดว่าจะได้รับการอนุมัติต้นปี 2564 และออกแบบรายละเอียดโครงการเสร็จเดือน มิ.ย.2565

โครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองต่อขยายอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน วงเงิน 28,300 ล้านบาท อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมโครงการและรูปแบบการลงทุน

โครงการทางพิเศษศรีรัช-วงแหวน รอบนอก ข้ามทางรถไฟสายสีแดง เชื่อมต่อทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวลล์) วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยต้องเร่งเจรจาลงทุนโครงข่าย Missing link กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM คาดว่าจะลงนามสัญญาร่วมทุนได้ภายในเดือน ก.ย.2564

การลงทุนโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ เช่น โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต, บางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 107,000 ล้านบาท โดยกำหนดให้เปิดทดลองใช้รถไฟฟ้าวันที่ 1 ก.ค.2564

โครงการระบบรางรถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกลเชื่อมต่อระบบ ขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล วงเงิน 135,000 ล้านบาท โดยกำหนดให้ นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในปี 2565 ทุกเส้นทาง

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) โดยกำหนดให้ลงนามสัญญางานโยธาทั้งหมดภายในปี 2564 และก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2568

โครงการศึกษาการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ ขึ้นมาบริหารกิจการของรถไฟความเร็วสูง โดยตั้งงบประมาณในการศึกษาไว้ 30 ล้านบาท โดยให้เสนอ ครม.ของบศึกษาในปี 2564

การลงทุนที่ใช้การลงทุนในรูปแบบ PPP ช่วงปานกลาง-ระยะยาว ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) วงเงิน 48,500 ล้านบาท โดยก่อสร้างปี 2567 และเปิดบริการปี 2570

โครงการระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต- ห้าแยกฉลอง วงเงิน 35,200 ล้านบาท รวมถึง โครงการระบบขนส่งมวลชน จ.เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วง รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี วงเงิน 27,300 ล้านบาท และโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.นครราชสีมา สายสีเขียว วงเงิน 84,800 ล้านบาท

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงินลงทุน 114,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำรายชื่อผู้ชนะการประมูลเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และประกาศผู้ชนะได้ในปี 2563

การลงทุนที่เร่งรัดการระดมทุนผ่านกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (TFFIF) ที่ระดมทุนไปแล้ว 44,000 ล้านบาท ซึ่ง TFFIF ควรเร่งรัดนำเอาเงินไปลงทุนก่อสร้างโครงการทางด่วนพระราม 3 และโครงการทางพิเศษสายอื่น เพื่อให้สอดคล้องวัตถุประสงค์ การตั้งกองทุน โดยกำหนดให้ใช้เงินไปลงทุนไม่ต่ำกว่า 30% ในปี 2564

รวมทั้งมีการกำหนดให้เร่งรัดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีกรอบการลงทุนในปี 2563-2564 วงเงิน 3.6 แสนล้านบาท

ดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า แผนบริหารเศรษฐกิจในช่วงระยะกลาง-ยาวซึ่งมีแผนลงทุนโครงการขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นแผนที่มีอยู่แล้วแต่รอการจัดลำดับความสำคัญ การศึกษา และอนุมัติโครงการ

สำหรับแผนนี้ สศช.ในฐานะเลขานุการของ ศบศ.ทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคมเสนอให้กับคณะอนุกรรมการบริหารเศรษฐกิจในระยะปานกลางและระยะยาว เพื่อเสนอให้ ศบศ.ชุดใหญ่พิจารณากำหนดเป็นแผนการบริหารเศรษฐกิจของประเทศควบคู่กับแผนเศรษฐกิจระยะสั้นที่ทยอยอนุมัติเป็นระยะเพื่อดูแลเศรษฐกิจประเทศ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2020 12:23 pm    Post subject: Reply with quote

ตั๋วร่วมสะดุด!บอร์ดรฟม.ติงค่าปรับหัวอ่านแพง รับบัตรข้ามระบบช้าข้ามปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 22 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 09:56 น.



บอร์ดรฟม.ตีกลับค่าปรับปรุงตั๋วร่วมเฟสแรก รับบัตรรถไฟฟ้าข้ามระบบติงสูงเกินไป สั่งต่อรอง BEM ใหม่ แฉวางแผนพัฒนาสองขยัก ทำลงทุนซ้ำซ้อน ประชาชนไม่ได้ประโยชน์แนะปรับระบบเปิด (Open Loop) ไม่จำกัดรูปแบบจ่ายค่าตั๋ว

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ(AFC) ให้สามารถรองรับการใช้บัตรโดย

สารข้ามระบบ (Interoperable Ticketing System) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ยังไม่อนุมัติกรอบวงเงินค่าปรับปรุงระบบหัวอ่าน รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน โดยให้รฟม.ทบทวนปรับลดวงเงิน และให้เจรจาต่อรองค่าปรับปรุงกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ได้วงเงินที่ดีที่สุด

ทั้งนี้ ในส่วนของสายสีม่วง รฟม. จะลงทุนเอง ส่วนสายสีน้ำเงิน ทาง BEM ในฐานะผู้รับสัมปทาน แจ้งว่า รับผิดชอบค่าใช้จ่ายไม่ไหว ซึ่ง รฟม. จะต้องเจรจาให BEM ดำเนินการ ขณะที่ยอมรับว่า การสั่งซื้ออุปกรณ์ยังมีความล่าช้าเนื่องจาก ติดปัญหาโรค โควิด-19 ส่งผลให้การทำงานเพื่อพัฒนาระบบตั๋วร่วมเพื่อรองรับบัตรข้ามระบบในระยะแรก ยังทำได้ไม่เต็มที่

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากที่รฟม.จะต้องเสนอบอร์ดเพื่อขออนุมัติ ดำเนินการจัดทำคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน (Variation Order: VO) เพิ่มงานปรับปรุงหัวอ่านรถไฟฟ้าสายสีม่วง วงเงิน 140 ล้านบาท และสายสีน้ำเงิน วงเงินประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ถือว่าล่าช้า และทำให้การปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus ของ รฟม. และบัตร Rabbit ของ BTS สามารถใช้งานร่วมกันได้ ข้ามระบบ ไม่ทันภายในปีนี้ แน่นอน

นอกจากนี้ การปรับปรุงหัวอ่านให้รองรับบัตรข้ามระบบได้นั้น ยังมีประเด็นในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บัตรโดยสารข้ามระบบ ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป อีกทั้งการใช้งานอาจทำให้ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวก และไม่เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กรณีเงินในบัตรไม่เพียงพอ จะยังไม่สามารถเติมเงินข้ามระบบได้ ทำให้ผู้โดยสารจะต้องจ่ายเงินสดร่วมด้วย

หรือกรณีบัตรโดยสารสำหรับเด็ก ซึ่ง MRT กำหนด 3 อัตรา คือ เด็กที่มีความสูงไม่เกิน 90 ซม. และอายุไม่เกิน 14 ปี ใช้บริการฟรี เด็กที่มีความสูงตั้งแต่ 91 - 120 ซม. และอายุไม่เกิน 14 ปี ได้รับส่วนลดค่าโดยสาร 50% ส่วนรถไฟฟ้าBTS ไม่มีบัตรส่วนลดสำหรับเด็ก 50% เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หลังจาก ปรับปรุงหัวอ่าน รองรับบัตรข้ามระบบ ซึ่งรฟม.และBTS จะต้องลงทุนหลายร้อยล้านบาทแล้ว ในระยะต่อไป จะต้องลงทุน เพื่อปรับปรุงเป็นระบบเป็นAccount Based Ticketing หรือ ABT ระบบเปิด (Open Loop) ซึ่งใช้งานผ่าน บัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card) และรองรับไปถึงระบบคิวอาร์โค้ด การสแกนใบหน้าอีก เท่ากับเป็นการลงทุนซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุหรือไม่ ซึ่งฝ่ายนโยบายควรต้องทบทวนในเรื่องนี้อีกครั้ง เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกและประโยชน์สูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 222, 223, 224 ... 277, 278, 279  Next
Page 223 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©