RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180246
ทั้งหมด:13491480
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 201, 202, 203 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2020 7:41 pm    Post subject: Reply with quote

แห่ขายทิ้งตึกแถวย่านจรัญสนิทวงศ์ “พณิชยสยาม” โละยกแปลง 10 ไร่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 14 กันยายน 2563 - 10:30 น.

MRT จุดเปลี่ยน “อสังหาฯ” ทำเลจรัญสนิทวงศ์-ท่าพระ ตึกแถวสองฟากแห่ขาย-ปล่อยเช่า โรงเรียนพณิชยการสยามประกาศขายที่ดิน 10 ไร่ 400 ล้าน โบรกเกอร์ชี้อาคารพาณิชย์รอวันทุบทิ้ง คอนโดฯบิ๊กแบรนด์ขึ้นแทน เผยราคาที่ดินปรับขึ้นปีละ 13% มีสต็อกห้องชุดสะสมถึง 5 หมื่นยูนิต

“ประชาชาติธุรกิจ” สำรวจถนนจรัญสนิทวงศ์ หลังจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเตาปูน-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค เปิดให้บริการเต็มรูปแบบเมื่อเดือนมีนาคม 2563 ปรากฏว่าทำเลทั้ง 2 ฟาก ถึงจุดเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด

แยกบางพลัด-บรมราชชนนีคึก
เริ่มจากเชิงสะพานพระราม 7-ท่าพระ พบว่า อาคารพาณิชย์ถูกปล่อยร้างจำนวนมาก พร้อมติดป้ายประกาศขายและให้เช่า เป็นที่น่าสังเกตว่า ตั้งแต่แยกบางพลัด-บรมราชชนนี-แยกไฟฉาย จะคึกคักเป็นจุด ๆ เพราะกลายเป็นแหล่งแฮงเอาต์กินดื่ม และร้านชาบู-หมูกระทะ ที่เปิดให้บริการตามตึกแถว กลับได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นเพราะใกล้โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และศูนย์การค้าใหญ่ เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ตลาดอินดี้ รวมถึงแหล่งที่พักของคนคอนโดฯที่ทยอยเข้าอยู่ในรอบ 1-3 ปีที่ผ่านมา

เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) เปิดใช้และเชื่อมต่อถึงสายในเมือง-นอกเมือง ทำให้การเดินทางเปลี่ยนไป มีทางเลือกและสะดวกขึ้น

เช่น ทำเล MRT สถานีบางอ้อ มีตึกแถวขนาดใหญ่ 166 ตารางวา ขนาด 5 คูหา สูง 4 ชั้นครึ่ง ประกาศขายในราคา 75 ล้านบาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และสถานีท่าพระ ติดประกาศขายตึก 2 คูหา 4 ชั้นครึ่ง ราคา 22 ล้านบาท แต่ไม่มีคนซื้อ จึงประกาศให้เช่า 50,000 บาท/เดือน

ย่านซอยจรัญสนิทวงศ์ 56 ห่าง MRT สถานีสิรินธร 400 เมตร มีป้ายประกาศขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโรงเรียนพณิชยการสยาม ในพระอุปถัมภ์ฯ ซึ่งเลิกกิจการเมื่อปี 2560 เนื้อที่ 10 ไร่ ตั้งราคาขายตารางวาละ 1 แสนบาท หรือยกแปลง 400 ล้านบาท


อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการได้พัฒนาโครงการใหม่ใกล้สถานีสิรินธร บริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 65 เช่น บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ ซึ่งล้อมรั้วเตรียมเปิดตัวในเร็ว ๆ นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ส่วนตึกแถวหัวมุม แยกบางพลัดมุ่งหน้าปิ่นเกล้า กำลังรีโนเวตใหม่ เป็นตึกสูง 3 ชั้น 9 คูหา ล่าสุดมีผู้สนใจขอเช่าแล้ว 2 ราย รายละ 2 ห้อง ค่าเช่า 10,000 บาท/ห้อง/เดือน เพื่อเปิดเป็นร้านชาบู-หมูกระทะ โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ยอมเซ้งระยะยาวและขายขาด

ส่วนทำเลสี่แยกไฟฉาย จุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์-พรานนก ยังคงเงียบเหงา เพราะกรุงเทพมหานคร (กทม.) กำลังก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด จะแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2564 โดยมีถนนตัดใหม่ที่ทะลุถนนวงแหวนตะวันตก และพุทธมณฑลสาย 1-4 ถือเป็นโครงข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์แบบ และเป็นการพลิกหน้าดินเปิดพื้นที่ใหม่ ๆ ให้มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ นับจากนี้

ทุนจีน-CP เซอร์เวย์
จากการสอบถามเจ้าของร้านขายยาในละแวกแยกดังกล่าวระบุว่า อัตราค่าเช่าตึกแถวเฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 บาท/เดือน ก่อนเกิดโควิด-19 มีกลุ่มทุนจากประเทศจีนมาสำรวจที่ดินย่านนี้ แต่ตอนนี้หายเงียบไป

“เมื่อ 5 ปีที่แล้ว มีกลุ่ม ซี.พี.มาเจรจาขอซื้อที่ย่านนี้แบบยกผืน ให้ราคา 300 ล้านบาท แต่เจรจาไม่สำเร็จจึงถอยไป ต่อมามีกลุ่มศุภาลัยเข้ามาซื้อขนาด 2 ไร่ แล้วสร้างเป็นคอนโดมิเนียมใกล้สถานีแยกไฟฉาย ตอนนี้กำลังก่อสร้างอยู่”

นายโสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จรัญสนิทวงศ์กำลังเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านทำเลตึกแถวสู่คอนโดมิเนียม ทำเลที่น่าจับตาคือ ช่วงแยกปิ่นเกล้า, แยกบางพลัด, รถไฟฟ้าสถานีจรัญ 13, สถานีบางขุนนนท์, สถานีบางยี่ขัน, สถานีบางอ้อ และสถานีท่าพระ

สำหรับราคาที่ดินตามแนวสายสีน้ำเงิน ตั้งแต่ปี 2559-2563 มีการปรับขึ้นเฉลี่ยปีนี้ 13% เช่น แยกสถานีบางอ้อ ปี 2559 อยู่ที่ 170,000 บาท/ตารางวา มาปี 2563 อยู่ที่ 300,000 บาท/ตารางวา เป็นต้น

คอนโดฯเหลือ 5 หมื่นยูนิต
นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บจ.ฟินิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ เปิดเผยว่า ทำเลสายสีน้ำเงินปัจจุบันมีคอนโดฯเปิดขายสะสม 53,544 ยูนิต นับจากปี 2552 ราคาขายเฉลี่ย 71,000 บาทต่อตารางเมตร ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ย 88,000 บาทต่อตารางเมตร

“ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีคอนโดฯสะสมมากกว่าหัวลำโพง-บางแค โดยเฉพาะถนนจรัญสนิทวงศ์ มีผู้ประกอบการเข้ามาซื้อที่และเปิดโครงการมากขึ้น”

ทั้งนี้ ถนนจรัญสนิทวงศ์เป็นพื้นที่ที่ยังพอมีที่ดินเหลือให้พัฒนาอยู่มาก แต่อุปสรรคคือตลอดแนวถนนเป็นอาคารพาณิชย์เกือบเต็มพื้นที่ แต่มีจุดขายคือแม่น้ำเจ้าพระยา มีค้าปลีก โรงพยาบาล และสถานศึกษา ซึ่งน่าสนใจระดับหนึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2020 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.รับสมัครงาน 71 อัตรา รับปรับโครงสร้างใหม่-บอร์ดอนุมัติ “กิตติกร” รอง ผวก.
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 18 กันยายน 2563 - 08:37 น.


นายภคพงศ์ กันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม. มีนายสราวุธ ทางศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เป็นประธาน มีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายกิตติกร ต้นเปาว์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม.ขึ้นเป็นรองผู้ว่าการ ฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง แทนนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ที่ยื่นใบลาออกเพื่อไปดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) นอกจากนี้ มีมติแต่งตั้งพนักงานระดับ 12 ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย และผู้อำนวยการสำนัก 11 คน ตามโครงสร้างใหม่ที่เพิ่มขึ้นและเพื่อทดแทนอัตรากำลังที่ว่างลง


นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน รฟม. ได้มีการปรับโครงสร้างภายในหน่วยงานใหม่ เพื่อรองรับภารกิจที่จะต้องรับผิดชอบดำเนินการ ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัดโดยตั้งหน่วยใหม่ 2 หน่วย ขึ้นตรงกับ ผู้ว่าการ ได้แก่ สำนักการสื่อสารองค์กร ยกระดับ จากระดับกองขึ้นเป็นระดับฝ่าย รับผิดชอบดูแลศูนย์ราชการสะดวกตามนโยบายรัฐบาล โดยจะเน้นการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับโครงการระบบขนส่งมวลชน การอำนวย ความสะดวกในการให้บริการประชาชน การรับเรื่องราวร้องทุกข์ และสำนักนิติกรรม โดยแยกจากสำนักกฎหมาย นอกจากนี้ ได้มีการยุบ 2 หน่วย ได้แก่ สำนักพัฒนาธุรกิจรถไฟฟ้า ตั้งขึ้นเพื่อรองรับภารกิจการทดลองเดินรถไฟฟ้าของ รฟม. ในอนาคต ซึ่งมีแต่โครงสร้างยังไม่มีพนักงานประจำ และปัจจุบันนโยบายรัฐบาลเน้นให้เอกชนร่วมทุนบริหารโครงการ ดังนั้นหน่วยงานนี้จึงไม่มีความจำเป็น อีกหน่วยก็คือ สำนักพัฒนาพื้นที่ เทียบเท่าระดับฝ่าย ให้ยุบไปรวมกับฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ขึ้นตรง กับรองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ ทำให้อัตรา กำลังบางหน่วยไม่เพียงพอ ประกอบกับมีพนักงานบางส่วนสมัครใจลาออก และขอโอนย้ายกลับภูมิลำเนา จึงมีความจำเป็นต้องปรับอัตรากำลังพนักงานให้สอดคล้องกับภารกิจ โดยจะเปิดรับสมัครพนักงานเพิ่มทุกสายงานจำนวน 71 คน ระดับ 4-5 วุฒิปริญญาตรี กำหนดเปิดรับสมัครออนไลน์ผ่านทาง www.mrta.co.th วันที่ 29 ก.ย.63 ถึงวันที่ 6 ต.ค.63 ค่าสมัครคนละ 300 บาท ทั้งนี้ เดิม รฟม. มีแผนเปิดรับสมัครตั้งแต่เดือน ม.ค.63 ที่ผ่านมา แต่สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ต้องเลื่อนการรับสมัครออกไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2020 10:15 pm    Post subject: Reply with quote

“BEM” แจงภาพแอบถ่ายผู้โดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน คาดเป็นฝีมือ รปภ.ส่งเรื่องบริษัทต้นสังกัดแล้ว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 กันยายน 2563 - 16:16



บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ออกประกาศชี้แจงหลังโลกโซเชียลเผยภาพหญิงสาวภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว ถูกแอบถ่ายและมีการระบุข้อความคุกคามทางเพศ คาดเป็นฝีมือของ รปภ. ทั้งนี้ ได้ส่งเรื่องไปยังบริษัทต้นสังกัดเพื่อให้ตรวจสอบแล้ว

จากกรณี สมาชิกในทวิตเตอร์เผยภาพแอบถ่ายภาพหญิงสาวภายในรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีลาดพร้าว พร้อมระบุข้อความที่เข้าข่ายคุกคามทางเพศ โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมดังกล่าวในโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ มีการคาดเดากันว่าอาจจะเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถานีหรือไม่

อย่างไรก็ตาม วันนี้ (18 ก.ย.) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ออกประกาศชี้แจงกรณีแอบถ่ายผู้โดยสารหญิงในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว โดยได้ระบุข้อความว่า

ตามที่ปรากฏข่าวว่า มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT โพสต์เตือนภัย “แอบถ่ายผู้โดยสารหญิง รถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว โพสต์คุกคามทางเพศ” เผยแพร่ในสื่อต่างๆ นั้น

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) ไม่ได้นิ่งนอนใจโดยเร่งดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวพบผู้มีพฤติกรรมต้องสงสัยที่ถ่ายรูปผู้ใช้บริการ คาดว่า เป็น รปภ.ประจำสถานีลาดพร้าว ในเบื้องต้น ได้แจ้งให้บริษัทต้นสังกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้างระงับการเข้าปฏิบัติหน้าที่และห้ามผู้ต้องสงสัยเข้าพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2563 และบริษัทฯ ได้รวบรวมหลักฐาน นำไปแจ้งความที่สถานีตำรวจสุทธิสาร เพื่อดำเนินการสอบสวนและลงโทษผู้กระทำความผิดต่อไป

บริษัทฯ ต้องขออภัยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอขอบคุณประชาชนผู้แจ้งเบาะแส เพื่อให้บริษัทฯ พัฒนาปรับปรุงการให้บริการและดูแลรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มมาตรการกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานอย่างเข้มงวด หากผู้ใช้บริการพบเห็นสิ่งผิดปกติ หรือต้องการความช่วยเหลือโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานีได้ทันที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2020 3:15 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“BEM” แจงภาพแอบถ่ายผู้โดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน คาดเป็นฝีมือ รปภ.ส่งเรื่องบริษัทต้นสังกัดแล้ว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:16


BEM จัดการรปภ.ประจำสถานีลาดพร้าวแอบถ่ายภาพผู้โดยสาร

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา11:03 น.

18 ก.ค.2563 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณี แอบถ่ายภาพผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยมีเนื้อหาดังนี้

ตามที่ปรากฏข่าวว่ามีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT โพสต์เตือนภัย “แอบถ่ายผู้โดยสารหญิง รถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว โพสต์คุกคามทางเพศ” เผยแพร่ในสื่อต่างๆ นั้น บริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจโดยเร่งดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวพบผู้มีพฤติกรรมต้องสงสัยที่ถ่ายรูปผู้ใช้บริการ คาดว่าเป็น รปภ.ประจำสถานีลาดพร้าว ในเบื้องต้น ได้แจ้งให้บริษัทต้นสังกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้างระงับการเข้าปฏิบัติหน้าที่และห้ามผู้ต้องสงสัยเข้าพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2563 และบริษัทฯ ได้รวบรวมหลักฐาน นำไปแจ้งความที่สถานีตำรวจสุทธิสาร เพื่อดำเนินการสอบสวนและลงโทษผู้กระทำความผิดต่อไป

บริษัทฯ ต้องขออภัยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอขอบคุณประชาชนผู้แจ้งเบาะแส เพื่อให้บริษัทฯ พัฒนาปรับปรุงการให้บริการและดูแลรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มมาตรการกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานอย่างเข้มงวด หากผู้ใช้บริการพบเห็นสิ่งผิดปรกติหรือต้องการความช่วยเหลือโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานีได้ทันที

BEM แจ้งความแล้ว แอบถ่ายหญิง MRT ลาดพร้าว
หน้าข่าวทั่วไป

วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 17:34 น.


BEM ชี้แจงกรณี แอบถ่ายภาพผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว แจ้งความแล้ว ที่สถานีตำรวจสุทธิสาร เพื่อดำเนินการสอบสวนและลงโทษผู้กระทำความผิดต่อไป

ตามที่ปรากฏข่าวว่ามีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT โพสต์เตือนภัย “แอบถ่ายผู้โดยสารหญิง รถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าวโพสต์คุกคามทางเพศ” เผยแพร่ในสื่อต่างๆ นั้น


บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) ไม่ได้นิ่งนอนใจโดยเร่งดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวพบผู้มีพฤติกรรมต้องสงสัยที่ถ่ายรูปผู้ใช้บริการ คาดว่าเป็น รปภ.ประจำสถานีลาดพร้าว ในเบื้องต้น ได้แจ้งให้บริษัทต้นสังกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้างระงับการเข้าปฏิบัติหน้าที่และห้ามผู้ต้องสงสัยเข้าพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2563 และบริษัทฯ ได้รวบรวมหลักฐาน นำไปแจ้งความที่สถานีตำรวจสุทธิสาร เพื่อดำเนินการสอบสวนและลงโทษผู้กระทำความผิดต่อไป

BEM ได้ขออภัยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอขอบคุณประชาชนผู้แจ้งเบาะแส เพื่อให้บริษัทฯ พัฒนาปรับปรุงการให้บริการและดูแลรักษาความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มมาตรการกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานอย่างเข้มงวด หากผู้ใช้บริการพบเห็นสิ่งผิดปรกติหรือต้องการความช่วยเหลือโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานีได้ทันที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2020 5:04 pm    Post subject: Reply with quote

22 ก.ย. ใครนำจักรยานพับได้มาใช้บริการ MRT ขึ้นฟรีไปเลย
หน้า ข่าวทั่วไป
วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา20:05 น.

MRT รณรงค์ลดโลกร้อน ในวัน Car Free Day 2020 มอบคูปองเดินทางฟรีเฉพาะผู้โดยสารที่นำจักรยานพับได้มาใช้บริการในรถไฟฟ้ามหานคร

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ร่วมรณรงค์ลดโลกร้อน “ 22 กันยายน Car Free Day ” เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจร รักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษทางเสียง ทางอากาศ และลดฝุ่นละออง PM 2.5


พร้อมส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ด้วยการยกเว้นค่าโดยสาร สำหรับผู้โดยสารที่นำรถจักรยานชนิดพับได้มาใช้บริการในรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ในวันที่ 22 กันยายน 2563 ตลอดระยะเวลาการให้บริการ


โดยสามารถติดต่อขอรับคูปองเดินทางฟรีได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารของทั้ง 2 สาย ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลโทร. 0-2624-5200 หรือติดตามทางช่องทางต่างๆ ได้ที่ เฟซบุ๊ก: MRT Bangkok Metro/ทวิตเตอร์: MRT Bangkok Metro/อินสตาแกรม: mrt_bangkok และ โมบายแอปพลิเคชัน: Bangkok MRT


MRT-BTS ร่วม “Car Free Day” แจกต้นไม้ 1 หมื่นต้น พกจักรยานมานั่งรถไฟฟ้าฟรี
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 22 กันยายน 2563 - 11:11 น.

MRT-BTS ร่วมจัดกิจกรรมลดโลกร้อน Car Free Day 2020 แจกต้นไม้ 1 หมื่นต้น พกจักรยานมานั่งรถไฟฟ้าฟรี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 22 กันยายน 2563 ของทุกปีเป็นวัน ”Car Free Day“ ทางผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าจัดกิจกรรมร่วมรณรงค์ลดโลกร้อน

ในส่วนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ร่วมรณรงค์ลดโลกร้อน “22 กันยายน Car Free Day” เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจร รักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษทางเสียง ทางอากาศ และลดฝุ่นละออง PM 2.5 พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ

ด้วยการยกเว้นค่าโดยสาร สำหรับผู้โดยสารที่นำรถจักรยานชนิดพับได้มาใช้บริการในรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ในวันที่ 22 กันยายน 2563 ตลอดระยะเวลาการให้บริการ สามารถติดต่อขอรับคูปองเดินทางฟรีได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารของทั้ง 2 สาย



ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งว่า เนื่องในวัน Car Free Day ซึ่งตรงกับวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี ทั่วโลกร่วมกัน รณรงค์หยุดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ

เพื่อร่วมกันลดโลกร้อน ช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศจากยานพาหนะที่มาจากท่อไอเสียรถยนต์ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นต้น ช่วยกันยกระดับคุณภาพอากาศ ให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ในวันอังคารที่ 22 กันยายน Car Free Day บริษัทฯ ขอเชิญชวนให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยจะยกเว้นค่าโดยสารให้แก่ ผู้ที่เดินทางด้วยจักรยานฟรีทุกสถานี รวมทั้งส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท และส่วนต่อขยายสายสีลม เพื่อให้ทุกคนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะแทน

โดยจักรยานพับได้สามารถเข้าระบบฟรี ตลอดเวลาการให้บริการ ส่วนจักรยานพับไม่ได้เข้าระบบฟรี แบ่งเป็น 2 ช่วง ตั้งแต่เวลา 06.00 – 06.30 น. และ ตั้งแต่เวลา 22.00 น. จนถึงปิดให้บริการ นอกจากนี้ สำหรับรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที สามารถนำจักรยาน เฉพาะพับได้เข้าระบบฟรีตลอดเวลาการให้บริการ ผู้โดยสารสามารถติดต่อขอรับคูปองฟรีได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานี

อนึ่ง ในวันดังกล่าว บริษัทฯ ได้เพิ่มเติมความพิเศษต่อเนื่อง จัดกิจกรรม “บีทีเอสดูแลโลก เราดูแลคุณ” แจกต้นไม้ที่มีประสิทธิภาพ ในการจับฝุ่นละอองกว่า 10,000 ต้น ให้แก่ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสฟรี ณ บริเวณทางเดินเชื่อมศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ตั้งแต่เวลา 10.00 น.โดยจะแจกจนกว่าต้นไม้จะหมด


พกจักรยานพับได้ขึ้นรถไฟฟ้าฟรี ทั้งบีทีเอส,เอ็มอาร์ที 22 ก.ย.นี้
หน้าข่าวเศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 21 กันยายน 2563 เวลา 14.01 น.

พกจักรยานพับได้ขึ้นรถไฟฟ้าฟรี ทั้งบีทีเอส เอ็มอาร์ที บีอาร์ทีตลอดวันที่22 ก.ย.นี้ ร่วมรณรงค์วันCar Free Day สนับสนุนประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ก่อนใช้ติดต่อขอรับคูปองก่อน



นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส แจ้งว่า ในวันที่ 22 ก.ย.63 ซึ่งเป็นวัน Car Free Day บริษัทฯ ขอเชิญชวน ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยจะยกเว้นค่าโดยสารให้แก่ผู้ที่เดินทางด้วยจักรยานฟรีทุกสถานี รวมทั้งส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท และส่วนต่อขยายสายสีลม เพื่อให้ทุกคนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะแทน โดยจักรยานพับได้สามารถเข้าระบบฟรีได้ตลอดเวลาการให้บริการ ส่วนจักรยานพับไม่ได้ สามารถเข้าระบบได้ฟรี แบ่งเป็น 2 ช่วง ตั้งแต่เวลา 06.00 – 06.30 น. และตั้งแต่เวลา 22.00 น. จนถึงปิดให้บริการ ขณะที่รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที สามารถนำจักรยานเฉพาะพับได้เข้าระบบฟรีตลอดเวลาการให้บริการ ผู้โดยสารสามารถติดต่อขอรับคูปองฟรีได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานี



 ด้านการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ร่วมรณรงค์ลดโลกร้อน “ 22  กันยายน Car Free Day ” เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจร รักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษทางเสียง ทางอากาศ และลดฝุ่นละออง PM 2.5 พร้อมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ด้วยการยกเว้นค่าโดยสาร สำหรับผู้ที่นำรถจักรยานชนิดพับได้มาเดินทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ในวันที่ 22 ก.ย. 63 ตลอดระยะเวลาการให้บริการ โดยสามารถติดต่อขอรับคูปองเดินทางฟรีได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารของทั้ง 2 สาย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2020 2:36 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีทองสีน้ำเงินพลิกฝั่งธนฯแห่ขายตึกพรึบ
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 20:32 น.
ตีพิมพ์ในหน้า 19 - 20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3612
วันที่ 24 - 26 กันยายน พ.ศ. 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2020 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟฟ้าวัดมังกร สุดท้ายคนที่ค้านไม่เอารถไฟฟ้าใต้ดินมาใช้บริการกันแทบทุกคน
https://www.facebook.com/rungsak.S/posts/4041031935923652
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2020 11:44 am    Post subject: Reply with quote

BMN ชูกลยุทธ์ OMO ปั๊มรายได้ เร่งดึงลูกค้าซื้อเหมาสถานี MRT
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: อาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2563 เวลา 16:56


ผู้จัดการรายวัน 360 - BMN ผู้บริหารสื่อนอกบ้านรถไฟฟ้า MRT ชะงักกลางทางช่วงโควิดระบาด ยอมซื้อใจลูกค้าให้ลงโฆษณาฟรี บวกโปรโมชันพิเศษช่วยเหลือซึ่งกันและกันยาวถึงปลายปี 63 พร้อมหาทางรอด ชูกลยุทธ์ OMO ดูดลูกค้ากระเป๋าหนักเหมาพื้นที่เต็มสถานี MRT ที่มีศักยภาพ 10 สถานีแบบระยะยาวอุดรายได้ที่หายไป มั่นใจปีนี้รายได้ยังเติบโตเป็นบวก แม้จะต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 20%

นายณัฐวุฒิ ตรีวิศวเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) ผู้บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ในระบบรถไฟฟ้า MRT เปิดเผยว่า จากเดิมปี 2563 นี้จากการที่บริษัทได้พื้นที่บริหารเพิ่มเติมในส่วนขยายต่อเพิ่มอีก 18 สถานี รวมเป็น 38 สถานีในปัจจุบัน ทำให้ปีนี้ได้ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ถึง 20% แต่ ณ ขณะนี้มองว่าถึงสิ้นปีนี้อาจจะทำได้ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ แต่ในภาพรวมปีนี้ยังคงมีการเติบโตเป็นบวกอยู่ หรือทำได้ดีกว่าปีก่อนแน่นอน

ด้านนายวิทสุวัฒน์ อำคาเพท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ปีนี้รายได้เติบโตต่ำกว่า 20% นั้นเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการรอบๆ พื้นที่ในสถานีรถไฟฟ้า MRT ลดลง บวกกับลูกค้าที่ซื้อสื่อโฆษณากับทาง BMN ได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะขายของไม่ได้ก็หันมาตัดงบลงโฆษณาประชาสัมพันธ์แทน



“ทางบริษัทเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงพร้อมหาทางช่วยเหลือซี่งกันและกัน เราอยู่ได้ลูกค้าอยู่ได้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การยกเว้นค่าเช่าพื้นที่ การยกเว้นการเก็บค่าโฆษณา ให้ลงโฆษณาฟรี โปรโมชันลดแลกแจกแถม โดยจะมีการช่วยเหลือกันไปจนถึงสิ้นปี 63 นี้ ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าของ BMN จะซื้อโฆษณาแบบระยะยาว จึงยังคงใช้บริการกันอยู่ หรือมีเพียง 5% เท่านั้นที่พบว่าได้ยกเลิกสัญญาลงไป”

สำหรับภาพรวมของ BMN ปีนี้ไม่ดีเพราะภาพรวมสื่อไม่ดี โดยเฉพาะสื่อนอกบ้าน ในส่วนของ BMN เอง พร้อมมุ่งมั่นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ พัฒนาสื่อตลอดเวลา จึงได้มีการนำออนไลน์มาปรับใช้กับสื่อนอกบ้าน ออกมาเป็นการกำหนดกลยุทธ์ OMO หรือ Online Merges With Offline เป็นกลยุทธ์การตลาดแบบผสมผสาน ตอบโจทย์พฤติกรรมออนไลน์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน รวมถึงมีการสร้างประสบการณ์ใหม่ในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร ส่งผลให้เป็นสื่อโฆษณาที่ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของการรับรู้และการมีส่วนร่วมที่มีจุดเด่นดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์สินค้า และบริการ



ล่าสุดได้จับมือกับ Garena ในแคมเปญ FREE FIRE WORLD โดยการสร้างจุดเด่นใหม่ๆ ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ MRT ให้เต็มอิ่มไปกับ Journey of Excitement สร้างสรรค์พื้นที่สื่อโฆษณารูปแบบใหม่กับ Garena ในการพัฒนาสื่อ Out of Home ที่จะนำไปสู่การดาวน์โหลดเกมใช้งานจริง และดึงดูดให้ผู้บริโภคซื้อไอเท็มพิเศษต่างๆ ภายในเกมเพิ่มเติม

โดยได้ตกแต่งสถานีรถไฟฟ้า MRT สวนจตุจักรให้เป็นโลกของเกม FREE FIRE เพื่อให้ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการได้สัมผัสประสบการณ์ความสนุกสนาน ตั้งแต่ด้านนอกสถานีเข้าไปจนถึงชั้นชานชาลา ด้วยสื่อโฆษณาที่น่าสนใจหลากหลายประเภท เช่น การใช้เสียงต้อนรับผู้โดยสาร เมื่อออกจากขบวนรถไฟฟ้า, การใช้จอดิจิทัล และ Dynamic Light Box รวมถึง ภาพ แสง สี เสียง และโมชันกราฟิก รวมถึงการสร้าง Adventure ในสื่อต่างๆ ในสถานีโดยการติดตั้ง QR Code เพื่อให้คอเกมได้สนุกกับการตามหาและร่วมลุ้นรับไอเท็มเสริมสุดพิเศษเพื่อนำไปใช้เล่นในเกม FREE FIRE



การเลือกใช้สื่อในรูปแบบ Interactive ที่เชื่อมต่อระหว่างโลก Offline กับ Online เข้าด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ เชื่อว่าจะผลักดันให้เกม FREE FIRE เป็นที่น่าจดจำ และอยู่ในใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน

นายวิทสุวัฒน์กล่าวต่อว่า MRT สถานีจตุจักร ถือเป็นอีกหนึ่งสถานีที่บริษัทมองว่ามีศักยภาพมากพอที่จะทำให้แผนการขายโฆษณากับลูกค้าได้แบบเหมาทั้งพื้นที่ จากทั้งหมดที่มองว่าสามารถทำแบบนี้ได้ราว 10 สถานี ขณะนี้สามารถขายลูกค้าได้แล้ว 5 สถานี เช่น 1. สถานีวัดมังกร กับเนสกาแฟ 2. สถานีจรัญฯ 13 กับวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม 3. สถานีบางอ้อ กับโรงพยาบาลยันฮี และล่าสุดกับ 4. สถานีจตุจักร กับ เกม FREE FIRE ซึ่งหากทำได้ครบทั้ง10 สถานี หรือมากกว่านั้น จะเป็นการหารายได้แบบคงที่ระยะยาว ที่จะช่วยทดแทนรายได้ในช่วงโควิด-19 ที่หายไปได้บ้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2020 9:11 pm    Post subject: Reply with quote

เวนคืนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-เขียว 149 แปลง ขยายทางเท้ารับคนพิการ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 12 ตุลาคม 2563 - 20:58 น.
ไฟเขียว พ.ร.ฎ.เวนคืนรถไฟฟ้า “สีน้ำเงิน-เขียว” รฟม.เร่งขยายพื้นที่ทางเท้าสถานี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 13 ตุลาคม 2563 เวลา 13:40

ครม. ไฟเขียวเวนคืนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สีเขียว เพิ่ม 149 แปลง ขยายทางเท้ารับคนพิการ

ครม.ไฟเขียว พ.ร.ฎ.เวนคืน 8 ฉบับรถไฟฟ้าต่อขยายสีน้ำเงินบางซื่อ-ท่าพระ และ หัวลำโพง-บางแค จำนวน 98 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 114 หลัง และสายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-คูคต จำนวน 51 แปลง ขยายทางเท้าให้เป็น 1.5 เมตร รองรับผู้พิการ กรอบเวลาดำเนินการ 400 วัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 ต.ค.2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และร่างพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินรวม 8 ฉบับ แบ่งเป็น ร่างพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนและร่างพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ รวม 4 ฉบับ และในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียวช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต รวม 4 ฉบับ

อำนวยความสะดวกผู้พิการ
สาระสำคัญของ พ.ร.ฎ.สายสีน้ำเงิน เพื่อปรับปรุงทางเท้าบริเวณบันไดขึ้น – ลง สถานีรถไฟฟ้า ลิฟต์ ตอม่อ และทางลาดของคนพิการบริเวณสถานีต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการและผู้ใช้ทางเท้าอื่นในการสัญจรไปมา

ประกอบกับ พ.ร.ฎ.เวนคืนเดิมที่จะก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินทั้ง 2 ช่วง มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค. 2558 มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี ได้สิ้นผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องมีการออกพ.ร.ฎ.เวนคืนอีกครั้ง โดยพื้นที่ที่จะเวนคืน ประกอบด้วย

1. ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร (กทม.)


2. ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (กทม.)

ซึ่งจากการสำรวจ พบว่ามีอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนเพิ่มเติม ประกอบด้วยที่ดิน ประมาณ 98 แปลง และสิ่งปลูกสร้างประมาณ 114 หลัง/รายการ โดยในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ใช้ระยะเวลาประมาณ 400 วัน นับตั้งแต่วันที่แจ้งเข้าสำรวจอสังหาริมทรัพย์

ส่วน พ.ร.ฎ.อีก 4 ฉบับ เป็นกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต รวม 4 ฉบับ

สาระสำคัญเช่นเดียวกับสายสีน้ำเงินคือ เพื่อปรับปรุงทางเท้าบริเวณบันไดขึ้น – ลง สถานีรถไฟฟ้า ลิฟต์ ตอม่อ และทางลาดของคนพิการบริเวณสถานีต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการและผู้ใช้ทางเท้าอื่นในการสัญจรไปมา

ประกอบกับพ.ร.ฎ.ในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินฉบับเดิม สิ้นสุดการบังคับใช้ไปเมื่อปี 2561 จึงต้องมีการออกพ.ร.ฎ.ฉบับใหม่ โดยพื้นที่เวนคืนประกอบด้วย

1. ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ในท้องที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืน ประกอบด้วยที่ดิน ประมาณ 17 แปลง และสิ่งปลูกสร้างประมาณ 17 รายการ

2. ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ในท้องที่เขตจตุจักร เขตบางเขน เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มีอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืน ประกอบด้วยที่ดินประมาณ 34 แปลง และสิ่งปลูกสร้างประมาณ 8 หลัง 19 รายการ โดยจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ใช้ระยะเวลาประมาณ 400 วัน นับตั้งแต่วันที่แจ้งเข้าสำรวจอสังหาริมทรัพย์

สาเหตุที่ต้องทำ เพราะการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับการร้องเรียนว่า ใช้พื้นที่ทางเท้าก่อสร้างบันไดขึ้น – ลง ทางเท้า และทางลาดของคนพิการจนเกือบเต็มพื้นที่ เป็นการรอนสิทธิของผู้ใช้ทางเท้า บางจุดทางเท้าเหลือพื้นที่เพียง 50 – 80 ซม. ซึ่งตามกฎหมายแล้วทางเท้าจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงให้เหมาะสม

โดยสำนักงบประมาณแจ้งว่า จะจัดสรรงบประมาณให้ รฟม. ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว

ครม.เคาะ “เวนคืนที่ดิน” โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จุดไหนบ้าง เช็กได้ที่นี่
วันที่ 13 ตุลาคม 2563 เวลา 13:00 น.
ครม.เห็นชอบ “ร่างพระราชกฤษฎีกา” 4 ฉบับ เวนคืนที่ดิน ทำทางเท้า-ทางลาด “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน” ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ หลังผ่านไป 4 ปี ทำยังไม่เสร็จ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 12 ตุลาคม 2563 มีมติ "เวนคืนที่ดิน" หรือ อนุมัติหลักการ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน 4 ฉบับได้แก่
- ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค)
- ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ)

- ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค)

- ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.... (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ)

ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา 4 ฉบับ

กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนและกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ เพื่อปรับปรุงทางเท้าบริเวณบันไดขึ้น - ลง สถานีรถไฟฟ้า ลิฟต์ ตอม่อ และทางลาดของคนพิการบริเวณสถานีต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการและผู้ใช้ทางเท้าอื่นในการสัญจรไปมา ดังนี้

1. ช่วงหัวลำโพง – บางแค ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร

2. ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม เสนอว่า
1.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าบริเวณบันไดขึ้น - ลง ทางเท้า และทางลาดของคนพิการว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายของ รฟม. ไม่เป็นไปตามกฎหมาย โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ -ท่าพระ จากการตรวจสอบบริเวณบันไดขึ้น ลง สถานีรถไฟฟ้า ลิฟต์ ตอม่อ และทางลาดของคนพิการบริเวณสถานีต่าง ๆ ของรถไฟฟ้าแต่ละสาย ปรากฏว่า มีการใช้พื้นที่ทางเท้าก่อสร้างจนเกือบเต็มพื้นที่ เป็นการรอนสิทธิของผู้ใช้ทางเท้า บางจุดทางเท้าเหลือพื้นที่เพียง 50 - 80 เซนติเมตร ซึ่งไม่เป็นไปตามกฎหมาย ได้แก่
- กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548
- กฎกระทรวงกำหนดลักษณะหรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555
- กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 โดยมีการกำหนดทางเท้าต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

จึงขอให้รฟม. ดำเนินการหรือสั่งการให้มีการตรวจสอบ หรือแจ้งให้ผู้รับเหมาดำเนินการแก้ไข รื้อถอนหรือทุบทิ้งบันไดขึ้น - ลง สถานีรถไฟฟ้า ลิฟต์ ตอม่อ และทางลาดของคนพิการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือตามกฎหมายข้างต้นทุกประการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสั่งการให้ รฟม. สำรวจทางเดินคนพิการในทุกสถานีรถไฟใต้ดินและปรับปรุงแก้ไขให้ใช้งานได้จริง เพื่อไม่ให้มีข้อร้องเรียนอีก ซึ่ง รฟม. ได้ตรวจสอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อจัดทำทางเท้าให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ในโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ แล้ว ปรากฏว่ามีอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนเพิ่มเติม ประกอบด้วยที่ดิน ประมาณ 98 แปลง และสิ่งปลูกสร้างประมาณ 114 หลัง/รายการ โดยในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ใช้ระยะเวลาประมาณ 400 วัน นับตั้งแต่วันที่แจ้งเข้าสำรวจอสังหาริมทรัพย์

เนื่องจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค) พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ)

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค)

และ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 (โครงการรถฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ)

ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2558 มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี ได้สิ้นผลใช้บังคับแล้ว ซึ่ง รฟม. พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่สามารถดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อจัดให้มีทางเท้าความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ให้แล้วเสร็จได้ทัน ดังนั้น เพื่อให้การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสามารถดำเนินการได้จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ต่อไป จึงจำเป็นต้องเสนอ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงบางซื่อ - ท่าพระ รวม 4 ฉบับ

คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ รวม 4 ฉบับ เพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

ด้านสำนักงบประมาณแจ้งว่า จะจัดสรรงบประมาณให้ รฟม. ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 4 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ

มติครม. "เวนคืนที่ดิน" รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน "หัวลำโพง - บางแค" และ "บางซื่อ - ท่าพระ" หลังผ่านไป 4 ปี ทำทางเท้า-ทางลาดไม่เสร็จ Content By จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2020 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงิน ปิดบริการสถานีสามย่านแล้วตั้งแต่ 18.00น.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 16 ตุลาคม 2563 เวลา 18:27

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT แจ้งปิดให้บริการสถานีสามย่าน

16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 18:39 น.

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM แจ้งปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล MRT สีน้ำเงิน ที่สถานีสามย่าน ชั่วคราว วันนี้ (16 ต.ค.) ตั้งแต่เวลา 18.00น. เป็นต้นไป สำหรับสถานีอื่นๆ ยังคงให้บริการตามปกติ
ทั้งนี้ ตามที่มีคำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ที่ 3/2563 เรื่องห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม อาคาร หรือ สถานที่
บริษัทฯ จึงมีความจำเป็นต้องปิดให้บริการสถานีสามย่าน ชั่วคราวในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป สำหรับสถานีอื่น ๆ ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ
บริษัทฯ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น และขอขอบคุณผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ทุกท่านที่เข้าใจในความจำเป็น ทั้งนี้ขอความร่วมมือผู้โดยสารปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
https://www.facebook.com/BEM.MRT/posts/10158857771079516
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 201, 202, 203 ... 228, 229, 230  Next
Page 202 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©