RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181430
ทั้งหมด:13492668
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 71, 72, 73  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2020 12:11 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคม จ่อเสนอ ครม. ไฟเขียวสร้างต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ภายใน พ.ย.นี้
ศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2563 เวลา 14:00:00 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ช่วงสถานีศรีรัช (ถนนแจ้งวัฒนะ) เมืองทองธานี ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้ผ่านการเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว ส่วนขั้นตอนของการเสนอขออนุมัติโครงการ รฟม.ได้เสนอไปยังกระทรวงคมนาคม และทราบว่าอยู่ระหว่างเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ

สำหรับโครงการ ส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี เป็นข้อเสนอของบริษัท นอร์ท เทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (เอ็นบีเอ็ม) ซึ่งอยู่ในกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) ผู้รับสัมปทานพัฒนารถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยได้นำเสนอจะลงทุนเองในงบประมาณราว 3,379 ล้านบาท สร้างจากสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี

รายงานข่าวจาก รฟม. ระบุว่า คาดการณ์ว่าจะมีการเสนอไปยัง ครม. เพื่อขออนุมัติสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ภายในเดือนพฤศจิกา​ยนนี้ เนื่องจากปัจจุบันโครงการดังกล่าวไม่ติดขั้นตอนใดแล้ว เพราะก่อนหน้านี้ยังอยู่ในขั้นตอนรอการพิจารณาอีไอเอ รฟม.จึงดำเนินการควบคู่ในส่วนของการเสนอขออนุมัติโครงการไปยัง ครม. ดังนั้นเมื่อขณะนี้อีไอเอได้ผ่านการเห็นชอบ ก็คาดว่าขั้นตอนหลังจากนี้จะดำเนินการได้โดยเร็ว

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ ข้อเสนอส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ได้ผ่านการเห็นชอบด้านอีไอเอแล้ว เหลือในส่วนของขั้นตอนรอ ครม.พิจารณาอนุมัติ หลังจากนั้นจึงจะมีการทำสัญญาลงนามเพิ่มเติมระหว่าง รฟม.และ เอ็นบีเอ็ม จึงจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ในส่วนของเอกชนมีความพร้อมที่จะเข้าไปดำเนินการก่อสร้างอยู่แล้ว หากผ่านการอนุมัติจาก ครม.คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ ใช้เวลาก่อสร้างราว 1-1.5 ปี เพื่อเปิดให้บริการได้ภายในปี 2565 ซึ่งจะสอดคล้องกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายหลัก ช่วงแคราย-มีนบุรี ที่ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้า 60% คาดว่าจะทยอยเปิดให้บริการปลายปี 2564 และเปิดเต็มระบบภายในปี 2565 โดยถือว่าล่าช้ากว่าแผนเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากสาเหตุการส่งมอบพื้นที่ยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนตัวขบวบรถ 42 ขบวน จะทยอยรับมอบภายในครบภายในปี 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2020 12:44 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สีชมพูเข้าเมืองทองผ่านอีไอเอบีทีเอสพร้อมสร้างปีนี้เสร็จ65
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563


อีไอเอ"ผ่าน!!พ.ย.นี้เคาะสร้างส่วนต่อขยาย"สายสีชมพู"เข้าเมืองทองฯ
เดลินิวส์
วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2563เวลา 07.30 น.

คมนาคมเตรียมเสนอ ครม. เคาะสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสีชมพูทะลุเข้าเมืองทองธานี พ.ย.นี้ หลังอีไอเอผ่านบีทีเอสพร้อมก่อสร้าง คาดใช้เวลาไม่เกินปีครึ่งเปิดให้บริการปี 65

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ช่วงสถานีศรีรัช(ถนนแจ้งวัฒนะ) - เมืองทองธานี ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้ผ่านการเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้ว โดยในส่วนของขั้นตอนการเสนอขออนุมัติโครงการนั้น ทาง รฟม.ได้เสนอไปยังกระทรวงคมนาคม และเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการ ส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี เป็นข้อเสนอของบริษัท
นอร์ท เทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ซึ่งอยู่ในกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) ผู้รับสัมปทานพัฒนารถไฟฟ้าสายสีชมพู
ช่วงแคราย - มีนบุรี โดยนำเสนอจะลงทุนเองในงบประมาณราว 3,379 ล้านบาท สร้างจากสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี


รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งว่า คาดการณ์ว่าน่าจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม. เพื่อขออนุมัติสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ภายในเดือน พ.ย.นี้ เนื่องจากปัจจุบันโครงการดังกล่าวไม่ติดขั้นตอนใดแล้ว ขณะนี้อีไอเอได้ผ่านการเห็นชอบคาดว่าหลังจากนี้การดำเนินโครงการจะสามารถทำได้โดยเร็ว

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทราบว่าขณะนี้ข้อเสนอส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ได้ผ่านการเห็นชอบด้านอีไอเอแล้ว เหลือในส่วนของขั้นตอนรอ ครม.พิจารณาอนุมัติ หลังจากนั้นจึงจะมีการทำสัญญาลงนามเพิ่มเติมระหว่าง รฟม.และ NBM จึงจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ ทั้งนี้ในส่วนของเอกชนมีความพร้อมจะเข้าไปดำเนินการก่อสร้างอยู่แล้ว หากผ่านการอนุมัติจาก ครม. คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ ใช้เวลาก่อสร้างราว 1 - 1.5 ปี เพื่อเปิดให้บริการได้ภายในปี 65 ซึ่งจะสอดคล้องกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายหลัก ช่วงแคราย - มีนบุรี ที่ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้า 60% คาดว่าจะทยอยเปิดให้บริการปลายปี 64 และเปิดเต็มระบบภายในปี 65 โดยถือว่าล่าช้ากว่าแผนเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากสาเหตุการส่งมอบพื้นที่ยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนตัวขบวบรถ 42 ขบวน จะทยอยรับมอบภายในครบภายในปี 64. https://www.dailynews.co.th/economic/802668

ดันครม.เปิดไฟเขียวรถไฟฟ้าสีชมพูเข้าเมืองทองธานี
เดลินิวส์
วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2563 เวลา 12.15 น.

คมนาคมเสนอครม.เดือนหน้าเคาะสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสีชมพู ทะลุเข้าเมืองทองธานี หลังอีไอเอผ่าน กก.วล. ฉลุย ด้านบีทีเอสพร้อมก่อสร้างปีครึ่งเปิดบริการปี 65

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ช่วงสถานีศรีรัช(ถนนแจ้งวัฒนะ) - เมืองทองธานี ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้ผ่านการเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้ว โดยในส่วนของขั้นตอนการเสนอขออนุมัติโครงการนั้น ทาง รฟม.ได้เสนอไปยังกระทรวงคมนาคม และเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการ ส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าสายสีชมพูแคราย-มีนบุรี ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี เป็นข้อเสนอของบริษัท นอร์ท เทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ซึ่งอยู่ในกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป) ผู้รับสัมปทานพัฒนารถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี โดยนำเสนอจะลงทุนเองในงบประมาณราว 3,379 ล้านบาท สร้างจากสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กิโลเมตร จำนวน 2 สถานี

รายงานข่าวจาก รฟม. แจ้งว่า คาดการณ์ว่าน่าจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม. เพื่อขออนุมัติสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ภายในเดือน พ.ย.นี้ เนื่องจากปัจจุบันโครงการดังกล่าวไม่ติดขั้นตอนใดแล้ว ดังนั้นเมื่อขณะนี้อีไอเอได้ผ่านการเห็นชอบ ก็คาดว่าหลังจากนี้การดำเนินโครงการจะสามารถทำได้โดยเร็ว


ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทราบว่าขณะนี้ข้อเสนอส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ได้ผ่านการเห็นชอบด้านอีไอเอแล้ว เหลือในส่วนของขั้นตอนรอ ครม.พิจารณาอนุมัติ หลังจากนั้นจึงจะมีการทำสัญญาลงนามเพิ่มเติมระหว่าง รฟม.และ NBM จึงจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ ทั้งนี้ในส่วนของเอกชนมีความพร้อมจะเข้าไปดำเนินการก่อสร้างอยู่แล้ว หากผ่านการอนุมัติจาก ครม. คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ ใช้เวลาก่อสร้างราว 1 - 1.5 ปี เพื่อเปิดให้บริการได้ภายในปี 65 ซึ่งจะสอดคล้องกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายหลัก ช่วงแคราย - มีนบุรี ที่ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้า 60% คาดว่าจะทยอยเปิดให้บริการปลายปี 64 และเปิดเต็มระบบภายในปี 65 โดยถือว่าล่าช้ากว่าแผนเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากสาเหตุการส่งมอบพื้นที่ยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนตัวขบวบรถ 42 ขบวน จะทยอยรับมอบภายในครบภายในปี 64. https://www.dailynews.co.th/economic/802786
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2020 12:54 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

บิ๊กป้อม เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
พฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2563 เวลา 15:56 น.

บิ๊กป้อม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยายช่วง สถานีศรีรัช-เมืองทองธานี ย้ำดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชน
พฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2563



สผ.ไฟเขียว EIA รถไฟไทย-จีน ช่วงบ้านภาชี-โคราช และ “สีชมพู” ขยายเข้าเมืองทองฯ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 23 ตุลาคม 2563 เวลา 10:56

สผ.อนุมัติ EIA รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบ้านภาชี-นครราชสีมาแล้ว กรณีเปลี่ยนแปลงช่วงศูนย์ซ่อมและสถานีโคราช และเห็นชอบ EIA สีชมพู ส่วนต่อขยาย 2 สถานีเข้าเมืองทองฯ

รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 22 ต.ค. ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการส่วนที่เป็นอุโมงค์การปรับโครงสร้างโครงการบางช่วง การปรับตำแหน่งศูนย์ซ่อมบำรุง และการปรับรูปแบบสถานีนครราชสีมาให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟทางคู่และโครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อยจังหวัดเพชรบุรี (โพไร่หวาน) ของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงการอาคารอยู่อาศัยรวมสำหรับเช่าจำนวน 246 ห้อง

@ อนุมัติ EIA รถไฟฟ้าสีชมพู ต่อขยายเข้าเมืองทองธานี

นอกจากนี้ กก.วล.ยังได้พิจารณารายงาน EIA โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัชเมืองทองธานี ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยเพิ่ม 2 สถานีเพื่อเข้าสู่เมืองทองธานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2020 10:33 pm    Post subject: Reply with quote

ปีนี้ตอกเข็ม ”รถไฟฟ้าสายสีชมพู” เข้าเมืองทองธานีเปิดหวูดพร้อมแคราย-มีนบุรี ปี’65
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 ตุลาคม 2563 - 17:59 น.

กำลังโหมสร้างอย่างหนัก ท่ามกลางการปรับแบบรองรับการขยับตำแหน่งสถานีใหม่ “รถไฟฟ้าโมโนเรล” สายสีชมพูข่วงแคราย – มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม.เชื่อมการเดินทางจ.นนทบุรีไปยังกรุงเทพฯโซนตะวันออก ไปตามแนวถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะและรามอินทรา

มี บจ.นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรลในเครือกลุ่มบีทีเอส-ซิโนไทยฯ-ราชกรุ๊ป เป็นผู้ลงทุนและรับสัมปทานเดินรถ 30 ปี ด้วยวงเงิน 53,490 ล้านบาท

สร้างคืบหน้ากว่า 62%
Click on the image for full size
ปัจจุบันงานก่อสร้างโครงการคืบหน้า 62.23% งานโยธา 64.85% ยังล่าช้าจากแผนงาน งานระบบไฟฟ้าและเดินรถ คืบหน้า 59.71% ตามสัญญาจะแล้วเสร็จเปิดบริการในเดือนต.ค.2564

แต่ติดการส่งมอบพื้นที่ ทาง”รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย”และ”กลุ่มบีทีเอส”ได้ปรับแผนเปิดบริการเป็นช่วงๆ ในเดือนต.ค.2564 จะเปิดให้บริการจาก”สถานีมีนบุรี-สถานีศูนย์ราชการ” เก็บค่าโดยสารในทันที อัตรา 16-42 บาท และเปิดตลอดสายในเดือนต.ค.ปี 2565

ครม.ไฟเขียวขยับ 2 สถานีใหม่

หลังจากนี้”กลุ่มบีทีเอส”จะเร่งเครื่องก่อสร้างอย่างเต็มสูบ หลัง”ครม.-คณะรัฐมนตรี”เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2563 อนุมัติการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากการขอเปลี่ยนตำแหน่งตั้งสถานีใหม่ 2 จุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จุดแรก “สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี” (PK01) จากเดิมจะใช้พื้นที่อุทยานมกุฏรมยสราญ เป็นจุดตั้งสถานี รฟม.ศึกษาสภาพพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดินริมถ.รัตนาธิเบศร์แล้วพบว่า มีทางเลือกพื้นที่ที่สามารถกำหนดเป็นตำแหน่งที่ตั้งของสถานีใหม่ใน 3 ทางเลือก

1. บริเวณด้านหน้าซ.รัตนาธิเบศร์ 4 2. บริเวณด้านหน้าสถานีควบคุมดาวเทียมไทยคม และ 3. บริเวณด้านข้างสถานีควบคุมดาวเทียมไทยคม แต่สุดท้ายเคาะทางเลือกที่ 1 คือตัวเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด เพราะนอกจากไม่ได้ใช้พื้นที่อุทยานแล้ว ยังไม่บดบังทัศนียภาพด้วย


ผุดทางเดินเลื่อนเชื่อมสีม่วง-สีน้ำตาล
โดยขยับจากตำแหน่งเดิมไปทางขวา (ทิศตะวันออก) ประมาณ 337 เมตร สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี และสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี) ด้วยการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Skywalk) ระยะทาง 340 เมตรพร้อมติดตั้งระบบทางเดินเลื่อนอัตโนมัติเชื่อมต่อกับสายสีม่วงและ Sky walk ระยะทาง 45 เมตรเชื่อมต่อกับสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลีจะสร้างในอนาคต



อีกจุด”สถานีนพรัตนราชธานี” (PK26) ต้องย้ายจากจุดเดิมเนื่องจากกรมทางหลวง (ทล.) ได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกบริเวณหน้าโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี บริเวณทางแยกจุดตัดถนนรามอินทรา ซึ่งเป็นตำแหน่งของสถานีเดิม

เบี่ยงแนวหลบสะพานข้ามแยกนพรัตน์
ทำให้ตำแหน่งที่ตั้งของสถานีมีระยะห่างในแนวดิ่ง จากผิวถนนถึงโครงสร้างใต้สถานีไม่เพียงพอตามมาตรฐานของกรมทางหลวงที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร จึงจำเป็นต้องขยับตำแหน่งสถานีออกไปทางซ้าย (ทิศตะวันตก) ของแนวเส้นทางประมาณ 313 เมตร มาอยู่บริเวณด้านหน้าสนามกีฬาไนติงเกล หมู่บ้านวิสุทธาวิลล์ และร้านอาหารเทอเรช 61

ซึ่งได้หารือกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 5 ราย เพื่อชี้แจงข้อมูลการออกแบบสถานี และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพ.ค. 2560 ถึงม.ค. 2561 โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินขอให้ปรับรูปแบบสถานีให้ไม่มีโครงสร้างทางขึ้น – ลงสถานีพาดผ่านหน้าหมู่บ้าน วิสุทธาวิลล์

และปรับลดแนวเวนคืนไม่ให้มีการเวนคืนที่ดินภายในรั้วบ้านหรือมีผลกระทบต่อตัวอาคารบ้านพักอาศัย ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้ดำเนินการตามที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ร้องขอเรียบร้อยแล้ว

“บิ๊กป้อม”เคาะ EIA ส่วนต่อขยาย
Click on the image for full size
ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบรายงาน EIA ส่วนต่อขยายช่วงศรีรัช – เมืองทองธานี ระยะทาง 3 กม. วงเงิน 3,379 ล้านบาท มี 2 สถานี ได้แก่

ซึ่งกลุ่มบีทีเอสเสนอลงทุนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมเสนอผลการเจรจาให้ครม.อนุมัติ คาดว่าไม่เกินภายในเดือนพ.ย.นี้ โดยแนบรายงานEIAเข้าไปด้วย

สิ้นปีตอกเข็มเร่งให้เสร็จปี’65
ตามแผนจะเริ่มเวนคืนและก่อสร้างภายในปี2563 จะเร่งก่อสร้างให้เสร็จภายในปี 2565 พร้อมกับสายสีชมพูเส้นทางหลัก หรืออย่างช้าภายในปี 2566

โดยส่วนต่อขยายของสายสีชมพูเป็นการร่วมลงทุนของสองพี่น้องตระกูลกาญจนพาสน์ ระหว่าง”อนันต์ กาจนพาสน์”เจ้าของอาณาจักรเมืองทองธานีที่ทุ่มเม็ดเงิน 1,250 ล้านบาท และ”คีรี กาญจนพาสน์”เจ้าพ่อรถไฟฟ้าบีทีเอส

ปลุกเมืองทองคึก
ผนึกกำลังลากรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้ามายังเมืองทองรองรับการอยู่อาศัยในเมืองทองธานีและผู้เดินทางเข้ามาชมงานในอิมแพ็คที่ปัจจุบันอยู่ที่ 10-15 ล้านคนต่อปี ปลุกความคึกให้เมืองทองธานีอีกรอบ

แนวเส้นทางเริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณสถานีศรีรัชของสายสีชมพูสายหลัก วิ่งไปทางทิศตะวันตก และเลี้ยวขวาเข้าสู่เมืองทองธานีไปตามซอยแจ้งวัฒนะ – ปากเกร็ด 39 แนวทางเดียวกันกับทางพิเศษอุดรรัถยา จนสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี

มี 2 สถานี ได้แก่ สถานีMT-01 บริเวณอิมแพ็คชาเลนเจอร์ และสถานี MT-02 ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของทะเลสาบเมืองทองธานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2020 10:54 pm    Post subject: Reply with quote

อนุมัติ EIA ส่วนต่อขยายสายสีชมพู เชื่อมต่อเมืองทองธานี
วันที่ 25 ตุลาคม 2563 เวลา 16:16 น.

วันนี้ขอเอารายละเอียดของโครงการส่วนต่อขยายสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี จากใน EIA ที่พึ่งอนุมัติล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมาเล่าให้ฟัง

ก่อนจะพูดถึงส่วนต่อขยาย ก็ต้องพูดถึงเส้นทางสายสีชมพู สายหลัก ศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี
ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายรอง (Feeder Line) ซึ่งจะเชื่อมโยง และส่งคนจากต้นทาง-ปลายทาง เข้าสู่เส้นทางหลัก (Mainline) เพื่อเดินทางเข้าสู่สายอื่น
ซึ่งใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ในสายสีชมพู และเหลืองใช้รถไฟฟ้าของบริษัท Bombardier รุ่น INNOVIA Monorail 300 อาณัติสัญญาณ Cityflo 650 ซึ่งเป็นรุ่นที่ทันสมัยที่สุด รุ่นเดียวกับ รถไฟฟ้าสายสีม่วง แล้วที่สำคัญที่สุดคือ เป็นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ ไม่ใช้คนขับประจำรถ (อาจจะมีเจ้าหน้าที่ประจำรถในกรณีฉุกเฉิน)
โดยสายนี้จะมีจุดตัดกับสายหลักถึง 5 จุด ทั้งที่ทำอยู่ในอนาคตได้แก่
- สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สายสีม่วง (เปิดให้บริการแล้ว)
- สถานีหลักสี่ สายสีแดง (กำลังก่อสร้าง)
- สถานีวัดพระศรีฯ บางเขน สายสีเขียว (เปิดให้บริการแล้ว)
- สถานีวัชรพล สายสีเทา (ในอนาคต)
- สถานีมีนบุรี สายสีส้ม (กำลังก่อสร้าง)
โดยสายสีชมพูก็ผ่านจุดสำคัญหลายๆจุด เช่น ศูนย์ราชการนนทบุรี, เมืองทองธานี, ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ, สำนักงานใหญ่ TOT , CAT, ไปรษณีย์ไทย, สถาบันจุฬาภรณ์, วงเวียนหลักสี่, สวนสยาม, มีทั้งมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลอีกหลายแห่งตลอดเส้นทาง
ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่น และเป็นแหล่งงานที่สำคัญของกรุงเทพ โซนเหนือ
—————————
แต่อย่างที่เราทราบกันดี ว่า เมืองทองธานี (ศูนย์แสดงสินค้า Impact) เป็นหนึ่งในศูนย์แสดงสินค้าที่ สำคัญ และใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีงานแสดงสินค้าเข้าออกแทบไม่ขาดสาย (ยกเว้นช่วง Covid แบบในปัจจุบัน)
ทำให้ทาง NBM (บริษัทลูกของ BSR ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง BTS, RATCH, ชิโนไทย อีกที) มองเห็นถึงศักยภาพของพื้นที่เมืองทองธานี ในการส่งเสริมการเดินทางทางระบบรถไฟฟ้า เชื่อมต่อให้ถึงพื้นที่ส่วนกลางของเมืองทองธานี ซึ่งแต่เดิมห่างจากสถานีศรีรัช สายสีชมพูอยู่ประมาณ 2 กิโลเมตร
ให้เชื่อมต่อเข้ากับระบบรถไฟฟ้าได้โดยตรง โดยการทำสายแยก (Spur line) จากสายหลัก (Mainline) ที่สถานีศรีรัช มุ่งหน้าเข้าสู่เมืองทองธานี อีก 2 สถานี คือ
- MT 01 สถานีชาเลนเจอร์
- MT 02 สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี
—————————
เส้นทางของโครงการสายสีชมพูส่วนต่อขยาย สถานีศรีรัช-เมืองทองธานี
เริ่มต้นจากด้านตะวันออกของสถานีศรีรัช ซึ่งจะเป็นประแจแยกออกจากสายหลัก (Mainline) เพื่อเข้าสู่ชานชาลาที่ 3 ของสถานีศรีรัช ซึ่งจะเป็นสถานีเดียวของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่มี 3 ชานชาลา โดยตัวชานชาลาจะอยู่ด้านทิศเหนือของสถานีศรีรัช ติดกับชานชาลา ของทางรถไฟด้านมุ่งหน้าไปมีนบุรี

หลังจากออกจากสถานีก็เข้าประแจเพื่อแยกเข้าสู่ทางคู่ ก่อนจะแยกเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนทางเข้าหลักของเมืองทองธานี

หลังจากวิ่งมาบนถนนเข้าเมืองทองธานี แล้วจะยกระดับขึ้นจาก 15 เมตร ไปที่ 24 เมตร ก่อนถึงจุดตัดกับทางด่วน ซึ่งช่องกลางทางด่วนได้เว้นช่องไว้รองรับแล้ว
แล้วหลังจากนั้นทางวิ่งจะวิ่งอยู่ในแนวตรงกลางระหว่างทางด่วนอุดรรัถยา มุ่งหน้าขึ้นเหนือ
พอมาถึงตรงจุดวงเวียนเข้า impact ก็เข้าสู่สถานีชาเลนเจอร์ MT-01
ซึ่งตัวอาคารสถานีจะเป็นรูปแบบชานชาลากลาง (เหมือนสายสีม่วง) เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างสถานีมีขนาดเล็ก อยู่ระหว่างทางด่วนอุดรรัถยา ขาไปและกลับ
พร้อมกับเชื่อมต่อกับ Skywalk ใหม่เข้าอาคารแสดงสินค้าชาเลนเจอร์
หลังจากนั้นก็มุ่งหน้าขึ้นเหนือต่อไปแล้วข้ามทางด่วนอุดรัถยาอีกครั้งมุ่งหน้าไปทางทะเลสาบเมืองทองธานีเข้าประแจสับหลีก ก่อนเข้าสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี MT-02 และสิ้นสุดที่ตรงนี้
ตัวอาคารสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี MT-02 เป็นสถานีปลายทางของสายแยกนี้ เป็นรูปแบบชานชาลาข้าง อยู่ริมทะเลสาบ พร้อมกับเชื่อม Skywalk ปัจจุบันที่ข้ามจาก Impact forum ผ่านหน้าสนามฟุตบอล SCG เมืองทอง ข้ามมาที่ข้างทะเลสาบ
ระยะทางรวม 3 กิโลเมตร
—————————
- รูปแบบทางวิ่งหลักของโครงการ เป็นรถไฟรางเดี่ยว (Monorail) แบบทางคู่ สวนได้

- รูปแบบประแจสับราง จะเป็นแบบคานแข็งสวิงจากด้านเดียว และมีจุดหมุนด้านหนึ่ง
ตามคลิปนี้
https://www.youtube.com/watch?v=xT80lCQQjGI
- พื้นที่จอดแล้วจร ซึ่งภายในพื้นที่เมืองทองมีทั้งแบบเสียเงินและฟรี สามารถรองรับได้ทั้งหมดร่วม 10,000 คัน
แค่หน้าทะเลสาบเมืองทองจุดเดียวที่ปัจจุบันฟรี ซึ่งติดกับสถานีทะเลสาบเลย ก็รองรับได้ถึง ประมาณ 4,500 คัน
ต่อไปในอนาคต อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการโดยสารที่สำคัญในอนาคตได้เลย สำหรับคนแถวสวนสมเด็จ และภายในเมืองทองเอง
—————————
การคาดการณ์จำนวนผู้โดยสาร
จากเกณฑ์การคำนวนต่างๆ จะมีผู้โดูสารภายในส่วนต่อขยายนี้ ประมาณ 13,000 คน-ทิศทาง/วัน
โดยจากการศึกษาพฤติกรรมผู้โดยสาร คาดการณ์ว่าจะเดินทางมากในช่วงเช้า-เย็น
สูงสุดประมาณ 2,000 คน/ชั่วโมง-ทิศทาง ในปีที่เปิด
จะขยายตัวไปที่ 4,500 คน/ชั่วโมง-ทิศทาง อีก 30 ปี
จากการศึกษาปริมาณผู้โดยสาร แบ่งรูปแบบการจัดการเดินรถ ซึ่งใช้รถให้บริการพร้อมกัน 2 ขบวนเป็น 2 รูปแบบมาตรฐาน และ 1 รูปแบบพิเศษ คือ
- เดินรถช่วงนอกเวลาเร่งด่วน 14 ชั่วโมง/วัน
เดินรถที่ความถี่ 10 นาที (600 วินาที) /ขบวน โดยการใช้รางร่วมกันทั้ง 2 ขบวน
โดยเริ่มจาก สถานีศรีรัช ชานชาลา 3 สับราง เข้า MT-01 ชานชาลา 2 แล้วสับราง เข้า MT-02 ชานชาลา 1 แล้วค่อยกลับมาที่ MT-01 ชานชาลา 1 แล้วกลับมาที่สถานีศรีรัช ชานชาลา 3
แบบนี้ต้องสับราง 4 ครั้ง ในการเดินรถ 1 รอบ
- เดินรถช่วงในชั่วโมงเร่งด่วน เช้า-เย็น 4 ชั่วโมง/วัน
เดินรถที่ความถี่ 7.5 นาที (450 วินาที) /ขบวน โดยการใช้รางร่วมกันทั้ง 2 ขบวน
โดยรถไฟแต่ละขบวนจะใช้แยกใช้ทางของใครของมัน ใช้รางเป็นทั้งไปและกลับ ลดการสับรางที่สถานี MT-02
แบบนี้ต้องสับราง 2 ครั้ง ในการเดินรถ 1 รอบ
- เดินรถเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารมาเป็นพิเศษเพื่อรองรับการจัดงานที่มีผู้เข้าชมเยอะ เช่น Motor show หรือคอนเสิร์ตขนาดใหญ่
เดินรถที่ความถี่ 5 นาที (300 วินาที) /ขบวน โดยการใช้รางร่วมกันทั้ง 2 ขบวน
โดยจะมีการตัด Loop สั้น ขบวนนึงสิ้นสุดให้บริการที่ MT-01 และอีกขบวนสิ้นสุดที่ MT-02 โดยรถไฟแต่ละขบวนจะใช้แยกใช้ทางของใครของมัน ใช้รางเป็นทั้งไปและกลับ ลดการสับรางที่สถานี MT-02
แบบนี้ต้องสับราง 2 ครั้ง ในการเดินรถ 1 รอบ
—————————
ซึ่งจากการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และการเงิน ได้ผลตอบแทนคือ
- ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
EIRR 12.2%
NPV 62
B/C 1.02
- ผลตอบแทนทางการเงิน
FIRR 5.63%
NPV 378 ล้านบาท
B/C 1.09
ซึ่งส่วนต่อขยายที่ก่อสร้างเข้าเมืองทองนี้ ทาง NBM เป็นผู้ลงทุนเพิ่มเอง รัฐต้องจ่ายหรืออุดหนุนเพิ่มจากสัญญาเริ่มต้น แถมรัฐจะได้เงินจากส่วนแบ่งค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นด้วย
—————————
สายนี้คงส่งเสริมศักยภาพของ Impact และอุตสาหกรรม MICE ของไทยเราได้อีกมากเลยครับ
รวมถึงช่วยแก้ปัญหารถติดจากงานแสดงสินค้าจาก Impact อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2020 3:06 am    Post subject: Reply with quote

จับตา: เปิดรายละเอียดเปลี่ยนแปลง EIA รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
กองบรรณาธิการ TCIJ
วันที่ 23 ตุลาคม 2563

ครม. เห็นชอบการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยขอเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) และสถานีนพรัตนราชธานี (PK26)

เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้เห็นชอบการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โดยขอเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) และสถานีนพรัตนราชธานี (PK26)

โดยที่ตั้งสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) ให้ขยับตำแหน่งจากเดิมไปทางขวา (ทิศตะวันออก) ประมาณ 337 เมตร มาอยู่บริเวณด้านหน้าซอยรัตนาธิเบศร์ 4 เพื่อไม่ให้ต้องใช้พื้นที่อุทยานมกุฏรมยสราญ และไม่บดบังด้านหน้าอุทยานมกุฏรมยสราญ ทั้งนี้จะมีการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Skywalk) พร้อมติดตั้งระบบทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Walkalator) บนทางเดินยกระดับ ทั้งขาไปและขากลับ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร

ส่วนที่ตั้งสถานีนพรัตนราชธานี (PK26) ขยับตำแหน่งจากเดิมไปทางซ้าย (ทิศตะวันตก) ของแนวทางโครงการประมาณ 313 เมตร มาอยู่บริเวณด้านหน้าสนามกีฬาไนติงเกล เนื่องจากกรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกบริเวณหน้าโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (ทางแยกจุดตัดถนนรามอินทรา) ซึ่งเป็นตำแหน่งของสถานี PK26 เดิม ทำให้ตำแหน่งที่ตั้งของสถานี PK26 มีระยะห่างในแนวดิ่งจากผิวถนนถึงโครงสร้างใต้สถานีไม่เพียงพอตามมาตรฐานของกรมทางหลวงที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ได้กำชับให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตรวจสอบการใช้คลื่นความถี่ในระบบอาณัติสัญญาของรถไฟฟ้าสายต่างๆ โดยประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการใช้ย่านความถี่ที่ไม่กระทบกับการดำเนินงานของกสทช.ในเรื่องอื่นๆ

พร้อมกันนี้ได้ให้ รฟม.ตรวจสอบระเบียบต่างๆ เนื่องจากกรณีที่มีการหยุดให้บริการรถไฟฟ้า ในช่วงที่ผ่านมา ตามที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประเด็นที่รถไฟฟ้าหยุดให้บริการแล้ว รฟม.จะต้องมีการชดเชยค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ของเอกชนผู้ให้บริการหรือไม่อย่างไร รฟม.ต้องดูว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มครองอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งในฐานะผู้ให้บริการสาธารณะ ต้องยึดปฎิบัติตามกฎระเบียบและพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

เรื่อง การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี (โครงการฯ) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

คค. รายงานว่า

1. ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 พฤษภาคม 2560) โดย รฟม. ได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการฯ โดยขอเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) และสถานีนพรัตนราชธานี (PK26)1 ดังนี้

1.1 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01)

หัวข้อ

รายละเอียด

เหตุผลและความจำเป็น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) ได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2557 ให้ รฟม. เร่งรัดการแก้ไขปัญหาจุดเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โดยเฉพาะการกำหนดตำแหน่งสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) ของโครงการฯ ควรพิจารณาทางเลือกจุดที่ตั้งโดยไม่ใช้พื้นที่ของอุทยานมกุฏรมยสราญรวมทั้งการจัดให้มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างสถานี PK01 กับสถานีศูนย์ราชการนนทบุรีของโครงการรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ)

ทางเลือกพื้นที่

รฟม. ได้ดำเนินการศึกษาสภาพพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดินริมถนนรัตนาธิเบศร์แล้วพบว่า มีทางเลือกพื้นที่ที่สามารถกำหนดเป็นตำแหน่งที่ตั้งของสถานี PK01 ใหม่ จำนวน 3 ทางเลือก ได้แก่ (1) บริเวณด้านหน้าซอยรัตนาธิเบศร์ 4 (2) บริเวณด้านหน้าสถานีควบคุมดาวเทียมไทยคม และ (3) บริเวณด้านข้างสถานีควบคุมดาวเทียมไทยคม

ตำแหน่งที่ตั้ง

ทางเลือกที่ 1 บริเวณด้านหน้าชอยรัตนาธิเบศร์ 4 มีความหมาะสมมากที่สุดเนื่องจาก

- ขยับจากตำแหน่งเดิมไปทางขวา (ทิศตะวันออก) ประมาณ 337 เมตร บนถนนรัตนาธิเบศร์ จึงไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่อุทยานมกุฏรมยสราญ และไม่บดบังด้านหน้าอุทยานมกุฏรมยสราญ

- สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี และสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี)

- การบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสามารถกำหนด

ระยะห่างระหว่างขบวนรถ (Headway) ต่ำ ในช่วงเวลาเร่งด่วนได้

- โครงสร้างสถานีอยู่บนแนวเส้นทางโครงการเดิม จึงสามารถคงระดับสถานีและทางวิ่งได้ตามเดิม ทำให้คงคุณภาพการบริการและความสะดวกสบายของผู้โดยสารในการเข้าออกสถานีได้ดีที่สุด (ในกรณีทางเลือกที่ 2 และ 3จำเป็นต้องยกระดับโครงสร้างสถานีและทางวิ่งให้สูงขึ้น เพื่อข้ามโครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีม่วง)

- จำเป็นต้องมีการเวนคืนที่ดินของเอกชนบางส่วน เพื่อให้คงขนาดความกว้างทางเท้าไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร (รฟม. ได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว)

การเชื่อมต่อโครงข่ายระบบรถไฟฟ้า

- โครงการฯ จะก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Skywalk) ระยะทาง 340 เมตร

พร้อมติดตั้งระบบทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Walkalator) บนทางเดินยกระดับทั้งขาไปและขากลับ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร รวมทั้งผู้พิการและผู้สูงอายุ ในการเชื่อมต่อกับสถานีศูนย์ราชการนนทบุรีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง

- ผลการศึกษาออกแบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้กำหนดตำแหน่งสถานีต้นทาง (Terminal Station) อยู่ใกล้กับตำแหน่งสถานี PK01 ใหม่ ไว้แล้ว ทำให้ผู้โดยสารของทั้งสองโครงการสามารถเชื่อมต่อโดยตรงด้วยทางเดินยกระดับ (Skywalk) ระยะทางประมาณ 45 เมตร ประกอบกับจังหวัดนนทบุรีได้สงวนพื้นที่ราชพัสดุบริเวณที่จะก่อสร้างสถานีต้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลดังกล่าว เพื่อรองรับแนวคิดที่จะพัฒนาเป็นอาคารศูนย์เชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนไว้ด้วยแล้ว

การดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

- การประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการ จำนวน 250 ชุด ครอบคลุมประชาชนและผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ใกล้เคียงตำแหน่งสถานี

- การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งสิ้น 299 ราย โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 71.4) เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสถานีมีความเหมาะสม เนื่องจากสะดวกในการมาใช้บริการห้างสรรพสินค้าและใกล้ที่พักอาศัยมากกว่า และคาคว่าจะมีผู้มาใช้บริการมากกว่าตำแหน่งเดิม

- หารือร่วมกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและผู้เช่าที่ดินที่ถูกเวนคืน จำนวน 6 ราย ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ขอให้พิจารณาลดขนาดพื้นที่เวนคืน และขอให้เปิดทางเข้า - ออกแปลงที่ดิน

- ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี

เป็นประธาน และมีส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนเข้าร่วมประชุม ซึ่งที่ประชุมมีมติรับทราบที่ตั้งตำแหน่งสถานี PK01 ใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงมาจากตำแหน่งเดิม รวมทั้งรับทราบรูปแบบการก่อสร้างโครงการ และการจัดให้มีทางเดินยกระดับ (Skywalk) และทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Walkalator) เชื่อมต่อโดยตรงกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง

1.2 สถานีนพรัตนราชธานี (PK26)

หัวข้อ

รายละเอียด

เหตุผลและความจำเป็น

กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกบริเวณหน้าโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (ทางแยกจุดตัดถนนรามอินทรา) ซึ่งเป็นตำแหน่งของสถานี PK26 เดิม ทำให้ตำแหน่งที่ตั้งของสถานี PK26 มีระยะห่างในแนวดิ่ง (Vertical Clearance) จากผิวถนนถึงโครงสร้างใต้สถานีไม่เพียงพอตามมาตรฐานของกรมทางหลวงที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร จึงจำเป็นต้องขยับตำแหน่งสถานี PK26 จากตำแหน่งเดิมไปทางซ้าย (ทิศตะวันตก) ของแนวเส้นทางโครงการประมาณ 313 เมตร มาอยู่บริเวณด้านหน้าสนามกีฬาไนติงเกล หมู่บ้านวิสุทธาวิลล์ และร้านอาหารเทอเรช 61

การดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

- การประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการ จำนวน 250 ชุด ครอบคลุมประชาชนและผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ใกล้เคียงตำแหน่งสถานี

- การสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งสิ้น 401 ราย โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 74.6) เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสถานีมีความเหมาะสมเนื่องจากตำแหน่งสถานีอยู่ใกล้ที่พักอาศัยทำให้มีความสะดวกในการมาใช้บริการ

- หารือกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 5 ราย เพื่อชี้แจงข้อมูลการออกแบบสถานี และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560 ถึงมกราคม 2561 โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินขอให้ปรับรูปแบบสถานีให้ไม่มีโครงสร้างทางขึ้น – ลงสถานีพาดผ่านหน้าหมู่บ้าน วิสุทธาวิลล์ และปรับลดแนวเวนคืนไม่ให้มีการเวนคืนที่ดินภายในรั้วบ้านหรือมีผลกระทบต่อตัวอาคารบ้านพักอาศัย ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้ดำเนินการตามที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ร้องขอเรียบร้อยแล้ว

2. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2562เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี(PK01) ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในศูนย์ราชการและประชาชนที่มาติดต่อราชการได้ประโยชน์จำนวนมาก รฟม. ต้องมีเหตุผลที่จะสามารถอธิบายให้สังคมเข้าใจได้อย่างชัดเจนและได้รับการยืนยันจากจังหวัดนนทบุรีว่า เพราะเหตุใดจึงต้องเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสถานี และการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งมาอยู่บริเวณห้างสรรพสินค้าใกล้บริเวณสี่แยกแคราย และมีสะพานลอยข้ามแยก ซึ่งมีปัญหาจราจรติดขัดตลอดทั้งวัน จึงควรทบทวนว่าจะจัดการการจราจรบริเวณดังกล่าวอย่างไร เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรติดขัด ซึ่ง กก.วล. ได้มีมติ ดังนี้

2.1 เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ ในคราวประชุมครั้งที่ 38/2562 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ต่อรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการฯ โดยให้ รฟม. รับความเห็นของ กก.วล. ไปพิจารณาดำเนินการ สำหรับการขอย้ายสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) ในประเด็น ดังนี้ (1) การมีส่วนร่วมของประชาชน (2) การประชุมหารือศูนย์ราชการนนทบุรี (3) การจัดการจราจรในช่วงการก่อสร้างสถานีบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเอสพลานาด และ (4) การกำหนดเวลาเปิด - ปิดการใช้งานทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Walkalator) และ (5) การตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในช่วงการก่อสร้างโครงการของทั้งสองสถานี และดำเนินการ ดังนี้

2.1.1 ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด

2.1.2 ให้ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการในข้อ 2.1.1

2.1.3 นำความเห็นของ กก.วล. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป

2.2 มอบหมายให้ คค. โดย รฟม. ประชุมหารือศูนย์ราชการนนทบุรี และจังหวัดนนทบุรี เพื่อยืนยันเหตุผลในการขอย้ายสถานี PK01 ตามข้อกังวลของ กก.วล. ประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป

3. รฟม. ได้ดำเนินการตามความเห็นของ กก.วล. แล้ว ดังนี้

ความเห็นของ กก.วล.

การดำเนินการของ รฟม.

การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพิ่มเติม

รฟม. ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ติดต่อราชการกับศูนย์ราชการนนทบุรีเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 385 ราย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93.0) แสดงความคิดเห็นว่าสถานี PK01 ใหม่มีความหมาะสม เนื่องจากไม่บดบังทัศนียภาพของอุทยานมกุฏรมยสราญ นอกจากนี้ยังลดปัญหาการจราจรบริเวณทางเข้า – ออก ศูนย์ราชการนนทบุรีในช่วงก่อสร้าง

การประชุมหารือกับหน่วยงาน

ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์ราชการนนทบุรี

รฟม. ได้จัดประชุมหารือกับหน่วยงานในพื้นที่ศูนย์ราชการนนทบุรี รวม 49 หน่วยงาน ซึ่งส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85.1) แสดงความคิดเห็นว่า ตำแหน่งสถานี PK01 ใหม่มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นการลดปัญหาการจราจรบริเวณทางเข้า – ออก ศูนย์ราชการนนทบุรี ประกอบกับตำแหน่งสถานีใหม่ไม่ใช้พื้นที่และไม่บดบังทัศนียภาพของอุทยานมกุฏรมยสราญ นอกจากนี้ การที่ รฟม. จะจัดให้มีทางเดินยกระดับ (Skywak) และทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Walkalator) ไปยังสถานีโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งสองระบบ

การจัดการจราจรในช่วงการก่อสร้างสถานีบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเอสพลานาด

กองบัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรีได้ออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทางบกจังหวัดนนทบุรี ว่าด้วยการปิดกั้นจราจรบนถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนติวานนท์ และถนนแจ้งวัฒนะ ในเขตจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2562 เพื่อจัดการจราจรในช่วงการก่อสร้างสถานีบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเอสพลานาดด้วยแล้ว

การจัดให้มีทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ

รฟม. และผู้รับสัมปทานได้ออกแบบทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ระยะทางประมาณ 340 เมตร มีความสูงประมาณ 12 เมตร ความกว้างประมาณ 10 เมตร รวมทั้งจัดให้มีทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ ความกว้าง 1.4 เมตร ทั้งขาไปและขากลับ ด้านละ 1 ตัว ซึ่งจะเปิดใช้งานตลอดช่วงเวลาที่เปิดให้บริการเดินรถ

การตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในช่วงการก่อสร้าง

รฟม. และผู้รับสัมปทานได้เพิ่มเติมแผนการตรวจวัดฝุ่นละออง PM2.5 ในช่วงการก่อสร้างบริเวณวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงการก่อสร้างสถานี PK01 และในช่วงการก่อสร้างบริเวณหมู่บ้านวิสุทธาวิลล์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงการก่อสร้างสถานี PK26 แล้ว

__________________________
1การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสถานีไม่มีผลกระทบต่อกรอบวงเงินรวมของโครงการและผู้รับสัมปทานเป็นผู้รับผิดชอบค่าก่อสร้างสถานีดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2020 10:57 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.สั่งผู้รับเหมาคุมเข้มลดปล่อยฝุ่นระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้า

03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 10:33 น.



3 พ.ย.63-นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้กำชับที่ปรึกษา และผู้รับจ้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าทุกสายในความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรการลดฝุ่นขนาดใหญ่ (PM 10) อันเกิดจากงานก่อสร้างโครงการฯ ที่ รฟม. ได้เน้นย้ำให้ผู้รับจ้างฯ หมั่นฉีดล้างทำความสะอาดพื้นผิวถนนและแบริเออร์ตลอดแนวพื้นที่ก่อสร้าง ควบคู่กับการใช้ รถดูดฝุ่นเป็นประจำ

“พร้อมทั้งดำเนินการป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองภายในเขตพื้นที่ก่อสร้างฟุ้งกระจายออกไปยังถนนสาธารณะ โดยติดตั้งแผงป้องกันเป็นรั้วทึบโดยรอบพื้นที่ ปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างอย่างมิดชิด ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ปิดคลุมกระบะรถบรรทุกและทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้างทุกครั้ง “นายภคพงศ์ กล่าว

เทรดฟอเร็กซ์ไปกับโบรกฯที่มีความน่าเชื่อถือระดับโลก
IC Markets
นอกจากนี้ เพื่อเตรียมรับมือกับสภาพอากาศปิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ที่กระแสลมเคลื่อนที่ได้ไม่สะดวก และส่งผลให้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เกิดการสะสมจนเกินค่ามาตรฐาน รฟม. จึงได้สั่งการให้ที่ปรึกษา และผู้รับจ้างฯ พิจารณาเตรียมการติดตั้งเครื่องฉีดพ่นหมอกน้ำ/ละอองน้ำในอากาศบริเวณพื้นที่ที่มีความจำเป็น และประสานตำรวจจราจรอย่างใกล้ชิดในการจัดการจราจรบริเวณแนวสายทางที่มีการดำเนินงานก่อสร้าง เพื่อช่วยให้รถยนต์สามารถสัญจรผ่านคล่องตัวมากขึ้น

ขณะเดียวกันงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ายังสามารถดำเนินต่อไปได้ตามแผนงาน เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่แก่ประชาชนได้โดยเร็วที่สุด อันจะเป็นการบรรเทามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รฟม. ใคร่ขอเชิญชวนให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์ โดย รฟม. มีบริการอาคารและลานจอดแล้วจรตลอดแนวสายทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) รองรับการเดินทางต่อเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า MRT ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อยฝุ่นละออง PM 2.5 ออกสู่อากาศได้อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน รฟม. มีโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างงานโยธา จำนวน 3 สาย ซึ่งมีความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 ดังนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี มีความก้าวหน้างานโยธา 64.85% และงานระบบรถไฟฟ้า 59.71% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความก้าวหน้างานโยธา 66.31% และงานระบบรถไฟฟ้า 61.63% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 69.82% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567

รฟม.คุมเข้มมาตรการลดปัญหาฝุ่น ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย “ชมพู-เหลือง” เปิดแน่ปี 67
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:24 น.



รฟม.มั่นใจก่อสร้างรถไฟฟ้าตามแผนปี 65 เปิดสายสีชมพูและเหลืองปี 67 เปิดสายสีส้มด้านตะวันออก คุมเข้มผู้รับเหมาปฏิบัติตามมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมปริมาณฝุ่นละอองขนาดใหญ่ และฝุ่น PM 2.5 เตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศปิดช่วงฤดูหนาว

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน รฟม.อยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าจำนวน 3 สาย ซึ่ง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มีความก้าวหน้า ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้างานโยธา 64.85% และงานระบบรถไฟฟ้า 59.71% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความก้าวหน้างานโยธา 66.31% และงานระบบรถไฟฟ้า 61.63% คาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2565 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 69.82% คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567

ทั้งนี้ รฟม.ได้กำชับที่ปรึกษา และผู้รับจ้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าทุกสายในความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรการลดฝุ่นขนาดใหญ่ (PM 10) อันเกิดจากงานก่อสร้างโครงการฯ โดยได้เน้นย้ำให้ผู้รับจ้างฯ หมั่นฉีดล้างทำความสะอาดพื้นผิวถนนและแบริเออร์ตลอดแนวพื้นที่ก่อสร้าง ควบคู่กับการใช้รถดูดฝุ่นเป็นประจำ

พร้อมทั้งดำเนินการป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองภายในเขตพื้นที่ก่อสร้างฟุ้งกระจายออกไปยังถนนสาธารณะ โดยติดตั้งแผงป้องกันเป็นรั้วทึบโดยรอบพื้นที่ ปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างอย่างมิดชิด ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ปิดคลุมกระบะรถบรรทุกและทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้างทุกครั้ง

นอกจากนี้ เพื่อเตรียมรับมือสภาพอากาศปิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ที่กระแสลมเคลื่อนที่ได้ไม่สะดวก และส่งผลให้ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เกิดการสะสมจนเกินค่ามาตรฐาน รฟม.จึงได้สั่งการให้ที่ปรึกษา และผู้รับจ้างฯ พิจารณาเตรียมการติดตั้งเครื่องฉีดพ่นหมอกน้ำ/ละอองน้ำในอากาศบริเวณพื้นที่ที่มีความจำเป็น และประสานตำรวจจราจรอย่างใกล้ชิดในการจัดการจราจรบริเวณแนวสายทางที่มีการดำเนินงานก่อสร้าง เพื่อช่วยให้รถยนต์สามารถสัญจรผ่านคล่องตัวมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/11/2020 6:21 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ Lineทาง
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
นายสปีดtransport@dailynews.co.th

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งปิดการจราจร ทุกช่องทางบนสะพานข้ามแยกรามอินทรากม.8 ถนนรามอินทราฝั่งขาเข้าและฝั่ง ขาออกวันที่ 8-30 พ.ย. นี้ ช่วงเวลา 22.00- 04.00 น. เนื่องจากบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างจะใช้พื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วง แคราย-มีนบุรี

แจกแจงรายละเอียดวันที่ 8-10, 21 และ 23 พ.ย. ช่วงเวลา 22.00-04.00 น. ปิดจราจรทุกช่องทางบนสะพานข้ามแยกรามอินทรา กม.8 ฝั่งขาเข้า มุ่งหน้าหลักสี่ ผู้ใช้เส้นทางฝั่งขาเข้าที่ต้องการ มุ่งหน้าหลักสี่ให้ใช้ช่องจราจรพื้นราบ 2 ช่องทางทดแทน

วันที่ 11-14, 16-20, 24-28 และ 30 พ.ย. ช่วงเวลา 22.00-04.00 น. ปิดทุกช่องทางบนสะพานข้ามแยกรามอินทรา กม.8 ฝั่งขาออกมุ่งหน้า มีนบุรี ให้ผู้ใช้ทางฝั่งขาออกที่ต้องการมุ่งหน้ามีนบุรีใช้ช่องจราจรพื้นราบ 2 ช่องทางทดแทน สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2610-4915, 09-8827-5555

ส่วนปัญหาค่าโง่โฮปเวลล์ ที่บริษัทฯส่งหนังสือ 4 ฉบับ ทวงค่าเสียหาย 25,000 ล้านบาท ภายใน 15 วัน เมื่อถึงปลายทางที่ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับพิจารณาคดีใหม่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ล่าสุด รมว.คมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ให้สัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบรัฐบาล โดยระบุว่าอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการและยืนยันว่าจะยื่นเรื่องตามกระบวนการที่ได้ศึกษา โดยจะยื่นกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และยื่นศาลเพื่อวินิจฉัย

สำหรับ ศาลปกครองชั้นต้นที่วินิจฉัยมากำลังอุทธรณ์อยู่ เพราะเห็นว่าข้อมูลที่ขอรื้อฟื้นคดีเป็นข้อมูลใหม่ เพราะพบว่าเรื่องเดิม เป็นเรื่องอายุความ ส่วนเรื่องใหม่เป็นเรื่องความไม่ชอบของการเกิดวัตถุประสงค์ บริษัท จึงมีการยื่นขอบรรเทาการบังคับคดี

"จะดำเนินการตามขั้นตอน เราต้องไปให้สุดเหมือนกรณีคลองด่าน ถ้าพิสูจน์ทราบในภายหลังว่าดำเนินการไม่ถูกต้องและทำให้รัฐเกิดความเสียหาย ผู้ที่เป็นคนตัดสินใจก็ต้องถูกดำเนินคดี ผมพยายามทำให้รัฐได้ประโยชน์มากที่สุด ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนหาตัวผู้กระทำ ผิดต้องรอนายกฯ พิจารณา" ......รมว.คมนาคม ยืนยันจะไปให้สุด!! และไล่ล่าหาผู้รับผิดชอบที่ทำให้เกิด ความเสียหายด้วย ทางคดีก็น่าติดตามว่าคมนาคมจะพลิกสู้ได้ยังไง?? ...เมื่อแพ้ มาหลายช็อต! อยากเห็นยิ่งกว่าคือการหา ผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดจนทำให้ภาครัฐเสียหายมาลงโทษ ......โครงการ ขนาดยักษ์ ที่ประชาชนเห็นชัด ๆ ว่าบริษัทสร้างไม่เสร็จ ทิ้งตอม่อร้าง ตั้งชื่อใหม่เป็นโฮปเลส เพราะหมดหวัง...แทนที่จะเรียกค่าเสียหายจากเอกชน กลับถูกเอกชนเรียกค่าเสียหายแทน ความผิดพลาดของใคร?? ...ตลกร้าย!!
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2020 11:30 am    Post subject: Reply with quote

โมโนเรล”ชมพู&เหลือง”ลอต 2 ถึงไทยแล้ว!!
*เสริมทัพ 4 ขบวนสิ้นปีเต็มสิบ 40 ตู้
*กาปฏิทินรอเลย ก.ค.ปีหน้าได้นั่งจ้า
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2760416410846526
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2020 3:09 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดทความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2563 ดังนี้
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
8 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10:10 น.

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 71.38%
2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 68.31% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 62.91% ความก้าวหน้าโดยรวม 65.96%
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี 🏗ความก้าวหน้างานโยธา 66.54% 🚧ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 61.07% ความก้าวหน้าโดยรวม 64.23%
https://www.facebook.com/MRTA.PR/posts/2655098371373547
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 71, 72, 73  Next
Page 20 of 73

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©