RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13272504
ทั้งหมด:13583800
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 114, 115, 116 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2021 6:25 pm    Post subject: Reply with quote

“ซิโน-ไทย” งานทะลักแสนล้าน ผนึกพันธมิตรปักหมุดเมกะโปรเจ็กต์
สัมภาษณ์ อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 9 มีนาคม 2564 - 08:44 น.



นับจากปี 2562 สามารถเบียด “บมจ.ช.การช่าง” ขึ้นมารั้งเบอร์ 2 ของวงการรับเหมาก่อสร้าง ดูเหมือน “บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น” ธุรกิจใต้ปีก “ตระกูลชาญวีรกูล” ตุนงานใหญ่ไว้ในมือหลายโปรเจ็กต์ จากการจับมือพันธมิตรหลากธุรกิจ

ไม่ว่า “บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” ยักษ์รถไฟฟ้า “บมจ.ราชกรุ๊ป-บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์” บิ๊กธุรกิจพลังงาน และ “บมจ.การบินกรุงเทพ” เจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เข้าร่วมประมูล PPP เมกะโปรเจ็กต์ สยายปีกจากธุรกิจรับเหมา เป็นผู้ลงทุนทั้งรถไฟฟ้าหลากสี มอเตอร์เวย์ และเมืองการบินอู่ตะเภา

“ภาคภูมิ ศรีชำนิ” กรรมการผู้จัดการ ที่กุมบังเหียน บมจ.ซิโน-ไทยฯ มายาวนานถึง 8 ปี เปิดเผยว่า ปัจจุบันถึงจะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลประกอบการของบริษัทในปี 2563 ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวม 36,182 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 2,946.63 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.87% มาจากปริมาณงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ขณะที่กำไรอยู่ที่ 1,339 ล้านบาท หรือ 3.7%

ถึงจะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3,191 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10.05% เป็นผลมาจากต้นทุนงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นตามการรับรู้รายได้ จากสัญญาก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายหลักคือ ต้นทุนงานก่อสร้าง 34,249 ล้านบาท จากโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ อาคารที่ทำการสำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง ถึงแม้จะสร้างรายได้ให้ก็จริง แต่มีค่าใช้จ่ายสูง เพราะโควิดทำให้ไม่สามารถนำแรงงานเข้าไซต์ก่อสร้างได้เหมือนปกติ ต้องเพิ่มเวลาและค่าโอที

“ไม่ส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัท ในปีที่ผ่านมาถือว่ายังมีสภาพคล่องที่ดี โดยใช้เงินในการลงทุนแบบ PPP กับพันธมิตรกว่า 4,000 ล้านบาท ยังมีกระแสเงินสดในมือประมาณ 6,000 ล้านบาท แสดงถึงความแข็งแกร่งของสถานะทางการเงิน ส่วนการกู้เงินยังไม่มี ถือว่าจบปี 2563 ได้ค่อนข้างดี”

สำหรับงานในมือ (backlog) ในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 100,000 กว่าล้านบาท คาดว่าน่าจะรับรู้รายได้อีก 2-3 ปี เป็นงานเอกชน 70% งานภาครัฐ 30% ซึ่งสัดส่วนของงานแยกเป็น ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน 41% อาคาร 39% โรงไฟฟ้า 17% และโรงงานปิโตรเคมี 2% ซึ่งงานก่อสร้างอาคารที่เพิ่มขึ้นมาถึง 39% เพราะมองว่างานก่อสร้างในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเป็นงานก่อสร้างอาคารแทบทั้งหมด



“ภาคภูมิ” ฉายภาพปี 2564 ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยยังโงหัวไม่ขึ้นจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ปัจจัยเสี่ยงของปีนี้คือ เมื่อรัฐบาลทุ่มสรรพกำลังไปที่การสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโควิดทำให้โครงการหลาย ๆ โครงการอาจจะต้องเลื่อนประมูล หรือเลื่อนการลงทุนออกไป แต่ซิโน-ไทยฯก็ต้องเติบโตทุกปี ปีนี้จึงตั้งเป้ารายได้อยู่ที่ 37,000 ล้านบาท ส่วนกำไรขั้นต้นจะพยายามดันให้ถึง 5% และกำไรสุทธิโตที่ 3-4%


เพื่อรักษาระดับแบ็กล็อกให้คงที่ 100,000 ล้านบาท ตั้งเป้าปีนี้จะต้องหางานใหม่เพิ่ม 40,000 ล้านบาท ขณะนี้มีงานในมือแล้ว 4 โครงการ ได้แก่ 1.ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ โซน C งานก่อสร้างอาคารด้านทิศเหนือ วงเงินกว่า 6,200 ล้านบาท จะเริ่มงานได้ในเดือน มิ.ย. 2564

2.รถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงศรีรัช-เมืองทองธานี วงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท 3.ขุดคลองของกรมชลประทาน วงเงิน 3,500 ล้านบาท จะเซ็นสัญญาภายในเดือน มี.ค. 2564 และ 4.ติดตั้งและบริหารระบบเก็บเงิน (O&M) มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่บริษัทร่วมกับบีทีเอส กัลฟ์ และราชกรุ๊ป ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้ก่อสร้างโยธาทั้ง 2 ส่วน 4,000-5,000 ล้านบาท จะเซ็นสัญญาสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ภายไตรมาสที่ 2 ส่วนบางปะอิน-โคราช รองานก่อสร้างที่ล่าช้าอยู่ อาจจะเซ็นสัญญาไม่ทันปีนี้

ในปีนี้คาดว่ารัฐบาลจะมีโครงการเปิดประมูล 600,000-700,000 ล้านบาท เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเปิดประมูลใหม่กลางปีนี้ ซึ่งในรอบแรกบริษัทร่วมกับบีทีเอส ในครั้งใหม่นี้คิดว่าจะเข้าประมูล ไม่ว่าจะเอาคะแนนเทคนิคร่วมประเมินหรือเอาเกณฑ์เสนอผลตอบแทนให้รัฐสูงสุด เรามั่นใจว่าไม่มีปัญหา พร้อมเข้าประมูลจะร่วมกับบีทีเอสเหมือนเดิม แต่ถ้าบีทีเอสไม่ร่วม เราจะซับงานจากผู้ชนะได้ เพราะปัจจุบันเราก่อสร้างอุโมงค์สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีอยู่แล้ว


ยังมีรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ รถไฟทางคู่ 2 สาย เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 3 สัญญา และบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 2 สัญญา คาดว่าจะมีเซ็นสัญญาในปีนี้ ยังมีมอเตอร์เวย์เอกชัย-บ้านแพ้วของกรมทางหลวง และงานขยายศักยภาพสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง

“จากสถานการณ์น่าจะมีงานออกประมูลประมาณ 3-4 แสนล้านบาท จากสถิติที่ผ่านมา เราจะได้งานประมาณ 20-30% ของมูลค่างานที่ออกประมูล ดังนั้น ปีนี้คาดว่าจะได้งานใหม่อยู่ที่ 3-4 หมื่นล้าน”

“ภาคภูมิ” อัพเดตโครงการเมืองการบินอู่ตะเภาที่ร่วมกับบีทีเอส และบางกอกแอร์เวย์ส จัดตั้ง บจ.อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น (UTA) รับสัมปทาน 50 ปี พัฒนาโครงการเนื้อที่ 6,500 ไร่ คาดว่ากองทัพเรือจะออกหนังสือส่งมอบงาน (NTP) ส่งมอบพื้นที่ได้ในกลางปี 2565 เพราะมีหลายเงื่อนไข ทั้งรายงานผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) การเปิดประมูลโครงการรันเวย์ที่ 2 สนามบินอู่ตะเภาของกองทัพเรือ ยังไม่เปิดประมูล และการทำสัญญากับผู้ทำระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ

จะไม่รอ NTP จะลงทุน 1,800 ล้านบาท ออกแบบและทำสิ่งอำนวยความสะดวกไปก่อน ระหว่างรอการพัฒนาโครงการเฟสแรก ใช้เงินลงทุน 31,290 ล้านบาทสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 พื้นที่ 157,000 ตารางเมตร จะมีระยะเวลาสร้างแค่ 3 ปี จากปกติการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในสนามบินใช้เวลา 5 ปีเป็นอย่างน้อย เมื่อ NTP ออกจะได้เริ่มงานก่อสร้างได้ทันที
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/03/2021 10:26 am    Post subject: Reply with quote

ย้ำรัวๆ5ยุทธศาสตร์คมนาคมขนส่ง'นวัตกรรม-เซฟตี้-โกกรีน-เท่าเทียม'
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศโดยมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าต่อเนื่องโดยเฉพาะในระบบขนส่งสาธารณะและยังสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่มีสาเหตุมากจากการจราจรติดขัดในเขตเมือง โดยปัจจุบันองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) อยู่ระหว่างทำแผนจัดหารถเมล์ไฟฟ้า 2,511 คันหลังจากแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) นอกจากนี้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ร่วมรณรงค์การลดมลพิษทางอากาศโดยการลดภาษีรถยนต์ประจำปีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้การใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในไทยแพร่หลายดังเช่นประเทศต่าง ๆ ในยุโรป

นายสรพงศ์ กล่าวอีกว่า การเปิดใช้งานสถานีกลางบางซื่อในเดือน พ.ย. 64 ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงการภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 โดยสถานีกลางบางซื่อมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน รองรับผู้โดยสารได้ถึง 6 แสนคนต่อวัน มากกว่าสถานีหัวลำโพงถึง 10 เท่าและยังเป็นจุดศูนย์ กลางการเชื่อมต่อระบบการขนส่งทางรางที่มีอยู่ในปัจจุบันรวมถึงรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอน เมือง-อู่ตะเภา) อีกทั้งเป็นจุดตั้งต้นของรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทางประมาณ 600 กม. ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง

นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่าในอนาคตสถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจแห่งใหม่และเป็นจุดเชื่อม ต่อหลักของระบบการขนส่งมวลชนทางรางของกรุงเทพฯกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างศึกษาโครงการรถไฟทางไกลซึ่งจะเปลี่ยนจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นพลังงานไฮโดรเจนและการใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้าโครงการทั้งหมดนี้เป็นการดำเนินการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม คือ
1.การขนส่งที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2.การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ
3.การเข้าถึงระบบขนส่งอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมและ
4.การใช้นวัตกรรมและการจัดการ.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2021 11:05 am    Post subject: Reply with quote

"คมนาคม" เคาะ 3 เส้นทาง ลุยแผน MR-MAP
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
พุธที่ 17 มีนาคม 2564 เวลา 10.04 น.

เคาะ 3 เส้นทางศักยภาพ 836 กม. นำร่องมอเตอร์เวย์คู่รถไฟ
อังคารที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 20.23 น.

“คมนาคม” เร่งคัด 3 เส้นทาง “MR-MAP” ลุยออกแบบ เปิดรับฟังความเห็น พ.ค. 64
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 20.44 น.
ปรับปรุง: อังคารที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 20.44 น.




“คมนาคม” เร่งคัดเลือก 3 เส้นทางนำร่อง โครงข่าย MR-MAP ผลักดันชุมพร-ระนอง, นครราชสีมา-แหลมฉบัง และนครราชสีมา-อุบลราชธานี ลุยออกแบบรายละเอียด “ศักดิ์สยาม” กำชับติดตามคืบหน้าทุกเดือน เตรียมเปิดข้อมูลรับฟังความเห็นจากภาคประชาชนใน พ.ค. 64

เคาะ 3 เส้นทางนำร่อง MR-MAP รวม 836 กม. ชุมพร-ระนอง, หนองคาย-แหลมฉบัง, กาญจนบุรี-อุบลฯ ด้าน “ศักดิ์สยาม” สั่งอีก 1 เดือนรายงานความคืบหน้า จัดทำร่างแผน MR–MAP ก่อนเปิดฟังเสียงประชาชนเดือน พ.ค.นี้


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการประชุมขับเคลื่อนการศึกษาแผนพัฒนาโครงข่าย MR-MAP เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 โดยมีกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เข้าร่วมการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) ของกรมทางหลวง ซึ่งได้ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 และสิ้นสุดสัญญาจ้างในเดือนกันยายน 2564


ทั้งนี้ปัจจุบันงานศึกษาอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพื่อจัดทำโครงข่ายในเบื้องต้น และคัดเลือกโครงการ นำร่องเพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น ได้พิจารณา 3 เส้นทางที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย
1. เส้นทาง MR5 ชุมพร - ระนอง ระยะทาง 108 กม. ซึ่งมีทางเลือกในการพัฒนาโครงข่าย จำนวน 3 ทางเลือก โดยการศึกษาจะสอดคล้องกับแนวทางการศึกษาความเหมาะสมโครงการ Land bridge ของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย
2.เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย) – แหลมฉบัง ช่วงนครราชสีมา - แหลมฉบัง ระยะทาง 288 กม. โดยเบื้องต้นกรมทางหลวงคาดว่าการพัฒนาจะประกอบด้วย ด่านเข้า - ออก 10 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 11 แห่ง อุโมงค์ 3 แห่ง และ Rest Area 8 แห่ง
3. เส้นทาง MR9 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) – อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา - อุบลราชธานี ระยะทาง 440 กม. โดยเบื้องต้นกรมทางหลวงคาดว่าการพัฒนา จะประกอบด้วย ด่านเข้า - ออก 10 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 9 แห่ง และ Rest Area 8 แห่ง


นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ได้มีข้อสั่งการโดยกำชับให้ กรมทางหลวงเร่งจัดทำรายละเอียดผลการศึกษาให้มีความชัดเจน โดยให้นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานภายใน 1 เดือน และจะมีการเชิญประชุมเพื่อเสนอแนวคิด การออกแบบ และจัดทำร่างแผน MR–MAP ก่อนจะนำไป นำเสนอการประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน ในเดือนพฤษภาคม 2564 ต่อไป ขณะเดียวกันการดำเนินงานในระยะต่อไป กรมทางหลวงจะได้เร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม โดยจะได้ขยายงานศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น ให้ครอบคลุมโครงข่าย MR-MAP ทั้งหมดด้วยอย่างไรก็ตามที่ผ่านมาผลการคัดเลือกเส้นทางนำร่อง จาก 10 เส้นทาง ประกอบด้วย

1. เส้นทาง MR1 ตาก (ด่านแม่สอด) – นครพนม (ด่านนครพนม) ช่วงสายทาง
1.1) ด่านแม่สอด-พิษณุโลก
1.2) พิษณุโลก – เพชรบูรณ์ (หล่มสัก)
1.3) เพชรบูรณ์ (หล่มสัก) – ขอนแก่น
1.4) ขอนแก่น – มุกดาหาร และ
1.5) มุกดาหาร – นครพนม

2. เส้นทาง MR2 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) – อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงสายทาง
2.1) ด่านเจดีย์สามองค์ – นครสวรรค์
2.2) นครสวรรค์ – นครราชสีมา และ
3.3) นครราชสีมา – อุบลราชธานี

3. เส้นทาง MR3 กาญจนบุรี (ด่านน้ำพุร้อน) – สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) ช่วงสายทาง
3.1) ด่านน้ำพุร้อน – กาญจนบุรี
3.2) กาญจนาภิเษก – สระแก้ว และ
3.3) สระแก้ว – อรัญประเทศ

4. เส้นทาง MR4 ชลบุรี – ตราด (ด่านคลองใหญ่) ช่วงสายทาง
4.1) ชลบุรี – ระยอง และ
4.2) ระยอง – ตราด

5. เส้นทาง MR5 ชุมพร – ระนอง
6. เส้นทาง MR6 ภูเก็ต – สุราษฎร์ธานี
7. เส้นทาง MR7 เชียงราย (ด่านเชียงของ) – สงขลา (ด่านชายแดนมาเลเซีย) ช่วงสายทาง
7.1) ด่านเชียงของ – เชียงราย
7.2) เชียงราย – เชียงใหม่
7.3) เชียงใหม่ – พิษณุโลก
7.4) พิษณุโลก – นครสวรรค์
7.5) นครสวรรค์ – สระบุรี
7.6) นครสวรรค์ – สุพรรณบุรี
7.7) สระบุรี – นครปฐม
7.8) นครปฐม – ชะอำ
7.9) ชะอำ – ชุมพร
7.10) ชุมพร – สุราษฎร์ธานี
7.11) สุราษฎร์ธานี – สงขลา
7.12) สงขลา – ด่านสะเดา และ
7.13) สงขลา – นราธิวาส

8. เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย) – แหลมฉบัง ช่วงสายทาง
8.1) ขอนแก่น – หนองคาย
8.2) นครราชสีมา – ขอนแก่น และ
8.3) นครราชสีมา – แหลมฉบัง
9. เส้นทาง MR9 บึงกาฬ (ด่านบึงกาฬ) – สุรินทร์ (ด่านช่องจอม)
10. เส้นทาง MR10 สระบุรี – สมุทรปราการ - สมุทรสาคร

3เดือนกับ15ล้านรื้อแผนมอเตอร์เวย์20ปี21เส้นเหลือ10สาย
*เคาะชัวร์ๆ3เส้นทางนำร่อง”MR-MAP” 836กม.
*ชุมพร-ระนอง,หนองคาย-แหลมฉบัง,กาญ-อุบล
*มัดรวมมอเตอร์เวย์ควบรถไฟให้เหตุผลลดเวนคืน
*ใครเชียร์ใครไม่เห็นด้วยพ.ค.เปิดเวทีให้โวยวาย
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2861013914120108
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2021 12:22 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีไทย ดันรถไฟความเร็วสูงเกิด
18 มีนาคม 2564, 11:46 น.

เปิดรายละเอียด สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีไทย ปัจจัยสำคัญของการผลักดันรถไฟความเร็วสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับระบบโลจิสติกส์ในประเทศให้สูงขึ้น


เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาโรงการรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ที่ถูกหยิบยกมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานแรกในพื้นที่ EEC เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย อีกทั้งจะเป็นจุดเริ่มต้นและจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศ ให้คนไทยได้เรียนรู้เทคโนโลยีระบบรางความเร็วสูง สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้กับภาคธุรกิจ กระตุ้นการลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

“ระบบรางไทย” รถจักรไอน้ำสู่ไฮสปีด เทรน (ตอน 1)
ไฮสปีดเทรนสามสนามบิน จุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศ (ตอน 4)
เปิดสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีไทย ดันรถไฟความเร็วสูงเกิด(ตอน 3 )
โดยจุดเด่นของรถไฟความเร็วสูง คือตรงเวลา ปลอดภัย สิ้นเปลืองพลังงานน้อยเมื่อเทียบกับขนส่งประเภทอื่นๆ กระจายความแออัดของเมืองไปสู่เมืองรอง โดยข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือ สศช. เปิดเผย สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP ) ในปี 2561 ต้นทุนโลจิสติกส์ไทยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,190.2 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.4 ต่อ GDP ส่วนในปี 2562 มีมูลค่า 2,258.4 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.4 /GDP โดยสัดส่วนการขนส่งที่ประเทศไทยเลือกใช้มากที่สุดคือ ระบบขนส่งทางถนน ร้อยละ 78.3 ส่วนระบบรางอยู่ที่ร้อยละ 1.7

ขณะที่แนวโน้มต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ในปี 2563 คาดว่าจะปรับลดลงอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 12.9-13.4 จาก สถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่หดตัว ซึ่งแน่นอนว่าหนีไม่พ้นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลกไม่เพียงแต่ในประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2021 12:49 pm    Post subject: Reply with quote


เมื่อไทยเอาจริงเรื่องระบบราง
https://www.youtube.com/watch?v=CQ49QW1r5_I
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2021 2:32 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมประมูลงานลอตใหญ่ 3 แสนล้าน พ.ค. ชิงมอเตอร์เวย์-ทางด่วน-รถไฟทางคู่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 11:00 น.


คมนาคมเปิดไทม์ไลน์ประมูลงานลอตใหญ่ช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. มูลค่าเฉียด 3 แสนล้าน เร่งเครื่องมอเตอร์เวย์บ้านแพ้ว ซอยยิบ 10 สัญญา ทางด่วนพระราม 3 จำนวน 2 สัญญา อัพราคาทะลุ 1.4 หมื่นล้าน ร.ฟ.ท.ได้ฤกษ์ประมูลทางคู่สายใหม่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของและบ้านไผ่-นครพนม แบ่งเค้ก 5 สัญญา รฟม.ดันสุดตัวประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม “ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี” รอบสอง ตามเกณฑ์ใหม่พิจารณาซองเทคนิคพร้อมราคา คาด ส.ค.เซ็นสัญญา วงการรับเหมาจับตาขาใหญ่ปาดเค้ก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. 2564 กระทรวงคมนาคมเริ่มมีการเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ประมาณ 5 โครงการ คิดเป็นวงเงินรวม 290,870 ล้านบาท ได้แก่ มอเตอร์เวย์ ทางด่วน รถไฟทางคู่และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี)

พ.ค.ประมูลมอเตอร์เวย์บ้านแพ้ว
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในเดือน พ.ค.นี้ กรมจะเปิดประมูลงานสร้างทางยกระดับช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ระยะทาง 16.4 กม. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมอเตอร์เวย์สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว (M82) ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว

โดยใช้เงินกองทุนมอเตอร์เวย์มาก่อสร้าง วงเงิน 19,700 ล้านบาท แบ่งสร้าง 10 สัญญา โดยจะสร้างต่อจากช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย ระยะทาง 11 กม. ใช้งบประมาณก่อสร้าง วงเงิน 10,500 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ตามแผนจะสร้างเสร็จในเดือน ส.ค. 2565

“ปีหน้าคาดว่าจะเปิดใช้ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัยก่อน และจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบตลอดสายถึงบ้านแพ้ว โดยเก็บค่าผ่านทางได้ภายในต้นปี 2568 พร้อมกับทางด่วนพระราม 3 จะทำให้การเดินทางสู่ภาคใต้รวดเร็วขึ้น และจะแก้ปัญหารถติดบนถนนพระราม 2 ได้ครบสมบูรณ์”

ปิดจ็อบ 2 สัญญาด่วนพระราม 3
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 บอร์ดได้เร่งรัด กทพ.ให้มีการเร่งดำเนินการประมูลทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก 18.7 กม. ในส่วนสัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 3 โดยเร็วที่สุด

เนื่องจากใช้เงินกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) ลงทุน 3 หมื่นล้านบาท ที่ กทพ.ต้องรับภาระดอกเบี้ยประมาณ 4,000 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากความล่าช้าของโครงการ

“กทพ.รายงานจะประมูลใหม่ทั้ง 2 สัญญา ปลายเดือน เม.ย. และได้ผู้รับเหมาในเดือน พ.ค.นี้. เพื่อความรวดเร็ว จะลดระยะเวลาการก่อสร้างจาก 39 เดือน เหลือ 34 เดือน”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสัญญาที่ 1 งานทางยกระดับจากแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เซ็นทรัลพระราม 2 ระยะทาง 6.4 กม. กรอบราคากลางเดิม 6,979 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานสร้างทางยกระดับจากโรงพยาบาลบางปะกอก 9-ด่านดาวคะนอง ระยะทาง 5 กม. กรอบราคากลางเดิม 6,990 ล้านบาท ล่าสุด กทพ.จะปรับราคากลางเพิ่มอีกสัญญาละ 5% ทำให้ราคากลางปรับเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 กว่าล้านบาท/สัญญา รวม 2 สัญญา เป็นวงเงินกว่า 14,000 ล้านบาท


เทกระจาดทางคู่ 1.28 แสนล้าน
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. รับทราบความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง รวมวงเงิน 128,376 ล้านบาท ได้แก่ 1.สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 72,920 ล้านบาท และสายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท

ขายซองเด่นชัย-เชียงของ
“สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เริ่มเปิดขายซองประมูลเมื่อวันที่ 19 มี.ค. แบ่งงานก่อสร้าง 3 สัญญา ส่วนสายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม อยู่ระหว่างเปิดรับฟังการวิจารณ์ร่างทีโออาร์ คาดว่าจะเปิดประมูลในเร็ว ๆ นี้ แบ่งเป็น 2 สัญญา”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร.ฟ.ท.ได้ออกประกาศขายซองประมูลแล้วทั้ง 3 สัญญา ด้วยระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) โดยเปิดขายซองประมูลระหว่างวันที่ 19 มี.ค.-วันที่ 17 พ.ค. และยื่นข้อเสนอวันที่ 18 พ.ค. 2564

ประกอบด้วยสัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ราคากลาง 26,599.16 ล้านบาท สัญญาที่ 2 งาว-เชียงราย ระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 26,913.78 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ราคากลาง 19,406.31 ล้านบาท


ปล่อยผีรับเหมารายกลาง
โดยกำหนดให้ผู้รับเหมาไทยและต่างชาติที่สนใจยื่นประมูลทั้งแบบรายเดียวหรือกิจการร่วมค้า แต่ต้องให้ผู้รับเหมาไทยเป็นแกนนำในสัดส่วนมากกว่า 50% สำหรับผลงานต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟ อุโมงค์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5 เมตร ผลงานงานโยธา เช่น ถนน สะพาน ทางลอด ทางยกระดับ โรงซ่อมบำรุงรถไฟหรือรถไฟฟ้า

ซึ่งงานก่อสร้างทางรถไฟและงานโยธาที่นำมาใช้ยื่นให้ใช้ผลงานภายในประเทศ ส่วนงานอุโมงค์ใช้ผลงานภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้ และผลงานที่นำมาเสนอต้องเป็นผลงานที่แล้วเสร็จตามเงื่อนไขสัญญาไม่เกิน 20 ปี

รายละเอียดงานก่อสร้าง ประกอบด้วยงานก่อสร้างทางรถไฟ งานก่อสร้างงานอุโมงค์รถไฟ งานก่อสร้างสถานีรถไฟและป้ายหยุดรถ งานก่อสร้างถนนยกระดับข้ามทางรถไฟ ถนนลอดใต้รถไฟ และงานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างและอุปสรรคต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการ พร้อมสร้างรั้วสองข้างทางตลอดแนวเส้นทาง เพิ่มความรวดเร็ว ความปลอดภัยในการบริการ และติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมตลอดทั้งสายทาง มีระยะเวลาก่อสร้าง 72 เดือน จะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้แล้วเสร็จใน 2 ปี


จับตาบิ๊กโฟร์รับเหมา
แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้าง เปิดเผยว่า จากรายละเอียดในทีโออาร์ ดูแล้วเป็นการเปิดกว้างให้มีการแข่งขันมากขึ้น โดยให้รับเหมารายกลางที่รับงานก่อสร้างถนน สะพาน ทางลอด สามารถร่วมกับรับเหมาต่างชาติได้ ขณะที่รายใหญ่จะมี บมจ.ช.การช่าง บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นต้น

“อาจจะได้เห็นรับเหมารายใหญ่ร่วมกันประมูล มีกระแสข่าว ช.การช่าง จะร่วมกับซิโน-ไทยฯ เหมือนที่เคยร่วมกันก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี” แหล่งข่าวกล่าวและว่า

สำหรับรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
คือ สัญญาที่ 1 เด่นชัย-งาว 103 กม. ราคากลาง 26,599.28 ล้านบาท มีกระแสว่าอิตาเลียนไทยฯอาจจะได้
ส่วนสัญญาที่ 2 งาว-เชียงราย 132 กม. ราคากลาง 26,913.78 ล้านบาท และ
สัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ 87 กม. ราคากลาง 19,406.43 ล้านบาท มีกระแสว่า ช.การช่างจะร่วมกับซิโน-ไทยฯ

2 สัญญาทางคู่บ้านไผ่-นครพนม
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม แบ่ง 2 สัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. ราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท และ
สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. ราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท

ทั้ง 2 สัญญาเป็นการก่อสร้างทางสายใหม่ ประกอบด้วยงานทางรถไฟ งานก่อสร้างสถานีรถไฟ และ stabling yard งานก่อสร้างถนนยกระดับข้ามทางรถไฟ ถนนลอดใต้ทางรถไฟ และงานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างและอุปสรรคต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการ

พร้อมสร้างรั้วสองข้างทางตลอดแนวเส้นทางรถไฟ เพิ่มความรวดเร็วและความปลอดภัยในการบริการให้รองรับปริมาณผู้โดยสารและสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมตลอดทั้งสายทาง โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 48 เดือน จะส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี

ประมูลรอบสองสายสีส้ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อีกโครงการที่กำลังลุ้นจะเปิดประมูลได้อีกครั้งหรือไม่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเปิดให้เอกชนร่วม PPP net cost 30 ปี วงเงิน 128,128 ล้านบาท ก่อสร้างช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม เป็นงานใต้ดินตลอดสาย จัดหาระบบ เก็บค่าโดยสาร รับสัมปทานเดินรถและบำรุงรักษาโครงการตลอดสายบางขุนนนท์-มีนบุรี

เนื่องจากยังมีความเห็นต่างกันถึงร่างทีโออาร์ที่ รฟม.เปิดรับฟังความคิดเห็นของเอกชน จะใช้เกณฑ์พิจารณาซองเทคนิคและการเงินพร้อมกัน เมื่อเปิดซองคุณสมบัติ หากผ่านจะพิจารณาซองเทคนิค 30% ร่วมการเงิน 70% เพื่อยกร่างทีโออาร์เปิดประมูลใหม่ หลังยกเลิกไปเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมา

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า สิ้นเดือน มี.ค.นี้ จะนำร่างทีโออาร์ที่เปิดรับฟังความคิดเห็นเอกชนเสนอคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 พิจารณอนุมัติ คาดว่าจะขายซองเดือน เม.ย. ยื่นข้อเสนอเดือน มิ.ย.-ก.ค. ได้เอกชนและเซ็นสัญญา ส.ค.-ก.ย.นี้ จากนั้นจะเร่งรัดงานระบบและจัดหาขบวนรถโดยเร็ว เพื่อให้สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ที่สร้างคืบหน้า 77.77% เปิดได้ตามกำหนดในปี 2567
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 6:13 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ล้างท่อ เมกะโปรเจ็กต์
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 03:30 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,664
วันที่ 25 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2564

“คมนาคม” สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเซ็น ลงนามสัญญาภายในเดือนมี.ค.นี้ รถไฟไทย-จีน 4 สัญญา-ระบบด่านเก็บเงิน 2 มอเตอร์เวย์ ตั้งเป้าเบิกจ่ายงบลงทุนเต็ม 100% ภายในส.ค. ทล.ลุยจัดซื้อจัดจ้าง เพิ่ม 74 โครงการ คาดปิดดีล มิ.ย.64

กระทรวงคมนาคมเร่งรัด ลงนามในสัญญาโครงการขนาดใหญ่ ภายในเดือนมีนาคม ซึ่งโครง การที่พร้อม ได้แก่รถไฟไทย-จีน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) 4สัญญา และกรมทางหลวง ระบบเก็บค่าผ่านทางและการบำรุงรักษาทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์)บางใหญ่-กาญจนบุรี ขณะ มอเตอร์เวย์ บางปะอิน-นครราชสีมา ต้องเลื่อนการลงนาม ออกไป เดือนเมษายน 2564 เนื่องจากติดปัญหา แก้ไขแบบก่อสร้าง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุ กระทรวงมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่ง ลงนามสัญญาโครงการ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้ ขณะเดียวกัน ต้องเร่งรัดหน่วยงานข้าราชราชการเบิกจ่ายปีงบประมาณ 2564 ให้ทันภายในเดือนสิงหาคม และรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายให้ทันภายในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้


สำหรับงบปี 2564 ได้รับจัดสรร 227,894 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ 39,279 ล้านบาท คิดเป็น 17.24% และ งบลงทุน 188,615 ล้านบาท คิดเป็น 82.76%

โดยแผนเบิกจ่ายงบลงทุน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา วงเงิน 38,434 ล้านบาท คิดเป็น 20.38% ผลการเบิกจ่ายงบลงทุน 28,459 ล้านบาท คิดเป็น 15.10% ตั้งเป้าเบิกจ่ายงบลงทุนให้ได้ 100% วงเงิน 188,615 ล้านบาท ภายในเดือนสิงหาคม 2564
.....

รัฐสปีดลงทุนสู้โควิด ดึงเอกชน PPP เมกะโปรเจ็กต์ปลุก ศก.
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 26 มีนาคม 2564 - 09:20 น.


เมื่อประเทศไทยได้วัคซีนมาฉีดบรรเทาสถานการณ์การระบาดการติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันประเทศแล้ว หลังจากนี้คงต้องถึงเวลาที่ต้องหันมาดูการลงทุนโครงการต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าคู่ขนานกันไป

แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะย้ำเสมอ ไม่ได้หยุดหรือชะลอการลงทุนแต่อย่างใด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า แทบจะไม่มีการเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ นับตั้งแต่เสร็จสิ้นการประมูลบิ๊กโปรเจ็กต์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

โดยเฉพาะงานโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่ง ที่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” ขุนคลังรัฐบาลประยุทธ์ จัดลำดับเป็นวัคซีนเข็มที่ 2 ที่จะกระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

“อาคม” กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2564 มีการหารือกันจะให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงาน ทำรายละเอียดโครงการที่จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP เพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเป็นการเพิ่มบทบาทการลงทุนจากภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น และลดภาระงบประมาณของรัฐ

“ครม.กำชับให้ไปดูว่าโครงการไหนที่สร้างเสร็จแล้ว ก็ให้เร่งรัดเปิดบริการโดยเร็ว เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน”

จากข้อสั่งการของ ครม. ล่าสุด “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” เจ้ากระทรวงคมนาคม ได้เด้งรับนโยบายดังกล่าว โดยระบุว่า การประชุม ครม.ทาง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี ให้ไปดูโครงการต่าง ๆ ตั้งแต่สมัย คสช.ว่า มีโครงการใดที่พร้อมจะเปิดให้บริการได้บ้าง เพื่อให้มีรายได้เข้ามาหล่อเลี้ยง และให้ไปเร่งรัดกระบวนการ ในเบื้องต้นในปีนี้ จะมีโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ที่พร้อมจะเปิดให้บริการได้

ในวันที่ 26 มี.ค. 2564 จะเริ่มการทดลองเดินรถเสมือนจริง หลังจากนั้นประชาชนที่สนใจสามารถติดต่อมาที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อเข้ามาร่วมทดลองใช้บริการก่อนได้ แต่ขบวนรถจะไม่ได้วิ่งทั้งวัน วิ่งตามรอบที่ต้องทดสอบการเดินรถ ซึ่งตามแผนในวันที่ 28 ก.ค. 2564 จะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการอย่างไม่เป็นทางการ (soft opening) และเปิดบริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบในเดือน พ.ย.นี้

อีกโครงการจะเป็นมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา ที่กำลังแก้ปัญหาการปรับแบบอยู่ แต่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564 นี้ จะเปิดเป็นช่องทางพิเศษช่วงลำตะคอง ระยะทางกว่า 30 กม. ให้ประชาชนได้ใช้บริการในระหว่างวันที่ 8-19 เม.ย. 2564 เพื่อบรรเทาการจราจร


“กรมทางหลวงรายงานว่า สามารถเปิดให้ใช้งานได้ 2 เลน แบบวันเวย์เป็นการชั่วคราว คือช่วงต้นเทศกาลระหว่างวันที่ 9-13 เม.ย.ก็เปิดเป็นขาออก และส่วนปลายของเทศกาลวันที่ 14-19 เม.ย.จะเปิดเป็นขาเข้า ให้กรมทางหลวงดูเรื่องความปลอดภัย ไฟฟ้าส่องสว่าง และทางขึ้นลงที่ไม่อันตรายต่อประชาชน ต้องยอมรับว่าแม้ช่วงนี้จะสร้างแล้วเสร็จ แต่ยังมีเรื่องงานติดตั้งระบบต่าง ๆ ที่ต้องทำต่อ”

นายศักดิ์สยามยังระบุอีกว่า โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP กระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ หลังเกิดการระบาดโรคโควิด-19 ในปี 2564 จะผลักดันและเร่งรัดการลงทุน PPP อย่างน้อย 3 โครงการ วงเงินรวม 127,231.37 ล้านบาท ได้แก่

1.โครงการมอเตอร์เวย์บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ระยะทาง 16.4 กม. วงเงิน 19,700 ล้านบาท หลังจากที่ประชุม ครม.เห็นชอบดำเนินงานก่อสร้างไปเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2564 จะเริ่มสร้างภายในปีนี้ จากนั้นจะเสนอรูปแบบการลงทุนงานระบบเก็บค่าผ่านทาง (O&M) จะให้เอกชนร่วมลงทุน PPP


2.โครงการต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 18 กม. เงินลงทุน 39,956 ล้านบาท อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมรูปแบบ PPP จะแล้วเสร็จภายในปีนี้

และ 3.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง รวมวงเงิน 67,574 ล้านบาท ได้แก่
3.1 ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท,
3.2 ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14.8 กม. วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท,
3.3 ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 4.3 กม. วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท และ
3.4 สาย missing link ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

ซึ่งจะผลักดันภายในปีนี้ ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ PPP จะได้ข้อสรุปในเร็ว ๆ นี้

นอกจากนี้ยังมีโครงการศึกษาแผนพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) 10 เส้นทาง ขณะนี้พิจารณานำร่อง 3 เส้นทาง
1.เส้นทาง MR5 ชุมพร-ระนอง 108 กม. โดยการศึกษาจะสอดคล้องกับแนวทางการศึกษาความเหมาะสมโครงการแลนด์บริดจ์ของกระทรวงคมนาคม และ ร.ฟ.ท.

2.เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย)-แหลมฉบัง ช่วงนครราชสีมา-แหลมฉบัง 288 กม.
กรมทางหลวงคาดว่าการพัฒนาจะประกอบด้วย ด่านเข้าออก 10 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 11 แห่ง อุโมงค์ 3 แห่ง และจุดพักรถ (rest area) 8 แห่ง และ
3.เส้นทาง MR9 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา-อุบลราชธานี 440 กม. การพัฒนาจะประกอบด้วย ด่านเข้าออก 10 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 9 แห่ง และ rest area 8 แห่ง


Wisarut wrote:
คมนาคมประมูลงานลอตใหญ่ 3 แสนล้าน พ.ค. ชิงมอเตอร์เวย์-ทางด่วน-รถไฟทางคู่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 11:00 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2021 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมสั่งลุย26เมกะโปรเจ็กต์ บก ราง น้ำ อากาศ วงเงิน 1.12 ล้านล้าน

30 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:23 น.

30 มี.ค.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่(เมกะโปรเจ็กต์ )ของกระทรวงคมนาคมว่า กระทรวงคมนาคมมีโครงการที่จะดำเนินการในปี 2563-2566 โดยได้เร่งรัดให้ทุกหน่วยเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และเร่งรัดโครงการที่จะเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ขณะเดียวกันจะมีการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าของแต่ละโครงการอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้โดยมีทั้งสิ้น 26 โครงการ วงเงินรวม 1,125,467 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.โครงการที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 12 โครงการ 6.74 แสนล้านบาท ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา วงเงิน 75,965 ล้านบาท, โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 64,107 ล้านบาท

โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย ของกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) วงเงิน 2,943 ล้านบาท, โครงการทางพิเศษ(ทางด่วน) สายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) วงเงิน 28,338 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี(สุวิทนวงศ์) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) วงเงิน 109,135 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี. วงเงิน 50,970 ล้านบาทโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 48,125 ล้านบาท

โครงการก่อสร้างทางวิ่ง(รันเวย์) เส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. วงเงิน 21,975 ล้านบาท,โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 179,608 ล้านบาท , โครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต วงเงิน 84,101 ล้านบาท, โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 5,839 ล้านบาท และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (เฉพาะค่าเวนคืนที่ดิน 3,570 ล้านบาท

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า โครงการที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติแล้ว และอยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการ 8 โครงการ วงเงิน 369,447 ล้านบาท ได้แก่ โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม ของ ขบ. วงเงิน 1,357 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ของ รฟม. วงเงิน 124,958 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม วงเงิน 122,067 ล้านบาท, โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 53,489 ล้านบาท

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิต- มธ.ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,570 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,202 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 6,645 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และบางซื่อ-หัวหมาก วงเงิน 44,157 ล้านบาท สำหรับทั้ง4 โครงการ คมนาคมมีนโยบายให้ลงทุนในรูปแบบ PPP ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง รฟท.ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำรายงาน PPP ทั้งนี้ต้องรอผลการศึกษาให้ได้ยอดเงินเงินทุนก่อน

สำหรับโครงการที่เตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) มี 2 โครงการ วงเงิน 2,276 ล้านบาท ได้แก่ โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา บนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ช่วงชลบุรี-พัทยา วงเงิน 1,683 ล้านบาท และโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง บนมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 592 ล้านบาท

ทั้งนี้ในส่วนของโครงการที่จะนำเสนอ ครม. ในระยะต่อไป 4 โครงการ 81,335 ล้านบาท ได้แก่ โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว วงเงิน 33,170 ล้านบาท, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 32,292 ล้านบาท, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,818 ล้านบาท และโครงการศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศอู่ตะเภา วงเงิน 54 ล้านบาท

“ศักดิ์สยาม” กางแผนเมกะโปรเจกต์ 26 โครงการ 1.12 ล้านล้าน-เร่งลงทุนช่วยขับเคลื่อน ศก.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 22:44 น.
ปรับปรุง: วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 22:44 น.



“ศักดิ์สยาม” กางแผนเมกะโปรเจกต์ 26 โครงการ วงเงินกว่า 1.12 ล้านล้านบาท ระดมก่อสร้าง 12 โครงการ 6.74 แสนล้านบาท ช่วยขับเคลื่อนเม็ดเงินเข้าระบบ ศก.เร่งเครื่องประมูล 8 โครงการกว่า 3.69 แสนล้านบาท ที่เหลือจ่อชงบอร์ด PPP และ ครม.อนุมัติ ภายในปี 64

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของกระทรวงคมนาคมว่า การลงทุนโครงการมีทั้งใช้งบประมาณแผ่นดิน ใช้เงินกู้ และร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) ซึ่งในแผนดำเนินงานช่วงปี 2563-2566 มีจำนวน 26 โครงการ วงเงินรวม 1.127 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง โครงการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการ โครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน( PPP) และโครงการที่เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งจะเร่งรัดเสนอขออนุมัติภายในปี

ทั้งนี้ โครงการส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะดำเนินการแล้ว โดยจะมีการประชุมหน่วยงานเพื่อติดตามทุกเดือนเพื่อให้ทุกโครงการดำเนินการไปตามแผนที่วางไว้ และกรณีมีปัญหาอุปสรรคจะได้แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มีจำนวน 12 โครงการ วงเงินรวม 6.74 แสนล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา กรมทางหลวง (ทล.) วงเงิน 75,965.24 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,630 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 59,410.24 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 8,425 ล้านบาท ค่าก่อสร้างและพัฒนาที่พักริมทาง 1,500 ล้านบาท

2. โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 64,107.93 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 17,452 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 38,805.93 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 6,750 ล้านบาท ค่าก่อสร้างและพัฒนาที่พักริมทาง 1,100 ล้านบาท

3. โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) วงเงิน 2,943.81 ล้านบาท 4. โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) วงเงิน 28,338.86 ล้านบาท

5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวิทนวงศ์) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 109,135.91 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วงก่อนการก่อสร้าง 208.90 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,402.77 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 81,777.24 ล้านบาท ค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า 20,747 ล้านบาท

6. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงิน 50,970.63 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วงก่อนการก่อสร้าง 34 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,203.63 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธาพร้อมงานระบบ 45,733 ล้านบาท (ไม่รวมกรอบวงเงินสนับสนุนแก้เอกชน 22,500 ล้านบาท)

7. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 48,125.98 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วงก่อนการก่อสร้าง 124.02 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,900.01 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธาพร้อมงานระบบ 43,101.95 ล้านบาท (ไม่รวมกรอบวงเงินสนับสนุนแก้เอกชน 25,050 ล้านบาท)

8. โครงการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. วงเงิน 21,975.94 ล้านบาท

9. โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 179,608.81 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5,637.85 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 122,100.92 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 51,870.04 ล้านบาท

10. โครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 84,101.84 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 57,086.13 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 27,015.71 ล้านบาท

11. โครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 5,839.79 บาท (ค่าก่อสร้างงานระบบ)

12. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (เฉพาะค่าเวนคืนที่ รฟท.ได้รับงบประมาณ วงเงิน 3,570.29 ล้านบาท)

เร่งเครื่องประมูล 8 โครงการใหญ่ มูลค่ากว่า 3.69 แสนล้านบาท

ส่วนโครงการที่ ครม.อนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการมี 8 โครงการ วงเงินรวม 3.69 แสนล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม วงเงิน 1,357.04 ล้านบาท 2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 124,958.62 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วงก่อนการก่อสร้าง 167.62 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,945 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 85,167 ล้านบาท ค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า 23,064 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาควบคุมงานระบบฯ 615 ล้านบาท

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ วงเงิน 122,067.27 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วงก่อนการก่อสร้าง จากงบประมาณ 7.55 ล้านบาท จากเงินรายได้ 18.72 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 14,661 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 96,011 ล้านบาท ค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า 11,369 ล้านบาท

4. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 53,489.58 ล้านบาท 5. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิต- มธ.ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 300 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 4,073.23 ล้านบาท ค่างานระบบ 2,197.17 ล้านบาท

6. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 7,670.82 ล้านบาท ค่างานระบบ 2,531.36 ล้านบาท 7. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 2,934.53 ล้านบาท ค่างานระบบ 3,710.50 ล้านบาท 8. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และบางซื่อ-หัวหมาก วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 191.92 ล้านบา ค่าก่อสร้างงานโยธา 25,454.22 ล้านบาท ค่างานระบบ 18,511.62 ล้านบาท

จ่อชงบอร์ด PPP เคาะประมูลที่พักริมทางมอเตอร์เวย์ 2 โครงการ



สำหรับ โครงการที่เตรียมเสนอคณะกรรมการ PPP มี 2 โครงการ วงเงินรวม 2,276.75 ล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา บนมอเตอร์เวย์ สาย 7 ช่วงชลบุรี-พัทยา วงเงิน 1,683.88 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 784.23 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 841.51 ล้านบาท ค่าควบคุมงาน 58.14 ล้านบาท 2. โครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง บนมอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 592 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 132.29 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 436.05 ล้านบาท ค่าควบคุมงาน 24.53 ล้านบาท

ดันดอนเมืองเฟส 3 เข้า ครม.

ทั้งนี้ มีโครงการที่จะนำเสนอ ครม.ในระยะต่อไป จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 81,335.80 ล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว วงเงิน 33,170.89 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,142.50 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธาช่วงบางขนเทียน-เอกชัย 10,480.39 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธาช่วง เอกชัย-บ้านแพ้ว 19,700 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 1,848 ล้านบาท

2. โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 32,292.40 ล้านบาท 3. โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,818.51 ล้านบาท 4. โครงการศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศอู่ตะเภา ของสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) วงเงิน 54 ล้านบาท


สแกน 26 เมกะโปรเจคท์คมนาคม 1.12 ล้านล้านบาท
*ชงบอร์ดพีพีพี-ครม.ลุยต่ออีก 8.35 หมื่นล้าน
*”ศักดิ์สยาม”จี้ทุกหน่วยงานเดินหน้าตามแผน

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2871007399787426
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42745
Location: NECTEC

PostPosted: 01/04/2021 3:43 pm    Post subject: Reply with quote

HBD”คมนาคม”ครบ 109 ปี เดินเครื่องเต็มสูบไม่หยุดพัฒนา
*โชว์สถานะสารพัดโครงการบก-น้ำ-ราง-อากาศ
*ไปต่อปีที่ 110 ผุดโปรเจกท์ใหม่เอาใจประชาชน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2872470876307745
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44632
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/04/2021 10:18 am    Post subject: Reply with quote

ลุยเมกะโปรเจ็กต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

กระทรวงคมนาคมได้เปิดแผนการลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์ที่จะเร่งผลักดันเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้แช่แข็งภาคเศรษฐกิจทั่วโลก โดยมีแผนดำเนินงานตั้งแต่ปี 2563-66 จำนวน 26 โครงการ วงเงินกว่า 1.12 ล้านล้านบาท กำลังก่อสร้าง 12 โครงการ 6.74 แสนล้านบาท ช่วยขับเคลื่อนเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ และเตรียมเร่งเครื่องประมูล 8 โครงการกว่า 3.69 แสนล้านบาท ที่เหลือจ่อชงคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายในปี 2564

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมกล่าวว่า โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างมีจำนวน 12 โครงการ วงเงินรวม 6.74 แสนล้านบาท ได้แก่
1.โครงการทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-สระบุรีนครราชสีมา กรมทางหลวง (ทล.) วงเงิน 75,965.24 ล้านบาท
2.โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 64,107.93 ล้านบาท
3.โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) วงเงิน 2,943.81 ล้านบาท
4.โครงการทางพิเศษสายพระราม 3- ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) วงเงิน 28,338.86 ล้านบาท
5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงิน 109,135.91 ล้านบาท
6.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงิน 50,970.63 ล้านบาท
7.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 48,125.98 ล้านบาท
8.โครงการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) เส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. วงเงิน 21,975.94 ล้านบาท
9.โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา วงเงิน 179,608.81 ล้านบาท
10.โครงการก่อสร้าง รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต การรถไฟแห่งประเทศ ไทย (รฟท.) วงเงิน 84,101.84 ล้านบาท
11.โครงการก่อสร้างรถ ไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 5,839.79 บาท และ
12.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (เฉพาะค่าเวนคืนที่ รฟท.ได้รับงบประมาณ วงเงิน 3,570.29 ล้านบาท)

โครงการที่ ครม.อนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการมี 8 โครงการ วงเงินรวม 3.69 แสนล้านบาท ได้แก่
1.โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม วงเงิน 1,357.04 ล้านบาท
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 124,958.62 ล้านบาท
3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ วงเงิน 122,067.27 ล้านบาท
4.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 53,489.58 ล้านบาท
5.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 300 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 4,073.23 ล้านบาท ค่างานระบบ 2,197.17 ล้านบาท
6.โครงการก่อสร้างรถ ไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท
7.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท และ 8.โครงการก่อ สร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และบางซื่อ-หัวหมาก วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

สำหรับ โครงการที่เตรียมเสนอคณะกรรมการ PPP มี 2 โครงการ วงเงินรวม 2,276.75 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการ ศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา บนมอเตอร์เวย์ สาย 7 ช่วงชลบุรี-พัทยา วงเงิน 1,683.88 ล้านบาท 2.โครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง บนมอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงพัทยามาบตาพุด วงเงิน 592 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะนำเสนอ ครม.ในระยะต่อไป จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 81,335.80 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการมอเตอร์เวย์ สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว วงเงิน 33,170.89 ล้านบาท 2.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 32,292.40 ล้านบาท 3.โครงการพัฒนาท่า อากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,818.51 ล้านบาท 4.โครงการศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศอู่ตะ เภา ของสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) วงเงิน 54 ล้านบาท

แน่นอนที่สุดแล้ว ก่อนหน้านี้หน่วยงานภาครัฐและ เอกชนได้ชะลอแผนการทั้งหมดที่วางไว้ไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีบ้างในบางโครงการที่ต้องพิจารณาความเหมาะสม ความจำเป็นของโครงการนั้นๆ จึงมองว่าแม้จะเกิดการระบาดของโควิด-19 แต่รัฐบาลต้องเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลังจากที่เสียเวลามา 1 ปีจากโควิด-19 ระบาดทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เผชิญกับวิกฤติโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เกิดจากโควิด -19 ด้วยเช่นกัน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 114, 115, 116 ... 121, 122, 123  Next
Page 115 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©