Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13261791
ทั้งหมด:13573071
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 238, 239, 240 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2021 2:09 am    Post subject: Reply with quote

รู้ยัง !รถไฟฟ้าลอดใต้เจ้าพระยา เจาะอุโมงค์เหมือนกัน แต่ทำไมประมูลต่างกัน?
หน้าเศรษฐกิจมหภาคคมนาคม
13 สิงหาคม 2564 เวลา 10:57 น.

ดร.สามารถ กังขา รถไฟฟ้าวิ่งลอดใต้เจ้าพระยา สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค สร้าง-ให้บริการแล้ว 1สาย ชี้เพิ่ม อีก2สาย รถไฟฟ้าสายสีส้ม -สายสีม่วงใต้ เจาะอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในระหว่างการประมูล แต่เกณฑ์ประมูลกลับถูกเปลี่ยนจากเกณฑ์เดิม



ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์โพสต์เฟซบุ๊ก วันที่ 13 ส.ค.ว่า เวลานี้มีรถไฟฟ้าวิ่งลอดใต้เจ้าพระยาแล้ว 1 สาย นั่นคือสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และกำลังจะมีเพิ่มอีก 2 สาย ประกอบด้วย

สายสีส้มส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ และสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ซึ่งอยู่ในระหว่างการประมูล แต่เชื่อมั้ยครับว่าเกณฑ์ประมูลกลับถูกเปลี่ยนจากเกณฑ์เดิมที่ใช้กับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งมีการเจาะอุโมงค์ลอดใต้เจ้าพระยาได้ผลดีมาแล้ว?

รฟม.ใช้เกณฑ์อะไรในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งต้องเจาะอุโมงค์ลอดใต้เจ้าพระยาครั้งแรก?ในการประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค ซึ่งต้องก่อสร้างอุโมงค์ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และต้องขุดเจาะอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาครั้งแรก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

ใช้เกณฑ์ประมูลโดยพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อน หากผู้ยื่นข้อเสนอผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านเทคนิคก็จะพิจารณาข้อเสนอด้านราคาต่อไป ใครเสนอราคาต่ำสุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งเกณฑ์นี้เป็นที่ยอมรับและยึดถือปฏิบัติกันตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทั้งการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของ รฟม. และของหน่วยงานอื่น

ปรากฏว่าผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลไม่เคยมีประสบการณ์ในการขุดเจาะอุโมงค์ในพื้นที่ดังกล่าวมาก่อน เพิ่งมีโอกาสจากโครงการนี้เป็นครั้งแรก แต่ก็สามารถทำการก่อสร้างจนสำเร็จลุล่วงเป็นไปตามความต้องการของ รฟม. และได้เปิดใช้ในปี 2562 ชี้ให้เห็นว่าเกณฑ์ประมูลนี้เป็นเกณฑ์ที่ใช้ได้ผลดี

รฟม.เปลี่ยนใจไม่ใช้เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ซึ่งต้องเจาะอุโมงค์ลอดใต้เจ้าพระยาเช่นเดียวกัน

รฟม.ได้เปิดประมูลหาผู้ร่วมลงทุน (หรือผู้รับสัมปทาน) ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และจัดหารถไฟฟ้ารวมทั้งให้บริหารจัดการเดินรถตลอดเส้นทาง ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยใช้เกณฑ์ประมูลเหมือนกับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย นั่นคือต้องพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อน

หากผู้ยื่นข้อเสนอผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านเทคนิค ก็จะพิจารณาข้อเสนอด้านผลตอบแทน (“ผลตอบแทน” ใช้สำหรับการหาผู้รับสัมปทาน ส่วน “ราคา” ใช้สำหรับการหาผู้รับเหมา) ต่อไป ใครเสนอผลตอบแทนสูงสุดก็จะชนะการประมูล

แต่ก่อนถึงวันยื่นข้อเสนอ รฟม.ได้ประกาศเปลี่ยนไปใช้ “เกณฑ์ใหม่” ซึ่งต้องพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านผลตอบแทน โดยให้คะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนด้านผลตอบแทน 70% ใครได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะชนะการประมูล ซึ่งผมเห็นว่าเป็นการลดทอนความสำคัญข้อเสนอด้านเทคนิคลงจากเดิมที่มีคะแนนเต็ม 100% เหลือ 30% เท่านั้น

ทั้งนี้ รฟม.อ้างว่าเหตุที่ต้องเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลเนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตกเป็นโครงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยเฉพาะการก่อสร้างสถานีและอุโมงค์ใต้ดินผ่านพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน

รวมทั้งจะต้องก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย จึงจำเป็นต้องได้ผู้รับสัมปทานที่มีประสบการณ์สูง ซึ่งผมเห็นว่าถ้าเป็นไปตามข้ออ้างดังกล่าวจริง รฟม.ควรใช้เกณฑ์เดิม เพราะเป็นเกณฑ์ที่ให้ความสำคัญข้อเสนอด้านเทคนิคถึง 100%

รฟม.คงลืมไปว่าในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี ซึ่งต้องขุดเจาะอุโมงค์ในพื้นที่ชุมชนหลายแห่งเป็นระยะทางใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร จากระยะทางทั้งหมด 22.5 กิโลเมตร รฟม.ก็ใช้เกณฑ์ประมูลเดิมหรือเกณฑ์ที่ใช้กับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ไม่ได้ใช้เกณฑ์ใหม่ ปรากฏว่าใช้ได้ผลดีทำให้การก่อสร้างมีความคืบหน้าถึงวันนี้ (13 สิงหาคม 2564) ประมาณ 85%

รฟม.ไม่ใช้เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ซึ่งต้องเจาะอุโมงค์ลอดใต้เจ้าพระยาเช่นเดียวกัน

ขณะนี้ รฟม.กำลังประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟาสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ หรือสายสีม่วงใต้ ซึ่งต้องก่อสร้างอุโมงค์ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเช่นเดียวกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย

แต่ รฟม.ไม่ใช้เกณฑ์ประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งใช้ได้ผลดีมาแล้ว กลับไปใช้เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ซึ่งพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านผลตอบแทน ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าอาจทำให้ รฟม.ต้องเสียค่าก่อสร้างมากกว่า และที่สำคัญ อาจถูกกล่าวหาว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมารายใดรายหนึ่งหรือไม่?

เหตุที่ รฟม.ไม่ใช้เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้นั้น รฟม.อ้างเหตุผลทำนองเดียวกับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก โดยอ้างว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ประกอบกับมีเส้นทางผ่านเขตชุมชนหนาแน่น พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวสูง เช่น พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องได้ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์และสมรรถนะสูง

ข้ออ้างของ รฟม. ย้อนแย้งกับข้อเท็จจริงหรือไม่?

รฟม.อ้างว่าเหตุที่ไม่ใช้เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก และรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เพราะต้องขุดเจาะอุโมงค์ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นพื้นที่อ่อนไหวและมีความซับซ้อน และต้องขุดเจาะอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย ทำให้ต้องใช้ผู้รับสัมปทานหรือผู้รับเหมาที่มีความสามารถสูง

จะเห็นได้ว่าข้ออ้างของ รฟม.ย้อนแย้งกับข้อเท็จจริง กล่าวคือในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายก็ต้องขุดเจาะอุโมงค์ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์และอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน ซึ่ง รฟม.ได้ใช้เกณฑ์ประมูลที่ทำให้สามารถคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีความสามารถก่อสร้างอุโมงค์ในพื้นที่ดังกล่าวได้สำเร็จสมบูรณ์ โดยไม่ได้นำคะแนนด้านเทคนิคมารวมกับคะแนนด้านราคาเพื่อพิจารณาหาผู้ชนะการประมูลแต่อย่างใด

ข้อเท็จจริงนี้แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เทคโนโลยีในการขุดเจาะอุโมงค์ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้มีความพิเศษสลับซับซ้อนถึงขนาดต้องใช้เกณฑ์ประมูลที่แตกต่างไปจากการประมูลโครงการอื่นอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่อยากให้ทุกคนได้รับรู้ก็คือ การขุดเจาะอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ใช่เป็นการขุดเจาะในแม่น้ำ แต่เป็นการขุดเจาะในดินใต้ท้องน้ำประมาณ 10 เมตร หรือใต้ผิวน้ำประมาณ 30 เมตร

สรุป

การที่ รฟม.ไม่ใช้เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายสำหรับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก และสายสีม่วงใต้ แต่ใช้เกณฑ์พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านผลตอบแทนหรือราคา อาจทำให้มีข้อเสียดังนี้

1. ในกรณีรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก รฟม.อาจไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุด ส่วนในกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ รฟม.อาจต้องเสียค่าก่อสร้างมากกว่า

การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านผลตอบแทนหรือราคา อาจทำให้ผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอผลตอบแทนสูงสุด หรือเสนอราคาต่ำสุดไม่ได้รับการคัดเลือก เพราะเขาอาจได้คะแนนรวม (ด้านเทคนิค+ด้านผลตอบแทนหรือราคา) น้อยกว่า

2. อาจถูกกล่าวหาว่าต้องการล็อกผู้รับสัมปทานหรือผู้รับเหมา

หากกรรมการคัดเลือกต้องการช่วยผู้ยื่นข้อเสนอรายใดรายหนึ่งสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากเกณฑ์นี้พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านผลตอบแทนหรือราคา หากเห็นว่าผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้นเสนอผลตอบแทนต่ำหรือเสนอราคาค่าก่อสร้างสูง ซึ่งจะทำให้ได้คะแนนด้านผลตอบแทนหรือราคาต่ำกว่า ก็จะเพิ่มคะแนนด้านเทคนิคให้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงอาจทำให้ รฟม.ถูกกล่าวหาว่าต้องการให้ผู้ยื่นข้อเสนอบางรายได้รับคะแนนสูงกว่าผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นหรือไม่?

ดังนั้น หาก รฟม.คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งความสำเร็จของโครงการอย่างแท้จริง ก็ควรพิจารณาใช้เกณฑ์ประมูลเดิมที่พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคแยกกับข้อเสนอด้านผลตอบแทนหรือราคา ซึ่งใช้ได้ผลดีเป็นที่ประจักษ์มาแล้ว แต่เหตุใด รฟม.จึงไม่ใช้เกณฑ์ประมูลเดิมเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนดังที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันมา


เห็นชัดๆ กันอย่างนี้แล้ว รฟม.จะว่าไง?

ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2021 9:54 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ปี 70 นั่งรถไฟฟ้าหลากสี 554 กม.ทั่วกทม.-ปริมณฑล
*กรมฯราง-ไจก้า เขย่าแผนแม่บท 12 เส้น
*เร่งเคาะ M-MAP 2 เน้นจำเป็นลดซ้ำซ้อน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2971147336440098


กรมราง ลุย M-Map 2 รถไฟฟ้าเชื่อมโครงข่ายกทม.-ปริมณฑล ระยะ2
หน้า เศรษฐกิจมหภาค
Mega Project
วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:31 น.

กรมการขนส่งทางราง สานต่อพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เร่งพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่ 2(M-Map 2)





กรมการขนส่งขนส่งทางราง (ขร.) ดำเนินการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-Map 2) โดยการศึกษาดังกล่าว เป็นการต่อยอดแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP) ซึ่งกำหนดโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2553-2572) และนำแนวคิดจากแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP 2 Blueprint)



โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA (Japan International Cooperation Agency) มาพัฒนาต่อตามการเติบโตของเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมีการขยายตัวออกไปในพื้นที่ชานเมืองมากขึ้น เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งพาณิชยกรรมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก

ส่งผลให้รูปแบบการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเปลี่ยนไป โดยที่ผ่านมา JICA ได้ให้ข้อเสนอแนะใน M – MAP 2 Blueprint ว่าการวางแผนเพื่อกำหนดโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางใน M – MAP 2 สามารถตอบสนองต่อความต้องการเดินทางประชาชนได้อย่างแท้จริง รวมทั้งควรพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางขึ้นมาเฉพาะ เพื่อให้การวางแผนในการพัฒนาโครงข่าย M – MAP 2 สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายได้อย่างแท้จริง

สำหรับการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 นี้ จะเป็นการทบทวนสถานะปัจจุบันของโครงการตาม M-MAP ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 159 กิโลเมตร

อยู่ระหว่างก่อสร้าง 167.74 กิโลเมตร และทำการประสานกับแผนงาน ความก้าวหน้าต่างๆ ของเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างรอดำเนินการอีก 14 โครงการ ระยะทางรวมประมาณ 182.26 กิโลเมตร รวมทั้งทบทวนโครงข่ายที่เสนอไว้ใน M-MAP 2 Blueprint และที่จะเสนอเพิ่มเติม โดยจะมีการพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง (Railway Demand Forecast Model) เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการพัฒนาโครงข่ายในแต่ละเส้นทาง ตามการขยายตัวและการพัฒนาเมืองในปัจจุบัน

ทั้งนี้ เมื่อการดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ ขร. จะจัดลำดับความสำคัญของแต่ละเส้นทาง เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งแผนการเงินในการลงทุน กำหนดแนวทางและกลยุทธ์ในการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางให้ความครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง

เพื่อบรรเทาการจราจรติดขัดในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ลดความซ้ำซ้อน ลดการลงทุนและงบประมาณในโครงข่ายที่ไม่มีความจำเป็นในสภาวการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและแนวคิดการวางผังเมืองในอนาคต


เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางของประชาชนให้มีความรวดเร็ว สะดวก ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถส่วนบุคคลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2021 2:59 pm    Post subject: Reply with quote

เหตุผลย้อนแย้ง? “สร้างรถไฟฟ้าพื้นที่เดียวกัน แต่ประมูลต่างกัน”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
วันที่ 16 สิงหาคม 2564 เวลา 8:57 น.

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ซัดรฟม. เหตุผลย้อนแย้ง? สร้างรถไฟฟ้าพื้นที่เดียวกัน แต่ประมูลต่างกัน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ใช้เกณฑ์ TOR ราคาตัดสิน รถไฟฟ้าสายสีส้ม -สายสีม่วงใต้ เจาะอุโมงค์เหมือนกันใช้เกณฑ์ TOR เทคนิค+ราคา



การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กำลังประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกและสายสีม่วงใต้ โดยทั้ง 2 สายนี้มีเส้นทางลอดใต้เกาะรัตนโกสินทร์และใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งได้เปิดใช้งานแล้ว แต่ รฟม.ใช้เกณฑ์ประมูลต่างกัน เพราะอะไร?

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์โพสต์เฟซบุ๊ก วันที่16สิงหาคม2564 ถามคำถามเหตุผลที่ รฟม.อ้างย้อนแย้งหรือไม่? ติดตามได้จากบทความนี้

รฟม.ใช้เกณฑ์อะไรในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จึงสามารถก่อสร้างได้สำเร็จสมบูรณ์?

การประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค ซึ่งต้องขุดเจาะอุโมงค์ใต้เกาะรัตนโกสินทร์และใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นครั้งแรก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ใช้เกณฑ์ประมูลโดยพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อน หากผู้ยื่นข้อเสนอผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านเทคนิคซึ่งจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 70% ก็จะพิจารณาข้อเสนอด้านราคาต่อไป ใครเสนอราคาต่ำสุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล

ปรากฏว่า รฟม.สามารถคัดเลือกผู้รับเหมาที่ทำให้งานก่อสร้างสำเร็จสมบูรณ์ตามความต้องการของ รฟม. และได้เปิดใช้งานในปี 2562 ทั้งๆ ที่ผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลไม่เคยมีประสบการณ์ในการขุดเจาะอุโมงค์ใต้เกาะรัตนโกสินทร์และใต้แม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน จึงถือได้ว่าเกณฑ์ประมูลนี้เป็นเกณฑ์ที่ใช้ได้ผลดี

ทำไม รฟม.ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกล่าช้ากว่าแผน?

หลังจากเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายแล้ว ต่อมาในปี 2563 รฟม.เปิดประมูลหาผู้รับสัมปทานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องขุดเจาะอุโมงค์ใต้เกาะรัตนโกสินทร์และใต้แม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งต้องให้บริการเดินรถตลอดเส้นทางทั้งช่วงตะวันตกและตะวันออก จากบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี

ตอนเริ่มประมูล รฟม.ใช้เกณฑ์ประมูลเหมือนกับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย แต่ได้ปรับเพิ่มคะแนนการผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคจากเดิมไม่น้อยกว่า 70% เป็นไม่น้อยกว่า 85% เพราะคงต้องการที่จะได้ผู้รับสัมปทานหรือผู้รับเหมาที่มีความสามารถสูงขึ้น

แต่ก่อนถึงวันยื่นข้อเสนอ รฟม.ได้เปลี่ยนไปใช้ “เกณฑ์ใหม่” ซึ่งต้องพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านผลตอบแทน (“ผลตอบแทน” ใช้สำหรับการหาผู้รับสัมปทาน ส่วน “ราคา” ใช้สำหรับการหาผู้รับเหมา) โดยให้คะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนด้านผลตอบแทน 70% ใครได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะชนะการประมูล ทั้งนี้ รฟม.ให้เหตุผลว่าต้องขุดเจาะอุโมงค์ใต้เกาะรัตนโกสินทร์และใต้แม่น้ำเจ้าพระ จึงจำเป็นต้องได้ผู้ชนะการประมูลที่มีประสบการณ์และสมรรถนะสูง

ทั้งนี้เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการให้ความสำคัญต่อโบราณสถานในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ดังนั้น รฟม.จึงควรใช้เกณฑ์เดิมที่มีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับเพิ่มคะแนนการผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคจากเดิมไม่น้อยกว่า 70% เป็นไม่น้อยกว่า 85% จะทำให้ รฟม.ได้ผู้ชนะการประมูลที่เก่งด้านเทคนิคมากขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้เกณฑ์ใหม่ที่ลดทอนความสำคัญด้านเทคนิคลงมาเหลือเพียง 30% เท่านั้น ซึ่งย้อนแย้งกับเหตุผลของ รฟม.ที่อ้างว่าต้องการได้ผู้ชนะการประมูลที่มีประสบการณ์และสมรรถนะสูงถึงเวลานี้ การเปลี่ยนเกณฑ์ทำให้การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกล่าช้ากว่าแผนไปแล้วประมาณ 1 ปี

รฟม.ควรใช้เกณฑ์อะไรประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ จึงจะได้ผู้รับเหมาที่มีความสามารถสูง?

ขณะนี้ รฟม.กำลังประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ซึ่งต้องก่อสร้างอุโมงค์ใต้เกาะรัตนโกสินทร์และใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน แต่ รฟม.ใช้ “เกณฑ์ใหม่” ซึ่งต้องพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านราคา โดยอ้างเหตุผลทำนองเดียวกับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก

จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่า รฟม.ควรใช้เกณฑ์เดิม เพราะจะทำให้ได้ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์และสมรรถนะสูง แต่หากต้องการได้ผู้รับเหมาที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูงขึ้น ก็สามารถกำหนดคะแนนขั้นต่ำที่ผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคให้สูงขึ้นได้ ไม่จำเป็นจะต้องนำคะแนนด้านเทคนิคมารวมกับคะแนนด้านราคา ซึ่งไม่ใช่วิธีที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าจะได้ผู้รับเหมาที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูงตามที่ รฟม.ต้องการ

เหตุผลย้อนแย้ง? “สร้างรถไฟฟ้าพื้นที่เดียวกัน แต่ประมูลต่างกัน”
เหตุผลย้อนแย้ง? “สร้างรถไฟฟ้าพื้นที่เดียวกัน แต่ประมูลต่างกัน”

สรุปทั้งหมดนี้ ด้วยความปรารถนาดีต่อ รฟม. อยากให้ รฟม.ได้ตระหนักไว้ว่า หากโครงการล่าช้าจากการใช้เกณฑ์ใหม่จะทำให้ประเทศเสียหายอย่างใหญ่หลวง ดังที่ รฟม.ได้ประเมินความเสียหายกรณีเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกล่าช้า พบว่าประเทศจะเสียหายถึงปีละประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท อีกทั้ง การใช้เกณฑ์ใหม่อาจทำให้ รฟม.ต้องเสียค่าก่อสร้างมากกว่า หรือไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุด และที่สำคัญ อาจจะถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้ผู้ยื่นข้อเสนอรายใดรายหนึ่งหรือไม่?


Wisarut wrote:
รู้ยัง !รถไฟฟ้าลอดใต้เจ้าพระยา เจาะอุโมงค์เหมือนกัน แต่ทำไมประมูลต่างกัน?
หน้าเศรษฐกิจมหภาคคมนาคม
13 สิงหาคม 2564 เวลา 10:57 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2021 4:21 am    Post subject: Reply with quote

รฟม. กางแผนรถไฟฟ้ากทม. 5 สายทาง – เพิ่มระบบขนส่งมวลชน 4 จังหวัดใหญ่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:24 น.


ครบรอบ 29 ปี รฟม. กางแผนรถไฟฟ้าในเมือง 5 สายทาง “ชมพู-เหลือง” เปิดบริการปี 65 “ส้ม”เปิดเต็มสายทางปี 70 พร้อมประมูล 2 โปรเจ็กต์รถไฟฟ้า “ม่วงใต้-น้ำตาล” ก่อนเผยลุยทำระบบขนส่งต่างจังหวัด “ภูเก็ต-เชียงใหม่-โคราช-พิษณุโลก”

วันที่ 20 สิงหาคม 2564 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2535 โดยองค์กรจะอายุครบ 29 ปี แล้ว ซึ่งภารกิจสำคัญคือ การสร้างโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมือง ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนจังหวัดใหญ่ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน



เปิดสายสีน้ำเงิน-สายสีม่วง
ปัจจุบัน รฟม. ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานครแล้ว จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง)


และแม้จะเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อยู่บ้าง รฟม. ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะกำกับการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้คืบหน้าต่อไปได้ โดยอาศัยการรณรงค์สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและต่อสังคมส่วนรวม และการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดต่างๆ อย่างเคร่งครัดควบคู่กันไป

เปิดแผนให้บริการรถไฟฟ้า 3 สายทาง
ส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีความก้าวหน้าโดยรวม 81.40% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี มีความก้าวหน้าโดยรวม 78.77% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) คาดว่าทั้งสองโครงการจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2565

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 84.44% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) ซึ่งเมื่อรวมกับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่อยู่ในระหว่างเตรียมดำเนินการ จะกลายเป็นอีกหนึ่งโครงข่ายสำคัญที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครในแนวฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เมื่อเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2570


ประมูล “ม่วงใต้-น้ำตาล” เฟสถัดไป
นอกจากนี้ รฟม. ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการ และมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2570 เช่นเดียวกันนี้อีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งจะเป็นการต่อขยายแนวเส้นทางจากรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน (เขตบางซื่อ) ลงมาทางทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม) ที่มีโครงสร้างร่วมกันกับโครงสร้างทางด่วน ของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

ลุยระบบขนส่ง 4 จังหวัด
ในส่วนของภารกิจการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองหลักภูมิภาค รฟม. มีความพร้อมในการผลักดันโครงการในระยะแรกในพื้นที่ 4 จังหวัด รวมจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก – ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก เพื่อเป็นการรองรับแผนพัฒนาระบบขนส่ง และระบบโลจิสติกส์อื่นๆ ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศไทยไปจนถึงระดับภูมิภาคอาเซียน


รฟม.ฉลอง29ปี กางแผนเปิดรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู ปี 65
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:30 น.


20 ส.ค.2564 รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ฉลองครบรอบ 29 ปี วันคล้ายวันก่อตั้ง รฟม. ในวันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564 ภายใต้แนวคิด “The Unlimited Move ไม่หยุดขับเคลื่อนความสุขของคนเมือง” เพื่อสื่อสารคำมั่นว่า “รฟม.พร้อมเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งมอบความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการ อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองอย่างยั่งยืน”

ทั้งนี้ รฟม. ร่วมกับบริษัทผู้ร่วมลงทุน/ผู้รับสัมปทาน บริษัทที่ปรึกษาโครงการ บริษัทผู้รับเหมา หน่วยงานภาครัฐ และผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิออทิสติกไทย ตลอดจนสนับสนุนให้น้องๆ กลุ่มออทิสติกได้มีโอกาสแสดงออกถึงพรสวรรค์และจินตนาการ ผ่านงานออกแบบชุดของที่ระลึก “MRTA x ARTSTIRY by Autistic Thai” ซึ่ง รฟม.จะนำส่งมอบแก่หน่วยงานที่มาร่วมแสดงความยินดีผ่านทางระบบออนไลน์ต่อไป

นอกจากนี้ รฟม.ยังส่งต่อความสุขให้แก่ประชาชน โดยเชิญชวนผู้สนใจร่วมสนุกในกิจกรรม “แคปฯ ทัน!..มีรางวัล” ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 16-26 สิงหาคม 2564 เพื่อลุ้นรับชุดของที่ระลึกดังกล่าวอีกด้วย

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2535 โดยมีภารกิจในการสร้างโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมือง ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนจังหวัดใหญ่ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน รฟม.ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานครแล้วจำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) และแม้จะเผชิญต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อยู่บ้าง รฟม.ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะกำกับการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้คืบหน้าต่อไปได้ โดยอาศัยการรณรงค์สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและต่อสังคมส่วนรวม และการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดต่างๆ อย่างเคร่งครัดควบคู่กันไป

ทั้งนี้ส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความก้าวหน้าโดยรวม 81.40% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้าโดยรวม 78.77% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) คาดว่าทั้งสองโครงการจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2565 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 84.44% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) ซึ่งเมื่อรวมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่อยู่ในระหว่างเตรียมดำเนินการ จะกลายเป็นอีกหนึ่งโครงข่ายสำคัญที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครในแนวฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเมื่อเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2570

นอกจากนี้ รฟม.ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการ และมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2570 เช่นเดียวกันนี้อีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งจะเป็นการต่อขยายแนวเส้นทางจากรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน (เขตบางซื่อ) ลงมาทางทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ที่มีโครงสร้างร่วมกันกับโครงสร้างทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

ทั้งนี้ในส่วนของภารกิจการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองหลักภูมิภาค รฟม.มีความพร้อมในการผลักดันโครงการในระยะแรกในพื้นที่ 4 จังหวัด รวมจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก เพื่อเป็นการรองรับแผนพัฒนาระบบขนส่ง และระบบโลจิสติกส์อื่นๆ ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศไทยไปจนถึงระดับภูมิภาคอาเซียน

อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลา 29 ปี รฟม.ได้ยึดมั่นในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อพัฒนาองค์กรและกำกับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิผลสำเร็จเป็นโครงข่ายที่ครอบคลุมทุกการเดินทาง ทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญในการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อนำมาพัฒนา ปรับปรุง ต่อยอดการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนขององค์กร สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) รฟม.คำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการดำเนินงานหลักขององค์กร (CSR In Process) และการใส่ใจช่วยเหลือสังคมผ่านโครงการต่างๆ (CSR After Process) ให้แก่ชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

เช่น โครงการกล่องทันใจเติมความสุขให้ประชาชน เพื่อช่วยเหลือธุรกิจร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และส่งเป็นกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่โรงพยาบาลต่างๆ กิจกรรมบริจาคเงินและสิ่งของที่จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาล รวมทั้งโครงการส่งเสริมอาชีพ ผลิตภัณฑ์ บริการ และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนในเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ เป็นต้น ซึ่ง รฟม.เชื่อมั่นว่าภารกิจทั้งหมดนี้จะขับเคลื่อนให้ รฟม.และสังคมเติบโตควบคู่ไปพร้อมกัน และต่อยอดไปสู่ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน



​รฟม. ฉลองครบรอบ 29 ปี The Unlimited Move ไม่หยุดขับเคลื่อนความสุขของคนเมือง
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:45:04 น.


วันนี้ (20 สิงหาคม 2564) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ฉลองครบรอบ 29 ปี วันคล้ายวันก่อตั้ง รฟม. ในวันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564 ภายใต้แนวคิด “The Unlimited Move ไม่หยุดขับเคลื่อนความสุขของคนเมือง” เพื่อสื่อสารคำมั่นว่า “รฟม. พร้อมเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งมอบความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการ อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองอย่างยั่งยืน” โดยในโอกาสพิเศษนี้ รฟม. ร่วมกับ บริษัทผู้ร่วมลงทุน/ผู้รับสัมปทาน บริษัทที่ปรึกษาโครงการ บริษัทผู้รับเหมา หน่วยงานภาครัฐ และผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิออทิสติกไทย ตลอดจนสนับสนุนให้น้องๆ กลุ่มออทิสติกได้มีโอกาสแสดงออกถึงพรสวรรค์และจินตนาการ ผ่านงานออกแบบชุดของที่ระลึก “MRTA x ARTSTIRY by Autistic Thai” ซึ่ง รฟม. จะนำส่งมอบให้แก่หน่วยงานที่มาร่วมแสดงความยินดีผ่านทางระบบออนไลน์ต่อไป นอกจากนี้ รฟม. ยังส่งต่อความสุขให้แก่ประชาชน โดยเชิญชวนผู้สนใจร่วมสนุกในกิจกรรม “แคปฯ ทัน!..มีรางวัล” ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 16 – 26 สิงหาคม 2564 เพื่อลุ้นรับชุดของที่ระลึกดังกล่าวอีกด้วย



นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า รฟม. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2535 โดยมีภารกิจในการสร้างโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมือง ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนจังหวัดใหญ่ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน รฟม. ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานครแล้ว จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) และแม้จะเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อยู่บ้าง รฟม. ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะกำกับการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้คืบหน้าต่อไปได้ โดยอาศัยการรณรงค์สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและต่อสังคมส่วนรวม และการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดต่างๆ อย่างเคร่งครัดควบคู่กันไป ส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง มีความก้าวหน้าโดยรวม 81.40% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี มีความก้าวหน้าโดยรวม 78.77% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) คาดว่าทั้งสองโครงการจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2565 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 84.44% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) ซึ่งเมื่อรวมกับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่อยู่ในระหว่างเตรียมดำเนินการ จะกลายเป็นอีกหนึ่งโครงข่ายสำคัญที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครในแนวฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เมื่อเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2570 นอกจากนี้ รฟม. ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการ และมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2570 เช่นเดียวกันนี้อีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งจะเป็นการต่อขยายแนวเส้นทางจากรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน (เขตบางซื่อ) ลงมาทางทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ที่มีโครงสร้างร่วมกันกับโครงสร้างทางด่วน ของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย



ในส่วนของภารกิจการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองหลักภูมิภาค รฟม. มีความพร้อมในการผลักดันโครงการในระยะแรกในพื้นที่ 4 จังหวัด รวมจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน – สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก – ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก เพื่อเป็นการรองรับแผนพัฒนาระบบขนส่ง และระบบโลจิสติกส์อื่นๆ ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศไทยไปจนถึงระดับภูมิภาคอาเซียน



ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 29 ปี รฟม. ได้ยึดมั่นในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อพัฒนาองค์กรและกำกับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิผลสำเร็จเป็นโครงข่ายที่ครอบคลุมทุกการเดินทาง ทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญในการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อนำมาพัฒนา ปรับปรุง ต่อยอดการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนขององค์กร สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) รฟม. คำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการดำเนินงานหลักขององค์กร (CSR In Process) และการใส่ใจช่วยเหลือสังคมผ่านโครงการต่างๆ (CSR After Process) ให้แก่ชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการกล่องทันใจเติมความสุขให้ประชาชน เพื่อช่วยเหลือธุรกิจร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และส่งเป็นกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่โรงพยาบาลต่างๆ กิจกรรมบริจาคเงินและสิ่งของที่จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาล รวมทั้งโครงการส่งเสริมอาชีพ ผลิตภัณฑ์ บริการ และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนในเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ เป็นต้น ซึ่ง รฟม. เชื่อมั่นว่า ภารกิจทั้งหมดนี้จะขับเคลื่อนให้ รฟม. และสังคมเติบโตควบคู่ไปพร้อมกัน และต่อยอดไปสู่ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

สามารถติดตามรายละเอียดและข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044

อ่าน ”สื่อสารคำมั่น” ผู้ว่าฯรฟม.ฉลองครบรอบ 29 ปี
*ลุยสร้างรถไฟฟ้าปี 65 ได้ใช้สายสีชมพู-เหลือง
*ปี70เส้นสีส้มครบลูปมาพร้อมสีม่วงใต้-น้ำตาล
*ภูมิภาค 4 จว.พร้อมผลักดันระบบขนส่งมวลชน
*(แต่ไม่ชี้ชัดรูปแบบว่ารถเมล์ล้อยางหรือแทรม)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2980405182180980


รฟม.ขึงไทม์ไลน์ ต.ค.ประมูล “สายสีส้ม-สีม่วงใต้” ยึด กม.จัดซื้อฯ ยันเกณฑ์เทคนิคและราคาเหมาะสม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:51 น.
ปรับปรุง: วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:51 น.



รฟม.ปักธงเร่งประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มหลังศาลจำหน่ายคดีบีทีเอสฟ้อง ลุ้นโควิดคลี่คลาย ต.ค.นี้ขายซองเปิดชิงดำใหม่ คาด มี.ค. 65 ได้ตัวผู้ร่วมทุน พร้อมปรับแผนเร่งงานระบบเปิดด้านตะวันออกกลางปี 68 ส่วนสีม่วงใต้ซื้อซองแล้ว 8 รายทั้งไทย และต่างชาติ คาดสรุปใน ม.ค. 65

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2564 ที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นให้จำหน่ายคดีในข้อหาที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) นั้น ในส่วนของรฟม.จะเดินหน้าในการประมูลคัดเลือกตามขั้นตอน ซึ่งได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน (Market Sounding) ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวนร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุนแล้ว

เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ยังมีความรุนแรง ประกอบกับ พ.ร.ก.ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่บังคับใช้กับกรณีการคัดเลือกเอกชน และจะต้องบรรจุโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มในข้อตกลงคุณธรรม ดังนั้น หากสถานการณ์คลี่คลาย รฟม.จะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนทันที โดยคาดการณ์จะสรุป TOR และออกประกาศเชิญชวนเอกชนได้ในเดือน ต.ค. 2564 และสรุปผลการพิจารณาคัดเลือก และได้ตัวผู้ร่วมทุนประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย. 2565

ผู้ว่าฯ รฟม.ยอมรับว่าการประมูลคัดเลือกเอกชนร่วมทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มล่าช้าจากแผน แต่ยังสามารถเร่งรัดได้ โดย รฟม.ปรับแผนงานให้เอกชนเข้าดำเนินการติดตั้งระบบของสายสีส้มด้านตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ทันที เนื่องจากขณะนี้งานโยธาของด้านตะวันออกมีความก้าวหน้าไปมากแล้ว ซึ่งจะสามารถเปิดเดินรถด้านตะวันออกได้ตามแผนช่วงกลางปี 2568 ส่วนด้านตะวันตกจะเร่งรัดการก่อสร้างและติดตั้งระบบ ซึ่งตามแผนจะเปิดให้บริการหลังจากเปิดด้านตะวันออกไปแล้วประมาณ 3 ปี หรือเปิดช่วงปี 2571

@เอกชนไทย-เทศ 8 รายซื้อซองประมูลสีม่วงใต้ คาด ม.ค. 65 ได้ผู้รับจ้าง

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) นั้น ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าวว่า รฟม.ได้ดำเนินการเปิดขายเอกสารประกวดราคาก่อสร้างงานโยธาจำนวน 6 สัญญา ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. 2564 จนถึงวันที่ 7 ต.ค. 2564 โดยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ส.ค. 2564) มีผู้ที่สนใจซื้อเอกสารประกวดราคาฯ แล้วทั้งสิ้น 8 ราย โดยแบ่งเป็นบริษัทสัญชาติไทย 6 ราย และต่างชาติ 2 ราย

โดยกำหนดยื่นเอกสารประมูลวันที่ 8 ต.ค. 2564 ใช้เวลาประเมินข้อเสนอถึงปลายเดือน ธ.ค. 2564 คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างทั้ง 6 สัญญาในเดือน ม.ค. 2565

ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ฯ รฟม.ได้ลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ความร่วมมือป้องกันและต่อต้านการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 โดยการดำเนินการในทุกขั้นตอนของการประกวดราคาฯ เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติ ครม.และประกาศที่เกี่ยวข้อง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการดำเนินงานที่รัฐจะได้รับโครงการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คุ้มค่า โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

สำหรับกรณีที่มีการนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ในประเด็นการกำหนดให้ใช้ผลงานที่เป็นของหน่วยงานรัฐภายในประเทศไทยเพียงอย่างเดียวนั้น ที่ผ่านมาการประมูลก่อสร้างงานโยธาของ รฟม.ได้ใช้วิธีประกวดราคานานาชาติภายใต้ข้อบังคับ รฟม.ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ในขณะที่การประกวดราคางานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ เป็นการประกวดราคานานาชาติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกอบกับการวินิจฉัยตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ที่ กค (กวจ) 0405.3/24575 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 กรณีผลงานกับรัฐให้หมายถึงผลงานกับรัฐบาลไทย

ทั้งนี้ การกำหนดให้ผู้รับจ้างต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทย เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ต้องมีการออกแบบก่อสร้างอุโมงค์และสถานีใต้ดินในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสภาพธรณีวิทยาที่มีคุณสมบัติเฉพาะสถานที่โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญๆ และโบราณสถานต่างๆ มากมาย จึงต้องการผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ผ่านการก่อสร้างและประสานงานในโครงการก่อสร้างประเภทเดียวกันในประเทศไทยมาแล้ว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าผลงานที่แล้วเสร็จมีคุณภาพ เชื่อถือได้ ในขณะที่การอ้างอิงผลงานต่างประเทศจะตรวจสอบข้อมูลโครงการได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นประเภทงาน มูลค่าผลงานที่แท้จริง คุณภาพของผลงานที่แล้วเสร็จ รวมถึงประเด็นปัญหาระหว่างดำเนินการก่อสร้างและการที่ไม่ได้กำหนดให้ผู้รับจ้างสามารถใช้ผลงานเอกชนที่ รฟม.เชื่อถือได้นั้น

เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้า หรือโครงการระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่มีผลงานประเภทเดียวกันกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ ในประเทศไทยมีหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของโครงการทั้งหมด ดังนั้น รฟม.จึงไม่ได้พิจารณาให้ใช้ผลงานจากหน่วยงานเอกชนซึ่งสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงการคลังฯ ที่กำหนดให้หน่วยงานพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมหรือจำเป็น ส่วนการกำหนดเกณฑ์ประเมินข้อเสนอด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคาในสัดส่วน 30:70 นั้น เนื่องจากแนวเส้นทางผ่านสถานที่สำคัญและอ่อนไหวหลายแห่ง เช่น รัฐสภาแห่งใหม่ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย วัดต่างๆ รวมถึงพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคทางวิศวกรรมในการออกแบบและก่อสร้างขั้นสูงจากผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์และมีสมรรถนะสูงเพียงพอเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดและสามารถดำเนินงานก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผน



การกำหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประกวดราคา โดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคามีจุดประสงค์เพื่อให้การดำเนินโครงการได้รับประโยชน์ที่เกิดขึ้นในทุกๆ ด้าน ไม่ใช่เพียงจุดประสงค์ทางด้านราคาที่ต่ำเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องพิจารณาประกอบกับข้อเสนอด้านเทคนิคที่มีความเหมาะสมหรือดีที่สุดด้วยเป็นไปตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 65 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. 2560 ข้อ 83 (2) ประกอบกับหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว198 เรื่องแนวทางการปฏิบัติในการจัดทำร่างขอบเขตของงาน กรณีหน่วยงานของรัฐกำหนดเกณฑ์การพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นเพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีศักยภาพสูงเพียงพอ และมีความเหมาะสมที่จะสามารถดำเนินงานได้สำเร็จตามแผนงานและมีคุณภาพภายใต้กรอบงบประมาณที่กำหนดไว้

ซึ่งมีตัวอย่างโครงการที่ใช้เกณฑ์ด้านเทคนิคประกอบเกณฑ์ราคา เช่น โครงการงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) สนามบินสุวรรณภูมิ งานจ้างปรับปรุงระบบตรวจสอบวัตถุระเบิด และงานจ้างปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระในโครงการพัฒนา สนามบินสุวรรณภูมิ การจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม Smart Park ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

รวมถึงในโครงการร่วมลงทุนสาธารณูปโภคของภาครัฐขนาดใหญ่ เช่น โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 และโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (โครงการทางด่วนสายแจ้งวัฒนะ-บางพูน-บางไทร) โครงการจ้างเหมาเอกชนกำจัดมูลฝอยโดยระบบเตาเผามูลฝอย ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมของกรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เกณฑ์คะแนนรวมด้านเทคนิคกับผลตอบแทนด้านการเงิน รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ก็ใช้เกณฑ์การประเมินคะแนนรวมด้านเทคนิคกับด้านผลตอบแทนเช่นกัน
https://www.youtube.com/watch?v=Hth_HmWchIg


Last edited by Wisarut on 25/08/2021 2:31 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44505
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/08/2021 6:58 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม. กางแผนรถไฟฟ้ากทม. 5 สายทาง – เพิ่มระบบขนส่งมวลชน 4 จังหวัดใหญ่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:24 น.

รฟม.เร่งเดินหน้าพัฒนารถไฟฟ้า
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2564

'ชมพู-เหลือง'เปิดปี65

ดัน4โครงการภูมิภาค

พระรามเก้า * รฟม.การันตีพร้อมเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูเหลือง ปี 65 ขณะที่ปี 70 ได้นั่งสายสีส้มครบลูปเชื่อมตะวันออก-ตก พร้อมสายสีม่วงใต้-สีน้ำตาล ประมูลสายสีส้มตะวันตก ต.ค.นี้ ลั่นเดินหน้าผลักดันรถไฟภูมิภาคใน 4 จังหวัด

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่ง มวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาด พร้าว-สำโรง ว่ามีความก้าวหน้าโดยรวม 81.40% และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแครายมีนบุรี มีความก้าวหน้าโดยรวม 78.77% คาดทั้งสองโครงการจะ สามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2565 ส่วนสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศ ไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 84.44% กำหนดเปิดบริการในกลางปี 2568

และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุน นนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประ เทศไทย ที่อยู่ในระหว่างเตรียมดำเนินการ คาดจะออกประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนและขายซองครั้งใหม่ภายในเดือน ต.ค.2564 และจะใช้ระยะเวลา 60 วันก่อนเปิดซองประมูลภาย ในเดือน มี.ค.-เม.ย.2565 คาดเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2570

นายภคพงศ์กล่าวว่า รฟม.ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการ และมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2570 เช่นเดียวกันนี้อีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งจะเป็นการต่อขยายแนวเส้นทางจากรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน (เขตบางซื่อ) ลงมาทางทิศใต้ของกรุง เทพมหานคร และโครงการรถไฟ ฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำ สาลี (บึงกุ่ม) ที่มีโครงสร้างร่วมกันกับโครงสร้างทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

ทั้งนี้ ในส่วนของความคืบหน้าการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองหลักภูมิภาครฟม.จะเร่งผลักดันโครงการ 4 โครงการหลักใน 4 จังหวัด ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์- แยกแม่เหียะสมานสามัคคี, โครง การระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

นอกจากนี้ยังมีโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุ โลกสายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พิษณุโลก เพื่อเป็นการรองรับแผนพัฒนาระบบขนส่งและระบบ โลจิสติกส์อื่นๆ ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนขับเคลื่อน เศรษฐกิจองค์รวมของประเทศ ไทยไปจนถึงระดับภูมิภาคอาเซียน

"เวลา 29 ปี รฟม.ได้ยึดมั่นในการดำเนินงานตามหลัก ธรรมาภิบาล และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อพัฒนาองค์กรและกำกับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิผลสำเร็จเป็นโครงข่ายที่ครอบคลุมทุกการเดินทาง พร้อมรับฟังความคิดเห็นนำมาพัฒนา ปรับปรุง ต่อ ยอดการดำเนินงานเพื่อความยั่ง ยืนขององค์กร ซึ่ง รฟม.เชื่อมั่น ว่าภารกิจทั้งหมดนี้จะขับเคลื่อนให้ รฟม.และสังคมเติบโตควบคู่ไปพร้อมกัน และต่อยอดไปสู่ ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐ กิจของประเทศไทยได้อย่างยั่ง ยืน" นายภคพงศ์กล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2021 11:51 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟม. กางแผนรถไฟฟ้ากทม. 5 สายทาง – เพิ่มระบบขนส่งมวลชน 4 จังหวัดใหญ่
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:24 น.


รฟม.ฉลอง29ปี กางแผนเปิดรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู ปี 65
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:30 น.


​รฟม. ฉลองครบรอบ 29 ปี The Unlimited Move ไม่หยุดขับเคลื่อนความสุขของคนเมือง
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:45:04 น.


อ่าน ”สื่อสารคำมั่น” ผู้ว่าฯรฟม.ฉลองครบรอบ 29 ปี
*ลุยสร้างรถไฟฟ้าปี 65 ได้ใช้สายสีชมพู-เหลือง
*ปี70เส้นสีส้มครบลูปมาพร้อมสีม่วงใต้-น้ำตาล
*ภูมิภาค 4 จว.พร้อมผลักดันระบบขนส่งมวลชน
*(แต่ไม่ชี้ชัดรูปแบบว่ารถเมล์ล้อยางหรือแทรม)
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2980405182180980


รฟม.ขึงไทม์ไลน์ ต.ค.ประมูล “สายสีส้ม-สีม่วงใต้” ยึด กม.จัดซื้อฯ ยันเกณฑ์เทคนิคและราคาเหมาะสม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:51 น.
ปรับปรุง: วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:51 น.



รฟม.ครบ 29 ปี ปักธงปี 65 เปิดรถไฟฟ้า “ชมพู-เหลือง-ส้ม” ปี 70 เปิด “ม่วงใต้-น้ำตาล”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:42 น.
ปรับปรุง: วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:42 น.


รฟม.ฉลองครบรอบ 29 ปี The Unlimited Move “ไม่หยุดขับเคลื่อนความสุขของคนเมือง” ก่อสร้างโมโนเรลสีหลืองคืบ 81% สีชมพูกว่า 78% ยันเปิดบริการปี 65 ส่วนปี 70 เปิดอีก 3 สาย “ส้ม-ม่วงใต้-น้ำตาล”

วันนี้ (20 ส.ค. 2564) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ฉลองครบรอบ 29 ปี วันคล้ายวันก่อตั้ง รฟม. ในวันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564 ภายใต้แนวคิด “The Unlimited Move ไม่หยุดขับเคลื่อนความสุขของคนเมือง” เพื่อสื่อสารคำมั่นว่า “รฟม.พร้อมเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งมอบความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการ อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองอย่างยั่งยืน”

ในโอกาสพิเศษนี้ รฟม. ร่วมกับบริษัทผู้ร่วมลงทุน/ผู้รับสัมปทาน บริษัทที่ปรึกษาโครงการ บริษัทผู้รับเหมา หน่วยงานภาครัฐ และผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิออทิสติกไทย ตลอดจนสนับสนุนให้น้องๆ กลุ่มออทิสติกได้มีโอกาสแสดงออกถึงพรสวรรค์และจินตนาการ ผ่านงานออกแบบชุดของที่ระลึก “MRTA x ARTSTIRY by Autistic Thai” ซึ่ง รฟม.จะนำส่งมอบแก่หน่วยงานที่มาร่วมแสดงความยินดีผ่านทางระบบออนไลน์ต่อไป

นอกจากนี้ รฟม.ยังส่งต่อความสุขให้แก่ประชาชน โดยเชิญชวนผู้สนใจร่วมสนุกในกิจกรรม “แคปฯ ทัน!..มีรางวัล” ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 16-26 สิงหาคม 2564 เพื่อลุ้นรับชุดของที่ระลึกดังกล่าวอีกด้วย

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า รฟม.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2535 โดยมีภารกิจในการสร้างโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมือง ทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนจังหวัดใหญ่ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน รฟม.ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานครแล้วจำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) และแม้จะเผชิญต่อสถานการณ์ที่ยากลำบากจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อยู่บ้าง รฟม.ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะกำกับการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้คืบหน้าต่อไปได้ โดยอาศัยการรณรงค์สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและต่อสังคมส่วนรวม และการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดต่างๆ อย่างเคร่งครัดควบคู่กันไป

@โมโนเรลสีหลืองคืบ 81% สีชมพูกว่า 78% ยันเปิดบริการปี 65

ส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความก้าวหน้าโดยรวม 81.40% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้าโดยรวม 78.77% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) คาดว่าทั้งสองโครงการจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2565 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 84.44% (ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564) ซึ่งเมื่อรวมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่อยู่ในระหว่างเตรียมดำเนินการ จะกลายเป็นอีกหนึ่งโครงข่ายสำคัญที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครในแนวฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเมื่อเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2570

@ตั้งเป้าปี 70 เปิดสีส้มตลอดสาย-สีม่วงใต้-สีน้ำตาล

นอกจากนี้ รฟม.ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการ และมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2570 เช่นเดียวกันนี้อีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ซึ่งจะเป็นการต่อขยายแนวเส้นทางจากรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน (เขตบางซื่อ) ลงมาทางทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ที่มีโครงสร้างร่วมกันกับโครงสร้างทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

ในส่วนของภารกิจการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองหลักภูมิภาค รฟม.มีความพร้อมในการผลักดันโครงการในระยะแรกในพื้นที่ 4 จังหวัด รวมจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก เพื่อเป็นการรองรับแผนพัฒนาระบบขนส่ง และระบบโลจิสติกส์อื่นๆ ของกระทรวงคมนาคม ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจองค์รวมของประเทศไทยไปจนถึงระดับภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 29 ปี รฟม.ได้ยึดมั่นในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อพัฒนาองค์กรและกำกับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิผลสำเร็จเป็นโครงข่ายที่ครอบคลุมทุกการเดินทาง ทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญในการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อนำมาพัฒนา ปรับปรุง ต่อยอดการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนขององค์กร สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) รฟม.คำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการดำเนินงานหลักขององค์กร (CSR In Process) และการใส่ใจช่วยเหลือสังคมผ่านโครงการต่างๆ (CSR After Process) ให้แก่ชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการกล่องทันใจเติมความสุขให้ประชาชน เพื่อช่วยเหลือธุรกิจร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และส่งเป็นกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่โรงพยาบาลต่างๆ กิจกรรมบริจาคเงินและสิ่งของที่จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลและสถานพยาบาล รวมทั้งโครงการส่งเสริมอาชีพ ผลิตภัณฑ์ บริการ และแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนในเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ เป็นต้น ซึ่ง รฟม.เชื่อมั่นว่าภารกิจทั้งหมดนี้จะขับเคลื่อนให้ รฟม.และสังคมเติบโตควบคู่ไปพร้อมกัน และต่อยอดไปสู่ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44505
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/08/2021 3:21 pm    Post subject: Reply with quote

ปีที่30รฟม.เปิดรถไฟฟ้าหลากสี
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในโอกาสฉลองครบรอบ 29 ปี วันคล้ายวันก่อตั้ง รฟม. วันที่ 21 ส.ค. 64 ภายใต้แนวคิด "The Unlimited Move ไม่หยุดขับเคลื่อนความสุขของคนเมือง" เพื่อสื่อสารคำมั่นว่า รฟม. พร้อมเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งมอบความสะดวก รวดเร็ว และ ปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมือง ช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ในภูมิภาคอย่างยั่งยืน

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน รฟม. เปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานครแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร (MRT สายสีน้ำเงิน) และ MRT สายสีม่วง แม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ รฟม. ยังมุ่งมั่นกำกับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าต่าง ๆ ให้คืบหน้าต่อไปได้ ส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีความก้าวหน้าโดยรวม 81.40% และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีความก้าวหน้าโดยรวม 78.77% คาดว่าทั้งสองโครงการจะเปิดให้บริการได้ในปี 65

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้างานโยธา 84.44% เมื่อรวมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการจะกลายเป็นอีกหนึ่งโครงข่ายสำคัญที่เชื่อมต่อกรุงเทพฯ ในแนวฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกเมื่อเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 70 นอกจากนี้ยังมีโครงการที่เตรียมดำเนินการและมีแผนเปิดบริการปี 70 อีก 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ต่อขยายแนวเส้นทางจากรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงและโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเขตเมืองหลักภูมิภาค รฟม. พร้อมผลักดันโครงการระยะแรกในพื้นที่ 4 จังหวัด รวม 4 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง, จ.เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วง รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี, จ.นครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44505
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2021 7:27 am    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าศึกษาแทรมลาดกระบังปลุกโซนตะวันออก
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564

โควิดสงบบีทีเอส-สจล.-บางกอกสมาร์ทการ์ดฯ เดินหน้าลงพื้นที่ศึกษาแทรมลาดกระบังรถไฟฟาล้อยางแห่งแรกในเมืองไทยเชื่อมโยงสถาบันการศึกษายันช่วงนี้ระบาดรุนแรงลงพื้นที่ลำบาก-คนบางตาคาดช่วยปลุกโซนตะวันออกคึกคักที่อยู่อาศัย-การเดินทางเข้าเมืองในอนาคตอีก 2-3 ปีข้างหน้า

รัฐและเอกชนร่วมมือพัฒนา ก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ทำให้การเดินทางในแต่ละวันสะดวกและง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นแผนแม่บทในระบบขนส่งมวลชนทางรางที่กระทรวงคมนาคมต้องการให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ที่ผ่านมาบีทีเอสลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการระหว่าง บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด และสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศึกษาความเป็นไปได้นำรถไฟฟ้าล้อยาง (Tram Bus) มาให้บริการครั้งแรกในไทย ซึ่งจะช่วยเชื่อมต่อพื้นที่สถานศึกษากับระบบขนส่งมวลชนหลัก รวมทั้งเป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะระบบรางขนาดรอง

นายสุรพงษ์ เลาะหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮล ดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สำหรับความคืบหน้าการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบรถไฟฟ้าล้อยาง (Tram Bus) ที่เชื่อมต่อพื้นที่ภายในสถาบันการศึกษา กับระบบขนส่งมวลชนหลัก ได้แก่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่สถานีลาดกระบังร่วมกับบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นั้น ปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินการศึกษา เนื่องจากติดปัญหาสถาการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ คงต้องรอให้สถานการณ์ดีขึ้นก่อน หากมีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจปริมาณความต้องการของผู้ใช้บริการในช่วงนี้ค่อนข้างลำบาก เพราะประชาชนไม่ค่อยสะดวกในการเดินทางมากนัก โดยคาดว่าหากสถานการณ์ดีขึ้น ทางบริษัทจะเร่งดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าวต่อไป

"โครงการฯ นี้ บริษัทเป็นผู้ศึกษาให้กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เท่านั้น เบื้องต้นหากเริ่มมีการลงพื้นที่สำรวจจะต้องจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ด้วย ส่วนจะให้ใครดำเนินการลงทุนก่อสร้างขึ้นอยู่กับ สจล. เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจ"

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการร่วมมือ กับ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางกอก สมาร์ท การ์ด ซิสเทม จำกัด ซึ่งบริษัทฯทั้ง 2 แห่งนี้ที่เป็นเลิศทางด้านธุรกิจระบบขนส่งสาธารณะทางราง

ทั้งนี้โครงการฯ ดังกล่าวจะช่วยให้การเดินทาง การใช้ชีวิตประจำวันดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางสัญจรภายในบริเวณสถาบันฯ และเขตชุมชนใกล้เคียง ปัจจุบันเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากมีทางรถไฟวิ่งผ่านกลางสถาบันฯ มีผู้โดยสารเดินทางมาขึ้น-ลงจำนวนมาก ประชาชนนำรถยนต์ส่วนตัวออกมาขับขี่ แทนการใช้ระบบขนส่งมวลชน ทำให้ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า-เย็น เกิดปัญหาจราจรติดขัดเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดการสะสมมลพิษ ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมภายในสถาบันฯ สุขภาพของนักศึกษา และประชาชนทั่วไป อีกด้วย

โดยบีทีเอสได้มีแผนที่จะศึกษารูปแบบระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง (Tram Bus) ในเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ไว้จำนวน 2 เส้นทาง เส้นทางที่ 1 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จากสถานีลาดกระบัง-หัวตะเข้ ระยะทาง 4 กิโลเมตร (กม.) ประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่ สถานีพระจอมเกล้า และสถานีหัวตะเข้ ส่วนเส้นทางที่ 2 วิ่งรอบภายในพื้นที่ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดยจะใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะ ระบบ E-Payment และ Non-Payment ผ่านบัตรแรบบิท ที่สามารถเชื่อมต่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

ขณะเดียวกันทั้ง 2 เส้นทางจะต้องใช้รถรางไฟฟ้าล้อยาง จำนวน 4 ขบวน ในการให้บริการ ซึ่งคาดว่าจะเพียงพอรองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่ใช้บริการภายในสถาบันฯ และประชาชนทั่วไป โดยรูปแบบการใช้บริการสามารถใช้บัตรแรบบิทในการเดินทาง และสามารถเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันโครงการนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา และหากสามารถนำไปสู่การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปได้จะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ปี โครงการนี้จึงจะเสร็จสมบูรณ์ และเป็นระบบรถรางไฟฟ้าล้อยางแห่งแรก ที่จะวิ่งในสถาบันการศึกษาของประเทศไทยและจะเป็นต้นแบบให้กับโครงการอื่น ๆ ที่จะมีต่อไปในอนาคตได้

ทั้งนี้คงต้องติดตามต่อไปว่าโครงการศึกษาแทรมลาดกระบังจะสามารถศึกษาได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ดีขึ้น เชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นได้เร็วๆนี้ ซึ่งจะเป็นแทรมล้อยางแห่งแรกใจกลางกรุงแน่นอน

แหล่งข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ระบุว่าหากมีแทรม ลาดกระบัง เชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ จะช่วยเติมเต็มการเดินทาง รองรับกลุ่มสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ และชุมชนรอบข้าง เข้าระบบเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟฟ้าสายหลักเข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวก ส่งผลให้โครงการที่อยู่อาศัยบริเวณนั้นคึกคักขึ้น เกิดการขยับตัวของราคาที่ดินตามมาอีกด้วย

โครงการนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา หากสามารถดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปได้ จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี โครงการนี้จึงจะเสร็จสมบูรณ์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44505
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/08/2021 9:59 am    Post subject: Reply with quote

Render Thailand
25 ส.ค. 64
·
มาตามสัญญาครับ 😄 วันนี้เรามีภาพ Wallpaper แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า กทม. แบบไฟล์ 4K มาแจก เอาไว้แปะจอคอมกันครับ
ไม่พูดอะไรมาก เอาเป็นว่าโหลดกันได้ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลย
https://bit.ly/RenderTH4kMap
-------------------
ส่วนใครที่อยากได้เป็นกรอบรูปแคนวาสไปติดผนังบ้าน ก็ยังสั่งกันได้อยู่นะครับ ผมสั่งมาเผื่อจำนวนหนึ่ง ถ้าสนใจสามารถส่งได้เลยไม่ต้องรอผลิตแล้วครับ 😘
รายละเอียดการสั่งซื้ออยู่ที่โพสต์นี้ครับ
https://www.facebook.com/RenderThailand/posts/393487015464182
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2021 9:23 pm    Post subject: Reply with quote

ผลาญงบ!! ทำตั๋วร่วมไปแล้ว 674 ล้าน(เฉพาะ9ปีที่นับ)
*“ศักดิ์สยาม”แจงที่ประชุมสภาฯกะทู้ถามช้ามาก
*ติดปมปัญหาสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าคนละราย
*ไม่มีกฎหมายบังคับเอกชน/ฟุ้งใช้บัตรEMVพ.ย.
*เม.ย65ใบเดียวแตะหลากสียกเว้นเขียวดีลไม่จบ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2985186045036227
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 238, 239, 240 ... 278, 279, 280  Next
Page 239 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©